ReadyPlanet.com


คนพิการ กับเงินกู้


คนพิการเฮ พม.จับมือออมสินให้กู้รายละ4หมื่น ดอกเบี้ยต่ำ2.5%ผ่อนนาน 5 ปี
    |
วันที่ 01 ตุลาคม 2550

 



กระทรวงพัฒนาสังคมฯจับมือธนาคารออมสินปล่อยกู้คนพิการพัฒนาอาชีพรายละไม่เกิน 40,000 บาท ดอกเบี้ยต่ำ 2.5%  ผ่อนภายใน 5 ปี ใช้เงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการชดเชยเกือบร้อยละ 7 เผยที่ผ่านมากองทุนให้กู้โดยตรงไม่มีดอกเบี้ยกว่า 50,000 ราย ทำให้ขาดสภาพคล่อง

ผู้สื่อข่าว"มติชน***"เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)จับมือกับธนาคารออมสินและองค์กรคนพิการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาคนพิการในลักษณะกลุ่มและรายบุคคลไม่เกินรายละ 40,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 2.5%  ผ่อนชำระภายใน 5 ปีโดย พม.จะนำเงินจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการซึ่งมีประมาณ 1,000 ล้านบาทมาชดเชยดอกเบี้ยให้ถึงร้อยละ 6.75

ทั้งนี้การให้สินเชื่อแก่คนพิการในโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางอาชีพให้แก่คนพิการ เป็นการพัฒนาศักยภาพคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้เนื่องจากธนาคารออมสินมีสาขาถึง 600 แห่ง  อย่างไรก็ตามมีปัญหาว่า  พม.สามรารถจะนำเงินจากกองทุนดังกล่าวมาชดเชยดอกเบี้ยให้แก่คนพิการได้หรีอไม่  

 

 สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ สังกัด กระทรวง พม.จึงทำหนังสือหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา(เรื่องเสร็จที่ 656/2550)ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พม.สามารถนำเงินจากกองทุนดังกล่าวมาใช้ชดเชยดอกเบี้ยได้เพราะเป็นไปตามระเบียบและวัตถุประงค์ในการจัดตั้งกองทุนตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534

แหล่งข่าวจาก สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ฯเปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อตามโครงการดังกล่าว จะดำเนินโครงการนำร่องก่อนใน4 ภาคๆ ละ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ลพบุรี พิษณุโลก พะเยา นครราชสีมา นครพนม นครศรีธรรมราช และสงขลา

 

แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ยังไม่แน่ใจว่า จะนำเงินจากกองทุนฯไปชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่คนพิการได้หรือไม่ จึงยังไม่สามารถเริ่มปล่อยกู้แก่คนพิการในโครงการนี้ได้  แม้จะมีการหารือกับธนาคารออมสินมาโดยตลอด ต้องรอทางธนาคารนำผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกานำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการธนาคารก่อน

 

แหล่งข่าวกล่าวว่า  นอกจากนั้นยังต้องหารือในรายละเอียดกับธนาคารอีกหลายเรื่อง เช่น การนับเรื่องหนี้สูญซึ่งตามระเบียบของกองทุนฯซึ่งให้คนพิการกู้โดยตรงจะนับเป็นหนี้สูญเมื่อผู้กู้และผู้ค้ำประกันเสียชีวิต และผู้กู้ไม่ยอมมาชำระหนี้ แต่การนับหนี้ที่ไม่ก่อเกิดรายได้และต้องสำรองหนี้สูญเมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้ติดต่อกัน 3 เดือน

"นอกจากนั้นพฤติกรรมในการชำระหนี้ของคนพิการ อาจจะนำมาชำระปีละครั้งหรือหลายเดือนครั้ง ไม่ได้ชำระทุกเดือนเหมือนกู้กับธนาคาร ซึ่งต้องทำความตกลงกับธนาคารในเรื่องเหล่านี้ รวมถึงการชำระหนี้แทนของกองทุนฯในกรณีที่คนพิการไม่ชำระหนี้ด้วย"แหล่งข่าวกล่าว

 

แหล่งข่าวกล่าวว่า โครงการให้สินเชื่อคนพิการผ่านธนาคารออมสินมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากที่กองทุนฯให้กู้แก่คนพิการโดยตรงรวมถึงลักษณะการให้กู้ด้วยกล่าวคือ การกู้เงินจากกองทุนฯโดยตรงนั้นไม่มีการพัฒนาอาชีพและเป็นการกู้ของคนพิการแต่ละรายโดยไม่มีดอกเบี้ย  แต่การกู้ผ่านธนาคารนั้น ต้องเป็นการรวมกลุ่มและมีการช่วยในการพัฒนาอาชีพซึ่งจะช่วยให้กลุ่มคนพิการมีความเข้มแข็งมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้กู้ต้องเลือกว่า จะกู้จากโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น

 

แหล่งข่าวกล่าวว่า นับแต่กองทุนฯเปิดให้คนพิการกู้มาตั้งแต่ปี 2538 ปรากฏว่ามีผู้กู้แล้วประมาณ 50,000 ราย มีวงเงินประมาณ 1,100 ล้านบาท มีหนี้สูญเพียงร้อยละ 3% เท่านั้น ถ้านับตามระเบียบของกองทุน แต่ถ้านับแบบธนาคารไม่ชำระหนี้ติดต่อกัน 3 เดือนแล้วจะมีถึง 60% จึงมีปัญหาในเรื่องการทำความตกลงกับธนาคารออมสินในเรื่องนี้

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายละเอียดในการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นระบุว่า พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการขึ้นภายใต้การบริหารจัดการของคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. เป็นประธาน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงาน และการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการและสนับสนุนสถาบันบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางสังคม และการฝึกอาชีพ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

 

กองทุนฯมีการดำเนินงานใน2 ลักษณะ คือ ให้บริการกู้ยืมเงินแก่คนพิการเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ รายละไม่เกิน 40,000 บาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลา5 ปี ไม่มีดอกเบี้ย และการสนับสนุนโครงการต่างๆ ด้านคนพิการ  ทั้งนี้ รายได้ของกองทุนฯ มาจากเงินงบประมาณ เงินสมทบจากสถานประกอบการที่ไม่ประสงค์รับคนพิการทำงาน ดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินบริจาค ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2536-2549 มีเงินทุนหมุนเวียนรวม 763 ล้านบาท  ในปลายปี 2548กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องรายรับไม่พอกับรายจ่าย อันเป็นผลมาจากคนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพและมีความต้องการกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายวงเงินจากรายละ 20,000 บาท เป็น 40,000 บาท ทำให้มีเงินค้างโอนจำนวนมากและต้องชะลอการปล่อยกู้ คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจึงมีมติเห็นชอบให้ก พม.หารือกับธนาคารออมสินในการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องของกองทุนฯ


www.waddeeja.com

สมาคมคพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2007-10-02 21:42:28 IP : 124.121.136.225


<< ก่อนหน้า 1 2 3 4 [5]

ความคิดเห็นที่ 201 (4283981)

 โครงการ รับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

และ อุปกรณ์ต่อพ่วง - อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ทุกชนิดที่เสียแล้ว เพื่อนำไปรีไซเคิล     รียูส แล้วนำเงินที่ได้ ไปช่วยเหลือคนพิการ  จัดหากายอุปกรณ์ ให้คนพิการ

ลงพื้นที่เยี่ยมคนพิการ โดยที่ใช้เงินที่มาจากขยะ......คอมพิวเตอร์ที่ท่านช่วยบริจาค 

 

 

ขยะคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ ช่วยเหลือ"พี่น้องคนพิการไทย

 ทุกวันนี้ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงตามมาเร็วมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และพรินเตอร์ โดยวัตถุเหลือใช้พวกนี้หากจัดการไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อสุขภาพและระบบนิเวศน์

แต่บรรดาขยะที่ดูแล้วไร้ประโยชน์พวกนี้ กลับสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องคนพิการในสังคมไทยได้ เพียงแค่คุณนำไปบริจาคที่สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

 

 พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร 02 9900331 0817352316  www.apdi2002.com

E-mail :apdi9000@gmail.com

FB.สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

28 ธันวาคม 2564 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2021-12-28 10:23:41 IP : 49.48.227.255


ความคิดเห็นที่ 202 (4284241)

 ขยะคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ ช่วยเหลือ"พี่น้องคนพิการไทย

โครงการรับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ปี 2021   

 


 ทุกวันนี้ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงตามมาเร็วมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และพรินเตอร์ โดยวัตถุเหลือใช้พวกนี้หากจัดการไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อสุขภาพและระบบนิเวศน์

แต่บรรดาขยะที่ดูแล้วไร้ประโยชน์พวกนี้ กลับสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องคนพิการในสังคมไทยได้ เพียงแค่คุณนำไปบริจาคที่สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

 

 พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร 02 9900331  021204992 www.apdi2002.com

E-mail :apdi9000@gmail.com

FB.สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

29 ธันวาคม 2564

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2021-12-29 11:30:49 IP : 49.228.230.137


ความคิดเห็นที่ 203 (4284468)

  รับบริจาคขยะคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์ ช่วยเหลือ"พี่น้องคนพิการไทย


 
ทุกวันนี้ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงตามมาเร็วมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และพรินเตอร์ โดยวัตถุเหลือใช้พวกนี้หากจัดการไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อสุขภาพและระบบนิเวศน์

แต่บรรดาขยะที่ดูแล้วไร้ประโยชน์พวกนี้ กลับสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องคนพิการในสังคมไทยได้ เพียงแค่คุณนำไปบริจาคที่สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล


พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล กล่าวว่า สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหว (สพค.) เป็นองค์กรของคนพิการ ที่บริหารงานโดยคณะกรรมการที่เป็นคนพิการทั้งหมด เป็นสมาคมที่ไม่แสวงหากำไร มุ่งเน้นการพัฒนา ส่งเสริมสนับสนุน งานช่วยเหลือฟื้นฟู เผยแพร่ข่าวสารความรู้ด้านสิทธิประโยชน์ให้กับคนพิการทุกประเภท

เมื่อปี พ.ศ. 2555 หลังจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ มีข้าวของจำพวกขยะอิเล็กทรอนิกส์มากมายที่พังเสียจากอุทกภัยครั้งนั้น รวมทั้งเงินบริจาคก็ลดน้อยลง ทางสมาคมจึงนำขยะเหล่านี้ไปขาย เพื่อนำเงินที่ได้มาจัดหาอุปกรณ์ให้กับพี่น้องคนพิการ และเป็นค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ในสมาคม

จึงเกิดเป็นโครงการขอรับบริจาคคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานที่เสียแล้ว หรือตกรุ่น เช่น จอคอมพิวเตอร์ ซีพียูคอมพิวเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด พรินเตอร์ โทรศัพท์ตั้งโต๊ะ โทรศัพท์มือถือ เครื่องสำรองไฟ (UPS) FAX PINT เครื่องอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกชนิดที่เสีย แผ่น CD หรือแผ่น DVD ที่เสียแล้ว อุปกรณ์ไฟฟ้า พัดลม เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อนำมาแยกชิ้นส่วนเป็นสินค้ารีไซเคิล โดยพนักงานฝ่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากสารเคมีปนเปื้อน แล้วนำมาจำหน่าย โดยทางสมาคมจะร่างจดหมายขอความอนุเคราะห์ขอรับบริจาคไปตามบริษัทใหญ่ต่างๆ ทั่วประเทศ


สาเหตุที่ขอรับบริจาคขยะคอมพิวเตอร์นอกจากจะมีมูลค่าที่สูง ขายได้ราคาดีกว่าสิ่งของประเภทอื่นแล้ว พื้นที่ใช้ในการจัดเก็บก็คุ้มค่ากับราคาที่ได้ อาทิ หากเก็บกระดาษโดยใช้พื้นที่เท่ากันกับพวกคอมพ์ แต่มูลค่าเงินที่ได้ต่างกันหลายเท่า ซึ่งทางบริษัทส่งออกที่มารับซื้อเขาก็จะให้ราคาที่สูงกว่าคนทั่วไปที่ขาย ถือว่าเป็นการช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง สินค้าที่รับซื้อก็จะนำไปขายต่อเพื่อนำไปแปรรูปเป็นโลหะ หรือผลิตเป็นสินค้าต่อไป เงินทุนที่ได้ ทางสมาคมจะนำไปจัดกิจกรรมเพื่อสังคมให้กับคนพิการที่มีอยู่กว่า ล้าน แสนคนทั่วประเทศ รวมทั้งนำไปจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ เช่น รถวีลแชร์ รถสามล้อโยกให้กับคนพิการ และยังเป็นค่าใช้จ่ายในการออกตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำคนพิการ และช่วยเหลือเบื้องต้นตามต่างจังหวัด

"แม้จะมีคนร่วมบริจาคไม่มาก แต่ก็รู้สึกดีใจที่ยังมีคนเห็นความสำคัญของพวกเรา ทางสมาคมก็พยายามรวบรวมเงินทีละเล็กทีละน้อย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนพิการเท่าที่ทำได้ หากหน่วยงานไหนมีขยะคอมพิวเตอร์ที่จะบริจาคจำนวนมาก ทางสมาคมก็ยินดีไปรับของบริจาคที่หน่วยงาน แต่หากสิ่งของจำนวนไม่เยอะ ก็ต้องขอความกรุณาช่วยส่งมาให้กับทางสมาคมของเราด้วยครับ เพราะข้าวของทุกชิ้นที่พวกท่านไม่ต้องการนั้น มันกลับมีค่าอย่างมากกับคนพิการอย่างเรา" นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากลกล่าว

นอกจากนี้ ท่านสามารถช่วยคนพิการได้โดยให้โอกาส และยอมรับคนพิการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หรือร่วมบริจาคเงินหรือสิ่งของผ่านโครงการของสมาคม และผ่านโครงการรับบริจาครถวีลแชร์ รถสามล้อโยกคนพิการที่ใช้แล้วแต่ยังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ เพื่อให้คนพิการที่อยู่ตามต่างจังหวัด หรือจะเป็นโครงการรับบริจาคเงินเพื่อนำไปซื้อรถวีลแชร์ รถสามล้อโยกสำหรับคนพิการทั่วประเทศ

สอบถามรายเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สมาคมคนพิการทางเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่ที่ 12 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130โทร. 0-2990-0331 และ 08-1735-2316 หรือ apdi9000@gmail.com 

ทุกคนมีส่วนช่วยเหลือคนพิการได้ เพียงแค่ทุกภาคส่วนให้โอกาสสนับสนุนคนพิการ.


พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

FB.สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.apdi2002.com

E-mail : apdi9000@gmail

Tel. 021204992, 029900331

30 ธันวาคม  64


ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2021-12-30 10:37:03 IP : 49.48.231.220


ความคิดเห็นที่ 204 (4284699)

 ขยะคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ ช่วยเหลือ"พี่น้องคนพิการไทย

โครงการรับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ปี 2021   

 

31 ธันวาคม 2564

คณะกรรมการบริหารสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม มอบชุดตรวจเยี่ยม ให้คนพิการ จำนวน 5 ราย พร้อมด้วยอาสาสมัคร อสม.รพสต. จิตอาสา ต.มุจลินท์ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี  ร่วมมอบชุดตรวจเยี่ยมตามโครงการ จำนวน 5  ครอบครัว 

 

 ทุกวันนี้ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาขยะจึงตามมาเร็วมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวกโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และพรินเตอร์ โดยวัตถุเหลือใช้พวกนี้หากจัดการไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อสุขภาพและระบบนิเวศน์

แต่บรรดาขยะที่ดูแล้วไร้ประโยชน์พวกนี้ กลับสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องคนพิการในสังคมไทยได้ เพียงแค่คุณนำไปบริจาคที่สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

 

 พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร 02 9900331  021204992 www.apdi2002.com

E-mail :apdi9000@gmail.com

FB.สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

31 ธันวาคม  2564

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2021-12-31 07:40:16 IP : 49.48.228.99



<< ก่อนหน้า 1 2 3 4 [5]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.