ReadyPlanet.com


3 กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก


                                                                     วันทหารผ่านศึก

ประวัติ และความเป็นมาของวันทหารผ่านศึก

 

วันทหารผ่านศึก (The Thai Veterans Day) ตรงกับวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือหลัง สงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดประจำการ จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ทหารเหล่านั้น

 

ประวัติวันทหารผ่านศึก

ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ กระทรวงกลาโหมอันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้โดยตรง จึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่ กลับจากปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ ต่อมากระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้ง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๑ จึงได้ยึดเอาวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก

ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ องค์การทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว

 

ความเป็นมาของวันทหารผ่านศึก

...สงคราม...เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็น ถึงความขัดแย้งของมนุษยชาติ ชนต่างเผ่าต่างพันธุ์แสดงหาอำนาจโดยทำการสู้รบเบียดเบียนกัน ฝ่ายผุ้รุกรานอ้างเหตุผลความจำเป็นต่างๆนานา ฝ่ายที่ต่อสู้ขัดขวางก็ทำไปตามสิทธิและความรับผิดชอบของตน ประเทศไทย เป็นชาติหนึ่งที่มีประวัติการสู้รบอันยาวนาน ...มิใช่เพื่อรุกราน แต่เพื่อการปกป้องเอกราชอธิปไตยและดินแดนไว้ให้ลูกหลานสืบไป บรรพบุรุษของไทยต้องสละชีวิต เลือดเนื้อ เพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ ชาวไทยทุกคนต่างรำลึกในวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของวีรชนไทย เมื่อถึงวาระอันสำคัญ ลูกหลานไทยทุกคนพร้อมที่จะแสดงความคารวะเพื่อเป็นการรำลึกและเทิดเกียรติของ ท่าน

อดีต
จากอดีตมาจนปัจจุบัน เมื่อเกิดศึกสงครามชายไทยต้องถูกส่งออกไปทำการรบ เมื่อสำเร็จสิ้นสงครามก็กลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบถูกปลดปล่อยอย่างกระทันหัน ทำให้เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ โดยเฉพาะครอบครัวของผู้เสียชีวิตหรือทหารที่พิการทุพพลภาพ ดังนั้น เพื่อหาทางช่วยเหลือทหารผ่านศึกเหล่านี้ รัฐบาลไทยในสมัยนั้น ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการพิจารณาหาทางช่วยเหลือทหารกองหนุน" เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ คณะกรรมการชุดนี้ได้ปฏิบัติงานโดยใช้สำนักงานและเจ้าหน้าที่ของกรมเสนาธิการ ทหาร (ปัจจุบันคือ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และได้พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนจากงบประมาณของกระทรวงกลาโหมจำนวนหนึ่ง เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการเหล่านั้น เนื่องจากปริมาณงานด้านการให้ความช่วยเหลือในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกนอก ประจำการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การดำเนินงานโดยคณะกรรมการไม่รัดกุมและเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงจัดตั้ง "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" ขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยงานถาวร ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง โดยได้มีการร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งถือเป็นวันทหารผ่านศึกตลอดมา

ปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ สภาทหารผ่านศึกสภากลาโหม และรัฐบาล ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเสียใหม่เพื่อเป็นการขยายการสงเคราะห์ ให้รวมไปถึง ทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และรวมถึงทหารนอกประจำการที่มิได้ผ่านศึกด้วย กับทั้งยังได้รวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหาร ที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้ามารวมเป็นหน่วยเดียวกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เพื่อให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก กองทัพเรือ  กองเรือฟรีเกตที่ ๑

พันตรี ศิริชัย ทรัพย์ศิริ

ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ เลขที่ ๐๐๐๓๖๐๔/๓๘

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

กรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๒  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๗

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2024-02-02 20:51:59 IP : 49.48.228.172


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4461352)

                                                                                              วันทหารผ่านศึก

ประวัติ และความเป็นมาของวันทหารผ่านศึก

 

วันทหารผ่านศึก (The Thai Veterans Day) ตรงกับวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือหลัง สงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดประจำการ จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ทหารเหล่านั้น

 

ประวัติวันทหารผ่านศึก

ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ กระทรวงกลาโหมอันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้โดยตรง จึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่ กลับจากปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ ต่อมากระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้ง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๑ จึงได้ยึดเอาวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก

ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ องค์การทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว

 

ความเป็นมาของวันทหารผ่านศึก

...สงคราม...เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็น ถึงความขัดแย้งของมนุษยชาติ ชนต่างเผ่าต่างพันธุ์แสดงหาอำนาจโดยทำการสู้รบเบียดเบียนกัน ฝ่ายผุ้รุกรานอ้างเหตุผลความจำเป็นต่างๆนานา ฝ่ายที่ต่อสู้ขัดขวางก็ทำไปตามสิทธิและความรับผิดชอบของตน ประเทศไทย เป็นชาติหนึ่งที่มีประวัติการสู้รบอันยาวนาน ...มิใช่เพื่อรุกราน แต่เพื่อการปกป้องเอกราชอธิปไตยและดินแดนไว้ให้ลูกหลานสืบไป บรรพบุรุษของไทยต้องสละชีวิต เลือดเนื้อ เพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ ชาวไทยทุกคนต่างรำลึกในวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของวีรชนไทย เมื่อถึงวาระอันสำคัญ ลูกหลานไทยทุกคนพร้อมที่จะแสดงความคารวะเพื่อเป็นการรำลึกและเทิดเกียรติของ ท่าน

อดีต
จากอดีตมาจนปัจจุบัน เมื่อเกิดศึกสงครามชายไทยต้องถูกส่งออกไปทำการรบ เมื่อสำเร็จสิ้นสงครามก็กลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบถูกปลดปล่อยอย่างกระทันหัน ทำให้เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ โดยเฉพาะครอบครัวของผู้เสียชีวิตหรือทหารที่พิการทุพพลภาพ ดังนั้น เพื่อหาทางช่วยเหลือทหารผ่านศึกเหล่านี้ รัฐบาลไทยในสมัยนั้น ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการพิจารณาหาทางช่วยเหลือทหารกองหนุน" เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ คณะกรรมการชุดนี้ได้ปฏิบัติงานโดยใช้สำนักงานและเจ้าหน้าที่ของกรมเสนาธิการ ทหาร (ปัจจุบันคือ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และได้พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนจากงบประมาณของกระทรวงกลาโหมจำนวนหนึ่ง เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการเหล่านั้น เนื่องจากปริมาณงานด้านการให้ความช่วยเหลือในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกนอก ประจำการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การดำเนินงานโดยคณะกรรมการไม่รัดกุมและเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงจัดตั้ง "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" ขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยงานถาวร ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง โดยได้มีการร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งถือเป็นวันทหารผ่านศึกตลอดมา

ปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ สภาทหารผ่านศึกสภากลาโหม และรัฐบาล ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเสียใหม่เพื่อเป็นการขยายการสงเคราะห์ ให้รวมไปถึง ทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และรวมถึงทหารนอกประจำการที่มิได้ผ่านศึกด้วย กับทั้งยังได้รวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหาร ที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้ามารวมเป็นหน่วยเดียวกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เพื่อให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก กองทัพเรือ  กองเรือฟรีเกตที่ ๑

พันตรี ศิริชัย ทรัพย์ศิริ

ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ เลขที่ ๐๐๐๓๙๐๔/๓๘

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

กรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๓ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๗

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2024-02-03 07:32:43 IP : 49.48.225.150


ความคิดเห็นที่ 2 (4462894)

  สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

802/410 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซ.10/4 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130

จัดทำโครงการ รับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง   อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่เสีย เพื่อนำไปรีไซเคิล รียูส แล้วนำเงินที่ได้ ไปช่วยเหลือคนพิการ  จัดหากายอุปกรณ์  รถสามล้อโยก รถวีลแชร์ ให้คนพิการ  และลงพื้นที่เยี่ยมคนพิการ โดยใช้เงินที่มาจากขยะ......คอมพิวเตอร์.

 ท่านสามารถบริจาค... เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่เสีย พัดลม แอร์ ตู้เย็น โทรทัศน์  พัดลมตั้งโต๊ะ เครื่องทำน้ำร้อน น้ำอุ่น เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องเป่าผม เครื่องปั่นทุกชนิด เครื่องใช้สำนักงานที่ใช้ไฟฟ้า ทุกชนิดในสำนักงาน  เครื่องตอกบัตร เครื่องสแกน เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่าย อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เสีย ทุกชนิด ....รับทั้งหมด.

 

ฝ่ายธุรการสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล   

คุณ ออย  โทร  02-990-0331 / E-mail : apdi9000@gmail.com

งานหนังสือขอบคุณ ผู้บริจาค

 

ประสานฝ่ายรับบริจาคของสมาคม

คุณ ออย คุณ กราฟ โทร 029900331 021204992  ฝ่ายรับบริจาคคอมพิวเตอร์

คุณ กุ้ง  หัวหน้าสำนักงาน โทร 0817352316

เบอร์กลางสมาคม โทร. 029900331   E-mail : apdi9000@gmail.com

 

วันเวลา ที่เปิดรับบริจาค....

วันจันทร์ - วันศุกร์  เวลา  08.30 - 17.00 น.

วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เปิดครึ่งวัน  09.00 - 14.00 น.

 

 

ติดตามดูภาพกิจกรรมได้ที่.....

FB.สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล  

www.apdi2002.com

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

12 กุมภาพันธ์  2567   

 

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากลแจ้งข่าวกิจกรรมสมาคม.

กิจกรรมต้นปี 2567

เยี่ยมคนพิการ ผู้ยากไร้ จำนวน 10 ครอบครัว

พร้อมมอบชุดเยี่ยมให้คนพิการ

ณ อ. เด่นชัย จ. แพร่

ในวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2567 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2024-02-12 07:40:17 IP : 49.48.250.164



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.