ReadyPlanet.com


สิทธิรับบำเหน็จข้าราชการพิการ


 

สิทธิรับบำเหน็จ ข้าราชการพิการ

กรมบัญชีกลางมีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 (เรื่องเสร็จที่ ๓๖๕/๒๕๕๑) ความว่า มีปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้และการตีความ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๑ กับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือดำรงชีพผู้พิการทุพพลภาพ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบ ค่าทดแทน และการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือช่วยเหลือราชการ เนื่องในการป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ พ.ศ.๒๕๒๑ (ระเบียบ บ.ท.ช.) ดังนี้

 ๑.กรณีผู้ที่ได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพผู้พิการทุพพลภาพตามระเบียบ บ.ท.ช. อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาภายหลังได้ยื่นขอรับสิทธิบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพฯตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการจะต้องดำเนินการอย่างไร

๒.กรณีผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพและเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพผู้พิการฯ ต่อมา พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๕๕๑ บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพที่ได้รับรวมกับบำนาญปกติ ถ้ามีจำนวนเงินรวมกันไม่ถึงเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท ให้ได้รับบำนาญพิเศษเพิ่มขึ้นอีกจนครบ ๑๕,๐๐๐ บาท ซึ่งส่งผลให้ผู้มีสิทธิดังกล่าวข้างต้นได้รับเงินบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ และเงินเพิ่มรายเดือนต่างๆ เกินกว่า ๒ เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนขั้นต่ำ ดังนั้น จะถือว่า บุคคลดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพผู้พิการฯและต้องตัดเงินช่วยเหลือฯตามระเบียบ บ.ท.ช. หรือไม่ อย่างไร

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) เห็นว่า สิทธิในการรับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพเป็นไปตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนสิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพผู้พิการฯเป็นไปตามระเบียบ บ.ท.ช.) การพิจารณาเงื่อนไขแห่งการได้รับสิทธิดังกล่าวจึงต้องพิจารณาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพเป็นสิทธิที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ เมื่อเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองไว้โดยมิได้มีเงื่อนไขในการตัดสิทธินี้แล้ว จึงไม่อาจนำเรื่องการได้รับ

เงินช่วยเหลือดำรงชีพผู้พิการฯ ตามระเบียบ บ.ท.ช. มาเป็นเหตุตัดสิทธิการได้รับบำนาญพิเศษฯได้ สำหรับการได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพผู้พิการฯเป็นนโยบายการบริหารราชการ การพิจารณาว่า บุคคลใดควรจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ บ.ท.ช. และต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายใต้ระเบียบ บ.ท.ช. ถ้าเห็นว่า หลักเกณฑ์นั้นยังไม่เหมาะสม ก็สามารถเสนอแนะต่อ ครม.เพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไปได้ ปัญหาข้อหารือเป็นปัญหาการพิจารณาข้อเท็จจริง ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละราย และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาบำเหน็จความชอบ ค่าทดแทน และการช่วยเหลือ (ก.บ.ท.ช.) ที่จะเป็นผู้พิจารณา

(มติชนออนไลน์ ๒๗ พค. ๒๕๕๑ )

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

 0506510933



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-05 09:35:12 IP : 124.121.139.80


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.