ReadyPlanet.com


คนพิการ - ดูแบบ พระเมรุทรงยอดปราสาท


แบบ พระเมรุทรงยอดปราสาท

          พระพี่นาง พระพี่นางเธอ สมเด็จพระพี่นาง ข่าว รายงาน อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เผยแบบพระเมรุทรงยอดปราสาท พระพี่นาง พระพี่นางเธอ สมเด็จพระพี่นาง โครงสร้างหลัก หน้าบันแถลง ประดับตราสัญลักษณ์ ที่นี่




         อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เผยแบบพระเมรุทรงยอดปราสาท "พระพี่นางฯ" โครงสร้างหลัก หน้าบันแถลง ประดับตราสัญลักษณ์ บนสุดเป็นเศวตฉัตร 7 ชั้น ลวดลายใกล้เคียงกับสมเด็จย่า

         น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และในฐานะผู้ออกแบบพระเมรุ กล่าวเมื่อวันที่ 8 มกราคม ว่า ใช้เวลาในการออกแบบพระเมรุไม่มาก คือ เริ่มออกแบบตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม และเสร็จเวลา 22.00 น. ของคืนวันที่ 7 มกราคม และได้นำแบบร่างพระเมรุถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรทั้ง 2 แบบ คือ พระเมรุทรงยอดปราสาทและยอดปรางค์ รับสั่งให้ใช้แบบพระเมรุทรงยอดปราสาท มีรูปแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมคล้ายพระเมรุของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมารศรี พระอัครราชเทวี
 
         "พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จะมีโครงสร้างหลักประกอบด้วย หน้าบันแถลง ประดับตราสัญลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เหนือหน้าบันแถลงขึ้นไปเป็นบันเชิงกร 5 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นบัวกลุ่มรับ 5 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นปรีคั่นด้วยลูกแก้ว เหนือลูกแก้วเป็นเม็ดน้ำค้าง และบนสุดเป็นเศวตฉัตร 7 ชั้น" น.อ.อาวุธ ระบุ

         น.อ.อาวุธ กล่าวว่า ลวดลายพระเมรุจะใกล้เคียงกับพระเมรุสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า จะใช้ลวดลายซ้อนไม้แทนลายแกะสลัก มีลักษณะเรียบง่ายแต่สมพระเกียรติ จะใช้กระดาษทองปิดลวดลายแทนทองเปลว เหมือนศิลปะประดับกระจกของศาลาไทย โดยโครงสร้างพระเมรุจะใช้ไม้จำนวนน้อย เพราะหายาก และจะใช้ไม้อัดประกอบกับเหล็กเป็นส่วนโครงสร้างเสา
 
         "นอกจากนี้ จะออกแบบพิเศษให้มีลิฟต์ยก โดยคาดว่าใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 - 7 เดือน จึงจะแล้วเสร็จ ใกล้เคียงกับของสมเด็จย่า" น.อ.อาวุธ กล่าว

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

รวมรวม

0902511546



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2008-02-09 15:36:51 IP : 124.121.139.89


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1752740)

21-31มี.ค.ฤกษ์ยกเสาเอกพระเมรุ



ความคืบหน้ากรณีกรมศิลปากร ประสานพระราชครูวามเทพมุนีขอฤกษ์ยกเสาเอกพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในช่วงเดือนมี.ค. ภายหลังคณะทำงานออกแบบและจัดสร้างพระเมรุที่มี น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานได้ออกแบบพระเมรุและอาคารประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว

เมื่อวันที่ 8 มี.ค. พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เปิดเผยถึงการคำนวณฤกษ์ยกเสาเอกพระเมรุว่า ตามที่กรมศิลปากรได้ประสานมาขอฤกษ์ยามยกเสาเอกพระเมรุตั้งแต่กลางเดือนมี.ค.ไปแล้ว ว่าวันเวลาใดเป็นช่วงมงคล และขอให้กำหนดฤกษ์ติดต่อกันไว้หลายวัน เนื่องจากกรมศิลปากรจะพิจารณาวันเวลาแล้วทำหนังสือเชิญนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เพื่อเข้าร่วมพิธีดังกล่าว ทั้งนี้ ตนทำการคำนวณฤกษ์เสร็จเรียบร้อย และนำส่งไปที่กรมศิลปากรพิจารณาเบื้องต้นแล้ว เพื่อกำหนดวันเวลาบอกกล่าวต่อไป

"ฤกษ์ยกเสาเอกพระเมรุกำหนดไว้เบื้องต้นอยู่ในช่วงวันที่ 21-31 มี.ค. ตามลัคนาสถิตวัน 7 วัน หรือรอบสัปดาห์ถือเป็น "มัธยมฤกษ์" หมายถึงฤกษ์ในวันที่อยู่ตรงกลางระหว่างข้างขึ้นและข้างแรม ซึ่งเหมาะทำการปลูกบ้านสร้างเรือนอาคาร สำหรับเวลามงคลนั้นเป็น "ภูมิปาโลฤกษ์" ลัคนาสถิตราศีอยู่ในช่วงสายตั้งแต่ประมาณ 10.00-12.00 น. หรือล่วงยามหลังเที่ยงไม่มาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพระอาทิตย์อุทัยในวันนั้นว่าดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาเช้ากี่โมง แต่โดยรวมของฤกษ์แล้วถือว่าเป็นมงคล มั่นคงแข็งแรงสมบูรณ์ ส่วนพิธีบวงสรวงทางศาสนาพราหมณ์มีเครื่องพนมบายศรีปากชาม ขออนุญาตเทพยดาประจำพระเมรุหรือประจำเขาพระสุเมรุ เจ้าที่เจ้าทางสถิตประจำท้องสนามหลวง ให้การดำเนินงานของคณะช่างสร้างพระเมรุสำเร็จลุล่วงสมบูรณ์" พระราชครูวามเทพมุนี กล่าว

ด้านนายไพบูลย์ ผลมาก ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า วันนี้กลุ่มช่างสำรวจเข้าพื้นที่บริเวณสร้างพระเมรุ ได้ทำการวัดระยะตำแหน่งอาคารพระที่นั่งทรงธรรม ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ให้อยู่ตรงจุดกึ่งกลางของหมุดพระเมรุที่วางหลักก่อนหน้านี้ มีพื้นที่ระยะห่างเท่าไรเมื่อสร้างขึ้นแล้วได้ดูสง่างามให้เข้าสถาปัตยกรรมไทยและสมพระเกียรติ สำหรับอาคารอื่นๆ ทำแบบร่างเสร็จแล้ว เช่น ทับเกษตร ซึ่งเป็นที่นั่งของผู้ที่ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยเหนืออาคารทับเกษตรบริเวณหลังคาประดับด้วย ฉัตร 7 ชั้น พระอิสริยยศของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อาคารซ่างที่นั่งพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ชาลาตั้งประดับเทวดานั่งถือบังแทรก เป็นต้น

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

0903510846

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-09 09:35:20 IP : 124.121.138.47


ความคิดเห็นที่ 2 (2538258)

 

เพลงนางหงส์ เพลงเรื่องฉิ่งพระฉัน ประโคมงาน

พระศพ "พระพี่นางฯ"

โดย วิมลมาส สุทธิทองทรัพย์


งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีการบรรเลงดนตรีในพระพิธีด้วย

ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ผู้อำนวยการสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร มาให้ความรู้เรื่องนี้ โดยอธิบายว่า ในงานพิธีกรรมต่างๆ ของคนไทยจะมีดนตรีบรรเลงประกอบพิธีนั้นๆ มาตั้งแต่โบราณ

ทั้งพระราชพิธีของสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐพิธีของรัฐบาล และพิธีกรรมของประชาชนทั่วไป

เพียงแต่ว่าจะใช้ในสถานการณ์ไหน ประกอบพิธีใด ตามความเหมาะสม

สำหรับดนตรีประโคมในงานอวมงคลสำหรับพระราชพิธีของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น มีขั้นตอนรายละเอียดและใช้วงดนตรีหลายรูปแบบด้วยกัน

สำหรับการประโคมดนตรีในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีหน่วยงานดูแล 2 หน่วยงาน คือ วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ) และ วงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม



เมื่อเริ่มพระพิธีมีรายละเอียด ดังนี้ วันแรกจะเปิดด้วยแตรวงทหาร บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เมื่อเจ้าพนักงานเชิญพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เสด็จลงพระโกศ แตรวงทหารวงที่ 2 จะบรรเลง "เพลงมหาชัย" เมื่อจบเพลง นักดนตรีจะประโคม "เพลงพญาโศก" ซึ่งเป็นเพลงโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ให้ความรู้สึกโศกเศร้าแก่ผู้ที่ได้รับฟัง ซึ่งปัจจุบันหาฟังยาก

วงต่อมา คือ วงแตรสังข์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง จะประโคม "เพลงสำหรับบท"

เมื่อวงแตรสังข์ประโคมจบ วงปี่ไฉนกลองชนะ จะประโคมต่อ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ไฉน กลองชนะ เปิงมาง ประโคม "เพลงพญาโศกลอยลม"

วงสุดท้าย วงปี่พาทย์นางหงส์ ประกอบด้วย ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง

เหตุที่ใช้ชื่อวงว่า ปี่พาทย์นางหงส์นั้น อาจารย์อธิบายว่า เพราะใช้เพลงนางหงส์ (เพลงพราหมณ์เก็บหัวแหวน) เป็นเพลงแรกในการบรรเลง แต่เดิมบรรเลงในงานศพของประชาชนทั่วไป ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย ขุนนาง และใช้ประโคมตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ และพระศพเท่านั้น ไม่ได้ใช้ประโคมย่ำยาม



"ครั้งแรกที่นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาประโคมย่ำยาม ก็เมื่องานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้วงปี่พาทย์นางหงส์ของศิลปากรเข้ามาบรรเลงประโคมย่ำยามด้วย ซึ่งเพลงที่ใช้คือ "เพลงเรื่องนางหงส์"

ส่วนการบรรเลงครั้งนี้ จะเริ่มด้วยเพลงนางหงส์ก่อนแล้วต่อเนื่องด้วยเพลงสาวสอดแหวน เพลงแสนสุดสวาท เพลงแมลงปอ เพลงแมลงวันทอง

"แต่ละเพลงชื่อเพราะทั้งนั้น นิยมใช้ในงานศพ เพราะมีท่วงทำนองที่บ่งบอกถึงความสงบ"

นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังโปรดให้วงปี่พาทย์บรรเลง "เพลงเรื่องฉิ่งพระฉัน" สำหรับพระสงฆ์ที่สวดพระอภิธรรม รับพระราชทานฉันภัตตาหารเช้าทั้ง 8 รูปทุกวัน

เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันนั้นมีเฉพาะดนตรีเครื่องทำทำนองกับฉิ่งเท่านั้น ไม่มีกลอง จะบรรเลงไปในขณะพระฉันภัตตาหาร

สำหรับการประโคมนั้นจะบรรเลงประโคมย่ำยามกันทั้งวันทั้งคืน เริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้า, 9 โมงเช้า, เที่ยง, บ่าย 3 โมง, 6 โมงเย็น, 3 ทุ่ม, เที่ยงคืน และตี 3

"แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เห็นใจนักดนตรี จึงโปรดให้ตัดตอนตี 3 ออก เพราะฉะนั้นจะเริ่มบรรเลงตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึงเที่ยงคืน และจะเปลี่ยนเวรกัน โดยจะประโคมทุก 3 ชั่วโมง เมื่อประโคมครบทั้ง 3 วงแล้ว ถือว่าเสร็จการประโคมย่ำยาม 1 ครั้ง" อาจารย์สิริชัยชาญกล่าว

เสียงตบท้ายของผู้อำนวยการสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ บอกว่า งานมงคลก็จะใช้เพลงสำหรับงานมงคล ส่วนงานอวมงคลก็จะใช้เพลงสำหรับงานอวมงคลเท่านั้น จะไม่มีการมาใช้บรรเลงปะปนกัน

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

 1205512115

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-12 21:03:43 IP : 124.121.140.77



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.