ReadyPlanet.com


ระบบสมองกล...ช่วยคนพิการตาบอด


ระบบสมองกล....ช่วยคนตาบอด
16 กรกฎาคม 2550

ระบบสมองกล….ช่วยคนตาบอด

เนคเทค เผยผลสุดยอด ๓ ทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขันพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยระบบสมองกลฝังตัว ครั้งที่๑ (Embedded Systems on New Industrial Design Camp and Contest Yr 2007

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค/สวทช.) กล่าวถึงเกณฑ์ในการตัดสินผลงานโดยดูจาก รูปแบบผลิตภัณฑ์ ความอัจฉริยะ และการตลาด โดยนำผลงานของ ๓ ทีมที่คัดเลือกมาพัฒนาต่อให้สามารถใช้ได้จริง "๑๐ ผลงานการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์สมองกลฝังชิพอัจฉริยะ เกิดจากการคิดค้นสร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบด้านระบบสมองกลฝังตัว การดีไซน์รูปลักษณ์ และการวางแผนการตลาด โดยมีการนำความรู้ในห้องเรียนมาปรับใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปต่อยอดให้ใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์" ผลงานที่ผ่านเข้ารอบ ๓ ทีมสุดท้ายจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ ๒๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายน ๒๕๕๐ โดยทีมผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า ๑๕๐,๐๐๐ บาท รองชนะเลิศอันดับ๑ ได้รับโล่เกียรติยศพร้อมเงินรางวัลมูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท รองชนะเลิศอันดับ๒ ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า ๕๐,๐๐๐ บาท ซึ่ง ๓ ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้แก่ ทีมแรกจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำระบบป้ายแสดงสินค้าอิเล็ก ทรอนิกส์แบบไร้สาย (WELS) ทีมที่สองที่ผ่านเข้ารอบคือทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คสำหรับผู้พิการทางสายตา (AmBraille) "เก่ง - ณัฐวุฒิ สุวรรณรัตน์" นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ เป็นตัวแทนของกลุ่มกล่าวว่า ลักษณะพิเศษของโน๊ตบุ๊คคือสามารถรับส่งข้อมูลเป็นภาษาเบรลล์ได้ และสามารถแปลเป็นภาษาไทยและอังกฤษได้เหมือนคอมพิวเตอร์ ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นระบบ Speed Recognize โดยคลิ๊กที่บรรทัดนั้นแล้วจะเป็นเสียงอ่านทั้งประโยค ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบเป็นทีมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทำเครื่องช่วยสำรวจตำแหน่งสิ่งกีดขวางของผู้พิการทางสายตา เพื่อลดอุบัติเหตุการเดินทาง (BUDDY WAY) โดย "เค - อภิเชษฐ์ มงคลพรอุดม" นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ หนึ่งในสมาชิกของทีม กล่าวว่าจุดเด่นของทีมคือมีงานวิจัยที่ตอบสนองต่อผู้ใช้จริง และกระบวนการทำงานจะอาศัยสัญญาณอัลตร้าโซนิกจับวัตถุกีดขวาง และการทำงานของไม้เท้าจะเป็นระบบอัตโนมัติซึ่งหากไม่ได้ใช้งานภายใน ๑๕ วินาทีจะสามารถดับได้เอง ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้ด้วย "แรงบันดาลใจคือ อยากทำไม้เท้าตรวจจับสิ่งกีดขวางที่มีความสูงตั้งแต่หน้าอกจนถึงศีรษะสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งมีจุดเด่นคือทีมเรามีงานวิจัยที่ตอบสนองต่อผู้ใช้จริง มีการลงพื้นที่สอบถามและทดลองผลิตภัณฑ์กับผู้พิการทางสายตาด้วยตนเอง กระบวนการทำงานคือ การส่งสัญญาณคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sonic) จับวัตถุกีดขวาง แล้วสัญญาณจะสะท้อนกลับมาหากพบวัตถุในระยะที่กำหนดไว้ โดยไม้เท้าจะสั่นสะเทือนเพื่อเตือนให้หลบหลีกได้ทัน ซึ่งหากมีการใช้งานตัว Contact switch จะถูกสัมผัสตลอด ส่งผลให้การทำงานเป็นไปแบบอัตโนมัติ แต่หากไม่ใช้งาน contact switch จะดับภายใน ๑๕ วินาทีช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทาง ซึ่งปัญญาที่พบขณะนี้คืออุปกรณ์ไม่สามารถกันน้ำได้ โดยจะมีการพัฒนาต่อโดยใช้วัสดุตัวใหม่ที่มีความสามารถกันน้ำและขนาดเล็กกว่านี้ ส่วนในด้านการออกแบบ ต้องการลดขนาดให้เล็กลงเพื่อความเหมาะสมสำหรับใช้งานได้จริง"

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2007-07-22 06:21:11 IP : 124.121.135.251


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.