ReadyPlanet.com


เมษายน.....โลกก็ร้อน


 

บางกอกซัมมิทเรื่องโลกร้อน

ที่ประชุมสุดยอดของโลกในปีนี้ 2008 ได้ตัดสินใจมาถกเถียงกัน เรื่องปัญหาโลกร้อนและสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงของโลกที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยนี่เอง เมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม ที่ ผ่านมา
 
ในที่ประชุมสุดยอดของโลก ปีนี้มีผู้แทนจาก 163 ประเทศ ซึ่งจะได้ ถกเถียงเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการลดสภาวะเรือนกระจกของโลก
 
รัฐบาลไทยจะได้ฉวยโอกาสให้ความสนใจหรือมีการนำเสนอความคิดในระดับผู้นำเวทีโลก ในฐานะที่เราเป็นเจ้าบ้านหรือเปล่า ไม่ทราบ
 
แต่เรื่องนี้สำคัญต่อโลกและต่อประเทศไทย และสามารถใช้เวทีการประชุมเพื่อแสดงความเป็นผู้นำในการเสนอแนวคิดที่ปฏิบัติได้เพื่อผลักดันให้ชาวโลกช่วยกันหยุดและชะลอปัญหาสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นได้ซึ่งมีหลากหลายวิธีและชาวโลกก็จ้องมองอยู่
 
สำหรับในปีนี้นั้นการประชุมในช่วงฤดูร้อน หรือหน้าสงกรานต์ของไทย ยังนับว่าท้าทายและน่ากังวลอยู่ เพราะการสร้างข้อตกลงของนานาชาติให้เป็นผลในเฟสแรกตั้งแต่มีการทำสัญญาขึ้นมาที่โตเกียวเมื่อปี 1997 ยังหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งในเฟสแรกจะหมดในปี 2012
 
จากรายงานของที่ประชุม ทุกประเทศในโลกทราบดีว่าสภาวะเรือนกระจกที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิโลกสูงขึ้นได้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น ความแห้งแล้ง น้ำท่วม ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และพายุต่าง ๆ จะมีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ
 
นายวายโว เด โบเออร์ (Yvo de Boer) เลขาธิการบริหารของที่ประชุมโครงสร้างเกี่ยวกับสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงขององค์การสหประชาชาติ ได้ กล่าวก่อนเปิดการประชุมว่า เป็นการท้าทายอย่างยิ่งที่จะหาวิธีการให้หยุดและ ค่อย ๆ ลดการปล่อยก๊าซพิษออกโดย   ที่ยังทำให้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ นั้น ๆ อยู่ได้และไปได้ด้วยทันกับสภาวะของการเมือง
 
ทุกรัฐบาลในโลกรวมกระทั่งสหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วยกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลด  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลกที่กำลังจะหายนะเข้าไปทุกขณะ แต่ประเทศที่   เป็นตัวการทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งเป็นประเทศใหญ่ของโลกไม่มีใครไยดี
 
สหภาพยุโรปโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมแล้วได้เสนอ ที่จะให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์ โดยให้ลดลงกว่าปี 1990 ประมาณ 25-40% แต่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตัว  การใหญ่ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ของโลกอันดับหนึ่งกลับปฏิเสธข้อเสนอทั้ง ๆ ที่ตนเป็นผู้ยอมเซ็นสัญญาที่โตเกียวในปี 1997
 
ปี 1997 พรรคเดโมแครต หรือแปลได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีบิล คลินตัน เป็นผู้ริเริ่ม และสมัยนั้นนายอัล กอร์ เป็นรองประธานาธิบดี หลังจากประธานาธิบดีบิล คลินตัน พรรครีพับลิกันหรือแปลได้ ว่า พรรคสาธารณรัฐ โดยนายจอร์จ บุช  จูเนียร์ ได้เป็นประธานาธิบดีต่อครบ 2 สมัยจนคนอเมริกันเบื่อสุดขีด
 
ล่าสุดในวันเดียวกันนี้เอง อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ของสหรัฐอเมริกาของพรรคเดโมแครตนี่แหละ ซึ่งเพิ่งจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในฐานะผู้สามารถรณรงค์กระตุ้นให้ชาวโลกตระหนักถึงเรื่องโลกร้อนในภาพยนตร์เรื่อง The Inconvenient Truth ได้ประกาศเมื่อวันจันทร์เดียวกันนี้เองว่า จะเริ่มรณรงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครั้งใหญ่ของโลก โดยใช้งบประมาณการรณรงค์ครั้งนี้ถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินของตนเองที่ได้จากรางวัลโนเบลและเขาก็ได้พูดว่า
 
เมื่อนักการเมืองได้ยินว่าคนอเมริกันได้ส่งเสียงอันดังและชัดเจนว่า ต้องการเปลี่ยนแปลง เขาเหล่านั้นจะ  ฟังใช่เลย เพราะนักการเมืองกลัวเรื่องคะแนนเสียง แต่เข้าใจว่าหลังจากการรณรงค์ในครั้งนี้ทั้งบารัค โอบามา ฮิลลารี คลินตัน และ แมคเคน คงจะเลิกทะเลาะกันแล้วหันมาฟังเรื่องโลกร้อนกันบ้าง
 
บทบาทของนายอัล กอร์ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานา ธิบดีสหรัฐอเมริกา แต่ก็น่าชื่นชมกว่าการได้เป็นประธานาธิบดีเสียอีก
 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

 1704512128



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-17 21:17:41 IP : 124.121.143.190


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2156706)

 

ความจริงที่อยากให้รู้เรื่อง... โลกร้อน

 

เรื่องโลกร้อน ความจริงที่ไม่อยากรับรู้ซึ่งเป็นปรากฏ การณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและเริ่มที่จะ   เห็นผลกระทบได้ชัดเจนขึ้นในช่วงศตวรรษต่อจากนี้ไปตอนนี้เราต้องเริ่มตระหนักกันแล้วว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปและคงต้องร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้นเพื่อโลกใบนี้ของเรา
 
อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วว่าคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ร้อยปีมานี้ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝีมือของมนุษย์เองจากเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันซึ่งกลายมาเป็นต้นเหตุของปัญหาที่เราต้องมาตามแก้กันในทุกวันนี้
 
ในแวดวงวิทยาศาสตร์เองนั้นก็ไม่ได้เพิกเฉยกับการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยเห็นว่าการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายแล้ว คงไม่เพียงพอ เพราะว่าประชากรบนโลกก็ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน อีกทั้งป่าไม้ที่จะมาช่วยดูดซับคาร์บอนไดออก    ไซด์จากบรรยากาศก็ลดน้อยลงทุกที
 
ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อที่จะมาช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออก  ไซด์ในบรรยากาศด้วยอีกแรงหนึ่ง ซึ่งหากทำสำเร็จก็น่าจะเป็นหนทางที่จะบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมาก และน่าจะเป็นวิธีที่สามารถรับมือกับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นได้
 
ล่าสุดนักเคมีจาก Max Planck Institute for Colloids and Interfaces ประเทศเยอรมนี นำ เสนอเทคนิควิธีการใหม่เพื่อการกำจัดคาร์บอนไดออก   ไซด์ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งก็คือกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชนั่นเอง
 
หลายคนเคยเรียนมาว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศกับน้ำ และใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานในการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในรูปสารประกอบอย่างเช่นแป้ง น้ำตาล และโปรตีน
 
นั่นเป็นสมการอย่างง่ายของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ในรายละเอียด ยังมีกระบวนการที่แยกย่อยลงไปมากกว่านั้น ซึ่งก็คือกระบวนการที่โมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์จับตัวกับอะตอมของ ไนโตร    เจนกลายเป็นสารประกอบที่เรียกว่า      “คาร์บาเมต” (Carbamate) ซึ่งมีความเสถียรน้อยกว่าทำให้พืชสามารถนำคาร์บอนในสารประกอบดังกล่าวไปใช้ผลิตเป็นน้ำตาลหรือโปรตีนได้ง่ายกว่า
 
นักเคมีจากสถาบันดังกล่าวได้พัฒนาเทคนิควิธีโดยการเลียนแบบกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชโดยการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยานี้เองที่ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสารประกอบคาร์บาเมตเช่นเดียวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 
คาร์บอนไดออกไซด์ เบนซีน (benzene) และตัวเร่งปฏิกิริยาถูกนำมาผสมกันที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน3เท่าของความดันบรรยากาศ (ที่ระดับน้ำทะเล) โดยตัวเร่งปฏิกิริยาจะทำหน้าที่ดึงเอาออกซิเจนจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ทำให้ท้ายที่สุดแล้วได้ผลิตภัณฑ์เป็นฟีนอลและคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
 
นักวิจัยสามารถสังเคราะห์เชื้อเพลิงได้อีกครั้งหนึ่งจากการใช้ CO ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนจากฟอสซิล (ปิโตรเลียมที่เรารู้จักกันนั่นเอง) ลงได้    พร้อม ๆ กับการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ในเวลาเดียวกัน
 
นอกจากนั้นแล้วฟีนอลที่ได้ยังสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมการผลิตยาและยาปราบศัตรูพืชได้อีกด้วยเข้าทำนองยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวแต่ท้ายที่สุดนี้ก็คงต้องฝากไว้ว่าเทคนิควิธีการดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการ   วิจัยและยังต้องอาศัยระยะเวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าที่จะมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการผลิตในระดับที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรเสียจิตสำนึกที่ดียังคงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องปลูกฝัง เพื่อที่โลกใบนี้จะน่าอยู่ต่อไปอีก อย่างน้อยก็ในชั่วลูกชั่วหลานของเรา. 

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

 1704512125

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-04-17 21:33:33 IP : 124.121.143.190


ความคิดเห็นที่ 2 (2539365)

 

ไซโคลนนาร์กีสรุนแรง เพราะภาวะโลกร้อน ?

หมุนก่อนโลก


นักวิทยาศาสตร์ด้านอากาศกำลังถกเถียงกันว่า ภาวะโลกร้อนมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดพายุแรงๆ อย่างพายุไซโคลนนาร์กีสหรือไม่ เนื่องจากนาร์กีสเปลี่ยนความรุนแรงจากระดับ 1 เป็นระดับ 4 เพียงไม่นานก่อนที่จะถึงพื้นดิน ซึ่งมหันตภัยนาร์กีสไม่ใช่พายุลูกแรกที่มีลักษณะเช่นนี้ แต่พ.ศ.2548 เฮอริเคนแคทรีนาถล่มพื้นที่กัลต์โคสต์ของสหรัฐ ทำให้เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียน่าจมอยู่ใต้บาดาล และปี 2550 ซูเปอร์ไซโคลนโกนูก็ถล่มที่แหลมอราเบียน

นายอดัม ลีอา จากศูนย์วิจัยฮัซซาร์ดของมหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า การที่เกิดพายุรุนแรงเพียงไม่กี่ครั้งไม่สามารถนำมาเกี่ยวโยงกับภาวะโลกร้อน และต้องใช้ข้อมูลที่มีประวัติยาวนานกว่านี้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มเห็นว่า พายุเพียงแค่นี้ก็เป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วว่า ต่อไปพายุจะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้น้ำทะเลในมหาสมุทรต่างๆ ร้อนขึ้น

ด้านศ.เคอรี่ เอ็มมานูเอล จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเส็ตต์หรือเอ็มไอที ที่ศึกษาเรื่องพายุมานาน เปิดเผยว่า ตั้งแต่ 50 กว่าปีที่ผ่านมามีพายุไซโคลนเกิดขึ้นถึง 2 เท่าตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ที่ปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีการทุบสถิติอุณหภูมิที่สูงขึ้นในหลายพื้นที่

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประธานกลุ่มอาเซียน มีความเห็นว่า การที่ชาวพม่าเสียชีวิตจำนวนมากคือไม่ต่ำกว่า 15,000 ราย เป็นเพราะมีประชากรเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำอิรวดีมากขึ้น รวมทั้งป่าโกงกางซึ่งกั้นระหว่างทะเลและพื้นดินถูกทำลาย โดยป่าโกงกางนั้นถือเป็นกันชนกั้นคลื่น น้ำขึ้นและพายุ ไม่ให้เข้ามาทำลายบริเวณที่อยู่อาศัยของประชาชนรุนแรงเกินไป

สำหรับพายุเฮอริเคน พายุไต้ฝุ่น และพายุไซโคลนมีลักษณะการเกิดเหมือนกันคือเกิดจากความร้อนและความชื้น อุณหภูมิของน้ำทะเลต้องไม่ต่ำกว่า 26-27 องศาเซลเซียส แต่จะเรียกเฮอริเคนเมื่อเกิดที่แอตแลนติก เรียกไต้ฝุ่นเมื่อเกิดที่แปซิฟิกและเกิดไซโคลนเมื่อเกิดที่มหาสมุทรอินเดีย

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1205512214

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-12 22:02:24 IP : 124.121.140.77


ความคิดเห็นที่ 3 (2796663)

 

รมต.สิ่งแวดล้อม “จี 8” เร้าบรรลุเป้าลดก๊าซเรือนกระจกภายใน 2050

อเจนซี – รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศ จี 8 เร่งเร้าให้ผู้นำประเทศ ตั้งเป้าระดับโลก ในการลดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2050 เมื่อพวกเขาจะประชุมสุดยอดกันอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม

กลุ่มจี 8 เห็นพ้องกันในปีที่ผ่านมา ในเยอรมนี ที่จะพิจารณาลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ภายในกลางศตวรรษนี้ โดยข้อเสนอดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น และแคนาดา ทว่าถูกคัดค้านจากสหรัฐฯ และรัสเซีย

ประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก เช่น จีน ได้เข้าร่วมในการประชุมกับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม และตัวแทนแต่ละประเทศของจี 8 ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เพื่อหาทางสร้างเวทีการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นวาระสำคัญในการประชุมซัมมิตในมืองโตยาโกะ

“เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราขอแสดงความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการพยายามบรรลุข้อตกลงในที่ประชุมโตยาโกะซัมมิต ดังนั้นเราสามารถวางเป้าหมายลดการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2050” อิชิโร คาโมชิตะ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นกล่าวในการแถลงข่าว ที่จัดขึ้นระหว่างการเจรจา 3 วัน

“การลดการแพร่กระจาย ประเทศเจริญแล้วควรทำตัวเป็นผู้นำ เพื่อบรรลุความสำเร็จในการลดลงครั้งใหญ่”

นอกจากนี้ ตัวแทนของแต่ละประเทศยังเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยวางเป้ากลางเทอม ในการยอมรับประเทศกำลังพัฒนา ในการประชุม ซึ่งเรียกร้องให้จี 8 ดำเนินการมากกว่าลดการแพร่กระจาย แต่ให้ช่วยประเทศยากจนด้วยเทโนโลยีสะอาด

“สำหรับเป้าหมายกลางเทอม มันเป็นความจำเป็นที่จะตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และประเทศเจริญแล้วควรนำทาง” คาโมชิตะกล่าว โดยเสริมว่าประเทศกำลังพัฒนา ที่แพร่ก๊าซเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็จำเป็นที่จะต้องจำกัดอัตราการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2605511423

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-26 14:13:57 IP : 124.121.135.136


ความคิดเห็นที่ 4 (2796666)

 

รมต.สิ่งแวดล้อม “จี 8” เร้าบรรลุเป้าลดก๊าซเรือนกระจกภายใน 2050

อเจนซี – รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศ จี 8 เร่งเร้าให้ผู้นำประเทศ ตั้งเป้าระดับโลก ในการลดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2050 เมื่อพวกเขาจะประชุมสุดยอดกันอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม

กลุ่มจี 8 เห็นพ้องกันในปีที่ผ่านมา ในเยอรมนี ที่จะพิจารณาลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ภายในกลางศตวรรษนี้ โดยข้อเสนอดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น และแคนาดา ทว่าถูกคัดค้านจากสหรัฐฯ และรัสเซีย

ประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก เช่น จีน ได้เข้าร่วมในการประชุมกับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม และตัวแทนแต่ละประเทศของจี 8 ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เพื่อหาทางสร้างเวทีการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นวาระสำคัญในการประชุมซัมมิตในมืองโตยาโกะ

“เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราขอแสดงความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการพยายามบรรลุข้อตกลงในที่ประชุมโตยาโกะซัมมิต ดังนั้นเราสามารถวางเป้าหมายลดการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2050” อิชิโร คาโมชิตะ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นกล่าวในการแถลงข่าว ที่จัดขึ้นระหว่างการเจรจา 3 วัน

“การลดการแพร่กระจาย ประเทศเจริญแล้วควรทำตัวเป็นผู้นำ เพื่อบรรลุความสำเร็จในการลดลงครั้งใหญ่”

นอกจากนี้ ตัวแทนของแต่ละประเทศยังเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยวางเป้ากลางเทอม ในการยอมรับประเทศกำลังพัฒนา ในการประชุม ซึ่งเรียกร้องให้จี 8 ดำเนินการมากกว่าลดการแพร่กระจาย แต่ให้ช่วยประเทศยากจนด้วยเทโนโลยีสะอาด

“สำหรับเป้าหมายกลางเทอม มันเป็นความจำเป็นที่จะตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และประเทศเจริญแล้วควรนำทาง” คาโมชิตะกล่าว โดยเสริมว่าประเทศกำลังพัฒนา ที่แพร่ก๊าซเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็จำเป็นที่จะต้องจำกัดอัตราการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2605511423

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-26 14:15:01 IP : 124.121.135.136


ความคิดเห็นที่ 5 (2796669)

 

รมต.สิ่งแวดล้อม “จี 8” เร้าบรรลุเป้าลดก๊าซเรือนกระจกภายใน 2050

อเจนซี – รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศ จี 8 เร่งเร้าให้ผู้นำประเทศ ตั้งเป้าระดับโลก ในการลดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2050 เมื่อพวกเขาจะประชุมสุดยอดกันอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม

กลุ่มจี 8 เห็นพ้องกันในปีที่ผ่านมา ในเยอรมนี ที่จะพิจารณาลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ภายในกลางศตวรรษนี้ โดยข้อเสนอดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น และแคนาดา ทว่าถูกคัดค้านจากสหรัฐฯ และรัสเซีย

ประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก เช่น จีน ได้เข้าร่วมในการประชุมกับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม และตัวแทนแต่ละประเทศของจี 8 ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เพื่อหาทางสร้างเวทีการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นวาระสำคัญในการประชุมซัมมิตในมืองโตยาโกะ

“เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราขอแสดงความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการพยายามบรรลุข้อตกลงในที่ประชุมโตยาโกะซัมมิต ดังนั้นเราสามารถวางเป้าหมายลดการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2050” อิชิโร คาโมชิตะ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นกล่าวในการแถลงข่าว ที่จัดขึ้นระหว่างการเจรจา 3 วัน

“การลดการแพร่กระจาย ประเทศเจริญแล้วควรทำตัวเป็นผู้นำ เพื่อบรรลุความสำเร็จในการลดลงครั้งใหญ่”

นอกจากนี้ ตัวแทนของแต่ละประเทศยังเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยวางเป้ากลางเทอม ในการยอมรับประเทศกำลังพัฒนา ในการประชุม ซึ่งเรียกร้องให้จี 8 ดำเนินการมากกว่าลดการแพร่กระจาย แต่ให้ช่วยประเทศยากจนด้วยเทโนโลยีสะอาด

“สำหรับเป้าหมายกลางเทอม มันเป็นความจำเป็นที่จะตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และประเทศเจริญแล้วควรนำทาง” คาโมชิตะกล่าว โดยเสริมว่าประเทศกำลังพัฒนา ที่แพร่ก๊าซเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็จำเป็นที่จะต้องจำกัดอัตราการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2605511423

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-26 14:16:06 IP : 124.121.135.136



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.