ReadyPlanet.com


เงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลียงชีพ


ขอถามว่ามีกฎหมายข้อไหนไหมค่ะที่อธิบาย เกี่ยวกับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลียงชีพเพราะออกจากงาน (ทำงานมาเกิน 5 ปี) และมีสิทธิสามารถเลือกที่จะไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น

ขอบคุณค่ะ

อรัญญา



ผู้ตั้งกระทู้ อรัญญา :: วันที่ลงประกาศ 2006-05-18 11:38:35 IP : 58.136.228.9


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (477571)

ก็ทำได้ครับ ลองดูที่นี่ครับ

เลขที่หนังสือ : กค 0706/7167
วันที่ : 26 สิงหาคม 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1) มาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 45)ฯ
ข้อหารือ : นาง จ. เป็นพนักงานของธนาคาร ด. แต่ต่อมาได้มีการควบกิจการของธนาคาร ด. เข้ากับธนาคาร ท. ทำให้ธนาคาร ด. เลิกกิจการ นาง จ. และพนักงานของธนาคาร ด. จึงเปลี่ยนโอนมาทำงานเป็นพนักงานของธนาคาร ท. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2547 และได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคาร ท. โดยนับอายุทำงานให้ ต่อมาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ท. จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคาร ด.ได้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่นาง จ. และพนักงานของธนาคาร ด. โดยบริษัทฯ ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระบุว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เงินเดือนค่าจ้าง เงินที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยนาง จ. และพนักงานของธนาคาร (เดิม) ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 (ผ่านทางอินเตอร์เน็ตทีม 2) โดยนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับมาคำนวณในใบแนบ ซึ่งจะต้องได้รับเงินภาษีคืนเป็นเงิน 14,513.27 บาท แต่ปรากฏว่าสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและแจ้งว่านำเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง เนื่องจากเงินได้ดังกล่าวมิใช่เป็นเงินได้เพราะเหตุออกจากงาน จึงต้องคำนวณเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนาง จ. ไม่เห็นด้วยและขอให้ทบทวนการคำนวณภาษีและคืนเงินภาษีให้นาง จ. ด้วย
แนววินิจฉัย : กรณีตามข้อเท็จจริง นาง จ. ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีธนาคาร ด. ได้ควบกิจการกับธนาคาร ท. โดยธนาคาร ด. เลิกกิจการโดยนาง จ. และพนักงานของธนาคาร ด. ได้โอนการทำงานมาเป็นพนักงานของธนาคาร ท. ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเหตุให้ไม่สามารถนับอายุการทำงานต่อในการคำนวณเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ เงินได้ที่นาง จ. ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 ดังนั้น หากนาง จ. มีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี นาง จ. ย่อมมีสิทธิจะเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ตอบ 2006-05-23 17:05:02 IP : 124.121.137.179


ความคิดเห็นที่ 2 (477576)
เลขที่หนังสือ : กค 0811/11383
วันที่ : 29 กรกฎาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อกฎหมาย : กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2538?
ข้อหารือ : บรรษัทเงินทุนแห่งประเทศไทย แจ้งว่า ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบรรษัท
เงินทุนแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2539 โดยบรรษัทมีข้อบังคับว่าด้วย
การทำงานของพนักงาน พ.ศ. 2532 ระบุดังนี้
"ข้อ 35 พนักงานพ้นสภาพเพราะเหตุครบเกษียณอายุ ดังนี้
35.1 พนักงานที่มิใช่พนักงานบริการ อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
35.2 พนักงานบริการ อายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
35.3 พนักงานที่ขอเกษียณอายุก่อนกำหนด และได้รับอนุมัติจากบรรษัทให้
เกษียณอายุก่อนกำหนด ตามระเบียบว่าด้วยการเกษียณอายุก่อนกำหนด ซึ่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไปจะ
ออกระเบียบโดยทำเป็นคำสั่งเป็นคราว ๆ ไป"
จากข้อมูลหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น บรรษัทจึงขอให้พิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็น
แนวทางในการดำเนินการของบรรษัทต่อไป โดยมีประเด็นดังนี้คือ
1. หากบรรษัทอนุมัติให้พนักงานเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ 35.3 โดยพนักงานมีอายุตัว
ไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
พนักงานดังกล่าวอยู่ในข่ายได้รับสิทธิยกเว้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ด้วยหรือไม่
2. กรณีบางตำแหน่งงานมีการกำหนดวาระดำรงตำแหน่ง หากผู้ดำรงตำแหน่งครบวาระ
แล้วไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระได้ โดยมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขกำหนดไว้ การพ้นสภาพด้วยเหตุนี้
จะสามารถเทียบเคียงเป็นกรณีเดียวกับการครบเกษียณอายุได้หรือไม่ โดยพนักงานมีอายุตัวไม่ต่ำกว่า 55
ปีบริบูรณ์ เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี พนักงานอยู่ในข่ายได้รับ
สิทธิยกเว้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ด้วยหรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีตามข้อเท็จจริงที่บรรษัทฯ อนุมัติให้พนักงานเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ 1 หรือ กรณี
บางตำแหน่งมีการกำหนดวาระดำรงตำแหน่งตามข้อ 2 การที่พนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้
มารวมคำนวณภาษี สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย
ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีเกษียณอายุ จะต้องเป็นกรณีที่พนักงานได้รับเงินดังกล่าวเพราะเหตุ
ออกจากงาน โดยเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุตัวไม่ต่ำกว่า 55
ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
กฎกระทรวง ฉบับที่ 195 (พ.ศ.2538)ฯ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 52)ฯ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 59)ฯ ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538
เลขตู้ : 61/26947
ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ตอบ 2006-05-23 17:08:38 IP : 124.121.137.179


ความคิดเห็นที่ 3 (477580)
เลขที่หนังสือ : กค 0811/02286
วันที่ : 11 มีนาคม 2542
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานซึ่งได้รับในปีภาษีถัดไป
ข้อกฎหมาย : มาตรา 3 อัฏฐ, มาตรา 48, มาตรา 50, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ
ข้อหารือ : นาย ก เป็นพนักงาน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ข จำกัด เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540
บริษัทฯ ได้เลิกจ้างพนักงานทั้งหมดของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป โดยได้จ่าย
เงินชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานให้กับพนักงานทุกคนภายในปี 2540 โดยครบถ้วน การ
เลิกจ้างดังกล่าวจึงมีผลให้เป็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานด้วย บริษัทเงินทุน
หลักทรัพย์ ข จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนดังกล่าวจึงดำเนินการเลิกกองทุนเพื่อนำเงินจ่ายคืนให้กับ
พนักงานที่เป็นสมาชิกทุกคน แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2540
อันเป็นปีที่เลิกจ้างได้ทัน การดำเนินการคืนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานทั้งหมดดำเนินการ
แล้วเสร็จในวันที่ 15 มกราคม 2541 มีผลให้ผู้มีเงินได้ที่มีอายุงานเกินกว่า 5 ปี ไม่สามารถนำ
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับไปรวมกับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ได้รับแล้วในปี 2540 โดย
ถือเป็นเงินได้เนื่องจากออกจากงานในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2540
ซึ่งมีวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้เนื่องจากออกจากงานตามวิธีเฉพาะสำหรับผู้มีอายุงานเกิน 5 ปี
ได้
จึงพิจารณาอนุมัตินำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541
เป็นเงินได้เนื่องจากออกจากงานและเป็นเงินได้ของปีภาษี 2540 โดยให้ยื่นเพิ่มเติมแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2540 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2542 นี้ และของดและลดเบี้ยปรับ
เงินเพิ่มทั้งหมดหรือบางส่วน การที่ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ทันในปีที่ถูกเลิกจ้างนั้น สาเหตุ
เนื่องจากการเลิกกองทุนฯ มีขั้นตอนการดำเนินการต้องปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งผู้บริหาร
กองทุนก็เป็นนิติบุคคลอื่นซึ่งมิใช่นายจ้าง ต้องดำเนินการรวบรวมทรัพย์สินของกองทุนเพื่อจำหน่ายและ
ไถ่ถอนเงินจากหลักทรัพย์ที่กองทุนได้ลงทุนไว้เพื่อนำเงินทั้งหมดมาเฉลี่ยจ่ายคืนพนักงานที่เป็นสมาชิก
ทั้งหมด การล่าช้าจึงไม่ได้เกิดจากความผิดของพนักงานผู้มีเงินได้ หากต้องนำเงินได้จาก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับนี้รวมคำนวณเป็นเงินได้ของปีภาษี 2541 ก็จะทำให้พนักงานที่ได้ทำงานเกิน
5 ปี ต้องรับภาระภาษีมากขึ้นเพราะไม่สามารถคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามวิธีเฉพาะของเงินได้เนื่องจาก
ออกจากงานได้ ทำให้มีความเดือดร้อนในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
แนววินิจฉัย : เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งพนักงานหรือลูกจ้างได้รับโดย
มีสิทธิเลือกที่จะนำไปรวมกับเงินได้อื่นที่ได้รับในปีภาษีนั้นหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 48 (5) แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษตามมาตรา 50 (1) วรรคสามและวรรคสี่ แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
เรื่องภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่พนักงานหรือ
ลูกจ้างได้รับเงินได้เนื่องจากการออกจากงานไม่ว่าจะได้รับเงินได้ดังกล่าว ประเภทเดียวหรือหลาย
ประเภท เงินได้เฉพาะจำนวนที่ได้รับในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้นั้นจริงเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตาม
มาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้จำนวนต่อมาที่จ่ายให้พนักงานต่างปีภาษีหรือปีภาษีถัดไป
โดยมิใช่ปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้ พนักงานหรือลูกจ้างไม่มีสิทธิเลือกตามมาตรา 48 (5) แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยต้องคำนวณหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000
บาท
กรณีตามข้อเท็จจริง นาย ก ออกจากงานในวันที่ 1 ธันวาคม 2540 ในการออกจากงาน
ครั้งนี้นาย ก ได้รับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน 2 ประเภทคือ
1. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จำนวน 249,742 บาท ได้รับในวันที่ 25
พฤศจิกายน 2540 โดยหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ระบุลงวันที่ 31 ธันวาคม 2540
2. เงินที่จ่ายจากกองทุน ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน
378,361.87 บาท ได้รับในวันที่ 15 มกราคม 2541 โดยหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ระบุลงวันที่ 15 มกราคม 2541
ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2540 นาย
ก ได้นำเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน จำนวน 249,742 บาท ซึ่งเป็น
เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จำนวนนี้เพียงจำนวนเดียวที่ได้รับในปีภาษี 2540 (ปีภาษีแรกที่มีการ
จ่ายเงินได้) มาเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการเลือกคำนวณภาษี
โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ส่วนเงินได้ที่นาย ก ได้รับ เนื่องจากออกจากงานอีกจำนวนหนึ่งคือ เงิน
ที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 378,361.87 บาท ที่ นาย ก ได้รับ
ในปีภาษี 2541 ซึ่งเป็นปีภาษีถัดไป เงินจำนวนนี้ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ
เหตุออกจากงาน ฉะนั้น ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี
2541 นาย ก จะใช้สิทธิเลือกเสียตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรอีกไม่ได้ โดยมีสิทธิหัก
ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,*** ตามมาตรา 48 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
สำหรับประเด็นที่ขอให้อนุมัติให้ถือว่าเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับในปี
2541 เป็นเงินได้ของปี 2540 นั้น ไม่อาจอนุมัติให้ได้ เนื่องจากไม่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตาม
กำหนดเวลาได้ตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีงดหรือลดเบี้ยปรับเงินเพิ่ม จึงไม่มี
ประเด็นที่จะต้องพิจารณา
ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ตอบ 2006-05-23 17:10:59 IP : 124.121.137.179


ความคิดเห็นที่ 4 (477581)
ลองดูก่อนนะครับ น่าจะโอเค เรื่องการแยกยื่นนะครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ตอบ 2006-05-23 17:11:56 IP : 124.121.137.179


ความคิดเห็นที่ 5 (477582)
เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม.06)/1025
วันที่ : 19 มิถุนายน 2543
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42(17), มาตรา 48 (5)
ข้อหารือ : สำนักงานสรรพากรจังหวัดได้รับแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2542 ของ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ออกจากงานตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด จึงหารือ
การคำนวณภาษีเงินได้สำหรับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานว่าความเห็นของ
จังหวัดฯ ถูกต้องหรือไม่ ดังนี้
1. เงินบำเหน็จของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ฯลฯ กรณีพนักงานลาออกตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและกรณีพนักงาน
เกษียณอายุ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดที่ใช้วิธีการคำนวณบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเช่นเดียวกับ
วิธีการคำนวณบำเหน็จ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จข้าราชการได้ทั้งหมด ถือว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวเป็น
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการตามข้อ
1(ก) จึงถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามข้อ 1(ง) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535
2. กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้ายไม่เต็มเดือนเนื่องจากลาออกก่อน
เกษียณอายุ เช่น อัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากงานเดือนพฤษภาคม 2542 คือ 49,910 บาท
แต่เนื่องจากลาออกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2542 เงินเดือนเดือนพฤษภาคม 2542 จึงได้รับเพียง 29
วัน เป็นเงิน 46,690 บาท เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่าย คือ 46,690 บาท
3. เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากเกษียณอายุโดย
เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และมีอายุงานไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษี
ทั้งจำนวน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 36 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
แนววินิจฉัย : กรณีตาม 1. ถูกต้องแล้ว ทั้งนี้ตามนัยข้อ 1(ง) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535
กรณีตาม 2. ความเห็นของจังหวัดฯ ยังคลาดเคลื่อนอยู่ ในกรณีผู้มีเงินได้ได้รับ
เงินเดือนเดือนสุดท้ายไม่เต็มเดือน เนื่องจากลาออกก่อนเกษียณอายุ เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ใช้ใน
การคำนวณค่าใช้จ่าย หมายความถึงจำนวนเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย ทั้งนี้ ตาม
นัย ข้อ 3(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน
พ.ศ. 2535 ดังนั้น อัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากงานที่นำมาคำนวณค่าใช้จ่ายคือจำนวน
49,910 บาท
กรณีตาม 3. เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานของหน่วยงาน
รัฐวิสาหกิจ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อ
ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรวมคำนวณเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ลงวันที่ 23
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 นั้น ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และ
(ก) เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมา
แล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
(ข) เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในระหว่างวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และได้ออกจากงาน
เพราะเกษียณอายุก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งมีระยะเวลาที่ทำงานกับนายจ้างนั้นก่อน
เกษียณอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี
ทั้งนี้ ตามข้อ 1(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ
ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
เลขตู้ : 63/29504
ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ตอบ 2006-05-23 17:13:37 IP : 124.121.137.179


ความคิดเห็นที่ 6 (1182126)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-09-26 13:00:21 IP : 203.146.127.172


ความคิดเห็นที่ 7 (3160898)

มีคำภามหยากภามเวลลาออกจากงานเขาคิดคำนวนภาษีกันยังไงมีใบทวิ50กับใบเงินกองทุนด้วยหรือเปล่าคือเสียถาษีผ่านเน็ตลงข้อมูลในใบทวิ50อย่างเดียวเขาคำนวนแล้วได้ภาษีคืนแต่ส่งเอกสารลดหย่อนไม่ครบจึงไปส่งเอกสารที่ทำการก็เลยถือใบเงินกองทุนไปด้วยไปถามเขาเอาเอกสารไว้แล้วอีกสองวันรู้คำตอบเขาบอกต้องเสียภาษีเพิ่มแต่เพื่อนไม่เสียเพิ่มเขาไม่ได้ส่งใบเงินกองทุนแบบนี้มีวิธีแก้ไขไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นิสรีน วันที่ตอบ 2010-03-08 21:33:47 IP : 113.53.40.113


ความคิดเห็นที่ 8 (3209768)

อยากสอบถามสิทธิและประโยชน์และข้อยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ของผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนฯเกิน 5 ปี แต่อายุตัวไม่*** ปี กรณีลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ

ผู้แสดงความคิดเห็น อารียา วันที่ตอบ 2010-09-07 10:25:13 IP : 125.24.196.116


ความคิดเห็นที่ 9 (3209838)

ขอถามได้ไหมครับว่าในเดื่อนนี้เงินของคนพิการจะไม่จ่าย

ผู้แสดงความคิดเห็น อพิชาต วันที่ตอบ 2010-09-07 20:07:57 IP : 118.172.75.163


ความคิดเห็นที่ 10 (3210972)

ผมอยากให้ปลอดภาษีทั้งหมดเกี่ยวผู้ลาออกจากงานด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย หรือเกษียณก่อนอายุ คนทุกคนที่ทำงานไม่ว่าข้าราชการหรือ

พนักงานรํฐวิสาหกิจ เงินเดือนแต่ละเดือนก็ถูกหักภาษีเรียบร้อยแล้ว เมื่อลาออกจากงานได้เงินก้อนมาก็ถูกเข้าเต็มๆ คนไหนได้มาสัก3ล้าน

ก็คงเข้าหลักเกณฑ์ถูกหัก 30 % อย่างน้อยก็ 9แสนละ หมดกัน เหลือแค่ 2ล้านหนึ่ง ถ้ามีโรคประจำตัวด้วย ก็จบเห่กันพอดี ถ้ามีสวน ไร่ นา

ก็พอได้ แต่สำหรับคนไม่มีอะไร กินแต่เงินที่ได้ไป ถึงจะประหยัดก็เถอะ จะพออะไร ฝากเรื่องนี้ไปยังรัฐบาล ช่วยพิจารณาด้วยก็แล้วกัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ขนอม ณ นคร วันที่ตอบ 2010-09-10 20:50:13 IP : 118.173.49.174



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.