ReadyPlanet.com


รถวีลแชร์คนพิการ-ปรับยืนได้


 

รถเข็นคนพิการปรับยืนได้-ระบบกลไก จากวิศวมธ.

 

       อาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างรถเข็นคนพิการปรับยืนได้โดยไม่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาจนสามารถนำไปใช้งานได้จริง
       
       
ทั้งนี้ผลงานการสร้าง รถเข็นคนพิการปรับยืนได้โดยไม่ใช้ไฟฟ้า เป็นฝีมือของ ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองบุญ และ 3 นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ “ธาริน อรรถจริยา, ณัฐพล กัณหาบัว, ศุภลักษณ์ โคบุตรี”
       
       แนวคิดในการออกแบบนั้น ผศ.ดร.บรรยงค์ กล่าวว่ามาจากการเกิดอุบัติเหตุแล้วพบว่าสถิติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน และผลจากอุบัติเหตุทำให้เกิดความพิการจากการสูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว อาทิ การเป้นอัมพาตตั้งเเต่ช่วงเอวลงไป
       
       “แม้ว่าผู้ประสบอุบัติเหตุจะได้รับการรักษาบาดแผลแล้ว แต่ความพิการยังคงอยู่นั่นคือเขาไม่สามารถจะกลับมายืนได้เหมือนเดิม ทำให้สูญเสียในการทำงาน การประกอบอาชีพ และที่สำคัญคือส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ เพราะความพิการเป็นภาระแก่ผู้ดูแล ดังนั้นรถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยให้ผู้พิการสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ใกล้เคียงคนปกติ” ผศ.ดร.บรรยงค์กล่าว
       
       อย่างไรก็ตามรถเข็นคนพิการเเบบปรับยืนได้ที่ผลิตจากต่างประเทศมี 2 แบบคือแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าปรับจากการนั่งเป็นการยืน และแบบใช้แรงของผู้พิการเอง ซึ่งในแบบที่ใช้แรงคนพิการปรับเองนั้นราคาจำหน่ายอยู่ที่ 150,000 – 300,000 บาท และถ้าเป็นระบบมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีราคาสูงกว่านี้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงเพราะต้องนำชิ้นส่วนเข้าจากต่างประเทศ
       
       ผศ.ดร.บรรยงค์กล่าวว่าเมื่อราคาของต่างประเทศสูงจึงเป็นที่มาของการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับคนพิการ นั่นก็คือรถเข็นคนพิการที่สามารถปรับยืนได้ โดยไม่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ราคาถูก ง่ายต่อการดูแลรักษา และเหมาะกับการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งใช้ต้นทุนประมาณ 1.5-1.6 หมื่นบาท
       
       ส่วนหลักในการทำงานนั้น ทางทีมผู้ออกแบบได้ออกแบบกลไกและขนาดกระบอกสูบเเก๊ส เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้แรงจากแขนเพียงเล็กน้อยสำหรับการยกตัวเองจากท่านั่งเป็นท่ายืน โดยใช้แนงจากกระบอกสูบแก๊สเป็นตัวเสริมแรง
       
       “กลุ่มเป้าหมายที่ได้ประโยชน์จากผลงานนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ 1.คนพิการที่ประสบปัญหาเดินไม่ได้ (อัมพาตครึ่งท่อนล่าง) แต่ยังมีแรงแขนปกติ 2.คนพิการหรือผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพบำบัดในท่ายืน ซึ่งผู้ดูแลสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ ช่วย และยังสามารถเข็น เพื่อเปลี่ยนสถานที่ในการทำกายภาพได้
       
       ส่วนประโยชน์จากการที่ผู้พิการหรือผู้ป่วยจะได้จากการยืนนั้นเเยกออกเป็น 3 ข้อ คือ
       
       1. ด้านสุขภาพกาย การใช้รถเข็นเพื่อช่วยยืนในการทำกายภาพบำบัดนั้น เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นยืน ก็เป็นการช่วยลดปัญหาทางสุขภาพของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบรรเทาแรงกดทับที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อ การทำให้ไตและระบบกระเพาะปัสสาวะทำงานได้ปกติ การเพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิต ฯลฯ
       2. ด้านสุขภาพใจและสังคม ทำให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยืนได้ใกล้เคียงกับคนปกติ เช่นการยืนเพื่อพูดคุยกับคนอื่น ฯลฯ ซึ่งผู้พิการจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างมากนักเมื่อเทียบกับคนปกติ
       3. ด้านเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มความสามารถในการประกอบอาชีพ และลดภาระการช่วยเหลือจากสังคม

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-18 17:49:26 IP : 124.121.140.73


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2826613)

ถ้าทำเสร็จแล้ว ขอให้นำวิธีการอย่างคราวฯลงบนเว็บ

ผู้แสดงความคิดเห็น นักศีษา วันที่ตอบ 2008-06-04 16:34:31 IP : 158.108.42.140


ความคิดเห็นที่ 2 (2826728)

ตอบ........

คุณสามารถประสาน ได้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯ ได้โดยตรงครับ.

แล้วคุณจะทราบรายละเอียดสามารถที่คุณจะนำไปประกอบ หรือไปทำอะไรตรงกับที่คุณต้องการได้ครับ.

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

0406511724

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-06-04 17:24:14 IP : 124.121.136.161


ความคิดเห็นที่ 3 (2876548)

เยี่ยมมากคะเป็นบุคคลที่เห็นความสำคัญของคนพิการและสรรสร้างสิ่งที่ดีงามเพื่อสังคม ขอให้ดำเนินการต่อไปคะ จะเป็นกำลังใจให้เสมอ

ผู้แสดงความคิดเห็น นิสิตจุฬา วันที่ตอบ 2008-07-16 08:13:54 IP : 161.200.255.162


ความคิดเห็นที่ 4 (3034937)

 ตอนนี้ผมอยากทำสิ่งประดิษฐ์รถเข็นให้ครูในวิทยาลัยของผมจังเลยครูเขาได้รับอุบัติเหตุผมอยากขอดูรายละเอียดในการสร้างผมทำหน้าที่หัวหน้าสิ่งประดิษฐ์อยากมีต้นแบบดูเป็นตัวอย่างติดต่อด่วน  081-9570947 อ เอกชัย

ผู้แสดงความคิดเห็น เอกชัย วันที่ตอบ 2009-07-28 21:09:25 IP : 203.172.222.251


ความคิดเห็นที่ 5 (3034994)

 

เรียน    อาจารย์ / นักศึกษา ทุกท่าน

ผมเป็นคนพิการเหยีบกับระเบิดขาซ้านขาดเหนือเข่า / ขาซ้ายท่อนล่าง เสียรูปทรง / แขนซ้ายอ่อนแรง - ท่อนล่างใส่เหล็กใส่เอ็นเทียม

กายอุปกรณ์ที่ใช้ประจำ ไม้เคน - ไม้ค้ำ - รถวีลแชร์ - รถสามล้อโยก ผมไช้ประจำ ตามสถานการที่ต้องการใช้ ตามเหตุการณ์ประจำวันครับ

คนใช้จะทราบว่า...ตอนไหนจะไหนอุปกรณ์อย่างไหน......

ผมมีหน้าที่ให้ข้อมูลเรื่องเหล่านี้....จากประสบการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สภาพความพิการเหมือนกันแต่แตกต่างในรายละเอียดครับ...ผู้ที่จะประดิษฐ์ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ มีหลักง่าย มากครับ

1. จะผลิดอะไร

2.ถามต้นแบบผู้ใช้

3.ประสานผู้ผลิต

4.คนที่จะผลิดรวบรวมข้อมูล 1,2  แล้วคุยกับ 3

5.งบประมาณคร่าว ๆ จะออกมา (ขึ้นอยู่กับราคาวัสดุ ดี / ปานกลาง)

6.ลงมือสร้าง

7.ทดลอง / ปรับแก้ไข โดยคนพิการประเภทนั้น ๆ

อะไรก็ตามที่เป็นต้นแบบที่ดี ราคาแพงเสมอ ผลิตเสร็จ มี 1 ชิ้น แล้วหายไป ผลิตมาเป็นเชิงพาณิชย์ไม่ได้ เพราะไม่มีใครกล้าลงทุน...มันไม่คุ้ม.

สิ่งประดิษฐ์ของที่เกี่ยวกับคนพิการในประเทศไทย จึงไม่แพร่หลาย...... ส่วนใหญ่ปราชญ์ชาวบ้านทำใช้ได้ไม่สวยงาม ไม่ต้องรอใครทั้งสิ้น

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

2907520753

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-07-29 07:53:44 IP : 124.121.137.35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.