ReadyPlanet.com


คนพิการซ้ำซ้อน


วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 12:58:40 น.  มติชนออนไลน์


ปุจฉา? คุณจะเรียกร้องความเป็นธรรมได้อย่างไร

หากยังลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเองไม่ได้

เสียงเรียกร้องของ "เหยื่อ" คนพิการซ้ำซ้อน

จากข่าวพาดหัว "ถูกข่มขืนจนท้อง สาวพิการ บอด-ใบ้ไร้ทางสู้" ใครได้ฟังข่าวนี้ก็มีแต่ความสลดใจ ว่าเหตุใดหนอชีวิตที่เกิดมาไม่สมประกอบแล้ว ยังถูกกระทำซ้ำเติมจาก "เดนมนุษย์" ให้รับเคราะห์กรรมเพิ่มขึ้นอีก


และหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนสอบสวนจนกระทั่งทราบว่า
ผู้ลงมือกระทำล้วนแล้วแต่เป็นคนใกล้ชิดเหยื่อทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น หลานชายของแม่, แฟนพี่ชาย (เป็นคู่รักร่วมเพศของพี่ชาย) โดยมีพี่ชายแท้ๆ ยินยอมให้แฟนข่มขืนน้องสาวคนพิการโดยไม่อิดออด ยิ่งสร้างความสะเทือนใจให้กับผู้รับทราบเป็นอย่างยิ่ง


จากกรณีนี้
องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (DPI/AP) จึงเกิดแนวคิดที่ว่า หากผู้เสียหายที่ถูกกระทำเป็นคนพิการแล้ว ควรที่จะเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดมากขึ้นไปอีก เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำซ้ำเติมบุคคลที่ไร้ทางสู้ทั้งสภาพทางร่างกายและสติปัญญา เช่น การเพิ่มวรรคต่อไป ว่าถ้าผู้ใดข่มขืนหญิงอื่น โดยเฉพาะผู้หญิงพิการ ผู้หญิงที่อยู่ในสถานะยากลำบากไม่สามารถป้องกันตัวเองได้อย่างสิ้นเชิง ต้องได้รับโทษเป็น สองเท่า


หรือมีการกำหนดให้การข่มขืนคนพิการต้องให้คดีเป็นของรัฐ และรัฐสามารถฟ้องแทนได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีบางกรณีที่ครอบครัวเหยื่อไม่ต้องการตกเป็นข่าวจึงปิดบังเรื่องเอาไว้


ในขณะเดียวกัน องค์การคนพิการสากลฯ ยังตำหนิสื่อว่า
ที่ผ่านมามักจะเสนอข่าวลักษณะนี้ในเชิงการขายข่าวมากเกินไป มีการเลือกใช้ถ้อยคำที่สร้างความสะเทือนใจให้ผู้อ่าน บางครั้งก็ใช้คำซ้ำเติมเหยื่อ โดยไม่สนใจที่จะนำเสนอในมิติอื่นๆ เช่น เหตุที่มาที่ไป สภาพของครอบครัวเหยื่อที่รุมเร้า หรือหลังจากนี้ต่อไปชีวิตของผู้ถูกกระทำและครอบครัวจะเป็นอย่างไร


ส่วนในแง่ภาคสังคมแล้ว
ประเทศไทยยังขาดกลไกทางเลือกในการสนับสนุนและให้ความรู้กับครอบครัวที่มีลูกพิการ  เด็กพิการ และชุมชน ในประเด็นการพัฒนาการตามวัยอันสมควรซึ่งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องเรียนรู้และฝึกหัดการวางแผน เช่น เด็กพิการควรได้รับการเรียนรู้การพัฒนาการด้านสรีระ และจิตใจเมื่อถึงวัยเปลี่ยนผ่าน


จากประเด็นนี้ องค์การคนพิการสากลฯ จึงเสนอแนะว่าในส่วนภาครัฐควรสร้างกลไกเพื่อสนับสนุน การให้ความรู้และฝึกผู้หญิงพิการและผู้เกี่ยวข้องเรื่องประเด็นพัฒนาการ (Development  issues) เช่น ศูนย์การส่งเสริมศักยภาพผู้หญิงพิการ โดยร่วมมือกับองค์กรคนพิการ และควรทำให้ปัญหาความรุนแรงและล่วงละเมิดทางเพศ เป็นวาระแห่งชาติ


ส่วนเรื่องทางคดีนั้น
เห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสืบสวนสอบสวนควรมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับองค์กรคนพิการ เช่น ร่วมกันจัดการอบรมเรื่องความเสมภาคคนพิการ เพื่อทบทวนทัศนคติต่อความพิการ กระบวนการยุติธรรมต้องมีกลไกทางเลือกเพื่อสนับสนุนให้ผู้หญิงพิการสามารถเข้าถึงได้


ขั้นตอนการสืบสวน สอบสวน ต้องหยืดหยุ่น และคำนึงถึงสภาพความพิการ เช่น พนักงานสอบสวนสามารถเปลี่ยนจากบันทึกดูผู้ต้องหา มาเป็นบันทึกการคลำตัวและฟังเสียงผู้ต้องหา ในกรณีผู้เสียหายเป็นคนตาบอด คนพิการสามารถเป็นพยานให้กับตัวเองได้ เช่น หญิงพิการสติปัญญาถูกลวนลามทางเพศ และสามารถจดจำผู้กระทำได้  พนักงานสอบสวนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายชี้แจง


ในแง่ของสื่อสารมวลชนนั้น
สื่อควรนำเสนอข้อมูลสองด้านเพื่อนำเสนอรากเหง้าของปัญหาและเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน และเรียนรู้เรื่องความพิการ อบรมความเสมอภาคคนพิการ


หากทั้งหมดนี้ทำได้จริง ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าไม่ช้าความยุติธรรมที่แม้แต่ตัวผู้เสียหายเองจะเรียกร้องเพื่อตัวเองก็ไม่ได้นั้น ในที่สุดก็จะได้รับความเป็นธรรมคืนมาแน่นอน

 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

3010521752

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-30 17:52:50 IP : 124.121.141.175


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.