ReadyPlanet.com


ปัญหาโลกร้อน น่ากลัว 2.


 

        ส่วนหลักการที่ประเทศพัฒนาแล้วพยายามจะให้ใช้บังคับ คือ การลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้ในประเทศกำลังพัฒนา โดยการสนับสนุนเงินให้รักษาป่า ซึ่งนักวิชาการมองว่าจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการลดโลกร้อนอย่างจริงจัง
       
ข้อเสนอเพื่อการลดโลกร้อนได้อย่างแท้จริงนั้น ทางกลุ่มประเทศ จี-8 เคยเสนอว่า จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 50 ของก๊าซที่ปล่อยในปี 2533 และจะต้องลดให้ได้ภายในปี 2593 ขณะที่แต่ละประเทศยังพยายามรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0911512224



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2008-11-09 22:24:09 IP : 124.121.137.22


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2934123)

 

นักวิชาการติงมาตรการหนุนเงินรักษาป่าช่วยลดโลกร้อนไม่ได้

มีความเป็นไปได้มากว่าข้อเสนอของประเทศญี่ปุ่นจะถูกนำมาพิจารณาให้เป็นรูปแบบของพันธกรณีที่ปัจจุบันเป็นแบบบังคับเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วต้องลดก๊าซเรือนกระจก แต่รูปแบบที่ญี่ปุ่นเสนอ คือ ให้ประเทศที่มีอุตสาหกรรม 5 ชนิด ที่ผลิตก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 20 จะต้องรับภาระลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Sectoral Approach
       
อุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 20 ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ พลังงาน ซีเมนต์ กระดาษ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้มีจำนวนไม่น้อยในประเทศไทย โดยที่ญี่ปุ่นเองกำลังย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำมาไว้ที่ประเทศไทยอย่างน้อย 2 โครงการ
       
ส่วนหลักการที่ประเทศพัฒนาแล้วพยายามจะให้ใช้บังคับ คือ การลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้ในประเทศกำลังพัฒนา โดยการสนับสนุนเงินให้รักษาป่า ซึ่งนักวิชาการมองว่าจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการลดโลกร้อนอย่างจริงจัง
       
ข้อเสนอเพื่อการลดโลกร้อนได้อย่างแท้จริงนั้น ทางกลุ่มประเทศ จี-8 เคยเสนอว่า จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 50 ของก๊าซที่ปล่อยในปี 2533 และจะต้องลดให้ได้ภายในปี 2593 ขณะที่แต่ละประเทศยังพยายามรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0911512226

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-11-09 22:26:26 IP : 124.121.137.22


ความคิดเห็นที่ 2 (2957100)

.................................... 

สวัสดีปีฉลู 2552 ทุก ๆ ท่านครับ ที่มาเยี่ยมอ่านข้อมูลเรื่องภาวะโลกร้อน...........

ขอขอบคุณน้องๆ ที่โทรมาให้กำลังใจเรื่องข้อมูลที่ท่านได้รับทราบ......

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0601521945

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-01-06 19:45:10 IP : 124.121.143.99


ความคิดเห็นที่ 3 (2958708)

ทักทาย

ผู้แสดงความคิดเห็น เต้ย วันที่ตอบ 2009-01-11 06:29:59 IP : 58.136.60.153


ความคิดเห็นที่ 4 (2977899)

เรายังไม่มีท่าจะหยุดเพิ่มคาร์บอนสู่บรรยากาศ ส่อแววเกิดภัยพิบัติรุนแรงเกินคาด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   25 กุมภาพันธ์ 2552

 

นักวิทยาศาสตร์ฟันธงโค้งสุดท้าย โลกจะร้อนขึ้นกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว ระบุมนุษย์ยังไม่เลิกเพิ่มคาร์บอนให้ชั้นบรรยากาศ แถมปลดปล่อยออกมามากกว่าแต่ก่อน หวั่นอุณหภูมิโลกพุ่งสูงดังคาด เป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงกว่าที่คิด ขนาดแค่เพิ่มยังไม่ถึง 1 องศา ก็มีมาทั้งสารพัดพายุใหญ่และคลื่นความร้อนแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
       
       
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี ได้คาดการณ์ไว้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเหนือพื้นผิวโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส จากในปี 2533 ด้านศูนย์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ  รายงานว่าตั้งแต่ปี 2533 อุณหภูมิเพิ่มขึ้นแล้วราว 0.12 องศาเซลเซียส
       
       
เอพีระบุว่า จากรายงานผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ของโจเอล บี สมิธ (Joel B. Smith) และคณะ จากบริษัท สเตรตัส คอนซัลติง (Stratus Consulting Inc.) มลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา พบว่า นับตั้งแต่ปี 2533 อุณหภูมิเฉลี่ยเริ่มสูงขึ้น แม้ยังไม่ถึง 1 องศาเซลเซียส แต่ก็ทำให้เกิดผลกระทบด้านลบมาแล้วนับไม่ถ้วน เกิดภัยแล้ง คลื่นความร้อน และอุทกภัยที่รุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก
       
       
อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่ากิจกรรมของมนุษย์จะมีส่วนทำให้เกิดคลื่นความร้อน พายุฝน, หิมะ และลูกเห็น และพายุไซโคลนในเขตร้อน ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น เหตุการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดในปี 2546 และคร่าชีวิตประชากรไปหลายหมื่นคนนั้น อาจขึ้นได้อีกและรุนแรงมากกว่า จากการที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมีความเข้มข้นสูงขึ้น
       
       
ด้านคริสโตเฟอร์ ฟิลด์ (Christopher Field) นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์คาเนกี (Carnegie Institution for Science) กล่าวในที่ประชุมประจำปีของสมาคมวิทยาศาสตร์ขั้นสูงแห่งสหรัฐฯ (American Association for the Advancement of Science) ว่าทุกวันนี้มนุษย์ก็ยังเพิ่มคาร์บอนให้ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าในช่วงปี 2533-2543 เสียด้วย
       
       
ฟิลด์ ให้ข้อมูลว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ส่วนใหญ่ในชั้นบรรยากาศมาจากอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิเหนือพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น และทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
       
       
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 3.5% ต่อปี ขณะที่ก่อนหน้านั้นย้อนกลับไป 10 ปี มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเพียง 0.9% ต่อปี
       
       
นอกจากนั้น ยังพบหลักฐานว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบกับประชากรเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มประชากรที่มีฐานะยากจน และกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว
       
       
นักวิทยาศาสตร์ยังได้รายงานถึงตัวอย่างเหตุการณ์ พายุเฮอร์ริเคนแคทรินาในสหรัฐฯ เมื่อปี 2548 และคลื่นความร้อนในยุโรปเมื่อปี 2546 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ยังเปลี่ยนไปไม่มาก เท่ากับที่เราคาดการณ์กันเอาไว้
       
       
ฉะนั้นก็เป็นไปได้มากทีเดียวว่าสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้นั้น อาจส่งผลกระทบรุนแรงกว่าที่เราคาดคิดไว้มาก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ต่างก็คิดกันว่าโลกไม่ควรจะร้อนขึ้นจนถึงขีดที่ไอพีซีซีคาดการณ์ไว้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็คงเกิดผลเลวร้ายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างที่ไม่อยากจะคาดคิด.

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -            

พันตรีศิริชัย    ทรัพย์ศิริ                             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331                   

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2802521026               

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-02-28 13:26:35 IP : 124.121.135.209


ความคิดเห็นที่ 5 (3067823)

ที่ประชุมโลกร้อน ประณามสหรัฐ ตัวป่วนปัญหา ชงพิสูจน์โยบาย "Change" ของปธน.โอบามา

เวทีเจรจาโลกร้อนร้อนจัด ก่อนปิดฉากพรุ่งนี้ยังคงโดนผู้แทนประเทศพัฒนาแล้วป่วนหนักผ่านการเจรจาเนื้อหาร่างข้อตกลง ซึ่งหลายฝ่ายสรุปตรงกันว่าคือความพยายามล้มโต๊ะข้อเสนอการเจรจาโลกร้อนที่ดำเนินอยู่ ด้านเอ็นจีโอไทยเทศรุมประณาม เรียกร้องพลเมืองสหรัฐกดดันรัฐบาลโอบาม่าหยุดท่าทีตัวป่วนและพิสูจน์นโยบาย “change” ต่อประชาคมโลกในเรื่องโลกร้อน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม

 

นับเป็นช่วงที่บรรยากาศนอกห้องเจรจาโลกร้อนที่ UNESCAP เต็มไปด้วยบรรยากาศการจับกลุ่มถกเถียงพูดคุยค่อนข้างเครียดตามมุมต่าง ๆ ของตึกประชุม และหัวข้อสำคัญร่วมกันของวงคุยทั้งเล็กใหญ่ ทั้งในและนอกห้องเจรจาดูเหมือนจะวนอยู่รอบ ๆ เรื่องเดียวกันคือ ท่าทีของสหรัฐและประเทศร่ำรวยต่อการเจรจาโลกร้อนในลักษณะที่จะทำให้การเจรจากรุงเทพและต่อไปถึงโคเปนเฮเกนไปไม่ค่อยรอด

 

เขาบอกว่าเขาไม่ได้จะล้มพิธีสารเกียวโต แต่พยายามหาทางเลือกที่ทำได้จริงและประณีประนอมแหล่งข่าวน่าเชื่อถือคนหนึ่งกล่าวถึงท่าทีของผู้แทนประเทศแคนาดาในห้องเจรจาห้องหนึ่งในบรรดา 5 ห้องภายใต้การเจรจาในกรอบคณะทำงานด้านระยะยาว (AWG-LCA)

 

รายงานข่าวอธิบายว่าการพยายาม ล้มเนื้อหาการเจรจาที่ดำเนินอยู่ ทำด้วยการยืนยันจุดยืนของอเมริกาในเวที AWG-LCA ทั้งห้าห้อง ซึ่งเป็นจุดยืนที่อเมริการู้ดีว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนารับไม่ได้แน่นอน เช่นการเสนอให้เปลี่ยนจากภาระการลดโลกร้อนนั้นจากที่เป็นอยู่ภายใต้พิธีสารเกียวโตว่าร่วมกันรับผิดชอบตามศักยภาพและความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีตซึ่งส่งผลให้ภาระหลักของการลดการปล่อยก๊าซเป็นของประเทศพัฒนา ไปเป็นคำกลาง ๆ ว่าต้องร่วมกันรับผิดชอบซึ่งมีความหมายว่า ทุกประเทศรวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาต้องร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย (ต้องมีการตั้งเป้าลดชัดเจนด้วย) หรือการขอเปลี่ยนจากคำว่า “equity” ซึ่งหมายถึงความเท่าเทียมเป็น ‘equality’ที่หมายถึงเท่ากันในเนื้อหาร่างเจรจา

 

ท่าทีเช่นนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่เย็นวานนี้ในห้องเจรจา LCA ทุกห้อง และชัดเจนมากวันนี้ ท่าทีเช่นนี้ดำเนินอยู่ต่อเนื่องและชัดเจนตามลำดับ ทำให้เราเริ่มห่วงว่าแนวโน้มนี้จะนำไปสู่อะไรที่เรากลัว คือพยายามหาร่างเจรจาใหม่แทนที่ร่างข้อตกลงภายใต้พิธีสารเกียวโตที่มีใช้อยู่และพยายามทำให้มันดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาโลกร้อนได้ดีขึ้น มันเหมือนกับการพยายามล้มโต๊ะ

 

แล้วอย่างบ้านผมจะไปลดจากอะไรล่ะ มันเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ และไม่ยุติธรรมผู้แทนชาวซูดานคนหนึ่งให้ความเห็น

นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ผู้ประสานงานคณะกรรมการเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรมแถลงว่า ท่าทีเช่นนี้ของสหรัฐเป็นรูปธรรมของการแสดงตนเป็น ตัวป่วนในการเจรจาโลกร้อน เป็นการประกาศว่าสหรัฐเป็นผู้ร้ายตัวจริง “real bad guy” ที่จะทำลายความพยายามแก้ปัญหาโลกร้อนของประชาคมโลก

 

เรารู้ว่าสหรัฐฯ ไม่ต้องการพิธีสารเกียวโต และไม่สามารถทำอะไรได้เพราะที่ผ่านมาก็ไม่ได้ให้สัตยาบัน จะมาให้ตอนนี้ก็สายไป ทุกอย่างเลยไปไกลแล้ว ไม่ทัน นี่เข้าใจว่าสถานการณ์บ้านเขานะว่าเป็นอย่างไร สหรัฐกำลังจัดทำกฎหมายในประเทศ เข้าใจ และก็เข้าใจว่ากฎหมายในประเทศของสหรัฐนี่ใหญ่กว่ากฎหมายระหว่างประเทศซึ่งไม่เหมือนบ้านเรา ดังนั้นการจะมาทำอะไรนอกบ้านโดยไม่สนกฎหมายในประเทศนั้นไม่ได้ เราก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ไม่เข้าใจว่าสหรัฐจะมาป่วนการเจรจาโลกร้อนภายใต้อนุสัญญาฯ โลกร้อนทำไม สหรัฐสามารถทำกฎหมายในประเทศไป พอเสร็จแล้วก็บอกกฎหมายในประเทศเราบอกให้ทำได้แค่นี้ นี่ยังเข้าใจได้ คือต้องปล่อยให้การเจรจามันดำเนินไปอย่างที่มันควรเป็นและเป็นอยู่ซึ่งเป็นความพยายามที่สร้างสรรกิ่งกรอธิบาย

 

เราขอประณามท่าทีตัวป่วนเช่นนี้ของสหรัฐ และเรียกร้องให้กลุ่มประเทศยากจนภายใต้ จี 77 ร่วมกันแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีเช่นนี้ของสหรัฐฯ และประกาศการประณามออกมาอย่างชัดเจน นี่เป็นบทบาทที่เหมาะสมของจี 77 ไม่ใช่เวลาที่จะมาแสดงความอึดอัดขึงขังต่อท่าทีดังกล่าวส่วนตัวหรือบ่น ๆ กัน แต่ต้องผนึกกัน และบอกว่าเราไม่พอใจต่อท่าที่เช่นนี้กิ่งกร กล่าว

 

นี่ไม่ใช่แค่สหรัฐ แต่รวมถึงกลุ่มประเทศร่ำรวยที่สนับสนุนแต่ไม่ได้ประกาศชัดเจนอย่างญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดาและอียูด้วย ที่เกาะหลังสหรัฐอยู่

 

สิ่งที่ภาคประชาสังคมและองค์กรประชาชนไทยอยากเห็นในเรื่องการเจรจาโลกร้อนนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการต้องการให้ประเทศพัฒนาแล้วแสดงความรับผิดชอบต่อการก่อโลกร้อนในอดีตที่เราเรียกว่าหนี้นิเวศแล้วยอมรับพันธะกรณีชัดเจนว่าจะชดเชยต่อความผิดดังกล่าวด้วยกองทุนเพื่อการปรับตัว กลไกที่ระบุในพิธีสารเกียวโตกิ่งกรกล่าว

นายอันโตนีโอ ฮิลล์ (Antonio Hill, a senior policy advisor of Oxfam International) ที่ปรึกษาด้านนโยบายขององค์กร อ็อกแฟม ที่เข้าร่วมและติดตามการเจรจาฯ กรุงเทพ ใกล้ชิดกล่าวให้ความเห็นว่า แม้จะไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายต่อท่าทีสหรัฐ แต่เราก็คาดไม่ถึงว่าสหรัฐจะทำให้สถานการณ์ถอยหลังเข้าคลองขนาดนี้

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่สหรัฐจะทำอย่างนี้ เราไม่ได้หวังเลิศเลอว่าสหรัฐจะปรับเปลี่ยนท่าทีจากหน้ามือเป็นหลังมือในเรื่องโลกร้อน แต่ไม่นึกว่าจะถอยหลังเข้าคลองขนาดนี้ เป็นเรื่องที่รับได้ยากจริง ๆนายฮิลล์กล่าว

 

นางลิดี้ แนคพิล (Lidy Nacpil, coordinator of Jubilee South - Asia Pacific) ผู้ประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน Jubilee South ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคซึ่งทำงานด้านหนี้สินและการพัฒนากล่าวว่า รู้สึกโกรธมากกับท่าทีของสหรัฐและขอเรียกร้องให้ประชาชนชาวสหรัฐฯ แสดงบทบาทฐานะพลเมืองโลกออกมาในเรื่องนี้ ต่อรัฐบาลโอบาม่า

ฉันหวังว่าโอบาม่าจะทำให้เราประทับใจมากกว่านี้เสียอีก แม้เขาจะมีนโยบายที่ดีหลายเรื่อง แต่กับเรื่องโลกร้อนมันน่าผิดหวังมาก โดยเฉพาะท่าทีของผู้แทนสหรัฐในเวทีเจรจา AWG-LCA ที่กรุงเทพฯ เราหวังเหลือเกินว่าโอบาม่า จะแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นนโยบาย “change” ในเรื่องโลกร้อนนับจากตอนนี้ ไปจนถึงโคเปนเฮเกน

 

ฉันอยากเรียกร้องให้พลเมืองสหรัฐให้ผลักดันรัฐบาลของพวกเขาทำในสิ่งที่ถูกต้องและไม่ละอายต่อสามัญสำนึกที่ดีงาม เพราะสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐทำต่อเวทีเจรจานี้จะส่งผลกระทบต่อคนมหาศาล ที่สำคัญเราไม่มีเวลาเหลือพอที่จะลังเลแล้ว ต้องลงมือทำตอนนี้นางแนคพิลกล่าวที่ UNESCAP

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2510521717

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-25 17:17:46 IP : 124.121.142.178


ความคิดเห็นที่ 6 (3071308)

โลกร้อนกับนิวเคลียร์


เริ่มต้นคอลัมน์วันนี้ ก่อนอื่นขอขอบคุณ "กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต" ผู้กรุณาส่งจดหมายข่าว "จับตานิวเคลียร์ ข้อมูลอีกด้านที่ควรรู้" มาให้กองบรรณาธิการข่าวสดเพิ่มพูนสติปัญญาอยู่เป็นระยะๆ

เล่มล่าสุด ฉบับเดือนกันยายน พออ่านจบก็เตะตากับเรื่องราวความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยได้ยินใครพูดถึงมาก่อน

นั่นคือ ตามปกติ ฝ่ายสนับสนุนการสร้าง "โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์" จะเน้นย้ำว่า..


ยิ่งภัย "โลกร้อน" คุกคามเรามากเท่าไหร่ ยิ่งจำเป็นต้องสร้างมากขึ้นเท่านั้น เพราะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ

แต่กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกฯ แย้งว่า ถ้ายังบรรเทาวิกฤตโลกร้อนไม่ได้ ก็ยังไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

สาเหตุเนื่องจากอุณหภูมิ "อากาศ" และ "กระแสน้ำ" ที่ร้อนขึ้นผิดธรรมชาติ จะเพิ่มความเสี่ยงทำอันตรายต่อ "เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์!"

ตัวอย่างเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เช่น ช่วงฤดูร้อนปี 2546 เตาปฏิกรณ์ 1 ใน 4 ของฝรั่งเศสต้องหยุดเดินเครื่องชั่วคราว เพราะผลกระทบจากปรากฏการณ์ "คลื่นความร้อน" ซึ่งเกิดขึ้นรุนแรงทั่วทวีปยุโรป

ปัญหาน่าวิตกอีกประการของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็คือ


ต้องใช้ "น้ำ" ปริมาณมหาศาลเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบหล่อเย็น ไม่ว่าน้ำจากแม่น้ำ ทะเลสาบ หรือทะเล..

เมื่อโลกร้อนทำให้อุณหภูมิแหล่งน้ำร้อนขึ้น น้ำที่ไหลเข้า-ออกระบบดังกล่าวจึงอาจทำอันตรายต่อระบบการทำงานของเตาปฏิกรณ์เช่นกัน!

นอกจากนั้น โลกร้อนยังเริ่มสำแดงเดชทำให้สภาพอากาศแปรปรวน เกิดภัยธรรมชาติถี่ยิบและแรงขึ้น ทั้งพายุไต้ฝุ่น ไซโคลน น้ำท่วม ภัยแล้ง

ถ้าบังเอิญเคราะห์หามยามร้าย ความผิดเพี้ยนทางธรรมชาติทั้งหลายดันเกิดขึ้นพาดผ่านจุดที่ตั้งโรงงานนิวเคลียร์ กระทั่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วใครจะรับผิดชอบไหว..

ราวๆ กลางปีหน้า ข่าวว่ากระทรวงพลังงาน และกฟผ. มีแผนเริ่มประเมินความเป็นไปได้ พร้อมคัดเลือกสถานที่ก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์กันแล้ว ไม่ทราบว่าได้นำข้อทักท้วงเหล่านี้ไปพิจารณาบ้างหรือไม่!?!

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

0311520742

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-03 07:42:00 IP : 124.121.139.212


ความคิดเห็นที่ 7 (3128983)

เลิกเป้าหมายทำสนธิสัญญาโลกร้อน ผู้นำโลกยอมรับไม่ทันแน่ปลายปีนี้



เจ้าภาพ-ผู้นำเอเปค ยอมรับไม่สามารถเจรจาทำความตกลงเพื่อให้ได้สนธิสัญญานานาชาติว่าด้วยโลกร้อนฉบับใหม่ทันในเดือนธันวาคมนี้ "โอบามา-หูจิ่นเทา"เห็นพ้องชะลอไปที่เม็กซิโก

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 52  ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าภาพในการหารือระหว่างรับประทานอาหารเช้าอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำชาติเอเปค 19 ชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน กับนายลาร์ส รามุสเซ่น นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก ซึ่งมีกำหนดจะทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก ในต้นเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ การหารือดังกล่าวตกลงมีขึ้นกะทันหันตามคำขอของนายรามุสเซ่นที่พยายามเดินทางไปทั่วโลกเพื่อล็อบบี้ให้บรรดาผู้นำทั้งหลายเห็นชอบกับการจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยการแก้ปัญหาโลกร้อนฉบับใหม่ ที่จะนำมาใช้แทนที่พิธีสารเกียวโต ซึ่งจะหมดวาระบังคับใช้ในปี 2012 ที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม หลังการหารือ นายโอบามาและนายรามุสเซ่น ยอมรับตรงกันว่ายากที่จะใช้ระยะเวลาที่เหลืออีกเพียง 22 วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมดังกล่าวเจรจาเพื่อหาข้อยุติในความขัดแย้งทางความคิดระหว่างกลุ่มประเทศยากจนกับประเทศร่ำรวย ในเรื่องของการกำหนดเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และในที่สุดบรรดาผู้นำของชาติเอเปคในที่ประชุมดังกล่าวซึ่งรวมทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาต่างก็เห็นพ้องในข้อเสนอใหม่ของนายรามุสเซ่น ให้ยืดระยะเวลาการทำความตกลงเบ็ดเสร็จออกไปก่อน โดยกำหนดเป้าหมายใหม่เพียงแค่ให้การประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกนเป็นไปเพื่อแสวงหา "ความตกลงร่วมที่มีพันธะผูกพันทางการเมือง" ซึ่งจะครอบคลุมประเด็นเรื่อง มาตรการบรรเทาหรือแก้ไขปัญหา, การปรับใช้มาตรการและการสนับสนุนทางการเงินต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่ความตกลงเบ็ดเสร็จในรูปของข้อตกลงที่มีพันธะบังคับเชิงกฎหมาย ที่จะถูกเลื่อนออกไปไว้ในการประชุมสุดยอดว่าด้วยปัญหาโลกร้อนคราวต่อไป ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ เมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก

รายงานข่าวระบุว่า ประธานาธิบดีโอบามาเห็นว่าข้อเสนอใหม่ของนายรามุสเซ่นดังกล่าวน่าจะยอมรับกัน เพราะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่าการดันทุรังไปตามเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะให้การประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกนเป็นสถานที่จัดทำสนธิสัญญาฉบับใหม่แทนพิธีสารเกียวโต ซึ่งเสี่ยงต่อความล้มเหลวอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศการตัดสินใจดังกล่าว บรรดาผู้นำเอเปคและนายโอบามาถูกโจมตีทันทีว่าพยายามหลีกหนี ไม่ยอมเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหายากๆ จากบรรดากลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านภาวะโลกร้อนต่างๆ (รอยเตอร์/ไอเอชที/เอฟที)

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1611521707

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-16 17:06:47 IP : 124.121.142.206


ความคิดเห็นที่ 8 (3129203)

ชาวเมืองผู้ดีกว่าครึ่ง ไม่เชื่อโลกร้อนเป็นฝีมือมนุษย์

 

สื่อเมืองผู้ดีเผยผลสำรวจความคิดเห็นชาวอังกฤษ พบข้อมูลน่าตกใจ มีเพียง 28% ที่เชื่อว่าโลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งไม่เชื่อว่าโลกร้อนขึ้นเพราะมนุษย์กระทำ
       
       
หนังสือพิมพ์เดอะไทม์สดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในอังกฤษแบบสุ่มจำนวน 1,504 คน เกี่ยวกับเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อน โดยสอบถามความคิดเห็นผ่านทางโทรศัพท์เมื่อช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. 52 และตีพิมพ์ผลสรุปการสำรวจเมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเอเอฟพีรายงานว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง ไม่เชื่อว่าภาวะโลกร้อนขณะนี้เกิดจากฝีมือมนุษย์
       
       
ผลสำรวจพบว่า 41% ของกลุ่มประชากรตัวอย่างยอมรับในข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ขณะที่ 28% เชื่อว่าภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย และเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่
       
       
ทว่า 32% เชื่อเช่นเดียวกันว่าภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นจริง แต่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามนุษย์ทำให้มันเกิดขึ้นจริง แต่มีประมาณ 8% เห็นว่ากรณีที่บอกว่าโลกร้อนเกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นการประชาสัมพันธ์ของนักสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ขณะที่ 15% ไม่เชื่อว่าโลกร้อนขึ้น
       
       
ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าวยังถือเป็นการข่มขู่นายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่จะเป็นผู้นำในการประชุมเจรจาสหประชาติเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนที่จะมีขึ้นในเดือน ธ.ค. นี้ ณ กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก
       
       
เอเอฟพีระบุอีกว่า เดอะไทม์สได้รายงานว่าความไม่เชื่อหรือสงสัยในประเด็นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม่ง่ายนักที่รัฐบาลอังกฤษจะโน้มน้าวให้ประชาชนยอมรับภาษีสีเขียวที่สูงลิ่วได้ ซึ่งเป็นข้อผูกมัดทางกฎหมายที่จะช่วยให้ชาวอังกฤษลดก๊าซเรือนกระจกได้ 34% ภายในปี 2563 และ 80% ในปี 2593
       
       
อย่างไรก็ดี เดลิเมล์รายงานว่า เอ็ด มิลิแบนด์ (Ed Miliband) รัฐมตรีกระทรวงภูมิอากาศและการพลังงาน กล่าวต่อเรื่องนี้ว่า ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มีอยู่มากมายพอที่จะโต้แย้งกลุ่มคนที่ไม่เชื่อเรื่องนี้ได้ และมันแสดงให้พวกเราเห็นจริงๆว่าภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นแล้ว และเกิดจากฝีมือมนุษย์จริง
       
       "
เรารู้ว่าเรายังพอมีหนทางในการให้ข้อมูลกับประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงไม่ทำสิ่งที่เป็นการขอขมาหรือแก้ตัวในการผลักดันข้อปฏิบัติใหม่ของเราเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก แต่มันอาจไม่ยุติธรรมต่อผู้ที่ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเราจำเป็นต้องแก้ปัญหา และเป็นความท้าทายด้วยอย่างหนึ่ง" มิลิแบนด์ กล่าว
       
       
มิลิแบนด์ กล่าวอีกว่าความจริงจากสิ่งที่ว่านั้นคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะนำประโยชน์มากมายมาสู่อังกฤษ โดยการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานและเปิดโอกาสสู่อาชีพและธุรกิจใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1711520918

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-17 09:18:01 IP : 124.121.138.5


ความคิดเห็นที่ 9 (3131157)

วิกฤตโลก ? วันที่ขั้วโลกเหนือ..ไม่เหลือน้ำแข็ง

โดย สกุณา ประยูรศุข


อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ถนนโยธี บรรดาผู้สนใจเรื่องของ "วิกฤตโลก" ไปรวมตัวกันอย่างคับคั่ง เพราะเป็นงานเสวนาเรื่อง "วิกฤตโลก เมื่อขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง" โดยมี ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากร

พิธีกรในการเสวนาเริ่มต้นบรรยากาศด้วยเหตุการณ์ข่าว "ทากทะเล" ที่ขึ้นมาตายจำนวนมาก ที่จังหวัดชุมพร และสันนิษฐานว่าเป็นเพราะการเปลี่ยน แปลงกระแสน้ำวนของน้ำทะเล จากนั้นโยนคำถามให้อาจารย์อานนท์ ร่ายยาว

ปัจจุบัน ดร.อานนท์เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวอธิบาย ว่าเคยไปเห็นหนอนทะเลที่หาดบางแสน เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง ซึ่งมันอยู่ดีๆ ก็มาก็เกิดขึ้น แล้วมีคนพูดเกี่ยวกับกระแสน้ำ หรือสัตว์พวกนี้ว่าเป็นสัตว์หน้าดิน เดินได้เอง ไม่ต้องให้กระแสน้ำพามา เพราะไม่ใช่เป็นแพลงตอน ฉะนั้น การที่มันมารวมกันที่ใดที่หนึ่ง ความคิดเห็นส่วนตัวแล้วน่าจะเป็นอยู่ในส่วนของการสืบพันธุ์

"เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เพราะผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความรู้ทางด้านชีววิทยาก็มีไม่ค่อยมาก" เสียงอาจารย์ออกตัวก่อนบรรยายต่อ ว่ามีสัตว์ทะเลหลายชนิดเวลาสืบพันธุ์จะต้องมาอยู่ด้วยกัน เราอาจจะไม่ได้สังเกตว่าสัตว์ขึ้นมาสืบพันธุ์เสร็จ มันก็จะตาย พอตายมันเดินไม่ได้ถูกคลื่นซัดขึ้นมา เป็นเรื่องปกติ

โดยปกติสัตว์ทะเลจะสืบพันธุ์ตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวง

"ผมเคยเห็นพวกปลาหมึกหรือหนอนทะเลหลายชนิด มีวงรอบการสืบพันธุ์ของมันตรงกับภาพของพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่น่าใช่เรื่องกระแสน้ำที่ปกติในช่วงเวลาวันใดวันหนึ่ง" อาจารย์อานนท์กล่าว

เมื่อถามถึงเรื่องของ "วิกฤตโลก ในวันที่ขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง"

ดร.อานนท์กล่าวว่า ประเด็นนี้มีที่มาที่ไป โดย มีองค์กรเอกชนทางด้านวิชาการ ได้แถลงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ว่าได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ได้ข้อมูลนี้มา อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก "กองทุนสัตว์ป่าโลก" ด้วย



"ที่จริงแล้วเขาบอกว่าอีก 20 ปีถึงจะไม่มีน้ำแข็ง และฤดูร้อนก็หายไปอย่างสิ้นเชิง ผมว่าจะเริ่มเห็น ได้เป็นบางปี ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีข้างหน้า แต่พอข่าวส่งบอกกันปากต่อปากมาเรื่อยๆ 10 ปี จะไม่มีน้ำแข็งแล้ว แต่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มันเป็นข้อมูลทางวิชาการ เป็นเรื่องที่ว่ากันแล้วมีการติดตามมาเป็นระยะยาว หลายประเทศค่อนข้างเป็นห่วง"

จากนั้น ดร.อานนท์ให้ดูภาพของน้ำแข็ง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เป็นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต มองจากขั้วโลกเหนือลงมาเป็นจุดอยู่ตรงกลางเล็กๆ ขั้วโลกเหนือไม่มีแผ่นดิน อยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติกถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน พร้อมอธิบายว่า จะเห็นว่าตอนนี้น้ำแข็งโตขึ้นมาเต็มเหลือส่วนอีกเล็กน้อยที่ยังไม่เต็ม ในขณะที่น้อยที่สุดในปีนี้อยู่ที่วันที่ 16 กันยายน 2552 จะเห็นว่ามีน้ำแข็งอยู่เฉพาะส่วนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ด้านบน

"ปกติฤดูร้อนในอดีตน้ำแข็งจะหดลงมาเล็กน้อย เพราะฉะนั้นน้ำแข็งฤดูร้อนมันหายไปจริง ตอนนี้เหลือประมาณ เมื่อเทียบกับของมหาสมุทรอาร์กติกทั้งหมดอยู่ที่ประมาณแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาสมุทรอาร์กติกเท่านั้นเอง เมื่อก่อนมันร้อนจะลงมาอยู่ที่ประมาณ 50-60% ของมหาสมุทรอาร์กติก ตอนนี้ลงมาที่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ มันหายไปมาก"

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งทำให้มันยิ่งร้อนได้นานขึ้นกว่าเดิม เสียงบอกถึงสาเหตุจาก ดร.อานนท์

"ปลายฤดูตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปถึงธันวาคม 2551 น้ำแข็งจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโล เมตร ในอดีตฤดูร้อนจะหดลงมาเหลืออยู่ที่ประมาณ 7 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ในปัจจุบันปี 2552 หดลงมาเหลือ 5 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ยังไม่ใช่น้อยที่สุด เพราะในปี พ.ศ.2550 เป็นปีที่น้ำแข็งหายไปมากที่สุด หดลงเหลือแค่ประมาณ 4 ล้านตารางกิโลเมตร"

เสียง ดร.อานนท์กล่าวต่อไปอีก ว่า ณ วันนี้แค่ประมาณเดือนเศษๆ น้ำแข็งเพิ่มขึ้น 5-8 ล้านตารางกิโลเมตร เพราะน้ำแข็งพอเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวมันเกิดเร็ว เพราะว่ามันเย็นมาก และน้ำแข็งมันเกิดจากการเย็นตัวของน้ำทะเลโดยตรง เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับเอาน้ำใส่แก้วไปใส่ในตู้ฟรีซเซอร์ มันก็จะเริ่มแข็ง แต่ไม่มีผลอะไรกับระดับน้ำทะเลมาก เพราะไม่ได้เติมน้ำจากด้านนอกเข้ามา



"แต่ที่น่าสนใจ คือเราดูจากแนวโน้ม ปี 2552 ปีเดียวคงไม่ได้บอกอะไร และสิ่งที่อยากดูตอนนี้คืออายุเฉลี่ยของน้ำแข็ง ในอดีตอายุของน้ำแข็งจะนาน พวกที่มีอายุเก่ากว่า 2 ปี เป็นน้ำแข็งที่อยู่ถาวร แต่ในปัจจุบันส่วนที่เป็นสีเขียวเหลือน้อยมาก แสดงว่าน้ำแข็งเดี๋ยวนี้มันวูบวาบมาก หน้าร้อนก็หายไปมาก หน้าหนาวคืนกลับขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันทำให้การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล แกว่งมาก ระบบนิเวศอะไรต่างๆที่อยู่ในบริเวณนั้นจะต้องมีการปรับให้รับกับสภาพแบบใหม่ๆ นี้ให้ดีขึ้น"

เพราะฉะนั้น ปี 2552 นี้ น้ำแข็งไม่ได้ละลายมากเหมือนปี 2550

แต่ที่น่ากังวล คือเรื่องของชั้นน้ำแข็งถาวรในเขตทุนดรา หรือทุ่งหิมะแถบขั้วโลก ชายฝั่งบริเวณนี้ปัจจุบันเป็นเขตทุนดรา คือเขตที่มีต้นมอสมีหญ้าขึ้นบ้างนิดหน่อย ไม่มีต้นไม้ใหญ่ บริเวณชั้นตรงนี้ในฤดูร้อนจะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม แต่พอฤดูหนาวจะมีน้ำแข็งคลุม พอฤดูร้อนชั้นที่อยู่ใต้ดินลึกลงไปมันมีชั้นน้ำแข็งถาวร แต่ระยะหลังบริเวณนี้ขุดลงไปประมาณ 1 เมตรจะเป็นน้ำแข็ง ส่วนด้านบนจะเป็นดิน ชั้นน้ำแข็งสิ่งที่สำคัญคือมันทำหน้าที่เหมือนกับเป็นตัวล็อคก๊าซมีเทนที่อยู่ใต้ดิน ก๊าซมีเทนอยู่มานานเป็นร้อยเป็นพันปี การเกิดมีเทนมันมีน้ำแข็งคลุมเอาไว้ไม่แพร่ ขึ้นมาด้านบน พอไม่แพร่ก็สะสมอยู่ด้านล่างเรื่อยๆ หากมหาสมุทรอาร์กติกร้อนขึ้นๆ โดยเฉพาะฤดูร้อน ชั้นน้ำแข็งถาวรตรงนี้อาจจะละลายหายไป ฉะนั้น ความสามารถในการเก็บมีเทนไว้จะน้อยลง

...มันอาจจะถึงจุดหนึ่งมีเทนจำนวนมหาศาล จำนวนเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยประมาณ 20 ปี แต่ถ้ามันพรวดออกมาในปีเดียวจะทำเหมือนกับว่าเราต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ถึงเรือนกระจกถึง 20 ปี ก๊าซมีเทนจำนวนเท่าๆ กันกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันทำให้โลกร้อนมากกว่า ประมาณ 21 เท่า เพราะว่าการเก็บความร้อนของก๊าซมีเทนดีกว่าก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์

ฉะนั้น มีเทนถึงแม้จะปล่อยออกมาปริมาณน้อยก็สามารถทำให้โลกร้อนได้รุนแรงมากกว่า และถ้าเกิดมาจริงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลัน ซึ่งค่อนข้างน่าวิตก

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงอย่างต่อเนื่อง ปีประมาณ 1% โดยประมาณ ดังนั้น เราจะบอกว่ารอได้อีก 20-30 ปีถึงจะวิกฤต

ดร.อานนท์ระบุว่า นี่คือการคาดการณ์ในอนาคต

"ในเขตพื้นราบของทั้งโลก ซึ่งเคยมีพื้นที่น้ำแข็งอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันนี้มันหายไปแล้วจริงๆ เหลือแค่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร คือหายไปแล้ว 20% ตั้งแต่หนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ถ้ามนุษย์ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังปล่อยไปเรื่อยๆ โลกก็ร้อนขึ้นมาก"

ดร.อานนท์กล่าวแบบฟันธงว่าโลกอนาคตอย่างไรมันเปลี่ยนแน่ๆ ไม่มีใครมองว่าจะกลับไปเหมือนเดิม อยู่ที่ว่าเปลี่ยนมากเปลี่ยนน้อยแล้วเราปรับตัวกับมันได้ทันหรือไม่

การเสวนาขยายความต่อไป ว่ามีคนสนใจมาก ถ้าแถบมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งอยู่ใกล้กับแคนาดา อลาสกา รัสเซีย หากแถบนั้นอุ่นขึ้นต้นไม้ต่างๆ จะเปลี่ยนไป เขตทุนดราที่มีอยู่โดยรอบจะหายไป ในอนาคตอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า ชั้นน้ำแข็งถาวร (permafrost) จะเหลืออยู่แค่นิดหน่อยเท่านั้น

ส่วนในเรื่องของระบบนิเวศ มีคนพูดถึง "หมีขาว" เพราะหมีขาวอาศัยอยู่บนน้ำแข็ง ถ้าน้ำแข็งเล็กลงไป หมีขาวคงจะเดือดร้อน โอกาสที่หมีขาวจะสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง ยังไม่ใช่ แต่จำนวนประชากรคงลดลง ไปมาก

อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณตรงนั้นเป็นป่ามากขึ้น ทำให้มนุษย์รุกตามขึ้นไป อาจไปรบกวนระบบนิเวศของมัน

"การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศไม่ใช่ด้วยลำพังของตัวมันเอง แต่มีเรื่องอื่นเชื่อมโยงกันมากมาย ฉะนั้น ต้องมองในภาพรวม ไม่ใช่มองเฉพาะเรื่องกายภาพอย่างเดียวเท่านั้น"

บทสรุปจาก ดร.อานนท์ ที่เป็นการตอบคำถาม "วิกฤตโลก"

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

2311520820

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-23 08:19:50 IP : 124.121.140.39


ความคิดเห็นที่ 10 (3132990)

จีนตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซฯ 40-45% ภายในปี 2563

 

เอเจนซี-สื่อจีนรายงาน การแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนวันที่ 26 พ.ย.ว่า นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ของจีน จะเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก สัปดาห์หน้านี้
       
       
และหลังจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีจีนในวันเดียวกัน ยังได้ประกาศถึงเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลง 40 - 45% จากระดับปี 2548 ให้ได้ก่อนปี 2563 ด้วย
       

       
สื่อจีนรายงานว่า คณะรัฐมนตรีของจีนในที่ประชุมรัฐบาลฯ ระบุว่า ได้กำหนดเป้าหมายดังกล่าวโดยพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของจีน และเป็นความสมัครใจของรัฐบาลจีนเอง
       
       
การประกาศดังกล่าว มีขึ้นในเวลาใกล้กันกับที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามาของสหรัฐฯ ประกาศว่าจะเข้าร่วมในการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกน พร้อมกับเตรียมเสนอให้มีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงประมาณ 17% จากปี 2548 ภายในปี 2563 
       
       
การเข้าร่วมการประชุมของทั้งสองชาติ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่โลกจับตาดูว่าทั้งสองประเทศ จะกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไรซึ่งมีผลต่อความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้มาก เนื่องจากจีนและสหรัฐฯแพร่กระจายความร้อนมากเป็นอันดับหนึ่ง และอันสองของโลก ตามลำดับ
       
       
ก่อนหน้า จีนและสหรัฐฯปฏิเสธลงนามในพิธีสารเกียวโตฯ มาตรการลดความร้อนโลก ที่กำลังหมดอายุลงในปีนี้ ซึ่งทำให้นานาชาติเปิดประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และถกข้อตกลงมาตรการลดความร้อนโลกระหว่างวันที่ 7-18 ธันวาคมนี้.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

2811522213

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-28 22:13:01 IP : 124.122.27.159


ความคิดเห็นที่ 11 (3135386)

สภาวะโลกร้อน...วิธีการป้องกัน ก็คือ ทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาโลก เพราะขณะที่ทั่วโลกตื่นตัวเรื่องของ "สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป" อันเกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่ปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกจำนวนมาก ทำให้โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งหลายแห่งถูกน้ำท่วม เช่น ที่ จ.สมุทร ปราการ เป็นตัวอย่างชัดเจน

"
เรื่องของระดับน้ำที่สูงขึ้น จนทำให้พื้นที่หลายแห่งของโลกจะถูกจมลงในทะเลก็อาจเป็นไปได้ เพราะในอดีตนักวิทยาศาสตร์เคยวาดภาพแผนที่โลกไว้ซึ่งก็ไม่ใช่แผนที่โลกในปัจจุบันนี้ หลายทวีปเกิดขึ้นใหม่หลายทวีปก็จมลงทะเลไปแล้ว ดังนั้นการบอกว่าโลกจะจมน้ำก็มีโอกาสเป็นไปได้ แต่ถ้าบอกว่าโลกจะแตกในปีนั้นปีนี้อย่างรวดเร็วคงจะเป็นเพียงการจินตนาการในภาพยนตร์ ไม่อยากให้ประชาชน แตกตื่นกันไป..

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

0612522230

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-06 22:30:03 IP : 124.122.27.168


ความคิดเห็นที่ 12 (3137539)

จับม็อบ 900 คนป่วนเวทีโลกร้อน เรือนแสนชุมนุม


เมื่อ 13 ธ.ค. บีบีซีรายงานสถานการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นด้านนอกการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกในกรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ว่า ตำรวจควบคุมตัวผู้ก่อความวุ่นวายไว้ได้เกือบ 900 คน จากที่มีผู้ออกมาเดินขบวนประท้วงเกือบหนึ่งแสนคน จากนั้นผู้ประท้วงราว 300 คนพากันไปชุมนุมที่เรือนจำ เรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับไป

ความรุนแรงเกิดขึ้นหลังจากที่กลุ่มวัยรุ่นสวมชุดดำและสวมหมวกไอ้โม่งคลุมใบหน้าก่อเหตุขว้างปาก้อนหิน และพลุไฟใส่ตำรวจที่ยืนรักษาความปลอดภัย เหตุการณ์ลุกลามจนกลายเป็นการทำลายข้าวของ และสถานที่ราชการ หลังเกิดเหตุมีตำรวจบาดเจ็บ 1 นาย ผู้ชุมนุมบาดเจ็บจากพลุไฟ 1 คน รถยนต์ถูกไฟไหม้ 1 คัน

ด้านสถานการณ์ภายในที่ประชุม นายเอียน ฟราย ผู้แทนจากราชอาณาจักรตูวาลู ประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ถึงกับหลั่งน้ำตาวิงวอนที่ประชุมให้ร่วมมือกันออกมาตรการทางกฎหมายให้ทุกประเทศควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นายฟรายกลˆาวว่า "ตื่นขึ้นมาร้องไห้เมื่อเช้านี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ชายที่โตแล้วจะยอมรับ แต่ชะตากรรมของประเทศผมอยู่ในมือของพวกท่าน" และยืนกรานว่า ที่ประชุมจะต้องมีข้อตกลงที่มีข้อผูกพันทางกฎหมายเท่านั้น ตูวาลูจึงจะรอดพ้นจากหายนะ ทั้งนี้ ตูวาลูประกอบด้วยเกาะ 9 เกาะ ที่ก่อตัวกันเป็นแนวระยะทางรวม 576 กิโลเมตร เกาะทั้งหมดเป็นเกาะปะการังเล็กๆ ที่ไม่มีเกาะใดอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกิน 15 ฟุต ตูวาลูมีประชากรประมาณ 12,000 คน มีเมืองหลวงชื่อฟูนะฟูตี มีประชากรประมาณ 4,500 คน

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมลับของรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 48 ประเทศ เพื่อพิจารณาร่างข้อตกลง ของที่ประชุมและจะนำผลการประชุมทั้งหมดเสนอต่อผู้นำกว่า 110 คนที่ร่วมประชุม วันที่ 18 ธ.ค. นี้ ท่ามกลางความวิตกว่ายังไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมและยังมีความขัดแย้งระหว่างประเทศยากจนและร่ำรวยในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1412521538

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-14 15:38:08 IP : 124.121.139.143


ความคิดเห็นที่ 13 (3139378)

ปิดฉากประชุมลดโลกร้อน สหรัฐตกลงชาติพัฒนาคุมปล่อยก๊าซ

 

ถกเครียด : ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ หารืออย่างเคร่งเครียดกับบรรดาผู้นำโลก ในการประชุมสุดยอดแก้ไขปัญหาโลกร้อน ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ล่าสุด ที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลงในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว หลังจากการเจรจาอย่างเคร่งเครียดนานหลายชั่วโมงในวันสุดท้าย (เอพี)


สหรัฐ จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และบราซิล ได้บรรลุ "ข้อตกลงที่มีความหมาย" ในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และวางกลไกการตรวจสอบอย่างชัดเจน หลังจากที่เจรจากันนานหลายชั่วโมงที่กรุงโคเปนเฮเกน

โคเปนเฮเกน (เอพี/รอยเตอร์ส/บีบีซี นิวส์) - ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ เผยว่า สหรัฐ จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และบราซิล ได้บรรลุ "ข้อตกลงที่มีความหมาย" ในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และวางกลไกการตรวจสอบอย่างชัดเจน หลังจากที่เจรจากันนานหลายชั่วโมงที่กรุงโคเปนเฮเกน นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญ แม้ว่ายังเป็นข้อตกลงที่ไม่เพียงพอในการต่อสู้กับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ในข้อตกลงโคเปนเฮเกน ได้กำหนดให้ทุกประเทศเสนอสิ่งที่จะดำเนินการและพันธกรณี รวมถึงกลไกทางการเงินและการติดต่อสื่อสารระหว่างกันถึงความคืบหน้าในการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส และจะมีการกำหนดมาตรการให้กับประเทศที่ยากจน ต้องปฏิบัติเพื่อรับมือกับผลกระทบจากโลกร้อน

อย่างไรก็ตาม ในข้อตกลงยังไม่มีความชัดเจนเรื่องปริมาณที่จะให้ประเทศต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะที่นายซี เจินหัว (Xie Zhenhua) เจ้าหน้าที่ระดับสูงการเจรจาสภาพอากาศโลกของจีน กล่าวว่า การประชุมที่เดนมาร์กมีผลในด้านบวกและทุกประเทศควรมีความสุขกับการเจรจานี้ ทางด้านผู้แทนของสหภาพยุโรปเผยว่า ประเทศที่ยังไม่ได้ร่วมประกาศกับทั้ง 5 ชาติ ก็ยังคงต้องเจรจากันต่อไป อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติได้กล่าวยกย่องว่า การที่ทั้ง 5 ชาติตกลงกันได้ ก็ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งของการประชุมครั้งนี้

ทางด้านกลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม Friends of the Earth กล่าวโจมตีข้อตกลงนี้ว่าไร้ความหมาย โดยเฉพาะการให้แต่ละประเทศระบุแผนปฏิบัติการระดับประเทศเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้น ไม่มีพันธะผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่ผู้แทนกลุ่มกรีนพีซในอังกฤษ กล่าวว่า จวบจนถึงขณะนี้ก็ยังดูเหมือนว่านักการเมืองส่วนใหญ่มองเห็นแต่ผลประโยชน์ของตนเอง โดยที่ไม่สนใจคนอีกหลายล้านที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากภาวะสภาพอากาศโลกที่แปรเปลี่ยนไป

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)                   

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2012522130

         

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-20 21:29:59 IP : 124.122.26.72



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.