ReadyPlanet.com


ซี.บี.อาร์. การพัฒนาคนพิการโดยชุมชน (C.B.R.)


การพัฒนาคนพิการโดยชุมชน


ยุทธศาสตร์หลักในการทำงานด้านคนพิการในประเทศกำลังพัฒนา

           เป็นที่น่ายินดีว่าประเทศไทยโดย

-        กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

-        องค์กรอนามัยโลก (WHO)

-        สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UN-ESCAP) และ

-        มูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD Foundation)

จะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม เรื่อง การพัฒนาคนพิการโดยชุมชน  การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมครั้งใหญ่และครั้งแรกระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ    400 - 500 คน

 

ความสำคัญของการพัฒนาคนพิการโดยชุมชน

            แนวคิดการพัฒนาและฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนริเริ่มมาจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว มีชื่อศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Community-based Rehabilitation : CBR ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยแบบง่ายๆได้ว่า การพัฒนาคนพิการโดยชุมชน เรียกเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษได้ว่า ซี.บี.อาร์. (C.B.R.) 
           
แนวคิดดังกล่าวเน้นการสร้างและสนับสนุนให้ชุมชนซึ่งเป็นสถาบันหลักหนึ่งในสังคมเป็นฐานในการพัฒนาคนพิการ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเราสามารถค้นพบศักยภาพและภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่ามากมายอยู่ในชุมชน

ข้อดี  ของการพัฒนาและฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนมีหลายประการ ได้แก่

1.   ประการแรกเป็นการประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการช่วยหลือคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส เนื่องด้วยการใช้แนวทางการพัฒนาคนพิการโดยชุมชนเป็นการประหยัดกว่าการจัดตั้งสถานสงเคราะห์ ศูนย์หรือบ้านพักคนพิการเป็นอย่างมาก เพราะไม่ต้องจ่ายค่าเงินเดือนบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ ค่าสาธารณูปโภค ค่าอาหาร ฯลฯ แต่เน้นที่การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชน เช่น สมาชิกในครอบครัวของคนพิการ อาสามัครในชุมชนสามารถช่วยดูแลและฝึกคนพิการได้หากได้รับการฝึกฝนอย่างดีพอ อุปกรณ์ที่ใช้สามารถประยุกต์จากของใช้พื้นบ้านในท้องถิ่น 

2.   ประการที่สองการพัฒนาคนพิการโดยชุมชนเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเอง คนในชุมชนได้เรียนรู้ ได้ฝึกปฏิบัติร่วมกันให้สามารถบริหารจัดการโครงการหรือกิจกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้  ซึ่งประสบการณ์บทเรียนดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานพัฒนาชุมชน พัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่นๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และ

3.   ประการสุดท้ายเป็นการสนับสนุนให้คนพิการได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างกลมกลืนกับสังคมชุมชน โดยไม่แบ่งแยกซึ่งจะทำให้คนพิการได้อยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างมีความสุข แทนที่จะต้องย้ายตัวเองไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ หรือบ้านพักคนชรา และใช้ชีวิตที่มีวิถีชีวิตแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

 

จุดประสงค์ของการประชุมครั้งนี้

          การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ข้อใหญ่ได้แก่

ข้อแรกเพื่อแลกเปลี่ยนและสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาแนวคิด กระบวนการ ทักษะในการทำงานด้านการพัฒนาคนพิการโดยชุมชนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ข้อที่สองเพื่อผลักดันให้แนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาคนพิการโดยชุมชน เป็นยุทธศาสตร์หลักในการลดปัญหาความยากจน การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  และครอบครัว และ

ข้อที่สามเพื่อระดมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรหลักจากภาคส่วนต่างๆในระดับสากลระดับประเทศและระดับท้องถิ่นต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการแลกเปลี่ยนทรัพยากร และข้อมูลข่าวสาร   รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อการรพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อไป

          ผู้เข้าร่วมประชุม และประเด็นหัวข้อหลักในการประชุม คณะผู้จัดคาดหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 400 – 500 คน ซึ่งมาจากประเทศต่างๆทั่วเอเชียและแปซิฟิก และประเทศอื่นๆนอกภูมิภาคนี้  โดยเป็นผู้แทนจากกลุ่มบุคคลต่อไปนี้  ผู้นำคนพิการ ผู้นำกลุ่มครอบครัวคนพิการ         ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาคนพิการโดยชุมชน ผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนพิการได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชุมชนในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ  ผู้แทนจากภาคสื่อสารมวลชน ส่วนหัวข้อหลักที่จะมีการอภิปรายในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาคนพิการและครอบครัวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และคนพิการมีส่วนร่วม การพัฒนาคนพิการโดยชุมชน (CBR) ในฐานะยุทธศาสตร์การทำงานระดับรากหญ้าเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโดยคนพิการมีส่วนร่วม  การเสริมความเข้มแข็งแก่คนพิการและกลุ่ม องค์กรคนพิการ และบทบาทขององค์กรภาคี    เครือข่ายในการพัฒนาคนพิการ การดำเนินการของสหประชาชาติเพื่อพัฒนาคนพิการโดยชุมชนผ่านการใช้กลไก กฎหมายในระดับสากล ได้แก่ อนุสัญญาด้านสิทธิของคนพิการ กรอบแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาคนพิการที่ร่วมร่างโดยรัฐบาลประเทศต่างๆ ฯลฯ

 

ประเทศไทยกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคนพิการ :  อบต.เป็นเจ้าภาพในการทำงาน
สำหรับงานด้านการพัฒนาฟื้นฟูคนพิการในประเทศไทยในปัจจุบัน  หากจะมองวิเคราะห์ในภาพรวมปัญหามิได้อยู่ที่เราขาดแคลนทรัพยากรในการดำเนินงาน แต่ปัญหาคือการบริหารการประสานงานและการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่แล้วไปใช้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ หากวิเคราะห์ต่อจากข้อความข้างต้น เราสามารถสรุปได้ว่า ประเทศเรามีทรัพยากรด้านการฟื้นฟูที่พอเพียงระดับหนึ่ง เช่น เรามีบุคลากรด้านการบำบัดฟื้นฟูทั้งแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ครูการศึกษาพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดต่างๆ เรามีสถานที่ดำเนินการพัฒนาบำบัดฟื้นฟูผู้พิการในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ เช่น โรงพยาบาลศูนย์ในระดับภูมิภาค โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลอำเภอ สถานีอนามัย ศูนย์การศึกษาพิเศษระดับภาค ศูนย์การศึกษาพิเศษระดับจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ฯลฯ นอกจากนี้ประเทศไทยเรายังมีงบประมาณด้านการพัฒนาฟื้นฟูคนพิการผ่านกระทรวง หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ มูลนิธิ และองค์กรภาคเอกชนจำนวนไม่น้อย แต่ประเด็นของปัญหาคือ การจัดการหรือการบริหารทรัพยากรด้านการพัฒนาฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาหลักก็คือ การพัฒนาการบริหารทรัพยากรด้านการฟื้นฟูที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การประสานงานทรัพยากรทั้งในและนอกชุมชนต่างๆในสังคมไทยมาพัฒนาช่วยเหลือสนับสนุนคนพิการที่ยากจนและอยู่ห่างไกลความเจริญ 
         
ยุทธศาสตร์ในการบริหารและประสานทรัพยากรด้านการฟื้นฟูให้มีประสิทธิภาพคือ การทำงานฟื้นฟูผู้พิการโดยชุมชน และสำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยเราในปัจจุบัน การพัฒนาฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนโดยใช้อบต.เป็นเจ้าภาพน่าจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการทำงาน เพราะอบต.เปรียบเสมือนรัฐบาลของชุมชนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน และช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ด้อยโอกาสในสังคมอยู่แล้ว
         
แนวคิดนี้มิได้หมายความว่า นายกอบต. ปลัดอบต.จะต้องมาฝึกกายภาพให้เด็กพิการ หรือต้องมาสอนคนพิการในด้านการฝึกอาชีพด้วยตนเอง แต่แนวคิดนี้จะให้ความสำคัญกับองค์กรชุมชน เช่น อบต.ทำบทบาทในการเป็นผู้ประสานทรัพยากร บริหารทรัพยากรที่มีอยู่แล้วทั้งในและนอกชุมชนมาร่วมกันพัฒนาและฟื้นฟูคนพิการในชุมชนของตนเอง เช่น ประสานนักกายภาพบำบัดจากศูนย์การศึกษาพิเศษมาทำกายภาพให้กับเด็กพิการในชุมชน ประสานนักพัฒนาชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ประจำจังหวัดมาช่วยแนะนำ ฝึกอบรมด้านการฝึกอาชีพให้แก่คนพิการ จัดสรรงบประมาณของอบต.มาจัดทำโครงการพัฒนาและฟื้นฟูคนพิการด้วยความเชื่อ    พื้นฐานที่ว่า ทรัพยากรด้านการพัฒนาฟื้นฟูมีอยู่แล้วในระดับต่างๆตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด แต่ชุมชนเราจะประสานหรือบริหารทรัพยากรที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร

ความคาดหวังของชุมชนและคนพิการ

           คณะผู้จัดซึ่งประกอบด้วยคณะทำงานในระดับชาติและระดับนานาชาติหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีในการทบทวน แลกเปลี่ยน เรียนรู้และพัฒนางานด้านการพัฒนาคนพิการโดยชุมชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมใจระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องในทุกๆระดับตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับชาติ ระดับนานาชาติ นอกจากนั้นงานด้านการพัฒนาคนพิการโดยชุมชนจะได้รับการยกระดับให้เป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการและครอบครัวในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
          
สำหรับประเทศไทยเราก็น่าภูมิใจว่า บ้านเราเองก็มีหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ต่างๆได้ริเริ่มและสร้างผลงานด้านการพัฒนาคนพิการโดยชุมชนให้เป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างผลงานที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) โดยชุมชนและคนพิการครอบครัวมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการบริหารจัดการโครงการได้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักถึงผลสำเร็จดังกล่าว
          
ความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาคนพิการโดยชุมชนตามแนวคิดที่กล่าวถึงนี้ ถือแป็นทั้งนวัตกรรมและภูมิปัญญาของสังคมในประเทศกำลังพัฒนาที่จะนำเอาศักยภาพ ทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้วในชุมชนมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคม ผู้พิการให้ร่วมอยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างอบอุ่น มีความสุขและมีศักดิ์ศรี  รวมถึงการที่คนพิการได้เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในสังคมเฉกเช่นบุคคลทั่วไป
            
คณะทำงานเพื่อจัดการประชุมระดับเอเชียและแปซิฟิกเรื่อง การพัฒนาคนพิการโดยชุมชน 255 อาคาร APCD ถนนราชวิถี ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-3547505 โทรสาร 02-3547507

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2010521925

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-20 19:25:25 IP : 124.121.141.189


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3068242)

ใครทำงานด้านคนพิการ...ควรรู้..... 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2610522037

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-26 20:37:34 IP : 124.121.144.150



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.