ReadyPlanet.com


สังคมวิกฤตวัตถุนิยมครอบงำ


สังคมวิกฤตวัตถุนิยมครอบงำ

กว่า 60% ครอบครัวแตกแยก

 

หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า

...........ปัจจุบันเยาวชนอยู่ในสังคมที่เน้นเชิงทุนนิยมและวัตถุนิยมมากขึ้น ทำให้สุขภาพจิตแย่ลง ขณะเดียวกัน สังคมรากฐาน คือ ครอบครัว ซึ่งเป็นสังคมหน่วยเล็กที่สุดก็พบว่ามีปัญหามากขึ้น เพราะพ่อแม่เหนื่อยกับการเลี้ยงลูก เครียดกับการเรียนของลูกและการสอบแข่งขันต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้พ่อแม่มือใหม่ไม่อยากมีลูก ส่งผลให้ปัจจุบันขนาดของครอบครัวเล็กลง แต่มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เพราะขณะนี้ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึง 7.4 ล้านคน

คาดว่าในปี 2568 ไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 14,400,000 คน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาด้านสังคมที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน
       
       
นพ.สุริยเดว กล่าวว่า จากการสำรวจล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อความสุขของครอบครัวไทยพบว่า 62.42% ครอบครัวไทยต้องเผชิญกับปัญหาทั้งการขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เกิดความแตกแยกในครอบครัว ครอบครัวไม่อบอุ่น มีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่ยึดติดกับค่านิยมทางวัตถุมากกว่าการพัฒนาคุณภาพของคนในครอบครัว โดยอัตราการจดทะเบียนหย่าได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าข้อมูลอัตราการตายของวัยรุ่นในประเทศไทยมาจากสาเหตุ 3 อันดับ คือ

1.อุบัติเหตุ มีอัตราการตาย 12 คนต่อวัน หรือ 4,000 คนต่อปี

2.โรคเอดส์ มีการเสียชีวิต 80,000 คนต่อปี และ

3.การฆ่าตัวตาย 600 คนต่อปี หรือ 2 คนต่อวัน
       
       
จากปัญหาดังกล่าวคงต้องรีบแก้ไขโดยใช้องค์ประกอบ 3 เรื่อง หลักๆ คือ

1.ควรมีการประชุมครม.ด้านสังคม เหมือนกับที่มีการประชุม ครม.เศรษฐกิจ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาด้านสังคมสำคัญน้อยกว่าด้านเศรษฐกิจ

2.ต้องมีดัชนีตัวชี้วัดทางสังคม โดยใช้แนวทางขจัดร้าย ขยายดี และสร้างภูมิคุ้มกัน และ

3.ต้องมีสถาบันวิชาการที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ที่จะช่วยกระตุ้นและประเมินดัชนีทางด้านสังคม ซึ่งสถาบันดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายกับทีดีอาร์ไอ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)ที่เป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยนพ.สุริยเดว กล่าว

 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

0703531751

*********************

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-07 17:52:00 IP : 124.122.26.101


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3166581)

พันเมืองพันชีวิต"หยุด"วิกฤติโลก อีก10ปีสารพันปัญหา-นานาภัยคุกคามคนเมือง (สกู๊ปแนวหน้า)

 

จากการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเผชิญกับ ความแออัด ความปลอดภัย ของอาหาร-น้ำบริโภค และสภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสม รวมถึง "วิถีชีวิตของผู้คนเมือง"ต้องใช้ชีวิตแข่งขันกับเวลา และภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ เผชิญกับมลภาวะอยู่ทุกวี่วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนเหล่านี้โดยตรง เป็นปัญหาสุขภาพแอบแฝงอยู่ในร่างกายคนเมืองโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

โดยคนเมืองทั่วโลกกำลังประสบปัจจัย "เสี่ยงนานาภัย" โดยเฉพาะในสภาพที่คุกคามของคนเมืองที่ยากจน ซึ่งมีแนวโน้มจะได้รับความทุกข์สูงขึ้น "วันอนามัยโลก 2010" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่7 เมษายนนี้ องค์การอนามัยโลก มีการประชุมนานาชาติ เกิดความสนใจในการเป็นเมือง และสุขภาพ อันเป็นการเริ่มขับเคลื่อน "รณรงค์ 1000 เมือง 1000 ชีวิต" ให้ประเทศสมาชิก มีส่วนให้ความพยายามที่จะดำเนินการให้เรื่องสุขภาพเป็นหัวใจของนโยบายเมืองที่มีผลอย่างยั่งยืน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว กลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลก ปัจจุบันพบว่า ประชากรทั่วโลก อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีมากกว่าร้อยละ50 หรือประมาณ 3,300 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ67 หรือประมาณ 5,000 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573

สำหรับประเทศไทย พบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีประมาณร้อยละ36 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 22 ล้านคน และคาดว่าในปีพ.ศ. 2563 ข้างหน้าประชากรในเขตเมืองจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นร้อยละ38 หรือประมาณ 25 ล้านคน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย และแหล่งประกอบอาชีพของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองซึ่งมีมากถึงร้อยละ 31.13

ซึ่งความเป็นเมืองยังทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมัยใหม่ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อที่เป็นโรคเรื้อรัง เพราะการดำเนินชีวิตในสังคมเมืองทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ขาดการออกกำลังกาย บริโภคอาหาร ที่ไม่มีประโยชน์ก่อให้เกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไมเกรน และโรคเครียด เป็นต้น

นอกจากนี้รายงานของหน่วยงานด้านที่อยู่อาศัยขององค์การสหประชาชาติ ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (Joint. UNABITAT-WHO REPORT) ยังได้มีการนำเสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เชื่อมโยงความเป็นเมืองกับสุขภาพ ทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค ว่า ยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้ออำนวย และปราศจากการวางแผนจัดการเมืองคนจนในเมืองจะได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจากจากโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรัง และโรคติดต่อหลายชนิด เช่น วัณโรค และโรคเอดส์ เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางสุขภาพ

รวมไปถึงความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาความรุนแรงในสถานการณ์แวดล้อมแบบเมืองแนวโน้มนี้มีความชัดเจน ว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองสามารถกำหนดผลต่อสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำกับการสุขาภิบาล คุณภาพอากาศ คุณภาพชีวิตและการทำงาน การเข้าถึงบริการ และทรัพยากรอื่นๆ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ การเลือกซื้อ เลือกบริโภคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาดังกล่าวและถือเป็นความท้าทายทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับการเป็นเมือง ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนการวางแผนด้านนโยบาย จึงได้กำหนดให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชนเขตเมือง เป็นนโยบายด้านสาธารณสุขเพื่อเร่งดำเนินมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับการขยายตัวของเขตเมือง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในปี 2553 นี้ องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ความเป็นเมืองกับสุขภาพ เพื่อการรณรงค์สร้างความตระหนักให้กับเมืองต่างๆทั่วโลก มีการจัดการเมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ส่งเสริมให้ทั้งเมือง และบุคคลที่มีบทบาทโดดเด่นด้านการขับเคลื่อนการจัดการเมือง เป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อการเรียนรู้สำหรับบุคคล และเมืองต่างๆทั่วโลก "ความเป็นเมืองกับสุขภาพ" จึงถูกคัดเลือกให้เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับวันอนามัยโลก ประจำปี 2553 ภายใต้หัวข้อ "ความเป็นเมือง : ความท้าทายของการสาธารณสุข" เป็นการเริ่มต้นประกาศถึงความจำเป็นในการนำเรื่องการจัดการเมืองเข้าสู่นโยบายสาธารณะ

ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพประชาชนเขตเมืองเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพผลกระทบจากความเป็นเมือง ซึ่งจะใช้กิจกรรม "1,000 เมือง 1,000 ชีวิต" เป็นเครื่องมือรณรงค์ และสนับสนุนให้เมือง บุคคล และภาคีเครือข่ายทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลอย่างต่อเนื่องในเรื่องสุขภาพ มีเป้าหมายระดับโลกเพื่อการพัฒนาเมืองต่างๆ ทั่วโลกสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ภายใต้ 4 เรื่องหลักสำคัญ คือ 1) ความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพในเขตเมือง 2) ส่งเสริมสุขภาพชีวิตคนเมือง 3) พัฒนาภูมิทัศน์ในเขตเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียว และ 4) ยกระดับสภาพแวดล้อมชุมชนแออัด

ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากความเป็นเมืองเติบโตอย่างขาดทิศทางที่เหมาะสม ทำให้คนเมืองต้องเผชิญกับภัยคุกคาม ซึ่งเป็นความเสี่ยงทางสุขภาพ คือ 1. การสัมผัสปัจจัยทางสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้น เช่น มลพิษทางอากาศ น้ำ สุขาภิบาลของเสีย 2.การสัมผัสปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น เช่น การใช้ยาสูบ อาหารทำลายสุขภาพ การไม่ออกกำลังกาย การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอันตราย การใช้ยาผิดกฎหมาย 3.การสัมผัสโรคติดต่อเพิ่มขึ้น เช่น เอดส์ วัณโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

4.ความเสี่ยงต่อปัญหาความรุนแรงทางสังคม การก่อเหตุอาชญากรรมการประทุษร้ายทางเพศ การกระทำทารุณกับเด็กและยาเสพติดต่างๆ 5.การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนเพิ่มขึ้น และ 6.ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เช่น การเกิดโรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรม ปัญหาเหล่านี้จะกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมทางกายภาพทางสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มอ่อนไหว ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการและคนยากจน ทั้งนี้ธนาคารโลกได้ประมาณการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ. 2578 หรืออีก 25 ปีข้างหน้าประชากร 1 ใน 3 ของเขตเมืองหรือประมาณ 2,000 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดจะมีภาวะของความยากจนเพิ่มขึ้น

ดร.นพ.สมยศ กล่าวอีกว่า กรมอนามัย และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เห็นชอบร่วมกันที่จะใช้โอกาสของการรณรงค์ เนื่องในวันอนามัยโลกปี 2553 เป็นการกระตุ้นกระแสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเขตเมืองในระดับประเทศ โดยใช้กิจกรรม "1,000 เมือง 1,000 ชีวิต พิทักษ์คุณภาพชีวิตคนเมือง" มาเป็นตัวกระตุ้นเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเทศบาลต่างๆ ทั่วประเทศ และสรรหาเมืองดีเด่นเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ปัจจุบันมีเทศบาลสมัครเข้ามาแล้วกว่า 51 แห่ง

โดยความเป็นเมืองดีเด่นต้องครอบคลุมใน 6 มิติ ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านวัฒนธรรม

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-31 10:29:15 IP : 124.121.135.217


ความคิดเห็นที่ 2 (3166582)

โดยความเป็นเมืองดีเด่นต้องครอบคลุมใน 6 มิติ ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านวัฒนธรรม 3) ด้านการศึกษา 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 5) ด้านสาธารณสุข และ 6) ด้านสังคม ซึ่งเมืองดีเด่นที่ได้รับคัดเลือกจะเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเสนอผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานานาประเทศ ในเวทีเวิลด์เอ็กซ์โป (World Expo,Shanghai) ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2553 พร้อมทั้งนำเสนอผลงานความสำเร็จในที่ประชุมระดับโลก (Global Forum) ซึ่งจะจัดที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ส่วนเมืองที่ไม่ได้เป็นตัวแทนจะได้รับการสรรหาและได้รับการเผยแพร่ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเมืองต่างๆ ภายในประเทศต่อไป 1,000 เมือง ถือ เป็นการสนับสนุนให้เทศบาลทุกแห่งทั่วประเทศที่มีการดำเนินงานเมืองน่าอยู่มาอย่างต่อเนื่องได้มีเวทีแสดงผลงานความสำเร็จในด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และสุขภาพที่ดีของประชาชน ส่วนการรณรงค์ 1,000 ชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พลเมืองเสนอตัวอย่างของผู้พิทักษ์สุขภาพชุมชนเมืองที่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพคนเมือง

นั้นเป็นความร่วมมือของนานาชาติที่ให้ความสำคัญต่อภัยคุมคาม ทั้ง ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาสุขภาพของประชากรโลก ในการวางแผนรับมือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้...

SCOOP@NAEWNA.COM

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

3103531031

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-31 10:31:13 IP : 124.121.135.217



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.