ReadyPlanet.com


น้ำเน่า...เสีย


วิกฤติ...เมืองท่องเที่ยวไทย ...เพิ่มน้ำเน่าเสีย (สกู๊ปแนวหน้า)

 

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัดในยุคปัจจุบัน รวมทั้งความเจริญเติบโตหนาแน่นของประชากร และขยายตัวของชุมชน ที่ไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดการใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น อันนำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญ คือ...

"น้ำเสีย"...***!

จากการสำรวจคนในเมือง 1 คน ทำน้ำเสียในปริมาณ 300-500 ลิตร/วัน คนในชนบททำน้ำเสียในปริมาณ 180-200 ลิตร/วัน ถ้าเทียบกับคนทั่วประเทศไทย 60 ล้านคน คิดค่าเฉลี่ยในการทำน้ำเสียในปริมาณ 250 ลิตร/วัน ทั้งประเทศไทยจะมีปริมาณน้ำเสียถึง 15,000 ล้านลิตร/วัน

โดยเฉพาะเมืองอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำเสียอย่างรวดเร็ว จากกิจกรรมต่างๆ ในการระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ-ลำคลอง ยกตัวอย่างเช่น...จังหวัดกระบี่ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดน้ำเสียขยายเพิ่มปริมาณมากขึ้น สถานประกอบการบางแห่งได้ปล่อยน้ำเสียลงในทะเล ส่งผลเสียต่อทัศนียภาพของเกาะพีพี และตัวระบบบำบัดเองก็ส่งกลิ่นเหม็น สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณนั้น

แต่ความสำคัญการรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการจัดการน้ำเสียอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อประชาชน

นายกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วน นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกระบี่ กล่าวว่า จังหวัดกระบี่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ และมีชื่อเสียงโดยเฉพาะอ่าวนาง(เกาะพีพี) เป็นชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียมาตลอด จนต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียออกแบบรองรับน้ำเสียวันละ 400 ลบ.ม. และบ้านเรือนต้องมีการติดตั้งบ่อดักไขมัน แต่ด้วยความที่มีนักท่องเที่ยว ทั้ง ชาวไทย และต่างประเทศ เดินทาง เข้า-ออก อย่างต่อเนื่อง จนบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับกับจำนวนน้ำเสียที่เข้ามาได้ เนื่องจากการติดตามตรวจสอบพบว่ายังไม่มีการติดตั้งบ่อดักไขมันในชุมชนเพื่อบำบัดน้ำเสียเบื้องต้น

 



ในปี 2550 มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และหลังผ่านการบำบัดของโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ อบต.อ่าวนาง พบว่า ค่าความสกปรกของน้ำที่ผ่านการบำบัด จำนวน 4 ครั้ง ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากช่วงเก็บตัวอย่างมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวบนเกาะพีพีเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณน้ำเข้ามีค่าความสกปรกสูง และถ้าดูจากปริมาณน้ำเข้าระบบมีปริมาณสูงกว่าค่าออกแบบ ซึ่งเข้าสู่สภาวะ over load วิเคราะห์ได้จากลักษณะน้ำผ่านการบำบัด มีกลิ่นเหม็นและค่อนข้างจะขุ่น เนื่องจากมีไขมันปะปน

ทางเทศบาลจึงร่วมกับองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ในการนำน้ำเสียไปบำบัดที่บ่อบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพก่อนที่จะถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ โดยที่น้ำเสียของจังหวัดกระบี่ มีแหล่งกำเนิดที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คือบ้านเรือน ประมาณ 75% ส่วนที่ 2 คือ โรงแรม ร้านอาหาร สถานประกอบการต่างๆ ประมาณ 25% การดูแลนั้นก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วน เช่นกัน ส่วนของ อจน. จะดูแลเรื่องของบ่อบำบัดและระบบบำบัดน้ำเสียต่างๆ

ส่วนทางเทศบาลกระบี่ ดูแลเรื่องของปัญหาน้ำเสียจากร้านอาหารต่างๆ ที่ปล่อยทิ้งลงท่อบำบัด ไม่ให้เกิดการอุดตันของไขมัน จนทำให้น้ำในท่อเอ่อล้นขึ้นมานอกท่อลงลู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาตลอด จึงได้ออกเป็นเทศบัญญัติกำหนดให้ทุกครัวเรือน ตึกใหม่ ที่ก่อสร้างจะต้องมีการติดตั้งบ่อดักไขมัน ถ้าไม่มีบ่อบำดักไขมัน จะไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้าง ส่วนบ้านเรือนเก่าทางเทศบาลเมืองกระบี่ เข้าไปแนะนำให้ข้อมูล เพื่อกระตุ้นให้มีการติดตั้งบ่อดักไขมัน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้าใจในบทบาทความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในพื้นที่ยอมรับ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย

ด้าน นายทนง ตันติธีรวิทย์ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องน้ำเสียเป็นปัญหาที่สะสมมายาวนาน ถึงแม้จะมีระบบจัดการน้ำเสียอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ ดังนั้นเพื่อทำให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุด ทางองค์การจัดการน้ำเสีย จึงได้นำระบบตรวจสอบตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ (Online Monioring) มาใช้ โดยเป็นระบบตรวจวัดอัตโนมัติจะช่วยในการตรวจวัดค่า พารามิเตอร์ โดยจะวัดค่าน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งสาธารณะ ซึ่งระบบจะตรวจวัดและการรายงานผลข้อมูลเป็นระบบเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่าง โรงบำบัดน้ำเสียที่ตั้งอยู่ภูมิภาคต่างๆ กับองค์การจัดการน้ำเสียที่กรุงเทพมหานคร สามารถวัดคุณภาพน้ำได้ทันที

โดยมีการนำเอาระบบตรวจสอบตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ (Online Monioring) เริ่มใช้งานแล้ว 9 พื้นที่ คือ เทศบาลเมืองสกลนคร เทศบาลเมืองศรีราชา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใต้ (เกาะพงัน) เทศบาลเมืองกระบี่ เทศบาลเมืองพะเยา เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เทศบาลตำบลบ้านแพ เทศบาลเมืองสงขลา รวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลเมืองกระบี่ ที่องค์การจัดการน้ำเสีย เข้าดำเนินการบริหารจัดการ และบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระยะเวลา 4 ปี จนระบบบำบัดน้ำเสียสามารถเดินระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้สิ่งแวดล้อมโดยรวมของท้องถิ่นดีขึ้น

ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ มีภารกิจหลักในการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมเพื่อการฟื้นฟู และการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน จึงได้เข้าบริหารจัดการ และบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 24 แห่ง ในปีงบประมาณ 2553 อจน.จะดำเนินการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำเพิ่มอีก 24 แห่ง โดยจะประสานงานกับชุมชน หากชุมชนที่มีความพร้อมก็สามารถติดตั้งกับระบบตรวจสอบน้ำเสียอัตโนมัติกับ ระบบบำบัดน้ำเสียของชุมชนได้เลย

การดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องสอดคล้องตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ แต่ที่ผ่านมาอำนาจการจัดการน้ำเสีย ยังกระจัดกระจายอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ส่งผลให้การดำเนินงานซ้ำซ้อนไม่เป็นเอกภาพ และขาดประสิทธิภาพ

SCOOP@NAEWNA.COM

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

0611520858

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-06 08:58:12 IP : 124.121.138.16


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3129228)

เรื่องนี้งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

ผู้แสดงความคิดเห็น yunus (yunus_yusoh-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-17 10:12:59 IP : 118.173.204.250


ความคิดเห็นที่ 2 (3132072)

เนื้อหาดีคะ

ทามออกมาอีกนะคร๊ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แพนด้าคนน่าร๊ากกกก วันที่ตอบ 2009-11-25 20:01:37 IP : 125.26.128.19


ความคิดเห็นที่ 3 (3199606)

ทำได้ดีแล้วค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กนกพร วันที่ตอบ 2010-07-31 09:39:38 IP : 180.210.216.74


ความคิดเห็นที่ 4 (3199608)

เเย่มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น ภัทราภรณ์ วันที่ตอบ 2010-07-31 09:45:29 IP : 180.210.216.74


ความคิดเห็นที่ 5 (3269923)

งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงมากๆเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น 5 วันที่ตอบ 2011-11-30 14:53:47 IP : 61.90.30.130



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.