ReadyPlanet.com


โรคมะเร็ง - โรคดาวน์ซินโดรม


ดาวน์ซินโดรมกับมะเร็ง  

      

เป็นที่ทราบกันดีในวงนักวิชาการว่า ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซิน โดรม หรือปัญญาอ่อน มักไม่ค่อยป่วยเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สหรัฐค่อนข้างทราบแน่ชัดแล้วว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ดร.ซานดร้า ไรออม และคณะจากมหาวิทยาลัย ฮาร์วารŒ สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้เป็นโรคดาวน์ซินโดรมมีโครโมโซม 21 จำนวน 3 โครโมโซม ขณะที่คนปกติมี 2 โครโมโซม

การที่มีโครโมโซม 21 มากกว่าคนปกติ 1 โครโมโซม ทำให้ผู้เป็นดาวน์ซินโดรมมียีนเพิ่มอีก 231 ยีน โครโมโซมที่เกินมายังมีจำนวนโปรตีน DSCR1 เพิ่มขึ้น ซึ่งโปรตีน DSCR1 ช่วยต้าน "แคนซินูริน" ไม่ให้เนื้องอกหรือมะเร็งเลี้ยงตัวเอง และการค้นพบนี้อาจทำให้แพทย์หา วิธีการรักษาโรคมะเร็งได้

โรคดาวน์ซินโดรมเป็นโรคพันธุกรรมที่พบกันมาก ทำให้ปัญญาอ่อน โดยทารก 1 ใน 700 คน มีโอกาสเป็นโรคนี้

ดร.จูดาห์ โฟล์กแมน อดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วารŒดและเพิ่งเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว เป็นหนึ่งในผู้ที่ค้นคว้าโรคดาวน์ซินโดรมชั้นแนวหน้า ทฤษฎีของท่านคือ "เซลล์เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็งกระตุ้นให้หลอดเลือดเจริญเติบโต เพื่อมันจะได้กินอาหาร กระบวนการนี้เรียกว่าแอนจิโอจีนีซิส"

ดร.โฟล์กแมน ยังพบว่า ผู้เป็นโรคดาวน์ซินโดรมมักไม่ค่อยเป็นมะเร็ง ยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย จากการศึกษาผู้ป่วย 18,000 ราย มีประมาณ 10% ที่เป็นมะเร็ง

การศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า ผู้เป็นดาวน์ซินโดรม มีโอกาสน้อยมากที่จะป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแอนจิโอจีนีซิส เช่น โรคเบาหวานในจอประสาทตา โรคหลอดเลือดแข็ง ซึ่งวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในอนาคตอาจต้องหาวิธีต้านกระบวนการแอนจิโอจีนีซิสนั่นเอง

- - - - - - - - - - - - - - - - - -            

พันตรีศิริชัย    ทรัพย์ศิริ                             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331                   

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1906520927       

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-19 09:27:15 IP : 124.121.135.26


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3036988)

การศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า ผู้เป็นดาวน์ซินโดรม มีโอกาสน้อยมากที่จะป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแอนจิโอจีนีซิส เช่น โรคเบาหวานในจอประสาทตา โรคหลอดเลือดแข็ง ซึ่งวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในอนาคตอาจต้องหาวิธีต้านกระบวนการแอนจิโอจีนีซิสนั่นเอง

- - - - - - - - - - - - - - - - - -            

พันตรีศิริชัย    ทรัพย์ศิริ                             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331                   

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0408521517       

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-08-04 15:17:48 IP : 124.121.141.50


ความคิดเห็นที่ 2 (3167778)

เตือนสาวทำงานอันตรายสารเคมี เสี่ยงเพิ่มมะเร็งเต้านม

หลังวัยทอง

 

เอเจนซี นักวิจัยแคนาดาระบุการสัมผัสสารเคมีและมลพิษบางชนิดก่อนอายุ 30 กลางๆ ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหลังวัยทอง
       
       
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารออกคิวเพชันนัล แอนด์ เอนไวรอนเมนทัล เมดิซินของอังกฤษ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยด้านชีวอนามัยในมอนทรีอัล แคนาดา พบว่าผู้หญิงที่สัมผัสเส้นใยสังเคราะห์ เช่น อะครีลิก และไนลอน ตลอดจนถึงผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน เช่น ไฮโดรคาร์บอนกลุ่มอะโรมาติกที่เป็นโพลีไซ*** ระหว่างการทำงานมีความเสี่ยงมากที่สุด
       
       
กระนั้น ผู้เชี่ยวชาญบางคน อาทิ เดวิด ค็อกกอน ศาสตราจารย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน อังกฤษ วิจารณ์ว่าความเกี่ยวโยงที่พบจากการศึกษานี้อาจเป็นเรื่องของความบังเอิญ อีกทั้งไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เข้มแข็งจากงานวิจัยอื่นๆ
       
       
นักวิจัยแคนาดายอมรับว่า การค้นพบอาจเกิดจากความบังเอิญก็จริง แต่ก็สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าเนื้อเยื่อเต้านมมีความไวต่อสารเคมีอันตรายหากได้รับขณะที่เซลล์เต้านมยังทำงานอยู่ ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาก่อนที่ผู้หญิงจะอายุ 40 ปี
       
       
นักวิจัยกลุ่มนี้ศึกษาจากผู้หญิงกว่า 1,100 คน โดยที่ 556 คนในจำนวนนี้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในปี 1996-1997 เมื่อตอนมีอายุระหว่าง 50-75 ปี และผ่านวัยหมดประจำเดือนมาแล้ว
       
       
ทีมนักเคมีและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมได้ตรวจสอบระดับการสัมผัสสารชนิดต่างๆ 300 ชนิดระหว่างการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งหลังจากพิจารณาปัจจัยปกติที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่เพิ่มขึ้นแล้ว การวิเคราะห์ได้บ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างการสัมผัสสารเคมีเหล่านี้กับความเสี่ยงดังกล่าว
       
       
นักวิจัยสรุปว่า จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมโดยเน้นที่สารเคมีเฉพาะเพื่อค้นหาว่าการได้รับสารเคมีมีบทบาทต่อการเกิดมะเร็งเต้านมอย่างไร

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

0404532235

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-04-04 22:35:49 IP : 124.121.135.17



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.