ReadyPlanet.com


พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข


พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือ


แม้โดยหลักการและเหตุผลของร่างพ.ร.บ.นี้เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุขโดยหวังว่าการได้รับเงินชดเชยอย่างเหมาะสมแล้วจะลดการฟ้องร้องได้ แต่โดยเนื้อหาและวิธีการแล้วไม่ได้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว เนื่องจากการจะได้รับการเยียวยาขั้นต้นนั้น ภายใน 30 วันจะต้องพิจารณาแล้วเสร็จ แม้หลักการว่าความเสียหายนั้นจะต้องไม่เป็นไปตามการดำเนินโรคปกติ หรือการได้รับบริการตามมาตรฐานวิชาชีพ แต่การพิจารณาเพียงเวลาสั้นๆนั้นย่อมไม่สามารถทำได้จึงเป็นเพียงพิจารณาว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ผู้ที่เสียหายร้อยละ 90 ที่ได้รับการบริการตามมาตรฐานแล้วและไม่ควรได้รับการเยียวยาจะได้รับทุกราย ต่อมาจึงพิจารณาว่าสมควรได้รับการชดเชยหรือไม่จำนวนเท่าไรโดยยึดหลักการคำนวณค่าชดเชยตามหลักของการได้รับการชดเชยทางคดีแพ่ง ซึ่งจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน การจะพิจารณาถึงมาตรฐานจำเป็นต้องได้ความเห็นของแพทยสภาโดยวิทยาลัยหรือราชวิทยาลัยของแต่ละสาขาวิชา แต่ระยะเวลาเพียงเท่านี้ไม่สามารถทำได้ ซึ่งจะอยู่ในดุลยพินิจของอนุกรรมการที่พิจารณา โดยองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการที่พิจารณานี้มีแพทย์เป็นเพียงส่วนน้อยและมักไม่ใช่ผู้เชียวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาจ่ายง่ายๆแล้ว ผู้รับบริการที่ได้รับชดเชยนั้น เมื่อได้เงินแล้วย่อมคิดว่าต้องมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เมื่อกฎหมายนี้ไม่ได้จำกัดสิทธิการฟ้องศาล ผู้ได้รับชดเชยนั้นมีโอกาสสูงที่จะมีการฟ้องร้องต่อไป กฎหมายนี้จึงไม่ได้เป็นการลดการฟ้องร้อง แต่เป็นการกระตุ้นให้มีการฟ้องร้องมากขึ้น สังเกตว่านับตั้งแต่มีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คดีฟ้องร้องจะปรากฏมากขึ้น อาจสรุปข้อดีข้อเสียของพ.ร.บ.นี้ได้ดังนี้

ข้อดี ผู้ได้รับความเสียหายได้รับการเยียวยาที่เร็วทันใจ หวังว่าจะลดความขัดแย้งได้ มีเงินเป็นจำนวนมากที่บังคับให้โรงพยาบาล ไม่ว่าของรัฐบาลหรือเอกชนต้องจ่าย เฉพาะของกระทรวงสาธารณสุขเองปีละร่วม 2,000 ล้านบาทต่อปี

ข้อเสีย เมื่อได้รับเงินแล้วอาจกระตุ้นให้ฟ้องคดี เพราะเห็นว่ามีข้อผิดพลาดจึงได้รับเงิน ไม่สามารถลดความขัดแย้งได้ เพราะทุกรายเมื่อมีเรื่องร้องเรียนเกิดขึ้นแพทย์ต้องเขียนคำชี้แจงเป็นอย่างน้อย สร้างความเครียดให้แก่แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน เงินที่สมทบเป็นภาระต่องบประมาณ ที่โรงพยาบาลควรจะได้นำมาปรับปรุงการบริการ ในส่วนการเข้าถึงบริการของประชาชนจะขัดขวางการเข้าถึงบริการเพราะกรณีที่แพทย์ไม่มีความมั่นใจจะไม่กล้าเสี่ยงที่จะให้การรักษากรณีไม่เร่งด่วน ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อมาโรงพยาบาลส่วนกลางมากขึ้นคิวการรักษาจะนานมากขึ้น

ดังนั้นข้อท้วงติงของแพทย์ผู้ปฏิบัติงานนั้นด้วยเกรงว่า ประชาชนจะเกิดความเดือดร้อนจากการไม่ได้รับความสะดวกในการบริการ ที่ต้องมีขั้นตอนที่ครบถ้วนในส่วนการตรวจวินิจฉัยซึ่งอาจไม่จำเป็น แต่หากไม่ส่งตรวจเมื่อเกิดผลเสียขึ้นก็ถูกร้องเรียนตามพ.ร.บ.นี้ได้ การผ่าตัดพื้นฐานที่ศัลยแพทย์ที่ไม่เชี่ยวชาญเฉพาะอาจแบ่งเบาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ เช่นการผ่าตัดสมองกรณีเร่งด่วนที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งศัลยแพทย์ทั่วไปสามารถผ่าตัดได้ อาจไม่กล้าผ่าตัดเพราะไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางผ่าตัดสมอง โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคต่อมลูกหมากโต ศัลยแพทย์ทั่วไปสามารถผ่าตัดได้อาจไม่กล้าผ่าตัดอีกต่อไปเพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางเดินปัสสาวะเป็นต้น และข้อท้วงติงนั้นไม่ได้มีที่มาว่าจะปกป้องตนเอง ตรงกันข้ามเพราะเป็นห่วงผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนส่วนรวมมากกว่า ในส่วนของแพทย์ผู้ปฏิบัติเองผลประโยชน์ที่เสียไปคือโอกาสในการที่จะได้รักษาผู้ป่วยได้มากๆทั้งๆที่ในโรงพยาบาลของรัฐนั้นทำมากทำน้อย ค่าตอบแทนไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด การถูกฟ้องก็มีกฎหมายการรับผิดทางละเมิดคุ้มครองอยู่ เว้นแต่คดีอาญาเท่านั้น ข้อท้วงติงนี้จึงเป็นจิตบริสุทธิ์ที่ไม่มีผลประโยชน์ใดๆแอบแฝง เหมือนอย่างที่ผู้ผลักดันร่างดังกล่าวหวังผลประโยชน์ทั้งด้านการเงินและอำนาจทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงความพินาศของการบริการสาธารณสุขไทย

ด้วยความปรารถนาดีจาก
นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา

 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -                  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

1408532124

*********************

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com ) :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-14 21:24:07 IP : 124.122.28.228


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.