ReadyPlanet.com


ชะตากรรมของ โลก เรื่อง ภาวะโลกร้อน


ชะตากรรม "โลก" ผลกรรม เราในวันที่ร้อนจนเกินเยียวยา

หากอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกสูงขึ้นจนผิดวิสัย มหันตภัยหลากหลายรูปแบบจะถาโถมเข้ามาสู่ดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้ และสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ได้อย่างปกติสุข อาจต้องเผชิญกับความทุกข์ยากจนสุดจะทนทานไหว บางเผ่าพันธุ์อาจถูกกวาดล้างจนสิ้นซากไปพร้อมกับสิ้นศตวรรษนี้
       

       
นี่ไม่ใช่แค่ฉากหนึ่งในภาพยนตร์เกี่ยวกับมหันตภัยล้างโลกที่ทำรายได้มหาศาล แต่เป็นหนึ่งในหลายฉากที่มนุษย์อย่างพวกเราอาจได้เผชิญด้วยตัวเอง ดั่งที่ปรากฏในรายงานฉบับที่ 4 (Fourth Assessment Report) ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี  ที่เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2007
       
       
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในรายงานฉบับดังกล่าว เผยให้เห็นถึงมหันตภัยรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ภายในศตวรรษนี้ หากอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นอีกราว 1.8-4 องศาเซลเซียส
       
       
เอเชียเผชิญอุทกภัยทั่ว พืชพันธุ์ถูกทำลาย โรคร้ายระบาด
       
       
ประชากรในทวีปเอเชียราว 120-1,200 ล้านคน จะต้องเผชิญกับอุทกภัยที่เพิ่มมากขึ้นภายในปี 2020 และอีกราว 185-981 ล้านคน ที่ต้องประสบชะตากรรมแบบเดียวกันภายในปี 2050 พร้อมกับผลผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารในบางพื้นที่ของเอเชียใต้จะถูกทำลายลงไป 30% จากปัจจุบัน
       
       
แม้ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นไม่มาก แต่ก็หนุนให้แม่น้ำสายสำคัญหลายแห่งเอ่อล้นทะลักตลิ่ง และสร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำสายสำคัญๆ ที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เช่น แม่น้ำแยงซีในจีน แม่น้ำแดงในเวียดนาม และแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร ในบังกลาเทศ
       
       
เมื่ออุทกภัยแผ่ขยายกินบริเวณกว้างมากขึ้น อหิวาตกโรคและมาลาเรียก็ระบาดหนักยิ่งกว่าเดิม
       
       
หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยที่มีขนาดไม่ถึง 4 กิโลเมตร จะละลายหายไปหมด และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่มตามมา แต่ท้ายที่สุดจะจบลงด้วยความแห้งเหือดของแม่น้ำที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยธารน้ำแข็งจากเทือกเขาหิมาลัย ชาวอินเดียจะมีน้ำใช้ต่อหัวลดลงจาก 1,900 ลูกบาศก์เมตร เหลือเพียงแค่ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2025
       
       
แอฟริกาทำลายโลกน้อยสุด แต่โดนหนักสุด นับร้อยล้านชีวิตขาดน้ำ-อาหาร
       
       
แม้แอฟริกาจะเป็นพื้นที่ปลดปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกน้อยที่สุด แต่กลับกลายเป็นทวีปที่ต้องเผชิญชะตากรรมเลวร้ายกว่าใครเพื่อน เพราะจะมีประชากรในทวีปนี้หลายร้อยล้านคนหรือราว 90% ของประชากรทั้งหมด จะต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มอย่างรุนแรงในปี 2080 หรืออาจเร็วกว่านั้น และในตอนนั้นประชากรโลกที่ขาดแคลนอาหารราว 40-50% คือชาวแอฟริกันที่อาศัยอยู่ใกล้กับทะเลทรายซาฮารา เมื่อเทียบกับจำนวนในปัจจุบันนี้ที่คิดเป็น 25% ของผู้ที่ขาดแคลนอาหารจากทั่วโลก
       
       
ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลให้ฤดูเพาะปลูกหดสั้นลง และหลายพื้นที่ทำการเกษตรไม่ได้อีกต่อไป ทำให้ในบางประเทศเพาะปลูกได้ผลผลิตน้อยลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมผืนดินกินพื้นที่กว้าง 6-9 แสนตารางกิโลเมตร
       
       
ประชากรในแอฟริกากว่า 500 ล้านคนจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำดื่มอย่างฉับพลัน
       
       
หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากปี 1990 แม้เพียง 2 องศาเซลเซียส อหิวาตกโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไข้เลือดออก จะระบาดหนักและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เกิดอุทกภัยสร้างความเสียหายแก่ประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และไนเจอร์ อันเป็นผลพวงมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
       
       
ยุโรปหิมะละลาย ความหลากหลายหายมากกว่า 60%
       

       
ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะสามารถยืนหยัดอยู่บนความเสี่ยงต่อภัยแล้งที่รุนแรง ผลผลิตตกต่ำ และมหันตภัยจากคลื่นความร้อนได้มากกว่า ขณะที่ประเทศในยุโรปที่ตั้งอยู่บนละติจูดที่สูงขึ้นไป จะต้องเผชิญกับน้ำท่วมและสภาพอากาศที่เลวร้าย ทว่าจะได้รับความสมดุลจากการที่มีฤดูเพาะปลูกยาวนานขึ้น และมีพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ขยายกว้างมากขึ้น
       
       
อุณหภูมิบริเวณเทือกเขาแอลป์จะพุ่งสูงขึ้นจนสร้างความเสียหายร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมการเล่นสกี ตลอดจนกวาดล้างชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ให้หมดไปจากบริเวณดังกล่าวมากถึง 60% พื้นที่ลุ่มแม่น้ำที่ได้รับผลจากภาวะน้ำท่วมขยายตัวจาก 19% ในปัจจุบัน เป็น 36% ในปี 2070
       
       
อุทกภัยฤดูหนาวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นบริเวณชายฝั่งของยุโรป ขณะที่บริเวณตอนกลางของยุโรปจะประสบกับอุทกภัยและน้ำท่วมฉับพลันอันเนื่องมาจากหิมะละลาย เกิดผลกระทบอย่างเลวร้ายต่อความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรป พืชพรรณในท้องถิ่นเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หรือบางชนิดอาจสูญพันธุ์เมื่อสิ้นศตวรรษนี้
       
       
คลื่นร้อนรุนแรง-พายุถาโถมอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ไร้ธารน้ำแข็งเขตร้อน
       
       
ภาวะโลกร้อนจะเป็นตัวหนุนให้พายุเขตร้อนและคลื่นความร้อนมีพละกำลังรุนแรงมากขึ้นในอเมริกาเหนือ พร้อมกับที่เป็นภัยคุกคามหลายสปีชีส์ในอเมริกาใต้ที่ต้องตกเป็นเหยื่อถูกทำให้สูญพันธุ์ และต้องอดอยากหิวโหยอีกมากมาย
       
       
ดินเยือกแข็งรวมทั้งน้ำแข็งในทะเลแถบแคนาดาและอะแลสกาถูกเร่งให้ละลายเร็วขึ้น แมวน้ำและหมีขั้วโลก ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหลักในบริเวณดังกล่าวจะถูกคุกคามก่อนใครเพื่อน ทั้งยังเป็นการเกื้อหนุนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นให้แพร่กระจายไปในบริเวณนั้นได้มากยิ่งขึ้น และไปเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นมากกว่าเดิม
       
       
ผู้คนกว่าครึ่งในทวีปอเมริกาต้องตกอยู่ในภาวะยากแค้นจากอุทกภัย วาตภัย คลื่นความร้อน โรคระบาด และหมอกควันในย่านชุมชนเมือง การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองริมชายฝั่งจะทำให้เสี่ยงได้รับความเสียหายจากพายุมากยิ่งขึ้น และจะหนักหน่วงยิ่งกว่าเดิมเมื่อได้รับแรงหนุนจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น
       
       
ในอเมริกาใต้มีแนวโน้มสูงมากที่ธารน้ำแข็งเขตร้อนจะละลายหายไปภายในช่วงปี 2020 และมีประชากรราว 7-77 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการขาดแคลนน้ำ และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 60-150 ล้านคน ในปี 2100
       
       
ส่วนในบริเวณอ่างแคริบเบียนจะมีพายุเฮอริเคนเกิดถี่และรุนแรงมากขึ้น ขณะที่หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส จะเกิดการสูญเสียน้ำในดินไปในบริเวณอะเมซอนตะวันออก และป่าฝนเขตร้อนทางตอนกลางและตอนใต้ของเม็กซิโกจะกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา
       
       
โลกร้อนพ่วงท่องเที่ยวทำลายแนวปะการังยักษ์
       
       
ประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะสูญเสียทั้งชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมในท้องถิ่นนั้น อันเป็นผลพวงมาจากการท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะระบบนิเวศบริเวณแนวปะการังยักษ์ (Great Barrier Reef) และอุทยานแห่งชาติคาคาดูในออสเตรเลีย ที่เสี่ยงจะถูกทำลายได้มากที่สุด
       
       
ปัญหาขาดแคลนน้ำที่สั่งสมมานานทางใต้และตะวันออกของออสเตรเลียจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2030 พื้นที่ลุ่มน้ำเมอเรย์-ดาร์ลิ่ง (Murray-Darling Basin) จะลดลงอีก 10-25% ในปี 2050 ผลิตผลจากภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ลดลงอย่างมากทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่ยังมีบางพื้นที่ของนิวซีแลนด์ที่มีแนวโน้มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น
       
       
ส่วนหมู่เกาะต่างๆ ในแปซิฟิกจะได้รับผลกระทบทั้งจากระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรวดเร็ว กำแพงตามธรรมชาติถูกทำลายลง ทั้งป่าชายเลนและแนวปะการัง ท่าเรือบางแห่งของเกาะฟิจิและซามัวถูกน้ำทะเลท่วม ผลผลิตลดลง 18% ในปี 2030
       
       
ขั้วโลกร้อนยาวนาน ลดปริมาตรธารน้ำแข็ง
       
       
สิ้นศตวรรษนี้มีแนวโน้มว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะหายไปราว 23% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาด้วย ส่วนธารน้ำแข็งขนาดใหญ่บริเวณขั้วโลกเหนือ รวมถึงดินแดนแถบขั้วโลกเหนือที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งและกรีนแลนด์ ก็จะสูญเสียความหนาของชั้นน้ำแข็งไป
       
       
ชั้นน้ำแข็งจะบางลงแค่ไหนเป็นสิ่งที่ยากเกินคาดเดาได้ แต่จะมีประชากรที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวราว 4 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน
       
       
ส่วนชั้นดินเยือกแข็งในแถบอาร์กติกจะลดลงไปราว 20-35% ในปี 2050 และฤดูร้อนของขั้วโลกเหนือจะยาวนานขึ้นกว่าปัจจุบันราว 15-25% ซึ่งน้ำแข็งที่ละลายในฤดูร้อนก็จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในบริเวณนั้นด้วย
       
       
น้ำแข็งขั้วโลกใต้จะค่อยๆ ละลายหายไปตั้งแต่บริเวณแหลมแอนตาร์กติก ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นจุดหนึ่งบนโลกที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่ามีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก และคาดการณ์ว่าก้อนน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกจะละลายเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ และละลายจนเกือบหมดในฤดูร้อนของขั้วโลกใต้
       
       
ขณะที่อนาคตของแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกยังไม่มีความแน่นอน เพราะมีหลักฐานที่แสดงถึงแผ่นน้ำแข็งด้านตะวันตกถูกทำลายลง ทว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนระบุว่า แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกนี้จะยังคงอยู่ เพราะยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อราว 12,000 ปีที่แล้ว มากกว่าที่จะละลายหายไปเพราะภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้
       
       
แม้ข้อมูลจากไอพีซีซีตามที่เราหยิบยกมาจะทำให้หลายฝ่ายตระหนักดีว่า โลกในวันข้างหน้าเป็นเช่นไรหากยังไร้การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ผู้แทนรัฐบาลจาก 192 ประเทศทั่วโลกที่กำลังร่วมโต๊ะประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กก็ยังคงมีความขัดแย้งและไม่ลงตัวกับการเจรจาต่อรองจากผู้แทนของรัฐบาลจากหลายๆ ประเทศ
       
       
ถ้าเวทีที่โคเปนเฮเกนปิดลง โดยที่ยังไม่สามารถตกลงแนวทางหลังปี 2012 ได้ ขณะเดียวกันกิจกรรมของมนุษย์ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเพิ่มความร้อนให้โลกได้ วันสิ้นโลกอาจมาถึงเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้.

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)                   

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

1912521256

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-19 12:56:19 IP : 124.122.2.106


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3139012)

ดูกัน ใครเป็นใครบนเวทีเจรจาโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน

แม้สถานการณ์อุณหภูมิและชั้นบรรยากาศโลกได้เริ่มย่ำแย่ให้ประจักษ์ แต่การประชุมเจรจาลดภาวะโลกร้อนเพื่อหาข้อตกลงฉบับใหม่ที่โคเปนเฮเกนก็หาได้ราบรื่น กระทั่งวันเกือบสุดท้ายก็มีแนวโน้มว่ายังไม่ลงตัว ท่ามกลางเอ็นจีโอกลุ่มต่างๆ จากทั่วโลกที่โอบล้อมอยู่ด้านนอก เพื่อหวังให้ผู้แทนชาติต่างๆ เสียสละเพื่อส่วนรวม แต่หลายๆ ประเทศก็ยังลังเล ไม่ยอม และเรียกร้องความช่วยเหลือ ไปดูกันกว่าในการประชุมมีกี่กลุ่ม กี่ก้อน และใครมีเสียงเรียกร้องอย่างไร
       
       
การประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ระหว่างวันที่ 7-18 ธ.ค.52 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อหาข้อตกลงต่อจากพิธีสารเกียวโตที่กำลังจะหมดผลแห่งสัญญาในอีก 3 ปีข้างหน้านั้น มีตัวแทนรัฐบาลจาก 192 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมประชุม แต่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจาต่อรองครั้งนี้ คือ ประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มจี 77 (G77), จีน, ยุโรป และสหรัฐฯ
       
       
กลุ่มจี 77 และจีน
       
       
กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นแกนหลักในการต่อรองกับประเทศร่ำรวย เห็นว่าประเทศร่ำรวยควรแสดงความรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น และควรลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปีให้ได้อย่างน้อย 40% ภายในปี 2563 เทียบกับปี 2533 โดยมีข้อผูกพันทางกฎหมาย
       
       
ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนากลุ่มนี้ก็ปฏิเสธที่จะตั้งเป้าในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศตัวเอง ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศเขาจำเป็นจะต้องเข้าถึงเชื้อเพลิงฟอสซิลในราคาถูก เพื่อดึงประเทศให้หลุดพ้นจากความยากจน แต่ก็มีบางประเทศที่ตกลงจะร่วมลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจภายในปี 2563
       
       
ทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาร่วมกันเรียกร้องให้มีการสนับสนุนด้านการเงินและเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อน และเปลี่ยนแปลงสู่วิถีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมก็เสนอจะให้ความช่วยเหลือในแต่ละปีเป็นเงินจำนวน 1% ของจีดีพี หรือประมาณ 270 พันล้านยูโร (ประมาณ 13 ล้านล้านบาท)
       
       
ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
       
       
ประเทศกำลังพัฒนาที่มีจำนวนประชากรมากและมีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว มักได้รับแรงกดดันจากประเทศร่ำรวยให้ร่วมแสดงความรับผิดชอบในการลดก๊าซเรือนกระจกในศตวรรษนี้ด้วย โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก โดยจีนได้แสดงเจตจำนงว่าจะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยจีดีพีให้ได้ 40-50% ภายในปี 2563 โดยเทียบกับปี 2548
       
       
ส่วนบราซิลให้คำมั่นว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 36-39% ในปี 2563 ด้วยการลดการทำลายพื้นที่ป่าอะเมซอน โดยเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าน่าถูกปลดปล่อยออกมาในปีดังกล่าว ขณะที่อินโดนีเซียบอกว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 26% จากการลดการตัดไม้ทำลายป่า เมื่อเทียบกับปริมาณที่คาดว่าน่าจะถูกปล่อยออกมาในปีเดียวกัน และอาจลดให้ได้ถึง 41% ด้วยความช่วยเหลือจากนานาชาติ
       
       
ด้านเกาหลีใต้ ซึ่งยังจัดอยู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ UNFCCC ก็ได้ให้คำมั่นว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% ในปี 2563 ฟากอินเดียได้ยื่นข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงเช่นเดียวกันกับแอฟริกาใต้ โดยมีการเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยมีข้อผูกมัดคล้ายกับพันธะกรณีในพิธีสารเกียวโต
       
       
ประเทศอุตสาหกรรม
       
       
ประเทศร่ำรวยแบ่งความเห็นออกเป็นหลายฝ่าย ทั้งเสนอเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่กำหนดขึ้นเอง บ้างก็ประสงค์ที่จะยึดตามพิธีสารเกียวโต หรืออาจต้องการกลไกที่มีประสิทธิภาพสำหรับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกแบบมีข้อผูกพันทางกฎหมาย
       
       
สหราชอาณาจักร ชาติที่ร่ำรวยมากที่สุดในโลก และผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งยังอยู่นอกเหนือกรอบข้อตกลงในการประชุมที่เกียวโต กำลังผลักดันการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างสมัครใจ โดยไม่มีพันธกรณีกับพิธีสารเกียวโต
       
       
สหรัฐฯ ระบุว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 17% ในปี 2563, 30% ในปี 2568, 42% ในปี 2573 และให้ได้สูงสุด 83% ในปี 2593 โดยเทียบกับปี 2548 ซึ่งเมื่อเทียบเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ของสหรัฐฯ แล้วคิดเป็น 4% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2533
       
       
สหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่รักษาข้อปฏิบัติในพิธีสารเกียวโตได้มากที่สุด ขณะที่สหรัฐฯ ปฏิเสธความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งสหภาพยุโรปได้ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ภายในปี 2563 เทียบกับปี 2533 พร้อมเพิ่มเป้าหมายเป็น 30% หากประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ก้าวเข้ามารับผิดชอบร่วมกัน
       
       
ส่วนญี่ปุ่นนั้นแม้ว่าจะเสนอเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 25% แต่ก็ตั้งเงื่อนไขขึ้นมามากมายด้วย ด้านแคนาดามองว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ในปี 2563 โดยเทียบกับปี 2549 ซึ่งเทียบเท่า 3% หากนำไปเทียบกับปี 2533 ขณะที่รัฐสภาของออสเตรเลียยังหารือกันไม่เสร็จว่าจะตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ในปี 2563 เทียบจากปี 2543 ระหว่าง 5% และ 25% ซึ่งตัวเลือกที่สูงกว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อสรุปที่จะได้จากที่ประชุมในโคเปนเฮเกนด้วย
       
       
สำหรับกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อนยังไม่มีความชัดเจนจากประเทศร่ำรวย แต่สหภาพยุโรประบุว่าประเทศกำลังพัฒนาต้องการเงินสนับสนุนประมาณ 100 พันล้านยูโร (ประมาณ 4.8 ล้านล้านบาท) ต่อปี ภายในปี 2563 ทว่าการจัดหาทุนสนับสนุนจากยุโรปยังล้มเหลวอยู่

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)                   

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

1912521302

         

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-19 13:01:57 IP : 124.122.2.106


ความคิดเห็นที่ 2 (3206289)
gs and other euro handbag stylist sales men"s gucci timepieces the bag is heavy leather design and thick jewelry designer bags for sale westernlock designer bag you are euro handbag lv handbags
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (umusgy-at-sogou-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-25 02:07:37 IP : 125.121.215.19


ความคิดเห็นที่ 3 (3213041)
slippers for women slippers for women womens ugg boots womens ugg boots fake uggs fake uggs short ugg boots size 5 short ugg boots size 5
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (oqyqwo-at-pchome-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-21 20:33:06 IP : 125.118.233.198


ความคิดเห็นที่ 4 (3221530)
Your Guide For Shopping for GHD Hair Straighteners The trend of curly hair straightening has grown to be incredibly common these days and majority of females really like to straighten their hair follicles Within the past it was prevalent to straighten the hair only on special events but at present women favor to straighten their hair follicles everyday to look elegant and attractive It truly is observed that curly hair are damaged mainly because of exposure towards the heat in the straightener so it truly is needed to go through all safety measures which will decrease the dangerous impacts of hair ghd straighteners You will discover different varieties of curly hair straighteners that have diverse capabilities so the choice from the most ideal locks straightener is essential in accordance for the type of hair follicles to be able to avoid the damaging effects ghd locks straightener may be the very best straightener that delivers quite a few advantageous capabilities You will discover diverse models of GHD hair straighteners that happen to be appropriate for certain sorts of head of hair GHD IV styler would be the most acceptable tool that could be employed for all types of curly hair GHD IV salon styler is helpful for thick curly hair It has wider plates that make it uncomplicated to straighten the curly hair in brief duration of time For those having brief locks GHD IV mini styler would be the ideal choice to purchase and it can create waves or curls too For getting GHD curly hair straightener it really is far better to evaluate the attributes and prices to select 1 that is according to personal demands There are many accessories that purchaser can obtain with the straightener so ahead of getting GHD hair follicles straightener the data about all equipment need to be taken There are lots of GHD locks straighteners that are created in different colors The shade of your straightener has nothing to do with its attributes People can select any color of their choice Just before acquiring GHD curly hair straightener it can be essential to be certain that it offers the warranty of two years There are some pretend GHD locks straighteners readily available inside markets so the buyer should make certain that the product he/she is acquiring is original If the GHD hair follicles straightener is bought from a reputable retailer then it will not be a pretend straightener Cautious inspection just before shopping for the straightener lessens the dangers of shopping for a fake straightener
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (bgnqly-at-gmx-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-01 20:22:36 IP : 125.122.102.4



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.