ReadyPlanet.com


คนพิการ ก็มีหลากหลายทางเพศ.


หลากหลายทางเพศ


เมื่อสิทธิมนุษยชนที่เติบโตขึ้นในสังคมปัจจุบัน ทำให้เราสามารถมองเห็นคนที่มีความหลากหลาย คนที่มีพฤติกรรมต่อเพศหลากหลาย ได้มากขึ้น สำหรับคนทั่วไปอาจสงสัยถึงความหลากหลายทางเพศรสเหล่านี้

ในโอกาสที่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายเหล่านี้ ถือเอาวันที่ 29 พ.ย.ของทุกปี เป็น "วันสิทธิความหลากหลายทางเพศ" และในปีนี้ได้จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อทำความเข้าใจกับสังคมได้รับรู้ เริ่มกันตั้งแต่วันศุกร์นี้ที่ 26 พ.ย.ที่หอประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม ถ.ราชดำเนิน และคุณหมอแท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กรุณาส่งบทความ เรื่องความหลากหลายทางเพศ : ความหลากหลายทางธรรมชาติ มาให้ จึงต้องขออนุญาตเรียบเรียงมาอธิบายให้กระชับขึ้น ดังนี้

หากมองไปรอบตัวจะเห็นความหลากหลายทางธรรมชาติอยู่มากมาย มีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งความหลากหลายเหล่านี้ช่วยทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้

ในสังคมมนุษย์ของเราเอง ก็มีความหลากหลายทางธรรม ชาติให้เห็นอยู่มากมายเช่นกัน อาทิ ความหลากหลายทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ความหลากหลายทางสังคม ประเพณีวัฒนธรรม และความหลากหลายในการนับถือศาสนา หรือแม้ศาสนาเดียวก็ยังมีความหลากหลายลงลึกไปเป็นอีกหลายนิกาย

ความเป็นเพศของมนุษย์ ในอดีตเรารับรู้และเข้าใจว่า มนุษย์มี 2 เพศ คือ เพศหญิงและเพศชาย โดยแยกแยะจากรูปลักษณ์ที่เห็นจากภายนอก ซึ่งในความรู้สึกรักใคร่ชอบพอทางเพศจะมีเกิดขึ้นได้เฉพาะหญิงกับชายที่มีเพศตรงกันข้ามกันเท่านั้น

แต่เมื่อในปัจจุบันกลับมีทั้งที่เป็นหญิงแต่รูปลักษณ์ภายนอกเป็นชายแต่กำเนิด หรือเป็นชายแต่รูปลักษณ์ภายนอกเป็นหญิง และแบบที่เป็นชายแต่ไม่ได้รักชอบผู้หญิงและแบบที่เป็นหญิงแต่ไม่ได้รักชอบผู้ชาย หากแต่รักชอบคนที่เป็นเพศเดียวกับตัวเอง ก็มีให้เห็นกันทั่วไปในทุกวันนี้

ซึ่งความจริงความหลากหลายเหล่านี้เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์เราช้านาน โดยคุณหมอแท้จริง เชิญชวนมาว่า น่าจะลองไปร่วมงานนี้ดู จะได้เข้าใจคนกลุ่มนี้ยิ่งขึ้น

ใครยังสงสัยไปหาคำตอบจากงานนี้ได้

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2611531912

*********************

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-26 19:11:51 IP : 124.121.135.184


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3226988)
คนพิการ ก็มีหลากหลายทางเพศ.
ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-01 18:59:02 IP : 124.122.241.132


ความคิดเห็นที่ 2 (3239296)

หลากหลายทางเพศ


เมื่อสิทธิมนุษยชนที่เติบโตขึ้นในสังคมปัจจุบัน ทำให้เราสามารถมองเห็นคนที่มีความหลากหลาย คนที่มีพฤติกรรมต่อเพศหลากหลาย ได้มากขึ้น สำหรับคนทั่วไปอาจสงสัยถึงความหลากหลายทางเพศรสเหล่านี้

ดันกระทู้.....

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-07 11:49:21 IP : 124.121.106.32


ความคิดเห็นที่ 3 (3240644)

เสียงเล็กๆ กลุ่มเพศที่สาม เรียกร้องกฎหมายและความเท่าเทียม

 

ความเป็นเกย์เป็นกะเทย มีปัญหาเยอะ เพราะทุกคนมองว่ากลุ่มเกย์ กะเทย เป็นพวกส่ำส่อนทางเพศ ซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย แต่สิ่งที่เค้าเรียกร้องเหมือนกับพวกเรา คือ การที่ได้แต่งงานที่แบบถูกต้องตามกฎหมาย"

"
เพศที่สาม" หมายถึง คนที่เกิดมาแล้วจิตใจเป็นเพศตรงกันข้ามกับที่เกิดมา เช่น กายเป็นชายแต่ใจเป็นหญิง(เกย์-กระเทย) หรือ กายเป็นหญิงแต่ใจเป็นชาย ( ทอม ) แล้วพยายามดำเนินการต่างๆเพื่อเปลี่ยนแปลงเพศของตนให้ตรงกับที่จิตใจต้องการ

โดย ผ่านขั้นตอนต่างๆ อาทิ HT (hormone treatment การใช้ฮอร์โมนอาจกินหรือฉีด ถ้าฉีดจะเป็น IM injection คือ ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ ) FFS (facial feminization surgery ผ่าตัดให้หน้าสวยเหมือนผู้หญิงกรณีชายอยากเป็นหญิง) และ SRS (sexual reassignment surgery ผ่าตัดแปลงเพศ ชายแปลงเป็นหญิงหรือหญิงแปลงเป็นชาย)

วันนี้ สกู๊ปแนวหน้า จึงหยิบประเด็น เรื่องสิทธิของคนรักเพศเดียวกันมานำเสนอ เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ มักจะถูกสังคมมองว่าเป็นตัวประหลาด ที่เข้ามากัดกร่อนสังคมและวัฒนธรรม จนบางครั้งต้องถูกลิดรอนเรื่องสิทธิเสรีภาพ

นายกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย บอกว่า สมาคมฟ้าสีรุ้ง ก่อตั้งมาเป็นเวลา 12 ปี มีสาขามากกว่า 30 สาขา สมาคมฯมีจุดประสงค์การดำเนินงาน เพื่อดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน รวมถึงเรื่องสุขภาวะทางเพศ ที่เกี่ยวกับ เอสไอวี หรือ เรื่องของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของกลุ่มบุคคลรักเพศเดียวกัน โดยเรียกร้องในสิทธิทางเพศ ซึ่งยังไม่มีความเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ สมาคมฯต้องการเรียกร้องสิทธิทางเพศของกลุ่มเกย์ กะเทย ทอม ดี้ ให้มีความเท่าเทียมกันทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับบริจาคเลือด หรือ สิทธิในด้านกฎหมาย เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส ที่ผู้ชายกับผู้หญิง สามารถแต่งงานกันได้ แต่ผู้ชายกับผู้ชาย หรือ ผู้หญิงกับผู้หญิง ไม่สามารถแต่งงานกันได้ สมาคมจึงต้องเรียกร้องสิทธิขึ้นมา เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม โดยเราได้แบ่งสังคม ออกเป็น 3 แบบ คือ

1.
แบบที่กฏหมายแก้แล้ว แต่ทางสังคมยังไม่ยอมรับ ยกตัวอย่างประเทศอินเดีย เป็นต้น โดย อินเดีย บอกว่า สาวประเภทสองใน 150 ปี ไม่มีการยอมรับ แต่เมื่อช่วงสามปีที่ผ่านมา ถึงมีการยอมรับ ซึ่ง ปรากฏ ว่า กระเทยที่ออกจากบ้านก็ยังถูกปาด้วยก้อนหิน ดั้งนั้น จึงสะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้ จะมีการแก้กฎหมาย แต่ สังคมภายนอกไม่ยอมรับในเรื่องดังกล่าว

2.
สังคมยอมรับ แต่กฏหมายยังไม่มีการแก้ ซึ่งคล้ายๆกับ ประเทศไทย ที่กฎหมายยังไม่เอื้ออำนวย แต่ สังคมก็ยอมรับในระดับหนึ่ง

3.
สังคมไม่ยอมรับ กฏหมายก็ไม่ยอมรับ อาทิ ประเทศ อิหร่าน ถ้ามีชายรักชาย หรือ เพศที่สามเกิดขึ้น จะโดนใส่ถุงดำ แล้วนำไปแขวนคอ ประจานทันที่

และ 4 คือสังคมยอมรับ กฏหมายก็ยอมรับ ซึ่งแบบ 4 ยังไม่มีที่ใดมาก่อน ถ้ามีคงเป็น สหรัฐอเมริกา แต่ในเฉพะบางรัฐยอมรับ สังคมยอมรับ กฏหมายก็ยอมรับ แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยในโลกนี้

ถ้าถามว่าประเทศไทยอยู่ในระดับไหน คงอยู่ในแบบที่ 2 ถือว่าสังคม ยอมรับในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ขาดกฏหมายยอมรับ

สำหรับเรื่องของการยอมรับของสังคม ระหว่าง เกย์ กระเทย นั้น นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย บอกว่า เกย์ จะได้รับการยอมรับจากสังคมมากว่ากระเทย เนื่องจาก เกย์ มีภาพลักษณ์ที่เป็นผู้ชายมากกว่า ซึ่งสังคมมองว่าให้การยอมรับได้ระดับหนึ่ง อาจเป็นผู้นำ หรือแม้กระทั่งเป็นถึงรัฐมนตรี อธิบดี ก็ยังอยู่ในรูปลักษณ์แบบนี้ได้ โดยอาจจะไม่ได้เปิดเผยว่าพวกเขาเป็น แต่ในรูปลักษณ์ของ กะเทย สาวประเภทสอง เป็นรูปร่างค่อนข้างชัดเจน มี นม ไว้ผมยาว

อย่างไรก็ตาม สังคมจะยอมรับสาวประเภทสอง ให้เป็นผู้นำในทางสังคม หรือภาครัฐบาล ค่อนข้างเป็นเรื่องยาก กว่าความกลุ่มเกย์ ส่วนมาก อาชีพที่เหล่า กะเทย หรือประเภทสองทำคือ เป็นช่างแต่งหน้า ช่างเสริมสวย หรือแม้กระทั่งเป็นพิธีกรในรายการต่างๆ ถ้าเทียบกันระหว่างความเป็นเกย์กับกะเทย คิดว่าเกย์มีความน่าเห็นใจน้อยที่สุด เพราะมีโอกาสที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่กะเทยได้รับการยอมรับทางสังคมค่อนข้างยาก

ขณะที่ กลุ่มทอม ดี้ เลสเบี้ยน ความเป็นทอมจะมีความยุ่งยากน้อย พอๆ กับเกย์ ส่วน ดี้ ก็มีความยุ่งยากน้อยที่สุด เพราะอยู่ในรูปร่างของความเป็นหญิงอยู่ เพศหญิงรักหญิง มองว่าค่อนข้างไม่มีอุปสรรค ไม่มีความยุ่งยาก เนื่องจากประชาชนหรือสาธารณะค่อนข้างมองน้อย การมองอะไรน้อยปัญหามันก็จะน้อยลงไป อาทิ การมองดี้ สักคนให้เป็นปัญหาก็ไม่ค่อยเจอ จะมองทอมให้เป็นปัญหาก็ไม่ค่อยเจอ การมีปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ระหว่างทอมกับดี้ ค่อนข้างมีน้อยมาก คนก็เลยไม่ค่อยใส่ใจ

"
ความเป็นเกย์เป็นกะเทย มีปัญหาเยอะ เพราะทุกคนมองว่ากลุ่มเกย์ กะเทย เป็นพวกส่ำส่อนทางเพศ ซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย แต่สิ่งที่เค้าเรียกร้องเหมือนกับพวกเรา คือ การที่ได้แต่งงานที่แบบถูกต้องตามกฏหมาย" นายกิตตินันท์ กล่าวทิ้งท้าย

นายกิตติโรจน์ จันทะชัย หรือ น้องมีมี่ อายุ 20 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง ให้ข้อมูล ว่า ความรู้สึกอยากเป็นผู้หญิง มันเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ซึ่งพ่อ กับ แม่ก็ยอมรับ ในด้านของเพื่อน แรกๆก็เพื่อนก็รับไม่ได้ เหมือนกับเห็นเราเป็นตัวประหลาด แต่ขณะนี้เพื่อนเข้าใจเรามากขึ้น และให้การยอมรับได้

นายชุติกาญจน์ จันต๊ะ หรือ ป้าแสง อายุ 54 ปี บอกว่า ในสมัยก่อนการเป็นกะเทย ตุ๊ด ค่อนข้างเป็นที่รังเกียจของสังคมไม่เหมือนสมัยนี้ ป้าต้องลำบากเป็นอย่างมาก กว่าจะทำให้ทุกคนในหมู่บ้านยอมรับ เพราะป้าพยายามช่วยเหลืองานสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง งานบวช ป้าทำทุกอย่างที่จะได้รับการยอมรับจากชาวบ้าน ขณะนี้ก็มีคนเข้าใจเรามากขึ้น

นายทัฐสรางค์วอร มีสุข (รถเมล์) อายุ 24 ปี ครูสอนพิเศษ บอกว่า ตอนนี้ทำงานเป็นอาจารย์สอนพิเศษให้กับเด็กนักเรียน เมื่อก่อนค่อนข้างได้รับความรู้สึกที่ไม่ดีและเป็นที่รังเกียจจาก พ่อ แม่ ผู้ปกครองของเด็กที่มาเรียนกับตน เป็นอย่างมาก คือ เขาไม่ต้องการที่จะให้ลูกหลานมาเรียนกับเรา ก็กลัวลูกหลาน ได้รับอิทธิพลจากเรา เราก็ยอมรับค่ะ ทีแรกก็เป็นปัญหาแต่ขณะนี้ทุกคน พ่อ แม่ผู้ปกครอง ยอมรับและให้ความเชื่อมั่นในตัวเรามากขึ้น

จากคำบอกเล่าของกลุ่มเพศที่สามได้สะท้อนให้เห็นว่า สิทธิและการยอมรับทางสังคม ของ ชาย-หญิง มีมากจนต้องลิดรอนสิทธิ กลุ่มเพศที่สาม แต่อย่าลืมไปว่า พวกเขาเหล่านี้ก็มีชีวิตและมีสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่สังคมเราจะยอมรับ กลุ่มเพศที่ สาม

 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2103541710

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-21 17:10:41 IP : 125.25.47.103


ความคิดเห็นที่ 4 (4168212)

 ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้อยากเกิดมาอยากเป็นคนผิดเพศ อยากเป็นชายจริงหญิงแท้ทุกคน แต่ธรรมชาติสร้างได้สร้างพวกเขาขึ้นมาให้ผิดเพศเองตั้งแต่แรกเกิด พวกเขามิได้เป็นโดยสมัครใจหรือเลียนแบบหรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม ถ้ามียารักษาให้พวกเขาเลิกผิดเพศได้พวกเขาก็อยากจะเป็นชายจริงหญิงแท้กันทุกคน

ผู้แสดงความคิดเห็น นกน้อย วันที่ตอบ 2020-09-10 19:17:09 IP : 223.204.248.65



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.