ReadyPlanet.com


เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล....ไม่ทำงาน.


เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล อภิสิทธิ์ ทำอะไรบ้างหลังศาลตัดสินแล้ว.

26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ครบรอบ 1 ปี ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาในคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่ำรวยผิดปกติ เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนเอง ศาลฎีกาฯ จึงให้ทรัพย์สินอันเป็นเงินจากการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นฯ และเงินปันผลมูลค่า 46,373 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน

ตามระบอบการปกครองที่ประเทศไทยยึดถืออยู่นั้น ถือหลักแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ

เมื่ออำนาจตุลาการมีคำพิพากษาอรรถคดีใดๆ โดยอาศัยตัวบทกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ออกมาใช้บังคับในบ้านเมืองแล้ว ฝ่ายบริหารก็มีภาระหน้าที่จะต้องติดตามและปฏิบัติตาม เพื่อให้บังเกิดผลตามคำพิพากษาของศาล และไม่อาจละเว้นที่จะต้องนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาไปติดตามบริหารราชการแผ่นดินเพื่อทวงคืนและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของรัฐ ขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีฝ่ายค้านเป็นหลักก็ต้องติดตาม ตรวจสอบ กดดันให้ฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)ปฏิบัติหน้าที่

แต่ 1 ปี ผ่านไป เหตุใดยังไม่บังเกิดผลในการทวงคืนผลประโยชน์ที่รัฐเคยสูญเสียไปจากการเอื้อประโยชน์ของทักษิณ เพื่อทักษิณ ในยุคทักษิณ? ใครต้องทำอะไร แล้วไม่ทำอะไร?

1. การเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินฯ และหุ้นทักษิณ ทำให้รัฐเสียหาย

แก่นเรื่องของคดียึดทรัพย์ คือ การเอาผิดกับนายกรัฐมนตรีที่ใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจสัมปทานของตนเอง ทำให้ภาครัฐได้รับความเสียหาย ได้ผลประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

คำพิพากษาได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นเอื้อประโยชน์แก่หุ้นชินฯ ของทักษิณเอง หลายกรณี เช่น

กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานมือถือ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ลดค่าส่วนแบ่งรายได้บริการโทรศัพท์มือถือแบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า(prepaid) หรือบัตรเติมเงิน ที่บริษัทเอไอเอสต้องจ่ายให้แก่รัฐ

กล่าวคือ สัญญาเดิมตกลงไว้ว่า ช่วงปี 2543-2548 เอไอเอสต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ ทศท. 25%, ช่วงปี 2548-2553 จะต้องจ่ายเพิ่มเป็น 30% และช่วงปี 2553-2558 จะต้องจ่ายเพิ่มเป็น 35%

จะเห็นว่า หากทำกันตามสัญญาเดิม ยิ่งนานปี หน่วยงานของรัฐ (ทศท.) ก็จะยิ่งได้รับเงินค่าส่วนแบ่งรายได้จากเอไอเอสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะยิ่งนานไป นอกจากฐานลูกค้าจะมากขึ้นแล้ว รายรับก็เพิ่มขึ้น ยิ่งเมื่ออัตราส่วนแบ่งรายได้สูงขึ้น ยิ่งทำให้เอไอเอสจะต้องจ่ายให้ ทศท.เพิ่มมากขึ้นด้วย

แต่การแก้สัญญาสัมปทานดังกล่าวในยุครัฐบาลทักษิณ กลับเอื้อประโยชน์ให้เอไอเอสจ่ายส่วนแบ่งรายได้ระบบบัตรเติมเงิน เพียง 20% คงที่ตลอดอายุสัญญา โดยไม่ต้องเพิ่มขึ้นตามสัญญาเดิม จึงทำให้รัฐสูญเสียผลประโยชน์ตลอดอายุสัญญาสัมปทานมหาศาล นักวิชาการประเมินว่ามีมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท!

นอกจากนี้ ยังมีกรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วมและให้นำต้นทุนค่าใช้เครือข่ายร่วมหักออกจากรายได้ก่อนคำนวนส่วนแบ่งค่าสัมปทานเพื่อส่งหน่วยงานรัฐ ทำให้เอไอเอสได้รับผลประโยชน์มูลค่ากว่า 18,970 ล้านบาท

กรณีการออกมติคณะรัฐมนตรีบังคับให้หน่วยงานของรัฐคู่สัญญา (ทศท. และ กสท.) ต้องจ่ายค่าภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมแทนบริษัทเอกชน โดยหักจากค่าส่วนแบ่งรายได้ มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

กรณีให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ อนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุนแก่รัฐบาลทหารพม่า 4,000 ล้านบาท เพื่อนำมาซื้ออุปกรณ์โทรคมนาคมจากบริษัทในเครือชินคอร์ปฯ เอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินฯ เกิดความเสียหายจนต้องตั้งงบประมาณแผ่นดินของประชาชนมาชดเชย

ยิ่งกว่านั้น ยังมีการเอื้อประโยชน์ในกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งได้ปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ว่าดำเนินโครงการมาโดยไม่ถูกต้อง

อาศัยอำนาจการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีเอื้อประโยชน์แก่เอกชนผู้ดำเนินโครงการโดยมิชอบ

กล่าวคือ เมื่อทักษิณเข้ามาเป็นนายกฯ กำกับควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเหนือกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการแก้ไขข้อกำหนดทางด้านเทคนิค ก่อนทำการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ใช้ชื่อว่า "ดาวเทียมไอพีสตาร์" ซึ่งเป็นดาวเทียมสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการเอื้อให้บริษัทชินฯ ได้ผลประโยชน์

หนึ่ง ไม่ดำเนินการจัดส่งดาวเทียมสำรองของไทยคม 3 ตามสัญญาเดิม ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารภายในประเทศ มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท

สอง ได้สัมปทานดาวเทียมสื่อสารระหว่างประเทศไปโดยไม่ต้องมีการประมูลแข่งขันตามกฎหมาย ทั้งๆ ที่ น่าจะต้องเปิดให้มีการประมูลแข่งขันตามกฎหมาย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเสนอโครงการใหม่อย่างเสรีและเป็นธรรม ทั้งในด้านการบริหารงาน และอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่รัฐ มูลค่าโครงการกว่า 16,000 ล้านบาท

สาม แถมด้วยการอนุมัติให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ไม่เก็บภาษีรายได้และเครื่องจักร เต็มมูลค่าโครงการ กว่า 16,000 ล้านบาท

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการไต่สวนพิจารณาคดีของศาลฎีกาฯ พบพฤติกรรมการกระทำความผิดอุกอาจ ทั้งใช้วิธีกระทำการลัดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการ ในลักษณะที่รวบรัดและรีบเร่ง ผิดปกติวิสัย เช่น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงกับอนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองไปก่อน แล้วจึงมีการจัดทำหนังสือเวียนให้คณะกรรมการรับรองรายงานการประชุมภายหลัง เป็นต้น

การเอื้อประโยชน์ทั้งหลายข้างต้นนั้น ทำให้ผลประโยชน์อันมิควรได้ไปตกแก่หุ้นชินฯ ที่ทักษิณถือครองอยู่ และยังผลให้บริษัทชินฯ กับผู้ถือหุ้นชินฯ รายอื่นๆ ได้ลาภอันมิควรได้ไปด้วย

2. ศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์เพียง 46,000 ล้านบาทนั้น ก็เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจหน้าที่ของทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรีจนร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน

แต่ยังไม่ใช่ "ค่าเสียหาย" ที่เกิดแก่รัฐ จากการกระทำการเอื้อประโยชน์เหล่านั้น

ซึ่งในการเอื้อประโยชน์แก่ตัวทักษิณเองนั้น จะเห้นว่าได้ทำให้หน่วยงานของรัฐและผลประโยชน์ของแผ่นดินเสียหายไปมหาศาล มากกว่าผลประโยชน์ที่ตัวทักษิณได้ไปเองเสียอีก

เฉพาะกรณีเอื้อประโยชน์ทั้งหลายที่กล่าวถึงข้างต้น รวมความเสียหาย ก็เกินกว่า 100,000 ล้านบาท ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นการทำให้ ทศท. และ กสท. กลายเป็นองค์กรที่แคระแกร็น เลี้ยงไม่โต ไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้

blockquote{ border:1px solid #d3d3d3; padding: 5px; }
[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3239317)

เพราะฉะนั้น ก็เป็นบทพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งว่า ความเชื่อที่ว่า "โกงก็ได้ แต่ขอให้ทำงาน" นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าทำงานแล้วโกง ก็จะก่อความเสียหายแก่แผ่นดินมหาศาล ยิ่งกว่าเงินที่เขาโกงไปเสียอีก

ที่เหลือ จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล และกลไกของรัฐทั้งหลาย ที่จะต้องติดตามทวงคืนผลประโยชน์ที่รัฐสูญเสียไปกลับคืนมาให้ครบถ้วน

หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจึงมีหน้าที่โดยตรง โดยมิอาจละเว้นได้ ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล จะต้องติดตามเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อแผ่นดินกลับคืนมา เช่น การแก้ไขสัญญาสัมปทานใด ทำให้รัฐเสียหายไปมูลค่าเท่าใด ก็ต้องติดตามเรียกค่าเสียหายที่สูญเสียไปกลับคืนมาจากผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น

มิใช่ไล่เบี้ยเอากับทักษิณเท่านั้น แต่จะต้องทวงคืนจากภาคเอกชนที่ได้รับผลประโยชน์อันมิควรได้ไปพร้อมกับทักษิณด้วย และเอาตัวนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ที่รู้เห็นเป็นใจมาลงโทษอีกด้วย

3. การติดตามการดำเนินการหลังคำพิพากษา

3.1 คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2553 มอบให้อัยการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการดำเนินการ โดยประสานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

ปรากฏว่า ผ่านมา 1 ปี ความเสียหายของภาครัฐซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 100,000 ล้านบาท ยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา โดยที่การเจรจาหรือการฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ก็ยังไม่มีความคืบหน้าชัดเจน

น่าสังเกตว่า ในยุคคุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้แต่งตั้ง พ.ต.อ.สุชาติ วงษ์อนันตชัย เป็นประธานสอบตามคำพิพากษาศาล โดยที่ พ.ต.อ.สุชาตินั้น เคยเป็นรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในยุคทักษิณ

ทั้งๆ ที่ ผู้เกี่ยวข้องกับการทำให้รัฐได้รับความเสียหายในยุคทักษิณ ปรากฏชื่อในคำพิพากษาของศาลนั้น ล้วนแต่เป็นนักการเมืองตัวใหญ่ๆ ในระบอบทักษิณทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรณีภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม, นายวันมูฮัมหมัด นอร์มะทา อดีตรัฐมนตรีคมนาคม กรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นต้น

3.2 กรณีแก้สัญญากิจการโทรศัพท์มือถือ

กรณีแก้สัญญามือถือในยุคทักษิณ ซึ่งทำให้รัฐเสียหายร้ายแรงนั้น เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ แต่ปรากฏว่า 1 ปีที่ผ่านมา ทศท.ในฐานะหน่วยงานของรัฐคู่สัญญา ยังไม่สามารถติดตามทวงคืนผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของรัฐคืนมา

คนทำให้เกิดความเสียหายก็ยังลอยนวล

แม้แต่จะแก้สัญญาสัมปทานที่ทำให้รัฐเสียเปรียบ เพื่อให้กลับไปสู่สัญญาเดิมก่อนที่จะถูกแก้ไขในยุคทักษิณ ก็ยังไม่สามารถกระทำได้

จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน ก็ยังชักเข้าชักออก

สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งก็เพราะเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยงานคู่สัญญาไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากตนเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้สัญญาที่ทำให้รัฐเสียหายในยุคทักษิณ

พูดง่ายๆ กลัวว่าพวกตนจะต้องรับผิดด้วย

3.3 กรณีกิจการดาวเทียม ก็ไม่ต่างกัน

1 ปี ผ่านไป ผลประโยชน์ที่รัฐสูญเสียไปก็ยังไม่ได้กลับคืนมา

3.4 นอกจากนี้ กรณี พ.ต.ท.ทักษิณปกปิดการถือครองหุ้นชินคอร์ปฯ ของตนเองไว้ในชื่อบุคคลอื่น ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้พิพากษาชี้ขาดข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้งไปแล้วนั้น ยังทำให้ต้องมีคดีความผิดติดตามมาอีกมากมาย อาทิ แจ้งบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จหรือจงใจปกปิดทรัพย์สิน, เป็นรัฐมนตรีโดยคงไว้ซึ่งหุ้นสัมปทาน, การทำผิดกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ

การติดตามการดำเนินคดีเหล่านี้ ล้วนเป็นหน้าที่โดยตรงของฝ่ายบริหาร หากปรากฏว่ามีการจงใจละเว้น หรือประวิงคดี หรือทำลายหลักฐาน เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องก็อาจต้องกลายเป็นผู้รับผิดติดคุกไปด้วย

หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ป.ป.ช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลาดหลักทรัพย์หรือ กลต. รวมถึงรัฐมนตรีที่มีหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานเหล่านี้ ย่อมอยู่ในข่ายที่จะต้องรับผิดชอบ

4. บทบาทของฝ่ายค้าน

น่าเสียดายว่า ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่จะเริ่มขึ้นช่วงสัปดาห์หน้า ไม่ปรากฏว่า ฝ่ายค้านจะหยิบยกปัญหาความล่าช้า หรือการละเว้นในการติดตามการดำเนินการตามแนวทางแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ เลยแม้แต่ประเด็นเดียว

ทั้งๆ ที่ เรื่องเหล่านี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน

ติดแต่เพียงเป็นเรื่องที่กระทบกับเครือข่ายผลประโยชน์ทางธุรกิจของนายใหญ่และพวก

ตรงกันข้าม แกนนำพรรคเพื่อไทยกลับเปิดเผยแนวทางการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตนเองอีกด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า ยังจะมุ่งที่ช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะการเป็นผู้ถูกยึดทรัพย์จากการร่ำรวยผิดปกติจะขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ไปตลอดชีวิต โดยประกาศจะพาทักษิณกลับบ้าน อันหมายถึงจะต้องนิรโทษกรรมคดีความผิดทั้งหลาย ซึ่งจะกระทบกับการติดตาทวงคืนผลประโยชน์ที่รัฐสูญเสียไปโดยตรง

1 ปี ของคำพิพากษาในคดีประวัติศาสตร์ จึงยังไม่บังเกิดผลประโยชน์แก่แผ่นดินส่วนรวมอย่างที่ควรจะเป็น

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

703541616

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-07 16:15:18 IP : 124.121.106.32


ความคิดเห็นที่ 2 (3239318)

เพราะฉะนั้น ก็เป็นบทพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งว่า ความเชื่อที่ว่า "โกงก็ได้ แต่ขอให้ทำงาน" นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าทำงานแล้วโกง ก็จะก่อความเสียหายแก่แผ่นดินมหาศาล ยิ่งกว่าเงินที่เขาโกงไปเสียอีก

ที่เหลือ จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล และกลไกของรัฐทั้งหลาย ที่จะต้องติดตามทวงคืนผลประโยชน์ที่รัฐสูญเสียไปกลับคืนมาให้ครบถ้วน

หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจึงมีหน้าที่โดยตรง โดยมิอาจละเว้นได้ ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล จะต้องติดตามเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อแผ่นดินกลับคืนมา เช่น การแก้ไขสัญญาสัมปทานใด ทำให้รัฐเสียหายไปมูลค่าเท่าใด ก็ต้องติดตามเรียกค่าเสียหายที่สูญเสียไปกลับคืนมาจากผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น

มิใช่ไล่เบี้ยเอากับทักษิณเท่านั้น แต่จะต้องทวงคืนจากภาคเอกชนที่ได้รับผลประโยชน์อันมิควรได้ไปพร้อมกับทักษิณด้วย และเอาตัวนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ที่รู้เห็นเป็นใจมาลงโทษอีกด้วย

3. การติดตามการดำเนินการหลังคำพิพากษา

3.1 คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2553 มอบให้อัยการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการดำเนินการ โดยประสานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

ปรากฏว่า ผ่านมา 1 ปี ความเสียหายของภาครัฐซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 100,000 ล้านบาท ยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา โดยที่การเจรจาหรือการฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ก็ยังไม่มีความคืบหน้าชัดเจน

น่าสังเกตว่า ในยุคคุณระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้แต่งตั้ง พ.ต.อ.สุชาติ วงษ์อนันตชัย เป็นประธานสอบตามคำพิพากษาศาล โดยที่ พ.ต.อ.สุชาตินั้น เคยเป็นรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในยุคทักษิณ

ทั้งๆ ที่ ผู้เกี่ยวข้องกับการทำให้รัฐได้รับความเสียหายในยุคทักษิณ ปรากฏชื่อในคำพิพากษาของศาลนั้น ล้วนแต่เป็นนักการเมืองตัวใหญ่ๆ ในระบอบทักษิณทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรณีภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม, นายวันมูฮัมหมัด นอร์มะทา อดีตรัฐมนตรีคมนาคม กรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นต้น

3.2 กรณีแก้สัญญากิจการโทรศัพท์มือถือ

กรณีแก้สัญญามือถือในยุคทักษิณ ซึ่งทำให้รัฐเสียหายร้ายแรงนั้น เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ แต่ปรากฏว่า 1 ปีที่ผ่านมา ทศท.ในฐานะหน่วยงานของรัฐคู่สัญญา ยังไม่สามารถติดตามทวงคืนผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของรัฐคืนมา

คนทำให้เกิดความเสียหายก็ยังลอยนวล

แม้แต่จะแก้สัญญาสัมปทานที่ทำให้รัฐเสียเปรียบ เพื่อให้กลับไปสู่สัญญาเดิมก่อนที่จะถูกแก้ไขในยุคทักษิณ ก็ยังไม่สามารถกระทำได้

จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน ก็ยังชักเข้าชักออก

สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งก็เพราะเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยงานคู่สัญญาไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากตนเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้สัญญาที่ทำให้รัฐเสียหายในยุคทักษิณ

พูดง่ายๆ กลัวว่าพวกตนจะต้องรับผิดด้วย

3.3 กรณีกิจการดาวเทียม ก็ไม่ต่างกัน

1 ปี ผ่านไป ผลประโยชน์ที่รัฐสูญเสียไปก็ยังไม่ได้กลับคืนมา

3.4 นอกจากนี้ กรณี พ.ต.ท.ทักษิณปกปิดการถือครองหุ้นชินคอร์ปฯ ของตนเองไว้ในชื่อบุคคลอื่น ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้พิพากษาชี้ขาดข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้งไปแล้วนั้น ยังทำให้ต้องมีคดีความผิดติดตามมาอีกมากมาย อาทิ แจ้งบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จหรือจงใจปกปิดทรัพย์สิน, เป็นรัฐมนตรีโดยคงไว้ซึ่งหุ้นสัมปทาน, การทำผิดกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ

การติดตามการดำเนินคดีเหล่านี้ ล้วนเป็นหน้าที่โดยตรงของฝ่ายบริหาร หากปรากฏว่ามีการจงใจละเว้น หรือประวิงคดี หรือทำลายหลักฐาน เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องก็อาจต้องกลายเป็นผู้รับผิดติดคุกไปด้วย

หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ป.ป.ช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลาดหลักทรัพย์หรือ กลต. รวมถึงรัฐมนตรีที่มีหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานเหล่านี้ ย่อมอยู่ในข่ายที่จะต้องรับผิดชอบ

4. บทบาทของฝ่ายค้าน

น่าเสียดายว่า ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่จะเริ่มขึ้นช่วงสัปดาห์หน้า ไม่ปรากฏว่า ฝ่ายค้านจะหยิบยกปัญหาความล่าช้า หรือการละเว้นในการติดตามการดำเนินการตามแนวทางแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ เลยแม้แต่ประเด็นเดียว

ทั้งๆ ที่ เรื่องเหล่านี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน

ติดแต่เพียงเป็นเรื่องที่กระทบกับเครือข่ายผลประโยชน์ทางธุรกิจของนายใหญ่และพวก

ตรงกันข้าม แกนนำพรรคเพื่อไทยกลับเปิดเผยแนวทางการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตนเองอีกด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า ยังจะมุ่งที่ช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะการเป็นผู้ถูกยึดทรัพย์จากการร่ำรวยผิดปกติจะขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ไปตลอดชีวิต โดยประกาศจะพาทักษิณกลับบ้าน อันหมายถึงจะต้องนิรโทษกรรมคดีความผิดทั้งหลาย ซึ่งจะกระทบกับการติดตาทวงคืนผลประโยชน์ที่รัฐสูญเสียไปโดยตรง

1 ปี ของคำพิพากษาในคดีประวัติศาสตร์ จึงยังไม่บังเกิดผลประโยชน์แก่แผ่นดินส่วนรวมอย่างที่ควรจะเป็น

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

703541616

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-07 16:15:21 IP : 124.121.106.32


ความคิดเห็นที่ 3 (3239320)

ถ้าคิดอะไรไม่ออก ก็ลองกลับไปดูคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ

คดียึดทรัพย์ทักษิณ

เพิ่งครบรอบ 1 ปี คำพิพากษาประวัติศาสตร์ดังกล่าวไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้เอง

คดีถึงที่สุดแล้ว และเนื้อหาแห่งคดีดังกล่าว ยังมีเรื่องที่ภาครัฐจะต้องไปดำเนินการต่อ เพื่อรักษาไว้ และทวงคืนซึ่งผลประโยชน์ของแผ่นดินส่วนรวมมากมายหลายประเด็น ทั้งหมด ล้วนเป็นการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของแผ่นดิน และของประชาชนทุกคน

เรื่องแบบนี้ เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้ว ถ้าเป็นฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รับใช้ผลประโยชน์ส่วนรวม (มิใช่ขี้ข้าของคนโกง) ก็ย่อมจะติดตามกำกับดูแลให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อให้เกิดผลตามคำพิพากษาของศาลอย่างมีประสิทธิผลที่สุด

ถ้ารัฐบาลย่อหย่อน ละเลย หรือปล่อยให้ผลประโยชน์ของแผ่นดินต้องสูญเสียไป ฝ่ายค้านก็ต้องเล่นงาน โขกสับ กดดันให้รัฐบาลต้องรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม

แบบนี้ต่างหาก จะเป็นการเมืองที่สร้างสรรค์ เป็นฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินส่วนรวม

จากกรณีคำพิพากษาคดียึดทรัพย์นั้น หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายจากการทุจริตประพฤติมิชอบของทักษิณ ก็จะต้องดำเนินการเพื่อ "ทวงคืน" ผลประโยชน์ของแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นกรณีสัญญาร่วมการงานกับบริษัทมือถือ หรือกรณีสัญญากิจการดาวเทียม ฯลฯ

กรณีดาวเทียม คำพิพากษาระบุชัดเจนว่า มีการละเมิดสัญญาที่ทำให้รัฐสูญเสียผลประโยชน์

เคยสัญญากันไว้ว่า จะดำเนินการจัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศขึ้นสู่ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมในอวกาศ โดยจะต้องมีทั้งดาวเทียมหลัก และดาวเทียมสำรอง

พูดง่ายๆ ว่า ต้องมีดาวเทียมที่เป็นดวงหลัก 1 ดวง และดาวเทียมสำรอง อีก 1 ดวง

แต่ปรากฏว่า บริษัทเอกชนได้จัดส่งดาวเทียมหลัก คือ ดาวเทียมไทยคม 3 แต่ไม่ได้จัดส่งดาวเทียมสำรองของไทยคม 3 ขึ้นสู่อวกาศ โดยขอเลื่อนไปหลายครั้ง

จนเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี กำกับควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเหนือกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ได้อาศัยอำนาจหรือตำแหน่งนายกฯ เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจดาวเทียมของตน

มีการแก้ไขข้อกำหนดทางด้านเทคนิค เพื่ออ้างดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรอง ก่อนทำการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548

บริษัทดาวเทียมของตระกูลชินวัตร (ขณะนั้น) ได้ผลประโยชน์ 2 เด้ง คือ 1.ไม่จัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสำรองของไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารภายในประเทศ ประหยัดเงินในกระเป๋า และ 2.ได้ประกอบธุรกิจดาวเทียมสื่อสารระหว่างประเทศ ด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่ โดยไม่ต้องเปิดประมูลใหม่ แถมยังอนุมัติให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เต็มมูลค่าโครงการ กว่า 16,000 ล้านบาท

เกิดความเสียหายแก่แผ่นดินมูลค่าหลายหมื่นล้าน เพราะรัฐขาดดาวเทียมสำรองของไทยคม 3 ไปหนึ่งดวง และปล่อยให้บริษัทดาวเทียมของทักษิณเข้าหากินกับทรัพยากรดาวเทียมของชาติดวงใหม่ "ไอพีสตาร์" โดยไม่ต้องมีการประมูล

ต่างอะไรกับ "ดาวเทียมเถื่อน" ที่บุกรุกเข้าไปใช้พื้นที่วงโคจรดาวเทียมของประเทศไทยในอวกาศ!

เรื่องเหล่านี้ เมื่อมีคำพิพากษาชี้ขาดถึงที่สุดไปแล้ว หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อ "ทวงคืน" และ "รักษาไว้" ซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของแผ่นดิน

มิใช่คอยขัดขา ขัดขวาง หรือเข้าข้างฝ่ายที่เบียดบังผลประโยชน์แผ่นดิน

ล่าสุด ปรากฏข่าวว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ได้ติดตามการดำเนินการ แจ้งว่า กระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างดำเนินการเรียกเงินจากบริษัทเอกชน และให้บริษัทเอกชนจะต้องจัดหาหรือยิงดาวเทียมสำรองไทยคม 3 ขึ้นสู่วงโคจร ตามสัญญาเดิม

เรื่องที่เป็นการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินแบบนี้ ฝ่ายค้านน่าจะหยิบขึ้นมาอภิปรายในสภา เพื่อกดดัน หนุนเสริม และควบคุมดูแลการทำหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาล

เพราะนอกเหนือจากเรื่องที่รัฐมนตรีชี้แจงแล้ว ยังต้องพิจารณาในประเด็นสำคัญๆ อีกด้วยว่า กิจการดาวเทียมไอพีสตาร์ที่เอกชนดำเนินการโดยไม่ผ่านการประมูลแข่งขันนั้น จะต้องยึดเป็นของแผ่นดินหรือไม่?

จะเรียกค่าเสียหายอย่างไร?

หรือจะต้องดำเนินการ "ขับไล่" ดาวเทียมเถื่อนของเอกชนออกจากพื้นที่วงโคจรดาวเทียมของแผ่นดิน

วันที่ 1/3/2011

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

703541632

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-07 16:31:34 IP : 124.121.106.32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.