ReadyPlanet.com


วันรัฐธรรมนูญ


วันรัฐธรรมนูญ  10 ธันวาคมของทุกปี

  

          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ


          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

 


ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  


         - 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

         - หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

         - อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

         - รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
 

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

         - พระมหากษัตริย์ 
         - สภาผู้แทนราษฎร 
         - คณะกรรมการราษฎร 
         - ศาล

         
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม


         
กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

         
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่
10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

-
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

0912522039



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-09 20:38:27 IP : 124.122.27.249


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3136386)

วันรัฐธรรมนูญ

คอลัมน์ โลกสองวัย

โดย บางกอกเกี้ยน


ประเทศไทยปัจจุบันมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ราชอาณาจักรไทย" นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองชั่วคราวแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475

ต่อมามีการร่างรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศฉบับถาวร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศเป็น รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จึงกำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันฉลองรัฐธรรมนูญตั้งแต่นั้นมา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้มาถึงฉบับนี้เป็นฉบับที่ 18 ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง ทั้งฉบับชั่วคราวและฉบับถาวร

ในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับหลังๆ มานี้ ปรากฏมีเหตุแห่งการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไว้ว่า

"การปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดำเนินวัฒนามากว่า 75 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป"

จากนั้นจึงตามด้วยเหตุผลของการร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้ด้วย เช่นฉบับปัจจุบันบอกไว้ว่า "โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนำความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคำนึงพิเศษในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง"

นั้นย่อมแสดงว่าการแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่จำเป็นต้อง "ฉีก" รัฐธรรมนูญด้วยการรัฐประหารที่เรานิยมเรียกว่า "การปฏิวัติ" ยึดอำนาจจากรัฐบาลหรือล้มล้างรัฐบาลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพียงแต่ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนำความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคำนึงพิเศษในการยกร่างและแปรญัตติโดยต่อเนื่อง ประเทศไทยก็จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นที่ต้องการได้โดยง่าย

น้องหนูพึงทราบไว้ด้วยว่า เมื่อรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ดังนั้น แม้ว่าการแก้ไขหรือยกร่างใหม่จะสามารถทำได้โดยผ่านการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ก็ต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางและมีขั้นตอนดำเนินการซึ่งต้องนำความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคำนึงพิเศษ

ขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีกำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291ไว้เรียบร้อยแล้ว รวม 7 ข้อ

ข้อแรกคือการขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี

มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการลงมติในรัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ

เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม น้องหนูที่เล่าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรจะศึกษาเรื่องรัฐธรรมนูญเอาไว้บ้าง ในประเด็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการลงประชามติ หรือการเข้าชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะน้องหนูที่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 2 มกราคม 2553

เพราะไม่แน่ว่า ปีหน้าจะมีเลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ไง

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1012520726

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-10 07:26:42 IP : 124.121.141.209


ความคิดเห็นที่ 2 (3136627)

วันนี้..วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันรัฐธรรมนูญ 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1012522051

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-10 20:51:11 IP : 124.121.143.146



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.