ReadyPlanet.com


พันตรีศิริชัย เข้าร่วมประชุม กับ เจ้าฟ้าชายของ ประเทศ จอร์แดน


 

6   พฤษภาคม   2551

วันนี้ เวลา  17.00  พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล ในนามเครือข่ายรณรงค์ยุติกับระเบิด  (TCBL.) ซึ่งเป็น  NGOs ได้รับเชิญ ให้เข้าร่วมประชุม เพื่อปรึกษาหารือแลกเปลี่ยน เรื่อง การดำเนินงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม  ร่วมกับ  H.R.H. Prince Mired AL-Hussein , President of  the 8MSP.    ห้องประชุม  1   โรงแรมดุสิตธานี  ถนนพระราม 4  ตรงข้ามสวนลุมพินี   กทม.  ใช้เวลาประชุมหารือ  1  ชั่วโมงเต็ม



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2008-05-06 22:01:05 IP : 124.121.142.237


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2427900)

 

.............. นับว่าเป็นความโชคดี ของผม ครั้งหนึ่งในชีวิตของการทำงานเพื่อสังคม ได้มีโอกาส ได้พบ ได้สัมผัส ได้มีโอกาส ที่ตอบแทนบุญคุณของประเทศชาติ ..... ทำเพื่อส่วนรวม....

ชีวิต.....บนความพิการ ทำให้ผม ได้มีโอกาสทำงานรับใช้ประเทศชาติ..... แม้ทุกวันนี้.... ผมยังทำงานให้กองทัพบก ในส่วนของ คณะอนุกรรมการ คณะกรรมการดำเนินงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ชุดที่ 4 ลงนามคำสั่งแต่งตั้งโดย สมัยนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์

ผมจะนำรูปถ่ายที่ร่วมประชุมกับเจ้าฟ้าชาย ของจอร์แดนมาให้ชมกัน..... และให้ทุก ๆ ท่านทราบเกี่ยวกับ

ทุ่นระเบิด.... ที่ทำให้.....คนพิการ.....

ว่า...... ประเทศไทย ได้ทำอะไรบ้างในเรื่อง.... ทุ่นระเบิด เกี่ยวข้องกับทั่วโลกอย่างไร.......

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0705510823

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-07 08:14:19 IP : 124.121.136.8


ความคิดเห็นที่ 2 (2443778)

 

ประเทศไทย

ความก้าวหน้าครั้งสำคัญนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2546: ไทยเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาออตตาวา ครั้งที่ 5 ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน 2546 ในปี 2546 ไทยได้กวาดล้างทุ่นระเบิดครอบคลุมพื้นที่ 718,910 ตารางเมตร และในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2547 กวาดล้างได้รวม 478,890 ตารางเมตร ในปี 2546 ผู้ได้รับความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดมีจำนวน 170,890 คน ในช่วงเวลาที่ประกาศนิรโทษกรรมอาวุธผิดกฎหมาย ผู้ครอบครองจำนวนมากได้ส่งมอบทุ่นระเบิดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ

ความก้าวหน้าครั้งสำคัญนับตั้งแต่ปี 2542: ผลการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดในเดือนพฤษภาคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2544 สรุปว่า ประเทศไทยมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภัยทุ่นระเบิด 531 แห่ง ใน 27 จังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติได้รับการก่อตั้งในเดือนมกราคม 2542 มีการกวาดล้างรวม 1,162,236 ตารางเมตร ระหว่างปี 2543-2546 ประชาชนกว่า การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (นปท.) ที่ 1 ถึง 3 ในปี 2542 และ 2543 นปท. 4 ถูกจัดตั้งในปี 2545 และทีมกู้ระเบิดฝ่ายพลเรือนในปีเดียวกัน ปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมเริ่มขึ้นในปี 2543 และเมื่อสิ้นปี 2546 มีพื้นที่ที่ได้รับ370,000 คนได้รับความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิด ไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลชุดสุดท้ายในคลังจำนวน 337,725 ทุ่นในเดือนเมษายน 2546 ไทยเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 ในเดือนกันยายน 2546 และยังได้เป็นเจ้าภาพการประชุมเรื่องทุ่นระเบิดในระดับภูมิภาคเมื่อปี 2544 และ 2545 ไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานร่วมของคณะกรรมการประจำด้านสถานะทั่วไปและปฏิบัติการของอนุสัญญาตั้งแต่เดือนกันยายน 2544 ถึงกันยายน 2545 และเป็นผู้รายงานร่วมในปีก่อนหน้านี้

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0805511344

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-08 13:32:03 IP : 124.121.140.182


ความคิดเห็นที่ 3 (2465084)

 

Thailand likely to get extension of deadline

SA KAEO : Thailand is likely to be given extra time to complete the destruction of all landmines on its territory as required by the Ottawa treaty. The chairman of the 8th meeting of States Parties to the Mine Ban Treaty, H.R.H. Prince Mired Raad Zeid Al-Hussein of Jordan, said yesterday an extension of time was possible because Thailand still had to clear landmines laid in at least 27 provinces.

The prince is visiting Thailand to view progress in the removal of mines by the Thailand Mine Action Centre (TMAC). The deadline is May next year.

Thailand has requested another nine-and-a-half years to complete the work.

""The request is under consideration at the moment and some extension will be granted, but we have to look at the extension requested,"" the prince said during a visit to As Kaeo province, which is included in the request for an extension.

At least 16 countries have applied for extra time _ including Thailand, Cambodia, Jordan and countries in Africa. The issue will be raised at the meeting of the standing committee in Geneva on June 2 to 6.

""Thailand is doing a fantastic job. It"s complicated and difficult work,"" he said.

""Thailand could be role model in the region and I would like to encourage the country to continue the work.""

As chairman of the meeting, the prince said he has to encourage countries which may be a little slow in carrying out their obligations under the treaty to try to do more.

The prince flew on to Singapore yesterday to try to convince the government there to exceed the convention target.

Thailand has a total of 2,558 square kilometres in 27 border provinces where landmines are believed buried in the ground. It is estimated that only one-third of the mines have been destroyed.

Tumrongsak Deemongkol, director of TMAC, said Thailand is doing better than some other countries because it has a clear plan and is implementing it. Some countries have only just begun.

However, a shortage of funding and of personnel were hampering progress.

Lt-Gen Tumrongsak said if TMAC received 500 million baht a year for the operation, it could likely meet the new deadline. Currently, it gets only 40 million baht a year.

Foreign deputy permanent secretary Norachit Singhaseni told the prince that many mined areas were sensitive spots near Cambodia where the border is still not properly demarcated.

Thailand signed the Convention on the Prohibition of the Use, Stockpiling, Production and Transfer of Anti-Personnel Mines and on their Destruction in Ottawa on Dec 3, 1997. Thailand deposited its ratification instrument at the United Nations on Nov 27, 1998, the first nation in Southeast Asia to do so.

------------------------------------------------------

Major. Sirichai Sapsiri

Persident APDI.

www.waddeeja.com

www.youtube.com/apdi

Tel. 622-990-0331

0905512144

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-09 21:33:07 IP : 124.121.77.84


ความคิดเห็นที่ 4 (2525065)

 

นโยบายเรื่องการห้ามทุ่นระเบิด

ราชอาณาจักรไทยลงนามในอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 และได้ให้สัตยาบันในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 ไทยจึงเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้สัตยาบัน อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดเริ่มมีผลบังคับใช้สำหรับไทยในวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 ในระยะแรก ไทยไม่สู้เต็มใจที่จะรับรองกระบวนการอนุสัญญาออตตาวา โดยเลือกที่จะเป็นผู้สังเกตการณ์ในการเจรจาครั้งต่าง ๆ หลังจากลงนามแล้ว ไทยได้สนับสนุนการห้ามทุ่นระเบิดในระดับนานาชาติ และโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างกระตือรือร้น

ไทยยังไม่ได้บัญญัติกฎหมายท้องถิ่นเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด แต่ก็ได้จัดเตรียม ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องการควบคุมการปฏิบัติตามอนุสัญญา ดูเหมือนว่าร่างฉบับดังกล่าวจะถูกนำมาใช้เพื่อการแก้ไขกฎระเบียบที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ โดยมีกองบัญชาการทหารสูงสุด (สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นฝ่ายผลักดัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงความหวังว่าร่างระเบียบฉบับนี้จะแล้วเสร็จทันการประชุมทบทวนกระบวนการอนุสัญญาฯ ที่กรุงไนโรบีในเดือนพฤศจิกายน 2547

ไทยประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐภาคีฯ ครั้งที่ 5 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน 2546 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คนจาก 119 ประเทศ ในจำนวนนี้รวมถึงรัฐภาคี 91 รัฐและรัฐที่ยังไม่ได้เป็นภาคี 28 รัฐ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนกว่า 200 คนจาก 65 ประเทศเข้าร่วมด้วย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุม เจ้าหญิงแอสทริดแห่งเบลเยี่ยมทรงมีพระราชดำรัส รองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กล่าวรายงานในฐานะเจ้าภาพ ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับเลือกให้เป็นประธานในที่ประชุม สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ให้ความสนใจรายงานข่าวเกี่ยวกับพิธีการและการประชุมตลอดสัปดาห์อย่างกว้างขวาง

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1205510929

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-12 09:19:04 IP : 124.121.135.122


ความคิดเห็นที่ 5 (2552680)

 

  (3)

ผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 นี้ด้วยความกระตือรือร้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวในพิธีปิดว่า การประชุมครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญแก่ชะตากรรมของเหยื่อและผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดด้วย เราต้องการเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในด้านการระดมทรัพยากรเพิ่มสำหรับปฏิบัติการทุ่นระเบิด รวมทั้งการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เราขอย้ำความจริงที่ว่าปฏิบัติการทุ่นระเบิดมิใช่เป็นเพียงประเด็นมนุษยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องการพัฒนาด้วย.... จึงจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาในบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีเป็นประจำทุกปี และเข้าร่วมการประชุมระหว่างสมัยประชุมอย่างกระตือรือร้นทุกครั้ง รวมถึงการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์และมิถุนายน 2547 ที่ผ่านมา ไทยและนอร์เวย์ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานร่วมของคณะกรรมการประจำด้านสถานะทั่วไปและปฏิบัติการของอนุสัญญา ระหว่างเดือนกันยายน 2544 และกันยายน 2545 และเป็นผู้รายงานร่วมในปีก่อนหน้านี้ ไทยเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการหลายกลุ่ม ทั้งในเรื่องการสนับสนุนความเป็นสากลของอนุสัญญา รายงานความโปร่งใสตามมาตรา 7 และการระดมทรัพยากร ในปี 2547 ไทยเป็นผู้นำคณะทำงานการระดมทรัพยากรในการติดต่อเจรจากับธนาคารโลก

ไทยส่งมอบรายงานความโปร่งใสตามมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ ประจำปีปฏิทิน 2546 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2547 ในแบบฟอร์ม J ซึ่งเป็นรายงานตามความสมัครใจ มีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 ไทยจัดทำรายงานความโปร่งใสตามมาตรา 7 ไปแล้วรวม 6 ฉบับ

ไทยได้ลงคะแนนเสียงสนับสนุนทุกมติของสมัชชาแห่งสหประชาชาติเรื่องการห้ามทุ่นระเบิดตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา รวมทั้งมติหมายเลข 58/53 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2546 ในฐานะประธานการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 ไทยเป็นผู้สนับสนุนหลักของมตินี้ รวมถึงมติหมายเลข 57/74 ที่เรียกร้องความเป็นสากลและการปฏิบัติตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดอย่างสมบูรณ์ และมีการรับรองในเดือนพฤศจิกายน 2545

ในการเตรียมการประชุมทบทวนฯ ครั้งแรก ไทยได้กำหนดให้จัดการสัมมนาระดับภูมิภาคระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 1 กันยายน 2547 การสัมมนาครั้งนี้มีประเด็นหลักอยู่ที่การผนวกการกวาดล้างทุ่นระเบิดเข้ากับการพัฒนา และโครงการความร่วมมือในภูมิภาค ไทยยังได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องปฏิบัติการทุ่นระเบิดซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศจีน (เมษายน 2547) และกัมพูชา (มีนาคม 2546) ด้วย

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1305510745

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-13 07:34:39 IP : 124.121.136.162


ความคิดเห็นที่ 6 (2619595)

 

(4)

ไทยเป็นผู้นำรัฐภาคีต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการจัดตั้ง Bangkok Regional Action Group (BRAG) ในเดือนกันยายน 2545 โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการริเริ่มการห้ามทุ่นระเบิดในภูมิภาค อันเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 ในเดือนกันยายน 2546 ไทยเป็นเจ้าภาพจัด “การสัมมนาระดับภูมิภาคอาเซียนเรื่องปัญหาทุ่นระเบิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2545 มีการจัดประชุมระดับภูมิภาคเรื่องการช่วยเหลือเหยื่อทุ่นระเบิด ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2544 และไทยยังได้ร่วมสัมมนาเรื่องการทำลายทุ่นระเบิดในคลัง ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ในเดือนสิงหาคม 2544 อีกด้วย

ไทยไม่ได้ร่วมในการประชุมหารือต่าง ๆ ที่บรรดารัฐภาคีจัดขึ้นเพื่อตีความมาตรา 1, 2 และ 3 ของอนุสัญญาฯ ดังนั้น ไทยจึงยังไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการปฏิบัติการร่วมทางทหารกับรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคี ทุ่นระเบิดต่อต้านยานยนต์ที่ติดตั้งชนวนไวหรืออุปกรณ์ป้องกันการเก็บกู้ และจำนวนทุ่นระเบิดที่อนุญาตให้เก็บไว้เพื่อการฝึกอบรมได้

คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด (TCBL) ซึ่งประกอบด้วยองค์กรเอกชน 11 องค์กร มีบทบาทในการรณรงค์ห้ามทุ่นระเบิดและช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด  คณะทำงานไทยฯ ร่วมงานกับรัฐบาลในการจัดการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 โดยร่วมเป็นสมาชิกในคณะกรรมการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่มี ศทช. เป็นประธาน คณะทำงานไทยฯ ได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ของการประชุม จัดนิทรรศการ กิจกรรมข้างเคียง และจัดเตรียมส่วนหนึ่งของพิธีเปิดการประชุมฯ

ก่อนหน้าการประชุมรัฐภาคี คณะทำงานไทยฯ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ทั่วประเทศ ในเดือนเมษายน 2546 ซึ่งรัฐบาลทำลายทุ่นระเบิดชุดสุดท้ายในคลัง มีการจัดโครงการขี่จักรยานรณรงค์จากกรุงเทพฯ ถึงลพบุรี โดยมีผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดเข้าร่วมจำนวน 40 คน  มีการพิมพ์มือบนป้ายผ้าใน “โครงการแสนมือร่วมใจต้านภัยทุ่นระเบิด” ตลอดระยะเวลา 6 เดือนทั่วประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2546 บรรดานักการทูต ศิลปินดารา แขกผู้มีเกียรติและผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดได้ร่วมพิมพ์มือบนป้ายผ้า ในงานเลี้ยงรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังได้นำนิทรรศการเคลื่อนที่ “ประชาคมโลก ร่วมมือร่วมใจ ต้านภัยทุ่นระเบิด” ไปจัดแสดงภายในบริเวณมหาวิทยาลัย สวนสาธารณะ ตลอดจนห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2546 มีการจัด “Ban Landmines Fair” ที่สวนสาธารณะวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ในกรุงเทพฯ คณะทำงานไทยฯ ได้จัดแปลและพิมพ์เอกสารรายงานสถานการณ์ทุ่นระเบิดในประเทศไทย พร้อมกับแจกจ่ายให้กับข้าราชการและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง นอกจากนั้น ยังได้นำเสนอรายงานฉบับแปลนี้แก่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีขณะเข้าเยี่ยมคารวะที่ทำเนียบรัฐบาลอีกด้วย ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดการสัมมนาในหัวข้อ “APMs — Are They Worth It?” ในวันที่ 21-22 สิงหาคม 2547 ที่กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 50 คน ประกอบด้วยผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด สื่อมวลชนต่าง ๆ นักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนจาก 12 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในจำนวนนี้ ยังรวมถึงผู้แทนประเทศที่ยังไม่เป็นภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดจากบรูไน เมียนมาร์ ลาว สิงคโปร์ และเวียดนาม ด้วย

ในเดือนมกราคม 2547 องค์การสันติวิธีสากลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (NI-SEA) เผยแพร่เอกสารเรื่อง “อาเซียนกับการห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล...ครึ่งทศวรรษหลังจากออตตาวา” ในรูปแบบหนังสือ 32 หน้า บรรจุเนื้อหารายงานการติดตามสถานการณ์ทุ่นระเบิด (Landmine Monitor) ระหว่างปี 2542 – 2546 นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา NI-SEA จัดพิมพ์รายงานการวิจัยสถานการณ์ทุ่นระเบิดของภูมิภาคเป็นประจำทุกปี รวมถึงรายงาน “อาเซียนกับการห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล” ประจำปี 2546 ซึ่งประกอบด้วยบทวิเคราะห์แนวโน้มของการปฏิบัติตามพันธกรณีและปฏิบัติการทุ่นระเบิดภายในภูมิภาค

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1505510842

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-15 08:31:08 IP : 124.121.138.155


ความคิดเห็นที่ 7 (2664691)

 

(5)

การผลิต การโอน และการใช้

ไทยระบุว่าไม่เคยผลิตทุ่นระเบิดสังหารบุคคล  รวมทั้งทุ่นระเบิดแบบอโลหะ M18 (เคลย์โมร์) ในอดีต ดูเหมือนว่าไทยเคยนำเข้าทุ่นระเบิดสังหารบุคคลจากสหรัฐอเมริกา อิตาลี จีน และอดีตยูโกสลาเวีย 

รัฐบาลไทยไม่เคยส่งออกทุ่นระเบิดสังหารบุคคล อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 มีการรายงานข่าวการค้าอย่างผิดกฎหมายหลายครั้ง  คดีข้าราชการกองทัพบกไทย 2 นาย พยายามลักลอบส่งออกทุ่นระเบิดอย่างผิดกฎหมายที่เกิดขึ้น ในเดือนเมษายน ปี 2544 ยังคงรอขึ้นศาลทหารอยู่ในปัจจุบัน  และยังมีกรณีข้อกล่าวหาต่าง ๆ ในเรื่องการขายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลโดยนักธุรกิจไทย และนายทหารระดับผู้บัญชาการให้กับกลุ่มกบฏชาวพม่าในปี 2544 ด้วย 

ไม่ปรากฏหลักฐานต่อข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นตามรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ Phnom Penh Post ของกัมพูชา ในเดือนพฤศจิกายน 2545 ที่ว่าผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวกัมพูชาเสียชีวิตจากการเหยียบทุ่นระเบิด หรือที่ว่าตำรวจตระเวนชายแดนของไทยวางทุ่นระเบิดดักไว้  ในอดีต กองกำลังทหารไทยได้วางทุ่นระเบิดตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชาเพื่อป้องกันการแทรกซึมของกองกำลังทหารเวียดนาม ทั้งในเขตชายแดนพม่า ลาว และมาเลเซีย ก็เคยมีการใช้ทุ่นระเบิดเช่นกัน

ไทยกล่าวหาว่ากองทหารพม่าวางทุ่นระเบิดในฝั่งไทยในปี 2544 ความไม่พอใจกันระหว่าง 2 ประเทศในกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต มีความรุนแรงยิ่งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 กองกำลังทหารพม่าและกองทัพว้า ต่างถูกกล่าวหาว่าได้วางฝังทุ่นระเบิดในพื้นที่ดังกล่าวในอีกไม่กี่เดือนต่อมา รัฐบาลไทยได้ร้องเรียนถึงปัญหาการวางทุ่นระเบิดโดยเมียนมาร์ในหลายโอกาส

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1605511934

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-16 19:23:40 IP : 124.121.135.199


ความคิดเห็นที่ 8 (2675959)

(6)

 

การสะสมในคลังและการทำลาย

ไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในคลังสะสมหมดสิ้นไปเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ไทยเคยมีทุ่นระเบิดสะสมในคลังจำนวนรวม 342,695 ทุ่น ระหว่างปี 2542-2546 มีการทำลายทั้งสิ้น 337,725 ทุ่น ยอดงบประมาณที่ใช้เพื่อการทำลายทุ่นระเบิดคือ 3,221,957 บาท หรือ 77,517 ดอลล่าร์สหรัฐฯ  หรือน้อยกว่า 10 บาทต่อทุ่น (0.24 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ) โดยมีรัฐบาลไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด

ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลรวม 4,970 ทุ่นถูกสงวนไว้เพื่อการฝึกอบรมและการค้นคว้าวิจัย ตามที่มาตรา 3 ของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดอนุญาต ในระยะแรก ไทยเสนอที่จะเก็บทุ่นระเบิดไว้ในจำนวน 9,487 ทุ่น หากแต่ได้ตัดสินใจลดจำนวนลงในเดือนพฤศจิกายน 2544 หน่วยงานที่รับผิดชอบทุ่นระเบิดที่สงวนไว้ได้แก่ กองทัพบก (3,000 ทุ่น), กองทัพเรือ (1,000 ทุ่น), กองทัพอากาศ (600 ทุ่น) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน (370 ทุ่น) ศทช. ระบุว่าไม่มีการนำทุ่นระเบิดที่สงวนไว้ในคลังมาใช้ แต่มีการนำมาเป็นตัวอย่างในการฝึกอบรม 

ไทยได้รายงานในเดือนพฤศจิกายน 2542 ว่า มีทุ่นระเบิดแบบอโลหะ (เคลย์โมร์) M18 และ M18A1 รวมจำนวน 6,117 ทุ่นในบัญชีครอบครอง ในปี 2547 ไทยได้ยืนยันว่าทุกหน่วยงานได้รับทราบแล้วว่าระเบิดเคลย์โมร์จะถูกใช้ได้เฉพาะเมื่อมีการควบคุมการจุดระเบิดด้วยมือเท่านั้น ไทยไม่ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับระเบิดเคลย์โมร์ในคลังสะสมในรายงานความโปร่งใสตามมาตรา 7

ในช่วงเวลานิรโทษกรรมอาวุธเถื่อน ระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม - 15 ธันวาคม 2546 มีผู้ครอบครองนำทุ่นระเบิดสังหารบุคคลไม่ทราบจำนวน (รวมทั้ง M14, M26 และเคลย์โมร์) ส่งมอบให้ทางราชการ สาธารณชนยังไม่ได้รับทราบประกาศรายละเอียดของจำนวนและผู้ครอบครองอาวุธเหล่านี้ เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานิรโทษกรรมแล้ว มีการตรวจพบทุ่นระเบิดในคลอง แม่น้ำ และใจกลางเทศบาลเมืองของบางจังหวัด เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบจะเป็นผู้ทำลายทุ่นระเบิดผิดกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าไทยได้รายงานการทำลายทุ่นระเบิดที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ในรายงานความโปร่งใสตามมาตรา 7 ในเดือนพฤษภาคม 2547

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1705510849

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-17 08:38:55 IP : 124.121.135.203


ความคิดเห็นที่ 9 (2774435)

(7)

 

ปัญหาทุ่นระเบิด การสำรวจ และการประเมินสถานการณ์

ไทยได้รับทราบสภาพปัญหาทุ่นระเบิดของตนอย่างชัดเจนขึ้นมากในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2542 ซึ่งอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดมีผลบังคับใช้ อันเป็นผลจากการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม 2543 และพฤษภาคม 2544  ผลการสำรวจระบุว่า จำนวนพื้นที่ต้องสงสัยว่าจะมีทุ่นระเบิดฝังอยู่นั้นมีมากเป็น 3 เท่า ของจำนวนที่ได้ประมาณไว้ก่อนหน้านี้  มีหมู่บ้านตามชายแดนกัมพูชา, ลาว, พม่า และมาเลเซีย ที่ได้รับผลกระทบจำนวน 531 หมู่บ้าน ใน 27 จังหวัด หนึ่งในสามของพื้นที่อยู่ที่ชายแดนติดกัมพูชา พื้นที่ต้องสงสัยส่วนใหญ่ จากจำนวน 934 แปลงไม่มีป้ายเตือนภัยติดตั้งอยู่ ยกเว้นในบริเวณที่อยู่ในระหว่างการเก็บกู้  หน่วยทหารมีแผนที่เฉพาะพื้นที่เสี่ยงบางแห่งเท่านั้น ชาวบ้านทั่วไปจำนวนมากยังคงเสี่ยงภัยเมื่อเข้าไปหาอาหาร เก็บฟืนและทำการเกษตรในพื้นที่เหล่านี้ แม้ทราบดีว่ามีทุ่นระเบิด เนื่องจากขาดโอกาสทางการอาชีพและแหล่งรายได้อื่น ๆ

เอกสารรายงานการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดได้รับการเผยแพร่ในไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2545  ขณะนี้มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ศทช. และมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รายงานว่าได้ดำเนินการสำรวจทางเทคนิคก่อนเริ่มปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดทุกครั้ง เพื่ออธิบายข้อมูลจากการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ศทช. มีแผนสำหรับการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดขั้นที่ 2 หรือที่เรียกว่าการสำรวจทางเทคนิค เพื่อติดตามผลของผลการสำรวจขั้นที่ 1 ในปี 2544 โดยมีเป้าหมายเพื่อ “ระบุพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2005510841

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-20 08:30:23 IP : 124.121.139.44


ความคิดเห็นที่ 10 (2784906)

(8)

 ระบบปฏิบัติการฐานข้อมูลเพื่อปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (IMSMA) ได้รับการติดตั้งที่ ศทช. เมื่อต้นปี 2544 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเพื่อติดตั้งและจัดการระบบดังกล่าว ฐานข้อมูลนี้ได้ผนวกข้อมูลจากการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดไว้ด้วย และมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ในปี 2547 ศทช. อยู่ในระหว่างปรับปรุงระบบ IMSMA ให้มีคุณสมบัติเท่าเทียมกับระบบใหม่ในชุด (เวอร์ชั่น) 2.2 ก่อนหน้านี้ เมื่อต้นปี นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในปี 2543 มีปริมาณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ผ่านการกวาดล้าง ในการประชุมระหว่างสมัยประชุมในเดือนพฤษภาคม 2546 ไทยระบุว่า ไม่สามารถดำเนินการกวาดล้างทุ่นระเบิดให้หมดสิ้นภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ตามที่มาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ กำหนดไว้ได้  ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 รองนายกรัฐมนตรีกล่าวรับรองกับคณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด ว่าไทยจะปฏิบัติตามพันธกรณีเพื่อให้ไทยปลอดจากทุ่นระเบิดได้  อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏกำหนดการและแผนงานที่จะทำให้บรรลุผลดังกล่าวได้ ในเดือนมีนาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในการประชุมนานาชาติว่า ไทยมีความมุ่งมั่นในการเร่งรัดปฏิบัติการทุ่นระเบิดภายในประเทศ  ในเดือนมิถุนายน 2547 ไทยได้กล่าวย้ำอีกครั้งว่าปริมาณพื้นที่ที่ปนเปื้อนด้วยทุ่นระเบิดนั้น จะทำให้ ศทช. ต้องใช้ระยะเวลาในการกวาดล้างยาวนานกว่าที่ระบุในอนุสัญญา

2543 ศทช. ได้จัดทำฐานข้อมูลและติดตั้งระบบเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง ศทช. กับหน่วยกวาดล้างทุ่นระเบิดต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนและงบประมาณจาก UNDP และสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลจาก ศทช. ระบุว่า IMSMA มีข้อจำกัดในการระบบปฏิบัติงาน สืบเนื่องจากการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เป็นประจำทุกปี บุคลากรที่ผ่านการอบรมแล้วถูกโอนไปยังหน่วยงานอื่น และการที่หน่วยราชการไม่สามารถว่าจ้างเอกชนมาจัดการระบบ ทำให้มีข้อมูลตกค้างอยู่มาก ศทช. ได้ร้องขอให้กรมการสนเทศทหาร ซึ่งรับผิดชอบงานด้านสารสนเทศของกองบัญชาการทหารสูงสุด รับช่วงดำเนินการเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลกลางของ IMSMA ให้เป็นปัจจุบัน

นอกเหนือจากระบบ IMSMA แล้ว การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการทุ่นระเบิดและผู้ประสบภัยยังคงไม่มีความต่อเนื่องหรือเพียงพอ เนื่องจาก ศทช. อาศัยเพียงข้อมูลการรายงานจากหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (นปท.) ต่าง ๆ เท่านั้น ข้อมูลที่มีอยู่จึงไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิด และรายงานเกี่ยวกับผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดจึงไม่สมบูรณ์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-21 09:54:34 IP : 124.121.138.164


ความคิดเห็นที่ 11 (2784909)

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2105511008

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-21 09:55:59 IP : 124.121.138.164


ความคิดเห็นที่ 12 (2787115)

(9)

การประสานงานและการจัดทำแผนงาน

ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2542 โดยมีความรับผิดชอบประสานงานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมระดับชาติ ศทช. เป็นหน่วยงานภายใต้กองบัญชาการทหารสูงสุด ศทช. ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลผ่านทางกองบัญชาการทหารสูงสุด ในปัจจุบัน ศทช. ยังไม่สามารถว่าจ้างพลเรือนได้โดยตรง แต่อยู่ในระหว่างการดำเนินการผ่านทางกองบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นองค์การมหาชน

เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานภายใน ศทช. ถูกมอบหมายจากต้นสังกัด ให้ปฏิบัติงานในระยะสั้น และผู้อำนวยการ ศทช. ให้สัมภาษณ์ว่าการสับเปลี่ยนบุคลากรเป็นประจำทุกปีไม่เอื้ออำนวยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาประสบการณ์ของตนในระดับสูงขึ้นได้ ผู้อำนวยการคนใหม่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 และได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2547

คณะกรรมการดำเนินงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในระดับชาติ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแลการปฏิบัติงาน ดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาล จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำงานในด้านต่าง ๆ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าคณะกรรมการชุดนี้ได้รับการแต่งตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 แต่มีการจัดประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2545 คณะกรรมการได้อนุมัติ แผนแม่บทการปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมของประเทศไทย ฉบับที่ 1 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2545

2549) ศทช. กล่าวในต้นปี 2547 ว่ามีความตั้งใจจะปรับปรุงแก้ไขแผนแม่บทอีกครั้งในอนาคตอันใกล้นี้ ศทช. ได้จัดประชุมขึ้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2547 โดยผู้เข้าร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้หารือกันในเรื่องดังกล่าว

ศทช. ให้ข้อมูลว่ายังมีการระดมทุนจากภายนอกประเทศเข้ามาเพื่อเร่งรัดการกวาดล้างทุ่นระเบิด ในขณะที่มีการร่วมมือกันจากหลายฝ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปฏิบัติการ แผนแม่บทการปฏิบัติการทุ่นระเบิดฉบับแก้ไขปรับปรุง ได้จัดลำดับความสำคัญโดยคำนึงถึงความต้องการของพลเรือน ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงโรงเรียน ศาสนสถาน พื้นที่การเกษตร และแหล่งน้ำ

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2205510801

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-22 07:50:38 IP : 124.121.135.242


ความคิดเห็นที่ 13 (2789188)

 

(11)

ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 มีการตรวจสอบพื้นที่ที่ผ่านการกวาดล้างแล้วจำนวน 227,209 ตารางเมตรที่กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งรวมถึงพื้นที่ทางการเกษตรที่ นปท.1 กวาดล้างจำนวน 94,360 ตารางเมตร และพื้นที่ที่ถูกกวาดล้างโดย JAHDS และมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อีก 132,849 ตารางเมตร[53]
นปท. 2 กวาดล้างพื้นที่ใกล้กับตลาดการค้าชายแดน แหล่งน้ำและเส้นทางชลประทาน นปท. 3 กวาดล้างพื้นที่ใกล้และรอบบริเวณทางหลวงและถนนสายเล็กหลายสาย ในปี 2547 นปท. 4 ได้ทำการกวาดล้างในพื้นที่โครงการหลวงจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งหนึ่ง และยังได้กวาดล้างพื้นที่เพื่อการผลิตทางการเกษตรที่เขาค้อด้วย[54]
นอกเหนือจากข้อมูลเรื่องการกวาดล้างทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมข้างต้นแล้ว ทีมกวาดล้างทุ่นระเบิด 2 ทีม ได้เก็บกู้สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิดและทุ่นระเบิด หลังเกิดกรณีคลังแสงของกองทัพบกที่หนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระเบิดครั้งใหญ่ โดยได้ร่วมกันปฏิบัติการภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดที่คลังแสงระเบิด ในระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 20 ธันวาคม 2544[55] ปฏิบัติการเก็บกู้ฉุกเฉินครั้งนี้ สามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้น 4,125,350 ตารางเมตร[56] การระเบิดครั้งดังกล่าวได้ทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในคลังสะสมของไทยจำนวน 48,688 ทุ่น
โครงสร้างของ ศทช. ประกอบด้วยศูนย์บัญชาการที่กรุงเทพฯ ศูนย์ฝึกอบรมการปฏิบัติการตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม จ.ราชบุรี ศูนย์ฝึกอบรมการปฏิบัติการแจ้งเตือน ให้ความรู้และหาข่าว จ.ลพบุรี และศูนย์ฝึกสุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิดและผู้บังคับสุนัข จ.นครราชสีมา มีการจัดตั้งและฝึกอบรมบุคลากรของ นปท. 1, 2 และ 3 ในปี 2542 และ 2543 ส่วน นปท. 4 ถูกจัดตั้งในปี 2545 แผนการจัดตั้ง นปท. 5 ไม่เป็นไปตามกำหนดโดยมีสาเหตุส่วนใหญ่สืบเนื่องจากการขาดงบประมาณสนับสนุน[57]
ในปี 2546 ศทช. เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่จากเดิม 311 คน เป็น 451 คน โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บัญชาการ 40 คน ศูนย์ฝึกอบรมการปฏิบัติการตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม 32 คน ศูนย์ฝึกอบรมการปฏิบัติการแจ้งเตือน ให้ความรู้และหาข่าว 11 คน ศูนย์ฝึกสุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิดและผู้บังคับสุนัข 15 คน สำหรับ นปท. 1, 2 และ 3 มีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยละ 99 คน และ นปท. 4 มีเจ้าหน้าที่ 56 คน ศทช. มีสุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิด 26 ตัว เครื่องจักรกล 4 เครื่อง (SDDTs 2 เครื่อง Tempest T-10 1 เครื่อง และ BDM-48 1 เครื่อง) เครื่องตรวจค้นระเบิด “Vallon 21” 83 เครื่อง และเครื่องตรวจค้นระเบิด “Mine Lap” 34 เครื่อง[58]

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2305510649
 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-23 06:41:56 IP : 124.121.138.96


ความคิดเห็นที่ 14 (2791505)

 

การเก็บกู้กวาดล้างทุ่นระเบิด

ในปี 2546 ศทช. เก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่รวม 718,910 ตารางเมตร หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (นปท.) ของ ศทช. ได้เก็บกู้ในพื้นที่ทั้งสิ้น 311,438 ตารางเมตร และทีมพลเรือนโดยมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และองค์กรพันธมิตรแห่งญี่ปุ่นเพื่อการสนับสนุนด้านการกวาดล้างทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Japan Alliance for Hu***rian Demining Support - JAHDS) เก็บกู้ได้พื้นที่ 407,472 ตารางเมตร เมื่อนับรวมกันแล้ว ทั้งสองหน่วยงานได้ตรวจพบและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลจำนวน 148 ทุ่น ทุ่นระเบิดต้านรถถัง 1 ทุ่น และสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด 86 ลูก ปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิดดังกล่าว ถือเป็นครั้งแรกของมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณและ JAHDS โดยก่อนหน้านี้เป็นการให้ทุนเพื่อปฏิบัติการทุ่นระเบิด ในช่วงเดือนมกราคม พฤษภาคม 2547 ศทช. ได้กวาดล้างทุ่นระเบิดในพื้นที่อีก 478,890 ตารางเมตร พบทุ่นระเบิดสังหารบุคคล 95 ทุ่น ทุ่นระเบิดต้านรถถัง 5 ทุ่น และสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด 93 ลูก

นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในปี 2543 จนถึง ปี 2546 มีพื้นที่ที่กวาดล้างแล้วทั้งสิ้น 1,162,236 ตารางเมตร ในขณะที่มีปริมาณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ผ่านการกวาดล้าง แต่สังเกตได้ชัดว่าระยะก้าวในปฏิบัติการมีความคืบหน้า ตัวเลขของ ศทช. ระบุว่า ในปี 2543 กวาดล้างพื้นที่ได้ 22,400 ตารางเมตร ปี 2544 ได้ 22,400 ตารางเมตร ปี 2545 ได้ 398,526 ตารางเมตร และในปี 2546 ได้ 718,910 ตารางเมตร หากตัวเลขสำหรับเดือนมกราคม พฤษภาคม คงที่ คาดว่าในปี 2547 จะกวาดล้างได้ 1,149,336 ตารางเมตร

ในวันที่ 23 มกราคม 2547 มีการส่งมอบพื้นที่กว่า 400,000 ตารางเมตรรอบ ๆ ปราสาทสด็กก๊อกธมให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว โดยมีพลเอกวีระชัย เอี่ยมสะอาด เป็นประธานในพิธีปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิดเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม 2545 โดยความร่วมมือระหว่าง นปท.1 มูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ JAHDS ทีมพลเรือนเก็บกู้ระเบิดทีมแรก ซึ่งเข้าร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ JAHDS

ศทช. ให้การฝึกอบรมพลเรือนเก็บกู้ทุ่นระเบิดจำนวน 14 คนในปี 2544 จากนั้นในเดือนมีนาคม 2545 พลเรือนชุดนี้ได้เข้าร่วมการสำรวจในพื้นที่กิ่งอำเภอโคกสูง จ.สระแก้ว และได้เริ่มการปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิดเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2546 ที่ปราสาทสด็กก๊อกธม จ.สระแก้ว ศทช. ไม่สามารถจัดฝึกพลเรือนเพิ่มขึ้นอีก 2 ชุดตามเป้าหมายได้ เนื่องจากขาดงบประมาณ

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2405510744

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-24 07:31:45 IP : 124.121.138.23


ความคิดเห็นที่ 15 (2793968)

(12)

 

 

การให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิด

ในปี 2546 นปท. ทั้ง 4 หน่วย และองค์กรพัฒนาเอกชน 2 องค์กร คือ องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล- ประเทศไทย (HI) และ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดตลอดแนวชายแดนไทยฝั่งตะวันออก ตะวันตก และเหนือ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 170,890 คน ผ่านทาง นปท. 169,461 คน ผ่านทาง HI 1,079 คน และผ่านทาง ADPC 350 คน

จากข้อมูลที่ได้รายงานใน Landmine Monitor ฉบับก่อนหน้านี้ มีประชากรรวม 370,000 คน ได้รับการอบรมความรู้เรื่องภัยจากทุ่นระเบิดระหว่างปี 2543 2546

ก่อนปี 2542 รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องภัยทุ่นระเบิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด ได้จัดโครงการหลายโครงการในระหว่างปี 2540 2543 ตามอาณัติที่มีอยู่ ศทช. ได้เริ่มฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในเดือนสิงหาคม 2542 และโครงการแจ้งเตือน-ให้ความรู้จากภัยทุ่นระเบิดก็เริ่มต้นขึ้นในอีกหนึ่งปีต่อมา โดยระหว่างเดือนสิงหาคม 2543 2545 ศทช. สามารถเข้าถึงชุมชน 248 แห่ง ซึ่งมีประชากรรวม 185,888 คนในปี 2546 นปท. จัดการอบรมให้แก่ประชากร 169,461 คนจาก 87 ชุมชนใน 9 จังหวัด

ADPC ซึ่งเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมระดับนานาชาติ ได้จัดการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและครูตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ในปี 2546 ADCP จัดการอบรมเรื่อง โครงการอบรมความรู้เรื่องภัยจากทุ่นระเบิดในชุมชนที่ได้รับผลกระทบสูง ในสามจังหวัดคือ จังหวัดสุรินทร์ (17-18 พฤศจิกายน) จังหวัดศรีสะเกษ (20-21 พฤศจิกายน) และจังหวัดเชียงราย (11-12 ธันวาคม) มีผู้นำชุมชนจำนวน 302 คน เข้าร่วมโครงการ มีการจัดพิมพ์หนังสือเล่มเล็กเรื่องความรู้เรื่องทุ่นระเบิดและการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากทุ่นระเบิดนับพันเล่มและแจกจ่ายให้แก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยทุ่นระเบิด ในวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2547 ADPC ได้จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องภัยจากทุ่นระเบิดให้แก่เจ้าหน้าที่และครู 48 คนที่กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ADPC อยู่ในระหว่างการเตรียมการเพื่อจัดการฝึกอบรมให้แก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบสูงตลอดแนวชายแดนไทยพม่า ในระหว่างเดือนมีนาคม 2547-มีนาคม 2548 โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เป้าหมายของโครงการได้แก่ ครู นักเรียน และครอบครัวของเด็กนักเรียน ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา มีผู้ผ่านการอบรมจาก ADPC จำนวนทั้งสิ้น 1,590 คน

* * * * * * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2505510921

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-25 09:09:30 IP : 124.121.138.44


ความคิดเห็นที่ 16 (2795755)

  (13)

ในปี 2546 องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (HI) ได้จัดโครงการฝึกอบรม 3 ครั้ง มีผู้เข้ารับการอบรมรวม 1,079 คน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2546 ถึง เมษายน 2547 HI ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแห่งสหภาพยุโรป (ECHO) ในการจัด โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสัญชาติพม่าเพื่อให้พึ่งพาตนเองในด้านการให้ความรู้เรื่องทุ่นระเบิดและการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วนของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในค่ายผู้ลี้ภัยตลอดแนวชายแดนไทย-พม่า ทั้งในเขตจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน ราชบุรี และกาญจนบุรี โครงการในลักษณะเดียวกันนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ในปี 2546 กลุ่มเป้าหมายได้แก่บุคลากรที่เป็นผู้ลี้ภัยและหัวหน้าค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 8 ค่าย ในจังหวัดตาก (แม่หละ อุ้มเ***ยม นุโพ) แม่ฮ่องสอน (ปาง*** แม่ลามาหลวง แม่กองคา) และราชบุรี (ถ้ำหิน) และกาญจนบุรี (ดอนยาง)

ในระหว่างเดือนกันยายน 2546 กุมภาพันธ์ 2547 HI จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดแก่เด็ก ๆ และได้แจกหนังสือการ์ตูนเรื่อง จดหมายจากเพื่อนชายแดนฉบับภาษาไทยจำนวน 1,500 เล่ม และภาษาอังกฤษ 1,000 เล่ม ในการจัดกิจกรรม “No Mine Day” ในปลายเดือนพฤศจิกายน HI ได้แจกเสื้อและร่มที่มีข้อความให้ความรู้เรื่องทุ่นระเบิด เด็กนักเรียนได้รับแจกโปสเตอร์และแผ่นพับ ในปี 2546 ได้แจกจ่ายโปสเตอร์จำนวน 1,430 แผ่น และแผ่นพับ 3,355 แผ่นในเดือนมีนาคม 2546 HI ได้ยุติโครงการการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยชุมชนในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ในเดือนเดียวกันการสำรวจจำนวนผู้ประสบภัยในโรงพยาบาลอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้สิ้นสุดลงหลังจากดำเนินการครบ 2 ปี ในระหว่างปี 2543 2546 HI ได้ให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดแก่กลุ่มเป้าหมาย รวมจำนวน 25,290 คน

ในระหว่างเดือนเมษายน 2544 ถึงมีนาคม 2545 สำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ได้ให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดแก่นักเรียนจำนวน 1,500 คน

ไทยได้รายงานกิจกรรมการแจ้งเตือน-ให้ความรู้เรื่องทุ่นระเบิดของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในรายงานความโปร่งใสตามมาตรา 7 ส่งมอบเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2547, 22 กรกฎาคม 2546 และ 30 เมษายน 2544

* * * * * * * * * * * * * * * * *

 

 

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2605510734

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-26 07:21:53 IP : 124.121.135.136


ความคิดเห็นที่ 17 (2798591)

(14)

 

 ความช่วยเหลือและทุนสนับสนุนในปฏิบัติการทุ่นระเบิด

ในปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 กันยายน 2547) ศทช. ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 38.8 ล้านบาท (933,489 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) สำหรับปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม

รัฐบาลไทยจัดสรรงบประมาณสำหรับ ศทช. ในปี 2546 จำนวน 35 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 32 ล้านบาท ปี 2544 จำนวน 40 ล้านบาท ปี 2543 จำนวน 16.4 ล้านบาท และกองบัญชาการทหารสูงสุดจัดสรรเพิ่มเติมให้อีก 1.6 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2543

รัฐบาลไทยใช้จ่ายงบประมาณจำนวน 7,349,500 บาท (176,822 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 ในจำนวนดังกล่าวได้รวมถึงเงินประมาณ 6.9 ล้านบาท (166,007 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) ที่ ศทช. ได้รับผ่านกองบัญชาการทหารสูงสุดด้วย

จากข้อมูลที่ Landmine Monitor ได้รับ มีการบริจาคเงินจากนานาชาติเพื่อปฏิบัติการทุ่นระเบิดของไทยในปี 2546 ในมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งมีแหล่งที่มาคือประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา นอร์เวย์ ออสเตรเลีย สำนักงานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแห่งสหภาพยุโรป (ECHO) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และกองทุนเพื่อการพัฒนาเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)

สหรัฐอเมริกาเป็นผู้บริจาคเพื่อปฏิบัติการทุ่นระเบิดรายใหญ่ที่สุดสำหรับไทย โดยมียอดบริจาครวมประมาณ 13.6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นับแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป จะไม่ให้การสนับสนุนเป็นตัวเงินโดยตรง แต่ก็ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงินในมูลค่าประมาณ 70,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2547 เนื่องจาก ศทช. ยังคงใช้เครื่องจักรกล SDTT-48 (Pearson) และเครื่องกวาดล้างทุ่นระเบิด TEMPEST เพื่อเหตุผลด้านการวิจัยและพัฒนาภายใต้การอุปถัมภ์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นอกจากนั้น สหรัฐอเมริกายังได้ช่วยซ่อมบำรุงรถบรรทุกให้ ศทช. ด้วย ในปีงบประมาณ 2545 สหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนจำนวน 801,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ สนับสนุนการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ปีงบประมาณ 2544 สนับสนุน 1.77 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ปี 2543 สนับสนุน 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และในปี 2542 สนับสนุน 1.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

ศทช. รายงานว่ายอดรวมทุนสนับสนุนการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดระหว่างปี 2543-2544 มีจำนวน 1,655,075 ดอลล่าร์สหรัฐฯ บรรดาผู้สนับสนุนทุน ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ (450,518 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) สหราชอาณาจักร (449,700 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) สหรัฐอเมริกา (308,105 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) กองทุนแห่งสหประชาชาติ (154,052 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) ออสเตรเลีย (100,700 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) แคนาดา 100,000 (ดอลล่าร์สหรัฐฯ) และฟินแลนด์ 92,000 (ดอลล่าร์สหรัฐฯ)

นอกจากสหรัฐอเมริกาและการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดแล้ว ไทยยังไม่ได้รับทุนสนับสนุนใดใดในปริมาณมากจากนานาชาติเพื่อปฏิบัติการทุ่นระเบิด

ในปี 2546 รัฐบาลแคนาดาสนับสนุนทุนจำนวน 7,335 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่ ศทช./คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด เพื่อการจัดสัมมนาปฏิบัติการทุ่นระเบิดระดับอาเซียน อันเป็นการเตรียมการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 และยังได้สนับสนุนทุนจำนวน 7,280 ดอลล่าร์สหรัฐฯ แก่คณะทำงานรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดของฟิลิปปินส์ เพื่อการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับกลุ่มปฏิบัติการที่ไม่ใช่รัฐ ที่กรุงเทพฯ ในปี 2545 รัฐบาลแคนาดาบริจาคเครื่องจักรกลกวาดล้างทุ่นระเบิด PROMAC (BDM 48) และสารเคมีจุดระเบิด FIXOR ที่ผลิตในแคนาดา ในมูลค่าประมาณ 340,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่ นปท.1 อย่างเป็นทางการ แคนาดารายงานว่าทุนสนับสนุนปฏิบัติการทุ่นระเบิดที่ให้แก่ในไทยในปี 2544 มีมูลค่ารวม 295,972 ดอลล่าร์สหรัฐฯ

2705510820

* * * * * * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-27 08:09:00 IP : 124.121.137.122


ความคิดเห็นที่ 18 (2804053)

 

ญี่ปุ่นรายงานต่อ Landmine Monitor ว่าในปี 2546 ได้บริจาคเงินให้แก่องค์กรพันธมิตรแห่งญี่ปุ่นเพื่อการสนับสนุนด้านการกวาดล้างทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (JAHDS) จำนวน 77.7 ล้านเยน (637,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) สำหรับการกวาดล้างทุ่นระเบิดในไทย ญี่ปุ่นรายงานต่อสหประชาชาติว่าได้สนับสนุนปฏิบัติการทุ่นระเบิดในไทย ด้วยทุนจำนวน 436,187 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2545 และ 476,081 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2542 ศทช. ระบุว่า ญี่ปุ่นได้จัดสรรทุนจำนวน 400,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่ไทยในปี 2543 ผ่านทางกองทุนอิสระแห่งสหประชาชาติเพื่อปฏิบัติการทุ่นระเบิด แต่ไทยสามารถนำทุนดังกล่าวมาใช้ได้ในช่วงปี 2545

ในปี 2546 นอร์เวย์บริจาคทุนจำนวน 252,000 โครนนอร์เวย์ (35,582 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของคณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด ในการจัดเตรียมการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 5 โดยได้มอบให้แก่องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย (JRS) จำนวน 150,000 โครนนอร์เวย์ และศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) จำนวน 102,000 โครนนอร์เวย์ นอกจากนั้น นอร์เวย์ยังได้มอบทุนจำนวน 460,*** ให้แก่ ADPC เพื่อสนับสนุนการจัดโครงการให้ความรู้เรื่องภัยจากทุ่นระเบิด นอร์เวย์รายงานต่อสหประชาชาติว่า ได้ให้ทุนสนับสนุนปฏิบัติการทุ่นระเบิดในไทยเป็นจำนวน 80,111 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2544 และ 375,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2542

ในปี 2546 ADPC ได้รับเงินสนับสนุนจาก UNICEF จำนวน 40,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ในโครงการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดบริเวณแนวชายแดนไทย-พม่า และได้รับอีก 30,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ จากออสเตรเลีย แคนาดา นอร์เวย์ และ UNICEF สำหรับจัดการสัมมนาระดับภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ

องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล-ประเทศไทย (HI) ได้รับงบประมาณจากสำนักงานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแห่งสหภาพยุโรป (ECHO) จำนวน 200,000 ยูโร (226,300 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) เพื่อสนับสนุน โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสัญชาติพม่าเพื่อให้พึ่งตนเองในเรื่องการให้ความรู้เรื่องทุ่นระเบิดและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในค่ายผู้ลี้ภัย 8 แห่งใน 4 จังหวัด ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2546 เมษายน 2547 และได้รับทุนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จำนวน 142,212 ดอลล่าร์สหรัฐฯ เพื่อใช้สำหรับโครงการเดียวกันในปี 2546 นอกจากนี้ คณะผู้แทนถาวรไทยแห่งสหประชาชาติและกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้สนับสนุนทุนสำหรับการจัดพิมพ์หนังสือการ์ตูนเรื่อง จดหมายจากเพื่อนชายแดน และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดแก่นักเรียนในระหว่างเดือนกันยายน 2546 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นจำนวนรวม 6,325 ดอลล่าร์สหรัฐฯ

ในระหว่างปี 2546 มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้รับเงินบริจาคจากภายในประเทศจำนวน 18,000,*** (433,062 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) สำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ให้ทุนแก่นักเรียนที่เป็นทายาทของผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดในจังหวัดสระแก้ว และในปี 2546 ได้รับบริจาคเงินจำนวน 600,*** (14,435 ดอลล่าห์สหรัฐ) จากผู้บริจาคชาวไทยและจากมูลนิธิ Kinder Mission Work ประเทศเยอรมัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-29 07:52:27 IP : 124.121.138.148


ความคิดเห็นที่ 19 (2804057)

 

 * * * * * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2905510806

 

 


 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-29 07:54:23 IP : 124.121.138.148


ความคิดเห็นที่ 20 (2807876)

 

(16)

ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

ทุ่นระเบิด

ในปี 2546 นปท. 1 และ 3 ได้มีบันทึกจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดไว้ 29 ราย (เสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บ 25 ราย) ในบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาในจังหวัดสระแก้ว สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ และบริเวณชายแดนไทยลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจาก 19 คน ในปี 2545 ตามบันทึกข้อมูลที่ ศทช. จัดทำไว้ Landmine Monitor ได้ระบุว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากทุ่นระเบิดอีก 17 คนที่มาจากส่วนอื่นของประเทศในปี 2545 รวมทั้งผู้ประสบภัยชาวกัมพูชาอีก 3 คน ยังคงไม่มีกลไกเพื่อการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วประเทศ และ ณ เดือนมิถุนายน 2547 ระบบการรายงานของ นปท. เพื่อการจัดเก็บข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูล IMSMA ที่ ศทช. ติดตั้งไว้ ยังคงปฏิบัติการได้ไม่เต็มที่

การรายงานเรื่องผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากทุ่นระเบิดยังคงมีอย่างต่อเนื่องในปี 2547 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี ศทช. จัดเก็บข้อมูลผู้ประสบภัยรายใหม่ได้ 13 คน (ตาย 2 และบาดเจ็บ 11) จำนวนนี้ได้รวมถึงเจ้าหน้าที่ในหน่วยปักปันเขตแดนไทยที่เหยียบทุ่นระเบิด M 14 และได้รับบาดเจ็บที่เท้าขณะตรวจค้นทุ่นระเบิดใกล้บริเวณตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีทหารรายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย นอกจากนี้ ยังได้มีการรายงานว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 ชาวบ้าน 2 คนจากจังหวัดสระแก้วได้รับบาดเจ็บ ทำให้คนหนึ่งสูญเสียขาระดับเหนือเข่า 1 ข้าง และอีกคนหนึ่งกระดูกแขนหัก ในเดือนมิถุนายน ตำรวจ 4 นายได้รับบาดเจ็บจากทุ่นระเบิด 2 ทุ่น ขณะให้ความคุ้มครองแก่ครู ในระหว่างสถานการณ์ไม่สงบภายในที่จังหวัดนราธิวาสใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย

* * * * * * * * * * * * * * * *

3005511534

 

 

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-30 15:35:48 IP : 124.121.140.63


ความคิดเห็นที่ 21 (2809638)

(17)

 

 

มูลนิธิเพื่อนช้างระบุว่า มีช้างจำนวนอย่างน้อย 10 เชือกได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องจากเหยียบทุ่นระเบิด ในเดือนกรกฎาคม 2547 ช้าง 9 เชือกจากจำนวน 15 เชือกที่โรงพยาบาลช้างประสบภัยจากทุ่นระเบิด ช้างเชือกที่ถูกกล่าวถึงข้อมูลผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทุ่นระเบิดที่มีความครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ข้อมูลจากการสำรวจผลกระทบจากภัยทุ่นระเบิดในเดือนพฤษภาคม 2544 ผลการสำรวจระบุข้อมูลผู้ประสบภัย รายใหม่-ในช่วงไม่นานมานี้จำนวน 346 คน โดยมียอดรวมทั้งสิ้น 3,468 คน เสียชีวิต 1,497 คน และบาดเจ็บ 1,971 คน ซึ่งชี้ให้เห็นว่า จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากทุ่นระเบิดและสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด สูงกว่าสถิติที่มีก่อนหน้านี้ อุบัติเหตุที่ได้รับการบันทึกไว้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา กล่าวคือ มีผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดและสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด ในช่วงไม่นานมานี้ จำนวน 195 คน ส่วนใหญ่เป็นชาย (ร้อยละ 80) หญิง 10 คน และเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี 4 คน ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50) เป็นเกษตรกรหรือผู้ใช้แรงงานขณะประสบภัย โดยกิจกรรมที่ทำในขณะเกิดเหตุ รวมถึงการหาอาหาร น้ำ ไม้ฟืน หรือล่าสัตว์/ตกปลา (ร้อยละ 43) มีเพียง 50 คน (ร้อยละ 17) เท่านั้นที่เป็นทหาร และร้อยละ 14 อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ขณะประสบภัย

มีรายงานข่าวเกี่ยวกับช้างที่เหยียบทุ่นระเบิดปรากฏในสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 โมแม่ลู ช้างพังอายุ 28 ปี เหยียบทุ่นระเบิดใกล้ชายแดนพม่า ทำให้บาดเจ็บที่ขาหน้าข้างซ้าย และได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลช้าง จังหวัดลำปาง ข้อมูลจากอย่างกว้างขวางคือ โม่ตาลา ที่เหยียบทุ่นระเบิดในปี 2542 ขณะทำงานในป่าใกล้กับชายแดนด้านตะวันตก ในเขตจังหวัดตาก

----------------------------------

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

3105510848
 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-05-31 08:48:58 IP : 124.121.140.109


ความคิดเห็นที่ 22 (2812380)

(18)

 

การช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด

ไทยมีบริการด้านการแพทย์และการฟื้นฟูสมรรถภาพในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน รวมถึงสถานีอนามัย โดยมีทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพในเขตชนบท ในขณะที่ทุกอำเภอและหมู่บ้านมีบริการด้านการปฐมพยาบาล แต่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสและจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด จะถูกส่งต่อไปรับการรักษาในสถานพยาบาลระดับที่สูงขึ้นไปและมีอุปกรณ์พร้อมกว่า การรักษาด้านจิตวิทยาและการให้ความช่วยเหลือด้านสังคมยังไม่มีมากนัก โรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนบางแห่งมีแพทย์เฉพาะทางและมีหน่วยฟื้นฟูสมรรถภาพที่สามารถจัดทำขาเทียมและอุปกรณ์ช่วยเดินได้

โดยทั่วไป ผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ภัยทุ่นระเบิดส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับครอบครัวเกษตรกรที่ยากจนตามชายขอบสังคม ซึ่งขาดแคลนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดส่วนใหญ่ได้รับการดูแลจากครอบครัวและชุมชนของตนเอง

การสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดระบุว่า มีผู้ประสบภัย ในช่วงไม่นานมานี้จำนวน 279 รายที่ไม่ได้เสียชีวิตทันทีขณะประสบเหตุ 134 รายได้รับการดูแลรักษาฉุกเฉิน (ร้อยละ 48) และ 13 รายได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ (ร้อยละ 5) ในขณะที่ผู้รอดชีวิต 14 รายไม่ได้รับการดูแลใดใด (ร้อยละ5) ไม่มีผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดให้ข้อมูลว่าได้รับการฝึกอาชีพ

----------------------------------

 

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0106511009

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-06-01 10:10:40 IP : 124.121.141.82


ความคิดเห็นที่ 23 (2815276)

(19)

 

ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ศทช. ได้บรรจุกิจกรรมการช่วยเหลือเหยื่อทุ่นระเบิดไว้ในแผนปฏิบัติการทุ่นระเบิด มีการประสานการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดกับกระทรวงสาธารณสุข (การดูแลฉุกเฉิน) กระทรวงมหาดไทย (การฟื้นฟูสมรรถภาพ) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (การฝึกอาชีพ) และองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ในปี 2546 ศทช. ได้จัดหาอุปกรณ์เพื่อการประกอบอาชีพช่างตัดผมและช่างตัดเย็บเสื้อผ้าแก่ผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวน 25 รายจากจังหวัดต่าง ๆ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ในปี 2545 ให้การช่วยเหลือ 17 ราย และในปี 2544 ช่วยเหลือ 335 ราย ในปี 2546 ศทช. จัดการอบรม 2 ครั้ง เรื่องการช่วยเหลือเหยื่อทุ่นระเบิดและการให้ความรู้เรื่องการเสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ชาวบ้านจากจังหวัดสุรินทร์จำนวน 96 คน และจากจังหวัดศรีสะเกษจำนวน 98 คน ผ่านการอบรมดังกล่าว

ในช่วงต้นปี 2547 Landmine Monitor ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 30 ชุด จากที่ส่งให้โรงพยาบาลระดับอำเภอและโรงพยาบาลระดับภูมิภาคจำนวน 68 แห่งและรวมทั้งองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถระบุจำนวนที่ได้รักษาผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด เนื่องจากขาดระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดโดยเฉพาะ ในปี 2546 โรงพยาบาลรัฐบาล ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ และองค์กรพัฒนาเอกชน 18 แห่งรายงานว่าได้รักษาด้านการแพทย์และการช่วยเหลือเคลื่อนที่แก่ผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวน 582 คน

ในปี 2546 ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ได้ผลิตแขน-ขาเทียมจำนวน 2,350 ข้าง และแจกจ่ายไป 1,354 ข้าง ซึ่งมากกว่าในปี 2545 ที่แจกจ่ายไปเพียง 314 ข้าง และยังได้แจกเก้าอี้รถเข็น 1,289 คันและเครื่องช่วยพยุงเดิน 970 ชุด ระหว่างวันที่ 20-22 สิงหาคม 2546 ศูนย์สิรินธรได้จัดบริการหน่วยขาเทียมเคลื่อนที่เป็นกรณีพิเศษที่บริเวณชายแดนไทย-ลาว จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 4 รอบ (48 พรรษา) ผู้ที่มารับบริการ 162 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดแต่ไม่ได้มีการบันทึกสาเหตุความพิการ

มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดหน่วยขาเทียมเคลื่อนที่ให้บริการฟรีแก่ผู้พิการในจังหวัดห่างไกลอย่างต่อเนื่อง ในปี 2546 มีผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวน 62 คนเข้ามารับบริการที่หน่วยบริการ 5 หน่วย ในจังหวัด พังงา กรุงเทพฯ จันทบุรี ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์สูญหาย จึงไม่สามารถระบุจำนวนขาเทียมและเครื่องช่วยพยุงการเดินที่ได้แจกจ่ายไปในปี 2546 ในปี 2545 มูลนิธิฯ ได้มอบขาเทียมจำนวน 1,155 ขา และไม้ค้ำยัน 506 ข้าง แก่ผู้พิการจำนวน 1,043 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวน จำนวน 209 คน และในปี 2544 ได้มอบขาเทียม 1,746 ข้าง แก่ผู้พิการ 1,140 คน โดยในจำนวนนี้ รวมถึงผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด 211 คน เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วที่มูลนิธิขาเทียมได้ผลิตขาเทียมถึง 10,500 ข้าง โดยใช้วัสดุภายในท้องถิ่น มีการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและการใช้งานในไทย จึงมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าขาเทียมนำเข้าจากต่างประเทศมาก ในเดือนพฤษภาคม 2546 มูลนิธิฯ ได้เปิดสำนักงาน ศูนย์ฝึกอบรม และโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการว่าจ้างช่างเทคนิค 12 คนประจำโรงงาน และเริ่มฝึกอบรมการผลิตขาเทียมระดับเหนือเข่าขึ้นในเดือนมิถุนายน 2546 ในปี 2547 มูลนิธิฯ มีโครงการจัดหน่วยขาเทียมเคลื่อนที่ใน 4 จังหวัด คือ นครปฐม ตรัง น่าน และปราจีนบุรี และในอำเภอท่าขี้เหล็กของพม่าด้วย

 

----------------------------------

 

 

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0206510835

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-06-02 08:36:02 IP : 124.121.136.247


ความคิดเห็นที่ 24 (2862464)

 

(20)

 

ตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล-ประเทศไทย (HI) ได้เปิดศูนย์ผลิตกายอุปกรณ์ขาเทียมไปแล้ว 15 แห่งภายในโรงพยาบาลประจำจังหวัดต่าง ๆ องค์การฯ ได้จัดโครงการอบรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและศูนย์ผลิตกายอุปกรณ์ภายในพื้นที่รองรับผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบชายแดนไทย-พม่า ตั้งแต่ปี 2528 เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้พิการรวมถึงผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดด้วย HI ยังได้แจกจ่ายเก้าอี้ล้อเข็นและจัดโครงการฝึกอาชีพแก่ผู้พิการ รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรต่าง ๆ ที่ดำเนินงานช่วยเหลือผู้พิการ โครงการของ HI ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในจังหวัดจันทบุรี มีการจัดฝึกอบรมช่างเทคนิคซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด และจัดตั้งศูนย์ผลิตและซ่อมขาเทียมภายในหมู่บ้านในตำบลเทพนิมิตรและตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน ในปี 2546 HI จัดอบรมด้านการทำขาเทียมและงานไม้ให้แก่ผู้ลี้ภัย 11 คน และได้ช่วยเหลือผู้พิการ 450 คน โดยจัดทำขาเทียมแก่ผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวน 254 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้พิการรายใหม่ 99 คน และจัดซ่อมขาเทียมจำนวน 509 ข้าง ในปี 2545 ได้จัดทำขาเทียมรวม 137 ข้าง และในปี 2544 จำนวน 119 ข้าง ในปี 2546 HI ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้รอดชีวิตจากภัยจากทุ่นระเบิดจำนวนกว่า 300 คนภายในค่ายผู้ลี้ภัย สามารถคืนสู่ชุมชนในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกิจกรรมการรณรงค์ สันทนาการ และการฝึกอาชีพ อีกด้วย

สำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ได้เริ่มโครงการมอบทุนการศึกษาแก่ทายาทของผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดตั้งแต่ปี 2544 ในปี 2546 ได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 315 ทุน ปี 2545 จำนวน 200 ทุน และปี 2544 จำนวน 179 ทุน โดยทุนที่มอบนี้ครอบคลุมถึงชุดนักเรียน ชุดกีฬา เครื่องเขียน ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมพิเศษ/ทัศนศึกษา และในบางกรณีเพื่อซ่อมแซมที่พักและการเดินทาง ผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวน 6 คนได้รับเก้าอี้ล้อเลื่อนในปี 2546

ในปี 2546 สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยได้แจกรถเข็นจำนวน 300 คัน เครื่องช่วยพยุงการเดิน 20 ข้าง และอุปกรณ์เสริมพิเศษ 10 ชุดแก่ผู้พิการในพื้นที่ห่างไกล ในจำนวนนี้มีผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดได้รับ 30 คน

มูลนิธิขาเทียมของโรงพยาบาลพระมงกุฎ กรุงเทพฯ และกองทัพบก ร่วมกันจัดหน่วยบริการขาเทียมเคลื่อนที่ไปยังเขตชนบทในระหว่างปี 2547-2548 โครงการแรกจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2547 ที่จังหวัดตาก โดยได้แจกขาเทียมจำนวน *** ข้าง และได้วางแผนดำเนินโครงการที่จังหวัดขอนแก่นและกำแพงเพชรเป็นลำดับต่อไป

***********************

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

1906511524

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-06-19 15:25:35 IP : 124.121.136.155


ความคิดเห็นที่ 25 (2863273)

(21)

 

 

สโมสรโซรอพทีมิสท์ อินเตอร์เนชั่นแนลดุสิต แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การช่วยเหลือผู้หญิงได้สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนหญิงตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 เป็นต้นมา ในปี 2546 ได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เป็นทายาทของผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดในจังหวัดสุรินทร์และสระแก้ว รวม 11 คน เป็นเงินจำนวน 33,000 บาท (840 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) และในปี 2545 มีนักเรียนหญิงได้รับทุน 10 คน และในปี 2547 จะขยายการให้ทุนไปยังจังหวัดจันทบุรี

ในปี 2545 คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดได้จัดโครงการระยะเวลา 1 ปีที่จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ โครงการนี้ประกอบด้วยการให้ความช่วยเหลือผู้พิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การเสริมสร้างความเข้มแข็ง การสร้างความตระหนักถึงภัยทุ่นระเบิด และจัดตั้งกองทุนกู้ยืมขนาดย่อม มีผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดประมาณ 50 ครอบครัวที่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการ ฐานข้อมูลผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดซึ่งควรนำไปเสริมฐานข้อมูลผู้ประสบภัยของ ศทช. ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพราะขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ คณะทำงานฯ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจำนวน 120 คน ซึ่งยังไม่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

ผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิดจากพม่าที่แสวงหาความช่วยเหลือจากไทย ได้รับการดูแลทางการแพทย์จากโรงพยาบาลในค่ายผู้ลี้ภัย และโรงพยาบาลประจำอำเภอที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า คือในเขตจังหวัดตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง กาญจนบุรี และราชบุรี ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรงพยาบาลอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้ให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดชาวพม่าอย่างน้อย 316 คน กล่าวคือ 63 คนในปี 2546 103 คนในปี 2545 จำนวน 84 คนในปี 2544 และ 66 คนในปี 2543 ในปี 2545 คณะกรรมการกาชาดสากลจัดตั้งโครงการ “War Wounded Program” ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน 3 องค์กร คือ Aide Medicale Internationale (AMI), International Rescue Committee (IRC) และ Malteser Germany (MHD) ซึ่งมีสถานพยาบาลในค่ายผู้ลี้ภัย โดยคณะกรรมการกาชาดสากลสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลภายในโรงพยาบาลในไทยสำหรับผู้บาดเจ็บจากสงคราม

**************

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

2106510920

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-06-21 09:21:21 IP : 124.121.141.27


ความคิดเห็นที่ 26 (2863793)

(22)

 

ชาวพม่าที่ประสบภัยทุ่นระเบิดในไทยต้องได้รับการรับรองให้เข้าพักพิงในค่ายผู้ลี้ภัยที่ได้รับการจัดตั้งก่อน จึงจะได้รับความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจากองค์การระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 เป็นต้นมา คลินิกแม่ตาวในไทยซึ่งให้การช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่นชาวพม่าเป็นพิเศษ ได้เปิดแผนกขาเทียม ให้การช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินในวงจำกัด และส่งต่อผู้บาดเจ็บไปรับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลอำเภอแม่สอด ในปี 2546 คลินิกแม่ตาวได้จัดสรรขาเทียมจำนวน 137 ข้าง (ร้อยละ 82 ของผู้รับ เป็นผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด) และในปี 2545 จัดสรรจำนวน 150 ข้าง (ร้อยละ 74 เป็นผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด) ในเดือนมีนาคม 2545 มีนาคม 2546 คลินิกแม่ตาวได้จัดการอบรมการผลิตขาเทียมแก่ผู้พิการจากทุ่นระเบิดชาวฉาน 3 คนภายในคลีนิก ปัจจุบัน ทั้งสามคนได้ให้บริการด้านขาเทียมแก่ผู้พิการในรัฐฉาน โครงการขาเทียมของคลินิกแม่ตาวได้รับการสนับสนุนจาก Help Without Frontiers (Italy) ในปี 2546 และ Clear Path International และ Bainbridge Island Rotary Club ในปี 2545 และคลินิกยังได้จัดการฝึกอาชีพเย็บผ้าแก่คนพิการด้วย โดยผู้ฝึกสอน 3 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด ในเดือนสิงหาคม 2546 Clear Path International ได้สนับสนุนการจัดตั้งโรงผลิตขาเทียมที่ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งบริหารงานโดยผู้รอดชีวิตจากภัยทุ่นระเบิด ผู้รับผลประโยชน์จำนวน 43 คนจาก 44 คน เป็นผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดจากรัฐฉาน ประเทศพม่า

2206511602           

 

**************

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-06-22 16:03:35 IP : 124.121.142.179


ความคิดเห็นที่ 27 (2876408)

 

ข่าวด่วนทหารพรานเหยียบกับระเบิด.

วันที่ 15 ก.ค.

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=329335&lang=T&cat=

15:14 น.

เวลา 13.50 น. ทหารพรานวิไล อารมณ์ สังกัดกองกำลังทหารพรานที่ 2301 กองร้อยน้ำตกภูละออ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ได้เหยียบกับระเบิดขณะไปกระจายวางกำลังที่ภูมะเขือ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับจุดข้อพิพาท เพื่อตรึงกำลังและผลักดันให้ทหารกัมพูชา และ ชาวกัมพูชาบางส่วน ที่เข้ามาปักหลักสร้างบ้านอยู่บริเวณเชิงเขา ทางขึ้นปราสาทพระวิหารออกจากพื้นที่ โดยแรงระเบิดทำให้ขาขวาท่อนล่างขาด ขณะนี้กำลังมีการนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อไปรักษาต่อไป

--------------

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 02-990-0331

1507512040

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-15 20:39:50 IP : 124.121.144.209


ความคิดเห็นที่ 28 (2878026)

 

คณะกรรมการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชาประชุม 21 ก.ค.
 
 
 
ข่าววันที่ 16 07 2551 - 22:10:10 น.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=41219

 

กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่เอกสารข่าวเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 51  ระบุถึงกรณีเหตุการณ์ทหารพรานของไทยเหยียบกับระเบิดจากการปฏิบัติการในพื้นที่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ฝ่ายไทยมีความกังวลว่าจะมีกับระเบิดหลงเหลืออยู่ในบริเวณดังกล่าว และจะเป็นอันตรายทั้งต่อพลเรือนและทหาร อีกทั้งไทยยังมีข้อผูกพันตามอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรืออนุสัญญาออตตาวา ที่จะต้องทำลายหรือดำเนินการให้แน่ใจว่ามีการทำลายทุ่นระเบิดในพื้นที่ภายใต้เขตอำนาจหรือการควบคุมของไทยโดยเร็วที่สุด ให้เสร็จภายใน 10 ปี หลังจากวันที่อนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับไทย ซึ่งจะครบกำหนดในปี 2552 กองบัญชาการกองทัพไทยจึงได้ส่งหน่วยเก็บกู้ระเบิดไปเก็บกู้ทุ่นระเบิดในบริเวณที่ตรวจสอบแล้วเป็นดินแดนของไทย

โดยขณะนี้ กองทัพไทยได้ประสานกับฝ่ายกัมพูชา และทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าจะเรียกประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ซึ่งเป็นกลไกที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองฝ่าย หรือผู้แทนเป็นประธานร่วม และมีการประชุมกันเป็นปกติ ให้มาประชุมกันเป็นสมัยพิเศษ ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ที่จังหวัดสระแก้ว เร็วขึ้นจากเดิมที่เคยกำหนดไว้ในเดือนสิงหาคม 2551 เพื่อทั้งสองฝ่ายจะได้พูดคุยประเด็นต่าง ๆ กันฉันเพื่อนบ้านที่ดี และระหว่างนี้กองทัพของทั้งสองฝ่ายมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด

www.waddeeja.com

Tel. 02-990-0331

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

*/*/*/*/*/*/*/*/*/

1707510955

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-17 09:56:35 IP : 124.121.141.138


ความคิดเห็นที่ 29 (2878036)

นี่ก็กับระเบิดอีก  1ราย

 

 

วันนี้(16 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. ร.ต.ท.สุคนธ์  รัสเอี่ยม พงส. (สบ. 1 ) สภ. เมือง จ.กาญจนบุรี ได้รับแจ้งเหตุมีผู้เสียชีวิตในป่าบริเวณเขตชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่บ้านพุน้ำร้อน ม.12 ต.บ้านเก่า  อ.เมือง หลังรับแจ้ง จึงรีบรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมด้วย พ.ต.อ. จิรสันต์  แก้วแสงเอก ผกก. สภ. เมืองกาญจนบุรี พ.ต.ต.สุชาย  เทศัชบุตร สว.ป. แพทย์เวร รพ.พหลพลพยุหเสนา และมูลนิธิพิทักษ์กาญจน์
 
ที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 5 ชม. เนื่องจากเป็นป่าและรอยตะเข็บชายแดน โดยตลอดเส้นทางต้องประสานงานให้กำลังทหารพรานมาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินเท้า เมื่อถึงที่เกิดเหตุก็พบศพชาย 1 ราย ทราบชื่อคือ นายจารึก เพ็ญกาญจน์ อายุ 28 ปี อยู่บ้านเลขที่ 403 ม.12 บ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ. เมือง สภาพศพสวมเสื้อยืดแขนสั้นสีเทา สวมกางเกงขายาวสีดำ ตรวจสอบตามร่างกายพบบาดแผลฉีกขาดบริเวณรอบลำตัว โดยเฉพาะขาและแขนขวานั้น มีรอยฉีกขาดขนาดใหญ่ ใกล้กันพบชิ้นส่วนของวัตถุระเบิดที่ยังไม่ทราบชนิดตกอยู่ เจ้าหน้าที่จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน

จากการสอบสวนทราบว่า นายจารึก มีอาชีพหาของป่าขาย โดยก่อนเกิดเหตุได้ออกไปหาของป่าตามปกติ แล้วโชคร้ายเกิดเหยียบกับระเบิดจนเสียชีวิตดังกล่าว เบื้องต้นเจ้าหน้าที่คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ชม. จากนั้นจะนำศพไปชันสูตรอีกครั้ง ก่อนจะมอบให้ญาติพี่น้องนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1707511009

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-17 10:08:58 IP : 124.121.141.138


ความคิดเห็นที่ 30 (2881676)

 

เรียนทุกท่าน

 

รายการชีพจรโลก ตอน ทุ่นระเบิด ออกอากาศคืนนี้ (24 ก.ค.) เวลา 23.00 น. ที่ช่อง 9 ครับ 

 

* * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 02-990-0331

2407511515

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-24 15:14:42 IP : 124.121.138.181


ความคิดเห็นที่ 31 (2881679)

 

เรียนทุกท่าน

 

รายการชีพจรโลก ตอน ทุ่นระเบิด ออกอากาศคืนนี้ (24 ก.ค.) เวลา 23.00 น. ที่ช่อง 9 ครับ 

 

* * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 02-990-0331

2407511515

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-24 15:18:17 IP : 124.121.138.181


ความคิดเห็นที่ 32 (2881682)

 

เรียนทุกท่าน

 

รายการชีพจรโลก ตอน ทุ่นระเบิด ออกอากาศคืนนี้ (24 ก.ค.) เวลา 23.00 น. ที่ช่อง 9 ครับ 

 

* * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 02-990-0331

2407511515

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-24 15:23:28 IP : 124.121.138.181


ความคิดเห็นที่ 33 (2882221)

 

ทุ่นระเบิดเกลื่อนเขาพระวิหาร

คม ชัด ลึก อี 1 22/07/2008

   
เตือนภัยมีกับระเบิดรอบเขาพระวิหาร เผยห่างบันไดทางขึ้นปราสาทแค่ 1 ฟุตก็อันตรายแล้ว ฝากกลุ่มพันธมิตร-ผู้ประท้วงอย่าชะล่าใจ ผอ.ศูนย์ทุ่นระเบิดแห่งชาติแฉไทยมีพื้นที่เสี่ยงทุ่นระเบิด 2,500 ตร.กม. ชายแดนไทย-กัมพูชาพบมากสุดร้อยละ 76 ของพื้นที่ทุ่นระเบิดทั้งประเทศ
   

   
ท่ามกลางความขัดแย้งกรณีพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา และประชาชนคนไทยที่แบ่งออกเป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับผู้ประท้วงคัดค้านที่ต่างก็ลงพื้นที่เขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ โดยไม่รู้ว่าพื้นที่นั้นเสี่ยงและอันตรายเต็มไปด้วยทุ่นระเบิดที่ยังไม่ได้เก็บกู้ได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์
   
น.ส.ศุษิรา ชนเห็นชอบ นักวิจัยสถานการณ์ทุ่นระเบิดในประเทศไทย ผู้จัดการงานพัฒนาด้านความพิการ กองการแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาที่ยาว 700 กิโลเมตรนั้น เป็นแหล่งรวมของทุ่นระเบิดจำนวนมาก เรียกได้ว่า 3 ใน 4 ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้านทุ่นระเบิดอยู่ด้านชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะจากการเก็บข้อมูลจากคณะผู้วิจัยสถานการณ์ทุ่นระเบิดในประเทศไทยพบว่า บริเวณผามออีแดงและพื้นที่เขาพระวิหารเป็นพื้นที่ที่มีทุ่นระเบิดและมักมีผู้เหยียบทุ่นระเบิดอยู่เสมอ ชุมชนแถวนี้จะได้รับผลกระทบสูง จนพูดได้ว่า 69 ชุมชนในชายแดนแถบนี้มีถึง 51 ชุมชน ที่มีทุ่นระเบิดอยู่หนาแน่น
   
น.ส.ศุษิรากล่าวว่า ใน จ.ศรีสะเกษ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 3 อำเภอ ได้แก่ กันทรลักษ์ ขุนหาน และภูสิงห์ จากการสังเกตการณ์ของกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดจะเห็นว่า สองข้างทางของถนนจะมีระเบิดฝังอยู่ โดยเจ้าหน้าที่พยายามกั้นเชือกและติดป้ายเตือน แต่ถ้าไม่ใช่คนในพื้นที่ก็จะไม่สังเกต ล่าสุดมีการทำวิจัยโดยการนำไม้ที่มีปลายสีเหลืองไปปักบริเวณที่ค้นพบทุ่นระเบิด ซึ่งพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยเลย จะพบไม้ปลายเหลืองมีความถี่อยู่เป็นจำนวนมาก
   
ขณะเดียวกัน ตนซึ่งเพิ่งลงพื้นที่ได้รับการบอกเล่าจากชาวบ้านว่า ตอนนี้กลุ่มผู้ประท้วงและพันธมิตร ซึ่งเป็นคนแปลกถิ่นเดินทางเข้ามาชายแดนด้านนี้จำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนเข้าไปห้ามและกล่าวเตือน แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ จึงฝากให้ตนกลับมาเตือนพันธมิตร โดยเมื่อสัปดาห์ก่อนได้ติดต่อไปยังศูนย์ประสานงานพันธมิตร จึงได้แจ้งเตือนไปแล้ว แต่ไม่ได้ให้คุยกับแกนนำพันธมิตรโดยตรง จึงไม่รู้ว่าข้อความเตือนเรื่องทุ่นระเบิดได้ไปถึงแกนนำพันธมิตรหรือไม่
    "
กลุ่มที่ไปเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณนั้นรวมถึงชาวบ้านต่างรู้ดีว่า ตัวบันไดที่ขึ้นไปบนปราสาทพระวิหารนั้น ถ้าเดินเลยออกมาจากบันไดไม่ถึง 1 ฟุตก็เป็นระเบิดแล้ว มีครูหรือโรงเรียนหลายแห่งมาทัศนศึกษาเราก็ขอร้องไว้ เพราะตามหลักการของการเก็บกู้ทุ่นระเบิดแล้ว หากพื้นที่ไหนยังไม่ได้เก็บกวาดร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็จะไม่เข้าใกล้เด็ดขาด ดังนั้น จึงฝากเตือนประชาชนโดยเฉพาะคนนอกพื้นที่ไม่ควรเข้าไปในบริเวณพื้นที่ผามออีแดงและเขาพระวิหารบางส่วน เพราะถือเป็นแหล่งที่มีทุ่นระเบิดอยู่หนาแน่น ส่วนกลุ่มพันธมิตรเราก็พยายามย้ำกับเขาว่ามันจริงจังมาก ก็หวังว่าข้อความที่เตือนจากเราจะไปถึงกลุ่มผู้นำ" น.ส.ศุษิรากล่าว
   
ด้าน พล.ท.ธำรงศักดิ์ ดีมงคล ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กล่าวว่า พื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารถือเป็นเขตอันตรายที่มีทุ่นระเบิดอยู่หนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณผามออีแดง ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญการเก็บกู้ทุ่นระเบิดของทหารและเอ็นจีโอได้ผนึกกำลังกันประมาณ 40 คน ช่วยกันเก็บกู้ระเบิดบริเวณนั้น ประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมาเก็บได้หลายร้อยลูกแล้ว แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยของพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ 4.6 ตารางเมตรที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาต่างก็ยังไม่ได้เข้าไปกู้ระเบิด สาเหตุที่บริเวณนี้มีทุ่นระเบิดเยอะ เนื่องจากช่วงสงครามเขมรสามฝ่าย ประมาณปี 2522-2534 ต่างฝ่ายต่างก็วางทุ่นระเบิดไว้ป้องกันพื้นที่ตนเอง
    "
สำหรับกรณีทหารพรานที่เหยียบกับระเบิด เชื่อว่าเป็นทหารที่ไม่คุ้นพื้นที่ เพราะทหารที่อยู่ในพื้นที่และชาวบ้านจะรู้กันเองว่า ต้องไม่เดินออกจากเส้นทางที่กำหนดไว้ แม้แต่จะเข้าไปปัสสาวะหรือเดินชมวิวออกนอกเส้นทางก็ยังไม่ได้ แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว ฝ่ายเก็บกู้ระเบิดของเราก็พยายามแจ้งเตือนให้ชาวบ้านผู้มาประท้วงและเจ้าหน้าที่จากภายนอกให้สังเกตป้ายที่ปักเตือนอยู่" พล.ท.ธำรงศักดิ์กล่าว 
   
ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาออตตาวา ซึ่งเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และเร่งทำลายทุ่นระเบิด โดยอนุสัญญานี้กำหนดให้ประเทศไทยต้องเก็บกู้ทุ่นระเบิดให้หมดภายในปี 2552 แต่เรายังทำไม่ได้ จึงต้องขอเลื่อนเวลาออกไปอีก 10 ปี โดยทำเรื่องยื่นขอไปแล้ว และเนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ต้องสงสัยว่า จะมีทุ่นระเบิดทั้งหมด 2,500 ตารางกิโลเมตร แต่ยังเก็บกู้ได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะตามป่าสงวน ตามแนวชายแดนด้านกัมพูชามีพื้นที่ทุ่นระเบิดมากกว่าร้อยละ 76 ของพื้นที่ทุ่นระเบิดทั้งประเทศ
   
ทั้งนี้ ราษฎรในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา มีบางส่วนที่ยังคงได้รับบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิตจากการเหยียบทุ่นระเบิดอยู่ โดยชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีทุ่นระเบิดมากคือ จ.บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี และตราด

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2507511548

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-25 15:47:51 IP : 124.121.141.24


ความคิดเห็นที่ 34 (2882521)

 

รายงานทุ่นระเบิด 2
 (23/07/2008)
ผวาทุ่นระเบิด...ชนวนสงครามยุคใหม่ไทย-เขมร
   
ช่วงสงครามเวียดนามถือเป็นยุคทองของทุ่นระเบิด มีการคาดการณ์ว่าพี่บิ๊กอเมริกา สั่งผลิตทุ่นระเบิดประมาณ 4 ล้านกว่าลูก เพื่อแจกจ่ายให้ประเทศเครือข่ายเป็นของขวัญในการกำจัดลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยประเทศไทยก็ได้รับของขวัญประมาณ 4 แสนลูกเช่นกัน
   
ถือได้ว่าช่วงสงครามเวียดนาม และสงครามเขมร 3 ฝ่าย ทุ่นระเบิดจากอเมริกา รัสเซีย เกาหลี ฯลฯ ได้ถูกนำมาฝังในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ไทย-กัมพูชา และ ไทย-ลาว เพื่อกำจัดศัตรูฝ่ายตรงข้ามไม่ให้รุกล้ำหรือสะกดรอยตามกองทัพของตน
        
โดยทุ่นระเบิด 2 ใน 3 ถูกฝังอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ไม่เว้นแม้แต่ในอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
        
นายวิชัย โภคพันธ์ หนึ่งในกลุ่มผู้พิการจากทุ่นระเบิดกันทรลักษ์ จุดที่ทำให้ท่อนขาล่างของเขาหายไปเมื่อ 20 ปีที่แล้วนั้น อยู่บริเวณแยกถนนทางขึ้นผามออีแดง ซึ่งห่างจากทางเข้าอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารไปเพียง 300 เมตรเท่านั้น ซึ่งบริเวณนี้ชาวบ้านได้ร้องขอให้หน่วยเก็บกู้เข้ามาจัดการนานแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบใดๆ
         "
เกือบทุกหมู่บ้านมีคนพิการขาขาดอยู่ไม่ต่ำกว่า 20-30 คน เฉพาะหมู่บ้านภูมิซรอลมีผู้พิการจากการเหยียบกับระเบิดประมาณ 25 คน ส่วนใหญ่โดนหลายปีแล้วตอนเข้าไปบุกเบิกทำไร่นา เรียกได้ว่าชาวบ้านคุ้นเคยจนรู้กันเองว่าแถวไหนต้องไม่เดินผ่าน เกือบทุกปีจะมีคนโดนกับระเบิดตายบ้าง พิการบ้าง ปีที่แล้วก็มีเด็กนักเรียนจากอุบลราชธานีออกไปเดินทางลัด ก็เหยียบกับระเบิดพิการไป 1 ราย ช่วงนี้มีคนแปลกหน้าเข้ามาประท้วงเรื่องปราสาทพระวิหารกันเยอะ ทั้งทหารและชาวบ้านถิ่นอื่น ได้ข่าวว่าไม่กี่วันนี้ทหารเขมรแดงก็เหยียบกับระเบิดตายไป 1 คน ไม่รู้จะเตือนกันยังไง" นายวิชัยกล่าว
           
และเหตุการณ์ที่สร้างความลุ้นระทึกมากที่สุดก็เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่มี 3 คนไทยปีนรั้วข้ามฝั่งไปนั่งสมาธิประท้วงในเขตพื้นที่ทับซ้อนปราสาทพระวิหารนั้น ชาวบ้านรู้สึกโล่งอกมากที่คนทั้งสามถูกทหารเขมรควบคุมตัวไว้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นอาจเจอทุ่นระเบิดเสียชีวิตและอาจนำไปสู่ชนวนสงครามระหว่าง 2 ประเทศได้...เนื่องจากวินาทีนั้นคงไม่มีใครรู้ว่าเหตุเกิดจากถูกยิงหรือถูกกับระเบิด
   
นายวิชัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาทั้งทหารไทยและทหารเขมรก็ไม่ค่อยสนใจเก็บกวาดทุ่นระเบิดในพื้นที่แถวนี้ เพราะไม่ใช่พื้นที่เศรษฐกิจ ชาวบ้านก็อาศัยดวงเป็นตัวช่วย แม้จะเดินในเส้นทางที่คุ้นเคยก็อาจพลาดได้ แต่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางฝ่ายเขมรได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเก็บกู้ระเบิดบริเวณพื้นที่เขาพระวิหารบ่อยขึ้น ทหารเขมรเก็บระเบิดไปเยอะมาก ถ้าพวกเขากู้ไม่ได้ก็จะจุดชนวนใส่ทุ่นระเบิดเลย ซึ่งชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ก็ไม่ได้ทักท้วงอะไร เพราะถือว่าเป็นเรื่องดีที่มัจจุราชเงียบจะถูกกำจัดไปให้หมดสิ้น
    "
จนกระทั่งรู้ข่าวว่า กัมพูชาจะเอาไปขึ้นมรดกโลก ก็เลยเข้าใจว่าทำไมต้องรีบเก็บกู้ จากเดิมที่ไม่สนใจมาก่อน ตอนนี้ชาวบ้านก็ทำได้แต่เตือนพ่อค้า แม่ค้า และนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาผามออีแดงว่าไม่ให้เดินเล่นนอกเส้นทาง ยิ่งพวกประท้วงก็ขอเตือนให้อย่าเสี่ยงเดินอ้อมประตู ไปทางแปลกๆ เพราะมีสิทธิโดนบึ้มได้ พยายามมองป้ายที่ชาวบ้านทำเป็นสัญลักษณ์ไว้" นายวิชัยกล่าวด้วยน้ำเสียงจริงจัง
   
กลุ่มผู้พิการจากทุ่นระเบิดกันทรลักษ์บอกเทคนิคในการรักษาตัวรอดสำหรับแขกต่างถิ่นผู้ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ทุ่นระเบิด 3 ข้อคือ 1.ต้องสังเกตพื้นดินแถวนั้นว่า มีหลุมดินหรือเนินมากผิดปกติหรือไม่ 2.ขณะที่เดินป่าต้องจ้องมองว่า มีแท่งโลหะยื่นออกมาเหนือพื้นดิน หรือมีลวดขึงกิ่งไม้หรือไม่ และ 3.พบซากสัตว์ตายสภาพเนื้อตัวหลุดลุ่ยเหมือนโดนระเบิดหรือไม่ หากพบความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งก็จงหยุดเดิน แล้วหาทางย้อนกลับตามรอยเท้าเดิม...
     "
รายงานการสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดปี 2544" ระบุว่า พื้นที่ชายแดนไทยยังคงมีทุ่นระเบิดฝังอยู่ ประมาณ 2.5 พันตารางกิโลเมตร หรือ 1.5 ล้านแสนไร่ หลังการเก็บกู้ทุ่นระเบิดยาวนานกว่า 8 ปี ก็สามารถเคลียร์พื้นที่ได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ภาพรวมจากการสำรวจครั้งสุดท้าย เชื่อว่ายังหลงเหลือสนามทุ่นระเบิดในประเทศไทยประมาณ 900 พื้นที่ อาจมีทุ่นระเบิดหลงเหลืออยู่ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านลูก โดยชนิดที่มีมากที่สุดคือ "ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (AP)" รองลงมาคือ "สรรพาวุธหนักที่ยังไม่ระเบิด (UXO)" หรือลูกระเบิดที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินลงมาแต่ยังไม่ระเบิด แต่หล่นกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่สนามรบ และสุดท้ายคือ "ทุ่นระเบิดทำลายรถถัง (AT)" 
   
ช่วง 30 ปีที่แล้ว ประเทศมหาอำนาจทางสงครามได้ผลิตทุ่นระเบิดสังหารบุคคลออกมาไม่ต่ำกว่า 190 ล้านลูก พร้อมแจกจ่ายไปยังสมรภูมิรบทั่วโลก และหลังจากไทยให้สัตยาบัน "อนุสัญญาออตตาวา" หรืออนุสัญญาต่อต้านทุ่นระเบิด ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 จึงสำรวจพบ 7 จังหวัดชายแดนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย คือ ตราด  จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์  ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
   
ขณะนี้พบเหยื่อทุ่นระเบิดจาก 7 จังหวัดนี้แล้ว 2,601 คน และยังมีทุ่นระเบิดตกค้างอยู่ใน 297 หมู่บ้าน มีประชากรรวมประมาณ 2.1 แสนคน หากคิดเป็นเนื้อที่ก็ประมาณ 1,943  ตารางกิโลเมตร หรือ 1.2 ล้านไร่ แต่หน่วยเก็บกู้ระเบิดสามารถเคลียร์พื้นที่ได้เฉลี่ยปีละ 2 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น    
   
รายงานล่าสุด พบประชากรโลกไม่ต่ำกว่า 15 คน ต้องสังเวยชีวิตหรืออวัยวะให้แก่ทุ่นระเบิด
    ...
ปลายปีที่แล้ว "องค์การรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้กับระเบิดระหว่างประเทศ" (ไอซีบีแอล) เปิดเผยข้อมูลว่าเมื่อปี 2549 มีเหยื่อกับระเบิด 5,751 คน โดย 1 ใน 3 ของเหยื่อเป็นเด็ก โดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่สงครามปากีสถาน พม่า โซมาเลีย และเลบานอน ฯลฯ

* * * * * * * * * * * * * * * * *

                                                   พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2607511200

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-26 12:01:43 IP : 124.121.140.199


ความคิดเห็นที่ 35 (2889816)

 

รายชื่อคณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด (TCBL)  เข้าพบผู้บัญชาการทหารสูงสุด

๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๙.๐๐ น.

 

1.       นายโคทม อารียา                                                 ประธานคณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด

2.       นางเอมิลี่  เกตุทัต                                                 ผู้ประสานงาน                                          องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย

3.       นางสาวเสริมสิริ อิงคะวณิช                                     ผู้ช่วยผู้ประสานงาน                                   องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย

4.       นางสาวศุษิรา ชนเห็นชอบ                                      ผู้จัดการงานพัฒนาด้านความพิการ                องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล โครงการในประเทศไทย

5.       นางสาวจารุวรรณ ทิวะศิริ                                        ผู้ประสานงานโครงการ                               องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล โครงการในประเทศไทย

6.       นางสาวนิพัทธา ความหมั่น                                      ผู้ประสานงานโครงการ                               องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล โครงการในประเทศไทย

7.       นางสาวอานันท์ชนก สังขสุวรรณ์                              ผู้ช่วยผู้ประสานงานโครงการ                       องค์การแฮนดิแคปอินเตอร์เนชั่นแนล โครงการในประเทศไทย

8.       นางทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์                                         ผู้อำนวยการ                                            มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

9.       นายสุทธิเกียรติ  โสภณิก                                       ผู้อำนวยการ                                            มูลนิธิพลเอกชาติชาย  ชุณหะวัณ

10.    นายเรืองฤทธิ์ เลื่อนไธสง                                        ผู้จัดการโครงการ                                      มูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ    

11.    ร.อ.วีระ ขัดเกลา                                                  ที่ปรึกษาทางเทคนิค                                  มูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ    

12.    พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ                                           นายกสมาคม                                           สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

13.    นางจิราภา   ทรัพย์ศิริ                                            หัวหน้าสำนักงาน / ช่างภาพ                        สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

14.    นางสิริกาญจน์ คหัฎฐา                                           ผู้ประสานงานภาครัฐ                                 ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย

15.    นายเฟรด ลูบาง                                                    ผู้ประสานงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การสันติวิธีสากลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

                                                   พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1008511100

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-08-10 11:00:53 IP : 124.121.141.219


ความคิดเห็นที่ 36 (2891878)

 

เรียนทุกท่าน

 

วันที่ 13 สิงหาคม แต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว คือ ปี 2549 เลบานอนถูกถล่มด้วยระเบิดดาวกระจาย หรือ cluster muntions ระเบิดลูกเล็กที่ยังไม่ระเบิดและหลงเหลืออยู่ยังคงทำร้ายและทำลายชีวิตประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะเด็ก

 

วันนี้ องค์การแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล จะจัดพิธีจุดเทียนรำลึกครบรอบ 2 ปี ของสถานการณ์ครั้งนั้น เพื่อระลึกถึงเหยื่อจากระเบิดดาวกระจายในเลบานอน รวมถึงในประเทศอื่น ๆ เช่น ลาว กัมพูชา เป็นต้น

  

ดังนั้น จึงขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมจุดเทียนรำลึก ณ เวลา 18.30 นาฬิกา ณ บริเวณสวน บ้านชุณหะวัณ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของที่ทำการองค์การแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล ถนนพหลโยธิน 5 (ซอยราชครู) คุณเอมิลี่ เกตุทัต ผู้ประสานงานคณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดจะกรุณามาร่วมนำในการจุดเทียนด้วย

 

การรำลึกครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ทั่วโลก มีกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ จัดขึ้นพร้อมกันในอีกหลายประเทศ เช่น เลบานอน โคโซโว นิวซีแลนด์ ฯลฯ

เราหวังว่ารัฐบาลจะป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียในอนาคตด้วยการมีนโยบายไม่ใช้ระเบิดดาวกระจาย และถ้าเป็นไปได้ ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดดาวกระจายในเดือนธันวาคมปีนี้

 

เพื่อสันติภาพ

 

ศุษิรา ชนเห็นชอบ

องค์การแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล โครงการในประเทศไทย

02 278 2093

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

                                                   พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1408511608

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-08-14 16:07:59 IP : 124.121.139.91


ความคิดเห็นที่ 37 (2891940)

 

นายกฯ อนุมัติงบ 1,400 ล. เก็บกู้ระเบิดปี 255314 สิงหาคม 2551

 

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ว่า ยังเหลือพื้นที่ที่ยังต้องเก็บกู้วัตถุระเบิดอีก 500 ตารางกิโลเมตร ซึ่งกองทัพขอระยะเวลาอีก 10 ปี เพื่อทำให้แล้วเสร็จโดยของบประมาณทั้งหมด 14,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ต่อรองพิจารณางบประมาณให้เป็นรายปี โดยอนุมัติงบประมาณ 1,400 ล้านบาท สำหรับการดำเนินการในปี 2553 ก่อน


       
ขณะที่ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่า ที่ผ่านมาสามารถเก็บกู้วัตถุระเบิดได้เพียงร้อยละ 2 ในระยะเวลา 10 ปี เนื่องจากมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียง 10 ล้านบาทต่อปี ซึ่งต้องใช้งบจริงๆ แล้ว 1 พันล้านบาท ซึ่งพื้นที่ที่ยังไม่ได้มีการเก็บกู้วัตถุระเบิดส่วนใหญ่คือ พื้นที่ชายแดนกัมพูชาและบริเวณปราสาทพระวิหาร

 

* * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 02-990-0331

1408511728

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-08-14 17:28:18 IP : 124.121.139.91


ความคิดเห็นที่ 38 (2897663)

 

ม้าเหล็กจอร์เจียวิ่งเหยียบทุ่นระเบิดบึ้มสนั่นใกล้เมืองโกรี! ....24 สิงหาคม 2551

เอเอฟพี – เกิดเหตุรถไฟบรรทุกเชื้อเพลิงของจอร์เจียระเบิดใกล้กับเมืองโกรี หลังวิ่งเหยียบทุ่นระเบิดเมื่อวันอาทิตย์ (24)

โชตา ยูเทียชวิลี โฆษกกระทรวงมหาดไทยของจอร์เจีย กล่าวว่า รถไฟบรรทุกเชื้อเพลิงขบวนหนึ่งของจอร์เจียเกิดเหตุระเบิด ซึ่งสาเหตุเกิดจากทุ่นระเบิดที่ถูกนำมาวางไว้บนรางรถไฟ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลความเสียหายที่ชัดเจน

ผู้สื่อข่าวเอเอฟพี รายงานว่า เหตุระเบิดดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นนอกหมู่บ้านชากรา ห่างจากเมืองโกรีไปทางตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร ส่งผลให้มีกลุ่มควันสีดำพวยพุ่งกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้ คาดว่า พื้นที่ดังกล่าวน่าจะเคยถูกใช้เป็นฐานทัพมาก่อน เนื่องจากบริเวณใกล้เคียงเต็มไปด้วยคลังร้าง

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เหตุระเบิดดังกล่าวยังทำให้เกิดไฟไหม้กินพื้นที่มากกว่า 70 เมตร รวมถึงไฟไหม้เป็นหย่อมๆ ตามพุ่มไม้ในพื้นที่ใกล้เคียง ขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงของจอร์เจียกำลังเร่งดับไฟที่ลุกไหม้อย่างหนัก

ทั้งนี้ ท้ายขบวนรถไฟดังกล่าวมีตัวหนังสือเขียนว่าแอซเพโทรล ซึ่งเป็นชื่อของบริษัทแห่งหนึ่งในเมืองบากูของอาเซอร์ไบจาน

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

2508511746

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-08-25 17:46:30 IP : 124.121.139.116


ความคิดเห็นที่ 39 (2924267)

 

ลาดตระเวนร่วมล่ม*** เขมรเล่นเล่ห์วางกับระเบิดพื้นที่ทับซ้อนเพิ่มโดย ผู้จัดการออนไลน์17 ตุลาคม 2551 13:38 น.

สถานการณ์ตามชายแดนไทย-กัมพูชาที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ยังคงมีการตรึงกำลังของกำลังทหารทั้ง 2 ฝ่าย ขณะที่การออกลาดตระเวนร่วมซึ่งเป็นข้อสรุปในที่ประชุมร่วมระหว่าง พ.ท.พิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 และพล.ท.เจีย มอน ผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ 2 ของกัมพูชา วานนี้ ยังคงต้องชะลอการลาดตระเวนออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยให้มีการปฏิบัติหน้าที่ในที่ตั้งหลังหน่วยปฏิบัติการตรวจสอบและทำลายทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 3 หรือ TMAC เปิดเผยว่า ยังคงมีกับระเบิดที่ฝั่งกัมพูชาซึ่งนำไปวางไว้เพิ่มเติม โดยเฉพาะที่ภูมะเขือ ซึ่งเป็นจุดที่ทหารไทยเหยียบกับระเบิดได้รับบาดเจ็บ 2 นาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยระเบิดดังกล่าวเป็นชนิด MR2 ที่ผลิตในประเทศรัฐเซีย
       
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวภายในระดับสูงของกองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำอยู่ภายในกองบัญชาการส่วนหน้า ภายในอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ระบุว่า ยังคงต้องมีการตรวจสอบและเฝ้าฟังการออกอากาศของสถานีวิทยุเอเชียเสรีที่ออกอากาศจากกรุงพนมเปญ ระบุว่า ทางการกัมพูชาไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงในที่ประชุมเมื่อวานนี้ เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานทหารที่ประจำการอยู่แนวหน้าของทั้งสอง

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1710511428

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-10-17 14:27:52 IP : 124.121.140.94


ความคิดเห็นที่ 40 (2929869)

 

คาราวานต้านระเบิด

หยุดระเบิดดาวกระจาย - ทำสัญญาให้เป็นจริง

เชิญทุกท่านร่วมลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชน

ระเบิดดาวกระจาย หรือ Cluster Bombs ถูกออกแบบมาให้แตกกระจายกลางอากาศ ส่งระเบิดลูกเล็ก ๆ ที่บรรจุอยู่ภายในจำนวนหลายร้อยลูกกระจายทั่วพื้นที่กว้าง ระเบิดเหล่านี้ทำลายชีวิตคนมากมาย และขณะเดียวกัน หากระเบิดลูกเล็ก ๆ เหล่านี้ไม่ระเบิดในตอนนั้น มันก็จะยังประสิทธิภาพ และคอยทำลายชีวิตผู้คนไปอีกนานแสนนานแม้หลังจากที่ความขัดแย้งจบลง ประเทศไทยมีระเบิดดาวกระจายในคลังจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิต เคลื่อนย้าย หรือใช้ระเบิดเหล่านี้

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 ที่กรุงดับบลิน รัฐบาลกว่า 100 ประเทศได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดดาวกระจาย เนื้อหาในอนุสัญญานั้นดีกว่าที่คาดหวังมากนัก เพราะรวมถึงการห้ามใช้ระเบิดดาวกระจายที่มีอยู่ทุกประเภท ห้ามการผลิต การเคลื่อนย้าย และการสะสมในคลัง นอกจากนั้นยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เข้มแข็งมากกว่าที่เคยมีในกฎหมายระหว่างประเทศใด ๆ อีกด้วย

ในการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว หมายความว่ารัฐบาลต่าง ๆ ตกลงแสดงความผูกมัด ซึ่งไม่เพียงแต่ป้องกันความบาดเจ็บและภัยในอนาคตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ แต่ยังเป็นการทำให้มั่นใจว่าพื้นที่ที่มีระเบิดดาวกระจายจะได้รับการกวาดล้าง และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อสร้างชีวิตที่ดีอีกครั้งหนึ่ง

การได้มาซึ่งอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดดาวกระจายเป็นก้าวแห่งประวัติศาสตร์อันน่าจดจำ แต่กระนั้น งานของรัฐบาลไทยและรัฐบาลประเทศอื่น ๆ รวมทั้งทุก ๆ คนทั่วโลกเพิ่งจะเริ่มขึ้น ในการที่จะทำให้อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะจะต้องมีรัฐบาลอย่างน้อย 30 ประเทศ ลงนามและให้สัตยาบัน ซึ่งพิธีลงนามครั้งแรกจะจัดขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในเดือนธันวาคม 2551 นี้ รัฐบาลไทยของเราควรจะต้องเป็นหนึ่งในรัฐบาลเหล่านั้น

คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดขอเชิญทุกท่านลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชน พร้อมๆ กับประชาชนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อเราจะได้เป็นเสียงหนึ่งที่จะเร่งรัดให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ รักษาคำมั่นสัญญาของตน และทำคำสัญญาให้เป็นจริง

ท่านสามารถร่วมลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชนได้ที่

ลงชื่อในบัตรลงนาม พร้อมกันได้ที่บริเวณนิทรรศการและจุดปล่อย “คาราวานต้านระเบิด” ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 ณ สวนสันติชัยปราการ ท่าพระอาทิตย์ เวลา 14.00-18.00 และจากนั้นคาราวานต้านระเบิดจะตระเวนเดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี ในวันที่ 9-15 พฤศจิกายน 2551

มองหาเรา และหยุดระเบิดดาวกระจายร่วมกัน !

กำหนดการ วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา: 14.00-18.00 น.

สถานที่: สวนสันติชัยปราการ

บรรยากาศ: เป็นบรรยากาศครอบครัว ผ่อนคลาย ปูเสื่อฟังเพลงจากผู้พิการ แข่งขันตอบปัญหา และชมนิทรรศการ

14.00 น. เปิดงาน โดย ผู้แทนคณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด

14.10 น. คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร – ประธาน - กล่าวเปิดงาน และตัดริบบิ้นปล่อยขบวนจักรยาน (หรือเดิน) ถือเป็นการเริ่มต้นสัปดาห์รณรงค์ (เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ใช้รถจักรยานขี่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ โดยใช้จักรยานบริการของกรุงเทพมหานคร ขี่ไปตามเส้นทางการท่องเที่ยว พร้อมทำการประชาสัมพันธ์ เป็นจุดๆ ตลอดเส้นทาง) จากนั้นเชิญท่านผู้ว่าฯ ลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชน ชมนิทรรศการของเหล่าองค์กรสมาชิก ร่วมงานตามอัธยาศัย

14.40 น. เชิญบุคคลทั่วไป ร่วมลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชน พร้อมฟังกระจายเสียง *

ถึงความสำคัญของอนุสัญญาออสโล ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระเบิดดาวกระจาย

ชมนิทรรศการเกี่ยวกับระเบิดดาวกระจาย และอนุสัญญาออสโล และอื่นๆ เป็นระยะๆ

15.10 น. เวทีคนทำงาน* – พูดคุยและสัมภาษณ์ตัวแทนองค์กรสมาชิกต่างๆ ในประเด็นที่องค์กรของตนเอง

มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านกับระเบิดอย่างไร

15.40 น. - Silhouettes Against Clusters * -กิจกรรมสื่อความต้องการหยุดระเบิดดาวกระจาย

ด้วยการเชิญชวนผู้สนใจแสดงออกด้วยการล้มลงนอนบนพื้นในท่าสมมติว่าเมื่อตนเองถูกกับระเบิดแล้วจะเป็นเช่นไร แล้วใช้ชอล์กขีดตามขอบร่างไว้

16.00 น. แข่งขันตอบปัญหา * เกี่ยวกับ กับระเบิดดาวกระจาย อนุสัญญาออสโล อนุสัญญาออตตาวา เป็นต้น

16.45 -17.45 น. ดนตรีโฟล์คซอง จาก เครือข่ายศิลปะดนตรีผู้พิการ-มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

18.00 น. จบกิจกรรมสำหรับวันเปิดตัวคาราวาน

* กิจกรรมที่จัดเวียนซ้ำ

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

3010510816

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-10-30 08:16:51 IP : 124.121.139.177


ความคิดเห็นที่ 41 (2931290)

 

คณะทำงานฯยุติกับระเบิด วอนรัฐบาล สมชายลงนามยุติระเบิดดาวกระจาย

 

คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด วอนรัฐบาลร่วมลงนามในอนุสัญญาออสโลต้านระเบิดดาวกระจายที่ยังเก็บในคลังของกองทัพอากาศ ชี้หากทำลายเองต้องใช้เวลาถึง 6 ปีแถมค่าใช้จ่ายสูง พร้อมชวนประชาชนร่วมลงนามในอนุสัญญาภาคประชาชนผลักดันรัฐบาลจรดปากกา
       
       
วันนี้ (2 พ.ย.) ที่สวนสันติชัยปราการ เขตพระนคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานเปิดงานคาราวานต้านระเบิด พร้อมกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้ใช้และประเทศผู้ผลิตระเบิดดาวกระจายแต่เป็นโอกาสดีที่คณะทำงานไทยรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อรณรงค์การเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามจังหวัดชายแดนต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ระเบิดดาวกระจายโดยตรงแต่พื้นที่ชายแดนยังพบเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม จะมีการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการต้านระเบิดดาวกระจาย ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 2-3 ธันวาคม 2551 นี้ เพื่อขอความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศต่างๆหยุดระเบิดดาวกระจาย
       
       
ด้านนางเอมิลี่ เกตุทัต ผู้ประสานงานคณะทำงานฯ กล่าวว่า ประเทศไทยแม้จะไม่มีระเบิดดาวกระจายแต่ยังมีระเบิดดาวกระจายส่วนหนึ่งที่เก็บอยู่ในคลังอาวุธของกองทัพอากาศซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำลายถึง 6 ปี ดังนั้นตนจึงอยากให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาออสโล เพื่อทำลายระเบิดดาวกระจายให้หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากหากทำลายเองค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ในส่วนของภาคประชาชนทุกคนสามารถลงนามในอนุสัญญาฉบับประชาชนเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลต่อต้านระเบิดดาวกระจาย และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดดาวกระจายในเดือนธันวาคมนี้ ทั้งนี้ทุกคนสามารถลงนามได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.minesactioncanada.org/peoples_treaty/
       
       
สำหรับประเทศที่ใช้ระเบิดดาวกระจาย หรือ ระเบิดลูกปราย ระเบิดชุดพ่วง หรือ ระเบิดพวง มีอย่างน้อย 14 ประเทศ ได้แก่ เอทริเทรีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศศ อิสราเอล โมร็อกโก เนเธอร์แลนด์ ไนจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซูดาน ทาจิกิสถาน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อดีตยูโกสลาเวีย รัสเซีย และล่าสุดรัสเซียได้ใช้ระเบิดดาวกระจายถล่มจอร์เจียเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้มีรายงานว่ามีระเบิดขนาดเล็กอยู่ในคลังของ 76 ประเทศทั่วโลกจำนวนนับพันล้านลูก มี 34 ประเทศที่เป็นประเทศผู้ผลิตระเบิดดาวกระจายจำนวนมากกว่า 210 รุ่นที่แตกต่างกัน และมีหลายประเทศทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดดาวกระจาย เช่น อัฟกานิสถาน กัมพูชา โครเอเชีย อิรัก อิสราเอล ลาว เลบานอน เวียดนาม เชชเนีย มอนเตเนโกร เป็นต้น

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0211512151

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-11-02 21:51:08 IP : 124.121.143.162


ความคิดเห็นที่ 42 (2932919)

ขอบพระคุณอย่างสูงที่กรุณาให้ความรู้ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นภาภิศ อิสระ วันที่ตอบ 2008-11-06 20:29:55 IP : 58.8.141.70


ความคิดเห็นที่ 43 (2940865)

ไทยเตรียมเสนอขอขยายเวลาเก็บกู้ทุ่นระเบิด

แนวชายแดนอีก 9 ปี ASTVผู้จัดการออนไลน์        23 พฤศจิกายน 2551

 

 

 

นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการประชุมอนุสัญญาออตตาวา ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 24 - 28 พฤศจิกายนนี้ ว่า ทางคณะผู้แทนไทยที่นำโดยนายนรชิต สิงหเสนี รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เตรียมรายงานความคืบหน้าในเรื่องการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดในไทย รวมถึงปัญหาการทำงานในช่วงที่ผ่านมา ในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดตลอดแนวพื้นที่ชายแดน และคาดว่ามีพื้นที่ที่ยังมีทุ่นระเบิดฝังอยู่ 528 ตารางกิโลเมตร โดยในระหว่างการประชุมจะได้มีการขอขยายระยะเวลาในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดออกไปอีก 9 ปี จนถึงปี 2561 และคาดว่าจะต้องใช้เงินทั้งสิ้นรวมกว่า 17,400 ล้านบาท
        นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยได้เตรียมนำเรื่องร้องเรียนในที่ประชุม กรณีที่ทหารไทย 2 นาย ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากทุ่นระเบิดที่เชื่อว่าทหารกัมพูชาได้ฝังซ่อนไว้ เพื่อดักทหารไทยขณะปฏิบัติหน้าที่บนเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม หลังเกิดเหตุรัฐบาลไทยได้ประท้วงรัฐบาลกัมพูชาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรัฐบาลไทยจะให้รายละเอียดในเรื่องนี้ระหว่างการประชุมที่เจนีวา ว่าประเทศไทยและกัมพูชาเป็นภาคีในอนุสัญญาออตตาวา และมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติด้วยการไม่ใช้ ไม่ผลิต และทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลทุกชนิด

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2311511042

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2008-11-23 10:41:52 IP : 124.121.140.231


ความคิดเห็นที่ 44 (3206339)
ugg boot cheapest ugg ultra tall boots ugg boot and burrows into forests it is surprising to find such a trail in an immersive natural setting literally tucked into a suburban area uggs for sale
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (nguypu-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-25 02:25:11 IP : 125.121.215.19


ความคิดเห็นที่ 45 (3221572)
Your Guide For Shopping for GHD Hair Straighteners The trend of curly hair straightening has grown to be incredibly common these days and majority of females really like to straighten their hair follicles Within the past it was prevalent to straighten the hair only on special events but at present women favor to straighten their hair follicles everyday to look elegant and attractive It truly is observed that curly hair are damaged mainly because of exposure towards the heat in the straightener so it truly is needed to go through all safety measures which will decrease the dangerous impacts of hair ghd straighteners You will discover different varieties of curly hair straighteners that have diverse capabilities so the choice from the most ideal locks straightener is essential in accordance for the type of hair follicles to be able to avoid the damaging effects ghd locks straightener may be the very best straightener that delivers quite a few advantageous capabilities You will discover diverse models of GHD hair straighteners that happen to be appropriate for certain sorts of head of hair GHD IV styler would be the most acceptable tool that could be employed for all types of curly hair GHD IV salon styler is helpful for thick curly hair It has wider plates that make it uncomplicated to straighten the curly hair in brief duration of time For those having brief locks GHD IV mini styler would be the ideal choice to purchase and it can create waves or curls too For getting GHD curly hair straightener it really is far better to evaluate the attributes and prices to select 1 that is according to personal demands There are many accessories that purchaser can obtain with the straightener so ahead of getting GHD hair follicles straightener the data about all equipment need to be taken There are lots of GHD locks straighteners that are created in different colors The shade of your straightener has nothing to do with its attributes People can select any color of their choice Just before acquiring GHD curly hair straightener it can be essential to be certain that it offers the warranty of two years There are some pretend GHD locks straighteners readily available inside markets so the buyer should make certain that the product he/she is acquiring is original If the GHD hair follicles straightener is bought from a reputable retailer then it will not be a pretend straightener Cautious inspection just before shopping for the straightener lessens the dangers of shopping for a fake straightener
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (kpkrds-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-01 21:01:01 IP : 125.122.102.4



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.