ReadyPlanet.com


ระบบรัฐสภาของประเทศไทย


ระบบรัฐสภาของไทย

           นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและเป็นหลักในการจัดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐและกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยภายใต้รูปแบบการปกครองเป็นระบบรัฐสภาโดยมีหลักสำคัญว่า "อำนาจอธิปไตย มาจากปวงชนชาวไทย" และ"พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข" ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะบัญญัติไว้ตรงกันให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมายควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการให้ความเห็นชอบในภารกิจสำคัญของประเทศ ส่วนรัฐสภาจะมีสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร หรือมีสองสภา คือมีวุฒิสภาเพิ่มขึ้นมาอีกสภาหนึ่งและแต่ละสภาจะมีอำนาจหน้าที่และสัมพันธภาพระหว่างกันมากน้อยและแตกต่างกันเพียงใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสอดคล้องของภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย

รัฐธรรมนูญของไทยเกือบทุกฉบับบัญญัติให้รัฐสภาประกอบไปด้วย 2 สภา คือวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2476 และดำเนินต่อมาเป็นระยะๆ จนถึงปัจจุบัน

ส่วนวุฒิสภาของไทยมีขึ้นเป็นครั้งแรกตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490   โดยบัญญัติว่ารัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกตั้งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภา

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ ปี 1 มหาวิทยาลัยปทุมธานี

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0210521642

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-02 16:42:04 IP : 124.121.143.64


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3062048)

เพียงเพื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า หรือ เพื่อคนรุ่นต่อไป ? (สารส้ม)

 

 

การเมืองวันนี้ ต้องจำแนกแยกแยะให้ชัดเจน ว่าฝ่ายไหน ต้องการอะไร

ประเมินท่าทีล่าสุด ดูเหมือนว่า

1) พรรคร่วมรัฐบาล เออออไปด้วยกันว่า จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น (ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่มีตัวแทนพรรคฝ่ายค้านและวุฒิสภาร่วมอยู่ด้วย) แต่จะต้องมีการทำประชามติ ถามความคิดเห็นและขอคำตัดสินจากประชาชน ว่าจะแก้ประเด็นไหน หรือไม่แก้ประเด็นไหน  6 ประเด็นที่ว่า ประกอบด้วย การยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคที่ทุจริตเลือกตั้ง, วิธีการเลือกตั้ง ส.ส., ที่มาของ ส.ว., การทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา , การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส. และการแทรกแซงข้าราชการประจำ


สรุปว่า จะดำเนินการแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น โดยเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องผลประโยชน์ของนักการเมืองและพรรคการเมืองทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องผ่านประชามติ

น่าคิดว่า ท่าทีและการดำเนินการของพรรคร่วมรัฐบาล เป็นไปตามความต้องการของนักการเมืองผู้ถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง ถูกห้ามข้องเกี่ยวกับการเมือง แต่ได้เข้าประชุมกันที่บ้านพิษณุโลก ร่วมกับนายกรัฐมนตรี

สะท้อนว่า ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ตกอยู่ใต้อาณัติของคนพวกนี้ ใช่หรือไม่?

2) พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้ตนเองรอดพ้นความผิดในคดีทั้งปวง โดยเฉพาะคดีร่ำรวยผิดปกติ ยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดิน 76,000 ล้านบาท

แสดงท่าทีในทำนองว่า ต้องการให้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540

น่าคิดว่า หากเป็นเช่นนั้น จะเปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย ทำให้สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้ เพื่อล้มล้างคดีทุจริตที่เป็นชนักติดหลัง พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ โดยไม่ต้องหักล้างด้วยข้อเท็จจริง หรือแสวงหาข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้ทุจริตตามข้อกล่าวหาอย่างไร

ล่าสุด จึงออกมาบอกว่า ไม่เห็นด้วยกับการจะแก้รัฐธรรมนูญแค่ 6 ประเด็น และทำประชามติ

อ้างว่า เปลืองงบประมาณ 2 พันล้าน

และพยายามบิดเบือนโดยแอบอ้างว่า ทำไมต้องให้ประชาชนเลือกแค่จะขี่***หรือรถอีแต๋น ทั้งๆ ที่ เขามีสิทธิ์เลือกที่จะขี่รถเก๋งหรือรถปิ๊กอัพ

แต่ความต้องการจริงๆ ที่แอบแฝงมาตั้งแต่ต้น น่าจะเป็นเรื่องที่ว่า จะทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อเปิดทางรอดให้กับคดีทุจริตของตนเองทั้งหลายมากกว่า !

3) พรรคเพื่อไทย ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ยังแสดงท่าทีเห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น เหมือนกับพรรครัฐบาลอยู่แท้ๆ มิหนำซ้ำ ออกจะกระ***นกระหือรือ อยากให้รัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญกันไปเลย โดยไม่ต้องทำประชามติด้วยซ้ำ

แต่ล่าสุด พอทักษิณเห็นว่าไม่สมประโยชน์ของตัวเอง พรรคเพื่อไทยก็เปลี่ยนท่าที หันมาบอกว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญแค่ 6 ประเด็น และทำประชามติเสียแล้ว

สะท้อนว่า ส.ส.พรรคเพื่อไทย ตกอยู่ใต้อาณัติของทักษิณ ใช่หรือไม่ ?

4) ชมรม สสร. 2550 และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองอย่างเด็ดขาด และพันธมิตรฯ ได้ประกาศนัดชุนุมใหญ่ ในทันทีที่ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้าน จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

5) สิ่งที่ประชาชนทั่วไป จะต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ คือ

ฝ่ายต่างๆ ที่มีจุดยืนและความต้องการแตกต่างกันไปนั้น จุดยืนและท่าทีของใคร ยืนอยู่บนสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ส่งเสริมการพัฒนาและสร้างธรรมาภิบาลทางการเมือง ตรวจสอบและดัดสันดานขี้โกงของนักการเมืองเก่าๆ และปกป้องผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของประเทศชาติและประชาชน

การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 อย่างเต็มที่ คงมีแต่นักการเมืองเท่านั้น สูญเสียความสะดวก และต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันเน่าเฟะทางการเมืองของพวกตน ในขณะที่ประชาชนและสังคมส่วนรวมคือผู้จะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในระยะยาว

ใช่หรือไม่ว่า... ทักษิณกำลังทำตัวเป็นส่วนเกิน และเป็นตัวถ่วงในการเดินต่อไปข้างหน้าของประเทศชาติส่วนรวมมากขึ้นทุกวัน ?

ชัดเจนใช่ไหมว่า... การแก้รัฐธรรมนูญ ที่พยายามกันอยู่ในขณะนี้ เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์ในการเลือกตั้งครั้งหน้าของพรรคพวกนักการเมืองพวกนี้เท่านั้นเอง

ในแวดวงนักการเมืองวันนี้ มันไม่มีใคร หรือพรรคการเมืองใด คิดไกลไปกว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยคิดและทำเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นต่อไป จะไม่มีแล้ว จริงๆ หรือ?

สารส้ม

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0910521937

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-09 19:37:58 IP : 124.122.2.232


ความคิดเห็นที่ 2 (3062058)

ความจริงจะช่วยลดความขัดแย้งในสังคมไทย (เขียนให้คิด)

 

คนบางคนเชื่อตามทฤษฎีสังคมศาสตร์สายตะวันตกว่า มนุษย์กับความขัดแย้งเป็นของคู่กัน บางคนมองว่าความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ แต่เมื่อวิเคราะห์ให้ถึงแก่นแล้ว ความขัดแย้งกับความแตกแยกอาจมิใช่ประเด็นเดียวกัน เพราะสำหรับมนุษย์ผู้มีสติและมีความรู้เนื้อรู้ตัวในทุกขณะจิตแล้ว จะมองเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน และมองว่าความคิดเห็นและความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน มิได้ทำให้คนผู้เจริญแล้วนำเอาไปเป็นเหตุแห่งการเข่นฆ่าทำลายล้างกัน

Karl Marx นักคิดผู้เรืองนาม ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เจ้าของทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) กล่าวว่า การดำรงอยู่ของความขัดแย้งทำให้เกิดพัฒนาการของสังคมมนุษย์ เพราะเหตุนี้เองใช่หรือไม่ จึงทำให้ประเทศมหาอำนาจตะวันตกมีความเจริญก้าวหน้าในด้านศิลปะวิทยาการและเทคโนโลยีมากกว่าดินแดนส่วนอื่นๆบนโลกใบนี้

ครั้นเมื่อวิเคราะห์ในส่วนของสังคมไทย อาจจะพบว่าแนวคิดเรื่องความขัดแย้งเป็นสิ่งที่คนในซีกโลกนี้ มักไม่ค่อยยอมรับและพยายามปกปิดเรื่องความขัดแย้งเอาไว้ เพราะคนไทยส่วนมากมักมีมโนสำนึกว่าความขัดแย้งคือการทะเลาะเบาะแว้ง การก่อเหตุวิวาท ซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่การเสียเลือด เสียเนื้อและเสียชีวิต

และด้วยเหตุข้างต้นหรือเปล่า จึงทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยไม่พยายามจะพูดกันอย่างเปิดอกและไม่พูดกันด้วยสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่แต่ละฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกัน หรือเป็นเพราะว่า สังคมของเราสั่งสอนต่อๆกันมาว่า น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก, พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

คำสอนข้างต้นนี้ หากจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกาละ เทศะและบุคคลแล้ว ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ประเสริฐยิ่ง แต่ส่วนใหญ่เท่าที่พบเห็นก็มักจะเป็นไปในทำนอง การยอมจำนนต่อเฉพาะผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าเท่านั้น เช่น ประชาชนไม่กล้าคัดค้านและไม่กล้าแสดงความไม่พอใจโดยตรงกับข้าราชการ นักการเมือง เจ้าขุนมูลนายและบรรดาพ่อค้านักธุรกิจระดับชาติ แม้ประชาชนจะรู้ดีว่าคนกลุ่มดังกล่าวบางคนอาจจะมีพฤติกรรมชั่วช้าสามานย์ก็ตาม

ในมุมตรงกันข้าม หากเป็นคนระดับเดียวกันหรือถ้ายิ่งเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อยกว่าแล้ว เรากลับพบว่า คนเรามักจะมีแนวโน้มไม่ค่อยไว้หน้า ไม่เกรงใจ ไม่ถนอมน้ำใจและไม่อดทนต่อการกระทำของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่จะตอบโต้อย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุเกือบทุกครั้งไป

หากจะกล่าวถึงบริบทของสังคมไทย ก็ต้องยอมรับว่าเคยผ่านเหตุความขัดแย้งที่บานปลายกลายเป็นเหตุกลียุคมาแล้วหลายครั้ง อาทิ เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ และพฤษภาฯทมิฬ และที่อาจจะเข้าข่ายเหตุกลียุคอีกกรณีหนึ่ง ก็เห็นจะได้แก่ เหตุความไม่สงบในเขตจังหวัดชายแดนภายใต้ 3 จังหวัด ซึ่งกินเวลามานานกว่า 5 ปีแล้ว

แต่ดูเสมือนว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากจะพูดถึงเหตุการณ์ไม่สงบที่เกิดในสังคมของเรา บางคนก็แก้ตัวว่า ไม่ต้องการฟื้นฝอยหาตะเข็บ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่สุดแสนพิสดารและประหลาดมหัศจรรย์

ไม่พูดความจริงเพราะเกรงหยิกเล็บเจ็บเนื้อ?

น่าสงสัยว่าเหตุใดคนในสังคมของเราจึงไม่กล้าทำความจริงเรื่องนี้ให้กระจ่าง หรือเพราะรู้ดีว่ากรณีนี้ หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ จึงจงใจปล่อยเรื่องให้คลุมเคลือตลอดไป แต่หากใครพยายามจะทำให้เรื่องนี้กระจ่างชัด ก็มักจะถูกประณามว่าจงใจขุดคุ้ยขี้เถ้าอันครุกรุ่นจากกองไฟ เพื่อหวังจะให้ไฟกลับลุกขึ้นมาอีก

ด้วยเหตุข้างต้นนี้เอง เราทุกคนจึงตกอยู่ในสภาพสังคมที่หาความจริงไม่ค่อยเจอ แต่ที่เจอก็มักจะเป็นข่าวลือ ข่าวลวงและข่าวโคมลอย ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อการรับรู้แต่อย่างใด

เมื่อไม่มีความจริงสังคมก็สับสน ผู้คนก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรคือต้นสายปลายเหตุของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สภาพสังคมเช่นนี้เป็นเหยื่ออันโอชะของนักเลือกตั้ง เพราะเขาสามารถนำมันไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้โดยมิรู้จบ ดังนั้นจึงไม่ต้องประหลาดใจที่นักเลือกตั้งในบ้านเราชอบทำให้สังคมเต็มไปด้วยกระแสข่าวลือ แต่เมื่อลือกันไป ลือกันมาสักพักหนึ่ง นักเลือกตั้งก็สร้างปมประเด็นใหม่ขึ้นมาเพื่อเบี่ยงเบนและบิดเบือนประเด็นเดิม เป็นเช่นนี้เรื่อยไป แล้วสุดท้ายก็จบลงด้วย ความไม่ชัดเจน

เป็นความจริงประการหนึ่งที่สังคมจับได้หลายครั้งว่า เหตุผลสำคัญที่นักเลือกตั้งไม่ยอมพูดความจริงก็เพราะ ตัวของพวกเขานั่นเองคือต้นตอแห่งความเลวร้ายของสังคม เราพบเสมอๆว่านักเลือกตั้งมีเครือข่ายโยงใยใกล้ชิดกับบรรดาเจ้าพ่อเจ้าแม่และมาเฟียสารพัดกลุ่ม ดังนั้นจึงไม่ต้องคาดหวังว่าคนจำพวกนี้จะกล้าเปิดเผยความจริง เพราะความจริงจะทำให้คนเหล่านี้หมดสิ้นอำนาจและสูญเสียผลประโยชน์

หากหวังความสงบ สังคมต้องกล้าพูดความจริง

สังคมไทยมักจะชอบอ้างให้ตนเองดูดีในสายตาคนอื่นๆว่า เป็นสังคมแห่งการประนีประนอม เป็นสังคมที่ไม่นิยมความรุนแรง แต่ความเป็นจริงก็คือเรามักจะประนีประนอมกับคนที่เรามีผลประโยชน์ด้วย แต่หากไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันแล้วก็อาจจะเข่นฆ่ากันได้โดยไร้ความปรานี สามารถกระทำกับผู้อื่นได้ราวกับว่าเขามิใช่มนุษย์

น่าประหลาดที่คนจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริง เมื่อไม่กล้าเปิดใจพูดความจริงต่อกัน ปัญหาต่างๆก็ไม่สามารถถูกขจัดให้หมดสิ้นไปได้

ลองกลับไปทบทวนดูซิว่า เราและท่านทั้งหลายในฐานะประชาชนผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินไทยได้รับรู้ความจริงอะไรบ้าง เราไม่เคยรู้ความจริงทั้งหมดในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 หรือ 6 ตุลาฯ 2519 เราไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ารัฐบาลชุดนี้ข้อตกลงลับๆอะไรกับพรรคร่วมรัฐบาล เราไม่เคยรู้ว่าในแต่ละปีกองทัพไทยใช้งบลับไปเพื่อกิจการใด เราไม่รู้แม้กระทั่งว่าคุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สินมหาศาลซุกซ่อนอยู่ที่ไหนบ้างบนโลกใบนี้

ในขณะที่บ้านเมืองของเรามีกลุ่มการเมืองสารพัดสี ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีนำเงิน สีขาว แต่เราก็ไม่เคยรู้ว่าใครคือตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังของกลุ่มสีต่างๆ เราไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ากลุ่มคนเหล่านั้นเอาเงินเอาทองจากไหนมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ประชาชนไทยเคยตั้งคำถามบ้างหรือไม่ว่าเป็นเพราะเหตุใด ทำไมประชาชนจึงไม่สามารถล่วงรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดกับบ้านเมืองนี้ได้ ทั้งๆที่เรื่องเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของประชาชน

เมื่อประชาชนไทยไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้ ก็อย่าหวังเลยว่าบ้านเมืองจะพัฒนาไปได้อย่างเป็นรูปธรรม และก็ไม่ต้องหวังด้วยว่าความสงบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยจะเกิดขึ้นได้บนแผ่นดินไทยของเรา

ข้อสรุปที่พูดง่าย แต่ทำได้ยากเหลือเกินก็คือ ต้องทำความจริงให้ปรากฏ เพื่อที่บ้านเมืองและประชาชนจะได้พบกับความผาสุกนิรันดร์ หากไม่เป็นไปตามนี้แล้วก็คงต้องจมอยู่ในสภาพสิ้นหวังตลอดไป

เฉลิมชัย ยอดมาลัย

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์รุ่น 8 มหาวิทยาลัยปทุมธานี

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

0910521959

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-09 19:59:56 IP : 124.122.2.232


ความคิดเห็นที่ 3 (3062647)

ความซับซ้อนใหม่ของการเมืองไทย

หลังการประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองใหม่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ประชาชนชาวไทยจะได้เห็นความแตกต่างระหว่างการเมืองเก่ากับการเมืองใหม่อย่างชัดเจนขึ้นโดยลำดับ และทำให้ภาพรวมของการต่อสู้ทางการเมืองเป็นการต่อสู้ระหว่างการเมืองเเก่ากับการเมืองใหม่ที่จะมีความเข้มข้นมากขึ้นโดยลำดับเช่นเดียวกัน
       
       
ทว่าพรรคการเมืองใหม่ยังเยาว์วัย ยังอยู่ในช่วงระยะเวลาการสร้างพรรคและการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติภารกิจทางการเมืองของตน ทั้งการเมืองเก่าก็ได้เกิดขึ้นและดำเนินมาร่วม 70 ปีแล้ว ดังนั้นแม้กระแสหลักจะเป็นการต่อสู้ระหว่างใหม่กับเก่า แต่ท่ามกลางการต่อสู้นั้นก็ย่อมมีความซับซ้อนและความสับสนอันเป็นผลตกทอดมาจากอดีตมากมายนัก
       
       
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันสมควรที่จะได้มองถึงความเป็นไปของความสลับซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสักครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องใจหรือไม่ต้องใจใครก็ได้ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ แต่อย่างน้อยก็จะเป็นการจุดประกายความคิดให้ได้พิจารณากัน
       
       
ความเป็นจริงของการเมืองไทยในขณะนี้เห็นกันอยู่แล้วว่าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
       
       
กลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มพรรคการเมืองที่ครองอำนาจรัฐ ได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมใจไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน
       
       
ภายในกลุ่มแรกนี้ก็ยังมีความแปลกแยกกันเป็นอันมาก มีทั้งเรื่องที่ร่วมกันได้ และเรื่องที่ขัดแย้งกันดำรงอยู่ และมันจะยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่รู้ว่าจะจบสิ้นลงเมื่อใด
       
       
แต่ในวิถีดำเนินนั้นทั้งความร่วมและความแตกต่างอยู่ที่สิ่งเดียวเท่านั้นคือผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและผลประโยชน์ทางการเมือง
       
       
สถานการณ์ในกลุ่มแรกในปัจจุบันนี้ปรากฏว่าพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดได้จับมือกันอย่างแน่นหนา ประดุจว่าเป็นกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งภายในพรรคร่วมรัฐบาล ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำในรัฐบาลก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นห่วงโซ่ข้อกลาง
       
       
แต่เป็นห่วงโซ่ข้อกลางประเภทที่ตึงและพร้อมจะขาดกับพรรคที่ตนเองสังกัด ในขณะที่หย่อนและเหนียวแน่นกับพรรคร่วมที่เหลือ โดยในพรรคประชาธิปัตย์นั้นก็มีความเห็นต่างกันเป็นสองขั้ว คือขั้วผลัดใบกับขั้วศตวรรษใหม่
       
       
ความร่วมกันและความแตกต่างกันภายในกลุ่มแรกนี้ได้ส่งผลให้การเมืองและการบริหารบ้านเมืองไม่อาจเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพได้ ทั้งได้สร้างหน่อเนื้อของความแตกร้าวและความแตกแยกโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ขึ้นแล้ว
       
       
ทว่าทุกพรรคในกลุ่มแรกนี้ต่างก็เข็ดหลาบกับการร่วมงานทางการเมืองกับระบอบทักษิณ เพราะที่เคยร่วมการงานกันมานั้นก็รู้เช่นเห็นชาติกันเป็นอย่างดีว่าระบอบนั้นเป็นระบอบผูกขาดของผู้คนในครอบครัวเดียว ที่ใครอื่นใดไม่อยู่ในสายตาทั้งสิ้น ความผูกขาดนั้นยังมีลักษณะกินรวบ และมีความเสี่ยงทั้งการรักษาอำนาจและการใช้อำนาจ จนเข็ดขยาดที่จะต้องเอาอนาคตของตนเองและครอบครัวเข้าไปอยู่ในอุ้งมือของกระบวนการยุติธรรม ที่มีคุกหรือความทุกข์ทรมานเป็นอนาคต
       
       
ดังนั้นภายในกลุ่มแรกนี้จึงด้านหนึ่งสามารถประสานผลประโยชน์กันได้เพราะปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก และสามารถประสานผลประโยชน์ทางอำนาจกันได้เป็นอย่างดีเพราะไม่เคยมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใดที่พรรคร่วมมีอำนาจวาสนายิ่งใหญ่ถึงปานนี้มาก่อนเลย
       
       
กลุ่มที่สอง คือระบอบทักษิณที่ปัจจุบันนี้มีกองรบใหญ่อยู่ 3 กอง คือกองรบในสภา ได้แก่พรรคเพื่อไทย กองรบงานมวลชน คือคนเสื้อแดง และกองรบสื่อมวลชน ซึ่งเป็นอาวุธที่ทรงพลังแห่งยุคสมัย ทั้งยังมีทุนรอนมหาศาลและยังมีข้าราชการจำนวนไม่น้อยที่ยังถวิลหาอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งเคยได้รับเมื่อครั้งที่พรรคไทยรักไทยครองอำนาจรัฐ
       
       
ทว่ากลุ่มนี้กลับมีจุดอ่อนที่ใหญ่หลวง คือมีศัตรูคู่แค้นมากหลายในขอบเขตทั่วประเทศ ในทุกเหล่าชั้นชน โดยเฉพาะคนบางกลุ่มที่มีเขี้ยวเล็บอยู่ในมือ และยากที่จะประสานความเข้าใจหรือร่วมมือต่อกันได้อีกต่อไป
       
       
และด้วยจุดอ่อนนี้ก็เคยมีบทเรียนที่เด่นชัดมาแล้ว จากการได้ครองอำนาจรัฐช่วงที่สองในยุคที่ยังเป็นพรรคพลังประชาชนว่า ถึงแม้จะครองอำนาจรัฐได้ แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถรักษาอำนาจรัฐได้
       
       
กลุ่มนี้และพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศตนเป็นศัตรูทางการเมืองต่อกันอย่างชัดเจนว่า จะไม่มีวันที่จะร่วมมือกันเป็นรัฐบาลได้เลย แต่มิได้หมายความว่าการร่วมผลประโยชน์บางอย่างจะเป็นไปไม่ได้
       
       
กลุ่มนี้หวังนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับคืนสู่อำนาจโดยปราศจากความผิด ซึ่งทำได้ก็แต่โดย 2 ทางเท่านั้น คือโดยการปฏิวัติรัฐประหาร หรือโดยการเป็นรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาด
       
       
ในวันนี้หนทางรัฐประหารสำหรับกลุ่มนี้คงยากจะเกิดขึ้นได้ เพราะย่อมไม่มีผู้มีอำนาจทางทหารคนใดที่จะยอมตนเป็นผู้รับจ้างยึดอำนาจเพื่อผู้อื่น ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มนี้ย่อมมีบทเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ในห้วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
       
       
คงเหลือก็แต่หนทางรัฐสภา ซึ่งต้องได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และดูเหมือนว่ากลุ่มนี้จะรู้ดีว่ายากจะดึงพรรคการเมืองอื่นเข้าร่วมได้ เพราะวิบากกรรมอันทำไว้แต่อดีตที่ทำให้เกิดความขยาดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องมุ่งมั่นที่จะเอาชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเป็นเสียงข้างมากแต่พรรคเดียว
       
       
ความเป็นไปได้มีอยู่น้อยมาก เพราะในวันนี้พรรคภูมิใจไทยได้ครองอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพลังอำนาจครบเครื่องทุกด้าน และวางเป้าหมายพื้นที่ยุทธศาสตร์เลือกตั้งไว้ที่ภาคอีสาน จึงก่อรูปการกำหนดให้กลุ่มนี้ต้องเสริมกำลังจนต้องไปเชื้อเชิญพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามานำทัพ
       
       
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้กลุ่มนี้ได้กำหนดให้พรรคภูมิใจไทยเป็นศัตรูตัวเอก และพรรคประชาธิปัตย์เป็นศัตรูตัวรองในสมรภูมิรบทางการเมือง
       
       
สถานการณ์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่าถ้ากลุ่มนี้ไม่สามารถได้รับชัยชนะเด็ดขาดในการเลือกตั้ง ก็ยากที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ และจะต้องกลายเป็นฝ่ายค้านไปอีกนานเท่านาน ในขณะที่เวลาได้พร่ากำลังรบของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้อ่อนลงโดยลำดับ ดังนั้นจึงต้องทำการแข่งกับเวลาแม้ว่าจะต้องสุ่มเสี่ยงก็ตามที
       
       
กลุ่มที่สาม คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งในวันนี้ก็มีกองรบในเครือข่ายหลายกอง ไม่ว่าพลังมวลชนของกลุ่มพันธมิตรฯ เอง องค์กรแนวร่วม เครือข่ายสื่อที่มีเอเอสทีวีเป็นศูนย์กลาง ระบบเศรษฐกิจการเมืองใหม่ที่มีรูปธรรมในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในขอบเขตทั่วประเทศ และพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น
       
       
ในวันนี้กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีอำนาจรัฐ ไม่มีนักรบในสภา และไม่มีทุนรอนเป็นกอบเป็นกำ จึงได้แต่อาศัยพลังของมวลชนเป็นที่ตั้ง แต่เพราะการต่อสู้ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ และกล้าหาญ จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง และดูแคลนไม่ได้
       
       
พรรคพลังประชาชนล้มคว่ำไป 2 รัฐบาล ก็เพราะดูแคลนว่ากลุ่มที่สามนี้ไม่มีพลังแล้ว แตกแยกแตกความสามัคคีกันแล้ว จึงฮึกเหิมลำพองทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ และไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ แม้ในวันนี้กลุ่มแรกมีอำนาจรัฐ ก็มีอาการที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พรรคพลังประชาชนเคยมีความคิดมาแล้ว
       
       
กลุ่มที่สามเป็นตัวแทนของการเมืองใหม่ ในขณะที่กลุ่มแรกและกลุ่มที่สองเป็นตัวแทนของการเมืองเก่า เพราะเหตุนี้จึงกล่าวว่าในภาพรวมการต่อสู้ในทางการเมืองจะเป็นการต่อสู้ระหว่างใหม่กับเก่า
       
       
ดังนั้นกลุ่มที่สามจึงต้องรับมือกับการโจมตีของกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง กลายเป็นสองรุมหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ภายในภาคส่วนของการเมืองเก่าก็มีความขัดแย้งและมีการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง จึงก่อเกิดสภาพร่วมและแยกกันของทั้งสามกลุ่มดังนี้
       
       
กลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลอาจร่วมผลประโยชน์กับกลุ่มระบอบทักษิณได้ แต่ยากที่จะร่วมอำนาจกันได้ เว้นแต่จะไม่มีทางเลือกอย่างอื่นเท่านั้น
       
       
ภายในพรรคร่วมรัฐบาล ร่วมอำนาจกันได้ และร่วมผลประโยชน์กันได้
       
       
กลุ่มพันธมิตรฯ ในขณะนี้ไม่มีผลประโยชน์ที่จะร่วมกับใครได้ และด้วยแนวทางการเมืองใหม่ย่อมยากที่จะร่วมผลประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์กับกลุ่มใดๆ ได้ จึงมีแต่ต้องมุ่งสร้างพรรคให้ได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน
       
       
ทว่าในทางยุทธวิธีนั้น ก็ใช่ว่าจะร่วมมือกันเฉพาะเรื่องเฉพาะราวไม่ได้
       
       
ดังนั้นการกำหนดและยึดมั่นในปัญหายุทธศาสตร์ทางการเมืองและความพลิกแพลงทางยุทธวิธีของทุกกลุ่มนับแต่นี้ไป จึงมีแต่พิสดาร ซับซ้อน และเข้มข้นยิ่งขึ้นกว่าทุกระยะที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้ประชาชนเราต้องทำความเข้าใจด้วยความรู้เท่าทันอยู่เสมอ.

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์รุ่น 8 มหาวิทยาลัยปทุมธานี

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1210520755

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-12 07:54:58 IP : 124.121.140.23


ความคิดเห็นที่ 4 (3062659)

ไม่อยากถูกยุบพรรค อย่าโกงเลือกตั้ง (เขียนให้คิด)

 

เมืองไทยมีนักการเมือง นักธุรกิจการเมือง หรือมีแต่นักเลือกตั้ง?

บกพร่องโดยสุจริต หมายถึงทำผิดกฎหมาย แต่ไม่ยอมรับความโทษใช่หรือไม่?

รวยแล้วไม่โกง มีมากเกินพอแล้วไม่โกง จึงขออาสามาช่วยชาติ จริงหรือ?

นักการเมืองทำทุกอย่างเพื่อประชาชน หรือทำเพื่อโคตรเหง้าของตน?

กระสันอยากเป็นนายกรัฐมนตรีจนตัวสั่น จึงต้องโกงการเลือกตั้ง แต่เมื่อถูกจับได้ก็ไม่ยอมให้ยุบพรรคการเมือง แต่อ้างว่าพรรคเป็นของประชาชน ถามว่าประชาชนเป็นเจ้าของพรรคจริงหรือ?

การได้อำนาจรัฐมาโดยกรรมวิธีคดโกงการเลือกตั้ง ถือเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงกระนั้นหรือ?

สารพัดสารพันปัญหาข้างต้นนี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันให้เห็นว่าประเทศไทยของเรามีแต่นักโกงบ้านกินเมือง นักธุรกิจการเมืองและเลือกตั้งมากกว่ามีนักการเมืองตัวจริง หากไม่เชื่อก็จงกลับไปทบทวนดูเถิดว่า มีนักเลือกตั้งกี่คนที่ร่ำรวยอย่างผิดปกติ หลังจากได้อำนาจรัฐไปครอบครองเพียงไม่นาน

อยากเป็นใหญ่ แต่ไม่รับผิดชอบ

นักเลือกตั้งไม่อยากให้มีการยุบพรรคการเมือง ไม่ต้องการให้ตัดสิทธิทางการเมืองกับกรรมการบริหารพรรคทั้งคณะ ทั้งๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่า ผู้บริหารพรรคคนใดคนหนึ่งถูกจับได้คาหนังคาเขาว่า ทุจริตการเลือกตั้งเพราะซื้อสิทธิ์ขายเสียง

เป็นเรื่องอุบาทว์ที่นักเลือกตั้งระดับกรรมการบริหารพรรคที่กระสันจะมีอำนาจรัฐ ต้องกระเสือกกระสน ทุรนทุราย และดิ้นพล่านออกมาแก้ตัวอย่างหน้าด้านๆ ว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริตการเลือกตั้ง และมักจะอ้างว่าตนเองบริสุทธิ์ แต่กลับถูกลงโทษโดยไม่เป็นธรรม พร้อมกับโยนความผิดทั้งปวงให้บรรดาขี้ข้าที่เจ้าของพรรคจ้างมาเพื่อให้รับโทษทัณฑ์แทนตัว

ทำไมนักธุรกิจการเมืองและนักเลือกตั้งจึงชอบอ้างแบบไร้สมองว่า ฉันไม่รู้ ฉันไม่เห็น ฉันไม่เกี่ยว ฉันไม่ได้โกง แต่ไอ้และอีขี้ข้าที่สังกัดอยู่ในพรรคเดียวกับฉัน ดันโง่ไปโกงเลือกตั้งจนถูกจับได้ แล้วอย่างนี้จะมาเอาผิด จะตัดสิทธิ์การเมืองฉันได้อย่างไร ฉันไม่ได้ทำด้วยตัวเอง แต่ฉันสั่งให้ขี้ข้าไปทำแทน แล้วอย่างนี้จะมาเอาผิดกับฉันทำไม อย่างนี้สังคมมันไร้ความยุติธรรมเสียจริงๆ

รัฐธรรมนูญสั่งห้ามโกง จึงต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง

นักเลือกตั้งไทยคือสิ่งมีชีวิตจำพวกที่ไร้สติปัญญา ไร้ศีลธรรมและคุณธรรม เท่านั้นยังไม่พอยังเป็นพวกที่ชอบละเมิดกฎกติกาเป็นประจำ คนพรรค์อย่างนี้รู้ดีว่าบ้านเมืองมีรัฐธรรมนูญตราไว้ว่าห้ามทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ทั้งๆ ที่รู้ พวกมันก็จงใจทำผิด เพราะมีตัวพ่อเคยอ้างไว้ว่า บกพร่องโดยสุจริต

แต่เมื่อถูกจับได้ว่าทำผิดก็กลับมาร้องแรกแหกกระเชอว่าสังคมไม่ให้ความเป็นธรรมกับตัวเอง ก็อยากจะถามกลับเช่นกันว่า ความเป็นธรรมที่คนโกงต้องการคืออะไร คือสามารถโกงต่อไปได้เรื่อยๆ แบบไม่มีจุดจบโดยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายใช่หรือไม่

เมื่อคนชั่วช้าสามานย์โกงบ้านกินเมืองต่อไปอีกไม่ได้ แทนที่พวกมันจะสำนึกและกลับตัวกลับใจกลับตนเป็นคนดี แต่มันกลับคิดได้แค่เพียงต้องฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทิ้งไป เพราะเมื่อไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว พวกมันจะกอบโกยและโกงกินได้สะดวกตามใจนึก

นักเลือกตั้งเห็นเรื่องบาปหยาบช้าเป็นสิ่งปกติ

คนผู้มีผิวหน้าบาง มีความเกรงกลัวและละอายต่อเรื่องความบาปหยาบช้าได้ง่าย คนประเสริฐจำพวกนี้จึงไม่สามารถปล่อยตัวปล่อยใจให้ไหลเรื่อยไปตามกระแสความชั่วได้ ไม่ว่าบาปจะยั่วยวนล่อหลอกเขาสักเพียงใด แต่เขาก็จะมีภูมิคุ้มกันไฟบาปได้ตลอดเวลา

แต่สำหรับนักเลือกตั้งแล้ว คนจำพวกนี้กลับเห็นว่าบาปมีความหอมหวานน่าลิ้มลอง นักเลือกตั้งจึงอดใจไม่ได้ ต้องเข้าไปเกลือกกลั้วกับของโสโครกโสมมตลอดเวลา ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่คนโสโครกมักจะยินดีกับของสกปรกโสโครก

หากนักเลือกตั้งมีความเป็นมนุษย์มากกว่าที่เป็นอยู่ พวกเขาคงจะแยกแยะได้ว่า อะไรผิด ชอบ ชั่ว ดี แต่เพราะเหตุที่นักเลือกตั้งมีความเป็นมนุษย์ผู้มีจิตสาธารณะน้อยเสียจนแทบจะหามิได้ จึงทำให้บ้านเมืองและสังคมไทยของเราเสื่อมทรามและเลวร้ายดังปรากฏในปัจจุบัน

ไม่ว่าสังคมจะส่งเสียงเตือนสติคนจำพวกนี้อย่างไรก็ตาม แต่ก็ไร้ผล เปรียบเสมือนตักน้ำราดรดไปบนหัวตอที่ผุเปื่อย จึงไม่ต้องประหลาดใจที่คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจำพวกนี้ชอบอ้างแบบไร้ตรรกะว่า ต้องแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

ครั้นบอกให้อมนุษย์จำพวกนี้ตอบให้ชัดว่า อะไรคือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน พวกมันก็ไม่เคยตอบได้สักที ถึงแม้มันจะตอบเรื่องนี้ไม่ได้ แต่มันก็ยังคงพร่ำเพ้อละเมอว่า พวกมันทุ่มเททำงานเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่บนแผ่นดินนี้

ครั้นถามต่อไปว่า ไม่เคยรู้มาก่อนเลยหรือว่า การทำผิดกฎหมายเลือกตั้งมีผลทำให้ต้องถูกยุบพรรคและถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี พวกมันก็จะอ้างแบบน่าสังเวชว่า มันไม่ได้กระทำผิด แต่คนอื่นเป็นผู้ทำ

หากถามต่อไปว่า เหตุใดไม่ห้ามปราบคนในหมู่คณะเดียวกันมิให้ทำผิดกฎหมาย มันก็จะตอบว่า ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ มันสามารถตอบแบบนี้ได้ ทั้งๆ ที่มันคือผู้สั่งการให้คนในสังกัดของมันไปโกงการเลือกตั้ง มันสามารถตะแบงได้ทุกเรื่องเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด นี่คือโทษลักษณะสำคัญของนักเลือกตั้งไทย ที่เราจะไม่สามารถหาได้ง่ายๆ ในประเทศที่เจริญแล้ว

สอนหมายังง่ายเสียกว่าบอกให้นักเลือกตั้งเลิกโกง

อันที่จริงแล้วปัญหาการยุบพรรคนี้ ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยมากสำหรับผู้ที่มีหิริโอตตัปปะ แต่มันคือปัญหาที่ใหญ่กว่าเขาพระสุเมรุ เมื่อพูดเรื่องนี้กับนักเลือกตั้งที่ต้องการเข้ามาโกงบ้านกินเมือง

หากเป็นคนที่มีสติปัญญาแล้ว เขาจะรู้ได้โดยทันทีว่า หากไม่อยากเป็นคนผิดคนชั่ว ก็ต้องไม่ทำผิดและไม่ทำชั่ว แต่เรื่องธรรมดาแบบนี้จะนำไปปรับใช้กับนักเลือกตั้งผู้มีสันดานหยาบช้า เพราะเห็นเรื่องบาปเรื่องโกงเป็นสิ่งปกติมิได้

เราอาจจะฝึกสอนสุนัขของเรามิให้มีสันดานเป็นอันธพาลได้ง่ายเสียยิ่งกว่าการฝึกมิให้นักเลือกตั้งเลิกโกงบ้านกินเมือง ต่อให้บังคับให้คนพวกนี้ท่องอาขยานในช่วงเช้าและเย็นเป็นประจำทุกวันว่า หากมิอยากถูกยุบพรรคและถูกตัดสิทธิการเมืองก็จงอย่าโกงเลือกตั้ง พวกมันก็คงจะท่องได้จนขึ้นใจ แต่อย่าหวังว่าอัปรีย์มนุษย์เหล่านี้จะทำได้ตามคำสอน เพราะคนพวกนี้หายใจเข้าและออกเป็นเสียงโกงบ้าน กินเมือง โกงบ้าน กินเมือง โกงบ้าน กินเมือง ตลอดเวลา

เฉลิมชัย ยอดมาลัย

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์รุ่น 8 มหาวิทยาลัยปทุมธานี

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1210520824

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-12 08:24:07 IP : 124.121.140.23


ความคิดเห็นที่ 5 (3065306)

รัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน

 

ความเคลื่อนไหวในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ล่าสุดมีแนวโน้มว่าในที่สุดแล้วการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็คงจะต้องมีการยุติไว้เป็นการชั่วคราวเพราะมีกระแสคัดค้านและไม่เห็นด้วยจากประชาชนหลายกลุ่มด้วยกัน

กลุ่มแรกก็คือ สส.ในพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแกนนำของรัฐบาลเอง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเป็นจำนวนมาก กลุ่มที่ 2 ได้แก่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นมวลชนที่รวมพลังกันออกมาขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา

กลุ่มที่ 3 ได้แก่ พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาราช ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่แสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าต้องการให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แทน เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนั้นให้ประโยชน์แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสมัครพรรคพวก มากกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

ส่วนกลุ่มที่ 4 ได้แก่ บรรดาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 หรือ ส.ส.ร.50 ที่ได้ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชนในปีที่แล้ว และกลุ่มที่ 5 ก็คือ กลุ่มวุฒิสมาชิกฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ออกมาระบุว่าข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองนั้นเป็นการแก้ไขกฎเกณฑ์กติกาเกี่ยวกับตัวของนักการเมืองที่เสียประโยชน์ทั้งสิ้น เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วก็นำไปสู่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ โดยหวังเข้ามายึดครองอำนาจรัฐไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสมานฉันท์และประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย

ส่วนการที่จะใช้งบประมาณจำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อนำไปทำประชามตินั้นมีกระแสคัดค้านว่าเป็นการกระทำที่สูญเสียงบประมาณไปโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร ในยามที่ประเทศกำลังมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจถือเป็นการใช้งบประมาณไปโดยที่ไม่มีความคุ้มค่า

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้น เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจกับนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลค่อนข้างมาก และป้องกันการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล ตัวผู้นำรัฐบาลไม่เห็นความสำคัญของรัฐสภา มีการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดจนเป็นปัญหาเกิดการต่อต้านจากประชาชนและนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน เนื่องจากได้ผ่านการทำประชามติจากประชาชน และเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดเพราะได้แก้ไขไม่ให้นักการเมืองมีอำนาจมากเกินไป จนไม่สามารถตรวจสอบได้เหมือนในสมัยที่พรรคไทยรักไทย บริหารประเทศ รัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิเสรีภาพและให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนทุกกลุ่มไว้อย่างสมบูรณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 8 มหาวิทยาลัยปทุมธานี

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1710522011

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-17 20:11:20 IP : 124.121.139.128


ความคิดเห็นที่ 6 (3066483)

วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11546 มติชนรายวัน


ดึงดันไปทำไม
บทนำมติชน
สำรวจตรวจสอบในแวดวงนักการเมือง พรรคการเมือง องค์กรมวลชน สื่อสารมวลชน ดูเหมือนไม่มีใครขานรับกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ใน 6 ประเด็น รวมทั้งการออกเสียงประชามติก่อนที่รัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนกรานจะต้องดำเนินการไปให้ได้ สิ่งที่ปรากฏชัดเจนก็คือ นอกจากพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้มีมติอย่างเป็นทางว่า ไม่ร่วมด้วยแล้ว ส.ส.ในพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกวุฒิสภา กลุ่ม 40 ส.ว.ก็ไม่สนับสนุน แต่ก็แปลกที่นายอภิสิทธิ์ยังไม่เลิกล้มความคิด กลับยังบอกว่า ความแตกต่างทางความคิดเห็นควรให้ประชาชนได้ตัดสินด้วยการออกเสียงประชามติ โดยเงิน 2,000 ล้านบาท ที่จะใช้ในการออกเสียงประชามติไม่ได้มากมายอะไร

การแก้ไขรัฐธรรมูญ 6 ประเด็น เป็นประเด็นร้อนทางการเมืองอยู่ทุกวัน ทั้งๆ ที่รัฐบาลควรเอาเวลาและความคิดอ่านไปปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำจะดีกว่าเป็นหลายเท่า เพราะปัญหาของประเทศและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนกำลังทับถมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ซึ่งล้วนแต่มีผลได้-ผลเสียของนักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นหลัก และการผลักดันให้ออกเสียงประชามติไม่ได้เกิดประโยชน์โภชผลกับคนไทยเลยแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามกลับจะสร้างความสบสนอลหม่านนำประเทศไปสู่ "วิกฤตรัฐธรรมนูญ" โดยไม่จำเป็น

เมื่อพรรคเพื่อไทยถอนตัวออกจากการร่วมเป็นวิป 3 ฝ่าย ทำให้เหลือแค่วิปรัฐบาลกับวิปวุฒิฯ ย่อมเป็นเหตุผลที่นายอภิสิทธิ์ควรจะยอมรับว่า แนวคิดดั้งเดิมที่อยากเห็นความสมานฉันท์ของทุกพรรคทุกฝ่ายเกิดขึ้นโดยให้มาร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ขณะเดียวกันก็มีคำถามเกิดขึ้นว่า ในจำนวนวิป 2 ฝ่าย ที่เหลืออยู่คือ วิปรัฐบาลกับวิปวุฒิฯนั้น ในความเป็นจริง ตัวแทนของวุฒิฯที่ไปเป็นวิป สามารถสร้างความยอมรับและเห็นคล้อยตามจากบรรดา ส.ว.ทั้งมวลได้จริงหรือ อย่างน้อยที่สุด กลุ่ม 40 ส.ว. ก็ประกาศตัวชัดเจนมาตลอดว่า ไม่เอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น และการออกเสียงประชามติ เมื่อเป็นดังนี้ จึงควรที่ ส.ว.ในฐานะเป็นวิปวุฒิฯจะได้แสดงตัวและประกาศท่าให้ชัดเจนว่า ยังคงร่วมอยู่ในวิป 2 ฝ่ายหรือไม่ แต่หากวิปวุฒิฯไม่มีสถานะอันน่าเชื่อถือว่าเป็นตัวแทนความคิดของ ส.ว.ทั้งหมดก็เท่ากับเหลือเพียงวิปรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น

การเหลือแค่วิปรัฐบาลและวิปวุฒิฯที่เป็นแค่เพียงชื่อลอยๆ หาได้มีผลในทางปฏิบัติอันจะทำให้ความเห็นของวิป 3 ฝ่าย แต่เดิมที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ไปผูกพันหรือผูกมัดกับ ส.ว. 150 คน เพราะ ส.ว.แต่ละคนล้วนเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สถาบันทางนิติบัญญัติ ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติขาดเหตุผลและไม่อาจนำไปอ้างได้อีกต่อไป การดื้อดึงดันทุรังของรัฐบาลที่จะออกเสียงประชามติให้ได้และจากนั้นก็ไม่มีหลักประกันว่า สุดท้าย ส.ส.และ ส.ว.จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น สำเร็จหรือไม่ จึงรังแต่จะเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความยุ่งเหยิงต่อสถานการณ์ทางการเมือง

ก่อนที่ประเทศและประชาชนจะถลำลึกไปสู่ "วิกฤตรัฐธรรมนูญ" และเกิดกระแสความขัดแย้งเมื่อต้องกระโจนเข้าไปสู่การออกเสียงประชามติที่มีแต่ความสับสน ควรที่นายอภิสิทธิ์จะเลิกความคิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น หยุดการผลักดันเรื่องการออกเสียงประชามติ พร้อมๆ ไปกับสถาบันรัฐสภาที่มีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานรัฐสภา ก็ควรจะระงับการจัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น แม้จะมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาไปยกร่างก็ตาม กล่าวสำหรับ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.หากจะมีใครไปร่วมลงชื่อในญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอต่อรัฐสภาซึ่งเท่ากับกระทำไปตามความปรารถนาของนายอภิสิทธิ์โดยตรง จะต้องรับผิดชอบ ถ้าสิ่งที่กระทำลงไปนั้น เกิดผลเสียหายต่อบ้านเมือง

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ปี 1  มหาวิทยาลัยปทุมธานี

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2010522118

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-10-20 21:18:22 IP : 124.121.141.189


ความคิดเห็นที่ 7 (3206465)
ugg shoes the elevation changes will surprise most native louisianans ugg as many have no clue such a trail exists in the area boots on sale it will come as ugg boot
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (xsompe-at-263-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-25 03:11:39 IP : 125.121.215.19


ความคิดเห็นที่ 8 (3213156)
ug boots ug boots mens boots mens boots ugg adirondack ugg adirondack ugg store ugg store
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (qkocdj-at-qq-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-21 21:59:02 IP : 125.118.233.198


ความคิดเห็นที่ 9 (3221708)
A history of GHD locks straighteners Do you would like the accomplished journey abaft ghd The grownup secrets of how an all-around super brand name was born Nicely aboriginal issues aboriginal afore we get agitated away let"s get a handful of details straight GHD is really a British corporation as well as additional as that itกฏs a Yorkshire corporation "Flippin" eck" we apprehend you say and you"d be correct Becoming a correct Yorkshire company the journey of ghd (or Jemella Ltd are they"re accepted on a Sunday) is according to harder strategy at t"forefront of all-around curly hair care All of it began if the blow of us were just accepting around our millennium celebrations Because the aggregate hangovers cleared several people have been acquainted that a anarchy was just demography place an insurgence inside the head of hair affliction apple that was to banish bad hair canicule for suitable and actualize a movement that will go on to become in time a new adoration for head of hair! When the aboriginal bowl locks straightening adamant was accustomed inside UK cipher obtained anytime obvious annihilation like ghd ghd straighteners it Being an ex-hairdresser to get a prime salon Robert Powls the guy who happened up this expense possession knew a lot if it came to head of hair Convinced he was assimilating a winner he and two business enterprise ally acquired the rights to your item alleged it the appropriate hair day locks straightener ("GHD") and started trading To activate with loads of hairdressers anticipation they had been badinage if they reply the GHD curly hair straightener with a retail amount of about $100! It really is genuinely could have an attempt!
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (xrdxqp-at-ovi-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-01 22:45:51 IP : 125.122.102.4



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.