ReadyPlanet.com


ปัญหาโลกร้อน น่ากลัว


อากาศเมืองหนาวร้อนที่สุด 128 ปี ยิ่งทำให้ปัญหาโลกร้อนยิ่งน่ากลัว [21 มี.ค. 50 - 00:39]

สหรัฐฯรายงานว่า อุณหภูมิในฤดูหนาวของซีกโลกส่วนเหนือในต้นปีนี้ อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 128 ปี ซึ่งเพิ่มความวิตกแก่ประชาคมโลกเกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหาโลกร้อน

องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอ็นโอเอเอ) รายงานวันนี้ว่า อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของซีกโลกส่วนเหนือ เมื่อเดือนมกราคม ปีนี้สูงกว่าระดับอุณหภูมิปกติของโลก เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ 1.3 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 0.72 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด นับตั้งแต่เอ็นโอเอเอเริ่มบันทึกสถิติอุณหภูมิโลก เมื่อปี 2423 และว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งอุณหภูมิที่พื้นผิวมหาสมุทรในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันออก สูงขึ้นอย่างผิดปกติ โดยมีจุดวิกฤติที่สุดเมื่อปี 2540-2541 เป็นสาเหตุสำคัญของสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) รายงานเมื่อเดือนที่แล้ว ระบุว่า กิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน และเตือนว่า อุณหภูมิผิวโลกโดยเฉลี่ยอาจสูงขึ้นราว 1.1-6.4 องศาเซลเซียส ภายในปี 2643.

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com Tel. 0-2990-0331


 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2007-03-21 21:40:30 IP : 124.121.136.40


[1] 2 ถัดไป >>

ความคิดเห็นที่ 1 (871020)
เอเอฟพี - น้ำจืดกำลังจะเป็นสิ่งมีค่ามากขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อนเริ่มคุกคาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญเตือน โดยที่วันที่ 22 มี.ค.ของทุกปีถือเป็น "วันน้ำโลก" ด้วย
       
       ความคิดหลักของการรำลึกถึง "วันน้ำโลก" (World Water Day) ประจำปีนี้ก็คือ "เผชิญกับการขาดแคลนน้ำ" (Coping with Water Scarcity) ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง และมลภาวะ
       
       องค์การสหประชาชาติประมาณไว้ว่า ภายในปี 2025 ประชากรโลกถึง 2 ใน 3 จะต้องอยู่ในภาวะขาดน้ำ โดยแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันตก จะเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบสาหัสที่สุด
       
       ทั้งนี้ ภาวะโลกร้อนก็มีส่วนทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำย่ำแย่ลงอีก ผู้เชี่ยวชาญระบุ
       
       ในหลายๆ ภูมิภาค ความแห้งแล้งที่รุนแรงขึ้น รูปแบบปริมาณฝนตกที่เปลี่ยนแปลงไป และปริมาณหิมะและน้ำแข็งบนภูเขาที่ลดลง อาจทำให้น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นหิน แห้งเหือดไปได้
       
       บางภูมิภาคจะมีปริมาณน้ำฝนมากขึ้น แต่อาจจะเกิดจากพายุฝนรุนแรงที่จะก่อให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน มากกว่าที่จะเป็นฝนโปรยที่จะซึมซับลงสู่พื้นดินได้
       
       หรือฝนอาจตกในพื้นที่มีประชากรเบาบาง หรือพื้นที่ซึ่งไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับหรือเก็บกักไว้ใช้ยามแห้งแล้ง
       
       นักวิทยาศาสตร์จากคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ของยูเอ็น มีกำหนดจะเน้นย้ำถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวในรายงานที่จะเผยแพร่ในวันที่ 6 เมษายนนี้ ซึ่งรายงานฉบับนี้เป็นรายงานประเมินภาวะโลกร้อนล่าสุดฉบับที่ 2
       

       ทั้งนี้ เอเอฟพีระบุว่า ตามร่างรายงานของ IPCC ที่ได้มา มีเนื้อหาระบุว่า ในอาณาบริเวณตำแหน่งเส้นละติจูดสูงๆ และเขตเส้นศูนย์สูตรที่มีฝนตกมากบางพื้นที่ ซึ่งรวมถึงบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "เป็นไปได้อย่างมากว่า" ปริมาณน้ำน่าจะเพิ่มขึ้นในศตวรรษนี้ ร่างรายงานที่เอเอฟพีได้มาระบุ
       
       แต่ประเทศในตำแหน่งละติจูดกลางๆ และเขตเส้นศูนย์สูตรที่มีฝนน้อย ซึ่งประสบกับภาวะขาดน้ำไปแล้ว จะยิ่งมีน้ำน้อยลงไปอีก
       
       "พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งน่าจะมีมากขึ้น และสภาพการณ์รุนแรงจากหยาดน้ำฟ้า (น้ำฝน,หิมะ,ลูกเห็บ) ซึ่งน่าจะเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมมากยิ่งขึ้น"
       
       นอกจากนี้ รายงานยังเผยด้วยว่า "เป็นไปได้อย่างมากที่ปริมาณน้ำซึ่งสะสมในธารน้ำแข็งและหิมะปกคลุมจะลดลง ซึ่งจะทำให้ปริมาณกระแสน้ำในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีประชากรกว่า 1 ใน 6 ของโลกอาศัยอยู่ ลดลงตามไปด้วย"
       
       ในระดับโลก ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 เมื่อเทียบกับระดับเมื่อปี 1990 จะทำให้ประชากรมากถึง 2,000 ล้านคนอยู่ใน "ภาวะขาดแคลนน้ำมากขึ้น"
       
       ถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 4 องศา ก็จะทำให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นไปถึง 3,200 ล้านคน โดยแอฟริกาและเอเชียจะเป็นทวีปที่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด ร่างรายงานประมาณไว้
       
       แม้แต่ประเทศร่ำรวย ซึ่งมีเงิน ทรัพยากรและความรู้ความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมากกว่า ก็จะประสบปัญหาขาดน้ำด้วยเช่นกัน
       
       อย่างไรก็ดี ในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหภาพยุโรป เตือนให้รัฐบาลในยุโรป เริ่มวางแผนรับมือกับภาวะขาดแคลนน้ำที่เกิดจากภูมิอากาศเปลี่ยน และระบุชัดว่า ทางตอนใต้ของสเปน ทางตอนใต้ของอิตาลี กรีซ และตุรกี กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-03-23 21:30:37 IP : 124.121.142.169


ความคิดเห็นที่ 2 (886291)
นักวิชาการชี้อากาศร้อนแต่ไม่ถึงขั้นวิกฤต เตือนคนกรุง 28 เมษาฯดวงอาทิตย์ตั้งฉาก



เมื่อวันที่ 3 เมษายน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรม การเปลี่ยนแปลงของโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสภาวะอากาศร้อนและแล้งในประเทศไทยขณะนี้ว่า ยังอยู่ในภาวะปกติ ไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่สาเหตุที่ทุกคนวิตกกังวล เพราะส่วนหนึ่งมาจากความต้องการในการใช้น้ำสูงขึ้นมากกว่าปกติ

"ขณะนี้ประเทศไทยเป็นช่วงฤดูร้อนปกติ ไม่ได้ประสบกับภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อนนั้นเป็นเพียงแพะรับบาปสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้นแต่ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะความตระหนกจะทำให้เกิดการป้องกันภาวะโลกร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจริงในอนาคต" นายอานนท์กล่าว และว่า องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้กำหนดมาตรฐานการใช้น้ำของประชาชนที่สามารถอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อน คือ ประมาณวันละ 40 ลิตร แต่ข้อเท็จจริงคนในเมืองใช้น้ำมากถึงคนละ 100 ลิตรต่อวัน

นายอานนท์กล่าวว่า หากประเทศไทยประสบกับปัญหาโลกร้อนจริงๆ สังเกตได้จากช่วงกลางคืนจะต้องมีอากาศร้อนด้วย เป็นความร้อนที่ไม่เกี่ยวกับแสงแดด แต่เกิดจากการคายความร้อนของพื้นดินที่ดูดซับเอาไว้ในช่วงกลางวัน หลักการเดียวกับในตึกที่กลางวันตัวตึกจะดูดซับความร้อนเอาไว้และคายออกตอนกลางคืน ทำให้ในตัวตึกมีอากาศร้อน แต่ขณะนี้จะร้อนเฉพาะตอนกลางวันเท่านั้น กลางคืนอากาศยังเป็นปกติ

ด้านนายวิมุติ วสะหลาย ผู้ดูแลเว็บไซต์ ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า ความจริงแล้ว ช่วงเวลานี้โลกกำลังเคลื่อนที่ออกห่างจากดวงอาทิตย์ และประมาณวันที่ 28 เมษายนนี้ ดวงอาทิตย์จะทำมุม 90 องศา และทำมุมตรงศีรษะคนกรุงเทพฯ จากนั้นประมาณวันที่ 21-22 มิถุนายนนี้ จะเป็นช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืนมากที่สุด ซึ่งจะทำให้คนกรุงเทพฯ รับแสงแดดได้มากที่สุด

วันเดียวกัน เอเอฟพีรายงานว่า ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาลงมติ 5-4 เสียง ให้มีคำพิพากษาว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ถือเป็นมลพิษภายใต้กฎหมายอากาศบริสุทธิ์ นับเป็นการตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นครั้งแรก โดยคำพิพากษานี้จะส่งผลให้องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐ (อีพีเอ) มีอำนาจในการตรวจสอบและควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรถยนต์รุ่นใหม่ที่จะออกจำหน่ายภายใต้กฎหมายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้คำพิพากษาดังกล่าวยังเหมือนเป็นการส่งเสียงตำหนิไปยังฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชที่มีท่าทีเฉื่อยชาปัญหาโลกร้อนมาตลอดด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-04 21:57:54 IP : 124.121.140.158


ความคิดเห็นที่ 3 (904481)

น้ำทะเลร้อนขึ้นปั่นโลกหมุนติ้ว

9 เมษายน 2550 21:33 น.

นักวิจัยชาวเยอรมัน ค้นพบน้ำมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น ทำให้โลกหมุนเร็วกว่าปกติ แต่ไม่ต้องวุ่นวายปรับตั้งเข็มนาฬิกาใหม่ เพราะโลกหมุนเร็วกว่าเดิมน้อยไม่มาก จนจับความรู้สึกแตกต่างไม่ได้

เมื่อน้ำในมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น เฟลิกซ์ แลนเดอเรอร์ จากสถาบันอุตุนิยมวิทยาแม็กซ์ แพลงค์ ของเยอรมนี และทีมงานจึงทดลองสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาว่า อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นจะมีผลต่อการถ่ายเทของน้ำทั่วโลกอย่างไร

ทีมวิจัยพุ่งเป้าเฉพาะไปที่ความร้อน ทำให้โมเลกุลของน้ำขยายตัว และส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้น โดยไม่สนใจปัจจัยธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายตัว จากแบบจำลองที่สร้างขึ้นพบว่า ไม่เฉพาะมวลของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ความหนาแน่นและการถ่ายเทของน้ำยังเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อน้ำมหาสมุทรขยายตัว ระดับน้ำจึงเอ่อขึ้นมาบนชายฝั่ง เกิดการถ่ายเทมวลจากกลางมหาสมุทรเคลื่อนที่ไปยังชายฝั่ง

 

มวลของน้ำเคลื่อนตัวออกจากเส้นศูนย์สูตร ไปยังขั้วโลกเหนือและใต้ ทำให้เกิดผลสองประการ ประการแรก น้ำใต้มหาสมุทรแถบแอตแลนติกเหนืออุ่นเร็วกว่าน้ำบริเวณอื่น เนื่องจากกระแสน้ำพัดเอาน้ำบริเวณผิวมหาสมุทรวนลงสู่เบื้องล่าง ส่งผลให้น้ำขยายตัวและเคลื่อนที่อย่างรุนแรง ประการที่สอง สภาพภูมิประเทศที่แปลกประหลาดของโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวของไหล่ทวีปบริเวณเส้นรุ้งระดับบน มีขนาดใหญ่กว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร

เมื่อมวลที่ขั้วโลก ซึ่งอยู่ใกล้กับแกนหมุนรอบตัวเองของโลก มีขนาดใหญ่ขึ้น โลกจึงหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้น เปรียบเทียบได้กับนักเต้นบัลเลต์ที่หมุนตัวด้วยปลายเท้า เวลาแนบแขนเข้ากับลำตัว พวกเขาจะหมุนตัวได้เร็วกว่าตอนยืดแขนกางออก

ด้านผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานในสังกัดขององค์การนาซา ให้ความเห็นว่า สภาพอาการที่เปลี่ยนแปลงมีผลมหาศาลต่อโลก เพราะโลกเป็นวัตถุขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับการถ่ายเทมวลจำนวนมหาศาล จึงส่งผลต่อการหมุนรอบตัวเอง

ถึงกระนั้น ไม่ต้องตกใจว่าโลกจะหมุนเร็วจนหนึ่งวันมีเวลาน้อยลง เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อรอบหมุนของโลก เช่น แรงดึงดูดของดวงจันทร์ ที่มีอิทธิพลทำให้เวลาหนึ่งวันของโลกเพิ่มขึ้น เสี้ยวของเสี้ยววินาทีทุกรอบร้อยปี นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อกันว่า แกนโลกที่มีลักษณะเป็นของเหลว และชั้นแมนเทิลที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแกนโลก มีผลทำให้เวลาหนึ่งวันนานขึ้นเช่นกัน

 

http://www.apdi2002.com/

Tel. 0-2990-0331

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-10 16:31:22 IP : 124.121.141.137


ความคิดเห็นที่ 4 (911861)

ไทยระอุ"โลกร้อน"

สภาวะโลกร้อนใกล้ตัวคนไทยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยยึดโมเดล GCMs ทำนายสถาน การณ์ พบทุกปีเดือน พ.ย.-ม.ค. อุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 2.5-6 องศา ดึงภาคอีสานแล้งหนัก ระดับน้ำทะเลฝั่งอันดามันสูงขึ้น 8-12 มิลลิเมตร/ปี กัดเซาะชายฝั่งแหลมตะลุมพุก-น้ำเค็มรุกบางขุนเทียน พื้นที่เกษตรอาจเสียหายได้ถึง 22 ล้านไร่ทั่วประเทศ หากโลกไม่ดำเนินการใดๆ เลยที่จะแก้ไขปัญหานี้

ทุกวันนี้สภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นปัญหาใกล้ตัวที่สร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีผลการศึกษาทางวิทยา ศาสตร์หลายสำนักเชื่อตรงกันว่า ในรอบระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิ ของผิวโลกได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากและคาดการณ์ว่าในอีก 100 ปีข้างหน้านี้อุณหภูมิผิวโลกในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส และอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100 หากไม่มีการดำเนินการใดๆ เลย

อุณหภูมิความร้อนบนโลกที่เพิ่มสูงขึ้นสังเกตได้อย่างชัดเจนจาก "หิมะ" ที่เคยปกคลุมบนยอดเขาคีรีมันจาโร ในแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา ได้ละลายเกือบหมดในระยะเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น ขณะที่แผ่นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือได้ละลายไปแล้วถึง 20% ความหนาของแผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือลดลงถึง 40% จาก 3 เมตร เหลือ 2 เมตร ภายในเวลา 30 ปี อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่น/กระแสน้ำเย็นในมหาสมุทร ทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำช้าลงจนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ "เอล นิโญ/ ลา นีญา" บ่อยขึ้น

ล่าสุดสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2537) ได้ใช้โมเดล GCMs คาดการณ์จากสถานการณ์โลกร้อนว่า ประเทศไทยอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 2.5-6 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ส่วนปริมาณน้ำฝนจะเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น 40% ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจะแห้งแล้งมากขึ้น จากสภาวะอากาศแปรเปลี่ยนมีระยะเวลาของฤดูสั้นกว่าปกติ

ระดับน้ำทะเลด้านอ่าวไทยจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 1-2 มิลลิเมตร/ปี ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ฝั่งทะเลอันดามันอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วงจากระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้น 8-12 มิลลิเมตร/ปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง จุดที่เป็นอันตรายทั้งด้านอ่าวไทยก็คือบริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช

นอกจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อการรุกเข้ามาของ น้ำเค็ม ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, ท่าปอม/คลองสองน้ำ ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ ตลอดจนสภาพอากาศรุนแรงจากอุทกภัยและดินถล่มขยายตัวเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดแพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, ลำปาง และตาก

3
กิจกรรมหลักที่ทำให้โลกร้อน
จากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งทำให้ภาวะโลกร้อนมากขึ้นว่า ปัจจุบันไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงแค่ 2.6 ตัน/คน/ปี แม้ว่ายังไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด แต่ควรเร่งสร้างกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยห่วงใยสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อช่วยกันยุติสภาวะโลกร้อน โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ๆ ตัวก่อน อาทิ การประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ภาวะเรือนกระจกก็คือชั้นบรรยากาศของโลกได้ถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์ 53%-ก๊าซมีเทน 17%-ก๊าซ โอโซน 13%-ก๊าซไนตรัสออกไซด์ 12%-ก๊าซซีเอฟซี 5%) มากเกินไป ในขณะที่ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติในการกักเก็บความร้อนได้ดี ดังนั้นแทนที่ความร้อนเหล่านี้จะถูกส่งผ่านออกไปนอกโลก กลับถูกชั้นบรรยากาศที่อุดมไปด้วยก๊าซเหล่านี้ "กักเก็บไว้" และสะท้อนกลับมายังพื้นผิวโลกอีกทีหนึ่ง ส่งผลให้โลกร้อนยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามทางสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดจากน้ำมือมนุษย์ถึงร้อยละ 90 จาก 3 กิจกรรมใหญ่คือ 1) กลุ่มพลังงาน มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 257 ล้านตัน หรือร้อยละ 80 ทำให้ภาคพลังงานของไทยเป็นตัวแปรสำคัญที่ปล่อยภาวะเรือนกระจกสูงกว่า 56% ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับกระทรวงพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน

2)
กลุ่มการเกษตร กิจกรรมทางการเกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 91 ที่ทำกันอยู่ ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก โดยปลดปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์-คาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนโดยเฉพาะการปลูกข้าวปล่อยก๊าซมีเทนถึงร้อยละ 73 และการจัดการมูลสัตว์ในภาคปศุสัตว์ปล่อยก๊าซมีเทนร้อยละ 26 ผลวิจัยระบุว่าทั้งสองกิจกรรมปลดปล่อยก๊าซมีเทนออกมาประมาณ 3.3 ล้านตัน นอกจากนั้นภาคเกษตรยังปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 70,000 ตัน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 16 ของปริมาณการปล่อยก๊าซทั้งหมดออกมาด้วย

3)
กลุ่มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 36 ล้านตัน แต่มีการดูดซับ CO2 กลับคืนไปแค่ 13 ล้านตันเท่านั้น

เกษตรฯของบฯ 294 ล้านบาท
ทำแผนชะลอการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้นได้ก่อให้เกิดความถี่ของการเกิดปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการผลิตอาหาร ทำให้ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่การเกษตร สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและความอดอยาก โรคระบาดและโรคติดต่อในเขตร้อน

โดยในปี 2550 อุณหภูมิในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแห้งแล้งมากขึ้น จากอุณหภูมิโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่า 2.5-6 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบปัญหาแล้งซ้ำซากมากกว่า 18 ล้านไร่ เช่น ลุ่มน้ำลำตะคอง และลำพระเพลิง (ตารางประกอบ)

แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีพันธกรณีที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียม "แผนชะลอการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตร" ให้น้อยลงเพราะเห็นว่าปัญหาโลกร้อนได้สร้างผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเกษตรกรรม ก่อให้เกิดภาวะความแห้งแล้งและอาจนำไปสู่การเป็น "ทะเลทราย" ได้ในอนาคต

ล่าสุดกระทรวงเกษตรฯได้เตรียมยื่นขอจัดสรรงบประมาณจำนวน 294 ล้านบาท จากรัฐบาลในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อให้พื้นที่การเกษตรของประเทศที่เสี่ยงภัยแล้งจำนวน 131 ล้านไร่ ได้รับการดูแลป้องกันและแก้ไขปัญหาจากผลกระทบความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รวมทั้งปรับปรุงระบบการเตือนภัยสามารถคาดการณ์สภาวะอากาศของประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำกว่าที่เป็นอยู่และเพื่อลดปัญหาเรือนกระจก สร้างความสมดุลของสภาพอากาศควบคู่กันไป โดย แผนบรรเทาสภาวะโลกร้อนด้านการเกษตรจะใช้ระยะเวลา 4 ปี (2551-2554) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 3 ด้านคือ

1)
การจัดการองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เน้นหนักการเก็บข้อมูลรวบ รวมงานศึกษาวิจัยต่างๆ ที่มีต่อสภาวะโลกร้อน เช่น โครงการศึกษาผลกระทบของไม้ยืนต้น การปลูกพืชไร่ การปรับตัวของชนิดและพันธุ์พืช การศึกษาการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวที่มีต่อสภาวะโลกร้อน โครงการจัดทำแผนที่ปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย การติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรประมง

2)
การป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในภาคการเกษตร เช่น มาตรการจัดการของเสียในภาคปศุสัตว์/ฟาร์มสุกร นาข้าว การไถกลบตอซัง ในการลดก๊าซเรือนกระจกและขยายผลรณรงค์ลดการเผาต่อซังทั่วประเทศ ลดการจุดไฟเผาในพื้นที่ป่า การวางระบบและติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อพยากรณ์และเตือนภัยลุ่มน้ำ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดินและการจัดทำพื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชพลังงาน โครงการศึกษาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อสภาพทาง เศรษฐกิจการเกษตร

โครงการติดตามผลกระทบจากความแห้งแล้งทางด้านดินและพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และการป้องกันแก้ไขภาวะความเป็นทะเลทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการปลูกสร้างพื้นที่ฟองน้ำในไร่นา ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีต่อทรัพยากรประมงน้ำจืดและน้ำเค็ม และการศึกษาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อปริมาณและการกระจายตัวของฝนบริเวณประเทศไทย เป็นต้น

3)
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดพืชและระยะเวลาการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น ทนแล้ง ทนต่อปัญหาน้ำท่วม รวมถึงการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยจากภาวะโลกร้อน การเตรียมตัวของเกษตรกรเพื่อปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชและร่วมมือกันในการลดกิจกรรมทั้งในภาคการเกษตร อุตสาห กรรม พลังงาน ฯลฯ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลกร้อน

กรมพัฒนาที่ดินห่วง 3 จังหวัดภาคอีสาน

ขณะที่กรมพัฒนาที่ดินระบุว่า อุณหภูมิโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาฝนแล้งและพื้นที่ดินเค็มขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบปัญหาแล้งซ้ำซากมากกว่า 7 ล้านไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาแล้งซ้ำซากในจังหวัดนครราชสีมา-ขอนแก่น และมหาสารคาม มีความเสี่ยงทำให้พื้นที่เหล่านี้กลายเป็นพื้นที่ ทะเลทรายได้ในอนาคต

ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดินได้นำข้อมูลจากปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย พื้นที่ชลประทาน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินและข้อมูลของพื้นที่ที่มีประวัติเกิดภาวะแล้งซ้ำซาก โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ทำให้สามารถวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาภัยแล้งได้ล่วงหน้าเกือบ 2 เดือน โดยมีความแม่นยำไม่น้อยกว่า 80%

จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดสภาวะแห้งแล้งมากกว่า 22.9 ล้านไร่ โดยกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดสภาวะความแห้งแล้งในปี 2550 ขณะนี้แบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 คือพื้นที่ที่ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำปานกลางถึงสูง มีแหล่งน้ำเพียงพอกระจายอยู่ทั่วไป ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูง

การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรทั้งทำนาปรังในพื้นที่ชลประทาน ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้นซึ่งมีโอกาสน้อยที่จะเกิดการขาดแคลนน้ำแต่ยังมีความแห้งแล้งปกติในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่ที่อยู่ในระดับนี้มี 59,312,352 ไร่

ส่วนระดับที่ 2 ดินอุ้มน้ำค่อนข้างดีแต่ไม่มีแหล่งน้ำชลประทาน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ มีการปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าวโพด ข้าวนาปรัง อ้อย จึงอาจมีโอกาสเกิดการขาดแคลนน้ำทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตรได้ มีพื้นที่รวม 87,750,750 ไร่

ระดับที่ 3 ถือว่าน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะลักษณะทางกายภาพของดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำค่อนข้างต่ำปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าปกติ อีกทั้งมีการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด ที่ต้องใช้น้ำมาก ทำให้มีโอกาสเกิดภัยแล้งสูงและก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค พื้นที่เกษตรเสียหายรุนแรง โดยคาดว่าจะมีพื้นที่ที่ประสบปัญหาประมาณ 22,981,633 ไร่

และระดับที่ 4 พื้นที่ไม่มีศักยภาพในการเกิดสภาวะความแห้งแล้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ลุ่มและพื้นที่ทำการเกษตรแบบประณีต รวมทั้งมีระบบชลประทานสมบูรณ์จึงไม่น่าห่วงเรื่องความแห้งแล้ง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีประมาณ 143,803,615 ไร่

ล่าสุดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานพื้นที่ประสบภัยแล้งล่าสุดจำนวน 61 จังหวัด โดย 3 จังหวัดล่าสุดที่เพิ่งขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งก็คือจังหวัดอุทัยธานี ปราจีนบุรี และพัทลุง

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com  Tel. 0-2990-0331


ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-16 16:18:29 IP : 124.121.140.10


ความคิดเห็นที่ 5 (921421)

ไม่น่าเกี่ยวกับโลกร้อน...

นายสุรพงษ์ ปรานศิลป์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยถึงโครงการวิจัยการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยข้าวไอรี่ โดยร่วมกับสถาบันวิจัย 5 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย จีน และไทย ว่า เป็นโครงการวิจัยเพื่อหาอัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ และศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีต่างๆในการทำนาที่มีผลต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทน รวมถึงศึกษาเรื่องปัจจัยแวดล้อมในดินและอากาศที่มีผลต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทน

 
ทั้งนี้  ก๊าซมีเทน ถือเป็นก๊าซเรือนกระจกอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน โดยผลการวิจัยพบว่า ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวน้ำลึกมีอัตราเฉลี่ย 50.9มก./ตร.ม./วัน และมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซตลอดฤดู 16.9 กก./ไร่/ฤดู ส่วนในข้าวนาชลประทานเฉลี่ย 61.3มก./ตร.ม./วัน และมีปริมาณการปลดปล่อยตลอดฤดู 10.8 กก./ไร่/ฤดู  รวมเฉลี่ยปรากฎว่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนในจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และไทยมีปริมาณปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวอยู่ที่ 6,4,2,1และ0.2 ล้านตันต่อปีตามลำดับ

 
นายสุรพงษ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  การปลดปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการผสมผสานของปัจจัยหลายประการ  ทั้งด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพ   รวมทั้งการจัดการและการปฏิบัติในการปลูกข้าว 

 
สำหรับแนวทางในการลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวพบว่า   หากมีการปล่อยน้ำจากแปลงข้าวนาชลประทานเป็นระยะๆในช่วงข้าวแตกกอจะทำให้ก๊าซมีเทนลดลง 30-40% โดยไม่มีผลกระทบต่อการผลิต  นอกจากนี้จะต้องมีการปลูกข้าวโดยไม่ไถพรวนเนื่องจากการไถพรวนทำให้เกษตรกรต้องเผาฟางข้าวทิ้ง ซึ่งมีผลต่อการเกิดมลภาวะอากาศและเป็นการเพิ่มก๊าซมีเทน แต่หากมีการนำฟางข้าวหรืออินทรีย์วัตถุย่อยสลายก่อน เช่น ไปทำเป็นปุ๋ยหมักก่อนมาใส่นาข้าวจะทำให้ก๊าซมีเทนลดลง 2-4 เท่า

 

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-23 19:33:10 IP : 124.121.140.232


ความคิดเห็นที่ 6 (921513)

เสนอผลคาดการณ์ “โลกร้อน” ชี้ผลกระทบต่อไทย “ระบบลมเปลี่ยนแปลง” ทำมรสุมชายฝั่งสูงขึ้น เหตุลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังแรงพัดความชื้นเข้าฝั่ง แต่ลมตะวันออกเฉียงเหนือเบาลงเหตุแผ่นดินร้อนขึ้น ส่งผลให้ไม่หนาวอย่างเคย จำนวน “วันร้อน” เพิ่มขึ้น 30-60 วัน/ปี แต่จำนวน “วันเย็น” ลดลง และบางพื้นที่ไม่มีเลย
       

       
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวไว้ในค่ายทูตวิทยาศาสตร์ไทย ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) วันที่ 23 เม.ย.นี้ ว่าผลกระทบที่ไทยจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเป็นผลจากภาวะโลกร้อนก็คือการเปลี่ยนแปลงของระบบลม ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการคาดการณ์ซึ่งทำการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
       
       
ทั้งนี้ ดร.อานนท์ได้อธิบายว่าประเทศไทยและในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นอยู่ภายใต้ระบบลมมรสุม ซึ่งมีฝนที่เกิดจากการยกตัวของอากาศ โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้มวลอากาศชื้นจากทะเลสูงขึ้นและถูกพัดเข้าชายฝั่ง ซึ่งก๊าซเรือนกระจกที่มากขึ้นจะทำให้ความร้อนถูกกักเก็บไว้มากและส่งผลให้ความชื้นจากทะเลถูกลมพัดพาเข้าบริเวณชายฝั่งมากขึ้น อีกทั้งบริเวณดังกล่าวก็เกิดฝนมากขึ้นด้วย
       
       “
ในฤดูร้อนลมตะวันออกเฉียงใต้จะมากขึ้นส่งผลให้ระดับน้ำชายฝั่งอันดามันสูงขึ้น ส่วนฤดูหนาวลมตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนกำลังเนื่องอุณหภูมิบนแผ่นดินสูงขึ้น ทำให้ไม่หนาวอย่างที่เคย ทั้งยังทำให้น้ำจากทะเลจีนใต้เข้าอ่าวไทยน้อยลง ระดับความสูงของน้ำบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยจึงไม่มากเท่าฝั่งอันดามัน” ดร.อานนท์
       
       
ในเรื่องความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกนั้น ดร.อานนท์กล่าวว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นน้อย แต่ประเด็นคืออุณหภูมิเฉลี่ยบนแผ่นดินกับทะเลไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมิบนแผ่นดินจะสูงกว่าอุณหภูมิในทะเลซึ่งมีพื้นที่ถึง 70% ของพื้นที่ในโลก แสดงว่าอุณหภูมิบนแผ่นดินต้องเพิ่มสูงขึ้นมากจึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งโลกเพิ่มขึ้นเท่ากับอุณหภูมิเฉลี่ยดังกล่าว และอุณหภูมิในพื้นที่สูงกว่าเส้นศูนย์สูตรจะเพิ่มมากกว่าพื้นที่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร เป็นผลให้น้ำแข็งละลายและก็มีนำแข็งละลายถาวรในหลายพื้นที่
       
       
ผลจากการแบบจำลองการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในประเทศไทยของ ดร.อานนท์ยังชี้ให้เห็นว่า หากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นจากในปัจจุบัน 360 ppm เป็น 720 ppm ซึ่งคาดว่าเป็นปริมาณก๊าซที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่ไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลให้ “วันร้อน” ซึ่งเป็นวันที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 33 องศาเซลเซียสเพิ่มขึ้น 30-60 วัน/ปี โดย จ.อุทัยธานีเป็นจังหวัดที่จำนวนวันร้อนเพิ่มสูงที่สุดมากกว่า 60 วัน สาเหตุเนื่องจากเป็นพื้นที่ในหุบและอยู่ในปากกรวยของเส้นความร้อน ขณะที่ จ.ขอนแก่น จ.สกลนคร และ จ.ชัยนาถมีจำนวนวันร้อนคงที่ ขณะที่ “วันเย็น” ซึ่งเป็นวันที่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสมีจำนวนลดลงและบางพื้นที่ไม่มีเลย
       
       
ทั้งนี้ ดร.อานนท์กล่าวว่าเป็นเพียงคาดการณ์จากแบบจำลองเดียวซึ่งอาจมีความผิดพลาดเกือบ 50% แต่รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนเพียงแต่ไม่ทราบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน และตอนนี้ใช้เพียงแบบจำลองทางฟิสิกส์ทำการศึกษา ซึ่งควรจะมีแบบจำลองทางด้านอื่น อาทิ แบบจำลองทางชีววิทยา แบบจำลองประชากร เป็นต้น เพื่อใช้ทำการคาดการณ์ด้วย
       
       “20-30
ปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลง หากไม่ทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาเลย โดยปัญหาจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ซึมลึก ไม่เหมือนภัยพิบัติแบบ “สึนามิ” ที่มาตูมเดียวแล้วไป ส่วนที่ตรงกับการคาดการณ์ตอนนี้คือการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนโรคระบาด พายุ ปริมาณน้ำฝนยังไม่สรุปได้ไม่ชัด ยังไม่กล้าฟันธง” ดร.อานนท์กล่าว
       
       
ส่วนความสนใจของคนไทยต่อสภาวะโลกร้อนที่มากขึ้นนั้น ดร.อานนท์กล่าวว่าไม่เป็นเรื่องที่ “ตื่นตูม” เกินไป เพราะหากตื่นตูมจะทำให้เกิดความโกลาหล และถือเป็นเรื่องดีที่ทุกคนเริ่มตระหนักและอยากรู้ว่าความจริงคืออะไร ซึ่งการหยุดเพื่อฟังข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ดี แต่การอุดหูไม่รับฟังหรือตื่นตูมโดยไม่ฟังนั้นเป็นเรื่องไม่ดี และปัจจุบันการผลิตข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เริ่มไม่ทันกับความต้องการรับรู้ความจริงของประชาชน
       
       “
แม้แต่หนังสือแฟชั่นยังพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ล่าสุดหนังสือเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงก็เพิ่งมาสัมภาษณ์” ดร.อานนท์กล่าว โดยให้ความเห็นว่าความสนใจดังกล่าวเป็นผลต่อเนื่องจากระดับโลก ทั้งการทำงานของ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) รวมทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ โดยเฉพาะหนังสือและภาพยนตร์เรื่อง ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวของคนทั่วโลกอย่างเป็นรูปธรรม
       
       
ดร.อานนท์กล่าวอีกว่าในต้นเดือน พ.ค.นี้ IPCC จะมาประชุมที่กรุงเทพฯ และเผยแพร่รายงานฉบับที่ 4 อย่างเป็นทางการ โดยคาดว่าข้อมูลที่ออกมานั้นจะร้อนแรงกว่ารายงานทุกฉบับ เนื่องจากจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ซึ่งเหตุผลที่ IPCC ต้องทำรายงานเพื่อยืนยันสถานการณ์โลกร้อนเพราะข้อโต้แย้งหลักๆ ของฝ่ายที่ไม่ยอมรับต่อปัญหาดังกล่าวคือ “ข้อมูล” จึงจำเป็นต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน โดยการทำงานของนักวิทยาศาสตร์กว่า 2,000 คนจากประมาณ 130 ประเทศ
       
       “
ข้อเสนอแนะวิชาการมีโอกาสกระทบต่อประเทศได้ โดยเมื่อก่อนมองประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเป็นผู้สร้างปัญหา ต่อมาก็คำนวณปริมาณที่ปล่อยต่อหัว และมาแนวใหม่คำนวณการปลดปล่อยต่อ “จีดีพี” ปรากฏว่าแนวใหม่นี้เราอยู่ในอันดับที่สูงเพราะเทคโนโลยีเราต่ำ กว่าจะผลิตสินค้าส่งขายได้ก็ปลดปล่อย (ก๊าซเรือนกระจก) ออกไปเยอะ” ดร.อานนท์กล่าว
       
       “
ที่กลัวตอนนี้คือชุมชนเพิกเฉย ไม่ใส่ใจ และคิดว่าคนไทยจำนวนมากเห็นเป็นเรื่องไกลตัว และเรายังแก้ปัญหาที่ปลายมือ ตอนนี้ยังทำได้ (แก้ปัญหาปลายมือ) แต่ต่อไปจะไม่สามารถทำได้ ตอนนี้เราใช้ทรัพยากรแบบเต็มกำลัง ถ้าใช้มากขึ้นกว่านี้จะวิกฤติ เช่นทรัพยากรน้ำหากใช้มากขึ้นกว่านี้และน้ำน้อยลง จะทำให้เกิดวิกฤตได้” ดร.อานนท์ให้ความเห็น

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 0-2990-03321

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-23 21:15:54 IP : 124.121.140.232


ความคิดเห็นที่ 7 (928164)

โลกร้อนก่อพายุลูกเห็บ คาดปีหน้าทะลุ43 c

24 เมษายน 2550 16:41 น.

 

นักวิชาการชี้โลกร้อนตัวการก่อพายุ“ลูกเห็บ” คาดปีหน้าร้อนตับแล่บทะลุ 43 องศาฯ ด้าน กทม.เชิญกุนซือด้านภาวะโลกร้อน ถกทางออก เตรียมบัญญัติ 10 ประการ ลดผลกระทบหลังเป็นพื้นที่ก่อปัญหา

 

รศ.ดร.จริยา บุญญวัฒน์ ที่ปรึกษากลุ่มวิชาการด้านบรรยากาศ ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและ ฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตบนโลก พบว่าสาเหตุของภาวะโลกร้อนมาจากประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาด้าน เศรษฐกิจสูงขึ้น มีการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มจำนวนของอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป สำหรับเมืองไทยพบว่าช่วงเดือน เม.ย.มีอุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส จากเดิมแค่ 38-39 องศาเซลเซียส และคาดว่าในปี 2551 จะเพิ่มเป็น 43 องศาเซลเซียส

ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อน กล่าวอีกว่า นอกจากนี้เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นมวลอากาศร้อนจะลอยตัวสูงทำให้เมฆบนท้องฟ้าอัดแน่น ไปด้วยความร้อน ซึ่งเมื่อเมฆร้อนลอยสูงขึ้นเรื่อยๆ และไปปะทะกับมวลอากาศเย็นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการหมุนเวียน ของอากาศไม่เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้เกิดฝนลูกเห็บ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเกิดฝนลูกเห็บอาจมีความสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่ขณะนี้ ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันแน่ชัด แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ต้นปีที่ผ่านมาประเทศไทยก็พบฝนลูกเห็บเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนฤดูร้อนเป็น ฤดูฝน อย่างไรก็ตาม ฝนลูกเห็บยังไม่ใช่วิกฤตโลกร้อนที่สำคัญ แต่ในอนาคตหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีใครรับรองได้ว่าฝนลูก เห็บจะไม่กระจายไปในวงกว้าง สิ่งสำคัญประเทศไทยควรมีการศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง

ด้าน

 

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีวันที่มีอากาศร้อนเกิน 33 องศาเซลเซียสที่จะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 30-80 ปีข้างหน้าว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำโมเดล เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยทั้งระยะยาวและระยะสั้นให้มีความทันสมัยมากกว่าทั้งนี้จะทำให้รู้ถึงระดับอุณหภูมิเฉลี่ยว่าจะสูงมากกว่าขึ้นกว่าเดิมมากน้อยแค่ไหน

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ได้เข้าพบนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.หารือเกี่ยวกับการลดปัญหาภาวะโลกร้อนในกทม. และมีการตั้งเป้าทำปฏิญญาว่าด้วยการลดโลกร้อนอย่างน้อย 10ประการสำหรับคนกทม.ใน 3 ประเด็นหลักคือการลดโลกร้อนจากภาคพลังงานและการขนส่ง มลพิษจากขยะ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง โดยกทม.จะดึงทุกภาคส่วนที่ก่อปัญหามาทำข้อตกลงร่วมกัน

นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.จัดเป็นหนึ่งในพื้นที่หลักในการสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนของ ประเทศไทย และอาจเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพราะมีจำนวนประชากรมาก ทำให้ต้องมีการใช้พลังงาน และใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมทุกด้านมาก กว่าพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะยังเป็นแหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานและการขนส่ง ทั้งนี้นายอภิรักษ์ ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนร่วมจัดทำแนวทางในการลดและสร้างความตระหนัก รวมทั้งมาตรการป้องกันสำหรับอนาคต ซึ่ง 3 ประเด็นหลักนี้จะมีการนำเสนอรายละเอียดร่วมกันในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม การดำเนินการคงไม่ใช่ช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้นแต่ต้องทำต่อเนื่องตลอดทั้งปี

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

http://www.apdi2002.com/ Tel. 0-2990-0331

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-26 21:48:03 IP : 124.121.141.200


ความคิดเห็นที่ 8 (928181)

โลกร้อนตัวการพายุ “ลูกเห็บ” อุณหภูมิทะลุ 43.2 องศา

25 เมษายน 2550 00:08 น.

 

ชี้โลกร้อนตัวการทำพายุลูกเห็บพุ่ง กรมอุตุฯ ระบุ จ.ตาก อุณหภูมิทะลุ 43.2 องศา ส่วนภาพรวมปีหน้าร้อนตับแลบ 43 องศา ด้าน จ.ชัยภูมิ ฝนถล่มบ้านพัง 300 หลัง ส่วน จ.เชียงใหม่ สั่งจัดระเบียบป้าย รับมือพายุถล่ม

 

 รศ.ดร.จริยา บุญญวัฒน์ ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตบนโลก พบว่า สาเหตุของภาวะโลกร้อน มาจากประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสูงขึ้น มีการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มจำนวนของอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป ในไทยพบว่าช่วงเดือนเมษายน มีอุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส จากเดิมแค่ 38-39 องศาเซลเซียส และคาดว่าในปีหน้า จะเพิ่มเป็น 43 องศาเซลเซียส  

  

          ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อน กล่าวอีกว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น มวลอากาศร้อนจะลอยตัวสูง ทำให้เมฆบนท้องฟ้าอัดแน่นไปด้วยความร้อน เมื่อลอยสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปปะทะกับมวลอากาศเย็น ส่งผลให้เกิดฝนลูกเห็บ เนื่องจากการหมุนเวียนของอากาศไม่เป็นไปตามปกติ  อาจกล่าวได้ว่าการเกิดฝนลูกเห็บมีความสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่ขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันแน่ชัด เป็นที่น่าสังเกตว่า ต้นปีที่ผ่านมาประเทศไทยก็พบฝนลูกเห็บเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนฤดูร้อนเป็นฤดูฝน แต่ฝนลูกเห็บยังไม่ใช่วิกฤติโลกร้อนที่สำคัญ ในอนาคตหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีใครรับรองได้ว่าฝนลูกเห็บจะไม่กระจายไปในวงกว้าง ประเทศไทยจึงควรมีการศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

http://www.apdi2002.com/ Tel. 0-2990-0331

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-26 21:56:31 IP : 124.121.141.200


ความคิดเห็นที่ 9 (930498)

กทม.เอาจริงเตรียมออกกฎคุมแก้’โลกร้อน’

 

 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 เม.ย. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในการประชุมหัวหน้าหน่วยงาน กทม. นายนิคม ไวยรัชพานิช ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) ได้รายงานปัญหาสิ่งแวดล้อมใน กทม. ที่เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ปัญหาฝุ่นละออง ที่เกิดจากจำนวนของยานพาหนะที่เพิ่มมากขึ้นและควันดำจากรถยนต์ที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งฝุ่นจากการก่อสร้างและจากโรงงานอุตสาหกรรม ปัญหาโรคร้อน ที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงงานต่าง ๆ การใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตและการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ซึ่งแต่ละปัจจัยทำให้เกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ซึ่งใน กทม.นั้นเกิดจากการขนส่งใช้เชื้อเพลิง 40% หรือประมาณ 17,300,480 ตันต่อปี การใช้ไฟฟ้าคิดเป็น 36% หรือ 20,922,768 ตันต่อปี ที่เหลือเป็นจำนวนก๊าซที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งหมดเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาโลกร้อน
 
ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวว่า ตนจะเตรียมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เช่น กระทรวงพลังงาน กลุ่มเอ็นจีโอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยในส่วนของ กทม.จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงปัญหาและสนใจร่วมแก้ปัญหาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุด เช่น ทำสวนแนวตั้งเพิ่มเติม และพื้นที่ว่างเปล่าที่มีทั้งหมดจะเร่งปรับให้เป็นพื้นที่สีเขียวให้หมด นอกจากนี้จะมีการตรวจตราเรื่องฝุ่นละอองและการใช้รถยนต์ของประชาชน และมอบหมายให้สำนักการระบายน้ำ (สนน.) เร่งตรวจสอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งนี้ในช่วงเดือน พ.ค. จะร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ จัดให้มีการสัมมนาเพื่อแก้ไขปัญหาโรคร้อน โดยจะดูว่าหน่วยงานใดที่สามารถออกกฎหมายควบคุมในส่วนใดได้บ้างก็ให้ดำเนินการ เพราะกทม.ไม่สามารถที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงงานหรืออุตสาหกรรมที่มีทั้งหมดได้ นอกจากนี้ในส่วนของทั่วโลกนั้นจะมีการประชุมผู้นำเมืองต่าง ๆ เพื่อร่วมนำเสนอและแก้ไขปัญหาร่วมกัน.

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

http://www.apdi2002.com/  Tel. 0-2990-0331

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-28 17:02:47 IP : 124.121.140.48


ความคิดเห็นที่ 10 (931046)
นักวิจัยชื่อดังชี้โลกร้อนไม่ทำให้เกิดเฮอร์ริเคนรุนแรงขึ้น
28 เมษายน 2550 13:37 น.

นักวิจัยชื่อดังระบุ โลกร้อนไม่ทำให้เกิดเฮอร์ริเคนรุนแรงขึ้น และโลกจะเย็นตัวลงเองในอนาคต

(28เม.ย.) นายวิลเลี่ยม เกรย์ นักวิจัยชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัย โคโลราโด้ สเตทระบุว่า กระแสน้ำของมหาสมุทร เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ไม่ใช่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่บรรยากาศโดยน้ำมือมนุษย์ อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเข้าใจกัน นายเกรย์บอกอีกว่า โลกของเราจะเริ่มเย็นลงเอง ในอีกราว5-10 ปีข้างหน้า

นายเกรย์ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการพยากรณ์ประจำปีการเกิดพายุเฮอร์ริเคนในชายฝั่งมหาสมุทร แอตแลนติกของสหรัฐระบุอีกว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนมากขึ้นหรือรุนแรงขึ้น จะเห็นได้จากช่วง 40 ปีที่ผ่านมา แม้ระดับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จะเพิ่มสูงขึ้น แต่จำนวนเฮอร์ริเคนที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งแอตแลนติกของสหรัฐกลับลดลง นอกจากนี้ภาวะโลกร้อน ยังอาจจะทำให้เกิดเฮอร์ริเคนได้ยากขึ้น เพราะโลกร้อนจะทำให้มีลมพัดในแนวตั้งซึ่งจะทำให้เฮอร์ริเคนอ่อนกำลังลง

ก่อนหน้านี้ เกรย์วัย 77 ปีได้วิจารณ์ทฤษฎีโลกร้อนที่ระบุว่า เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ และยังได้วิจารณ์สารคดีโลกร้อน ที่ได้รับรางวัลออสการ์ของอดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ของสหรัฐอีกด้วย

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ
ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-04-29 07:35:19 IP : 124.121.135.82


ความคิดเห็นที่ 11 (939509)
9 พฤษภา กทม.ประกาศปฏิญญา ยุติโลกร้อน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤษภาคม 2550 18:53 น.

       กทม.เตรียมประกาศปฏิญญา 5 ข้อ เพื่อหยุดภาวะโลกร้อน พร้อมชวนคนกรุงปิดไฟ 15 นาที 9 พ.ค.นี้
       
       นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาแนวทางแก้ไขภาวะโลกร้อน โดยมีผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมกว่า 23 หน่วยงาน ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า กทม.และทุกหน่วยงานจะร่วมมือกันประกาศปฏิญญา กทม.ว่าด้วยความร่วมมือลดภาวะโลกร้อนจำนวน 5 ข้อ ซึ่งจะมีการลงนามประกาศในวันที่ 9 พ.ค.2550 นี้ เพื่อให้เป็นวาระที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน
       
       โดยปฏิญญาทั้ง 5 ข้อดังกล่าว ระบุถึงการลดการใช้พลังงานและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภาคกิจกรรม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด, การร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของเยาวชน ชุมชน ธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และปัจเจกบุคคลให้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การส่งเสริมและสนับสนุนวิถีชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการป้องกัน เตรียมรับ และปรับตัวสู่กับภาวะโลกร้อน, การส่งเสริมและสนับสนุน และร่วมกิจกรรมที่จะทำให้เกิดการดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้
       และการส่งเสริมให้มีกิจกรรมการลดและป้องกันภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลและให้ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
       
       นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากการลงนามประกาศปฏิญญาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วในวันที่ 9 พ.ค.2550 กทม.ยังได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่เพื่อหยุดภาวะโลกร้อน ณ ห้อง Escape หอประชุมสหประชาชาติ (UN) โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องจำนวน 2,000 คน มาร่วมแสดงความคิดเห็น จากนั้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะทำกิจกรรมรณรงค์หยุดภาวะโลกร้อน ซึ่งจะการเดินรณรงค์ นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่ทุกคนได้รับ และแนวทางการแก้ไข เพื่อให้เด็ก เยาวชนคนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในภาวะดังกล่าว และเริ่มต้นมีส่วนร่วมกันแก้ไข โดย กทม.จะจัดทำสื่อสารคดี และเอกสารประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติ 10 ประการที่จะทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเองในการหยุดภาวะโลกร้อนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
       
       “ในวันที่ 9 พ.ค.นี้ จะเป็นวันแห่งการเริ่มต้นที่ได้ประกาศให้ประชาชนทั่วไป และโลกรับรู้ว่า ประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ตื่นตัว และพร้อมจะเป็นแนวร่วมในการหยุดภาวะโลกร้อน ด้วยการเชิญชวนประชาชนร่วมกันปิดไฟบริเวณทางเดิน ถนน อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในจุดที่ไม่จำเป็น เป็นเวลา 15 นาที ในช่วงเวลา 19.00-19.15 น.โดยพร้อมเพรียงกัน”
       
       ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ช่วงนี้ในแต่ละพื้นที่มีการแปรปรวนของสภาพอากาศ อย่างปรากฏการณ์เอลนีโญปกติจะเกิด 7 ปีครั้ง แต่ปัจจุบันนี้เพียง 2-3 ปีก็เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต่างจากพายุที่เกิดขึ้นในทะเลอ่าวไทยที่เกิดบ่อยขึ้นเช่นกัน และด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อระบบน้ำทะเล และกทม.เนื่องจากมีพื้นที่ติดทะเลด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลพวงตามมาอีกหลายอย่าง ทั้งการนำน้ำมาผลิตน้ำประปา ซึ่งหากน้ำทะเลรุกล้ำก็จะเกิดปัญหาโรคระบาด ทั้งนี้ ไม่เกิดเฉพาะใน กทม.ประเทศเพื่อนบ้านก็จะได้รับผลกระทบด้วย อย่างไรก็ตาม ตนคาดว่า ฝนจะตกหนักมากขึ้นบริเวณชายฝั่ง กทม.ก็จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรต้องหามาตรการระยะยาว เช่น การออกแบบถนนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง เป็นต้น
       
       ดร.จิรพล สินธุนาวา จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้ที่มีฐานะน้อยจะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มากกว่าคนฐานะดี โดยเฉพาะกรณีเจ็บป่วยที่จะขาดแคลนเรื่องค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ ตนเห็นว่า คนทำงานควรที่จะรีบกลับบ้านทันทีเมื่อเลิกงานแล้วไม่ใช่ต้องรอเวลา ซึ่งทำให้เกิดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็นซึ่งเป็นที่มาของมลพิษ

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ



 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-05-03 19:46:17 IP : 124.121.141.108


ความคิดเห็นที่ 12 (939522)

อียูแนะไทยหยุดกล่าวหาชาติร่ำรวยต้นเหตุ “โลกร้อน”

 

 

โดย ผู้จัดการออนไลน์

2 พฤษภาคม 2550 14:34 น.

 

เอเยนซี-อียูแนะไทยและประเทศกำลังพัฒนาหยุดกล่าวหาประเทศร่ำรวยเป็นต้นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และหันมาลงมืออย่างเร่งด่วนเพื่อลดหายนะอันจะเกิดจากภาวะ “โลกร้อน”
       
       
ตลอดสัปดาห์นี้ผู้แทนรัฐบาลจากชาติต่างๆ กว่า 120 ประเทศกำลังร่วมอภิปรายร่างรายงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ไอพีซีซี) ซึ่งเป็นเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์กว่า 2,000 คนขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าสรุปรายงานสุดท้ายจะออกมาในวันที่ 4 พ.ค.นี้
       
       
ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเกิดภาวะโลกร้อนนั้น ทางประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกานั้นได้เรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยกว่ารับผิดชอบต่อการเกิดภาวะโลกร้อน และควรจะแสดงความเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา
       
       
ขณะที่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียได้ปฏิเสธที่จะลงนามในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระดับสหประชาชาติที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศจีนและอินเดียไม่ได้ให้คำมั่นที่จะลดมลพิษคาร์บอนในอากาศ
       
       
ทางด้าน ทอม แวน เอียร์แลนด์ (Tom van Ierland) ตัวแทนจากสหภาพยุโรป (อียู) ให้ความเห็นโดยไม่ได้เจาะจงที่ประเทศใดเป็นพิเศษว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ควรหยุดแสดงความไม่ใส่ใจต่อประเทศที่เป็นผู้สร้างมลภาวะที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยคำแก้ตัวว่าไม่ใช่นโยบายของประเทศที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
       
       “
เราหวังว่าการโต้เถียงแบบนั้นจะลดน้อยลง เพราะเราไม่คิดว่านั่นคือสิ่งที่ถูก บางประเทศใช้คำพูดเหล่านี้โน้มผู้คน มันค่อนข้างเศร้าเพราะว่ามีสิ่งสำคัญที่จะต้องทำ” แวน เอียร์แลนด์กล่าว
       
       
ทั้งนี้ไอพีซีซีได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศที่ความอุดมสมบูรณ์ลดลงกำลังเผชิญกับผลกระทบที่ยิ่งใหญ่จากการไม่ตรวจสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ แม้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียสก็ทำให้ประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำก่อนปี 2593
       
       
ทางด้าน ยูนิส อัล-เฟนาดี (Younis Al-Fenadi) ผู้แทนหนึ่งเดียวจากประเทศลิเบียกล่าวว่าทวีปแอฟริกาคือเหยื่อของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสรุปรายงานสุดท้ายที่จะออกมานั้นต้องรวมคำสัญญาที่จะช่วยเหลือให้แก่แอฟริกาในรูปของเงินเพื่อช่วยเหลือในการฝึกปฏิบัติ วางแผนและให้การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
       
       
ส่วนออร์วิน เพจ (Orvin Paige) ผู้แทนจากแอนกัวและบาร์บูดาประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียน กล่าวว่าเขารู้สึกผิดหวังที่มีการพูดคุยกันไปไกลในประเทศไทยซึ่งสาธยายเกี่ยวกับเรื่องประเด็นทางด้านเทคนิค ขณะที่ตัวเขาเพียงต้องการให้การอภิปรายกลับไปยังประเด็นที่ว่าเราจะคาดหวังอะไรได้บ้าง หรืออะไรคือภยันตรายที่แท้จริง
       
       
รายงาน 2 ฉบับของไอพีซีซีที่ออกมาปีนี้ได้วาดภาพที่ร้ายกาจของอนาคตที่ไม่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะกระตุ้นอุณหภูมิของโลกให้สูงขึ้นไปก่อนปี 2643 ส่วนรายงานฉบับที่กำลังถูกอภิปรายในสัปดาห์นี้ก็กดดันโลกให้รวบรวมทางเลือกทางด้านเทคนิคที่มีอยู่มากมายอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงการสำรวจประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การเลี่ยงการใช้พลังงานถ่านหินและการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบอันจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-05-03 20:07:28 IP : 124.121.141.108


ความคิดเห็นที่ 13 (943133)

วช.แจก30ล้านวิจัยโลกร้อน

 พฤษภาคม 2550 20:46 น.

 

สภาวิจัยแห่งชาติประกาศให้ทุนวิจัย 30 ล้านบาท ศึกษาผลกระทบภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ครอบคลุม 4 ด้าน คือ โรงงานอุตสาหกรรม ไฟป่า ชุมชน และภูมิอากาศ

ศ.อานนท์ บุญยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สภาวิจัยได้อนุมัติงบประมาณการวิจัย 30 ล้านบาทให้แก่นักวิจัย เพื่อดำเนินการศึกษาภาวะโลกร้อนและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม/จราจร ผลกระทบจากไฟป่า/การเกษตร ผลกระทบต่อสุขภาพ/ชุมชน และผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคาดว่าจะวางกรอบการวิจัยได้ในเดือนพฤษภาคมนี้

"จากเดิมหากอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ปัจจุบันอุณหภูมิปกติอยู่ที่ 37-40 องศาเซลเซียส อีกทั้งอุณหภูมิภายนอกสูงกว่าอุณหภูมิภายในร่างกาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายคนได้ ดังนั้น เป้าหมายการวิจัยในเรื่องภาวะโลกร้อน ก็เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สำหรับประชาชน

 

http://www.apdi2002.com/

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-05-06 08:08:33 IP : 124.121.137.245


ความคิดเห็นที่ 14 (945150)

ยุ่นทุ่ม3,500ล.หนุนพลังงานสู้โลกร้อน

เอพีรายงานเมื่อ 6 พ.ค.ว่า ญี่ปุ่นประกาศมอบเงิน 100 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3,500 ล้านบาท ให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี เพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน นายโคจิ โอมิ รมว.เศรษฐกิจระบุว่าการจัดการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นภารกิจสำคัญที่สุดที่เอดีบีจะต้องทำท่ามกลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย

เงินดังกล่าวแบ่งเป็นกองทุน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนพลังงานสะอาดในเอเชีย และกองทุนสนับสนุนการลงทุนเพื่อสภาวะอากาศเพื่อมุ่งส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และกระตุ้นให้ชาติเอเชียต่างๆ สร้างสาธารณูปโภคที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะให้เงินกู้แก่เอดีบีกว่า 70,000 ล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเอเชีย ในขณะที่ปัจจุบันเอดีบีจ่ายเงินเพื่อพลังงานสะอาด 35,000 ล้านบาทต่อปี

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-05-07 16:51:22 IP : 124.121.142.91


ความคิดเห็นที่ 15 (950415)

แก้ปัญหาโลกร้อน…........

             นายวิชัย แหลมวิไล อธิบดีกรมป่าไม้ เผยว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาภาวะ โลกร้อนได้สร้างผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ปัญหาน้ำท่วมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และปัญหาไฟป่า สาเหตุสำคัญมาจากพื้นที่ป่าไม้ ที่ลดลง รวมทั้งการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยสู่บรรยากาศเป็นจำนวนมาก แนวทางที่ ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนและใช้ต้นทุนน้อยที่สุดคือ การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวคืนสู่ธรรมชาติ ให้ต้นไม้ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ

อธิบดีกรมป่าไม้เผยอีกว่า ประกอบกับในปี 2550 นี้ ถือเป็นโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนม พรรษาครบ 80 พรรษา ที่ประชาชนชาวไทยทุกคน จะมีโอกาสร่วมแรงร่วมใจแสดงความสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายความจงรักภักดี โดยร่วมกันปลูก ต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวคืนให้แผ่นดินไทย พร้อมเสริมสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ กรมป่าไม้ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการในจังหวัดชลบุรี เตรียมจัดงานวันต้นไม้ประจำปีของชาติอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 31 พ.ค.นี้ ณ บริเวณเขาโคนสมอบ้านหนองแตงกวา บ้านเขาหลัง ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีพื้นที่ดำเนินการ 200 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่นำร่องในการฟื้นสภาพผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น.

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-05-10 21:56:51 IP : 124.121.143.39


ความคิดเห็นที่ 16 (952371)

ไอพีซีซีแนะแนวทาง บรรเทาปัญหาโลกร้อน


ปัญหาโลกร้อนสามารถแก้ไขให้บรรเทาเบาบางลงไปได้ด้วยการร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ทั้งในด้านเทคนิคและเศรษฐกิจ และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก

นี่คือสาระสำคัญในรายงานฉบับที่ 3 ที่ชื่อว่า "Climate Change 2007:Mitigation of Climate Change" ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (UN Intergovernmental Panel on Climate Change - IPCC) ที่เสนอโดยคณะทำงานชุดที่ 3 (Working Group 3) ในการประชุมที่กรุงเทพมหานครในระหว่างวันที่ 30 เมษายน-4 พฤษภาคม 2007 ที่ผ่านมา

ไอพีซีซีได้เผยแพร่รายงานมาแล้วสองฉบับในปีนี้จากการศึกษาของคณะทำงานชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ทั้งนี้ รายงานทั้งสองฉบับเน้นในเรื่องความรู้ของทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและผลกระทบต่อโลก แต่รายงานฉบับที่ 3 เป็นรายงานที่เสนอแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดและคิดค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้

รายงานฉบับที่ 3 ระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 70% ในระหว่างปี 1970-2004 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงานซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นถึง 145% ในช่วงเวลาเดียวกัน

โอกันลาเด เดวิดสัน ประธานร่วมของคณะทำงานชุดที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จำนวน 168 คน กล่าวว่า "ถ้าเรายังคงทำในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้แล้วละก็ เราต้องยากลำบากกันอย่างสุดสุด"



รายงานฉบับที่ 1 ของไอพีซีซีได้ทำนายไว้ว่า สิ้นศตวรรษนี้หรือปี 2110 อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นในระหว่าง 1.8-4 องศาเซลเซียสและน่าจะเป็น 4 องศาเซลเซียสมากที่สุดหากมนุษย์ยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 0.6 องศาเซลเซียส โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกสะสมในชั้นบรรยากาศเท่ากับ 425 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm) ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าถ้าปริมาณก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้นเป็น 445 ppm เมื่อใดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็จะสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส

รายงานล่าสุดนี้ ชี้ว่า ถ้าโลกรักษาปริมาณการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระหว่าง 590-710 ppm จะมีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 0.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (GDP) และปริมาณของก๊าซเรือนกระจกขนาดนี้จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส

แต่หากรักษาปริมาณการสะสมของก๊าซเรือนให้อยู่ในระหว่าง 445-535 ppm ก็จะมีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 3.0% ของ GDP โลก ซึ่งไมเลส อัลเลน จากมหาวิทยาศาสตร์ออกซ์ฟอร์ดบอกว่า มันมีโอกาสประมาณ 40% เท่านั้นที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นไม่ถึง 2 องศาเซลเซียสหากเราเลือกใช้แนวทางการรักษาปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 450 ppm

ก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคม รายงานของ เซอร์นิโคลาส สเติร์น อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกชี้ว่า ถ้าโลกล้มเหลวในการรักษาระดับของก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอยู่แล้วละก็จะทำให้โลกต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าอยู่ในระหว่าง 1-10% ของ GDP โลก

 

 


ราเชนทรา ปาจาอูรี ประธานไอพีซีซีบอกว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลา 2-3 ทศวรรษข้างหน้า หากไม่มีนโยบายชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน และคาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 25-90% ในปี 2030 เมื่อเทียบกับปริมาณที่ปล่อยในปี 2000

รายงานฉบับนี้ได้เสนอมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยนโยบายพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำ และพลังงานนิวเคลียร์ โดยกล่าวถึงมาตรการทางภาษีและกระบวนการทางเศรษฐกิจที่จะทำให้พลังงานจากฟอสซิลมีราคาแพงขึ้นและพลังงานหมุนเวียนมีราคาถูกลงด้วย

รวมทั้ง การใช้พลังงานในอาคารและในภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การวางผังเมืองที่ดีเพื่อลดการเดินทางของชาวเมือง นอกจากนั้น ยังเสนอแนะวิธีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคขนส่งหลายวิธี เช่น การออกแบบยานพาหนะที่ประหยัดน้ำมัน การส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น

แม้ว่าโลกจะมีสนธิสัญญาเกียวโตซึ่งบังคับให้ประเทศอุตสาหกรรมจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ตาม แต่ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาฉบับนี้ และประเทศจีนก็กำลังจะกลายมาเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกภายในไม่เกินปี 2010

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าจะอยู่ในระหว่าง 445-535 ppm ซึ่งไอพีซีซีทำนายไว้ว่าหากปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 445 ppm จะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส

อะไรจะเกิดขึ้นหากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส

รายงานฉบับที่ 2 ของไอพีซีซีที่ชื่อว่า Climate Change 2007: Climate Change Impacts,Adaptation and Vulnerability ทำนายผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระหว่าง 1-4 องศาเซลเซียสไว้ว่า ถ้าอุณหภูมิเพิ่มถึง 2 องศาเซลเซียส จะทำให้พันธุ์สัตว์และพืชต้องสูญพันธุ์ประมาณ 30% ปะการังชายฝั่งจะตายในบริเวณกว้าง และผลผลิตทางการเกษตรจะลดลงในแถบเขตร้อนของโลก

ขณะที่รายงานของเซอร์นิโคลาส สเติร์น ทำนายว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก จะทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง ธารน้ำแข็งละลายจนทำให้ประชากร 1 ใน 6 ของโลกขาดแคลนน้ำจืด สัตว์ป่าอย่างน้อย 40% ของสปีซีส์ทั้งหมดจะสูญพันธุ์ เกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้งทั่วโลกซึ่งอาจทำให้ประชากรโลกหลายสิบล้านหรือหลายร้อยล้านคนจะกลายมาเป็นผู้ลี้ภัย

ถ้ามันเป็นจริงดังคำทำนาย คนรุ่นต่อไปจะรู้สึกอย่างไร ทิม จอยซี

ชาวอังกฤษกล่าวไว้อย่างจับใจว่า "ถ้าเราไม่ลงมือจัดการในตอนนี้ ลูกๆ และหลานๆ ของเราคงจะต้องการรู้ว่าทำไมเราถึงได้จัดการเพียงน้อยนิดในการรักษาโลกของพวกเขาไว้"

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-05-12 13:10:51 IP : 124.121.136.79


ความคิดเห็นที่ 17 (1006602)

เฝ้าระวังโลกร้อนกระทบ "พันธุกรรมเชื้อโรค" เปลี่ยน



ความวิตกเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนนอกเหนือจากการคาดการณ์ถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นทำให้พื้นที่ชายฝั่งและเกาะต่างๆ ในหลายประเทศอาจมีพื้นที่บางส่วนหายไป ยังมีความวิตกหนึ่งที่สำคัญเช่นกันคือ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของเชื้อโรคที่แพร่ระบาดทั้งในคนและสัตว์ โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ทนทานและไวต่อการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง

ดังนั้น เชื้อไวรัส จึงเป็นหนึ่งในเชื้อโรคที่ควรเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะไวรัสเป็นจุลชีพขนาดเล็กที่ไม่ใช่เซลล์ จึงมีโครงสร้างพื้นฐานไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย สารพันธุกรรม 2 แบบ ซึ่งอาจเป็น DNA หรือ RNA และโปรตีนที่ห่อหุ้มสารพันธุกรรม พบว่า ไวรัสบางสายพันธุ์มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และความร้อนสูง อาทิ ไวรัส กลุ่มพ็อกไวรัส (Poxvirus) ซึ่งมีหลายชนิดที่ก่อโรคทั้งในสัตว์ปีก สัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด รวมทั้งคน เช่น วาริโอลา ไวรัส (Variola virus) ซึ่งมีสารพันธุกรรม เป็น DNA เป็นเชื้อก่อโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ) ที่ระบาดในอดีต

จากข้อมูลการวิจัยใน ปี 2007 โดย ภาควิชา Molecular Genetics and Microbiology มหาวิทยาลัยฟลอริดา เกี่ยวกับไวรัส กลุ่ม Poxvirus อีกชนิดหนึ่ง คือ วัคซิเนีย ไวรัส (Vaccinia virus) สายพันธุ์ Cts9 ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ทำให้เบสบน DNA ถูกตัดออก 2 ตัว (ในตำแหน่งยีน A28 ที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีน A28 ของไวรัส) ทำให้เกิดการย้ายกรดอะมิโน cysteine ไปอยู่ใกล้ C-terminus (carboxyl-terminus) ของโครงสร้างของโปรตีนดังกล่าว ทำให้ไวรัส vaccinia virus สายพันธุ์กลายพันธุ์ Cts9 มีลักษณะที่ไม่สามารถติดต่อเข้าสู่เซลล์สิ่งมีชีวิตได้ แต่ไวรัสดังกล่าวสามารถรวมกับเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ที่ อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส ในสภาพ pH ที่ไม่ต่ำมาก

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาพอากาศที่แปรปรวนจากภาวะโลกร้อน ทำให้บางบริเวณมีสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำ และแห้ง รวมทั้งมีความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจเป็นเหตุให้เชื้อไวรัสบางชนิดอาจปรับโครงสร้างทางพันธุกรรมใหม่ หรือกลายพันธุ์ (mutation) ได้ด้วยตนเอง เพื่อปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศดังกล่าวได้

ประกอบกับความอ่อนแอของร่างกายสิ่งมีชีวิตที่ไวรัสเข้าไปอาศัย จนอาจมีปริมาณและความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น และการแพร่ระบาดอาจยาวนานขึ้นและเชื้อโรคบางชนิดอาจกลับมาแพร่ระบาดได้อีก

สำหรับประเทศไทย มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ซึ่งมีสารพันธุกรรม เป็น RNA โดยจากการสัมมนาวิชาการไข้หวัดนก (AI Symposium) ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดโดย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนด้านการวิจัย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พบว่าผลการตรวจวิเคราะห์ในปี 2007 พบ ไวรัส H5N1 สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นที่ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งต่างจากสายพันธุ์เดิมที่พบที่จังหวัดพิษณุโลก

จากความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกและการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเชื้อโรคเป็นสิ่งใกล้ตัวที่มนุษยชาติต้องมีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเพื่อการรับมือกับโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและรุนแรงมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-06-18 07:36:36 IP : 124.121.136.83


ความคิดเห็นที่ 18 (1018636)

คนกรุงต้องทิ้งหลอดไส้ 5 ล้านดวง ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละพันล้านกิโล

 

ผู้ว่า "หล่อเล็ก" เผยทั่วกรุงเทพฯ ใช้หลอดไส้ 5 ล้านหลอด แจงทำโครงการนำร่องเปลี่ยนใช้หลอดตะเกียบ 50,000 ดวง พร้อมจัดแลกฟรี 1,000 ดวง ในกิจกรรมปิดไฟ 15 นาทีลด "โลกร้อน" หน้า "เซ็นทรัลเวิล์ด"
       
       นอกจากมีกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนโดยปิดไฟ 15 นาที ในวันที่ 9 พ.ค.เวลา 19.00 น. ณ ลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิล์ด และร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงปฏิญญากรุงเทพมหานครร่วมลดภาวะโลกร้อนกับองค์กรภาครัฐ เอกชนและเครือข่ายประชาชน 33 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นต้น แล้ว ทางกรุงเทพมหานครยังได้เตรียมหลอดตะเกียบจำนวน 1,000 ดวงให้กับผู้ที่นำหลอดไส้มาเปลี่ยน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
       
       นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนหลอดไฟดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และกระทรวงพลังงาน ที่ดำเนินโครงการเปลี่ยนไส้หลอดทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 50,000 ดวง เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับประชาชนในกรุงเทพที่เหลือได้หันมาใช้หลอดประหยัดพลังงานแทนหลอดไส้ที่มีอยู่ประมาณ 5 ล้านดวงทั่วกรุงเทพฯ และในวันจันทร์ที่ 14 พ.ค.จะได้เดินรณรงค์และเปลี่ยนไส้หลอดอีกจำนวนหนึ่งตามตลาดสด
       
       
"อยากให้ประชาชนได้เข้าใจว่าการดับไฟ เปลี่ยนหลอดไฟ หรือใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกก็มีส่วนช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้" นายอภิรักษ์กล่าว โดยชี้แจงถึงเหตุผลของการรณรงค์ยุติภาวะโลกร้อนว่าเพื่อจุดประกายให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น
       
       ทั้งนี้จากเอกสารประชาสัมพันธ์ "หยุดเพิ่มความร้อนใส่กรุงเทพฯ" ระบุว่า หากเปลี่ยนหลอดไส้ 100 วัตต์ไปใช้หลอดประหยัดพลังงาน 18 วัตต์จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 295 กิโลกรัม และประหยัดเงินได้ปีละ 738 บาท ดังนั้นหากประชาชนทั่วกรุงเทพฯ เลิกใช้หลอดไส้ทั้งหมดจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนระจกได้ถึงปีละ 1,475 ล้านกิโลกรัม และประหยัดเงินได้ 3,690 ล้านบาท
       
       สำหรับปริญญากรุงเทพฯ ลดภาวะโลกร้อน ซึ่งมีการลงนาม ณ ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่
       
       1.ลดการใช้พลังงานใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกกิจกรรมในภาคการผลิตและการบริโภค เพื่อให้เกิดผลกระทบกับภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด
       
       2. ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของเยาวชน ชุมชน ธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และปัจเจกบุคคลให้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อน
       
       3.สนับสนุนและส่งเสริมวิถีชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการป้องกัน เตรียมตัว และปรับตัวสู้กับภาวะโลกร้อน
       
       4.ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมทำกิจกรรมที่จะทำให้เกิดการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ด้วยการปลูกต้นไม้ยืนต้นอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
       
       5.ส่งเสริมให้มีการกิจกรรมการลดและป้องกันภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลและให้ความรู้สู่การปฏิบัติทุกโอกาส

 

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-06-25 07:28:10 IP : 124.121.135.121


ความคิดเห็นที่ 19 (1022687)

ภาวะโลกร้อน หรือสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง กำลังบอกเราว่า ไม่มีสัญญาณว่าโลกจะเย็นขึ้นแต่อย่างใด

นี่คือความจริงที่ว่า ทำไมมันถึงเกิดขึ้น อะไรคือสาเหตุ และมีผลกระทบกับโลกนี้อย่างไร

ภาวะโลกร้อน กำลังเกิดขึ้น ?

ใช่แน่นอน โลกกำลังแสดงสัญญาณหลายอย่างว่า ภาวะอากาศ กำลังเปลี่ยนแปลง

  • อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ปี 1880 และส่วนมากเพิ่มขึ้นในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จากข้อมูลของสถาบันวิจัยอวกาศกอดดาร์ดส์แห่งนาซา
  • อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2 ทศวรรษในศตวรรษที่ 20 มีปีที่ร้อนที่สุด ในรอบ 400 ปี และเป็นไปได้ว่าที่สุดในรอบ 1000 ปี จากข้อมูลของ IPCC ระบุว่า ใน 12 ปีที่ผ่านมา มี 11 ปีเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่ปี 1850
  • อาร์กติกได้รับผลกระทบมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยในอลาสกา แคนาดาตะวันตก และรัสเซียตะวันออก เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานของ multinational Arctic Climate Impact Assessment ช่วงปี 2000-2004
  • น้ำแข็งในอาร์กติก กำลังละลายอย่างรวดเร็ว และอาจไม่มีน้ำแข็งอีกเลย ในฤดูร้อน ปี 2040 หรือเร็วกว่า http://news.nationalgeographic.com/news/2006/12/061212-arctic-ice.html
    ชาวพื้นเมืองและหมีขั้วโลกก็กำลังเผชิญกับภัยนี้เช่นกัน
  • ธารน้ำแข็ง และหิมะบนภูเขา ได้ละลายอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นธารน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติมอนทาน่า ปัจจุบันเหลือเพียง 27 ธารน้ำแข็งจาก 150 เมื่อปี 1910
    http://news.nationalgeographic.com/news/2004/12/
    photogalleries/global_warming/
  • ปะการัง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากอุณหภูมิน้ำ ได้ตายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 1998 ปะการังกว่า 70% ขาวซีดในบางพื้นที่ http://news.nationalgeographic.com/news/2006/05/warming-coral.html
  • ภาวะอากาศแปรปรวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น คลื่นความร้อนพายุ และการเกิดไฟป่า

มนุษย์เป็นตัวการหรือ ?

จากรายงานของ IPCC มีความเป็นไปได้สูงมาก โดยรายงานนี้จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 2500 คนใน 130 ประเทศ ได้สรุปว่า มนุษย์เป็นตัวการของสาเหตุเกือบทั้งหมด ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

หวัดดีจ้า.

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-06-27 08:06:51 IP : 124.121.137.225


ความคิดเห็นที่ 20 (1032379)

คนอังกฤษไม่สนใจปัญหาโลกร้อน

 

 

โดย ผู้จัดการออนไลน์

4 กรกฎาคม 2550 02:38 น.

 

 

       เดอะ โมริ โพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนอังกฤษ 2,032 ราย ระหว่างวันที่ 14 ถึง 20 มิถุนายน พบว่ามีถึง 56 เปอร์เซนต์ ที่เชื่อว่ายังมีความข้องใจต่อการออกมาคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ต่อปัญหาโลกร้อน
       
        โดยคนเหล่านั้นรู้สึกว่าปัญหาดังกล่าวถูกแต่งแต้มให้น่ากลัวเกินจริง เพื่อแลกกับเงิน ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เกือบทั้งหมดมองว่ามนุษย์ยังไม่มีการเตรียมตัวรับมือกับภาวะโลกร้อนได้ดีเพียงพอ
       
        ผลสำรวจยังพบว่าภัยด้านก่อการร้าย ปัญหาคอร์รัปชั่นและอาชญากรรม คือสิ่งที่คนอังกฤษกังวลมากกว่าปัญหาโลกร้อน

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-07-04 08:30:25 IP : 124.121.137.77


ความคิดเห็นที่ 21 (1041336)

กทม.เร่งสร้างทางจักรยานเพิ่มรณรงค์คนกรุงฯ ร่วมลดภาวะโลกร้อน

ผู้ว่าฯ กทม. เผย กทม.กำลังเร่งสำรวจสร้างเพิ่มเส้นทางจักรยานเพื่อรณรงค์ประชาชนหันมาใช้จักรยานเป็นพาหนะในชีวิตประจำวันแทนการขับรถยนต์ เพื่อลดการใช้พลังงาน ลดภาวะโลกร้อน และเชิญชวนร่วมดับเครื่องยนต์ขณะจอดในเวลา 17.00 น. วันที่ 9 กรกฎาคมนี้

 

วันนี้ (7 ก.ค.) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธาน นำขบวนประชาชน พร้อมศิลปิน ในฐานะอาสาสมัครช่วยโลกร้อนภายใต้โครงการ “โลกสวยด้วยมือเรา โลกร้อนแก้ไขได้” อาทิ หมอโอ๊ค-สมิทธิ์ อารยะสกุล โอ-อนุชิต สพันธุ์พงษ์ เต้-ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ บอล-วิทวัส สิงห์ลำพอง และอ๊อด คีรีบูน ร่วมขี่จักรยาน ออกจากบริเวณลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปตามเส้นทางถนนสาทร เข้าสู่ถนนวิทยุ และสิ้นสุดที่สวนลุมพินี เพื่อเชิญชวนชาวกรุงเทพฯ หันมาใช้จักรยานเป็นพาหนะในการสัญจร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน
       
       ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ กทม.กำลังสำรวจเพิ่มเส้นทางจักรยาน เพื่อรองรับชาวกรุงเทพฯ ให้หันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการใช้พลังงาน รวมทั้งเพื่อออกกำลังกาย โดยเฉพาะในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งปริมาณรถยนต์ไม่มาก อยากให้ชวนครอบครัวมาขี่จักรยานออกกำลังกาย อีกทั้ง กทม.จะจัดทำแผนที่เส้นทางจักรยาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนรับทราบด้วย
       
       
“มีการสำรวจจุดจอดรถจักรยานบริเวณปากซอย บริเวณต่อรถไฟฟ้า รถเมล์ บริเวณตลาด ซึ่งปกติประชาชนจะใช้ถีบไปซื้อของ ทยอยทำไปแล้ว หลายเส้นทางทำเสร็จแล้ว เช่น พื้นที่ในเขตปทุมวัน บางรัก และทุกแห่งที่เป็นจุดจอดรถไฟฟ้า ก็จะมีจุดที่จะจอดรถจักรยาน เวลาถีบมาจากบ้านหรือที่ทำงาน ก็เอาจักรยานจอดไว้และก็ต่อรถไฟฟ้าไปได้ด้วย” ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
       
       ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน กทม.ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาชนเพื่อร่วมลดภาวะโลกร้อนซึ่งดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 9 พ.ค. รณรงค์ดับไฟ 15 นาที, วันที่ 9 มิ.ย. รณรงค์เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ และวันที่ 9 ก.ค.นี้ เวลา 17.00 น.จะรณรงค์ “ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง” ที่บริเวณสถานีน้ำมัน ปตท.ถนนวิภาวดีรังสิต ร่วมกับนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและผู้บริหาร บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมกันดับเครื่องยนต์เวลาจอดรถเติมน้ำมัน รับส่งลูกที่โรงเรียน และจอดรถซื้อของ ซึ่งการดับเครื่องยนต์เพียง 5 นาที ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโลกร้อนได้

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-07-08 15:56:12 IP : 124.121.138.158


ความคิดเห็นที่ 22 (1049829)

เมื่อเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เปิดบ้านพิษณุโลก" ถึงการเตรียมจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ว่า


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  

ต่อข้อถามว่า นายกรัฐมนตรี ยกตัวอย่างเรื่องของข้าว แสดงว่ารัฐบาลคำนึงถึงว่าเป็นปัญหาของชาติ เพราะฉะนั้น จะสนองพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยเกษตรกร โดยเฉพาะคนที่ปลูกข้าวอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลนี้พิจารณาเรื่องหลัก ๆ ส่วนมากเกี่ยวกับเกษตรกร เรื่องการดูแลสภาวะแวดล้อม เรื่องโครงการปลูกป่าที่กำลังจะทำในโอกาสข้างหน้า ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำเพื่อเฉลิมฉลองในปีมหามงคล เช่นเดียวกัน ป่า น้ำ ที่จะทำต่อไป เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฝนหลวง โดยจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป เพราะกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นแนวพระราชดำริ เนื่องในต่างกรรมต่างวาระกันมาเป็นระยะเวลานานมากแล้ว 60 ปีที่ทรงครองสิริราชสมบัติ และเรื่องต่าง ๆ ที่ได้ยกมากล่าวนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นส่วนสำคัญ คือ การอัญเชิญหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางการทำงาน

ส่วนกรณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ทรงห่วงภาวะโลกร้อน เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤติอยู่ รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรรองรับ เพราะในอนาคตอาจมีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับประเทศไทยนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว คือ โครงการปลูกป่า การดูแลพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำลำธาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำที่จะไม่ให้เกิดความขาดแคลน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ นอกเหนือจากขาดแคลนแล้ว ในบางครั้งก็มากเกินไป จำเป็นจะต้องบริหารจัดการไม่ให้มากเกินไปเหมือนกัน

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-07-15 18:15:02 IP : 124.121.136.200


ความคิดเห็นที่ 23 (1056841)

ภาวะโลกร้อน : ผลกระทบต่อประเทศไทย


ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นอีกถึง 90 เซนติเมตรในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพต่างๆหลายประการ

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยประเมินไว้ว่า มีสิ่งชี้ชัดในเรื่องความเป็นไปได้ของภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และอุทกภัยที่ถี่ขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นในพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในบริเวณชายฝั่งของกรุงเทพฯที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง และอยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตร โดย ระดับการรุกของน้ำเค็มจะเข้ามาในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาถึง 40 กิโลเมตร ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความสมดุลของน้ำจืดและน้ำเค็มในพื้นที่ นอกจากนี้ กรุงเทพฯยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งและอุทกภัย ที่จะก่อความเสียหายกับระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่จะตามมา

ส่วนพื้นที่ชายฝั่งจะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อพื้นที่ชายฝั่งแตกต่างกันไปเป็นกรณี เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ชายฝั่งหลายแบบ เช่น พื้นที่ชายฝั่งที่เป็นหน้าผา อาจจะมีการยุบตัวเกิดขึ้นกับหินที่ไม่แข็งตัวพอ แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนชายหาดจากเพชรบุรีถึงสงขลาซึ่งมีลักษณะชายฝั่งที่แคบจะหายไป และชายหาดจะถูกร่นเข้ามาถึงพื้นที่ราบริมทะเล

ส่วนพื้นที่ป่าชายเลนจะมีความหนาของพรรณไม้ลดลง เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้พืชตาย แอ่งน้ำเค็มลดลงและถูกแทนที่ด้วยหาดเลน ในขณะที่ปากแม่น้ำจะจมลงใต้น้ำทำให้เกิดการชะล้าง พังทลายของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดย ทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นแหล่งน้ำชายฝั่งจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นและอาจมีน้ำเค็มรุกเข้ามามากขึ้น

ตัวอย่างอื่นๆของพื้นที่ที่จะได้รับความเสียหาย คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พื้นที่ร้อยละ 34 ของจังหวัดจะถูกกัดกร่อนและพังทลาย ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่การเกษตรและนากุ้งในบริเวณดังกล่าวด้วย

ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้การระเหยของน้ำทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบเพิ่มมากขึ้น ยิ่งจะทำให้ฝนตกมากขึ้น และกระจุกตัวอยู่ในบางบริเวณ ทำให้เกิดอุทกภัย ส่วนบริเวณอื่นๆก็จะเกิดปัญหาแห้งแล้ง เนื่องจากฝนตกน้อยลง กล่าวคือ พื้นที่ภาคใต้จะมีฝนตกชุก และเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งขึ้น ในขณะที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องเผชิญกับภัยแล้งมากขึ้น

รูปแบบของฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้วัฏจักรของน้ำเปลี่ยนแปลง ลักษณะการไหลของระบบน้ำผิวดิน และระดับน้ำใต้ดินก็จะได้รับผลกระทบด้วย ทั้งพืชและสัตว์จึงต้องปรับปรุงตัวเองเข้าสู่ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป ลักษณะความหลากหลายทางชีวภาพก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

ระบบนิเวศทางทะเล ก็เป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และอุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกสีทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน

ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ

การศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุว่า ในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำลดลง (ประมาณ 5 - 10 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน รวมถึงความชื้นของดินและอุณหภูมิเฉลี่ยที่พอเหมาะด้วย

สำหรับประเทศไทย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตรจะไม่รุนแรงมาก เพราะพื้นที่ชลประทานจะได้รับการป้องกัน แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอาจจะรุนแรงในบริเวณที่ขาดน้ำอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ผลกระทบยังอาจเกิดขึ้นกับการทำประมง เนื่องจาก แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี อาจแห้งขอดลงในบางฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ซึ่งจะทำให้จำนวนและความหลากหลายของชนิดของสัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ำแถบลุ่มแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลดลงอย่างต่อเนื่อง หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินต่อไป

เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศที่ร้อนขึ้น และความชื้นที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยครั้งและรุนแรง จะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้งขึ้นและไม่เป็นไปตามฤดูกาล โดยภาคใต้ของประเทศซึ่งเคยมีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านจะเกิดพายุมากขึ้น และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของแนวโน้มอุทกภัยแบบฉับพลันด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย และก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบนิเวศ

ภัยธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่คาดการณ์ว่าจะรุนแรงขึ้น ได้แก่ ภาวะภัยแล้ง เช่น ในช่วงกลางปี พ.ศ 2533 ประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้งรุนแรงจากปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ ที่เชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ไฟป่าอาจจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะภัยแล้ง

ผลกระทบด้านสุขภาพ

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของคนไทย โรคระบาดที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงมากขึ้น โดยภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ำท่วมทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โรคบิด ท้องร่วง และอหิวาตกโรค เป็นต้น

โรคติดต่อในเขตร้อนก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ ไข้มาลาเรีย ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากการขยายพันธุ์ของยุงจะมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนขึ้นและฤดูกาลที่ไม่แน่นอน

แนวโน้มของผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร และความอดอยาก ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และภูมิต้านทานร่างกายต่ำ โดยเฉพาะในเด็กและคนชรา

ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ

ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นไม่เพียงแต่ส่งกระทบที่รุนแรงต่อประเทศไทยในทางกายภาพเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การยุบตัวของพื้นที่ชายฝั่ง ภูมิอากาศแปรปรวน โรคระบาดรุนแรง และผลกระทบอื่นๆ ส่งผลให้มีประชากรบาดเจ็บล้มตาย ทิ้งที่ทำกิน และไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ประชาชนยังจะได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะระหว่างภาวะน้ำท่วม และความเสียหายที่เกิดกับระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งโดยมาก ผู้ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็นประชาชนที่มีความยากจน และไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะป้องกันผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ทำกิน อาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การทิ้งพื้นที่ทำกินในบริเวณที่ให้ผลผลิตต่ำจึงเป็นทางออกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญตามแนวชายฝั่งที่ยุบตัว ภัยธรรมชาติ และความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พื้นที่ที่คุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับการป้องกันล่วงหน้า เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำต้องมีโครงสร้างป้องกันกระแสคลื่น ซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น หรือการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลหรือเขื่อน เพื่อป้องกันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร และการทำนาเกลือ เป็นต้น

การป้องกันดังกล่าวนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้น ในพื้นที่ที่ไม่คุ้มค่าที่จะป้องกันในเชิงเศรษฐกิจจะถูกละทิ้งไป ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด เช่น การช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่ที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลรุก เป็นต้น

ทางออกของปัญหาภาวะโลกร้อน

หากมองย้อนกลับไปที่ต้นเหตุของปัญหา เราจะพบว่าสาเหตุของภาวะโลกร้อนนั้นคือการที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่สุดออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นการแก้ปัญหาก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในระดับนานาชาติที่ระบุใน พิธีสารเกี่ยวโต (Kyoto Protocol) พิธีสารเกี่ยวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ กำหนดให้มีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 5.2 เปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าระดับการปล่อยก๊าซดังกล่าวของปี .พ.ศ .2533 ภายใน พ.ศ. 2555

แม้ว่าพิธีสารเกี่ยวโตไม่ได้กำหนดให้ประเทศกำลังพัฒนา อย่างเช่นประเทศไทยจะต้องมีพันธะสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราควรจะคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากประเทศไทยเองก็มีความเสี่ยงต่อผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกดังที่กล่าวไว้

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-07-18 09:18:39 IP : 124.121.137.9


ความคิดเห็นที่ 24 (1066598)

เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศที่ร้อนขึ้น และความชื้นที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยครั้งและรุนแรง จะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้งขึ้นและไม่เป็นไปตามฤดูกาล โดยภาคใต้ของประเทศซึ่งเคยมีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านจะเกิดพายุมากขึ้น และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของแนวโน้มอุทกภัยแบบฉับพลันด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย และก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบนิเวศ

ภัยธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่คาดการณ์ว่าจะรุนแรงขึ้น ได้แก่ ภาวะภัยแล้ง เช่น ในช่วงกลางปี พ.ศ 2533 ประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้งรุนแรงจากปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ ที่เชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ไฟป่าอาจจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะภัยแล้ง

ผลกระทบด้านสุขภาพ

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของคนไทย โรคระบาดที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงมากขึ้น โดยภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ำท่วมทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โรคบิด ท้องร่วง และอหิวาตกโรค เป็นต้น

โรคติดต่อในเขตร้อนก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ ไข้มาลาเรีย ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากการขยายพันธุ์ของยุงจะมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนขึ้นและฤดูกาลที่ไม่แน่นอน

แนวโน้มของผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร และความอดอยาก ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และภูมิต้านทานร่างกายต่ำ โดยเฉพาะในเด็กและคนชรา

www.waddeeja.com

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-07-19 20:55:17 IP : 124.121.143.201


ความคิดเห็นที่ 25 (1066724)

เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รู้จักท่านนะครับ

ผมชอบเพลงลูกทุ่ง ส่วนเพลงอื่นๆ ก็พอฟังได้ครับ

http://all4u.bloggang.com

ผู้แสดงความคิดเห็น นุ วันที่ตอบ 2007-07-20 01:16:52 IP : 125.25.182.52


ความคิดเห็นที่ 26 (1066763)

ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ

ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นไม่เพียงแต่ส่งกระทบที่รุนแรงต่อประเทศไทยในทางกายภาพเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การยุบตัวของพื้นที่ชายฝั่ง ภูมิอากาศแปรปรวน โรคระบาดรุนแรง และผลกระทบอื่นๆ ส่งผลให้มีประชากรบาดเจ็บล้มตาย ทิ้งที่ทำกิน และไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ประชาชนยังจะได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะระหว่างภาวะน้ำท่วม และความเสียหายที่เกิดกับระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งโดยมาก ผู้ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็นประชาชนที่มีความยากจน และไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะป้องกันผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ทำกิน อาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การทิ้งพื้นที่ทำกินในบริเวณที่ให้ผลผลิตต่ำจึงเป็นทางออกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญตามแนวชายฝั่งที่ยุบตัว ภัยธรรมชาติ และความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พื้นที่ที่คุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับการป้องกันล่วงหน้า เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำต้องมีโครงสร้างป้องกันกระแสคลื่น ซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น หรือการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลหรือเขื่อน เพื่อป้องกันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร และการทำนาเกลือ เป็นต้น

การป้องกันดังกล่าวนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้น ในพื้นที่ที่ไม่คุ้มค่าที่จะป้องกันในเชิงเศรษฐกิจจะถูกละทิ้งไป ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด เช่น การช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่ที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลรุก เป็นต้น

ทางออกของปัญหาภาวะโลกร้อน

หากมองย้อนกลับไปที่ต้นเหตุของปัญหา เราจะพบว่าสาเหตุของภาวะโลกร้อนนั้นคือการที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่สุดออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นการแก้ปัญหาก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในระดับนานาชาติที่ระบุใน พิธีสารเกี่ยวโต (Kyoto Protocol) พิธีสารเกี่ยวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ กำหนดให้มีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 5.2 เปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าระดับการปล่อยก๊าซดังกล่าวของปี .พ.ศ .2533 ภายใน พ.ศ. 2555

แม้ว่าพิธีสารเกี่ยวโตไม่ได้กำหนดให้ประเทศกำลังพัฒนา อย่างเช่นประเทศไทยจะต้องมีพันธะสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราควรจะคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากประเทศไทยเองก็มีความเสี่ยงต่อผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกดังที่กล่าวไว้

 

www.waddeeja.com

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-07-20 07:40:56 IP : 124.121.138.123


ความคิดเห็นที่ 27 (1084423)

ปภ.เตือนรับมือผลกระทบภาวะโลกร้อน

 

    นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” โดยอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเพียง 0.6-1 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้ภัยธรรมชาติทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นมากถึง 5 เท่า ซึ่งสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนนั้นมาจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) จากการฉีดสเปรย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นในตู้เย็น ทำให้บรรยากาศของโลกเปลี่ยนแปลง และเกิดสภาวะเรือนกระจก ความร้อนไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้ ทำให้โลกร้อนขึ้น และวัฏจักรของน้ำเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งยังทำให้ฤดูกาลของโลกเปลี่ยนแปลงไป

อธิบดี ปภ. กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลานีญา ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ทำให้ฤดูฝนของประเทศไทยมาเร็วกว่าปกติ เกิดฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง ปริมาณน้ำฝนในแต่ละวันมีเกณฑ์เฉลี่ยเพิ่มสูงกว่าเกณฑ์ปกติ (200 มม./วัน) ในช่วงที่น่าจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง กลับมีปัจจัยทำให้ฝนตกต่อเนื่องมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนตกชุกเกือบทุกวัน อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มขึ้นได้ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงจึงต้องหมั่นติดตามพยากรณ์อากาศ สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เพื่อจะได้ขนย้ายทรัพย์สินไว้บนที่สูง และเตรียมอพยพออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที

“กรมป้องกันฯ ขอเชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันป้องกันและลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เพื่อรักษาความสมดุลของธรรมชาติ ด้วยการร่วมกันปลูกต้นไม้ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเพิ่มปริมาณผืนป่าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้น้อยลง ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นตัวการของสภาวะเรือนกระจก โดยหันมาใช้พลังงานทดแทน เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ก๊าซ NGV เป็นต้น ลดการใช้สเปรย์ รวมทั้งใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ตลอดจนดำเนินชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเตรียมปรับตัวและลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนได้อย่างสมดุล” อธิบดีกรมป้องกันฯ กล่าว

 

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-08-03 08:09:59 IP : 124.121.135.246


ความคิดเห็นที่ 28 (1086287)

อุณหภูมิโลกเพิ่ม 0.4 องศาฯ นักวิชาการเร่งศึกษาผลกระทบโลกร้อน

 ผลประชุม AOGS 2007 นักวิชาการทั่วโลกเร่งศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เพื่อทราบผลกระทบที่ชัดเจน เผยขณะนี้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 0.4 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ด้านนักวิชาการไทย เผยพบสึนามิเกิดขึ้นครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา แนะรัฐเร่งวางแผนเตือนภัยและจัดสรรการใช้ที่ดินหน้าชายหาดป้องกันความสูญเสีย

 ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต คณบดีคณะวิทยาศาสาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ AOGS 2007 (Asia Oceania Geosciences Society) ฝ่ายไทย กล่าวสรุปผลการประชุม AOGS 2007 ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เรื่องวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโลก ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ท้องฟ้า และทะเล ว่าการประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ก.ค. – 4 ส.ค.โดยมีนักวิชาการจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม และในส่วนของสภาวะโลกร้อนนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่ายังคงต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป เพื่อให้ทราบผลกระทบที่ชัดเจน เพราะสิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ทั่วโลกมีเพียงอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 0.4 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในอนาคตจะสามารถศึกษาหาทางรับมือได้
       
       ด้าน
ดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้ว นักธรณีวิทยา กล่าวว่า จากการศึกษาการเกิดสึนามิในประเทศไทย พบมีหลักฐานชัดเจนว่ามีเกิดขึ้นในไทยครั้งแรกเมื่อ 600 ปีก่อน หรือในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจากการศึกษายังไม่สามารถระบุได้ชัดถึงระยะเวลาการเกิดสึนามิในอนาคต ฉะนั้น ภาครัฐจะต้องเร่งวางแผนป้องกันและควบคุมการจัดสรรใช้ที่ดินหน้าชายหาด เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ในส่วนของการซักซ้อมเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ที่ผ่านมานับว่าดีมาก แต่ควรให้ความรู้กับประชาชนควบคู่ไปด้วย

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-08-04 20:40:45 IP : 124.121.143.76


ความคิดเห็นที่ 29 (1101726)

 

โลกร้อน...............

ปัจจุบัน "ภาวะโลกร้อน" นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจของโลกก็ว่าได้ เพราะปัญหาของอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น มิได้เป็นเรื่องไกลตัวและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่กลับส่งผลบกระทบโดยตรง มายังมนุษย์หรือตัวเราเอง ซึ่ง อาจารย์ศุภกร ชินวรรโณ นักวิชาการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก จุฬาฯ จะกล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดโดยตรงกับเมืองไทยของเรา

ที่มาของภาวะโลกร้อน: ภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติ

ภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติขึ้น ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จัดได้ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่สุด และเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้มีคุณสมบัติยอมให้รังสีจากดวงอาทิตย์ในช่วงคลื่นสั้นหรือในรูปของแสงสว่างทะลุผ่านได้ แต่เมื่อรังสีคลื่นสั้นเหล่านี้กระทบกับผิวโลกและสูญเสียพลังงานไปบางส่วนและกลายเป็นรังสีคลื่นยาวหรือคลื่นความร้อนซึ่งจะไม่สามารถทะลวงผ่านชั้นก๊าซเรือนกระจกออกไปได้

ดังนั้นความร้อนจึงถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศและส่งผลให้ระบบลมและวัฏจักรของน้ำของโลกเปลี่ยนไป กล่าวคือ การที่พื้นทวีปกับพื้นผิวมหาสมุทรร้อนเพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน เนื่องจากความจุความร้อนจำเพาะที่แตกต่างกันนั้น ทำให้ลมที่พัดจากมหาสมุทรเข้าสู่พื้นทวีปมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับสภาวะที่มหาสมุทรร้อนขึ้นจึงเกิดการระเหยของน้ำมากขึ้น

ฉะนั้นปรากฏการณ์ที่ตามมาก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดฝนตกมากขึ้นในบริเวณใกล้ฝั่งทะเล (เช่น ระยะ 200-300 กิโลเมตรจากทะเล) แต่ในบริเวณตอนกลางทวีปมักจะยิ่งมีความแห้งแล้งมากขึ้น สภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าอดีตมาก และการเปลี่ยนแปลงนั้นผิดแผกแตกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาค

อนาคตภูมิอากาศของประเทศไทย : แนวโน้มร้อนแต่ไม่แล้ง ไม่ร้อนขึ้นมากแต่จะมีฤดูร้อนที่ยาวนาน

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ผ่านมา แต่ก็ยังเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และยังมีความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในแต่ละปีที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นๆ ได้ไม่ชัดเจน การมองอนาคตให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงว่าจะเป็นไปในทิศทางใดจึงต้องอาศัยการจำลองสถานการณ์ในอนาคตในระยะยาว ตัวอย่างของการศึกษาหนึ่งที่ได้ทำขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ ชี้ให้เห็นแนวโน้มของสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในระยะเวลาประมาณ 40 ปี และ 70 ปีข้างหน้าว่า จะเป็นไปในทิศทางที่มีฝนมากขึ้นในเกือบทุกภาคของประเทศไทย ส่วนอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในประเทศไทยจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก อาจเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส แต่จำนวนวันที่อากาศเย็นจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด และในทางกลับกันจำนวนวันที่อากาศร้อนก็จะเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ซึ่งหากจะกล่าวในอีกนัยหนึ่งก็คือ แม้ว่าประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วจะไม่ร้อนขึ้นมากนัก แต่ฤดูหนาวในประเทศไทยจะหดสั้นลง ในขณะที่ฤดูร้อนจะยาวขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดในเกือบทุกภาค อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมานี้เป็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ย ทั้งนี้ในช่วงเวลาปีต่อปีจะยังคงมีความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศอยู่ เช่น บางปีฝนชุก บางปีแล้งจัด หรือบางปีร้อนมาก เป็นต้น ซึ่งประเด็นที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่ง คือ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศเหล่านี้อาจจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เช่น ปีที่น้ำท่วมอาจเกิดบ่อยหรือรุนแรงมากขึ้น เป็นต้น

ผลกระทบที่ตามมา : หลากประเด็นและแตกต่างไปตามแต่ละท้องที่

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น มีความแตกต่างกันไปไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีผลสืบเนื่องถึงการดำเนินชีวิตของคนในแต่ละกลุ่มสังคมไม่เท่ากัน เช่น ชาวสวน ชาวนา พ่อค้า จะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไป แต่หากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ประเด็นที่สำคัญที่ควรจับตาและทำความเข้าใจให้มากขึ้นก็คือ

-
ผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศน์ต่างๆ รวมทั้งการผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้ช่วงระยะเวลาของอากาศร้อนและเย็นหรือฝนที่เปลี่ยนไปในอนาคตจะส่งผลให้พืชหลายอย่างให้ผลผลิตที่ต่างไปจากเดิมได้ รวมทั้งการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เป็นต้น

-
ผลกระทบในเชิงสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ อาจมีการแพร่ระบาดมากขึ้น เนื่องจากวงจรชีวิตของแมลงที่เปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ

-
ผลกระทบทางด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะความแปรปรวนของฤดูกาล และอุทกภัยตลอดจนดินถล่ม เนื่องจากปริมาณฝนในรอบปีที่อาจเพิ่มสูงขึ้นโดยที่ฤดูฝนยังยาวเท่าเดิม

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างของประเด็นที่สำคัญเพียงบางประเด็นเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญ คือ ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ และผลกระทบหลายสิ่งก็ไม่ได้เกิดกับคนโดยตรง แต่จะมีผลเชื่อมโยงต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วน


แล้วเราคนไทยจะทำอย่างไร?

ในระหว่างที่การเจรจาระหว่างประเทศในการพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกำลังดำเนินไป เราอาจช่วยกันระมัดระวังการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้เกิดประโยชน์หลายด้าน แต่ประเด็นที่สำคัญกว่า คือ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งทำความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตว่า การเปลี่ยนแปลงที่ไหนจะเป็นอย่างไรและจะก่อให้เกิดผลเช่นไรตามมา เพื่อการเตรียมแผนรับมือ โดยเป็นการหาทางปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในอนาคตให้เหมาะสม ทั้งนี้ความรู้ที่ประเทศไทยเรามีอยู่ในปัจจุบันจัดว่าน้อยมาก

ในการวางแผนการปรับตัวต่อสถานการณ์ในอนาคตนี้ ภาครัฐควรจะต้องมองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตและผลกระทบต่างๆ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโจทย์ในการวางแผนพัฒนาประเทศหรือแผนพัฒนาชุมชนในระยะยาวควบคู่ไปกับแผนการจัดการสภาพแวดล้อม เช่น การวางแผนการเกษตรกรรม การหาพันธุ์พืชทดแทน การขยายขีดความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิอากาศ การปรับแผนการตั้งถิ่นฐานและการวางแผนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น โดยมีเป้าหมายระยะสั้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งในทุกภาคส่วนในการรับมือกับความแปรปรวนของภูมิอากาศ และในระยะยาวเพื่อปรับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเพื่อให้ลดความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลงให้เหลือน้อยที่สุด

นอกจากนี้ภาคประชาชนต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง และมีส่วนร่วมในการวางแผนต่างๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งประชาชนมีวิถีชีวิตและโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันไป แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นไม่สามารถจัดทำขึ้นในลักษณะของนโยบายมาตรฐานที่นำไปใช้ดำเนินการในทุกพื้นที่ได้ แต่ควรจะจัดทำตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชนโดยที่อาจจะต้องอิงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-08-08 07:27:33 IP : 124.121.137.107


ความคิดเห็นที่ 30 (1112530)

วันเดียว ชาวญี่ปุ่นร้อนตายเพิ่มอีก       5 ราย

 

       เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นรายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนในญี่ปุ่นตลอดเดือนนี้ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 33 รายแล้ว ในขณะที่อีกหลายร้อยรายต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
        เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า เฉพาะวันนี้วันเดียว มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5 ราย นอกจากนี้ ยังเกิดความหวั่นวิตกในหมู่ชาวญี่ปุ่นว่า ปัญหาคลื่นความร้อนอาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าขาดแคลนในญี่ปุ่น เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศปิดดำเนินการชั่วคราว ตั้งแต่เกิดปัญหาสารกัมมันตรังสีรั่วไหลหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น เมื่อเดือนที่แล้ว
        อย่างไรก็ตาม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น รายงานว่า อุณหภูมิใน จ.กิฟู ทางภาคกลางของญี่ปุ่น ในบ่ายวันนี้ อยู่ที่ระดับ 40.8 องศาเซลเซียส ลดลงจากระดับ 40.9 องศาเซลเซียส เมื่อวานนี้

 

http://www.apdi2002.com/

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-08-18 07:12:33 IP : 124.121.137.4


ความคิดเห็นที่ 31 (1114866)

ภาวะโลกร้อน

-

ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง

จากการทำงานของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีองค์การวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แน่ชัดว่า จากการที่ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส.

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน

ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีโครงการพลังงานต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น และการดำเนินงานของโครงการเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยาอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงได้เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกและทำลายป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศน์วิทยาตามแนวชายฝั่ง และจากการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสีของน้ำทะเล ดังนั้น แนวปะการังต่างๆ จึงได้รับผลกระทบและถูกทำลายเช่นกัน

ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีชายฝั่งทะเล ที่มีความยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร และเป็นแหล่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และความไม่แน่นอนของฤดูการที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม มีการคาดการณ์ว่า หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เมตรภายในทศวรรษหน้า หาดทรายและพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทยจะลดน้อยลง สถานที่ตากอากาศชายทะเล รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยา และ ระยองจะได้รับผลกระทบโดยตรง แม้แต่กรุงเทพมหานคร ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนี้เช่นกัน

ปัญหาด้านสุขภาพ ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของยุ่งมากขึ้น ซึ่งนำมาสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้ส่า นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น คนยากจนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบกับการให้ความรู้ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี ยังมีไม่เพียงพอ

ปัจจุบันนี้สัญญาณเบื้องต้นของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ปรากฏขึ้นอย่างแจ้งชัด ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลมากขึ้น หรือ มีความรู้ในการแก้ไขมากขึ้น ซึ่ง ณ เวลานั้นก็อาจสายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขได้

 

www.waddeeja.com

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-08-20 12:53:11 IP : 124.121.138.58


ความคิดเห็นที่ 32 (1121988)

" โลกร้อน " แรง  รัฐบาล-เอกชนพร้อมหนุนระยะยาว

   เนื่องจากกระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับภาวะ "โรคร้อน" ซึ่งแนวคิดหลักและนิทรรศการในงานดังกล่าว มีประเด็นที่เกี่ยวโยงกับเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การสร้างความร่วมมือในการดูแล สิ่งแวดล้อม จึงได้รับความสนใจทั้งจากองค์กร ภาครัฐและประชาชนทั่วไปพอสมควร

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษระบุถึงความสำคัญในการปลุกจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ดูแลสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมที่จะช่วยรณรงค์ให้เกิด ความตื่นตัวมากขึ้น

"ถ้าจะพูดเรื่องการเผชิญกับภาวะโลกร้อน ต้องพูดถึงเรื่องการอนุรักษ์พลังงานควบคู่ไปด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์พลังงาน และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของคนไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของมนุษยชาติทั่วโลก ทั้ง 6,500 ล้านคน เป็นหน้าที่สำคัญยิ่งที่เราต้องช่วยกันดูแล"

ยังมีเวทีที่จัดงานเสวนาและมีการพูดถึงประเด็นความสำคัญในการช่วยกันลดภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่เวทีเสวนาเรื่องแนวทางการลดปัญหาโลกร้อนนั้น ดร.อานนท์ สนิทวงค์ ณ อยุธยา อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ (START) กล่าวว่า

 

ปัญหา "โลกร้อน" ทุกคนจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้น และก็พยายามปรับตัวดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อบรรเทาปัญหา แต่ไม่ต้องทำในสิ่ง "สุดโต่ง" อะไรพอทำได้ก็ทำ เช่น เดินให้มากขึ้น, ใช้ลิฟต์ให้น้อยลง เพราะการใช้ลิฟต์นั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาก หรือลดการใช้ถุงพลาสติกลง เนื่องจากกระบวนการผลิตถุงพลาสติกทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เป็นจำนวนมาก หรือเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน บางคนขี้เหนียวไม่ยอมซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน แต่สุดท้ายก็ต้องจ่ายค่าไฟแพงอยู่ดี หรือการสร้างบ้านใหม่ ให้มีการออกแบบที่ประหยัดพลังงาน แสงสว่างเข้าถึง ไม่ต้องเปิดไฟทั้งวัน อย่างนี้เป็นต้น ถ้าทุกคน ปรับตัวได้ ก็คิดว่าปัญหาโลกร้อนคงจะบรรเทา ไปได้อย่างแน่นอน เราหวังอย่างเดียวไม่พอ ต้องมองด้วยเหตุผล ต้องแก้ที่ตัวเองให้ได้

ขณะที่ภาคเอกชนก็ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือการรณรงค์เรื่องโรคร้อนจะยัง เป็นประเด็นหลักที่ได้รับความสนใจเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ และทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ไปในระยะยาวอีกด้วย

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-08-23 07:28:36 IP : 124.121.135.50


ความคิดเห็นที่ 33 (1137116)

9 ก.ย.นี้ กทม.จัดกิจกรรมใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก..

ช่วยวิกฤตโลกร้อน

อัญเชิญถุงผ้าส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และบุคคลผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทยร่วมจัดนิทรรศการเพื่อกระตุ้นให้คนเมืองหันมาใช้ถุงผ้าแทนถือถุงพลาสติกยี่ห้อดัง พร้อมกับแจกถุงผ้า LET’ BANGKOK COOL จำนวน 30,000 ใบให้กับประชาชนฟรี ขอรับได้ที่ห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาทั่วกรุงเทพฯ ระบุใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ล้านตันต่อปี หรือ 2.3% ของก๊าซที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดในกทม.หรือประหยัดเงินได้ถึง 1.78 ล้านบาทต่อวัน หรือ 650 ล้านบาทต่อปี ขณะที่กรีนพีซเตรียมจัดคลินิกลดโลกร้อนที่ กทม.
       
       
ในวันที่ 9 กันยายน นี้ สำนักสิ่งแวดล้อมจะจัดกิจกรรมลดโลกร้อนในชื่องาน “ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก..ช่วยวิกฤตโลกร้อน” เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกทุกครั้งที่ไปจ่ายตลาด  ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากห้างร้าน องค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในการร่วมมือผลิตถุงผ้าดิบจำนวน 30,000 ใบ ขนาด 18x15 นิ้ว หูหิ้วยาว 12 นิ้ว ต้นทุนราคาใบละ 50 บาท ซึ่งบนถุงผ้ามีข้อความ LET’ BANGKOK COOL โดยจะแจกให้กับประชาชนในวันที่ 9 กันยายนที่ห้างคาร์ฟูร์ สาขาพระราม 4
       
       
นอกจากนี้ ในวันที่ 9 กันยายน กทม.ยังได้จัดกิจกรรมที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ โดยในงานจะได้อัญเชิญถุงผ้าส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มาร่วมจัดนิทรรศการร่วมกับถุงผ้าของบุคคลสำคัญ และมีชื่อเสียงของเมืองไทย และในวันดังกล่าวยังมีการปล่อยขบวนรณรงค์ใช้ถุงผ้านำโดยผู้ว่าฯ และ ผอ.เขต จำนวน 6 สาย ไปตามห้างสรรสินค้าชื่อดังในย่านปทุมวัน

       
       
การใช้ถุงผ้าจะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยประเภทถุงพลาสติกที่มีถึง 21% หรือ 1,800 ตันต่อวันจากขยะที่ กทม.เก็บขนได้ 8,500 ตันต่อวัน คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บมูลฝอย 988 บาทต่อตัน ทั้งนี้ หากลดการใช้ถุงพลาสติก 21% จะสามารถลดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 1.78 ล้านบาทต่อวัน หรือ 650 ล้านบาทต่อปี และสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ล้านตันต่อปี หรือ 2.3% ของก๊าซที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดใน กทม.
       
              
       
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา คณะผู้บริหารกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้าพบนายอภิรักษ์ เพื่อเข้าหารือในการร่วมมือกันลดปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งมีข้อสรุปว่าในวันจันทร์ที่ 3 กันยายนนี้ ทางกลุ่มกรีนพีซจะนำโครงการคลินิกลดภาวะโลกร้อนมาสาธิตให้คณะผู้บริหารกทม. และสื่อมวลชนได้รับชม ซึ่ง กทม.จะนำโครงการดังกล่าวมาพิจารณา เพื่อดำเนินการในพื้นที่ กทม.ด้วย         
       
สำหรับ คลินิกลดภาวะโลกร้อน เป็นคลินิกที่มีอุปกรณ์ตรวจวัดระดับสารพิษ ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน พร้อมให้ข้อมูลคำแนะนำแก่ประชาชน เพื่อให้นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-08-31 07:53:45 IP : 124.121.137.17


ความคิดเห็นที่ 34 (1149001)

ประเทศจีนแกนนำ.......... คัดค้านร่างโลกร้อน

7 กันยายน 2550

 

แถลงการณ์ประชุมสุดยอดผู้นำเอเปควุ่น จีนเป็นแกนนำคัดค้านร่างโลกร้อน

 

 

(7กย.) แหล่งข่าวทางการฑูต เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูง ไม่สามารถหาทางออกในนาทีสุดท้ายของการเจรจาในวันนี้ เพื่อพยายามจะออกแถลงการณ์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก อันแสดงให้เห็นถึงความเห็นที่ไม่ลงรอยกันอย่างลึกซึ้งในกลุ่มชาติเอเชีย-แปซิฟิก โดยหลังจากการประชุมตลอดทั้งสัปดาห์ เจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้พยายามที่จะบรรลุข้อตกลงในแบบประนีประนอมเพื่อให้บรรดาผู้นำชาติสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC เพื่อนำมาอ่านแถลงการณ์หลังการประชุมสุดยอดในสุดสัปดาห์นี้

นายกรัฐมนตรีจอห์น โฮเวิร์ด ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ได้ยกประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพบรรยากาศโลก เป็นประเด็นหลักของวาระการประชุมและพยายามกดดันให้มีการร่างแถลงการณ์ที่จริงจังเพื่อเน้นเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่จีนและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ระบุว่า ทั้งออสเตรเลียและสหรัฐ ซึ่งเป็นสองชาติอุตสาหกรรม ไม่มีสิทธิ์จะมากดดันเรื่องนี้ เนื่องจากไม่ได้ลงนามในพิธีสารเกียวโตว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน ได้เป็นผู้นำในการคัดค้านในเรื่องนี้ โดยระบุเมื่อวันพฤหัสบดีว่าสหประชาชาติจะต้องเป็นผู้นำในการทำข้อตกลงว่าด้วยกอบการทำงาน เพื่อนำมาแทนที่พิธีสารเกียวโต ที่จะหมดอายุลงในปี 2555 ซึ่งร่างแถลงการณ์ที่ออสเตรเลียเสนอก่อนหน้านี้ ระบุว่าบรรดาผู้นำ APEC เห็นชอบที่จะให้ลดการใช้พลังงานอย่างเข้มข้นลง 25 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี2573 และยังกำหนดเป้าหมายที่จะให้ 21 ชาติสมาชิก ปฏิบัติตามด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาโลกร้อน

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-09-07 19:58:19 IP : 124.121.137.249


ความคิดเห็นที่ 35 (1224726)

 โลกร้อนโรคใหม่แรง ตั้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินรับมือ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 26 ตุลาคม ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาพัฒนาเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แพทย์ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงก่อตั้งการแพทย์ฉุกเฉินทางไกล เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา

ด้าน นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี บรรยายพิเศษเรื่อง "การแพทย์ฉุกเฉินไทยในทศวรรษหน้า" โดยกล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีแนวโน้มในทางที่แย่ลง โดยสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น หากยังไม่มีการแก้ไขอีก 35 ปีข้างหน้าโลกจะสู่จุดวิกฤตอย่างแน่นอน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตทั้งคนและสัตว์ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ จะมีอุบัติการณ์โรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเชื้อโรค เชื้อไวรัสจากสัตว์ติดต่อมายังคน จะมีความรุนแรงมากขึ้น อาทิ โรคมาลาเรีย หวัดนก ไข้เลือดออก เป็นต้น เพราะโรคร้อนทำให้วงจรชีวิตของยุงสั้นลง ทำให้มียุงเกิดใหม่ขึ้นรวดเร็วและมีจำนวนประชากรยุงมากกว่าเดิม

"การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการเตรียมรับมือกับโรคเกิดใหม่อย่างมีแบบแผน ต้องมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเข้ามาช่วยเหลือ โดยให้กระทรวงมหาดไทยหันมาจับมือทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับ สธ. เพื่อให้งานเป็นทิศทางเดียวกัน" องคมนตรีกล่าว

 www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-10-27 20:11:00 IP : 124.121.140.29


ความคิดเห็นที่ 36 (1233255)

วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10827


โลกร้อน... ลดได้ด้วย"ไบโอดีเซล"

โลกร้อนเป็นคำพูดติดปาก เป็นกระแสที่กล่าวไปทั่ว แต่ความคิดช่วยลดภาระนี้ยังดูไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร หากช่วยกันคิดหาทางลดโลกร้อน คนคนเดียว กลุ่มเดียวคงทำไม่สำเร็จ

แต่ถ้าลงมือช่วยกันคนละนิด ทุกคนแค่คำนวณเล่นๆ คนไทยหันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติค ลดใช้ถุงพลาสติควันละถุง ช่วยลดขยะที่ทำลายยากลงไปได้ปีละเท่าไร หรือเปลี่ยนการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทดแทนอื่น มาเดินระยะทางสั้นๆ แทนการนั่งรถ นอกจากช่วยชาติประหยัดแล้ว ยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

เริ่มวันนี้ เราจะลดเวลาการทำลายโลกไปได้นาน

เรื่องนี้ เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด หรือ เทสโก้ โลตัส ซึ่งยอมรับว่าธุรกิจบางส่วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะระบบขนส่งกระจายสินค้าสู่เครือข่ายสาขา ตลอด 24 ชั่วโมง กว่า 400 คัน คิดเป็นระยะทางวิ่งทั้งสิ้นกว่า 73 ล้านกิโลเมตร ในแต่ละปี ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 20 ล้านลิตร/ปี หรือ 53,000 ลิตร/วัน



เป็นเหตุให้ต้องเร่งเปลี่ยนตัวเอง ด้วยการเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรถบรรทุกขนส่งสินค้า จากน้ำมันไปเป็นไบโอดีเซล บี 5 จากเดิมเคยใช้น้ำมันสูงถึง 20 ล้านลิตรต่อปี สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ถึง 5% เท่ากับช่วยโลกลดปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ลง 3 ตัน/ปี ก๊าซที่ลดลงนี้เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้จำนวน 500 ต้น/ปีทีเดียว

ดร.สุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานกรรมการ เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ยืนยันว่า หากมีแรงสนับสนุนจากภาครัฐมากขึ้น คาดว่าผู้ที่อยู่ในธุรกิจโลจิสติคส์อื่นๆ พร้อมที่จะพัฒนายกระดับธุรกิจของตน โดยรัฐบาล และกระทรวงพลังงานสนับสนุนการผลิตและการใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 20 หรือกระทั่งน้ำมันไบโอดีเซล บี 50 มาตรฐานที่ใช้ในยุโรป เพราะจากการคำนวณอรรถประโยชน์จากปฏิบัติการในปัจจุบัน โดยไม่คำนึงถึงการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต ถ้าใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 20 สามารถลดการปล่อยสารคาร์บอนได้ 12 ตัน/ปี ถ้าเป็น บี 50 ลดลงได้ถึง 30 ตัน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ใหม่ 5,000 ต้นทุกปี

นอกจากนี้ เทสโก้ โลตัส กำหนดจุดยืนสนับสนุน "ธุรกิจสีเขียว" (Green Business) และ "การบริโภคสีเขียว" (Green Consumption) ถือเป็นโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมหลักขององค์กร เริ่มจากเปิดตัวกรีนสโตร์ มาถึงการดำเนินโรงงานผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซล โครงการรีไซเคิลน้ำขนาดใหญ่ และโครงการการผลิตไฟฟ้าด้วยแผงพลังงานแสงอาทิตย์ และกังหันลม และริเริ่มโครงการใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับวันนี้ขอเชิญชวนทุกคน ลดการใช้ถุงพลาสติกในร้านค้า และ เปลี่ยนอุปนิสัยการจับจ่ายซื้อของ ทำตัวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นๆ ด้วย

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-11-01 21:09:11 IP : 124.121.141.81


ความคิดเห็นที่ 37 (1236379)

กลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม "Revolution Ecolo" แต่งตัวเลียนแบบนักร้องชื่อดังของฝรั่งเศส (ซ้าย) ส่วนอีก 2 คนกลางคือผู้เข้าแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมืองน้ำหอมสมัยต่อไป และขวาสุดคือประธานาธิบดีฌาร์ค ชีรัค เจ้าบ้านจัดการประชุมของไอพีซีซี ในกรุงปารีส โดยทั้ง 4 กำลังเล่นฟุตบอลรูปโลก ระหว่างพิธีปิดการประชุมของไอพีซีซี ที่เปิดเผยรายงานผลกระทบโลกร้อนไปเมือวันที่ 2 เดือน 2

เอเจนซี/เอพี - นักวิทยาศาสตร์จาก 113 ประเทศได้นำรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกฉบับสำคัญออกเผยแพร่ โดยระบุว่าพวกเขาแทบไม่แปลกใจที่จะบอกว่า "มนุษย์" เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดโลกร้อน และทำนายว่าอุณหภูมิจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นและระดับน้ำทะเลยังคงเพิ่มต่อเนื่องไปนับศตวรรษ นอกจากนี้ยังกดดันรัฐบาลต่างๆ ให้ลงมือต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วให้มากกว่านี้ นับเป็นคำเตือนอันหนักแน่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา
       
       คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คนจากกว่า 130 ประเทศ เปิดเผยรายงานความยาว 21 หน้า ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาถึงสถานการณ์โลกร้อนที่เกิดขึ้น โดยอธิบายว่าสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด เมื่อวันที่ 2 เดือน 2 และยังมีรายงานอีก 2 ฉบับจะเปิดเผยติดตามมาในไม่ช้า
       
       รายงานของไอพีซีซีระบุว่า "เป็นไปได้อย่างมาก" ซึ่งมีแนวโน้มมากกว่า 90% ที่กิจกรรมที่มนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่นน้ำมัน, ก๊าซ, ถ่านหิน) เป็นสาเหตุเกือบทั้งหมดของการเกิดภาวะโลกร้อนในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา
       
       ตัวเลขดังกล่าวหนักแน่นขึ้นกว่ารายงานฉบับที่แล้วเมื่อปี 2001 ซึ่งไอพีซีซีระบุว่า ความเกี่ยวเนื่องดังกล่าวอยู่ในระดับ "เป็นไปได้" โดยมีแนวโน้มอยู่ที่ 66% สัญญาณเตือนของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น มีปรากฏให้เห็นแล้วตั้งแต่ ภาวะแห้งแล้งในออสเตรเลีย ไปจนถึง อุณหภูมิเดือนม.ค.ที่สูงทำลายสถิติทั่วยุโรป
       
       "วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2007 น่าจะได้รับการจดจำว่า เป็นวันที่เครื่องหมายคำถามเรื่องมนุษย์เป็นตัวการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่ ได้ถูกกำจัดออกไป" อาชิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ประธานโครงการสิ่งแวดล้อมของยูเอ็น (UNEP) กล่าวในการแถลงข่าว
       
       เขาเร่งให้รัฐบาลต่างๆ เพิ่มแรงผลักดันในการเจรจาตัดลดการปล่อยไอเสียในระยะยาว เพื่อแก้ปัญหาระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งไม่เคยสูงเท่านี้มาก่อนในรอบ 650,000 ปีที่ผ่านมา
       
       "ยึดตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เรากำลังทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นใน 650,000 ปี" ราเชนทรา ปาจาอุรี (Rajendra Pachauri) ประธานไอพีซีซี แถลง
       
       ข้อสรุปความยาว 21 หน้านี้ ให้โครงร่างการเปลี่ยนแปลงอันน่ากลัว อาทิ น้ำแข็งในทะเลที่ขั้วโลกเหนืออาจละลายหมดในหน้าร้อนภายในปี 2100 และระบุด้วยว่า "เป็นไปได้มากกว่าเป็นไปไมได้" ที่ก๊าซเรือนกระจกได้ทำให้พายุหมุนเขตร้อนมีความรุนแรงมากขึ้น
       
       รายงานดังกล่าว "ประมาณแบบเจาะจงที่สุด" ว่า อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น 1.8 - 4 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 21 นี้ โดยได้ประมาณอย่างกว้างกว่าด้วย เอาไว้ที่ 1.1-6.4 องศาเซลเซียส
       
       ทั้งนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 0.7 องศาเมื่อศตวรรษที่ 20 และ 10 ปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1850 อยู่ในปีหลังปี 1994 เป็นต้นมา
       
       เจ้าหน้าที่จากยูเอ็นหวังว่ารายงานดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลต่างๆ นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับ 1 รวมทั้งบริษัทต่างๆลงมือตัดลดก๊าซเรือนกระจกให้มากกว่านี้ ซึ่งก๊าซดังกล่าวถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในโรงไฟฟ้า โรงงาน และรถยนต์ เป็นส่วนมาก
       
       ผู้สนับสนุนพิธีสารเกียวโตของยูเอ็น (อนุสัญญาที่ผูกพันให้ประเทศอุตสาหกรรม 35 ประเทศ ตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2012) จำนวนมาก ต้องการให้ประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่านี้ ที่ผ่านมา สหรัฐฯและจีนยังไม่ยอมตกลงทำตามเป้าหมายของพิธีสารดังกล่าว
       
       ประธานาธิบดีของคิริบาตี ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งถูกคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ระบุว่า เวลานั้นเหลือน้อยลงทุกที
       
       "คำถามก็คือ เราทำอะไรได้ตอนนี้? เราแทบจะทำอะไรไม่ได้เพื่อหยุดกระบวนการนั้น" ประธานาธิบดี อะโนเท ทอง กล่าว
       
       รายงานดังกล่าว คาดการณ์ว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 18 ถึง 59 ซม. ในศตวรรษนี้ และระบุว่า ยังเป็นไปได้ที่จะเพิ่มสูงกว่านี้หากแผ่นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ละลาย
       
       นักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าบางคนไม่เห็นด้วยกับร่างก่อนหน้าที่ลดขอบเขตจากที่ปี 2001 คาดไว้ว่าน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 9 ถึง 88 ซม.ภายในปี 2100 ทั้งนี้ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะคุกคามประเทศอย่าง คิริบาตี ตลอดจนเมืองริมทะเลต่างๆ นับตั้งแต่ เซี่ยงไฮ้ ถึงบัวโนสไอเรส

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ


 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-11-03 15:36:16 IP : 124.121.139.208


ความคิดเห็นที่ 38 (1236387)

หลักฐานมัดแน่นโลกร้อนเกือบทั้งหมดฝีมือ "มนุษย์

โรงงานแห่งหนึ่งในจีน ประเทศที่กำลังขยายตัวโดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ส่งผลให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นมหาศาล และผลพลอยได้คือการช่วยเพิ่มอุณหภูมิโลกไปในตัว

เอพี/บีบีซีนิวส์/เอเจนซี – หลายๆ คนอาจจะคิดว่า ใครๆ ก็รู้ ที่โลกร้อนขึ้นอย่างรั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ก็เพราะน้ำมือมนุษย์ แต่รายงานสถานการณ์โลกร้อนฉบับที่มีหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์หนักแน่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพิ่งจะสามารถใช้ถ้อยคำอย่างชัดเจนว่า “มนุษย์น่าจะเป็นตัวการสำคัญเลยทีเดียว” ที่สร้างภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผันผวน พร้อมเผยแพร่รายละเอียดสู่ชาวโลกในไม่ช้านี้
       
       นักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ 2,500 คนจาก 113 ประเทศทั่วโลก ได้ร่วมกันแก้ไขรายงานฉบับสำคัญของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. – 1 ก.พ. ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยการประชุมระดมความคิดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว
       
       รายงานชิ้นนี้จะต้องได้รับการอนุมัติอย่างเอกฉันท์จากผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นจึงจะนำเผยแพร่สู่สาธารณะในวันที่ 2 ก.พ. เวลา 15.30 น. (ตามเวลาประเทศไทย) และเชื่อว่าจะกลายเป็นรายงานสถานการณ์โลกร้อน ฉบับที่ทรงอิทธิพลมากพอที่จะกระทบนโยบายของรัฐบาลและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วโลก
       
       ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญในการพิจารณาช่วงท้ายๆ คือการระบุต้นเหตุของโลกร้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งคราวนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้กล่าวโทษมนุษย์รุนแรงมากขึ้นกว่ารายงานที่เขียนไว้เมื่อ 6 ปีก่อน
       
       รายงานฉบับปี 2001 ของไอพีซีซีที่เปิดเผยสู่สาธารณะระบุลงไปว่า สถานการณ์โลกร้อนที่เกิดขึ้น “น่าจะ” (likely) มีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงแค่ 66% ของภาวะโลกร้อนเกิดจากมนุษย์ ตอนนั้นผู้เข้าร่วมประชุมหลายฝ่ายต้องการจะเปลี่ยนคำว่า “น่าจะ” เป็น “อย่างแท้แน่นอน” (virtually certain) ซึ่งจะทำให้หมายความได้ว่า 99% ของสาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อนคือฝีมือมนุษย์นั่นเอง
       
       มาครั้งนี้ ที่ประชุมใช้คำเพิ่มความรุนแรงขึ้นมาอีกระดับ โดยให้ลงคำว่า “น่าจะเลยทีเดียว” (very likely) ลงไปในประเด็นที่ว่า “มนุษย์คือสาเหตุ” ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อมูลที่ว่ามีโอกาสถึง 90% ที่มนุษย์เป็นตัวการทำให้เกิดสถานการณ์โลกร้อน
       

       “นี่เป็นการขยับครั้งใหญ่ หวังว่าถ้อยคำนี้จะมีอนุภาพ” แจน เพรเทล (Jan Pretel) หัวหน้าฝ่ายสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง แห่งสถาบันอุทกอุตุนิยมวิทยา สาธารณรัฐเช็ค (Czech Hydrometeorological Institute)
       
       “ฉันหวังว่าผู้กำหนดนโยบายจะตระหนักถึงปัญหามากขึ้นหลังจากได้รับข้อความเหล่านี้” รีอิเบตา อบาตา (Riibeta Abeta) ผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศที่เป็นหมู่เกาะ “คิริบาติ” (Kiribati) ซึ่งเธอกำลังเป็นห่วงปัญหาปริมาณน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ
       
       อย่างไรก็ดี ผู้แทนของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมประชุมก็ไม่ได้ร่วมส่งเสียงอภิปรายโต้แย้งในภาคประชุมใดๆ จะมีก็เพียงแต่ซูซาน โซโลมอน (Susan Solomon) นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศอันดับต้นๆ ของสหรัฐฯ มานั่งเป็นประธานการประชุมใน 1 เซสชั่น อีกทั้งก่อนหน้าการประชุมไม่กี่วันรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ บุช ก็ยอมรับว่าโลกร้อนเกิดขึ้นเพราะฝีมือมนุษย์และเป็นปัญหาที่ต้องจัดการ
       
       ทางด้านผู้แทนจากจีนออกจะขัดขวางการใช้คำกล่าวโทษมนุษย์ว่าเป็นต้นเหตุ ตามคำบอกเล่าของผู้ร่วมประชุมจากบาร์บาดอสและซิมบับเว ซึ่งจีนกำลังเติบโตและใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่เพิ่มอุณหภูมิให้แก่โลก ดังนั้นระหว่างการประชุมผู้แทนจากจีนจึงพยายามร้องขอให้เอาคำว่า “น่าจะเลยทีเดียว” ออกจากข้อความ
       
       ทั้งนี้ รายงานที่ไอพีซีซีกำลังจะเผยแพร่ยังได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุให้เกิดเฮอริเคนที่มีความแรงมากขึ้น อย่างเช่น “แคทรินา” ที่พัดถล่มสหรัฐฯ ในปี 2005 ซึ่งที่ประชุมได้อนุมัติให้ระบุว่าเฮอริเคนและพายุโซนร้อนเพิ่มความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา และเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ที่ทำให้เกิดโลกร้อนเป็นอย่างมาก
       
       คณะกรรมาธิการฯ ยังระบุอีกว่า พายุที่รุนแรงขึ้นทั่วโลกมีความแตกต่างกันออกไป แต่พายุที่เข้าถล่มสหรัฐฯ นั้นเกิดจากอิทธิพลของภาวะโลกร้อน
       
       อย่างไรก็ดี ในปี 2001 คณะกรรมการเดียวกันนี้บอกว่ายังไม่มีหลักฐานมากพอที่จะสรุปตามความเห็นด้านบน
       
       นอกจากนี้ ร่างรายงานที่คาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกในปี 2100 จะสูงขึ้นถึง 2.5 – 10.4 องศานั้น ยังจะต้องปรับเปลี่ยนแก้ไข
       
       ส่วนประเด็นถกเถียงอื่นๆ เช่น การคาดระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์พยายามเรียบเรียงข้อมูลจากร่างแรกๆ ที่ประมาณการณ์ไว้ต่ำเกินไปว่าน้ำทะเลในปี 2100 นั้นจะสูงขึ้นจากปัจจุบันไม่เกิน 23 นิ้ว แต่พวกเขาไม่ได้รวมถึงปริมาณน้ำแข็งแผ่นที่ละลาย เพราะไม่สามารถทำนายได้ว่าปริมาณน้ำแข็งที่ละลายจากกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาได้
       
       และระหว่างที่ผู้เข้าร่วมประชุมกำลังเคร่งเครียดแก้ไขรายงานแข่งกับเวลาในค่ำสุดท้ายของการประชุม ทางฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าบ้าน ได้ปิดไฟหอไอเฟลและตามอนุสาวรีย์ต่างๆ ในปารีสเป็นเวลา 5 นาที (และประชาชนบางส่วนในยุโรปก็ร่วมด้วย) เพื่อรณรงค์ให้ประหยัดพลังงาน ทว่าผู้เชี่ยวชาญก็ออกมาเตือนว่าความตั้งใจดีที่ปิดไฟชั่วคราว เวลาเปิดไฟกลับมาอีกครั้งนั้นเปลืองพลังงานมากกว่าเปิดไฟต่อเนื่องกันเสียอีก
       
       รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ และจะแปลเป็น 5 ภาษา อีกทั้งยังมีบทคัดย่อประมาณ 12-15 หน้าสำหรับผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก
       
       อย่างไรก็ดี ยังมีนโยบายบรรเทาปัญหาโลกร้อนที่ดูเหมือนจะเป็นรูปธรรม อย่าง “พิธีสารเกียวโต” (Kyoto Protocol) ที่มี 35 ประเทศอุตสาหกรรมเข้าร่วมตั้งเป้าลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5% ในปี 2008-2012 ทว่าก็ยังมีเสียงเรียกร้องให้ประเทศที่เป็นตัวการสำคัญอย่างสหรัฐฯ จีน และอินเดียที่แม้ไม่เข้าร่วมพิธีสาร แต่น่าจะทำอะไรเพื่อโลกได้มากกว่านี้

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-11-03 15:42:25 IP : 124.121.139.208


ความคิดเห็นที่ 39 (1265163)

เตือน‘โลกร้อน’ทำโลกวินาศ!


 เมื่อ 17 พ.ย. เอพีรายงานว่า คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคอยติดตามวิกฤตปัญหาโลกร้อนและวางแนวทางป้องกัน สรุปในรายงานฉบับประวัติศาสตร์ ว่า กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญทำให้โลกกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคโลกร้อน พร้อมกับยอมรับว่า สภาพอากาศของโลกได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นมาแล้วจริงๆ โดยหลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยัน อาทิ อุณหภูมิในอากาศและมหาสมุทรที่ปรับตัวสูงขึ้น ปรากฎการณ์หิมะและน้ำแข็งละลายอย่างผิดปกติ และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น
 รายงานฉบับดังกล่าวของไอพีซีซี รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากรายงานนับพันหน้า ใช้เวลาวิเคราะห์นาน 6 ปีกว่าจะได้ข้อสรุป โดยเตือนว่า ถ้าไม่เร่งวางมาตรการแก้ไข ในอนาคตถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยโดยรวมของโลกเพิ่มขึ้น 1.5-2.5 องศาเซลเซียส จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้สายพันธ์สิ่งมีชีวิตบนโลกต้องสูญพันธ์ราว 20-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ผลกระทบสำคัญๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ได้แก่ ผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำจะลดลงครึ่งหนึ่ง แหล่งปะการังจะได้รับความเสียหาย ทวีปแอฟริกาจะยิ่งประสบปัญหาขาดแคลนอาการ และสภาพความแห้งแล้งรวมถึงน้ำท่วมจะยิ่งทำให้ประชากรในพื้นที่ยากจนของโลกมีชีวิตอยู่อย่างยากลำบากมากขึ้น

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-11-18 08:22:26 IP : 124.121.136.5


ความคิดเห็นที่ 40 (1276091)

 

ปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก

รายงาน UN สรุปโลกร้อนเป็นปัญหาหนัก

โดย ผู้จัดการออนไลน์  19 พฤศจิกายน 2550 07:56 น.

 

       เอเอฟพี - คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ออกรายงานสรุปเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นคำเตือนที่เศร้าสลดที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้องค์การสหประชาชาติต้องออกมาเรียกร้องให้บรรดานักการเมืองหาทางผ่าทางตัน เรื่องแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามที่เลวร้ายลงทุกที
       
        จากหลักฐานที่มีอยู่อย่างกว้างขวาง ไอพีซีซีประกาศชัดว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนนั้นอาจจะ “เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน หรือย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้” และทุกประเทศจะต้องได้รับผลกระทบเหล่านั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้
       
        บันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ขอร้องให้บรรดาผู้นำทางการเมืองเร่ง “ผ่าทางตันอย่างแท้จริง” ในที่ประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อหารือเรื่อง ซึ่งจะจัดขึ้นที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม
       
        “เราไม่สามารถกลับออกมาจากบาหลีโดยไม่ได้ข้อสรุปผ่าทางตัน” บัน กล่าว พร้อมทั้งบอกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็น “ปัญหาท้าทายชัดเจนของยุคเรา”
       
        ภาวะโลกร้อนเป็นเมล็ดพันธุ์แห่ง “หายนะ” แต่กระนั้นเราก็ยังพอมีหวัง เขากล่าว “ยังมีวิถีทางที่เป็นจริง และสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
       
        รายงานฉบับใหม่นี้ออกมาเพื่อเป็นคู่มือแนะแนวทางให้ผู้วางนโยบายไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับอนาคตที่กำลังจะมาถึง โดยเป็นการสังเคราะห์เนื้อหาจากรายงานประเมินยาว 2,500 หน้าซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ ว่าด้วยหลักฐานของภาวะโลกร้อน, ผลกระทบ และทางเลือกต่างๆเพื่อจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
       
        เนื้อหาที่สำคัญของรายงานฉบับใหม่มีดังนี้
       
       - หลักฐานของภาวะโลกร้อนตอนนี้ “กระจ่างชัด” และผลกระทบต่อระบบสภาพภูมิอากาศนั้นอาจ “เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน หรือย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้”
       
       - ธารน้ำแข็งและหิมะปกคลุมภูเขาสูงที่หดหาย, แผ่นน้ำแข็งกลางทะเลแถบขั้วโลกเหนือในฤดูร้อนที่บางลง และดินส่วนล่างซึ่งเป็นน้ำแข็งถาวรที่กำลังละลาย เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว
       
       - ภายในปี 2100 อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกอาจเพิ่มสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส ถึง 6.4 องศาเซลเซียส จากระดับเมื่อปี 1980-1999
       
       - ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 18 เซนติเมตร รายงานใหม่ยังระบุด้วยว่า ตัวเลขประเมินก่อนหน้านี้ที่บอกว่า ระดับน้ำทะเลอาจเพิ่มขึ้นได้สูงสุด 59 เซนติเมตรนั้น ยังไม่คิดคำนวณรวม “ความไม่แน่นอน” เกี่ยวกับผลกระทบของวงจรคาร์บอนที่ถูกรบกวน และแผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์และขั้วโลกใต้ที่กำลังละลาย
       
       - คลื่นความร้อน, พายุฝน, พายุเขตร้อน รวมถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่คาดว่าน่าจะเกิดบ่อยขึ้น กินพื้นที่กว้างขึ้น หรือหนักหน่วงขึ้น ในศตวรรษนี้
       
       - “ทุกประเทศจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ผู้ที่อยู่แถวหน้าก็คือ ประเทศยากจน โดยเฉพาะรัฐที่เป็นเกาะเล็กๆ และประเทศกำลังพัฒนา ที่ซึ่งมีผู้คนหลายล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบต่ำปากแม่น้ำ
       
       - การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถทำได้โดยมีค่าใช้จ่ายปีละตั้งแต่น้อยกว่า 0.06% ถึง 0.12% ของจีดีพีทั่วโลก ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้มงวดมากน้อยเพียงใด แต่โอกาสที่จะแก้ปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็วโดยมีค่าใช้จ่ายที่มั่นคงและปลอดภัยกว่านั้น เหลืออยู่ไม่มาก
       
       กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บอกว่า ไอพีซีซีได้เน้นย้ำถึงอันตรายของภาวะโลกร้อนอย่างชัดเจนขึ้นกว่าครั้งใดในรอบ 19 ปี
       
       “นี่เป็นเอกสารที่หนักแน่นที่สุดเท่าที่ไอพีซีซีเคยจัดทำ” ฮานส์ เวอโรล์ม ผู้อำนวยการโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกของกองทุนสัตว์ป่าสากล (WWF) กล่าว

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-11-24 07:24:07 IP : 124.121.138.13


ความคิดเห็นที่ 41 (1278437)
ทธ. ชี้ภาวะโลกร้อน อาจทำให้ไทยสูญเสียพื้นที่บางส่วน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2550 
       นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดความแปรปรวนของลมพายุที่อาจจะรุนแรงกว่าปกติ และในประเทศไทยพื้นที่ๆ น่าเป็นห่วงคือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆ สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 2 เมตร ส่วน จ.ภูเก็ต จะได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะมีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นเกาะ หากประชาชนละเลย ไม่ลดการใช้พลังงาน อาจเกิดปัญหาสูญเสียพื้นที่บางส่วน แต่ไม่อยากคาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหาดังกล่าวเมื่อใด
        อย่างไรก็ตาม หากทุกภาคส่วนร่วมกันลดภาวะเรือนกระจก เชื่อว่าจะยืดระยะเวลาการกัดเซาะได้

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-11-25 20:09:49 IP : 124.121.135.15


ความคิดเห็นที่ 42 (1286959)
โลกร้อนพ่นพิษน้ำท่วมกรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย
28 พฤศจิกายน 2550 16:49 น.

ปัญหาภาวะโลกร้อนพ่นพิษแล้ว ทำน้ำท่วมในกรุงจาการ์ต้าของอินโดนีเซีย เจ้าหน้าที่ต้องระดมใช้ปั๊มน้ำสูบน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดโดยมีน้ำท่วมขังสูงถึง 1.8 เมตร หลังจากที่ระดับน้ำทะเลได้เอ่อท่วมลึกเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตรเมื่อวันจันทร์

 ในขณะบ้านเราวิตกว่าภาวะโลกร้อนจะทำให้น้ำท่วมกรุงเทพในอีกไม่ถึง10ปีข้างหน้าตอนนี้ที่เมืองหลวงของอินโดนีเซียเผชิญกับภัยจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดน้ำท่วมสูงในบางพื้นที่จนต้องอพยพประชาชนหลายพันคนออกจากบ้านเรือนและมีบ้านเรือนกว่า 2,200 หลังจมอยู่ใต้น้ำที่บางจุดท่วมสูงถึงระดับหน้าอก และทำให้น้ำท่วมถนนที่เชื่อมกับสนามบินซูการ์โน ฮัตตา ทำให้มีผู้โดยสารติดค้างอยู่ที่สนามบินหลายพันคน

เจ้าหน้าที่ต้องระดมใช้ปั๊มน้ำสูบน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดโดยมีน้ำท่วมขังสูงถึง 1.8 เมตร หลังจากที่ระดับน้ำทะเลได้เอ่อท่วมลึกเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตรเมื่อวันจันทร์

นายราชมัต วิโตเอลา รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซีย ระบุว่า ภาวะโลกร้อน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งนี้ เพราะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และทำให้เมืองที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งอย่างกรุงจาการ์ต้าถูกน้ำท่วมและถูกโจมตีจากพายุฤดูมรสุม

ขณะที่ทางการอินโดนีเซียเพิกเฉยต่อคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำท่วม เกี่ยวกับวงจรของปรากฎการณ์น้ำทะเลหนุนสูงสุดในรอบ 18 ปี และสถานการณ์แย่ลงเนื่องจากทางการไม่ได้ทำการซ่อมแซมเขื่อนกั้นน้ำที่มีรอยแตกรอยหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เกิดขึ้น ในขณะที่อินโดนีเซียกำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุม สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคมนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเริ่มเจรจากันเกี่ยวกับสิ่งที่จะมาทดแทนพิธีสารเกียวโตปี 1997 ที่ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะหมดอายุลงในปี 2012 นี้

อินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ รายใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุดจากภาวะโลกร้อนด้วย

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-11-28 22:07:26 IP : 124.121.142.176


ความคิดเห็นที่ 43 (1295577)

โลกร้อน"จีน"อุณหภูมิพุ่ง



เมื่อ 1 ธ.ค. ไชน่าเดลี่ของจีนรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาของจีน ประกาศว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งประเทศทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในตั้งแต่ปี 2494 โดยอุณหภูมิช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 11.3 องศาเซลเซียส สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.2 องศา โฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้วที่จีนเผชิญกับอุณหภูมิสูงผิดปกติอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งประเทศในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 3.5 องศาสูงกว่าปีก่อน 1 องศา

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-12-02 13:24:47 IP : 124.121.141.27


ความคิดเห็นที่ 44 (1307348)

จีน ยัวะ อเมริกา  - ที่ประชุมแก้โลกร้อนวงแตก !



เมื่อ 8 ธ.ค. เอพีรายงานความคืบหน้าการประชุมนานาชาติที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาโลกร้อน ว่า นายราชมัต วิโตลาร์ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซีย ในฐานะชาติเจ้าภาพจัดประชุมร่วมกับสหประชาชาติ แสดงความหวังว่า การหารือครั้งนี้คงไม่จบลงอย่างไร้ค่า โดยมีโอกาสถึง 85 เปอร์เซ็นต์ที่ที่ประชุมจะเห็นชอบให้มีการออกข้อตกลงระดับสากลเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาวิกฤตโลกร้อนต่อไป หลังจากพิธีสารเกียวโตหมดอายุ

อย่างไรก็ตาม ความหวังของนายวิโตลาร์อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากล่าสุดซู เหว่ย ผู้แทนรัฐบาลจีน ไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้แทนจากชาติพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พยายามบีบบังคับให้ชาติกำลังพัฒนา รวมถึงจีน ต้องยอมกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ

"
โลกตะวันตกปล่อยมลพิษขึ้นไปสะสมอยู่ในบรรยากาศโลกมานานนับร้อยปี แต่จีนเพิ่งทำเพียงแค่ 20-30 ปี และเราจำเป็นต้องทำเพื่อความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ เราคิดว่าทางที่ดี รัฐบาลสหรัฐควรคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะหาทางปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในชาติให้หันมาช่วยกันบรรเทาภัยโลกร้อนให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน" ซู กล่าว

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-12-09 14:02:19 IP : 124.121.140.171


ความคิดเห็นที่ 45 (1327187)

ปิ๊งไอเดียเสนอ “สตรีเพศ” นำแก้ปัญหา "โลกร้อน" ระดับครัวเรือน

 

ยงยุทธ ยอมรับ หากมองในแง่ร้าย การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่บาหลีถือว่าล้มเหลว เพราะมติลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ลงตัว ฝ่ายไทยแถลงท่าทียินดีแก้ปัญหาร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาอีก 70 กว่าประเทศ ระบุไทยเป็นชาติแรกเสนอให้ “สตรีเพศ” มีบทบาทสำคัญช่วยลดปัญหาระดับครัวเรือน
       

       
หลังเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 13 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 3 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 3 -14 ธ.ค.ที่ผ่านมา ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และรักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้แถลงผลการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ในเย็นวันที่ 17 ธ.ค.นี้
       
       
ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากจะนำมาซึ่งหายนะภัยทางธรรมชาติมากมาย และจะส่งผลรุนแรงต่อลูกหลานในอนาคต
        
       
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมดังกล่าว ณ เกาะบาหลี ยังไม่อาจกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ชัดเจน เนื่องจากไม่อาจหาข้อยุติระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาได้ จึงมีเพียงการร้องขอให้ชาติต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี 2563 โดยไม่มีมาตรการลงโทษใดๆ กับประเทศที่ทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ขณะที่ยืดระยะเวลาออกไป โดยกำหนดให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 50% ในปี 2593 แทน
       
       “
หากมองในแง่ร้ายก็ต้องบอกว่าการประชุมครั้งนี้ล้มเหลว แต่ถ้ามองในแง่ดีก็จะบอกได้ว่ายังมีความพยายามอยู่ต่อไป ซึ่งสหรัฐอเมริกาที่ถูกต่อว่ามากมายก็รับปากนานาชาติว่าจะพยายาม” ศ.ดร.ยงยุทธกล่าว ซึ่งมาตรการอื่นๆ ที่มีการพูดคุยในที่ประชุมยังได้แก่ แผนงานด้านการปรับตัวเพื่อการแก้ปัญหา แผนการแก้ปัญหา การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด และกลไกการเงิน การคลังและภาษี เช่น การจัดตั้งกองทุนโดยระดมทุนจากชาติพัฒนาแล้ว
       
       
ส่วนไทยในฐานะภาคีอนุสัญญา ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า ตัวเองในฐานะผู้แทนประเทศไทย ได้แสดงท่าทีต่อที่ประชุม โดยไทยยินดีที่จะร่วมแก้ปัญหาดังกล่าว ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา 77 ประเทศ (จี 77) ซึ่งยังไม่พร้อมให้กำหนดเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างชัดเจน แต่จะพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง ขณะที่มาตรการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ไทยรายงานต่อที่ประชุมคือ ความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด อาทิ การพัฒนาพันธุ์ข้าวทนแล้ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวชุ่มน้ำ ซึ่งอาจเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงได้
       
       “
นอกจากนั้น เรายังเป็นชาติแรกที่มีการเสนอให้สตรีเพศเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในครัวเรือน เช่นการประหยัดพลังงานซึ่งแม่บ้านเป็นผู้ที่มีอิทธิพลที่สุด” ศ.ดร.ยงยุทธ เผยเพิ่มเติม
        
       
โอกาสเดียวกันนี้ ไทยยังเสนอตัวเป็นตัวประสานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อรับมือปัญหาระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วในภูมิภาคด้วย อีกทั้งล่าสุด ทส.ได้ยกร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2551 -2555) เพื่อเสนอสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็วๆ นี้
       
       
ร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลักคือ 1. การสร้างความสามารถในการปรับตัวและลดความล่อแหลมต่อผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ 2.การสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน 3.การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
       
       4.
การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5.การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 6.การพัฒนาการดำเนินงานในกรอบความร่วมมือกับต่างประเทศ

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย วันที่ตอบ 2007-12-18 18:12:40 IP : 124.121.140.73


ความคิดเห็นที่ 46 (1348210)

ปีหน้าโลกไม่ร้อนด้วยมือเรา

ตัวการหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนคือ ภาคพลังงาน ประเทศที่ปล่อยพลังงานออกมาทำลายบรรยากาศโลกมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 26 ของการปล่อยพลังงานทั้งหมด รองลงมาคือ จีน ร้อยละ 19 แต่คาดว่า ประมาณปี 2552 จีนจะแซงหน้าอเมริกา
 
ส่วนประเทศไทยแม้จะปล่อยเพียงร้อยละ 1 แต่ถ้าคิดเป็นปริมาณมากถึง 7,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปีโดยอัตราเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคนยังสูงถึง 4.2 ตันต่อปี ซึ่งสูงกว่าประเทศจีน (3.8 ตัน) อินโดนีเซีย (1.7 ตัน) และอินเดีย (1.2 ตัน)
 
เริ่มต้นศักราชใหม่ เรื่องเก่าที่ยังเป็นกระแสร้อนอย่างภาวะโลกร้อนยังอยู่ และดูเหมือนจะเกิดภาวะวิกฤติขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ร้อนจัด หรือฝนตกหนักจนน้ำท่วม ในปีหน้าเราจะได้พบเจออีกแน่นอน
 
ในรอบปีที่ผ่านมา กลุ่มกรีนพีซได้จัดคู่มือแก้วิกฤติโลกร้อน ขึ้นโดยมีผลงานการวิจัยการใช้พลังงานในภาคต่าง ๆ เพื่อให้รู้ค่าการสูญเสียพลังงานที่แปลงมาเป็นตัวเลข จะได้เห็นผลลัพธ์อันน่าตกใจ แต่เราก็สามารถลดอุณหภูมิของโลกได้ด้วยมือเราจริง ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิถีชีวิตแบบสุขสบายลงบ้าง
 
...เริ่มต้นจากที่บ้าน เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในบ้านใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น แม้ว่าเราจะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม….
 
เมื่อกำลังมองหาเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพทางพลัง งานมากที่สุด มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายประหยัดพลังงาน
 
ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ควรจะมีสวิตช์ เปิด-ปิด เพื่อตัดการใช้พลังงานจากแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือใช้พลังงานไม่มากกว่า 1 วัตต์ ในโหมดสแตนด์-บาย
 
ลดการสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์-บาย เครื่องเสียงระบบไฮ-ไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ
 
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่าง ๆ ที่ติดมาด้วย ยังคงมีการใช้ไฟฟ้าแม้ว่าจะอยู่ในโหมดสแตนด์-บาย ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอาจสูงถึง 4,000 บาทต่อปี ถ้าไม่ดึงปลั๊กออก ก็ใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง
 
ให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงานบ้าง ปรับไปที่ “idle” เมื่อเราไม่ใช้คอมพิว เตอร์จะใช้ไฟฟ้าน้อยมากในสถานะนี้ และดึงปลั๊กออกจากตัวป้อนไฟเมื่อเราปิดมัน อย่างไรก็ดี จอภาพและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในปัจจุบันมีประสิทธิภาพทางพลังงานมาก
 
อย่าเสียบตัวประจุไฟและแปลงไฟทิ้งไว้  มันจะยังคงใช้ไฟฟ้าแม้ว่าจะไม่มีการใช้งาน ในบางกรณี แต่ไม่เสมอไป เราสามารถบอกได้โดยรู้สึกว่าเครื่องอุ่นขึ้น ดังนั้น ควรถอดปลั๊กเครื่องประจุแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 กล้องดิจิตอล หม้อแปลงสำหรับหลอดฮาโลเจน รวมถึงอุปกรณ์ครัวเรือนอื่น ๆ
 
ในระดับโลก การใช้พลังงานที่สอดคล้องกับการติดตั้งแสงสว่างอย่างมีประสิทธิ ภาพ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 85 โรง ซึ่งจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 500 ล้านตัน (เท่ากับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากประเทศแคนาดาทั้งหมด)
 
ใช้หลอดประหยัดไฟ ช่วยลดการ ใช้พลังงานลงมากถึงร้อยละ 80 (คำเตือน : หลอดประหยัดไฟมีปรอทอยู่ด้วยและไม่ควรทิ้งรวมกับขยะทั่วไป) ปิดหลอดไฟดวงที่เราไม่ใช้
 
ประหยัดพลังงานในห้องครัว การทำอาหารเองที่บ้าน (และใช้วัตถุดิบจากสวนครัวหลังบ้าน)  ใช้พลังงานในการแปรรูปและการขนส่ง น้อยกว่าอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแช่แข็ง และอาหารสำเร็จรูป ดังนั้นจึงช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 
 
ละลายน้ำแข็งเป็นประจำ ตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะอาหารสำเร็จรูป ดังนั้นจึงช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได ออกไซด์ได้มากกว่า
 
ตั้งตู้เย็นในที่ที่มีอากาศถ่ายเท อย่าตั้งใกล้เครื่องทำความร้อน เตาหรือในที่ที่มีแสงแดดส่อง ถ้าเป็นไปได้ ตั้งไว้ในห้องเตรียมอาหาร ตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ ละลายน้ำแข็งเป็นระยะ ๆ เช่น ช่วงที่เราไปเที่ยววันหยุด
 
ตู้เย็นที่ผลิตในปี พ.ศ. 2536 ใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ช่วยให้ประหยัดค่าไฟลงได้อย่างมากและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-12-30 07:32:37 IP : 124.121.135.111


ความคิดเห็นที่ 47 (1348212)

ตอนที่ 2

ในห้องน้ำก็ประหยัดพลังงานง่าย ๆ ได้ มีข้อเตือนใจสำหรับคุณผู้ชาย ไม่ใช้เครื่องไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ (เครื่องโกนหนวด แปรงสีฟัน) เพราะมันใช้พลังงานมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน หากมีอยู่ อย่างน้อยที่สุดให้แน่ใจว่า มีประจุไฟฟ้าเหมาะสม ดึงปลั๊กออกเมื่อแบตเตอรี่เต็ม ใช้ให้แบต    เตอรี่หมดเป็นครั้ง ๆ ไป
 
เครื่องทำน้ำร้อนน้ำอุ่นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากที่สุดส่วนหนึ่งในอาคารพักอาศัย ทั้งนี้เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน โดยเฉลี่ยจะเกิดการสูญเสียไป 3,200 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เท่ากับพลังงานที่ใช้ของคน 3 คนในบ้านรวมกัน
 
...ทางที่ดีควรใช้เครื่องทำน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์หรือระบบที่ใช้แก๊สแทนเครื่องทำความร้อนไฟฟ้าจะดีกว่า... 
 
จากการศึกษาของธนาคารโลกระบุว่ามีความเป็นไปได้ และสอดคล้องในทาง เศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะประหยัดพลังงาน 2,539 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ.2554 จากการจัดการด้านไฟฟ้า
 
นอกจากเรื่องของการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันแล้ว การลดการบริโภค และเลือกที่จะบริโภคเป็นเรื่องง่ายที่ทำได้ในทุกคน เริ่มจากมองหาคุณภาพ
 
เช่นเมื่อเราซื้อเสื้อผ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งของที่มีคุณภาพดีจะอยู่ได้นานกว่า ช่วยในการป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และลดปริมาณการขนส่งสินค้าลง
 
รับประทานเนื้อให้น้อยลง จากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ การทำปศุสัตว์ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ร้อยละ 18 เพราะมีการใช้พลังงานสูงในการผลิตปุ๋ย
 
นอกจากนี้การแผ้วถางพื้นที่ป่าให้เป็นฟาร์มปศุสัตว์ การปลูกพืชเศรษฐกิจ การปล่อยก๊าซมีเทนจากการขับถ่ายของปศุสัตว์ ก็ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน
 
เลือกหาอาหารอินทรีย์ที่ปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลง ลดการขนส่งอาหารปศุสัตว์จากโพ้นทะเล วิธีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แบบหมุนเวียนตามธรรมชาติช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้มาก
 
โลกร้อนจะเย็นลงได้ด้วยสองมือของทุกคน แต่ไม่เป็นผลถ้าไม่ลงมือทำ ดังที่มหาตมะคานธีเคยกล่าวไว้ว่า
 
“การกระทำของเธอ อาจจะไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่ แต่สิ่งสำคัญสุดนั้นอยู่ที่เธอได้ลงมือทำมันแล้วต่างหาก”.

 

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2007-12-30 07:35:30 IP : 124.121.135.111


ความคิดเห็นที่ 48 (1389678)
เผยเหตุหิมะตกในแบกแดดเพราะสภาวะโลกร้อน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2551 

 

       หิมะตกเบาบางในแบกแดดช่วงค่ำวันของศุกร์(11) ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่พยากรณ์อากาศอ้างว่านี่นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 100 ปีที่มีหิมะตกในเมืองหลวงของอิรัก
       
        ผู้อำนวยการของกรมอุตุนิยมวิทยาของอิรักให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่าเหตุการณ์ที่ผิดปกติมีความเป็นไปได้เป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน
       
       "นานๆถึงจะมีสักครั้ง ในความทรงจำของช่วงชีวิตหนึ่งไม่เคยเห็นหิมะตกมาก่อนเลยในแบกแดด" เขากล่าว "หิมะตกครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาวะโลกร้อนซึ่งกำลังเกิดขึ้นกับทุกที่" ทั้งนี้มีรายงานว่าหิมะได้ตกลงมาแถบภูเขาเคอร์ดิช ทางตอนเหนือของประเทศเช่นกัน แต่บริเวณดังกล่าวหิมะตกเป็นปกติอยู่แล้ว

 

- - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

ม.ค.0044

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-01-12 07:23:19 IP : 124.121.138.144


ความคิดเห็นที่ 49 (1583721)

"อภิรักษ์" ได้รับเชิญขึ้นเวทีโลก แก้ปัญหาโลกร้อน

 

นายถนอม อ่อนเกตุพล โฆษกกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์นี้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) จะเดินทางไปร่วมการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมระดับรัฐมนตรี The Tenth Special Session of the Governing Council/Global Ministerial ระหว่างวันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ ที่ราชรัฐโมนาโก ตามคำเชิญขององค์การสิ่งแวดล้อมโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ UNEP (United Nations Environment Programme) ซึ่งจะมีรัฐมนตรีกว่า 100 ประเทศ รวมถึงภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวแทนผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมระดับโลก ภาคประชาสังคมจากทั่วโลกกว่า 1,000 คนเข้าร่วมการประชุมด้วย ทั้งนี้ ถือว่านายอภิรักษ์ เป็นผู้นำเมืองเพียงคนเดียวในแถบภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับเชิญไปร่วมปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าเป็นเพราะการที่ กทม.มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง

 

·        * * * * * * * * * * * * *

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 0-2990-0331

1802512031

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-02-18 20:24:01 IP : 124.121.143.180


ความคิดเห็นที่ 50 (1941869)

 

"โลกร้อน"...เพราะเราเป็นเพียงกาฝากเกาะกินโลก ?

ในแต่ละปี มีการมอบเงินอุดหนุนถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมประมง...ท้องทะเล กำลังจะว่างเปล่า
       

           
ถุงพลาสติก 1 ใบ ใช้เวลาผลิตแค่ 1 วินาที นำมาใช้งานเพียง 20 นาที แต่ต้องใช้เวลาถึง 100-400 ปี ในการย่อยสลายไปตามธรรมชาติ...ในแต่ละปี คนทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก 500,000 ถึง 1,000,000 ล้านใบ
       

           
ปริมาณน้ำกำลังจะกลายเป็นประเด็นหลักในระดับโลก เมื่อผู้คน 1,000 ถึง 2,000 ล้านชีวิต ต้องดิ้นรนหาน้ำวันละ 20-50 ลิตรมาไว้ดื่มกิน หุงหาอาหาร และทำความสะอาด
       

           
ภายในปี 2015 คาดกันว่าความต้องการน้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้น
       
จนแตะระดับ 99 ล้านบาร์เรลต่อวัน
       

           
ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก หาง่าย และสกปรกที่สุด ในแต่ละปี เรานำเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดนี้มาใช้มากกว่า 6,000 ล้านตัน
       

           
ผู้คน 6,600 ล้านคนทั่วโลก กำลังอพยพเข้าสู่เขตเมืองและแถบชานเมือง
       

           
คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คน มีเงินมากกว่าค่าจีดีพีของประเทศยากจนที่สุด 45 ประเทศรวมกัน
       

           
ประชากรโลก 3,000 ล้านคน มีเงินใช้ไม่ถึงวันละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ
       

           
ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจน ถ่างกว้างมากขึ้น
       

        
            ...
สถิติเหล่านี้เป็นเพียงเสี้ยวธุลีของปัจจัยสำคัญและผลกระทบมหาศาลอันเนื่องมาจากวิกฤติโลกร้อน รวมถึงภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากสภาวะเรือนกระจก

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2803512319

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-28 23:08:29 IP : 124.121.77.177



[1] 2 ถัดไป >>


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.