ReadyPlanet.com


น้ำท่วมประเทศไทย ใครรับผิดชอบ อ่าน......


กฎกระทรวง

แบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

(ฉบับที่ ๒)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน

 

.. ๒๕๔๙.. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๔๓(๑๐) - (๒๕) ของข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ. และให้ใช้ความต่อไปนี้แทนกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ๒๕๔๕

“(

๑๐) - (๒๕/) สำนักชลประทานที่ ๑ - ๑๗

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ

(๑๐) - (๒๕) ของข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ.. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(

๑๐) - (๒๕/) สำนักชลประทานที่ ๑ - ๑๗ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอื่นตามพื้นที่ลุ่มน้ำที่กรมมอบหมาย

) ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลาง โครงการ

(

การสาธารณูปโภค การอุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ ติดตามและประเมินความปลอดภัยของเขื่อน

รวมทั้งการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำภายในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ

) ดำเนินการเกี่ยวกับการกัก เก็บ รักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือแบ่งน้ำ เพื่อการเกษตรกรรม

(

ให้เกิดประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภค

หน้า ๕

เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๔๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ เมษายน ๒๕๔๙

) บำรุงรักษาอาคารชลประทาน ถนนชลประทาน และปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ

 

 

 

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-30 08:03:32 IP : 101.108.101.253


[1] 2 ถัดไป >>

ความคิดเห็นที่ 1 (3264539)

กฎกระทรวง

แบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

(ฉบับที่ ๒)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ

.. ๒๕๔๙.. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๔๓(๑๐) - (๒๕) ของข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ.. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(

๑๐) - (๒๕/) สำนักชลประทานที่ ๑ - ๑๗

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ

(๑๐) - (๒๕) ของข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ.. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(

๑๐) - (๒๕/) สำนักชลประทานที่ ๑ - ๑๗ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอื่นตามพื้นที่ลุ่มน้ำที่กรมมอบหมาย

) ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลาง โครงการ

(

การสาธารณูปโภค การอุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ ติดตามและประเมินความปลอดภัยของเขื่อน

รวมทั้งการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำภายในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ

) ดำเนินการเกี่ยวกับการกัก เก็บ รักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือแบ่งน้ำ เพื่อการเกษตรกรรม

(

ให้เกิดประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภค

หน้า ๕

เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๔๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ เมษายน ๒๕๔๙

) บำรุงรักษาอาคารชลประทาน ถนนชลประทาน และปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ

(

เรื่องคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ

) แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและป้องกันบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหา

(

) ศึกษาและจัดทำรายงานเบื้องต้นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ

(

) ให้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่ผู้ใช้น้ำ

(

ที่ได้รับมอบหมาย

) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

.. ๒๕๔๙

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-09-30 08:07:51 IP : 101.108.101.253


ความคิดเห็นที่ 2 (3264585)

น่าคิดนะครับ.......

กรมชลประทาน อยู่ใน......กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านอ่านกฎกระทรวง แล้วดูอำนาจหน้าที่ว่า กรมชลประทานต้องทำอะไรบ้าง.

กรมชล ตั้งมา 100 กว่าปี แล้ว...... ประเทศไทย หน้าแล้ง ก็แล้งซ้ำซาก หน้าน้ำ ก็น้ำท่วม เก็บกักน้ำไม่อยู่....... 100 กว่าปี แล้ว พัฒนากันไปถึงไหนแล้ว.................... นี่แหละ....ประเทศไทย  คนส่วนมองข้ามกรมชลฯ ไปหมด...... ตอนนี้ก็เป็นการแกปัญหาเฉพาะหน้ากันทั้งประเทศ.............งบประมาณ ด้านนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร จึงมีกระทรวงนี้...... แต่ภาระกิจ ของกระทรวงนี้......... งามหน้านะครับท่าน ที่รับผิดชอบ งบประมาณต่าง ๆ ของกรมชลฯ ไปบวกดูครับ ตั้งมา100 กว่า ไปกี่แสนล้าน แล้วครับ...........................มันเอาไปทำอะไรกัน..... ขุดคลอง  ลอกคลอง...ขุดแม่น้ำ..... ทำบ่อกักเก็บ....... ตามเม็ดเงินหรือเปล่า......

ขณะนี้ประเทศไทย.......เป็นอยู่อย่างไร..... พี่น้องนึกเอาเองนะครับ..... กระทรวงนี้แหละ...อย่าไปโทษใครเลย......

ตราบใดที่จิตสำนึกของผู้บริหารระดับสูง ยังเป็นเช่นนี้....อย่าหวังว่า จะแก้ปัญหา ระดับชาติได้.....

ชาติหน้าตอนบ่าย ๆ จะแก้ได้หรือเปล่าครับ........  แล้วจะไปนั่งบริหารกันทำไม แย่งกันเข้าไปทำงาน นี่หรือรัฐบาลไทย......

++++++++++++++++++++++++++++++++++

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

WWW.waddeeja.com

E-mail : apdmajor1@yahoo.com 

E-mail : sirimajor@gmail.com 

30 ก.ย.54 เวลา  14.53 น.

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-09-30 14:53:21 IP : 101.108.101.253


ความคิดเห็นที่ 3 (3265218)

กรมชลประทาน อยู่ใน......กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ท่านอ่านกฎกระทรวง แล้วดูอำนาจหน้าที่ว่า กรมชลประทานต้องทำอะไรบ้าง.

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-03 08:56:26 IP : 125.25.16.143


ความคิดเห็นที่ 4 (3265426)

 กรมชลประทาน อยู่ใน......กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ท่านอ่านกฎกระทรวง แล้วดูอำนาจหน้าที่ว่า กรมชลประทานต้องทำอะไรบ้าง. แล้วตอนนี้...เป็นอย่างไรบ้างครับ น้ำท่วมทั่วทุกภาค  อย่าไปโทษธรรมชาตินะครับ มันมีส่วนก็จริง...... 100 ปี ผ่านมา แก้ปัญหากันอย่างไร คิดดูครับ...... ต้องคิด.

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-04 16:10:46 IP : 101.108.124.44


ความคิดเห็นที่ 5 (3265797)

ท่านอ่านกฎกระทรวง แล้วดูอำนาจหน้าที่ว่า กรมชลประทานต้องทำอะไรบ้าง. แล้วตอนนี้...เป็นอย่างไรบ้างครับ น้ำท่วมทั่วทุกภาค  อย่าไปโทษธรรมชาตินะครับ มันมีส่วนก็จริง...... 100 ปี ผ่านมา แก้ปัญหากันอย่างไร คิดดูครับ...... ต้องคิด.......

และวันนี้.....8 ต.ค.54 ถึงคิวปริมณฑล แล้ว..... จ.ปทุมธานี...อ.เมืองบางส่วน..

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-08 21:13:54 IP : 182.53.49.124


ความคิดเห็นที่ 6 (3265806)

เรื่อง...เตือนภัยน้ำท่วม 13 เขต ในกทมฯ 17-20 ตุลาคม 2011 นี้


ระวัง! พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน 13 เขตในกทม.และปริมณฑล
1. สายไหม
2. คลองถนน
3. อนุสาวรีย์
4. จรเข้บัว
5. ลาดพร้าว
6. คลองจั่น
7. ทุ่งสองห้อง
8. หัวหมาก
9. คลองกุ่ม
10. สะพานสูง
11. มีนบุรี
12. คลองสองต้นนุ่น
13. ลาดกระบัง

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-08 21:50:47 IP : 182.53.49.124


ความคิดเห็นที่ 7 (3265810)

ที่มา: สำนักงานพัฒนาเทศโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Update ล่าสุด ! ตอนนี้มีโอกาสท่วมอีก 27 ชุมชน ใน 13 เขต เนื่องจากเขื่อนภาคกลางล้น รับไม่ไหว ต้องปล่อยน้ำลงเจ้าพระยา ปริมาณสูงกว่า 3 , 000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแล้ว (ปกติ 2 , 000 กว่าก็เยอะแล้ว)
1. เขตบางซื่อ : ชุมชนพระราม 6 (ฝั่งติดแม่น้ำ) และชุมชนปากคลองบางเขนใหม่
2. เขตดุสิต : ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ (เชิงสะพานกรุงธน) ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 19) ชุมชนปลายซอยมิตรคาม (ซอยสามเสน 13) และชุมชนวัดเทวราชกุญชร (ถนนศรีอยุธยา)
3. เขตพระนคร : ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน
4. เขตสัมพันธวงศ์ : ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดี) และชุมชนตลาดน้อย
5. เขตบางคอแหลม : ชุมชนวัดบางโคล่นอก ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ และชุมชนหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
6. เขตยานนาวา :ชุมชนโรงสี (ถนนพระราม 3)
7. เขตคลองเตย : ชุมชนสวนไทรริมคลองพระโขนง
8. เขตบางพลัด : ชุมชนวัดฉัตรแก้ว
9. เขตบางกอกน้อย : ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนตรอกวังหลัง และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่
10. เขตธนบุรี : ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่
11. เขตคลองสาน : ชุมชนเจริญนครซอย 29/2
12. เขตราษฎร์บูรณะ : ชุมชนดาวคะนอง
13. เขตทวีวัฒนา : ชุมชนวัดปรุณาวาส
 

 


ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-08 21:55:08 IP : 182.53.49.124


ความคิดเห็นที่ 8 (3266119)

ท่านอ่านกฎกระทรวง แล้วดูอำนาจหน้าที่ว่า กรมชลประทานต้องทำอะไรบ้าง. แล้วตอนนี้...เป็นอย่างไรบ้างครับ น้ำท่วมทั่วทุกภาค  อย่าไปโทษธรรมชาตินะครับ มันมีส่วนก็จริง...... 100 ปี ผ่านมา แก้ปัญหากันอย่างไร คิดดูครับ...... ต้องคิด.......

และวันนี้.....10 ต.ค.54 ถึงคิวปริมณฑล แล้ว..... จ.นนทบุรี บางบัวทอง  จ.ปทุมธานี...อ.เมืองบางส่วน..

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-10 19:40:06 IP : 101.108.116.85


ความคิดเห็นที่ 9 (3266120)

สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยข่าวน้ำท่วม


1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าวน้ำท่วม
2. ถ้ามีการเตือนภัยข่าวน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
- อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเสณน้ำหลาก
3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
5. ถ้ามีการเตือนภัยจากข่าวน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง
ควรปฎิบัติดังนี้
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
- พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
- ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง
- อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน
7. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
- ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

++++++++++++++++++++++++++++++++++

WWW.waddeeja.com

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

10 ต.ค.54


 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-10 19:55:11 IP : 101.108.116.85


ความคิดเห็นที่ 10 (3266469)

ช่วงนี้น้ำท่วมอยู่ครับ !ผมมีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับน้ำ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในอนาคต

ปัญหาเรื่องน้ำไม่ใช่ปัญหาใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ว่ากี่สมัยที่ผ่านมาได้พยายามเเก้ปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาทางด้านการบริหารจัดการน้ำนับวันเริ่มจะมีความรุนเเรงขึ้น เนื่องจากการจัดการน้ำที่ขาดความเป็นเอกภาพ

ดร.อังสนา โตกิจกล้า นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ วช. ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องน้ำที่เกิดขึ้นกับประเทศของเรา คือ การกักเก็บน้ำเพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้ส่งผลกระทบในเรื่องของปัญหา ภัยเเล้ง ปัญหาอุทกภัย เป็นต้น

จากการสำรวจปริมาณน้ำฝนของกรมชลประทานที่ผ่านมา เรากักเก็บน้ำได้เพียงเเค่ 10% ของปริมาณฝนที่ตก อีกจำนวน 90% ไหลลงทะเล และซึมลงใต้ดิน จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถกักเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้

จากปัญหาดังกล่าวทาง วช. จึงได้มีพันธกิจในการรวบรวมผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงปี 2546-2551 มีการประชุมคณะรัฐมนตรี 347 ครั้ง และมีจำนวนวาระที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด 573 วาระ ซึ่งเเต่ละปีงบประมาณถูกจัดสรรเพื่อการจัดการน้ำและระบบชลประทานประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท และมีเเนวโน้มที่จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20%ของทุกปี

นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเเห่งชาติฉบับที่ 9 และ 10 ได้กำหนดเเนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน เช่น มีการบริหารจัดการกลุ่มน้ำอย่างบูรณาการ 25 ลุ่มน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่า 8 แสนไร่ พัฒนาระบบโครงข่ายเชื่อมโยงแหล่งน้ำและองค์กรชุมชน เพิ่มบทบาทชุมชนในการอนุรักษ์ป้องกันเเละฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้มีการสร้างเขื่อนกระจายอยู่ทั่วประเทศ

องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำได้มีการจัดทำแผนเเม่บทต่างๆการจัดทำ พ.ร.บ น้ำหรือการบริหารจัดการน้ำของชาติแต่ดูเหมือนว่าแผนเหล่านั้นเป็นแผนการจัดการน้ำเฉพาะหน้า ทำให้ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากน้ำได้

จากที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำของหน่วยงานต่างๆ พบว่า มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำงานวิจัยในช่วงระหว่างปี 2546-2551 รวมทั้งสิ้น 107 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 22 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยต่างๆจำนวน 66 หน่วยงาน ที่เหลือเป็นสถาบัน องค์การ เครือข่ายกลุ่มต่างๆ และนักวิจัยอิสระรวมจำนวน 19 หน่วยงาน โดยหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำมากที่สุด คือ กรมชลประทานและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดเป็น12.72% และ 12.59% ของโครงการวิจัยทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการวิจัยด้านคุณภาพน้ำ คิดเป็น 33.75% ของโครงการวิจัยทั้งหมด

สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยเเห่งชาติ (วช.) จึงได้มีเร่งส่งเสริมพัฒนา รวมถึงการบูรณาการการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับด้านการจัดการน้ำในทิศทางที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ในภาพรวม และแนวทางในการทำวิจัยเรื่องน้ำและสามารถวางเเผนการวิจัยเพื่อตอบประเด็นปัญหาที่ยังไม่มีการเเก้ไขหรือเพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

สุดท้ายนี้ดร.อังสนา ยังได้ฝากแง่คิดให้เเก่ นักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วยว่าในการทำวิจัยที่ดีและมีคุณภาพควรทำงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศชาติ และเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเเละนำมาใช้ในการเเก้ปัญหาได้จริงหรือเพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด .

 

วันที่ 14/10/2011

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-14 18:27:51 IP : 113.53.69.204


ความคิดเห็นที่ 11 (3266504)

“กรมทางหลวง” แจ้ง 71 เส้นทางถนนทางหลวงโดนน้ำท่วมหนัก รถผ่านไม่ได้ พร้อมเปิด "เส้นทางเลี่ยง" น้ำท่วม.....

          กรมทางหลวง รายงานว่า จากสถานการณ์อุทกภัยส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ซึ่งจากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่ามีภาวะน้ำท่วมทางหลวงจนพาหนะผ่านไม่ได้ 71 เส้นทาง
 

          ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 71 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 16 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง ดังนี้
    

จังหวัดพิจิตร

       1. ทางหลวงหมายเลข 111 ตอน สากเหล็ก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม.9-16
 

       2. ทางหลวงหมายเลข 113 ตอน บางมูลนาก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 14-25
 

       3. ทางหลวงหมายเลข 1067 ตอน บางมูลนาก-โพทะเล ท้องที่อำเภอบางมูลนาก และอำเภอโพทะเล ที่ กม. 0-19
 

       4. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน วังจิก-ไผ่ท่าโท ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม. 7-10
 

       5. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน โพธิ์ประทับช้าง-วังจิก ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม.14-15
 

       6. ทางหลวงหมายเลข 1118 ตอน ตะพานหิน-บางมูลนาก ท้องที่อำเภอตะพานหิน ที่ กม. 4-11
 

       7. ทางหลวงหมายเลข 1221 ตอน พิจิตร-พิษณุโลก ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-8
 

       8. ทางหลวงหมายเลข 1289 ตอน วังสำโรง-บางลาย ท้องที่อำเภอบึงนาราง ที่ กม. 9-10
 

       9. ทางหลวงหมายเลข 1304 ตอน หัวดง-ยางสามต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 2-7
 

       10. ทางหลวงหมายเลข 1313 ตอน บางมูลนาก-ตะพานหิน ท้องที่อำเภอบางมูลนาก ที่ กม. 11-14
 

       จังหวัดพิษณุโลก


       1. ทางหลวงหมายเลข 1275 ตอน ท่าช้าง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม.4-9
 

       2. ทางหลวงหมายเลข 1293 ตอน สุโขทัย-บางระกำ ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่ กม. 31-55
 

       3. ทางหลวงหมายเลข 1310 ตอน ทับยายเชียง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม. 8-14
 

       จังหวัดกำแพงเพชร

       ทางหลวงหมายเลข 1280 ตอน ทุ่งมหาชัย-ละหาน ท้องที่อำเภอคลองขลุง ที่ กม. 28-29
       

จังหวัดนครสวรรค์

       1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน สะพานเดชาติวงศ์ – นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 340 – 343
 

       2. ทางหลวงหมายเลข 117 ตอน นครสวรรค์-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 4-16
 

       3. ทางหลวงหมายเลข 122 ตอน ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-7
 

       4. ทางหลวงหมายเลข 225 ตอน ปากน้ำโพ-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอชุมแสง ที่ กม.1-36
 

       5. ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอน ป่าแดง-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 48-52
 

       6. ทางหลวงหมายเลข 1182 ตอน นครสวรรค์-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-4
 

       7. ทางหลวงหมายเลข 3319 ตอน โกรกพระ-อุทัยธานี ท้องที่อำเภอโกรกพระ ที่ กม. 0-3
 

       8. ทางหลวงหมายเลข 3522 ตอน ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรี ที่ กม. 2-4
 

       9. ทางหลวงหมายเลข 3475 ตอน ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่ กม. 0-25
 

       จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


       1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน ประตูน้ำพระอินทร์ – วังน้อย – หนองแค และอำเภอวังน้อย ที่ กม.55 – 68
 

       2. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอน บางปะอิน-นครหลวง ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 3-26
       3. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนนครหลวง-อ่างทอง ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 26-40


       4. ทางหลวงหมายเลข 308 ตอน บ้านเลน-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 1-7
 

       5. ทางหลวงหมายเลข 309 ตอน วังน้อย-อยุธยา ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 0-19
 

       6. ทางหลวงหมายเลข 329 ตอน บางปะหัน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 32-43
 

       7. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน บางปะอิน-เจ้าปลุก ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอบางปะหัน ที่ กม. 22-50
 

       8. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน เจ้าปลุก-บางปะหัน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 50-51
 

       9. ทางหลวงหมายเลข 352 ตอน ทางแยกต่างระดับวังน้อย-สระบุรี ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 25-27
 

       10.ทางหลวงหมายเลข 356 ตอน บ้านหว้า-ปากกราน ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 0-5
 

       11.ทางหลวงหมายเลข 3063 ตอน ทางแยกไปนครหลวง ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่ กม. 15-23
 

       12.ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน มหาราช-บ้านแพรก ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 96-105
 

       13.ทางหลวงหมายเลข 3267 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 5-17
 

       14.ทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน บางบาล-ผักไห่ ท้องที่อำเภอบางบาล ที่ กม. 8-15
 

       15.ทางหลวงหมายเลข 3454 ตอน โพธิ์ทอง-หน้าโคก ท้องที่อำเภอผักไห่ ที่ กม. 81-87
 

       16.ทางหลวงหมายเลข 3467 ตอน นครหลวง-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 0-8
 

       17.ทางหลวงหมายเลข 3469 ตอน อยุธยา-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-3
 

       18.ทางหลวงหมายเลข 3477 ตอน บางปะอิน-อยุธยา ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-14
 

        จังหวัดสิงห์บุรี

       1.ทางหลวงหมายเลข 11 ตอน อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี คอสะพานขาด ที่ กม. 5
 

       2.ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน สิงห์บุรี-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 6-9
 

       3.ทางหลวงหมายเลข 3030 ตอน สิงห์บุรี-บางระจัน ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-1
 

       4.ทางหลวงหมายเลข 3028 ตอน บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ที่ กม. 1-24
 

       5.ทางหลวงหมายเลข 3033 ตอน บางา-พรหมบุรี ท้องที่อำเภอพรหมบุรีที่ กม. 1-10
 

         จังหวัดลพบุรี
      

       1.ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง ที่กม. 8-19
 

       2.ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน ลพบุรี-สิงห์บุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 159-166
 

       3.ทางหลวงหมายเลข 3016 ตอน บ้านป่าหวาย-บ้านป่าตาล ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 2-5
 

       4.ทางหลวงหมายเลข 3019 ตอน เขาพระงาม-โคกกระเทียม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-2
 

       5.ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 76-94
 

         จังหวัดชัยนาท

       1.ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน แยกสายเอเชีย-สวนนก-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง
 

       2.ทางหลวงหมายเลข 3183 ตอน ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 25-28
 

       3.ทางหลวงหมายเลข 3213 ตอน วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 0-1
 

       4.ทางหลวงหมายเลข 3244 ตอน ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2
 

       จังหวัดปทุมธานี

       1.ทางหลวงหมายเลข 3309 ตอน ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-สามโคก ท้องที่อำเภอสามโคก ที่ กม. 28-34
 

       จังหวัดอุทัยธานี

       1.ทางหลวงหมายเลข 333 ตอน อุทัยธานี-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-14

       2.ทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน ทางเลี่ยงเมืองอุทัยธานี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2

       3.ทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน อุทัยธานี-มโนรมย์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-7
     

จังหวัดสระบุรี

       1.ทางหลวงหมายเลข 3020 ตอน พระพุทธบาท-หนองโดน ท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ที่กม. 6-8 

       2.ทางหลวงหมายเลข 3022 ตอน พระพุทธบาท-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 12-13

       3.ทางหลวงหมายเลข 3034 ตอน หน้าพระลาน-โรงปูนซิเมนต์ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 14-16
       

จังหวัดสุพรรณบุรี

       1.ทางหลวงหมายเลข 340 ตอน ทางแยกเข้าสุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-1

       2.ทางหลวงหมายเลข 329 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอท่าระหัด ที่ กม. 0-1
      

จังหวัดนนทบุรี

       1.ทางหลวงหมายเลข 345 ตอน สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่ กม. 4-5
 

   จังหวัดอ่างทอง

       1.ทางหลวงหมายเลข 3064 ตอน อ่างทอง-โพธิ์ทอง ท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง ที่ กม.8-9
      

จังหวัดปราจีนบุรี

       1.ทางหลวงหมายเลข 3076 ตอน บ้านสร้าง-นครนายก ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-5

       2.ทางหลวงหมายเลข 3293 ตอน ปราจีนบุรี-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-10

       3.ทางหลวงหมายเลข 3347 ตอน ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 15-31

       4.ทางหลวงหมายเลข 3481 ตอน บางขนาก-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 26-28
            

จังหวัดมหาสารคาม

       1.ทางหลวงหมายเลข 2391 ตอน กู่ทอง-บ้านเขื่อน ท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย ที่ กม. 15-17

       ส่วนผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย กรมทางหลวง ขอแนะใช้ “เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม” ดังนี้

       1. ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ช่วง กม.51-58 เขต อำเภอวังน้อย ทั้งขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังในเส้นทาง โดยเฉพาะ กม.55-57 ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร ทำให้การจราจรติดขัด แนะนำใช้ทางเลี่ยง ถนนวงแหวนตะวันตก และเส้นทางสายรังสิต-องครักษ์-บ้านนา-นครนายก-สระบุรี หากจะเดินทางไปภาคเหนือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ไปสู่ภาคเหนือทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ และสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 205 เข้า โคกสำโรง-ตากฟ้า และใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ไป อำเภอวังทองได้ และหากจะเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2
      

       2. ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ขาออก ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน ระดับน้ำสูง ยังคงปิดสะพานเดชาติวงศ์ และปิดการจราจรถนนพหลโยธิน ไม่ให้เข้าตัวจังหวัดนครสวรรค์ ขอให้ใช้ทางเลี่ยงจังหวัดนครสวรรค์ ขาออกจากกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปภาคเหนือ
             

       นอกจากนี้ ควรเลี่ยงเส้นทางพหลโยธิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เส้นทางการเดินทาง ดังนี้

       1. เส้นทางวงแหวนตะวันตก ถึงแยกบางบัวทอง ใช้ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ไปถึง จังหวัดสุพรรณบุรี เลี่ยงเมืองอ่างทอง แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ไปอำเภอตาคลี – ตากฟ้า – ไพศาลี – หนองบัว – เขาทราย – พิจิตร – วังทอง – พิษณุโลก ไปภาคเหนือ
 

       2. ช่วงจังหวัดสุพรรณบุรี – ชัยนาท ยังไปได้ แต่จากจังหวัดชัยนาท – สวนนก – ต่างระดับที่จะออกทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ท้องที่อำเภอเมือง ผนังกั้นน้ำด้านซ้ายทางชำรุด ที่กม. 290+500 น้ำท่วมสูง 35 ซม. รถทุกชนิดผ่านไม่ได้ หากจะเดินทางต่อไปยังภาคเหนือ ให้เลี่ยงไปทางจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย)
 

       เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้อง สัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586 ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1193 สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0 - 2354 - 6530, 0 – 2354 - 6668-76 ต่อ 2014, 2031
 

       ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0 – 2354 - 6551 ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ 0 - 2533 - 6111 หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ – ชลบุรี (สายใหม่) 0 - 3857 - 7852 – 3 หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน – บางพลี) 0 - 2509 - 6832 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)1111 กด 5 สายด่วน กรมทางหลวงชนบท 1146
 

 
วันที่ 15/10/2011

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-15 10:05:51 IP : 125.26.22.25


ความคิดเห็นที่ 12 (3266655)

น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้สาธารณชนได้ประจักษ์ชัดแล้วว่า กระบวนทัศน์และวิธีการในการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำแบบองค์รวมของรัฐบาลไทยทุกชุดยังใช้ไม่ได้ ขอย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลไทยทุกชุดมีข้อบกพร่องในเรื่องการจัดการปัญหาน้ำของประเทศแบบองค์รวมมาโดยตลอด

เหตุที่ต้องเน้นย้ำเช่นนี้ก็เพราะปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในครั้งนี้คือเครื่องยืนยันข้อกล่าวหาข้างต้นอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด แน่นอนว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลอภิสิทธิ์

และรัฐบาลก่อนหน้านี้อีกหลายชุดก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้เช่นกัน เนื่องจากสาธารณชนไม่เคยเห็นว่ารัฐบาลชุดไหน ๆ ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมานี้จะให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการจัดการปัญหาเรื่องน้ำของไทย

ล่าสุดรัฐบาลใช้เงินคงคลังเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยครั้งนี้ไปแล้ว 2,634 ล้านบาทและตั้งงบสำรองไว้อีก 2,000 ล้านบาท ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมประเมินค่าความเสียหายเบื้องต้นอันเนื่องมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ไว้ที่ระดับ 25,000 ล้านบาท แต่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินความเสียหายครั้งนี้ไว้ที่ระดับ 120,000-150,000 ล้านบาท ขอย้ำว่าตัวเลขที่ว่านี้ยังมิได้นับรวมถึงความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ต้องจมอยู่ใต้น้ำ และยังมิได้นับรวมถึงชีวิตของคนเกือบ 300 คนที่ต้องสังเวยให้กับอุทกภัยครั้งนี้

ขอพูดอีกครั้งว่าการประเมินความเสียหายดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นแค่เพียงตัวเลขเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตัวเลขค่าความเสียหายจะต้องเพิ่มมากกว่าที่ประเมินอย่างแน่นอน เพราะพื้นที่ภาคกลางเกือบทั้งภาคต้องจมอยู่ใต้กระแสน้ำ ส่วนหลายเขตพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่างก็ถูกน้ำท่วมมานานเกือบ 3 เดือนแล้ว

ในขณะที่ยังไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ว่ากว่าจะผ่านพ้นฤดูมรสุมปีนี้ไป ภาคใต้ของไทยจะต้องประสบกับอุทกภัยอีกหรือไม่

รัฐบาลไทยต้องกลับมาทบทวนให้ถี่ถ้วนและเอาจริงเอาจังได้แล้วว่าจะจัดการอย่างไรกับระบบน้ำของไทยอย่างครบวงจร จะตัดสินใจสร้างเขื่อนเพิ่มเติมหรือไม่ หรือต้องทำแก้มลิง หรือแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มเติมหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการศึกษาอย่างรอบด้านในระยะเวลาอันเหมาะสม ไม่ใช่ทำแบบไฟไหม้ฟาง เมื่อเกิดน้ำท่วมหรือน้ำแล้งครั้งหนึ่งก็ตาแหกกันทีหนึ่ง พอเหตุการณ์ผ่านพ้นไป ทุกอย่างก็เหมือนเดิม

ขอร้องเถอะรัฐบาลที่เคารพ กรุณาตัดสินใจให้เด็ดขาดกับการจัดการระบบน้ำแบบครบวงจรเสียที อย่าปล่อยให้งบประมาณของชาติหลายแสนล้าน รวมถึงชีวิตของประชาชนที่ประมาณค่ามิได้สูญสิ้นไปกับปัญหาเรื่องน้ำอีกเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-17 07:17:44 IP : 113.53.73.122


ความคิดเห็นที่ 13 (3266886)

1. สนามบินดอนเมือง ให้บริการจอดรถฟรี บริเวณอาคารจอดรถผู้โดยสาร ภายในประเทศ

และอาคารคลังสินค้าสูง 5 ชั้น รับรถได้ 3,000 คัน

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ 0-2535-1533, 1466, 0-2535-1515, 1516, 0-2535-1349, 1630

...

2. ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต สามารถนำรถมาจอดได้ที่บนอาคารจอดรถของศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค

ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม เป็นต้นไปโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

สอบถามได้ละเอียดได้ที่ 02-958-0011 กด 0

 

3. ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ เปิดพื้นที่ดาดฟ้า ชั้น 6 รองรับรถได้ถึง 750 คัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7-16 ตุลาคม นี้

โดยสามารถจอดค้างคืนตลอดระยะเวลาดังกล่าวได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ฝ่ายสื่อสารการตลาด โทร.02-721-8888 ต่อ 313 , 314

 

4. จอดรถฟรี ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า, บางนา,

พระราม 2, พระราม 3, แจ้งวัฒนะ, รัตนาธิเบศร์, รามอินทรา, เชียงใหม่ แอร์พอร์ต,เชียงราย, ขอนแก่น,

อุดรธานี, ชลบุรี และเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-667-5555 ต่อ 4108 ,02 667 5555 ต่อ 4108

 

5. ตลาดนัดบานาน่าสแควร์ ข้างโลตัสลพบุรี และตึกจอดรถของห้างโลตัสอีก 8 ชั้น รวมจอดรถได้กว่า 1,500 คัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอู้ 089- 884-4839

 

6. ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ (เหมาะสำหรับคนที่อยู่แถว สมุทรปราการ ประเวศ พัฒนาการ อ่อนนุช

หรือแถวๆ นั้น) รองรับรถยนต์ได้ถึง 650 คัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-787-2191

 

7. อาคาร HobbyLobby (แยกแคราย จ.นนทบุรี) ตรงข้ามเอสพลานาส รองรับรถยนต์ได้ 400 คัน

สอบถามเพิ่มเติม โทร 081-906-9460

 

8. อิมพีเรียลลาดพร้าว เปิดบริการจอดรถฟรีฉุกเฉินในบริเวณเขตพื้นที่ ลาดพร้าว วังทองหลาง ตลอด 24 ชั่วโมง

ติดต่อ โทร.02-9349150

 

9. เดอะมอลล์ สาขารามคำแหง ฝั่งเดอะมอลล์ 2 เปิดให้จอดรถที่ชั้น 3, ส่วนเดอะมอลล์ 3 เปิดให้จอดรถที่ ชั้น 3b ขึ้นไป

ติดต่อ 02-310-1000 ต่อฝ่ายธุรการ

 

10. แฟชั่นไอส์แลนด์ เปิดให้จอดรถ เริ่มวันที่ 8 ตุลาคม ติดต่อ 0-2947-5000

 

11. สนามบินสุวรรณภูมิ ให้จอดฟรี ถึงวันที่ 15 ต.ค. (แต่อาจขยายเวลาออกไปอีก)

สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-132-6535 หรือ ประชาสัมพันธ์ของสนามบิน 02-132-1888

 

12. กองทัพอากาศ เปิดศูนย์รับผู้อพยพ และให้บริการจอดรถ ดังนี้

1) บน.2 ลพบุรี รับผู้อพยพได้ 300-500 คน

2) บน.4 ตาคลี จ.นคสวรรค์ รับผู้อพยพได้ 500-700 คน

3) กรุงเทพมหานคร: สถานที่จอดรถ รร.นอ. จำนวน 1,000 คัน, หอประชุม 600 คัน, สวนสุขภาพ 100 คัน,

พิพิธภัณฑ์ ทอ. 100 คัน, สนามกีฬาธูปะเตมีย์ 300 คัน

 

โดยต้องเตรียมหลักฐานใช้ประกอบ จำนวน 2 ชุด (ติดด้านหน้ากระจกรถยนต์ จำนวน 1 ชุด)

ได้แก่ สำเนาทะเบียนรถ, สำเนาบัตรประชาชาชน, หมายเลขโทรศัพท์ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ที่ตั้งท่าอากาศยานดอนเมือง โทร 1111 ต่อ 5 (โทรได้ตลอดเวลา),

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ

025342096 ในเวลาราชการ,

02-5341700 ต่อ 15 นอกเวลาราชการ

 

13. สถานีแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสัน ให้จอดรถฟรี 200 คัน บริเวณลานจอดรถชั้น 1 สถานีมักกะสัน

สามารถนำรถมาจอดฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยต้องนำสำเนาทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชน

มาติดต่อเจ้าหน้าที่ บริเวณ ชั้น 3 ของสถานีมักกะสันชั้น 3

หรือโทรศัพท์หมายเลข 02-308-5600 ต่อ 2906 หรือ 2907

ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น.

 

14. ห้างบิ๊กซี เปิดให้บริการจุดจอดรถฟรีในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม

โดยสามารถติดต่อสอบถามไปได้โดยตรงที่บิ๊กซี สาขาใกล้บ้านท่าน

หรือโทรสอบถามข้อมูลที่ 02-655-0666

 

15. ห้างสรรพสินค้าตั้ง ฮั่ว เส็ง ย่านบางพลัด ยินดีให้ที่จอดรถฟรี

ติดต่อสอบถาม 0-2434-0448 ต่อ 1222, 1234, 8999 ติดต่อ พร้อมเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้ 1)

สำเนาบัตรประชาชนของผู้ฝาก 2) สำเนาคู่มือ การจดทะเบียนรถ หน้าที่แสดงชื่อเจ้าของรถ

และหน้าที่แสดงการชำระภาษีประจำปี

 

16. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถนำรถมาจอด ฟรี!! ที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขา รัชโยธิน, รังสิต,

สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า และ เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย

โดยเตรียมเอกสารดังนี้

1) สำเนาบัตรประชาชน

2) สำเนาทะเบียนรถ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สาขา รัชโยธิน 02 5115427 ต่อ 190-191,

สาขา รังสิต 02 5677047 ต่อ 106-107,

สาขา สุขุมวิท 02 7412897,

สาขา ปิ่นเกล้า 02 4349075,

สาขา งามวงศ์วาน-แคราย 02 5807491

====================================

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 0813724201

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-19 10:12:52 IP : 113.53.76.195


ความคิดเห็นที่ 14 (3267011)

"การสร้างคันกั้นน้ำ ถือเป็นการขัดธรรมชาติของน้ำที่ต้องการแผ่ไปในพื้นที่ที่เคยเป็นแก้มลิง ทำให้ปีนี้น้ำเหนือไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่างเร็วและแรงขึ้นอีกหลายเท่า สิ่งหนึ่งที่สังคมควรเข้าใจหน่วยงานภาค ปฏิบัติ คือ แนวทางการป้องกันน้ำท่วมไม่มีในโลก เห็นได้จากสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ เพราะที่ผ่านมาทุกหน่วยงานได้สร้างนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดไปสำหรับการป้องกัน แต่ท้ายที่สุดเราก็ต้องย้อนกลับมาทบทวนว่า ควรจะเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติของน้ำท่วมได้อย่างไร"


นับเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้วที่น้ำเหนือปะทะน้ำฝนผสม" ซึ่งล่าสุดน้ำทะเลได้เข้ามาหนุนอีกระลอก ทำให้ประชาชนกว่า 59 จังหวัดต้องเผชิญชะตากรรมเป็นผู้ไร้ที่นอน แม้จะเป็นภาพที่ชินตา เพราะถือว่า ไม่ต่างจากปีที่แล้ว จะต่างกันก็แต่เพียงความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยมีความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์ สิน ล่าสุดคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คาดการณ์ว่า อาจมีความเสียหายแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

ข้อมูลจาก "ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย" รายงานว่าแม้ทุกฝ่ายจะระดมการแก้ไขปัญหาอย่างสุดกำลังเกิด แต่สถานการณ์ก็ไม่ยังไม่คลี่คลาย ทว่าสิ่งหนึ่งที่ติดพ่วงมาพร้อมกับน้ำท่วมครั้งนี้ คือการโทษกันไป โทษกันมาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บ้างก็กล่าวโทษว่า การบริหารจัดการข้อมูลไม่มีประสิทธิ ภาพ บ้างก็ว่า การบริหารน้ำฝนไม่เป็นโล้เป็นพาย บ้างก็ว่า คนบริหารน้ำในอ่างเก็บน้ำมือไม่ถึง เป็นต้น

การหาผู้กระทำความผิด ดูเหมือนจะช่องทางที่ง่ายสำหรับการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ โดย รศ.ดร.ชัยยุทธ สุขศรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวพร้อมกับเตือนสติในช่วงที่น้ำกำลังไหลบ่าเข้าทุ่ง กทม.ว่า ความเสียหายและความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจนทำให้ไหลบ่าเช่นนี้ เราไม่ควรโยนความผิดให้คนใดคนหนึ่งและไม่ควรโทษกรมชลประทานหน่วยงานเดียว เพราะการบริหารจัดการน้ำ ไม่ได้มีหน่วยงานเดียวรับผิดชอบ ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ร่วมด้วย

"หากจะโทษก็ต้องตำหนิทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือต้องโทษทั้งระบบ เพราะทุกหน่วย งานต่างมีวิธีบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรที่แตกต่างกัน แต่ไม่ได้นำข้อมูลมารวมกัน ทำให้การบริหารจัดการน้ำแต่ละพื้นที่เป็นไปแบบเหวี่ยงแห"เขา กล่าว

นักวิชาการผู้นี้ ยังกล่าวอีกว่า ความจริงปีนี้น้ำไม่ได้มากเท่ากับปี 2538 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ เพราะปริมาณฝนไม่ได้มากนัก แต่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้น้ำไหลบ่ามากขนาดนี้ เกิดขึ้นจากการบริหารน้ำภายในแต่ละจังหวัด โดยแต่ละพื้นที่เกิดความเห็นแก่ตัว ที่มีวิธีการจำลองการป้องกันน้ำท่วมจากการการบริหารของ กทม.ที่สร้างคันกั้นน้ำขึ้นหลังจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2526 จากนั้นหน่วยงานแต่ละท้องถิ่นก็เริ่มนำงบประมาณที่ได้จากการกระจายอำนาจไปสร้างคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าพื้นที่ โดยไม่ได้บริหารร่วมกับส่วนกลาง เนื่อง จากแต่ละท้องถิ่นมีเงิน มีอำนาจ เป็นของตนเองจึงสร้างสิ่งก่อสร้างเกือบทุกพื้นที่ อีกทั้งการบำรุงรักษาคันกั้นน้ำก็ไม่ได้ประสานงานกัน จึงไม่มีเจ้าภาพหลักในการทำนุบำรุง ดังนั้นหลังน้ำลดควรนำเรื่องนี้มาพิจารณาด้วยว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก

"การสร้างคันกั้นน้ำ ถือเป็นการขัดธรรมชาติของน้ำที่ต้องการแผ่ไปในพื้นที่ที่เคยเป็นแก้มลิง ทำให้ปีนี้น้ำเหนือไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่างเร็วและแรงขึ้นอีกหลายเท่า สิ่งหนึ่งที่สังคมควรเข้าใจหน่วยงานภาค ปฏิบัติ คือ แนวทางการป้องกันน้ำท่วมไม่มีในโลก เห็นได้จากสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ เพราะที่ผ่านมาทุกหน่วยงานได้สร้างนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดไปสำหรับการป้องกัน แต่ท้ายที่สุดเราก็ต้องย้อนกลับมาทบทวนว่า ควรจะเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติของน้ำท่วมได้อย่างไร"รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าว

นักวิชาการด้านแหล่งน้ำ ยังกล่าวอีกว่า อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้น้ำไหลไม่มีทิศทาง คือ การเปลี่ยน แปลงของพื้นที่เพาะปลูกที่เคยเป็นพื้นที่แก้มลิงและพักน้ำ ถูกแปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและที่พักอาศัยของผู้คน เท่ากับว่า ที่ดินถูกเปลี่ยนการใช้งานทำให้ข้อมูลเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงมากในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนที่ ทั้งกรมโยธาธิการ และกรมแผนที่ทหารก็ไม่มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

"เมื่อมีข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาจึงไม่เข้ากับสถานการณ์ ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นนี้ ทุกฝ่ายควรเร่งมือให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่วนคนที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือในแต่ละพื้นที่ควรเก็บข้อมูลของระดับน้ำ การไหลของน้ำ ที่ควรทราบเป็นเบื้องต้นว่า น้ำไหลจากทิศใดไปทิศใดและน้ำกักตัวอยู่ในพื้นที่กี่วัน ทั้งนี้เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และนำไปสู่การแก้ไขเรื่องการจัดการน้ำในอนาคต หากทราบว่า ธรรมชาติของน้ำแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไรเราก็สามารถระบุเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยได้ ซึ่งจะง่ายต่อการเฝ้าระวัง" รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวเสนอแนะ

เขายังกล่าวต่อไปว่า ภายหลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2549 ตนได้ร่วมกับทีมวิจัย รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเสนอต่อหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง โดยทีมวิจัยฯ มองว่า เราไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติ แต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการอยู่กับน้ำท่วม ซึ่งได้เสนอข้อมูลทั้งระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ รวมถึงการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน อาทิ ปฏิทินการเพาะปลูก การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่หลังน้ำท่วม เกณฑ์การปล่อยน้ำ การระบายน้ำจากพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น แต่หน่วยงานดังกล่าวอาจจะขาดการนำเสนอต่อรัฐบาลที่เข้ามาใหม่จึงทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างไม่ทันท่วงที

"หลังจากน้ำลด ผมจึงเสนอว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรลดทิฐิ แล้วมาระดมสมองด้วยการนำบทเรียนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในช่วงปีที่ผ่านๆ มา นำมาวิเคราะห์ถึงปัจจัย สาเหตุ รวมถึงการบริหารจัดการร่วมกันเสียที เนื่องจากการแก้ไขปัญหาตอนนี้ ทุกหน่วยงานต่างระดมแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ แต่ไม่ตรงจุด เพราะเป็นไปแบบเหวี่ยงแห ไม่มีคนรวบรวมข้อมูลแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ซึ่งผมเสนอว่า รัฐบาลควรมอบหมายให้หน่วยงานทางวิชาการไปเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อสรุปบทเรียนและหาทางป้องกัน เพราะข้อมูลที่มีอยู่อาจไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน"นักวิชาการผู้นี้ กล่าว

ทั้งนี้เขามองว่า หากไม่สรุปบทเรียน ในอนาคตรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาอาจจะมีวิธีการป้องกันน้ำท่วม ด้วยการขุดลอกคูคลองและทุ่มงบประมาณแสนๆ ล้านเพื่อสร้างเขื่อน สร้างคันกั้นน้ำที่เป็นแนวทางป้องกันที่ไม่ยั่งยืนอีก โดยเรื่องนี้สามารถพิสูจน์ได้จากเหตุการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ที่กรมโยธาธิการได้นำเสนอแผนงานการป้องกันน้ำท่วมให้กับทางจังหวัดเมื่อปี 2553 ทว่าแผนงานดังกล่าวไม่อาจป้องกันน้ำท่วมได้ เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลเข้าพื้นที่มากกว่าที่วางแผน คันกั้นน้ำที่สร้างขึ้นและแผนงานที่นำเสนอสำหรับปีที่แล้วจึงไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นเราจึงควรสรุปบทเรียนและรีบหาแนวทางใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้

การบริหารจัดการน้ำที่คลาดเคลื่อนจนทำให้น้ำไหลบ่านี้มีนักวิชาการหลายคนที่เห็นไม่ต่างกัน ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มองเช่นนั้น แต่เขายังมองไกลไปถึงการเตรียมรับมือกับมรสุมลูกใหม่ที่จะโหมกระหน่ำอีกลูกในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยเขาให้เหตุผลว่า ปีนี้พื้นที่ประเทศไทยยังคงอยู่ในช่วงมรสุมลานินญ่า ที่เข้ามาตั้งแต่ปีที่แล้วและขณะนี้ก็ยังคงอยู่ ซึ่งอิทธิพลพายุลูกนี้ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์น้ำท่วมที่ออสเตรเลียและประเทศใกล้เคียง

"ภูมิอากาศแบบลานินญ่าจะทำให้พายุพัดเข้าในพื้นที่ภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะพื้นที่ จ.สงขลา จ.สุราษฎร์ธานีและพื้นที่ตลอดแนวภาคใต้ได้รับอิทธิพลมรสุมลูกนี้ โดยเกรงว่าอาจจะมีความน่ากลัวเทียบเท่าพายุไต้ฝุ่นเกย์ที่เคยพัดเข้าแหลมตะลุมพุกเมื่อปี 2532 จนส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตกว่า 1 พันราย ดังนั้นในระยะสั้นนี้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเริ่มวางแผนเตรียมรับมือกับพายุลูกดังกล่าวอย่างใกล้ชิด อีกทั้งต้องดูว่า อิทธิพลของลมหนาวจะพัดเข้ามาในช่วงเดียวกันนี้หรือไม่ เพราะหากมีอิทธิพลดังกล่าวเข้ามาพร้อมกับการเตรียมการที่ดีก็จะลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้" ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ถือเป็นคมความคิดของนักวางแผนที่นำเสนอข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ที่หน่วยงานปฏิบัติควรนำไปเทียบเคียงกับข้อมูลที่มีอยู่เดิมอย่างมีสติ ดีกว่า การหาพระเอกและผู้ร้ายในความทุกข์โศกของประเทศในครั้งนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-20 15:21:14 IP : 113.53.65.10


ความคิดเห็นที่ 15 (3267086)

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เป็นเจ้าภาพหลักรับผิดชอบบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสิงห์บุรี นนทบุรี และปทุมธานี ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในเบื้องต้น สอศ.ได้เปิดศูนย์รับผู้ประสบภัยไปแล้วจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดปทุมธานี ที่ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร ต.บางพูน จ.ปทุมธานี และสถานศึกษาเครือข่าย รับผู้ประสบภัยได้ทั้งสิ้น 8,800 คน ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดนนทบุรี ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนนทบุรี จ.นนทบุรี และสถานศึกษาเครือข่าย รับผู้ประสบภัยได้ทั้งสิ้น 5,300 คน และศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดสิงห์บุรี ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี รับผู้ประสบภัยได้ทั้งสิ้น 100 คน ซึ่งทั้ง 3 ศูนย์ ยังมีที่ว่างรองรับผู้ประสบภัยได้อีกจำนวนหนึ่ง

  นอกจากนี้ ยังได้สั่งการด่วนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดเป็น ศูนย์พักพิงเพิ่มเติมอีก 58 แห่ง ซึ่งจะรองรับผู้เข้าพักได้อีก 17,000 คน โดยผู้ประสบภัยสามารถติดต่อขอเข้าพักได้ที่โทรศัพท์สายด่วนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 1156 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่สถานศึกษาที่เปิดเป็นศูนย์พักพิงซึ่งประกอบด้วย

จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา (200 คน)  
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา (150 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา (200 คน) 
วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา (200 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง (250 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม (150 คน)
วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) (500 คน) 

จังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม (100 คน) 
วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรสงคราม (300 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา (200 คน)

จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร (50 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว (30 คน) 
วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร (400 คน)

จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่
วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ (100 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ (50 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนภิเษกสมุทรปราการ (500 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ (500 คน) 

จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่
วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง (100 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี (100 คน) 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี (50 คน) 
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี (100 คน) 
วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหารแจ่มใส (100 คน) 

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา (300 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพมหาราช (400 คน) 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา (100 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพเสนา (360 คน) 
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา (30 คน)
วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์  (600 คน) 

กรุงเทพมหานคร ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี (200 คน)
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร (200 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม (500 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง (400 คน) 
วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย (100 คน) 
วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี (500 คน) 
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน  วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ (100 คน) 
วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี (100 คน)
วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง (100 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก (1,000 คน) 
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ (1,000 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคดุสิต (100 คน) 
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ (300 คน) 
กาญจนภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง (100 คน) 

จังหวัดนครปฐม ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม (120 คน)
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม (200 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม (50 คน) 
วิทยาลัยสารพัดช่างนครปฐม (50 คน)
วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า (200 คน)
วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล (300 คน) 

จังหวัดราชบุรี ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี (150 คน) 
วิทยาลัยเทคนิคราชบุรีแห่งที่ 2 (500 คน)
วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม (400 คน)
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี (400 คน) 
วิทยาลัยการอาชีพปากท่อ (100 คน)
วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง (500 คน)
วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี (200 คน) 

จังหวัดนนทบุรี ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี (300 คน)

จังหวัดปทุมธานี ได้แก่
วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี (200 คน)

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-21 16:28:06 IP : 125.26.28.132


ความคิดเห็นที่ 16 (3267179)

รวยเท่าไหร่ไม่ยอมควัก

สักวา รวยเท่าไหร่ ไม่ยอมควัก
ยิ่งพวกนักการเมือง เปลืองภาษี
ชอบคุยโว โม้มาก แถมปากดี
กลุ่มเศรษฐี มีมัก ควักไม่เป็น
เอาแต่เงินส่วนกลาง บ้างประกาศ
ใช้ช่วยชาติ ช่วยชน คนทุกข์เข็ญ
กินมากมาย จ่ายลำบาก แสนยากเย็น
ไม่เคยเห็น ควักเงินตัว มั่วจริงเอย

"นายยากจน"

อายแทน

สักวาถ้าญาติตัวข้ามหัวเขา
ถ่อข้ามเสากี่เปลาะก็เหมาะสม
ดันขี้ข้ามานั่งคุมทั้งกรม
ก็กล้าถ่มว่าสุดจะยุติธรรม
องค์กรไหนไร้คนของตนแทรก
ไม่อาจแหวกเข้าไปบี้ขยี้ขยำ
ก็กล่าวหาว่าเล่นไม่เป็นธรรม
แต่ละคำลมผายไม่อายเอย

"แม่อายสะอึก"

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-22 09:24:24 IP : 113.53.74.84


ความคิดเห็นที่ 17 (3267181)

...................กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.) รายงานว่า ทาง บช.น.อยู่ระหว่างเฝ้าระวังพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกทั้ง 4 เขต ได้แก่ เขตคลองสามวา เขตหนองจอก เขตมีนบุรี และเขตลาดกระบัง ส่วนพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดน้ำท่วมขังสูง 1-2 เมตร มี 6 เขต คือ เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา และเขตสาทร เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ

          ทั้งนี้ บช.น.คาดการณ์ว่าในพื้นที่ฝั่งธนบุรีมีแนวโน้มที่จะเกิดน้ำท่วมขัง 17 จุด คือ ตลิ่งชัน อรุณอัมรินทร์ บางพลัด บางขุนนนท์ บางขุนศรี จอมทอง บางปะกอกใน ราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน บอกกอกใหญ่ บางกอกน้อย ธนบุรี บางแวกใน ภาษีเจริญ หลักสอง บางแค บางแคเหนือ และบางบอน

          ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในที่มีความเสี่ยงว่าจะโดนน้ำท่วม(ที่เกิดจากฝนตก) มี 16 จุดด้วยกัน คือ

       1. เขตสาทร ย่านถนนจันทร์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์

       2. เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ

       3. เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล

       4. เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49

       5. เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์

       6. เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง

       7. เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน

       8. เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว

       9. เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี

       10.เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน

       11.เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน

       12.เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง)

       13.เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่-ซอยศรีบำเพ็ญ1

       14.เขตประเวศ ถนนศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง

       15.เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาราช

       16.เขตดอนเมือง ประกอบด้วยแขวงทุ่งสองห้อง แขวงทุ่งสีกัน แขวงดอนเมือง

วันที่ 21/10/2011

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-22 09:47:56 IP : 113.53.74.84


ความคิดเห็นที่ 18 (3267197)

บทเรียน 14 ข้อเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

1 พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาน้ำที่ท่วม เป็นที่ประจักษ์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีว่า ปัญญาและ Wisdom ของพระองค์ท่านจะช่วยประเทศได้ถ้านักการเมืองน้อมนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะเป็นแสงสว่างได้

2 ประเทศไทยชอบแก้ปัญหาระยะสั้น ผมเคยพูดเสมอว่า นักการเมืองมองแค่กรรมาธิการงบประมาณว่า ฉันหรือจังหวัดฉันได้เท่าไหร่? แต่ไม่เคยวางแผนระยะยาว ไม่แน่ใจว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเปลี่ยนพฤติกรรมของนักการเมืองได้หรือไม่?

3 การทำงานในยุคต่อไปนี้ต้องมีการทำงานเป็นทีม

* ทีมแรกคือ ระหว่างกระทรวงด้วยกัน ซึ่งก็ยากมากในประเทศไทย

* ต่อมาคือ ทีมรัฐบาลกับทีม กทม.

* ทีมต่อมาก็คือ รัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล

* ทีมสุดท้ายก็คือ รัฐบาลกับภาคประชาชน

4 ครั้งนี้พลังประชาชน ช่วยได้มากกว่าพลังนักการเมือง ซึ่งส่วนมากจะเน้นการออกข่าวถ่ายรูปลงหนังสือพิมพ์ แต่ความสามัคคีของประชาชนสูงมากกว่าการรอพลังของนักการเมือง หวังว่าการรวมพลังครั้งนี้นี้จะช่วยประเทศในหลายด้าน นอกจากเรื่องน้ำท่วม

* การศึกษา

* การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น

5 ศาสตร์และศิลป์ที่สำคัญในการสื่อสารเชิงนวัตกรรม (Communication) นับว่ามากเพราะนายกฯยิ่งลักษณ์ไม่มีบารมีพอที่จะเป็นผู้นำ จึงมีตัวละครหลายคนช่วยเสริม แต่กลับสร้างความล้มเหลวในการออกข่าวสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้คนไทย ซึ่งมีแต่ทางลบมากกว่าทางบวก

การแก้ปัญหาครั้งนี้ขาดจุดศูนย์รวมในการให้ข่าว โดยปกติน่าจะเป็นนายกฯ แต่ท่านได้แต่อ่าน รู้ไม่จริงและขาดประสบการณ์ เลยมีตัวแทนที่ออกข่าวแทน ซึ่งไม่ชัดเจนว่าประชาชนจะฟังใคร? เช่น

* ผู้ว่าฯ กทม. (ซึ่งทำได้ดีพอควร)

* รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

* คุณปลอดประสพ สุรัสวดี สื่อแซวว่าเป็นคนปลอดประสบการณ์

* พลตํารวจเอกประชา พรหมนอก ซึ่งไม่เก่งเรื่องสื่อสาร แต่ก็มีประสบการณ์มากพอควร





6 วางแผนให้ดีว่า หลังน้ำลดแล้วจะมีนโนบายอะไรที่เด่นชัด

* นโยบายแรกคือ ใช้โอกาสสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ปลูกข้าวนาปรังในระหว่างที่น้ำลด

* อย่างน้อย อย่าให้ภัยแล้งมาสร้างปัญหาเร็วเกินไป

* จะดูแลความมั่นใจของผู้ลงทุนต่างประเทศอย่างไร โดยเฉพาะญี่ปุ่น

* ฟื้นฟูจิตใจของคนไทยที่ถูกกระทบ

7 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมีหลายด้านรุนแรงมากใครจะดูแล

* จุดแรกคือ อัตรา GDP จะลดไปเท่าไหร่

* ปัญหาการว่างงานชั่วคราว 3 - 4 เดือน

* ต่อมาคือ งบประมาณ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแถลงแล้วว่า ปี 2512 จะขาดดุล 400,000 ล้าน ซึ่งผมเขียนเตือนแล้วว่า อย่าขาดดุลงบประมาณเกินรัฐบาลอภิสิทธิ์ เคยกำหนดว่า 350,000 ล้าน ซึ่งอันตรายเพราะจะทำให้ การคลังขาดเสถียรภาพในระยะกลางและระยะยาว

8 จะฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมอย่างไร น่าคิดว่าทำไมนิคมอุตสาหกรรมตั้งในที่ลุ่มส่วนใหญ่ อาจจะมองจากปัจจัยโลจิสติกส์ คือใกล้สนามบินดอนเมือง และวิธีการวางแผนมีแต่สร้างเขื่อนป้องกันน้ำ ไม่ได้ถมที่ให้สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่ำ แต่ไม่ได้บริหารความเสี่ยงในอนาคต

9 นักการเมืองต้องไม่ฉกฉวยโอกาสเพื่อผลงานระยะสั้น บางคนก็อยากดัง อยากแสดง เพื่อไม่ให้ตกกระแส คนไทยต้องแยกแยะให้ออกว่า ใครทำอะไร อย่างไร ทำแล้วคนไทยได้ประโยชน์หรือไม่?

10 สื่ออาชีพออกข่าวมากทุกช่อง ทุกจุด แต่วิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์ต่อคนไทยหรือเปล่า? บริโภคสื่อมากไปจะสร้างความเครียดได้ในระยะยาว

11 ถึงเวลาที่จะเรียนรู้จาก ประสบการณ์ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเนเธอร์แลนด์ หรือจีน ต้องมีนโยบายที่จะปรึกษาหาประสบการณ์จากประเทศที่มีปัญหาน้ำท่วม

12 เป็นการเตือนให้เยาวชนไทยที่จะเติบโตภายภาคหน้าได้มีโอกาสเรียนและมีอาชีพต่างๆ เพื่อมีงานทำที่มีคุณค่าในการสร้างความมั่นคงให้ประเทศ เช่น

* วิศวะแหล่งน้ำ

* สิ่งแวดล้อม

* ภาวะโรคร้อน

* เรื่อง ภาวะอากาศต่างๆ

13 มหาวิทยาลัยที่น่ายกย่องคราวนี้ก็คือ มหาวิทยาลัยที่มีนักวิชาการที่รู้เรื่องแหล่งน้ำ วิศวกรรมแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ ที่ปิดทองหลังพระ ทำงานวิจัยอย่างมีคุณค่า สังคมไทยต้องยกย่องบุคคลเหล่านั้น

14 ข้อมูลดีๆ ที่มา

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-22 13:47:00 IP : 113.53.74.84


ความคิดเห็นที่ 19 (3267198)

14 ข้อมูลดีๆ ที่มาจากที่บริษัทที่ปรึกษา (Consultants) ที่ทำงานด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ การวางแผนเมืองและสามารถให้ข้อมูลที่มีคุณค่าต่อสังคมอย่างครบถ้วนและรอบด้าน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นบทเรียนที่ผมขอฝากให้ผู้อ่านเพื่อเรียนรู้จากบทเรียนราคาแพงครั้งนี้และหวังว่าจะไม่เกิดอีก

สังคมไทยต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เราต้องสร้างสังคมการเรียนรู้ เพื่ออยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช่สังคมจอมปลอม ซึ่งคนไม่รู้ออกความเห็น คนรู้ไม่ได้มีบทบาท อย่าให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ อวิชา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
dr.chira@hotmail.com
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-22 13:48:24 IP : 113.53.74.84


ความคิดเห็นที่ 20 (3267351)

 

เมื่อเวลา 23.30 น.วันนี้(23 ต.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตรผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ผู้ว่าฯ กทม.) ได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนฉบับที่ 4 ระบุว่า ขอแจ้งประชาชนพื้นที่ตอนเหนือของกทม.ที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำเหนือบริเวณรังสิต-ปทุมธานีที่ไหลบ่าเข้า กทม.
          “ขอให้ประชาชนเขตดอนเมือง หลักสี่ บางเขน จตุจักร บางซื่อ และสายไหมขนย้ายสิ่งของทรัพย์สินมีค่า และรถยนต์ขึ้นที่สูง และย้ายไปยังศูนย์พักพิงของ กทม.โดยขอให้ย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา เป็นลำดับแรก และขอให้ประชาชน หน่วยงานภาครัฐในเขตกทม.เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์จาก กทม.อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ขอย้ำว่าไม่ได้สั่งให้อพยพภายใน 24 ชั่วโมง แต่ให้เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
          ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวอีกว่า กทม.ได้ประสานกับกระทรวงต่างประเทศให้สถานเอกอัครราชทูตในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงแล้วพร้อมมีข่าวสารแถลงการณ์เป็นภาษาอังกฤษแล้ว โดยยอมรับว่ากทม.เข้าสู่สถานการณ์วิกฤติแล้ว แต่ขอย้ำว่าไม่ได้สั่งให้อพยพภายใน 24 ชั่วโมงและอย่าได้ตื่นตระหนก แต่ขอให้ติดตามสถานการณ์จาก กทม.อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
          ในส่วนของพื้นที่ที่มีปัญหาขณะนี้ คือ บริเวณจุดกลับรถใต้สะพานรังสิตซึ่งกทม.ได้เข้าไปทำการเสริมกระสอบทราย รวมถึงแก้ไขปัญหาสถานการณ์ให้ดีขึ้นแต่เมื่อวานนี้ ปรากฏว่ามีประชาชนคัดค้านการเข้าไปทำหน้าที่ของกทม.อีกทั้งอาจมีการใช้ความรุนแรงกับผู้ปฏิบัติงานจึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่ทันทีส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่จนถึงอนุสรณ์สถานแล้ว
         
          “สถานการณ์ตอนนี้อาจนำไปสู่ขั้นวิกฤติถ้าวิกฤติผมจะเป็นคนแรกที่แจ้งประชาชน โดยสาเหตุของปัญหาคือ ถ.วิภาวดี และพหลโยธินที่มีน้ำทะลักออกมา ซึ่งเป็นพื้นที่ของ จ.ปทุมธานี และได้เตือนไปแล้ว ผู้ว่าฯกทม. กล่าว
 
***********************
พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ
สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล
2410540803
ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-24 08:04:25 IP : 125.26.17.128


ความคิดเห็นที่ 21 (3267357)

นครสวรรค์:นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีแจกเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยมีนายวินัย สิทธิมณฑล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พันเอกศิรวิชญ์ นาคทอง รอง ผอ.กอ.รมน.นครสวรรค์ และนายกเหล่ากาชาดนครสวรรค์ ร่วมมอบเงินให้แต่ละครัวเรือน จำนวน 500 บาทรวมทั้งสิ้น 159 ครัวเรือน

โดยสถานการณ์น้ำของ จ.นครสวรรค์ ขณะนี้กำลังเร่งสูบน้ำระบายออกจากตัวเมืองและศูนย์ราชการตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีเครื่องสูบน้ำกว่า 700 เครื่อง ทั้งเครื่องสูบน้ำแรงดันสูงใต้ดินเครื่องสูบน้ำที่ใช้ในการทำนา และเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทาน ซึ่งในขณะนี้น้ำในแม่น้ำมีระดับสูงกว่าน้ำในตลาดปากน้ำโพประมาณ 1 เมตร

โดยทางจังหวัดได้ขอร้องให้ประชาชนช่วยกันดูแลคันกั้นน้ำ เพราะหากคันกั้นน้ำพังน้ำก็จะท่วมอีก ส่วนการจราจรสามารถเปิดการจราจรบนถนนพหลโยธินได้แล้ว แต่ยังต้องวิ่งสวนทางกัน เนื่องจากอีก 1 เส้นทางยังต้องใช้เป็นคันกั้นน้ำ ส่วนถนนสายอื่นๆ เริ่มใช้ได้บ้างแล้ว ซึ่งงานที่จะต้องทำต่อไปคือการกู้ถนนสายนครสวรรค์-พิษณุโลก กู้ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ตอนบ้านกลางแดด-บ้านหนองตะโก เพื่อให้สามารถใช้สัญจรได้ตามปกติ เพื่อแก้ปัญหาความแออัดทางการจราจร ด้านการเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยทางจังหวัดจะประชุมแต่งตั้งคณะทำงานให้เข้าไปช่วยเหลือดูแลต่อไป

***********************

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

E-mail : sirimajor@gmail.com

2410540952

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-24 09:52:27 IP : 125.26.17.128


ความคิดเห็นที่ 22 (3267379)

“รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” ฟันธง!!!ต้องอยู่กับน้ำท่วมอีก1เดือน เตือนอาจท่วมไกลถึงอนุสาวรีย์ชัยฯ

          เมื่อเวลาประมาณ 15.40 น. วันนี้(24 ต.ค.) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันว่า ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงจะต้องอยู่กับน้ำท่วมนี้ไปอีก 1 เดือน เพราะปริมาณมวลน้ำตอนบนมีกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับเขื่อนภูมิพล 1 อ่าง
 

          “ในส่วนของพื้นที่ดอนเมืองต้องท่วมแน่นอน โดยเฉพาะที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ที่ดอนเมือง จะมีน้ำท่วมประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนที่ขณะนี้ยังไม่ท่วมเพราะน้ำอาจจะไปเจอถนนที่สูงกว่า จึงยังไม่ท่วม และมีความเป็นไปได้ที่น้ำอาจจะไปถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แต่เนื่องจากมีคลองกั้นอยู่หลายคลองจะช่วยได้บ้าง” รศ.ดร.เสรี กล่าว
 

          สำหรับปริมาณน้ำที่จะไหลไปทางฝั่งตะวันออก คาดว่าจะทำให้พื้นที่แถวมีนบุรี ลาดกระบัง น้ำจะเพิ่มอย่างน้อย 80เซนติเมตร เพราะขณะนี้มวลน้ำจากรังสิต-องครักษ์กำลังไหลไปแล้ว จะทำให้พื้นที่ย่านสายไหมมีน้ำท่วมภายใน 5 วันนี้ หลังจากนั้นมวลน้ำจะไหลไปทางคลองหกวา เขตสายไหม จะไปคลองแสนแสบ คลองสามวา หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง ประเวศน์ ออกไปทางสำโรงภายใน 10 วัน
 

          "จะมีเวลา 10-15วัน เป็นทางผ่านไปลงสมุทรปราการ เพราะช่วงสมุทรปราการมีอาคาร มีสิ่งก่อส้รางเยอะ ส่วนพื้นที่ย่านนนทบุรี ปทุมธานี ปริมาณน้ำจะไม่เพิ่มไปกว่านี้ แต่จะขึ้นๆลงๆตามน้ำขึ้นน้ำลง ขณะที่นครสวรรค์ อุทัยธานีน้ำลดลงแล้ว แต่ลพบุรี อยุธยา น้ำยังทรงตัว เพราะน้ำลงมาที่กรุงเทพฯไม่ได้” รศ.ดร.เสรี กล่าว

วันที่ 24/10/2011
 

***********************

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

E-mail : sirimajor@gmail.com

2410541922

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-24 19:22:39 IP : 125.26.17.128


ความคิดเห็นที่ 23 (3267454)

วันนี้(24 ต.ค.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใน 13 เขต 27 ชุมชนที่อยู่นอกแนวเขื่อน และยังไม่ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในศูนย์พักพิง ขอให้พิจารณาอีกครั้งเพื่อความปลอดภัย ส่วนผู้ที่อยู่ในแนวควรเพิ่มการเฝ้าระวัง หากไม่แน่ใจควรจะย้ายไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในวันนี้มีความสูงถึง 2.3 เมตร

 

          ทั้งนี้ พื้นที่ริมเจ้าพระยาทั้ง 27 ชุมชน ประกอบด้วย

 

+ เขตธนบุรี 1 ชุมชน คือ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่

+ เขตคลองสาน 1 ชุมชน คือ ชุมชนเจริญนคร ซอย 29/2

+ เขตราษฎร์บูรณะ 1 ชุมชน คือ ชุมชนดาวคะนอง

+ เขตทวีวัฒนา มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนวัดปรุณาวาส

+ เขตบางซื่อ มี 2 ชุมชน คือ ชุมชนพระราม 6 และชุมชนปากคลองบางเขนใหม่

+ เขตดุสิต 5 ชุมชน คือ ชุมชนท่าเขียวไข่กา ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ ชุมชนซอยสีคาม ชุมชนปลายซอยมิตรคาม และชุมชนวัดเทวราชกุญชรฯ

+ เขตยานนาวา มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนโรงสี

+ เขตคลองเตย 1 ชุมชน คือ ชุมชนสวนไทรริมคลองพระโขนง

+ เขตบางพลัด 1 ชุมชน คือ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว

+ เขตบางกอกน้อย 4 ชุมชน คือ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนตรอกวังหลัง และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่

+ เขตพระนคร 3 ชุมชน คือ ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน

+ เขตสัมพันธวงศ์ มี 2 ชุมชน คือ ชุมชนวัดปทุมคงคา และชุมชนตลาดน้อย

+ เขตบางคอแหลม มี 4 ชุมชน คือ ชุมชนวัดบางโคล่นอก ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ และชุมชนหลัง ร.พ.เจริญกรุงประชารักษ์ ………. วันที่ 25/10/2011

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-25 14:36:11 IP : 113.53.77.71


ความคิดเห็นที่ 24 (3267477)

ผู้สื่อข่าว “แนวหน้า” รายงานสภาพน้ำท่วมบริเวณ ถ.พหลโยธิน ช่วงหน้าโรงเรียนนายเรืออากาศ พบว่า เมื่อเวลาประมาณ 18.00-18.30 น.

วันนี้(25 ต.ค.) ปริมาณน้ำได้ท่วมขยายวงไปเรื่อยๆบางพื้นที่สูงเกินกว่า 50 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณโรงพยาบาลภูมิพลฯ มีน้ำจากท่อระบายน้ำเอ่อท่วมถนนบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาล และลานจอดรถแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-25 21:44:57 IP : 113.53.72.217


ความคิดเห็นที่ 25 (3267529)

 น้ำเริ่มเอ่อตลาดรุ่งเจริญ, ปิดถนนหน้าฐานทัพอากาศ หลังรถเล็กสัญจรไม่ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจากบริเวณตลาดรุ่งเจริญ หรือ ตลาดสะพานใหม่ ว่า ได้มีน้ำจากท่อระบายน้ำและคลอง เริ่มเอ่อล้นเข้ามาท่วมในแยกย่อยต่างๆ ที่มีระดับต่ำ เช่น ซอยตลาดไทยณรงค์ รวมไปถึงบริเวณบิ๊กคิงส์ สาขาสะพานใหม่ ขณะเดียวกันอาคารพาณิชย์และร้านค้าต่างๆ ได้ก่ออิฐบล็อกและวางกั้นกระสอบทรายอย่างหนาแน่น

     ส่วนถนนบริเวณที่จะมุ่งหน้าสู่รังสิต หน้าฐานทัพอากาศ มีน้ำท่วม 50-60 เซนติเมตร มีการปิดเส้นทางการจราจรแล้ว เนื่องจากรถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้  อย่างไรก็ตามมีบริการรถ ขสมก. ไปส่งประชาชนซึ่งจะสิ้นสุดระยะที่โรงเรียนฤทธิยวรรณาลัย จากนั้นจะมีรถทหารมารับต่อไปที่รังสิต

26 ต.ค.54

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-26 11:25:26 IP : 113.53.73.149


ความคิดเห็นที่ 26 (3267537)

 เมื่อเวลา 00.20 น.วันนี้(26 ต.ค.) ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ว่า สถานการณ์น้ำทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร(กทม.) บริเวณ ถ.วิภาวดีรังสิต การสร้างคันกั้นน้ำที่ถนนไม่ได้ช่วยอะไรเลย การสร้างคันกั้นเพื่อต้องการให้ถนนแห้ง แต่ถนนก็ยังเปียกเหมือนเดิม ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นด้วย การสร้างคันกั้นน้ำจะทำให้น้ำเอ่อเหนือคัน น้ำจะอ้อมเข้า ถ.วิภาวดี อยู่ดี อยากแนะนำให้ปล่อยน้ำไหลไปตามถนน 

          “ประกอบกับขณะนี้น้ำเหนือกำลังมา ตอนนี้เข้าเขตดอนเมือง ถ้ากั้นถนน น้ำจะสูงขึ้น ประชาชนต้องเตรียมรับสถานการณ์ ระดับน้ำท่วมจะสูงประมาณ 50 เซนติเมตร คาดว่าเขตดอนเมืองน้ำจะท่วมเต็มภายในอีก 2 วัน โดยน้ำจะมาที่เขตหลักสี่ในวันนี้ หลังจากนั้นจะไหลเข้าเขตบางเขนต่อไป ส่วนที่เขตสายไหม วันนี้จะท่วมเต็มพื้นที่ดร.เสรี กล่าว

          ส่วนสถานการณ์น้ำที่ฝั่งตะวันตกของ กทม. หลังจากเขื่อนกั้นน้ำที่บางพลัดพังลง ทำให้มีน้ำล้นเข้าพื้นที่บางพลัดตอนนี้หนักมาก คาดว่าน้ำจะใช้เวลา 1- 2 วัน จะท่วมเขตบางพลัดทั้งหมด ระดับน้ำจะสูง 50 เซนติเมตร จากนั้นน้ำจะไหลไปที่เขตบางกอกน้อย หลังจากนั้นไปที่เขตภาษีเจริญ ให้ประชาชนเตรียมรับสถานการณ์ ขนของขึ้นที่สูงเกิน 1 เมตร

          สำหรับน้ำจาก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ขณะนี้ท่วมเต็ม อ.ลาดหลุมแก้ว และ อ.บางบัวทอง กำลังไหลลงมาข้ามคันคลองมหาสวัสดิ์แล้ว น้ำส่วนหนึ่งจะไหลลงคลองประปา และลงคลองนราภิรมย์ หรือคลองทวีวัฒนา ถ้าน้ำล้นคลองนราภิรมย์ น้ำทุกส่วนจะไหลลงคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งมีปริมาณน้ำมามากต้องสูบลงแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ศักยภาพในการสูบน้ำไม่ทันกับปริมาณน้ำที่มาก ทำให้น้ำจะไหลเร็วมาก ประชาชนบริเวณใกล้เคียงควรพิจารณาอพยพ คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน คลองมหาสวัสดิ์จะเริ่มมีปัญหา
      
 

วันที่ 26/10/2011

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-26 11:43:46 IP : 113.53.73.149


ความคิดเห็นที่ 27 (3267795)

คลองมหาสวัสดิ์ทะลักท่วมตลิ่งชันน้ำสูงถึงคอ การสัญจรถูกตัดขาด

 

วันนี้(29 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เขตตลิ่งชัน ว่า ย่านถนนสวนผักบริเวณใต้สะพานข้ามแยกสวนผัก-ราชพฤกษ์ ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายหลังน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ทะลักล้นแนวกั้นน้ำออกมาจากซอยสวนผัก 20 และสวนผัก 22 ส่งผลให้น้ำไหลท่วมถนนสองข้างทางตลอดเวลา แม้จะมีการนำกระสอบทรายมาทำแนวคันกั้นน้ำเป็นทางยาวสูงประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ไม่สามารถต้านทานได้ บ้านเรือนประชาชนในซอยสวนผักฝั่งเลขคู่เกือบตลอดแนว ชาวบ้านไม่สามารถเดินลุยน้ำออกมาได้เพราะน้ำสูงระดับคอ

          นอกจากพื้นที่ย่านดังกล่าวยังแทบจะถูกตัดขาด เพราะรถไม่สามารถวิ่งผ่านไปยังวงเวียนพระราม 5 และถนนรัตนาธิเบศร์ ได้ จึงจำเป็นต้องปิดการจราจรในพื้นที่แล้ว

=================================

Maj.sirichai  Sapsiri

APDI.

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-29 20:03:29 IP : 125.26.29.243


ความคิดเห็นที่ 28 (3267796)

ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ได้เผยแพร่คำแนะนำการปฏิบัติในการอพยพไปศูนย์พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้ประสบอุทกภัยในกรุงเทพมหานคร(กทม.) ดังนี้

คำแนะนำการปฏิบัติในการอพยพไปศูนย์พักพิงชั่วคราว

1.การจัดเตรียมสัมภาระติดตัวที่จำเป็นไว้ให้พร้อมเดินทางไปศูนย์พักพิงชั่วคราว

1.1 บัตรประชาชนหรือเอกสารแสดงตน เพื่อนำไปใช้ลงทะเบียน เมื่อเดินทางไปถึงศูนย์พักพิงชั่วคราว

1.2 ยารักษาโรคประจำตัว และจดบันทึกชื่อยาไว้ เพื่อแจ้งให้แพทย์ประจำศูนย์พักพิงชั่วคราวทราบ

1.3 ไฟฉายขนาดเล็กพร้อมถ่านไฟฉาย เพื่อใช้นำทางในเวลากลางคืนไปยังจุดนัดพบขั้นต้น หรือใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (ใช้สัญญาณนกหวีดแทนได้)

1.4 กรณีผู้ประสบอุทกภัยต้องการอยู่อาศัยที่เดิม ให้ส่งแผนผังแสดงที่พักอาศัย รายชื่อ อายุ จำนวน และ หมายเลขโทรศัพท์ ฝากไว้กับ หัวหน้าชุมชนหรือหัวหน้ากลุ่ม เพื่อสะดวกในการเข้ามาช่วยเหลือในภายหลัง

1.5 หากมีเด็ก หรือคนชรา เดินทางร่วมไปด้วย ควรเตรียมน้ำดื่ม และขนมคบเคี้ยวไว้แก้หิว เพราะต้องเดินทางไกลพอสมควร

1.6 สิ่งของที่จะเสียหายเมื่อถูกน้ำให้ใส่ไว้ในถุงพลาสติกแล้วรัดยางป้องกันน้ำเข้า

1.7 สิ่งของทั้งหมดควรบรรจุไว้ในกระเป๋าสะพายหรือภาชนะที่สามารถถือไปโดยง่าย

          2.การเดินทางไปยังจุดนัดพบขั้นต้น

2.1 กำหนดชื่อกลุ่ม ให้เรียกได้ง่าย เพื่อให้รู้กันเองในกลุ่ม

2.2 กำหนด หัวหน้ากลุ่ม ซึ่งควรเป็นคนแข็งแรงที่สุดในกลุ่มหรือไม่มีภาระที่ต้องดูแลเด็กหรือคนชรา และควรอยู่ใกล้จุดนัดพบขั้นต้น เพราะต้องเป็นคนคอยดูแล ผู้ประสบอุทกภัยในกลุ่มของตน เพิ่มภาระจากการที่ต้องดูแลตนเองและครอบครัว

2.3 หัวหน้ากลุ่มต้องจัดทำบัญชีรายชื่อของผู้ที่ต้องการอพยพและผู้ที่ต้องการอยู่ ที่เดิม รวมทั้งผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ไว้ตั้งแต่บัดนี้ จำนวนอย่างน้อย 4 ชุด แล้วนำไปใช้ตรวจสอบความถูกต้องในขั้นการซักซ้อม

2.4 ให้กำหนดผู้แจ้งเหตุ ที่ควรเป็นผู้มีสุขภาพดี และอยู่ย่านกลางของชุมชน เพื่อให้สัญญาณแจ้งการเริ่มต้นอพยพ เช่น ตีระฆัง ตีกลองหรือออกเสียงตามสาย เป็นต้น

2.5 ให้ทุกคนในกลุ่มติดตามข่าวสารทางสื่อ เมื่อคนใดทราบข่าวการแจ้งให้อพยพก็ให้รีบแจ้งให้ผู้แจ้งเหตุเพื่อให้สัญญาณอพยพต่อไป

2.6 หัวหน้ากลุ่มควรมีนกหวีดเพื่อใช้เป่าสัญญาณให้คนในกลุ่มทราบที่ตั้งของจุดนัดพบขั้นต้น หรือใช้บอกเหตุ

2.7 ผู้ประสบอุทกภัยในกลุ่ม หากต้องการอยู่ที่เดิม ให้ส่งข้อมูล ในข้อ 1.4 ให้หัวหน้ากลุ่มไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการซักซ้อม  โดยให้ทุกคนในกลุ่มติดตามข่าวสารทางสื่อ

2.8 หัวหน้ากลุ่มต้องตรวจสอบยอดผู้ประสบอุทกภัยในกลุ่มของตน แล้วแจ้งให้ผู้ประสานงานฝ่ายทหารทราบ ตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้วในขั้นการซักซ้อม เพื่อจัดยานพาหนะที่เหมาะสมมาขนส่งไปยังพื้นที่รวบรวมผู้ประสบภัย

          3.การปฏิบัติ ณ จุดนัดพบขั้นต้น

3.1 เมื่อยานพาหนะฝ่ายทหารมาถึงจุดนัดพบขั้นต้น ให้หัวหน้ากลุ่มแจ้งชื่อกลุ่มของตนพร้อมยอดคนในกลุ่มที่จะขนย้ายทั้งหมด แล้วส่งบัญชีรายชื่อให้ผู้ควบคุมยานพาหนะของฝ่ายทหาร จำนวน 3 ชุด (หัวหน้ากลุ่มเก็บไว้ 1 ชุด)

3.2 ให้เด็ก สตรี และคนชรา ไปก่อน โดยต้องมีคนใกล้ชิดไปพร้อมกัน เพื่อคอยดูแลเมื่อไปถึงพื้นที่รวบรวมผู้ประสบภัย  ซึ่งควรกำหนดลำดับก่อนหลังไว้ในบัญชีรายชื่อ ในข้อ 2.3 หัวหน้ากลุ่มเป็นรายชื่อสุดท้าย

3.3 เมื่อยานพาหนะของฝ่ายทหารมาถึงจุดนัดพบขั้นต้น ให้หัวหน้ากลุ่มส่งบัญชีรายชื่อจำนวน 1 ชุด ให้ผู้ควบคุมยานพาหนะของฝ่ายทหาร โดยจะเรียกชื่อกลุ่มก่อน จากนั้นจะขานชื่อตามลำดับก่อนหลัง  ผู้ขานชื่อแล้วจึงให้ขึ้นยานพาหนะ  เพื่อเป็นการตรวจยอดของฝ่ายทหาร  หัวหน้ากลุ่มจะขึ้นยานพาหนะเป็นคนสุดท้ายของกลุ่ม

          4.การปฏิบัติ ณ พื้นที่รวบรวมผู้ประสบภัย

4.1 ผู้ควบคุมยานพาหนะของฝ่ายทหารแจ้งชื่อกลุ่มและยอดผู้ประสบอุทกภัยที่นำมาส่งยัง พื้นที่รวบรวมผู้ประสบภัย พร้อมกับส่งบัญชีรายชื่อจำนวน 2 ชุด ให้กับผู้ประสานงานฝ่ายพลเรือน ณ พื้นที่รวบรวมผู้ประสบภัย (ฝ่ายทหารเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ชุด) เพื่อใช้ในการสอบทานบัญชีรายชื่อ กับหัวหน้ากลุ่ม (เมื่อได้เดินทางมาถึงยังพื้นที่รวบรวมผู้ประสบภัย) และใช้ตรวจทานยอดผู้ประสบอุทกภัย

เมื่อครบถ้วนตามบัญชีรายชื่อแล้ว ผู้ประสานงานฝ่ายพลเรือนนำไปส่งขึ้นรถของฝ่ายพลเรือน โดยแจ้งชื่อกลุ่ม และยอดผู้ประสบอุทกภัย พร้อมกับส่งบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ชุด ให้กับผู้ควบคุมรถของฝ่ายพลเรือน (ผู้ประสานงานฝ่ายพลเรือน เก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ชุด) เพื่อจัดยานพาหนะขนส่งผู้ประสบอุทกภัยไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว

4.2 ผู้ควบคุมรถฝ่ายพลเรือน เรียกชื่อกลุ่ม แล้วขานชื่อของผู้ประสบอุทกภัย เพื่อตรวจสอบยอดผู้ประสบอุทกภัยว่าถูกต้องตรงตามยอดในบัญชีรายชื่อ แล้วจึงออกรถนำไปส่งยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ตามที่กำหนดไว้   กรณีที่กลุ่มผู้ประสบอุทกภัยขึ้นรถ  ไม่หมดในคันเดียว  ให้ฝากไว้กับรถคันต่อไป โดยแจ้งชื่อกลุ่ม และยอด ให้กับผู้ควบคุมรถคันต่อไปทราบ (เพื่อให้ผู้ควบคุมรถที่ฝากไว้ใช้คุมยอดผู้ประสบอุทกภัยในรถของตน)

4.3 เจ้าหน้าที่รัฐควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประสบอุทกภัยในระหว่างรอคอยการขนส่งไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว เช่น อาหาร เครื่องดื่ม การรักษาพยาบาล

          5.การปฏิบัติ ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราว

5.1 ผู้ควบคุมรถของฝ่ายพลเรือน นำบัญชีรายชื่อของผู้ประสบอุทกภัย ที่มีอยู่ 1 ชุด ให้กับหัวหน้าศูนย์พักพิงชั่วคราว

5.2 หัวหน้าศูนย์พักพิงชั่วคราว เรียกชื่อกลุ่มและขานชื่อผู้ประสบอุทกภัย เพื่อตรวจยอด และตรวจทานกับหัวหน้ากลุ่มอีกครั้ง  หากไม่ถูกต้องตรงกันอาจมีการพลัดหลง ให้ตรวจสอบไปยังผู้ประสานงานฝ่ายทหาร เพื่อค้นหาผู้ประสบอุทกภัยที่พลัดหลง

5.3 การดำเนินการตามกระบวนงานในศูนย์พักพิงชั่วคราวตามคู่มือการบริหารจัดการศูนย์ พักพิงชั่วคราว ได้แก่ การตรวจสภาพผู้อพยพ การลงทะเบียน การแยกประเภทผู้อพยพตามความเสี่ยง  การนำเข้าที่พัก  การให้คำแนะนำกฎ ระเบียบ การนำผู้อพยพทำกิจกรรม จนถึงการอพยพกลับสู่ถิ่นฐานเดิมเมื่อสถานการณ์คืนสู่ปกติ และการปิดศูนย์พักพิงชั่วคราว (ผู้ประสบอุทกภัยจะมีสถานะเป็นผู้อพยพ)

วันที่ 29/10/2011

===========================================

Maj.sirichai  Sapsiri

APDI.

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-29 20:09:23 IP : 125.26.29.243


ความคิดเห็นที่ 29 (3267879)

ปัญหาเรื่องความแตกแยกในสังคม....... น้ำท่วมครั้งนี้จึงส่งผลให้สังคมไทยแตกแยกกันหนักมากยิ่งขึ้น แตกแยกกันจนสาธารณชนเชื่อว่าสังคมไทยเกิดความแตกแยก กันจนเกินจะเยียวยาแล้ว

เมื่อคุณวิเคราะห์ปมปัญหานี้ได้กระจ่าง คุณก็จะไม่ถามอีกต่อไปว่า ทำไมสังคมไทยของเราจึงไม่เหมือนกับสังคมญี่ปุ่น ทำไมคนญี่ปุ่น ไม่กักตุนข้าวของในช่วงที่เขาต้องเผชิญเหตุสึนามิ เมื่อเดือนมีนาคม 2554 แล้วทำไมคนไทย โดยเฉพาะ คนในกรุงเทพฯ จึงแตกตื่นพร้อมใจกันกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคหลายอย่าง อาทิ น้ำดื่มบรรจุขวด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง ฯลฯ ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นทราบมาตั้งกว่า 3 เดือนแล้วว่ามีมวลน้ำก้อนมหึมา อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ

น้ำท่วมครั้งนี้ยิ่งทำให้สังคมไทยจมดิ่งลงในความแตกแยก เราพร้อมจะชี้หน้าด่ากันเองมากกว่าจะช่วยกันหาทางแก้ปัญหา เพราะเหตุที่ว่าสังคมของเราเป็นสังคมชอบชี้หน้าด่ากันหรือเปล่า เราจึงพบภาพนักการเมืองพรรคเพื่อไทยพยายามกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นเกมการเมือง ในขณะที่คนของ ประชาธิปัตย์หลายคนก็ชี้หน้าพรรคเพื่อไทยกลับว่ามีนายกรัฐมนตรีโง่ แถมประชาชนที่ไม่ชื่นชอบพรรคเพื่อไทยก็ร่วมผสมโรงรุมด่าว่านายกฯ โง่ ไม่ว่าเธอจะโง่จริงหรือโง่ไม่จริงก็ตาม แต่เราหลายคนก็เชื่อว่าเธอโง่ และโง่อย่างไม่น่าให้อภัย

แน่นอนว่าในขณะที่เราทุกคนกำลังเผชิญกับ หายนภัยครั้งประวัติศาสตร์ แต่เราก็ยังคงไม่ช่วยเหลือ กันอย่างเต็มกำลัง จริงอยู่ที่มีคนจิตอาสาจำนวนมาก ในสังคมของเราพยายามทุ่มทั้งแรงกาย แรงใจ และกำลังทรัพย์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเพื่อนร่วมสังคม แต่ก็กลับมีนักการเมืองหน้าทนจำนวนหนึ่ง และนักข่าวโทรทัศน์หน้าหนาอีกกลุ่มหนึ่งดันทุรังยึดเอาสิ่งของบริจาคไปติดชื่อของตนและสถานีของตน ราวกับว่าตนเองคือเจ้าของสิ่งของที่นำไปบริจาค

เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อสถานการณ์เข้าข่ายคับขันจนเกินความสามารถในการรับมือกับวิกฤติ นายกฯ ก็ยังอุตส่าห์ ยังเกิดอาการสติแตกออกมาร้องโวยวายว่าขอให้ทุกฝ่ายเลิกเล่นการเมือง แล้วหันหน้ามาร่วมมือแก้วิกฤติด้วยกัน จนทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เมื่อก่อนที่เหตุการณ์จะสายจนเกินแก้นั้น เหตุใดนายกฯ จึงไม่เลิกเล่นการเมืองก่อน

วิญญูชนคงไม่ปฏิเสธว่าหลายฝ่ายพยายาม จะทุ่มกำลังลงไปเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ แต่เมื่อ พิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว เราก็จะพบว่าเป็นการทำงานแบบแข่งขันกันเพื่อหวังคะแนนเสียงทางการเมืองเสียมากกว่า เราพบว่านักการเมืองพรรคเพื่อไทยกับ พรรคประชาธิปัตย์พยายามปัดแข้งปัดขากันและกันตลอดเวลา ทั้งๆ ที่บ้านเมืองของเราใกล้จะจมน้ำ เศรษฐกิจใกล้จะฉิบหาย แต่นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ ก็ยังไม่เลิกพฤติกรรมช่วงชิงคะแนนเสียง

 
การที่คนในสังคมไทยยังไม่เลิกขัดแข้งขัดขากันเองแม้ในยามที่ชาติบ้านเมืองต้องเผชิญกับเหตุวิกฤติเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าในความเป็นจริงนั้นความแตกแยกได้ฝังรากลึกลงในสังคมของเราจนยากที่จะเยียวยาหรือผ่อนบรรเทา ช่างเป็นเรื่อง น่าสังเวชเหลือเกินที่ประเทศไทยกลายเป็นแผ่นดินที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกลายเป็นเหยื่อของนักการเมือง และเหล่านักเคลื่อนไหวที่จงใจนำพาให้สังคมไทยแตกเป็นเสี่ยงๆ ขอย้ำว่าบ้านเมืองของเราคงไม่สามารถฝ่าหรือข้ามพ้นภัยพิบัติใดๆ ไปได้ ตราบที่ประชาชนยังไม่สามารถจับมือกันแล้วพร้อมใจกันลากจูงกันและกันให้ก้าวเดินไปข้างหน้า

เฉลิมชัย ยอดมาลัย  วันที่ 30/10/2011

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-30 22:19:21 IP : 113.53.76.114


ความคิดเห็นที่ 30 (3267924)

บริหารจัดการน้ำ ดีหรือไม่ดี ลองพิจารณาดู นะครับ

พายุไหหม่า เข้าปลายเดือน มิ.ย.54 , พายุนกเต็น เข้าปลายเดือน ก.ค.54 (2 เดือนติดต่อกัน)

น้ำในเขื่อนภูมิพล ก่อนพายุเข้า มี 7,700 ล้าน ลบ.ม. หรือ 57% , น้ำในเขื่อนสิริกิติ์ มี 5,900 ล้าน ลบ.ม. หรือ 62% (ต้นเดือน มิ.ย.54 พื้นที่ภาคเหนือที่อยู่ด้านเหนือของเขื่อน เจอภัยแล้ง เร่งทำฝนเทียมแทบแย่ )

ดูข้อมูลน้ำได้จากที่นี่ครับ http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.php

ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนทั้งสองแห่ง (ไม่รวม ก่อน 30 มิ.ย.54) ระหว่าง 30 มิ.ย. - 25 ต.ค. 54 ปริมาณ 17,600 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 8,000 ล้าน ลบ.ม. (ที่ไปรวมกับมวลน้ำภาคกล้าง)

แสดงว่าทั้งสองเขื่อน ช่วยรับน้ำไว้มากกว่า 9,500 ล้าน ล้าน ลบ.ม. (ประมาณ 54% ของน้ำฝนที่ไหลผ่าน)  และยังไม่รวมกับที่เขื่อนป่าสักฯช่วงอั้นไว้อีก 500 กว่าล้าน ลบ.ม. นะครับ

ลองบวกลบดูเล่นๆ ว่า ถ้าพร่องน้ำออให้หมดเลย (ซึ่งไม่มีใครกล้าทำ) จะมีที่เก็บน้ำ 16,300 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเก็บน้ำไม่ได้ทั้งหมดอยู่ดี

เอาตัวเลขอีกสักชุดนะครับ ลองรวมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มี 180,000 ตารางกิโลเมตร แต่พื้นที่เก็บน้ำของทุกเขื่อนทางภาคเหนือมีไม่ถึง 1,000 ตร.กม. คือ ไม่ถึง 1% แล้วจะให้เอาอะไรเป็นช่วยเก็บน้ำดีครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น mor53 วันที่ตอบ 2011-10-31 13:43:48 IP : 122.154.18.253


ความคิดเห็นที่ 31 (3268046)

วันนี้ 1 พ.ย. ปริมาณน้ำได้ท่วมขยายวงไปเรื่อยๆบางพื้นที่สูงเกินกว่า 50 เซนติเมตร ในพื้นที เขตหนองแขม บางแค  รามอินทรา อ่ม แล้วครับท่าน............

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-01 22:11:46 IP : 113.53.76.34


ความคิดเห็นที่ 32 (3268070)

 ศปภ.เตรียมใช้ถุงทรายยักษ์ปิดประตูน้ำจุฬาฯ ป้อง กทม.ชั้นใน

 ศปภ. 31 ต.ค.-ศปภ.เตรียมใช้ถุงทรายขนาดใหญ่ หรือ Big Pack ปิดจุดเสียหายที่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ เพื่อป้องกันน้ำที่จะเข้ามาในกรุงเทพฯ ชั้นใน รวมถึงลดระดับน้ำที่ท่วมกรุงเทพฯ ด้วย และยังเตรียมจ้างที่ปรึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาแนวทางฟื้นฟูหลังวิกฤตการณ์ครั้งนี้ 


พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เพื่อแก้ปัญหาน้ำที่ทะลักเข้ามายังเขตดอนเมือง ถนนวิภาวดีรังสิต และกำลังเข้าสู่พื้นกรุงเทพฯ ชั้นใน ศปภ.ได้สั่งการให้ รฟท.ขนกระสอบทรายขนาดใหญ่ หรือ Big Pack นำไปปิดประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ คาดใช้เวลา 3 วันแล้วเสร็จ จากนั้น กทม.จะสูบน้ำไปยังคลองเปรมประชากร เพื่อระบายน้ำเข้าสู่อุโมงค์ยักษ์

ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน ปฏิเสธเรื่องแนวคิดนิวไทยแลนด์ฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด โดยระบุเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการหารือในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ยืนยันรัฐบาลจำเป็นต้องมีการแก้ปัญหาในระยะยาว จะมีการนำโมเดลของประเทศที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาศึกษาว่าไทยควรปรับใช้อย่างไร รวมถึงการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาและทำการศึกษา

ทั้งนี้ เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ได้เดินทางมาให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาระยะยาวกับ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ. และยืนยันญี่ปุ่นพร้อมสนับสนุนทุกแนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อตอบแทนน้ำใจคนไทยที่เคยช่วยเหลือเมื่อครั้งเหตุการณ์สึนามิ.-สำนักข่าวไทย

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล(ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

E-mail : sirimajor@gmail.com

E-mail : apdmajor1@yahoo.com


211541154

*********************

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-02 11:53:34 IP : 113.53.72.77


ความคิดเห็นที่ 33 (3268189)

บริหารล้มเหลว 800,000 ล้าน ขอถลุงเงินแผ่นดินอีก 800,000 ล้าน ช่างกล้า! (สารส้ม)

 

 

ขณะนี้ ภาวะน้ำท่วมยังคงมีแต่ทรงกับทรุด พื้นที่เหนือกรุงเทพฯ ยังจมน้ำ รอบๆ กรุงเทพฯ กำลังจมตาม และในเขตเมืองหลวง ก็ยังลูกผีลูกคนแต่ชาวบ้านเริ่มทำใจกันแล้วว่า ท่วมแน่!

เพราะอันไหนรัฐบาลยิ่งลักษณ์บอกว่า "เอาอยู่" คล้อยหลังไม่กี่วัน "น้ำทะลัก"

มูลค่าความเสียหายในวันนี้ ยังไม่อาจปิดบัญชีได้ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้น มีทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว บริการ ทรัพย์สินประชาชน บ้านเรือน รถยนต์ และชีวิตคนไทยที่ตายไปเกือบๆ 400 คนเข้าไปแล้ว!

เบื้องต้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า มูลค่าความเสียหายนับถึงวันนี้ มากกว่า 3 แสนล้านบาทแน่นอน!

และดีไม่ดี อาจสูงถึงกว่า 5 แสนล้านบาท!

แต่ช้าก่อน... สงครามยังไม่สงบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร... ฉันใด

น้ำท่วมยังไม่ทันแห้ง ก็อย่าเพิ่งสรุปยอดความเสียหาย... ฉันนั้น

อย่าลืมว่า สถานการณ์วันนี้ ยังไม่ทุเลาเบาบาง

ภายใต้การบริหารงาน และรับมือกับปัญหาของรัฐบาลอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ แน่นอนว่ายังมีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่ความเสียหายยังจะบานปลาย ออกไปยิ่งกว่านี้

1)
ชาวบ้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยากำลังจะสำลักน้ำตาย เพราะ การบริหารจัดการที่ล้มเหลวของรัฐบาล ผันน้ำไปฝั่งตะวันตกเกินกว่าศักยภาพของระบบที่จะรับได้ ทำให้น้ำท่วมหนัก รุนแรงในพื้นที่ดังกล่าว

ทั้งๆ ที่ ศักยภาพการระบายน้ำลงสู่ทะเลของทางฝั่งตะวันออกมีมากกว่า

นักวิชาการก็เตือนแล้ว ฝ่ายค้านก็เตือนแล้ว

ยิ่งกว่านั้น เมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 ก็เคยมีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานคำแนะนำไว้ชัดเจนอยู่แล้ว

แต่ในการทำงานของรัฐบาล ก็มัวเล่นเกมการเมืองกันเอง

2)
ด้วยเหตุนี้ กว่าที่สถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลาย จึงไม่มีใครมั่นใจได้เลยว่า ยอดรวมความเสียหายของประเทศชาติจะพุ่งสูงขึ้นไปเท่าใด

คนจะตายเพิ่ม สังเวยชีวิตมากกว่านี้ อีกกี่ศพ

นิคมอุตสาหกรรมที่ยังเหลืออยู่ เฉพาะในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็น นิคมฯบางชัน นิคมฯบางปู นิคมฯเกตเวย์ นิคมฯเวลโกรว์ นิคมฯทีเอฟดี ฯลฯ รวมมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 300,000 ล้านบาท

ยังไม่นับชะตากรรมของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่ง ศปภ.ยืนยันว่า "เอาอยู่" (อีกแล้ว) เช่นเดียวกับที่เคยยืนยันว่าน้ำจะไม่ท่วมสนามบินดอนเมืองล้านเปอร์เซ็นต์ แล้วก็เปิดตูดไปตั้ง ศปภ.อยู่ที่อื่น

หรือแม้แต่เขตกรุงเทพฯ ชั้นใน พื้นที่ทางเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร การพาณิชย์ การโรงแรม ฯลฯ ซึ่งจะมีผลกระทบลูกโซ่ต่อยังภาคธุรกิจอื่นๆ ทั่วประเทศ มูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ก็ยังอยู่บนเส้นด้าย

เอาเข้าจริง ภายใต้การดูแลแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ความเสียหาย ต่อประเทศชาติมีโอกาสพุ่งทะยานขึ้นไปไม่น้อยกว่า 800,000 ล้านบาท!

3)
ช่างน่าอนาถใจ...

แทนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะทุ่มเทสรรพกำลังและทรัพยากรทุกอย่างไปในการแก้ปัญหาน้ำท่วม เพื่อทุเลาความเสียหายแก่ประเทศชาติส่วนรวม รวมทั้งแก้ไขการบริหารราชการ ที่ล้มเหลว เพราะแม้แต่การจัดสรรของบริจาคไปช่วยผู้ประสบภัยยังไร้ประสิทธิภาพ

แต่ปรากฏว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ "ลักไก่" อาศัยจังหวะน้ำท่วม ประชาชนติดเกาะ เอาตัวรอดตามยถากรรม เดินเกมการเมืองเพื่อพรรคพวกของตนเอง เช่น

การเสนอแก้กฎหมายการพนันเปิดทางให้มีการจัดตั้งกาสิโน

การเสนอแก้กฎหมายให้อำนาจ ผบ.ตร.ปิดปากสื่อมวลชน

การบรรจุเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ใครๆ วิจารณ์กันขรมว่าจะมีผลช่วยล้มล้างคดีความผิดของทักษิณ ฯลฯ

ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลยิ่งลักษณ์ และทักษิณ ชินวัตร ยังแสดงอาการกระเหี้ยนกระหือรือต่องบประมาณแผ่นดินก้อนมหึมา ที่คาดหวังว่าพรรคพวกของตนจะได้เป็นคนจับจ่ายใช้สอยหลังน้ำท่วม

อ้างว่า รัฐบาลจะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส วางแผนการประเทศไทยใหม่ หรือ "New Thailand"

โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมด 600,000 - 800,000 ล้านบาท!

นี่ขนาดน้ำยังไม่ทันลด

ประชาชนจะขี้-เยี่ยว ยังลำบากลำบน

รัฐบาลน้องทักษิณเขารับโองการของพี่ชายจากต่างแดน เตรียมจะวางแผนใช้จ่ายเงินแผ่นดิน

เตรียมกู้เงินมาใช้สอยให้สนุกมือกันไว้แล้ว!

เรียกว่า ไม่คิดจะตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาตัวเอง

ไม่สำเหนียกว่าในฐานะรัฐบาล เมื่อบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด ล้มเหลว เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติมหาศาลขนาดนี้แล้ว จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร?

ชาวบ้านเขาไม่โห่ไล่กลางน้ำเอาตอนนี้เลย ก็นับว่าบุญหัวนักหนาแล้ว

นี่ยังจะทำหน้ามึน ขอใช้เงินกู้อีกกว่า 800,000 ล้านบาท!

สงสัยจริงๆ ว่า วิญญาณสัตว์หนีน้ำสายพันธุ์ไหนเข้าสิงหรือเปล่า?

 /////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-04 11:45:27 IP : 113.53.70.121


ความคิดเห็นที่ 34 (3268190)

วันนี้(4 พ.ย.) ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล แจ้งว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทางศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร ขอแจ้งเส้นทางปิดการจราจร และเส้นทางควรหลีกเลี่ยงจากน้ำท่วมขังล่าสุด ดังนี้
 

          ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง

-ถ.สายไหม ขาเข้า-ขาออก น้ำท่วมขังตลอดสาย ระดับน้ำ 40-60 ซ.ม.
 

-ถ.ประเสริฐมนูญกิจ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเกษตร ถึงแยกลาดปลาเค้า ระดับน้ำ 50 ซ.ม.
 

-ถ.เสนานิคม 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเสนานิคม ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 40 ซ.ม.
 

-ถ.ลาดปลาเค้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแยกตัด ถ.ประเสริญมนูญกิจ ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 30 ซ.ม.
 

-ถ.นวมินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.นวมินทร์ 163 ถึงแยก รามอินทรา กม.8 ระดับน้ำ 50 ซ.ม.
 

-ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกรัชโยธิน ถึงทางต่างระดับรัชวิภา ระดับน้ำ 40 ซ.ม.
 

-บริเวณแยกวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
 

-ถ.นาวงประชาพัฒนา ตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซ.ม.
 

-ถ.คู้บอน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.คู้บอน 19 ถึงหน้า สน.คันนายาว ระดับน้ำ 30 ซ.ม.
 

-ถ.พระยาสุเรนทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกคลองสอง ถึงวัดบึงพระยาสุเรนทร์
 

          ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง

-ถนนสุวินทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกไปรษณีย์มีนบุรี ถึงแยกตัด ถ.ร่มเกล้า ระดับน้ำ 40 ซ.ม. (เส้นทางเลี่ยงไป จ.ฉะเชิงเทรา สามารถใช้ ถ.รามคำแหงเชื่อม ถ.ร่มเกล้า ถ.มอเตอร์เวย์ ถ.บางนา-ตราด ทางยกระดับบูรพาวิถี)


-ถนนราษฎร์อุทิศ มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40 ซ.ม.


-ถนนประชาร่วมใจ มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40 ซ.ม.


-ถนนหทัยราษฎร์ตัดสุวินทวงศ์(แยกพาณิชยการมีนบุรี) ระดับน้ำ 40 ซ.ม.


-บริเวณแยกราษฎร์อุทิศ (ถ.สุวินทวงศ์ตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ) ระดับ 50 ซ.ม.


          ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 5 สาย
 

1) ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ซอยวิภาวดี 46


2) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอนุสรณ์สถาน ถึงแยกเสนานิคม


3) ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา


4) ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกวงเวียนบางเขน ถึง กม.4(ซ.รามอินทรา 39)


5) ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร


          ทิศเหนือ ถนนสายรอง ปิดการจราจร 12 สาย


1) ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้าวัดเสมียนนารี


2) ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ.


3) ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย


4) ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย


5) ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย


6) ถ.เวฬุวนาราม( วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย


7) ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย


8) ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน


9) ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก รร.นายเรืออากาศ(คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา


10) ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงห้าแยกวัชรพล


11) ถ.เพิ่มสิน (พหลโยธิน 54/1- ถ.สุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย


12)ถ.สุขาภิบาล 5 ปิดการจราจรตลอดสาย


          ทิศตะวันตก ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 8 สาย


1) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ ถึง สะพานพระราม 7


2) ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร


3) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าถึงแยกบรมราชชนนี


4) ถ.อรุณอัมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ถึงแยก ร.พ.ศิริราช


5) ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบรมราชชนนีถึงทางต่างระดับสิรินธร(สายใต้เก่า)


6) ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้


7) ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงแยก ถ.ราชพฤกษ์
 

8) ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึง ซ.เพชรเกษม 48


          ทิศตะวันตก ถนนสายรอง ปิดการจราจร 4 สาย


1) ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย


2) ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย


3) ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย


4) ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-04 11:51:24 IP : 113.53.70.121


ความคิดเห็นที่ 35 (3268328)

"แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา-บางเขน"อ่วม ม.เกษตรฯปิดหนีน้ำ

วิกฤตการณ์น้ำท่วมยังคงสร้างความเดือดร้อน ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑลใกล้เคียง อย่างกว้างขวาง โดย ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ว่า สถานการณ์น้ำท่วมทางฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต ยังคงมีมวลน้ำจากรังสิตไหลทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยวิภาวดีฝั่งขาออกน้ำได้เอ่อเข้าท่วม ถนนโรคัลโรดจนกลายสภาพเป็นคลอง แม้แต่สน.ทุ่งสองห้อง ก็ถูกน้ำท่วม ส่วนวิภาวดี ขาเข้าตอนนี้หัวน้ำข้ามสี่แยกหลักสี่มาแล้ว

ขณะเดียวกันมีน้ำจากคลองบางเขนล้นออกมาบน ถนนวิภาวดีรังสิต ช่องทางคู่ขนานผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อยมาจน ถึงหน้าโรงพยาบาลวิภาวดี ระดับสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และยังได้เอ่อล้นออกมายังช่องทางด่วนแล้ว 1 เลน ทำให้รถยนต์ที่วิ่งผ่านต้องชะลอความเร็ว และวิ่งได้อย่างช้าๆ คาดว่าอีกไม่กี่วันอาจจะทำให้การจราจรบริเวณ ดังกล่าวเป็นอัมพาต

ปิดจราจรถ.แจ้งวัฒนะ-หลักสี่

ที่บริเวณด้านหน้าทางเข้าศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ ตั้งแต่แยกหลักสี่ ไปจนถึงคลองประปา ได้ปิดการจราจรทั้งหมด โดยรถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เนื่องจาก มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นถึง 70-80 ซม. ทั้งนี้ทางศูนย์พักพิงได้มีการประสานงานไปยัง ขสมก. ขอรถบัสเพิ่มอีกจำนวน 2 คัน จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 3 คัน เพื่อใช้ขนส่งประชาชนเข้า-ออกศูนย์พักพิงฯ

ศูนย์พักพิงพร้อมย้ายผู้อพยพ

ว่าที่ร.ต.ศรัณย์ สมานพันธุ์ ผอ.สท. ในฐานะผู้ดูแลศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ กล่าวว่า ถ้าน้ำเข้ามาในพื้นที่ จะสามารถเคลื่อนย้าย ผู้ประสบภัยที่อยู่ในระดับต่ำจำนวนกว่า 300 คน ขึ้นสู่ที่สูง ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนจำนวน 2,400 คน ได้อยู่บริเวณที่ปลอดภัยอยู่แล้ว และยืนยันว่าจะไม่ทำให้ประชาชน ได้รับผลกระทบ โดยจะมีการดูแลเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชม.

ไหลท่วมลานจอดรถดีเอสไอ

ทั้งนี้ภายหลังน้ำเริ่มไหลเข้าท่วมลานจอดรถยนต์ของดีเอสไอ เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวัง หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ชั้นใต้ดิน ส่วนกระทรวงยุติธรรม ที่ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะนั้น เจ้าหน้าที่สำนักเทคโนโลยีได้ปิดระบบอินเตอร์เนตของกระทรวงเพื่อป้องกันเซิรฟ์เวอร์เสียหาย หากน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ

ดอนเมืองสาหัส โดนท่วมหนัก

ที่คลองประปาแยกศรีสมาน เจ้าหน้าที่ได้นำรถแบ๊กโฮมาขุดดินเพื่อเสริมแนวคันกั้นน้ำริมคลองประปาฝั่งจังหวัดนนทบุรีให้สูงขึ้นอีกประมาณ 1.50 เมตร ส่วนคันกั้นน้ำในฝั่งดอนเมืองยังเป็น แนวคันกั้นน้ำที่ต่ำมาก แม้จะมีความพยายาม เข้าไปเสริมคันกั้นน้ำ แต่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งประมาณ 5-7 คน ยังคงรื้อแนวคันกั้นน้ำย่านวัดสีกัน ส่วนบริเวณ ถนนสรงประภา-ดอนเมือง ระดับน้ำเพิ่ม สูงขึ้นเกือบ 2 เมตรแล้ว

พหลโยธิน-สะพานใหม่เดี้ยง

สถานการณ์น้ำท่วมเขตบางเขนก็ยังขยายวงกว้างมากขึ้น เมื่อเวลา 12.00 น. ที่บริเวณ รอบอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ วงเวียนบางเขน น้ำได้ท่วมสูงประมาณ 30 - 40 ซม. สามารถใช้ช่องทางการจราจรได้เพียง 2 ช่อง จาก 4 ช่องทาง โดยเส้นทางที่จะไปสะพานใหม่ นั้น เจ้าหน้าที่ได้นำป้าย "ปิดการจราจร" มาวางไว้ เนื่องจากน้ำเริ่มท่วมสูง 40 ซม. บนถนนพหลโยธิน ตั้งแต่ซอยพหลโยธิน 57 หรือตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สะพานใหม่จนรถเล็กไม่สามารถผ่านได้แล้ว

ปชช.ตัดสินใจไม่ยอมอพยพ

สำหรับบรรยากาศภายในซอยต่างๆ บนถ.พหลโยธินฝั่งสะพานใหม่นั้น ขณะนี้ มีน้ำท่วมขังแทบทั้งหมด แต่ประชาชนยังคงเลือกอยู่ในที่พักของตนเอง เนื่องจากไฟฟ้า และน้ำประปายังสามารถใช้ได้อยู่ ส่วนห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส ก็ยังเปิดให้บริการ ตามปกติทำให้ประชาชนในย่านนี้เดินทางมารับประทานอาหารกลางวันกันอย่างคับคั่ง

บางเขนอ่วม! ตร.สั่งปิดอุโมงค์

ขณะที่อุโมงค์ทางลอดวงเวียนบางเขน ก็ได้ปิดการจราจรแล้วเช่นเดียวกัน เนื่องจากทางขึ้นฝั่งสะพานใหม่ มีน้ำขัง ค่อนข้างสูง และน้ำที่ท่วมขังอยู่หน้าห้างสรรพ สินค้าโลตัส อาจท่วมลงไปในอุโมงค์ได้ โดยล่าสุดน้ำได้ทะลักมาจ่ออยู่ที่ปากอุโมงค์แยกบางเขนเพียง 300 เมตรเท่านั้น และมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หวั่นจราจรวงเวียนบางเขนอัมพาต

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่กทม.กังวลว่า น้ำจาก "คลองถนน" ที่ท่วมฝั่งสะพานใหม่ มาก่อนหน้านี้ และน้ำจากคลองบางบัวที่เอ่อท่วมถนนพหลโยธิน ด้านหน้ากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ และกำลังจ่อวัดพระศรีมหาธาตุฯอยู่นั้น จะมา บรรจบกันบริเวณวงเวียนบางเขน ทำให้น้ำท่วมสูงมากขึ้น และทำให้การจราจรบริเวณดังกล่าวอัมพาตไปโดยปริยาย เนื่องจากเป็นเส้นทางหลักไปยังถ.รามอินทรา ถ.แจ้งวัฒนะ และถ.พหลโยธิน

ขณะที่การจราจรบนถนนรามอินทราติดขัดเนื่องจากน้ำท่วมถนนตั้งแต่บริเวณแยก วงเวียนอนุสาวรีย์บางเขน ถึงซ.รามอินทรา 39 แต่เมื่อเลยจากรามอินทราซอย 37 แล้ว ถนนแห้ง การจราจรคล่องตัวปกติ อย่างไรก็ตาม ห้างเซ็นทรัลรามอินทราได้ประกาศ ปิดบริการ 1 วัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-06 22:14:33 IP : 113.53.65.160


ความคิดเห็นที่ 36 (3268391)

ตะลึง!!!พื้นที่เมืองกรุง 470 แห่ง จมบาดาลน้ำสูงเกือบเมตร

 

ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม กรุงเทพมหานคร(กทม.) ณ ศาลาว่า กทม. วันนี้(7 พ.ย.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ กทม. ว่า กทม.ได้ให้ทางสำนักงานเขตเข้าไปสำรวจจุดที่มีน้ำท่วมขังเกินกว่า 80 เซนติเมตรขึ้นไป ปรากฏว่ามีพื้นที่ทั้งหมด 470 แห่ง โดยยังมีประชาชนที่ตกค้าง ยังไม่อพยพออกมาจากที่พักอาศัย 807,953 ราย ประกอบด้วย พื้นที่เขตสายไหม มี 95 จุด หนองแขม 81 จุด บางพลัด 71 จุด คลองสามวา 48 จุด บางแค 34 จุด และมีนบุรี 31 จุด ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานสังกัด กทม. ในแต่ละเขตความรับผิดชอบเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ

          ประกอบกับสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมอพยพออกมาจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง อย่างไรก็ตาม ทาง กทม.จะเข้าไปดูแลอย่างเต็มความสามารถ และจะจัดเตรียมถุงยังชีพ อาหาร น้ำดื่ม ต้องนำเข้าไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ไม่ทิ้งที่อยู่อาศัยออกมายังศูนย์พักพิง

          ผู้ว่าฯ กทม. ยังกล่าวขอบคุณทางศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะ ผอ.ศปภ. ที่ได้ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม. โดยมีการเพิ่มเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ของ กทม.ตามที่มีการร้องขอไปก่อนหน้านี้

           ส่วนการระบายน้ำทาง กทม. ฝั่งตะวันตกนั้น ทางผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า จะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ นำเครื่องสูบน้ำไปเร่งระบายน้ำให้ลงไปในคลองภาษีเจริญ ผันออกไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป และจะใช้การระบายน้ำออกไปตามเส้นรอบนอก โดยผันน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีน เข้าสู่คลองมหาชัย อย่างไรก็ตามยอมรับว่าสถานการณ์ภาพรวมของน้ำท่วมยังหนัก เนื่องจากมวลน้ำก้อนใหม่ยังทยอยเข้ามาเรื่อยๆ และหวังว่า บิ๊กแบ็กหรือกระสอบทรายยักษ์ที่ทาง ศปภ.กำลังดำเนินการ จะป้องกันไม่ให้น้ำใหม่ไหลเข้าสู่ กทม.เพื่อให้สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มบรรเทาลงได้วันที่ 7/11/2011

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-07 20:24:36 IP : 182.52.124.151


ความคิดเห็นที่ 37 (3268524)

เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ผ่านมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า วันนี้ (9 พ.ค.) ระดับน้ำเจ้าพระยาสูงสุดที่ 2.05 ม.ระดับน้ำที่ดอนเมือง และคลองสามวาสายล่าง ทรงตัวและลดลงเล็กน้อย ส่วนพื้นที่ลาดกระบัง มีนบุรี และคลองสามวา เพิ่มขึ้น 2-4 ซม.ที่ถนนวิภาวดีรังสิต ระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการรื้อบิ๊กแบค ซึ่งยังไม่สามารถเคลียร์กลุ่มประชาชนได้ ทำให้ยังไม่สามารถป้องกันน้ำได้เต็มที่ สำหรับพื้นที่บางพลัดเมื่อปิดคันกั้นน้ำที่บางกรวย ได้ระดับน้ำลดลง 15 ซม.รถเล็กสามารถวิ่งผ่านจากพระราม 7 ไปบางพลัดได้แล้ว

    
ในส่วนของประตูระบายน้ำที่สื่อมวลชนให้ความสนใจเรื่องการเปิดเครื่องสูบน้ำ นั้น กทม.ยืนยันว่าได้เปิดเครื่องสูบน้ำเต็มกำลัง แต่ต้องมีช่วงเวลาพัก ซ่อมบำรุง เช่นที่พระโขนง เครื่องสูบน้ำใช้งานได้ 43 เครื่อง นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาขยะที่ลอยเข้าไปติดในเครื่องทำให้เครื่องขัดข้องแต่กทม.ก็เร่งแก้ไขอยู่เสมอ จึงขอความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่กทม.ซึ่งทำงานหนักมาตลอดด้วย

    
ที่ผ่านมา กทม.ได้ว่าจ้างบุคลากรระดมเก็บขยะในพื้นที่ 18 เขต เวลา 30 วัน ค่าตอบแทน 300 บาท/วัน โดยแต่ละเขตจะเพิ่มบุคากรตามสัดส่วนเพื่อให้การจัดเก็บขยะได้รวดเร็วขึ้น ในการดูแลประชาชน กทม.ได้จับคู่หน่วยงานเครือข่าย เพื่อเข้าไปดูแลประชาชนพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมสูง 470 จุด ในการส่งอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแล ส่งอาหาร น้ำดื่ม สุขาชั่วคราว และยาเวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น มูลนิธิร่วมกตัญญู-เขตหนองแขม ดอนเมือง, ตลาดหลักทรัพย์-เขตตลิ่งชัน, ม.ธุรกิจบัณฑิตย์-หลักสี่, บงบุญรอดฯ(สิงห์)-เขตสายไหม, ม.เกษมบัณฑิต-เขตมีนบุรี, ไทยเบฟ-เขตบางพลัด นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากโครงการ 1 จังหวัด 1 เขต กทม. ของกระทรวงมหาดไทย ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อาทิ สุขาลอยน้ำ เรือยาง เสื้อชูชีพ เครื่องสูบน้ำ เป้นต้น

    
และเนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น กทม.ประกาศเพิ่มเขตอพยพเฉพาะพื้นที่ คือ เขตคันนายาว เฉพาะแขวงรามอินทรา ถนนคู้บอน ซ.คู้บอน 6, 21, 23 และ 31 ซ.คู้บอน 13 ชุมชนจินดาบำรุงพัฒนา ซ.คู้บอน 19 แยก 6 ชุมชนซ.ผู้ใหญ่ชม ซ.คู้บอน 25 แยก 9 ชุมชนคู้บอน 25 ถนนรามอินทรา ซ.รามอินทรา 81 และ 85 ชุมชนรามอินทรา 83 และ85 ซ.รามอินทรา 46/1 ชุมชนมบ.เปรมฤทัย 1 ซ.รามอินทรา 65 และ 67 แขวงคันนายาว ถนนรามอินทรา ซ.รามอินทรา 76 ชุมชนม.5 ซ.รามอินทรา 99 ชุมชนริมคลองลำเกล็ด ซ.รามอินทรา 109 บ้านริมคลองหลังวัดราชศัรทธาธรรม(วัดบางชัน) ถนนกาญจนาภิเษก ซ.กาญจนาภิเษก 09 ชุมชนสุขอนันต์ ชุมชนม.6 และชุมชนม.8 ซ.กาญจนาภิเษก 011/1 แยก 1 ชุมชนมบ.เปรมฤทัยรามอินทรา กม.9 ป.1 ถนนเสรีไทย ซ.เสรีไทย 83 ชุมชนเกาะจวน นอกจากนี้ยังประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ เขตลาดพร้าว ในแขวงลาดพร้าว ด้วย

วันที่ 9/11/2011

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-09 23:04:30 IP : 125.26.23.112


ความคิดเห็นที่ 38 (3268558)

 

คำตอบ "Flood Way อยู่ที่ไหน?"

10 พฤศจิกายน 2554 - 00:00

 

    ซึ้งน้ำใจคนฝั่งธนฯ คนมหาชัย และคนนครปฐม อันเป็นคน "ฝั่งตะวันตก" ยิ่งนัก ท่วมหนักมิคาดหมายก็ไม่เกี่ยง ไม่โวยวายโทษใคร ลำพัง "การน้ำ" ปกติจะไม่ขนาดนี้ แต่เพราะ "การเมือง" จึงรับเคราะห์ชนิดไม่ควรเกิด ถ้าดูตามยุทธศาสตร์การน้ำแล้ว ฝั่งตะวันตกไม่ใช่ทางหลักในการระบายน้ำจากเหนือ-จากกรุงเทพฯ ลงสู่ทะเล จึงไม่มีแนวต้านรับและอุปกรณ์หลักติดตั้งอยู่ด้านนี้ 
   
ต่างกับ "ฝั่งตะวันออก" ที่ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การระบายน้ำลงสู่ทะเลทางสมุทรปราการ ดังนั้น ทั้งคลอง ทั้งประตูน้ำ ทั้งเครื่องสูบ รวมถึงอุโมงยักษ์ เรียกว่าสารพัด กรมชลประทานและ กทม.พร้อมพรักรับมือน้ำอยู่ทางนี้ 
   
แต่เมื่อการน้ำเจอการเมือง บวกดีแต่โม้ของ ศปภ. น้ำก้อนใหญ่จากเหนือแทนที่จะไปลงสู่ทะเลตามทางที่จัดไว้ให้ เมื่อเจอ "การเมืองเหนือนายกฯ" จึงไหลบ่าแบบเบี่ยงทิศและผิดทาง จนกรุงเทพฯ ชั้นใน และคนฝั่งธนฯ คนมหาชัย คนนครปฐม แทนที่จะท่วมแค่เปียก เป็นท่วมแค่หัว
   
ขณะนี้สังคมชนถามกันมากว่า แล้ว "ฟลัดเวย์" หรือกรีนเบลต์ เส้นทางเร่งระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก ตามแนวพระราชดำริในการป้องกันน้ำท่วมเมืองนั้น อยู่ที่ไหน สร้างเสร็จแล้วหรือยัง?
   
ไม่มีฝ่ายไหน ใครตอบ...ผมโชคดีอยู่อย่าง มักมีคนค้นนั่น-นี่ส่งให้อ่านประจำ เมื่อวาน (๙ พ.ย.๕๔)คุณ Somchai K. อีเมล์บทความหนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ฉบับวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ มาให้ อ่านแล้วเห็นว่าพอจะตอบคำถามนั้นได้ ก็อยากให้ท่านอ่านบ้าง ดังนี้ 
   
สืบเนื่องจากหนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มนักการเมืองที่ได้ออกมาเคลื่อนไหว ขอแก้ไขผ่อนปรนร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ฉบับใหม่ ที่จะประกาศใช้แทนผังเมืองรวม กทม.ฉบับที่ 414 ที่หมดอายุลงไปเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2547 และ กทม.กำหนดที่จะประกาศใช้ในช่วงสิ้นปี 2547 ไม่เกินเดือนมกราคม 2548 นั้น 
   
ล่าสุด นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้ร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถประกาศได้ในราวต้นปี 2548 แต่ยังไม่สามารถระบุว่าจะเป็นช่วงไหน ขึ้นอยู่กับ ครม.จะพิจารณาแก้ไขหรือจะมีการเลื่อนการประกาศผังเมืองรวม กทม.ใหม่ออกไป 
   
ต่อข้อถามที่ว่า จะต้องมีการแก้ไขเนื้อหาสาระเพิ่มเติมหรือไม่ หากเอกชนเห็นว่าร่างผังดังกล่าวมีความเข้มงวดเกินไป นายอภิรักษ์กล่าวว่า ยอมรับว่าร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับที่จะออกมาบังคับใช้แทนผังเมืองฉบับเก่าที่หมดอายุลง เนื้อหาสาระน่าจะเหมาะสมแล้ว เพียงต้องการให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมทำความเข้าใจและวางแผนพัฒนาที่ดินตามผังเมืองในอนาคตมากกว่า อย่างไรก็ดี กรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระของร่างผังเมืองรวม กทม.ตามที่มีการร้องเรียนให้แก้ไขหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ ครม.ว่าจะเห็นสมควรอย่างไร 
   
ในขณะที่แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ทางสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กำหนดจะนำร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่เข้า ครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือในการจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้าที่เชื่อว่ารัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะมีเสียงข้างมากและเข้ามาบริหารประเทศต่ออีกสมัย 
   
ทั้งนี้ ทางสำนักนายกรัฐมนตรีได้ท้วงติง กทม.ไปพิจารณาร่างผังเมืองข้อ 38 ใหม่ ที่กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในที่ดินรองหรือพื้นที่โควตา 10% ของการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก อาทิ การอนุญาตให้พัฒนาเชิงพาณิชย์ 10% ในพื้นที่สีเขียว ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นหลัก ฯลฯ โดยตั้งข้อสังเกตว่าไม่จำเป็นต้องสอบถามจาก กทม.อีกว่าใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ได้ เพราะจะเกิดความล่าช้าและมอบหมายให้ กทม.ไปหารือกับกฤษฎีกาว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร
   
อย่างไรก็ดี ตามข้อเท็จจริงแล้วกรณีที่มีการประกาศบังคับใช้ผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ล่าช้าออกไป แหล่งข่าวกล่าวยืนยันว่า เพราะมีกลุ่มนักการเมืองหลายกลุ่มในพื้นที่ อย่างกรณีของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทย และพวกพ้อง เป็นแกนนำในการวิ่งล็อบบี้รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อขอปรับสีผังบริเวณแนว "ฟลัดเวย์" หรือพื้นที่สีขาวทแยงเขียวทั้งหมด ที่กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โซนตะวันออกบริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิจำนวนกว่าแสนไร่ 
   
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตมีนบุรี เขตหนองจอกบางส่วน เขตลาดกระบัง เขตคลองสามวา ที่ร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่กำหนดให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น หากต้องการจัดสรรที่ดินเชิงพาณิชย์จะต้องมีขนาดแปลงที่ดินขนาด 1,000 ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ขึ้นไป จากผังเดิมกำหนดให้พัฒนาตั้งแต่ 100 ตารางวาขึ้นไปได้ โดยเสนอให้ปรับจากสีขาวทแยงเขียว หรือเขียวลาย เป็นพื้นที่สีเหลือง หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เพื่อสามารถพัฒนาได้ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ 
   
ทั้งๆ ที่บริเวณดังกล่าวเป็นแนวพระราชดำริ กำหนดให้เป็นแนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่รับน้ำมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากทางตอนเหนือของ กทม.ระบายลงสู่อ่าวไทยเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ดังนั้นกทม.จึงไม่สามารถที่จะปรับตามที่เอกชนและนักการเมืองกลุ่มดังกล่าวต้องการได้ 
   
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้แล้วช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุน นักการเมืองได้พยายามยืมมือประชาชนเจ้าของพื้นที่ โดยร่วมกับกลุ่มพัฒนาที่ดินส่งเรื่องร้องเรียนมายัง กทม.และสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดเสียงร้องเรียนจำนวนมากๆ เพื่อต้องการผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง เพราะมีที่ดินอยู่ในแถบนั้นไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ 
   
ทั้งนี้ จากปัญหาในเรื่องของการเรียกร้องการปรับสีผังแนวฟลัดเวย์ดังกล่าว ทาง กทม.จะร่วมกันหาทางออกกับกรมชลประทาน ด้วยการขุดคลองระบายน้ำใหม่ขึ้นมาแทนที่แนวฟลัดเวย์ที่กำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำทั้งหมด ซึ่งจะสามารถปรับพื้นที่แนวฟลัดเวย์ที่เหลือเป็นพื้นที่สีเหลืองในอนาคต ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ราว 2 ปีนับจากนี้เป็นต้นไป แต่ขณะนี้ กทม.ขอยืนยันว่าไม่ปรับเปลี่ยนสีผังอย่างเด็ดขาด" 
   
จากการสำรวจของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่ามีกลุ่มนักการเมืองและบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่มีที่ดินอยู่ในพื้นที่ขาวทแยงเขียวจำนวนมาก อาทิ กลุ่มของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทย และพี่น้องที่เป็นทั้งสมาชิกสภา กทม.(ส.ก.) และสมาชิกสภาเขต กทม.(ส.ข.) โดยมีที่ดินรวมกันประมาณกว่า 1,000 ไร่ กลุ่มนายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัท เวชธานีกรุ๊ป มีที่ดินประมาณ 500 ไร่ 
   
นางราศรี บัวเลิศ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท แชลเลนจ์ กรุ๊ป มีที่ดินบริเวณย่านสุวินทวงศ์ จำนวน 600 ไร่, นายประสงค์ เอาฬาร กรรมการบริษัท ฟอร์ร่าวิล์ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรมีที่ดินบริเวณสุวินทวงศ์ จำนวน 300 ไร่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ของนายประทีบ ตั้งมติธรรม มีที่ดินอยู่ย่านสุวินทวงศ์ 50 ไร่ 
   
นอกจากนี้ บริษัท พฤกษา จำกัด มีที่ดินประมาณ 300 ไร่ ของนายเจ้าพ่อบ้านราคาถูก นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ บริษัท เค.ซีกรุ๊ป ของนายอภิสิทธิ งามอัจฉริยะกุล มีที่ดินประมาณ 2,000 ไร่บริเวณคลองสามวา บริษัท แลนด์แอนเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ของนายอนันต์ อัศวโภคิน มีที่ดินจำนวน 50 ไร่ นางเพียงใจ อัศวโภคิน ซึ่งเป็นมารดาของนายอนันต์ มีที่ดินอยู่บริเวณเขตลาดกระบังใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 2 แปลง รวม 1,000 กว่าไร่ 
   
นายวันชัย ชูประภาวรรณ เจ้าของบริษัท ประภาวรรณกรุ๊ป มีที่ดินย่านสุวินทวงศ์ประมาณ 100-200 ไร่ บางกอกแลนด์มีที่ดินหลายร้อยไร่ และยังพบว่าตระกูลดังเมืองปากน้ำ "อัศวเหม" เองก็มีที่ดินในย่านดังกล่าวหลายร้อยไร่เช่นเดียวกันกัน

 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล(ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

E-mail : sirimajor@gmail.com

E-mail : apdmajor1@yahoo.com

 

1011541243

*********************

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-10 12:43:35 IP : 125.26.28.160


ความคิดเห็นที่ 39 (3268631)

กทม.แจ้งเกณฑ์ยื่นหลักฐานขอรับเงินช่วยเหลือ 5 พันบาท

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติพิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยหลังคาเรือนละ 5,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย และยังไม่สามารถประกอบอาชีพอเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวได้ โดยเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และบ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    
โดย กรุงเทพมหานคร แจ้งหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือดังกล่าว ไปยังสำนักงานเขต โดยมีรายละเอียดดังนี้ หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต เพื่อเป็นหลักฐานการแสดงสิทธิ กรณีเป็นบ้านเช่าอยู่อาศัย ให้ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือ โดยใช้สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองจากเจ้าบ้าน เพื่อขอรับหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต ส่วนบ้านเช่าที่มีหลายชั้น ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะที่มีน้ำท่วมถึงเท่านั้น ซึ่งบ้านเช่าอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้องหรือเป็นหลัง และมีทะเบียนหรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้ โดยสำนักงานเขตจะตรวจสอบคำร้อง เพื่อออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิรับการช่วยเหลือ และจะส่งเรื่องไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อตรวจสอบข้อมูลความซ้ำซ้อน และส่งรายชื่อต่อไปยังธนาคารออมสิน เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือต่อไป

    
ทั้งนี้ ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบตามหลักเกณฑ์ ติดต่อยื่นสิทธิเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากไม่สะดวกเดินทาง สามารถติดต่อยื่นสิทธิได้ภายหลังน้ำลด โดยในส่วยของสำนักงานเขตดอนเมือง ให้ไปติดต่อที่สำนักงานเขตหลักสี่ เนื่องจากได้ย้ายไปชั่วคราวเนื่องจากระดับน้ำในเขตดอนเมืองยังคงท่วมสูง

วันที่ 10/11/2011

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล(ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

E-mail : sirimajor@gmail.com

E-mail : apdmajor1@yahoo.com

 

1111542001

*********************

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-11 20:00:58 IP : 125.26.20.108


ความคิดเห็นที่ 40 (3268701)

อัพเดทเส้นทางปิดจราจร-ใช้การได้ประจำวันที่ 12 พ.ย.54

กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.) แจ้งเส้นทางที่ปิดการจราจร เส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากน้ำท่วมขัง และเส้นทางที่ใช้การได้ ประจำวันที่ 12 พ.ย. ดังนี้

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้การได้

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางพื้นราบ มี 7 สะพาน

1) สะพานพุทธฯ

2) สะพานพระปกเกล้าฯ

3) สะพานตากสิน(สาทร)

4) สะพานกรุงเทพ

5) สะพานพระราม 3

6) สะพานภูมิพลฯ(วงแหวนอุตสาหกรรม)

7) สะพานพระราม 7

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด่วนพิเศษ มี 2 สะพาน

1) สะพานพระราม 9 (สะพานแขวน)

2) สะพานทางพิเศษสายบางพลี สุขสวัสดิ์

เส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้

ทิศตะวันออก

1) ถ.เลียบท่างด่วนรามอินทราฯ ตลอดสาย

2) ถ.เสรีไทย ถึงวงแหวนตะวันออก


3)
ถ.รามคำแหง ตลอดสาย


4)
ถ.ศรีนครินทร์ ตลอดสาย


5)
ถ.สุวินทวงศ์ ถึง ถ.ราษฎร์อุทิศ


6)
ถ.มอเตอร์เวย์ ตลอดสาย

7) ถ.วงแหวนตะวันออก(ใต้) ตั้งแต่ทางต่างระดับรามอินทรา ถึงทางขึ้น-ลงสุขสวัสดิ์บางขุนเทียน


8)
ถ.บางนาตราด ตลอดสาย

9) ถ.บูรพาวิถี ตลอดสาย


10)
ถ.ลาดกระบัง ตลอดสาย

11) ถ.อ่อนนุช ตลอดสาย

12) ถ.สุขุมวิท ตลอดสาย

ทิศตะวันตก-ใต้


1)
ถ.พระราม 2 ตลอดสาย


ทิศตะวันตก


1)
ถ.ราชพฤกษ์ ตั้งแต่ ถ.เพชรเกษม - ถ.กรุงธนบุรี สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน(สาทร)

ทิศใต้ตะวันตก ใต้ เส้นทางควรเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน

1.) ถ.กัลปพฤกษ์ ขาออก เลี้ยวซ้าย ถ.กาญจนาภิเษก- ไปถ.พระราม 2 ระดับน้ำ 20-30 ซม. ยาวประมาณ 500 ม.

2.) ถ.บางบอน 4 บริเวณตัดกับ ถ.เลียบคลองภาษีเจริญ ระดับน้ำ 40 – 50 ซม. ยาวประมาณ 500 ม.

3.) ถ.เทอดไท ตลอดสาย ระดับน้ำ 30 -60 ซม.

4.) ถ.บางแค บางบอน(บางบอน 1 ) ขาเข้า ขาออก ตลอดสาย ระดับน้ำ 30- 40 ซม.

5.) ถ.เอกชัย ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.บางบอน 1 ถึงถ.เอกชัย ซ.66 ระดับน้ำ 30 - 40 ซม.

6.) ถ.บางขุนเทียน ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ ตัด ถ.เอกชัย ถึงทางรถไฟสายใต้ ระดับน้ำ 15 ซม.

7.) ถ.กำนันแม้น ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กัลปพฤกษ์ ถึงตัด ถ.เอกชัย ระดับน้ำ 15- 30 ซม.

เส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้ ทิศเหนือ

1) ดอนเมืองโทลเวย์ ขึ้นด่านดินแดง ลงสุดทางบริเวณโรงกษาปณ์ (การจราจรติดขัด รถขนาดเล็กผ่านไม่สะดวก)

2) ถ.วิภาวดีรังสิต แยกดินแดง ถึงบริเวณแยกสุทธิสาร


3)
ถ.พหลโยธิน อนุสาวรีย์ชัย - ถึงบริเวณแยกสะพานควาย


4)
ถ.ลาดพร้าว แยกบางกะปิ - ถึงแยกโชคชัยฯ


5)
ถ.รามอินทรา ตั้งแต่ กม.8 ถึง แยกมีนบุรี


6)
ถ.นวมินทร์ แยกลาดพร้าว ถึงแยกเกษตรนวมินทร์


7)
ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์ ) ตั้งแต่แยกลาดปลาเค้า ถึง ถ.นวมินทร์


ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน

1) ถ.นิมิตรใหม่ ขาเข้า -ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 – 40 ซม.

2) ถ.เสรีไทย ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่แยกมีนบุรี ถึงแยกบางชัน ระดับน้ำ 20- 30 ซม.

3) ถ.สวนสยาม ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่แยกสวนสยาม ถึง แยกรพ.นพรัตน์ ระดับน้ำ 20-30 ซม.

4) ถ.สุวินทวงศ์ บริเวณแยกมหานคร น้ำท่วมขัง ระยะทาง 300 เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 40-50 ซม.

ทิศตะวันตก-ใต้ ถนนสายทางรอง ปิดการจราจร 2 เส้นทาง

1) ถ.พัฒนาการ (บางแค) ขาเข้า ขาออก ตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซม.

2) ถ.กำนันแม้น ขาเข้า

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-12 22:42:36 IP : 113.53.77.6


ความคิดเห็นที่ 41 (3268702)

ทิศตะวันตก-ใต้ ถนนสายทางรอง ปิดการจราจร 2 เส้นทาง

1) ถ.พัฒนาการ (บางแค) ขาเข้า ขาออก ตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซม.

2) ถ.กำนันแม้น ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.เทอดไท ถึงตัด ถ.กัลปพฤกษ์ ระดับน้ำ 40-80 ซม.

ทิศตะวันออก ถนนสายหลัก ปิดการจราจร จำนวน 1 เส้นทาง

1) ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ ถึงแยกพาณิชยการมีนบุรี ระดับน้ำ 50-60 ซม.

ทิศตะวันออก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 3 เส้นทาง

1) ถ.ราษฎร์อุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 70-80 ซม.

2) ถ.หทัยราษฎร์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถ.สุวินทวงศ์ ถึงซ.หทัยราษฎร์ 1 ระดับน้ำ 60-80 ซม.

3) ถ.ประชาร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-60 ซม.

ทิศตะวันตก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 13 เส้นทาง

1) ถ.สวนผัก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกกาญจนา ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ ระดับน้ำ 70-100 ซม.

2) ถ.บางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนา ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-90 ซม.

3) ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด ถ.กาญจนาภิเษก ระดับน้ำ 40-60 ซม.

4) ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-เขาออก ตั้งแต่ ประตูระบายน้ำทวีวัฒนา ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.

5) ถ.พุทธมณฑลสาย 1 ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่ขนส่งรถไฟสายใต้ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.

6) ถ.ทุ่งมังกร ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัด ถ.สวนผัก ระดับน้ำ 80-120 ซม.

7) ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน ระดับน้ำ 40-60 ซม.

8) ถ.ชัยพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัดวัดชัยพฤกษ์ ระดับน้ำ 40-60 ซม.

9) ถ.บางแวก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึง สน.บางเสาธง ระดับน้ำ 40-80 ซม.

10) ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-60 ซม.

11) ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-80 ซม.

12) ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-70 ซม.

13) ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80-150 ซม.

ทิศตะวันตก ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 10 เส้นทาง

1) ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก จากแยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึง ซ.เพชรเกษม ซ.18) ระดับน้ำ 40 -100 ซม.

2) ถ.กาญจนาภิเษก ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถึง คลองบางไผ่ ระดับน้ำ 60-80 ซม.

3) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 77 ถึง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 89 และช่วง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 43 ถึง คลองบางกอกน้อย ระดับน้ำ 70-150 ซม.

4) ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถึงตัด.เพชรเกษม ระดับน้ำ 60-70 ซม.

5) ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร ระดับน้ำ 60-150 ซม.

6) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าถึงแยกบรมราชชนนี ระดับน้ำ 80-150 ซม.

7) ถ.อรุณอัมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ถึงแยก รพ.ศิริราช ระดับน้ำ 80-150 ซม.

8) ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบรมราชชนนีถึงทางต่างระดับสิรินธร(สายใต้เก่า) ระดับน้ำ 60- 150 ซม.

9) ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงแยก ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-80 ซม.

10) ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้

ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน

1) ถ.กำแพงเพชร ขาเข้า ขาออก ตั้งแยกตัด ถ.พหลโยธิน ถึง ตัดถ.กำแพงเพชร 2 ระดับน้ำ 10 – 20 ซม.
2)
ถ.พหลโยธิน ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางซื่อ(แยกกำแพงเพชร) ถึงแยกสะพานควาย ระดับน้ำ 20 – 30 ซม.

3) ถ.วิภาวดีฯ ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางซื่อ(ตึกชัยดีแทค) ถึงแยกสุทธิสารฯ ระดับน้ำ 20-30 ซม.

4) ถ.รามอินทรา ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ กม.5 (ใต้ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์)ถึง กม.8 ระดับน้ำ 20-30 ซม.

5) ถ.นวมินทร์ ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ถ.นวมินทร์ซ.147 ถึง แยกตัด ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์) ระดับน้ำ 30

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-12 22:47:42 IP : 113.53.77.6


ความคิดเห็นที่ 42 (3268703)

ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน

1) ถ.กำแพงเพชร ขาเข้า ขาออก ตั้งแยกตัด ถ.พหลโยธิน ถึง ตัดถ.กำแพงเพชร 2 ระดับน้ำ 10 – 20 ซม.
2)
ถ.พหลโยธิน ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางซื่อ(แยกกำแพงเพชร) ถึงแยกสะพานควาย ระดับน้ำ 20 – 30 ซม.

3) ถ.วิภาวดีฯ ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางซื่อ(ตึกชัยดีแทค) ถึงแยกสุทธิสารฯ ระดับน้ำ 20-30 ซม.

4) ถ.รามอินทรา ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ กม.5 (ใต้ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์)ถึง กม.8 ระดับน้ำ 20-30 ซม.

5) ถ.นวมินทร์ ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่ถ.นวมินทร์ซ.147 ถึง แยกตัด ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์) ระดับน้ำ 30 ซม.

6) ถ.ลาดปลาเค้า ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่แยกลาดปลาเค้า ถึงหน้าวัดใหม่เสนา ระดับน้ำ 40 -50 ซม.

7) ถ.สายไหม มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40-50 ซม.

8) ถ.เสนานิคม 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเสนานิคม ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 40 ซม.

9) บริเวณแยกวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 60 ซม.

10) ถ.นาวงประชาพัฒนา มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.

11) ถ.บูรพา (ดอนเมือง) มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.

12) ถ.กำแพงเพชร 2 (เก่า) บริเวณด้านหลังขนส่งหมอชิต 2 ระดับน้ำสูง ประมาณ 20- 30 ซม.

ทิศเหนือ ถนนสายรองปิดการจราจร จำนวน 18 เส้นทาง

1) ถ.พระยาสุเรนทร์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 40-80 ซม.

2) ถ.เทอดราชันย์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

3) ถ.แจ้งวัฒนะซ. 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซม.

4) ถ.ช่างอากาศอุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

5) ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้าวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 80-150 ซม.

6) ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ. ระดับน้ำ 80 ซม.

7) ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.

8) ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

9) ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

10) ถ.เวฬุวนาราม( วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

11) ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.

12) ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน ระดับน้ำ 60 ซม.

13) ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก รร.นายเรืออากาศ(คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา ระดับน้ำ 60 ซม.

14) ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงห้าแยกวัชรพล ระดับน้ำ 60 ซม.

15) ถ.เพิ่มสิน (พหลโยธิน 54/1- ถ.สุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

16) ถ.สุขาภิบาล 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

17) ถ.มัยลาภ ขาเข้า ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 - 50 ซม.

18) ถ.คู้บอน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.รามอินทรา ถึงวัดคู้บอน ระดับน้ำ 40-60 ซม.

ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร และเส้นทางเลี่ยง จำนวน 9 เส้นทาง

1) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ถึงสะพานข้ามคลองบางซื่อ(แยกกำแพงเพชร) ระน้ำ 50 – 130 ซม.เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ประดิพัทธิ์- ไป ถ.พระราม 6 หรือ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย- ไป ถ.วิภาวดีฯ หรือกลับรถไปอนุสาวรีย์ชัยฯ หรือใช้ทางลัด ซ.พหลโยธิน 2 ไป ถ.วิภาวดีฯ


2)
ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจรถึงสะพานข้ามคลองบางซื่อ(ตึกชัยดีแทค) ระดับน้ำ 50-120 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ. สุทธิสารวินิจฉัย ไป ถ.พหลโยธิน หรือ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย ไป ถ.รัชดาภิเษก หรือกลับรถไปดินแดง

3) ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ตั้งแต่ทางต่างระดับรัชวิภา ถึงแยกสุทธิสาร ระดับน้ำ 30 - 60 ซม.เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย ไป ถ.วิภาวดีฯ หรือ ถ.สุทธิสารวินิฉัย - ไปเชื่อมลาดพร้าว ซ.64

4) ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า

ความคิดเห็นที่ 43 (3268704)

4) ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจรตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ถึงสะพานข้ามคลองลาดพร้าว(ลาดพร้าว ซ.48) ระดับน้ำ 40-80 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ลาดพร้าว ซ.64 - ไปเชื่อม ถ.สุทธิสารวินิฉัย แยกสุทธิสาร

5) ถ.นวมินทร์ ขาเข้า- ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ตั้งแต่ ถ.รามอินทรา กม.8 ถึง ถ.นวมินทร์ ซ.147 ระดับน้ำ 65 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์) - ไปถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ

6) ถ.รามอินทรา ขาเข้า ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกวงเวียนบางเขน ถึง รามอินทรา กม.5 (ใต้ทางด่วนรามอินทรา อาจณรงค์) ระดับน้ำประมาณ 100-110 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์) ถ.รามอินทรา - มีนบุรี หรือ ถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ ถ.พระราม 9

7) ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตร-นวมินทร์) ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่แยกเกษตร ถึงแยกลาดปลาเค้า ระดับน้ำ 40 – 60 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ประเสริฐมนูญกิจ ตั้งแต่ แยกลาดปลาเค้า ไป ถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ ถ.นวมินทร์

8) ถ.แจ้งวัฒนะขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา ระดับน้ำ 90- 100 ซม.

9) ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร ระดับน้ำ 100 ซม.

เส้นทางที่ควรเลี่ยงรถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน (ระดับน้ำเพิ่มขึ้น)

1) ถ.เสรีไทย ขาเข้า ขาออก ตั้งแต่แยกมีนบุรี ถึงนิคมอุตสาหกรรมาบางชัน เดิม ระดับน้ำ 20- 30 ซม. เพิ่ม เป็น 30 - 40 ซม.

แจ้งการเปิดการจราจร อย่างไม่เป็นทางการ (ระดับน้ำลดลง)

1) ถ.เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่แยกเจ้าคุณทหาร ถึงแยกตัด ถ.คุ้มเกล้า

2) ถ.จรัญสนิทวงศ์

2.1) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 90 (รพ.ยันฮี)

2.2) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 77 - แยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี

2.3) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ แยกบรมราชชนนี - ซ.จรัญสนิทวงศ์ 34 ยังมีระดับน้ำ 20 - 30 ซม.

3) เชิงสะพานกรุงธน ถึงแยกบางพลัด ยังมีระดับน้ำเป็นระยะ 20 – 30 ซม.

4) ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 89

5) ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 77 - แยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี - ซ.จรัญสนิทวงศ์ 43
6)
สะพานกรุงธน-แยกบางพลัด ใช้ได้ 1 ช่องทางด้านขวา

ปิดการจราถนนสายรองทิศตะวันออก 1 เส้นทาง

1) ถนนเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่แยกเจ้าคุณทหาร ถึงแยกตัด ถ.คุ้มเกล้า ระดับน้ำ 60 ซม.

แจ้งข้อมูลถนนที่มีระดับน้ำลดลง

1) ถ.บรมราชชนนี

1.1) ถ.บรมราชชนนี ตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึงหน้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ไม่มีน้ำท่วมขัง

1.2) ถ.บรมราชชนนี ตั้งแต่หน้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ถึงทางต่างระดับสิรินธร ระดับลดลงเหลือประมาณ 30 ซม.
2)
ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า

2.1) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงแยกอรุณอัมรินทร์ ระดับน้ำลดลงเหลือ ประมาณ 30 ซม.

2.2) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึงแยกบรมราชชนนี ระดับน้ำลดลงเหลือ ประมาณ 30-50 ซม. (หน้าพาต้าปิ่นเกล้า ระดับน้ำ 40 ซม.)

3) ถ.อรุณอัมรินทร์ ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึง รพ.ศิริราช ระดับน้ำลดลงเหลือ 40- 60 ซม.

4) ถ.อรุณอัมรินทร์ ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึง สะพานพระราม 8 ระดับน้ำ ลดลงเหลือ 30-50 ซม.

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-12 22:53:54 IP : 113.53.77.6


ความคิดเห็นที่ 44 (3268898)

 นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ในฐานะประธานศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ศปภ.ทส.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบมวลน้ำล่าสุดคาดการณ์ว่าเวลานี้น่าจะเหลือมวลน้ำอยูไม่เกิน 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) โดยน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ด้านกรุงเทพมหานคร(กทม.) ฝั่งตะวันตก 

          ทั้งนี้ จากการตรวจสอบและคาดการณ์ พบว่า วันที่ 20 พ.ย.นี้ น้ำทะเลจะลงต่ำสุด สิ่งที่จะต้องรีบทำ คือ สูบน้ำลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเวลานี้แม่น้ำเจ้าพระยายังอยู่ในระดับต่ำกว่าคันกั้นน้ำเกือบ 2 เมตร ขณะที่วันที่ 28 พ.ย.นี้ น้ำทะเลจะหนุนสูงสุดอีกครั้ง คือ ราว 30 เซนติเมตร วิธีการแก้ปัญหาในช่วงเวลานั้น คือ การปิดประตูระบายน้ำทั้งหมด โดยสถานการณ์รวมเวลานี้คาดว่ามวลน้ำน่าจะอยู่ใน กทม.อีกประมาณ 1 เดือน จึงจะระบายออกไปหมด

วันที่ 16/11/2011

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-16 08:58:20 IP : 113.53.78.151


ความคิดเห็นที่ 45 (3269070)

 น้ำท่วมฉุดดัชนีอุตฯต.ค.ต่ำสุดรอบ26เดือน

 

ส.อ.ท.เผย น้ำท่วม! .......................

ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.ลดต่ำในรอบ 26 เดือน แตะ 89.0

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมประจำเดือน ต.ค. 2554 พบว่าค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 89.0 ปรับลดลงจาก 90.7 ในเดือนก.ย. ลดลงต่ำสุดในรอบ 26 เดือน ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงกว้าง โดยเฉพาะภาคการผลิตที่เสียหายรุนแรง ในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วน ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่ต้องหยุดการผลิต เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต กระทบต่อการจ้างงาน และรายได้ของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลง

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 101.3 เพิ่มขึ้นจาก 94.0 ในเดือนก.ย. เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าภายหลังจากสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายและเข้าสู่ภาวะปกติ จะอยู่ในช่วงฟื้นฟูการผลิตและภาคครัวเรือน ทำให้ต้องมีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภาครัฐควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับมาตรการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน เร่งฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แก้ปัญหาแรงงานขาด จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งแก้ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน และมีราคาสูง

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล(ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

E-mail : apdmajor1@yahoo.com

 

1811541007

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-18 10:07:55 IP : 113.53.79.137


ความคิดเห็นที่ 46 (3269123)

 สำหรับสถานการณ์น้ำที่ถนนพระราม 2 ซ.69 ได้ลดลงเหลือ 20 ซม. แต่กองบังคับ การตำรวจจราจร(บก.จร.) แจ้งน้ำยังท่วมสูง จึงปิดการจราจรถนนสายรองทิศตะวันตก 12 เส้นทาง ดังนี้ ถนนสวนผัก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกกาญจนาถึงสะพานข้ามทางรถไฟ ระดับน้ำ 30-40 ซม., ถนนบางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนา ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 50-60 ซม. ถนน ทวีวัฒนา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด คลองบางไผ่ 30-40 ซม.,ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ขนส่งรถไฟสายใต้ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 30-40 ซม.,ถนนทุ่งมังกร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถนนบรมราชชนนี ถึงตัดถนนสวนผัก ระดับน้ำ 30 ซม., ถนนฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก 

 ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน ระดับน้ำ 20 ซม., ถนนชัยพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัดถนนบรมราชชนนี ถึงตัดวัดชัยพฤกษ์ ระดับน้ำ 30-40 ซม., ถนนบางแวก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึง สน.บางเสาธง ระดับน้ำ 30-40 ซม., ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 20-30 ซม., ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-80 ซม., ถนนอุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-70 ซม และ ถนนศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย 

 กทม.ชี้น้ำยังทะลักเข้าฝั่งธนฯ 

 ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและ แก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม กรุงเทพมหานคร(กทม.) สรุปสถานการณ์น้ำ ช่วงเวลา 7.00 น. ว่า ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา วัดได้ 2,116 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน 75 ลูกบาศก์เมตรต่อ วินาที ส่วนสถานการณ์น้ำภาพรวมในกรุงเทพฯ ฝั่งพระนคร ด้านดอนเมืองและเขตจตุจักร ระดับน้ำคลองเปรมประชากรตลอดลำคลองลดลง 2-4 ซม. ส่วนระดับน้ำคลองเปรมประชากร ช่วงจตุจักร-ดอนเมือง ยังคงล้นตลิ่ง ด้านสายไหม, ระดับน้ำคลองลาดพร้าวตลอด ลำคลองลดลง 2-4 ซม. ขณะที่กรณีประชาชน เข้ารื้อแนวคันกั้นน้ำที่คลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 

 ส่วนสถานการณ์น้ำฝั่งตะวันออก ระดับ น้ำคลองแสนแสบตลอดลำคลองระดับน้ำลดลง 1-4 ซม. คลองประเวศบุรีรมย์ตลอดลำคลองลดลง 1-2 เมตร ต้นคลองบางซื่อตลอดลำคลองลดลง 2-3 ซม. อย่างไรก็ตาม ฝั่งธนบุรียังคงมีน้ำจากศาลายาทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม.อย่างต่อเนื่อง ส่วนระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ช่วงคลองทวีวัฒนาลดลง 1 ซม.ขณะที่ระดับน้ำ ในคลองต่างๆ ของฝั่งธนบุรีลดลง 3-7 ซม. 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-19 08:53:29 IP : 113.53.75.210


ความคิดเห็นที่ 47 (3269159)

วันนี้(19 พ.ย. 54) เมื่อเวลา 06.30 น. กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร) ได้แจ้งเปิดเส้นทางการจราจรเพิ่มเติม ในเส้นทางที่มีระดับน้ำลดลง( เปิดการจราจรอย่างไม่เป็นทางการ )

   1. ถ.พหลโยธิน ระดับน้ำลดลง ขยายเปิดการจราจร ตั้งแต่แยกสะพานควาย ถึง แยกรัชโยธิน
   2.
ถ.วิภาวดีรังสิต ระดับน้ำลดลง ขยายเปิดการจราจรตั้งแต่ดินแดง ถึง คลองลาดยาวรถยนต์ขนาดเล็กวิ่งได้ (ตั้งแต่คลองลาดยาว ถึง แยกหลักสี่ ผิวถนนยังมีน้ำท่วมขังเป็นระยะ ระดับน้ำ 20 -30 ซม. รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน)

   3.
ถ.รามอินทรา ระดับน้ำลดลง ขยายเปิดการจราจร ตั้งแต่ ถ.รามอินทรา กม.1(เซ็ลทรัลรามอินทรา) ถึง มีนบุรี

   4.
ถ.รัชดา ระดับน้ำลดลง เปิดการจราจร ตลอดสาย

   5.
ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก เปิดการจราจร 1 ช่องทางด้านขวา ตั้งแต่แยกบางเขน ถึงแยกพงษ์เพชร (บริเวณใต้สะพานแยกพงษ์เพชร มีน้ำท่วมขังระดับน้ำ 40 ซม.)

   6.
ถ.กำแพงเพชร6 ระดับน้ำลดลง ขยายเปิดการจราจรตั้งแต่ ตัด ถ.กำแพงเพชร 2 ถึง ปากทางเข้าการเคหะทุ่งสองห้อง (ผิวถนนยังมีน้ำท่วงขังเป็นระยะ ระดับน้ำ 5-10 ซม.)

   7.
ถ.ลาดพร้าว ระดับน้ำลดลง ขยายเปิดการจราจร ตลอดสาย

   8.
ถ.กำแพงเพชร ระดับน้ำลดลง เปิดการจราจร ตลอดสาย ทิศตะวันตก

   9.
ถ.สิรินธร ระดับน้ำลดลง เปิดการจราจร ตั้งแต่แยกบางพลัด ถึง ถ.สิรินธร ซอย 5 (ห้างตั้งฮั่วเส็ง)

   10.
ถ.อรุณอัมรินทร์ ระดับน้ำลดลง เปิดการจราจร ตลอดสาย (บริเวณตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึงสะพานอรุณอัมรินทร์ ยังมีระดับน้ำ 20 ซม.)

   11.
ถ.บรมราชชนนี ระดับน้ำลดลง เปิดการจราจร ตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึง ถ.พุทธมณฑลสาย
2
   12.
ถ.จรัญสนิทวงศ์ เปิดการจราจร ตลอดสาย

   13.
ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า เปิดการจราจร ตลอดสาย

   14.
ถ.ราชวิถี เปิดการจราจร ตลอดสาย

   15.
ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำลดลง เปิดการจราจร ตั้งแต่ วงเวียนนครอินทร์ ถึงเชื่อม ถ.กรุงธนบุรี

   16.
ถ.กาญจนาภิเษก ระดับน้ำลดลง เปิดการจราจร ตั้งแต่ตัด ถ.บรบราชชนนี ถึง พระราม 2 ( รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน)

   17.
ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า เปิดการจราจร ทางลง สน.ตลิ่งชัน (รถยนต์ขนาดเล็กผ่านได้) ทางลงต่างระดับฉิมพลี(รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน)

วันที่ 19/11/2011

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-19 21:47:51 IP : 125.26.26.169


ความคิดเห็นที่ 48 (3269235)

 Dear All, 

Cha-krit Sirohit reported.
 

 
Blessings, 
 
 
จีน

จีนบริจาคเงิน 50 ล้านบาท เรือ 128 ลำ เครื่องกรองน้ำและถังบรรจุน้ำ ส่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงชลประทานนาย Liu Ning พร้อมเจ้าหน้าที่เทคนิคมาให้คำปรึกษา 

บริจาคครั้งที่ เป็นเรือ 20 ลำ เครื่องกรองน้ำ 30 ชุด เสื้อ 20,000 ตัว เต๊นท์ 1,300 หลัง ถุงทราย 8,000 ถุง 

บริจาคครั้งที่ เป็นเครื่องสูบน้ำ 20 เครื่อง 

บริจาคครั้งที่ เป็นเรือ 165 ลำ เครื่องกรองน้ำ 120ชิ้น ถุงทราย 26,000 ถุง ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์5,008 อัน 

บริจาคครั้งที่ จีนส่งความช่วยเหลือกู้ภัยน้ำท่วมไทยเพิ่มเติมอีก 150 ล้านบาท หลังจากที่ได้ส่งความช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่รัฐบาลไทยไปแล้วก่อนหน้านี้ 90ล้านบาท พร้อมเรือขนาดใหญ่ 64 ลำ และเครื่องกรองน้ำดื่มจำนวนมาก 



ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นบริจาคเงิน 12 ล้านบาท 

บริจาคครั้งที่ เป็นสิ่งของมูลค่า 10 ล้านบาท ประกอบด้วยสุขาเคลื่อนที่ 240 หน่วย เครื่องยนต์เรือ200 เครื่อ เสื้อชูชีพ 450 ชุด พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ 2คณะ เพื่อสำรวจสถานการณ์ในพื้นที่เพื่อประกอบการพิจารณาความช่วยเหลือในการฟื้นฟูและป้องกันภัยในอนาคต 
Honda บริจาคเงิน 112 ล้านบาท 



อินโดนิเซีย

อินโดนิเซียบริจาคเงิน 95.5 ล้านบาท 



EU (European Union) สหภาพยุโรป

บริจาคเงิน 60 ล้านบาท 



บาห์เรน

บาห์เรนบริจาคเงิน 60 ล้านบาท

มาเลเซีย

มาเลเซียบริจาคเงิน 30.9 ล้านบาท 

ออสเตรเลีย

ออสเตรเลียบริจาคเงิน 16 ล้านบาท 

เกาหลีใต้

เกาหลีใต้บริจาคเงิน 6 ล้านบาท 

บริจาคครั้งที่ เป็นถุงบรรจุทราย 100,000 ถุง 

บริจาคครั้งนี้ เป็นเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ที่ผลิตน้ำดื่มให้กับคน 3,000 คนได 

อินเดีย

อินเดียบริจาคเงิน 6 ล้านบาท

เยอรมัน

รัฐบาลเยอรมันบริจาคเงิน 1.7 ล้านบาทเพื่อซื้อเรือกู้ภัยและสิ่งของบรรเทาทุก และมอบที่นอนและผ้าห่มให้ศูนย์พักพิง มธ.ศูนย์รังสิต 
บริจาคครั้งที่ เป็นเงิน 4.2 ล้านบาทพร้อมส่งนักโบราณคดีเพื่อให้ความช่วยเหลือในการบูรณะโบราณสถานในอยุธยา

สหรัฐอเมริกา

สหรัฐบริจาค 3 ล้านบาทให้กาชาดไทย เสนอส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าช่วยเหลือ ส่ง C-130 พร้อมและสอบทรายและทีมช่วยเหลือด้านเทคนิคจาก USMC ส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน USS George Washington เข้ามาลอยลำที่อ่าวไทยเพื่อเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือ 

สิงคโปร์

สิงคโปร์บริจาคเงิน 2.4 ล้านบาท 
องค์กร Mercy Relief จากสิงคโปร์มอบอาหาร70,000 ถุง เรือกู้ภัย 12 ลำ 

บริจาคครั้งที่ รัฐบาลสิงคโปร์บริจาคเต้นท์ 150 หลัง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่อง

นิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์บริจาคเงิน 2.4 ล้านบาท

เดนมาร์ค

เดนมาร์คบริจาคเงิน 1.6 ล้านบาท

ลาว 

ลาวบริจาคเงิน 1.5 ล้านบาท 

สวิสเซอร์แลนด์ 

สวิสเซอร์แลนด์บริจาคเงิน ล้านบาท 

บริจาคครั้งที่ เสนอบริจาคเงิน น้ำสะอาด และอาหาร รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค โดยเฉพาะการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมหลังภัยพิบัติ และการจัดการทรัพยากรน้ำ

อิสราเอล 

อิสราเอลเสนอให้คำแนะนำการจัดการน้ำ 

บริจาคครั้งที่ เป็นอาหารแห้ง 300 ถุงและสิ่งของช่วยเหลือมูลค่า แสนบาท 

เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมาช่วย

บังคลาเทศ บริจาคเงินให้รัฐบาลไทย ชวยเหลือน้ำท่วม ล้านดอลล่าร์สหรัฐUN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (UN OCHA) สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (UN OCHA) เสนอความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เช่น การประสานความช่วยเหลือ การบริหารจัดการข้อมูลและรายงานต่างๆ การให้ข้อแนะนำเรื่องการฟื้นฟู และสังคมสงเคราะห์ International Organization for Migration International Organization for Migration ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติเพื่อการย้ายถิ่นฐานเสนอให้คำปรึกษาเรื่องการจัดตั้งศูนย์อพยพ และมอบของที่จำเป็นเช่น เรือ เครื่องสูบน้ำ และรถบรรทุก World Food Program โครงการอาหารโลก (World Food Program ส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำเรื่องการจัดการการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยคน

ไทยต่างแดน
กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับเงินบริจาค จากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลก และชุมชนไทยในต่างประเทศ จำนวน ล้านบาท -----เหล่านี้คือ ความช่วยเหลือที่ต่างชาติส่งมาเพื่อช่วยเหลือปชช.คนไทยที่ประสบภัยน้ำท่วม -- ทำไมรัฐไม่บอกหรือชี้แจงให้ปชช.ทราบว่าได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ --
 
 
Dear 
Cha-krit Sirohit, 
Where did you get this message ?
ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-21 08:13:11 IP : 125.26.18.234


ความคิดเห็นที่ 49 (3269581)

 นับเป็นการบริหารงานแบบห่วยแตกไม่สีประสาสำหรับรัฐบาลภายใต้การนำของนายกฯยิ่งลักาณ์ ชินวัตร และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ที่ปล่อยให้ปัญหาเล็กกลายเป็นปัญหาใหญ่ซ้ำซากจากเหตุการณ์ม็อบประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน จ.นนทุบรี และจ.ปทุมธานี 3 จุด ลุกฮือขึ้นพังบิ๊กแบ๊กด้วยความเดือดแค้นและบางส่วนบุกขึ้นไปปิดถนนบนดอนเมืองโทลล์เวย์เพื่อประท้วงกรณีที่ทางการเพิกเฉยไม่ยอมแก้ปัญหาปล่อยให้ผู้ประสบมหาอุทกภัยทางตอนบนของกทม.และปริมณฑลต้องทนทุกข์อยู่กับน้ำท่วมขังที่เน่าเหม็นมานับเดือน 

 ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยที่อยู่เหนือแนวคันกั้นน้ำไม่ใช่เพิ่งจะเกิด แต่มีการร้องเรียนต่อทางการโดยเฉพาะ ศปภ.มานานแล้ว แต่รัฐบาลและศปภ.กลับไม่สนใจปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังและหลอกชาวบ้านขายผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆมาตลอดจนในที่สุดความอดทนของชาวบ้านผู้ประสบภัยก็ถึงจุดเดือดพากันลุกฮือออกมาก่อจลาจลย่อยเพื่อเตือนสติรัฐบาลและศปภ. 

 ทั้งๆที่ประชาชนผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่ยังต้องเผชิญกับความทุกข์เดือดร้อนแสนสาหัสทั้งย่ายดอนเมือง ปทุมธานี นนทบุรี และฝั่งธนบุรี แต่รัฐบาลและศปภ.กลับสร้างภาพหลอชาวบ้านว่าสถานการณ์คลี่คลายแล้ว และแทนที่จะมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือความเดือดร้อนของชาวบ้านผู้ประสบภัยที่ยังมีจำรนวนไม่น้อยกลับไปให้ความสำคัญกับเรื่องการรณรงค์ทำความสะอาดครั้งใหญ่และการฟื้นฟูเยียวยา 

 ความไม่เอาไหนของรัฐบาลจึงไม่แปลกที่แม้แต่ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ทนไม่ไหวประกาศขีดเส้นตายให้รัฐบาลและศปภ.3วันในการแก้ปัญหา มิฉะนั้นพร้อมนำชาวบ้านผู้ประสบภัยลุกฮือออกมาปิดถนนวิภาวดีรังสิตและโทลล์เวย์เพื่อประท้วง 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-25 08:56:05 IP : 113.53.69.42


ความคิดเห็นที่ 50 (3269640)

 รัฐบาลประเทศไทยในสมัยของ น.ส. ยิงลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

 

     วันที่ 20 พ.ย. 2554 จังหวัด ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และ สมุทรสาคร กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมขังเป็นเวลานานร่วมเกือบ 1-2 เดือนมาแล้ว และตอนนี้ก็ยังมีพื้นที่จำนวนมากที่รอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ประชาชนมากกว่า แสนครัวเรือนกำลังจมน้ำ

     ในวันนี้ 20 พ.ย. 2554 เราเห็นหรือไม่ว่า รัฐมนตรีทั้งคณะกำลังวุ่นวายทำงานเรื่องอะไรอยู่ ทั้งที่ปัญหาน้ำท่วมกินเวลามาตั้งแต่เริ่มต้นรัฐบาล ตอนนี้ เดือนผ่านมา รัฐมนตรีทั้งหมด 35 คน ทำอะไรอยู่นอกจากกินเงินภาษีของประชาชน และ เดินเชิดให้คนยกมือไหว้เช้าไหว้เย็น

     ผมลองเปิดดูแต่ละท่านครับ

     1. น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ไปประชุมเอเปก ไปโชว์ความสามารถเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศอย่างดีเยี่ยมกับอารยะประเทศ

     2. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอนนี้กำลังเปิดประมูลถุงยังชีพของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธรณภัย และ กำลังคิดว่าจะแบ่งถุงไปให้ใครบ้าง(คนรับประมูล)

     3. ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เรื่องน้ำท่วมไม่ยุ่ง มุ่งแต่ช่วยพ่อที่ต่างประเทศกลับบ้านเกิด คนไทยครึ่งประเทศจะตายปล่อยมันตายไป

     4. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลเรื่องความวุ่นวายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ดูเหมือนว่าจะไปดูแค่ชื่อ

     5. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความมั่นใจกับนักธุรกิจที่ถูกน้ำท่วมว่า รัฐบาลจะไม่รับผิดชอบเพราะนี้เป็นภัยธรรมชาติ

     6. นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา กำลังประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยมาเที่ยวได้ เพราะสุพรรณบุรีน้ำยังไม่ท่วม

     7. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ภารกิจเด่นคือ เป็นเจ้าภาพงานทอดกฐินทั่วราชอาณาจักร

     8นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สิ่งสำคัญคือปกครองสื่ออย่าให้ออกข่าวนอกลู่นอกทางที่รัฐบาลกำหนด

     9. พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นั่งรอวันเปลี่ยนตัว

    10. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กำลังหาทางนำงบประมาณมาใช้ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะเงินสำรองของประเทศ

    11. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง รถคันแรก บ้านหลังแรก แต่อาจจะมีโปรโมทชั่นแถมน้ำไปด้วยนะครับ

    12. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง เลี้ยงหลานอยู่บ้าน

    13. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กำลังปฏิบัติภารกิจลับสุดยอดเรื่องการทำงานให้เขมร

    14. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นั่งรอให้น้ำลด แล้วก็ปล่อยให้มันลดไปเอง เพราะตอนนี้ไม่ว่างนอนอยู่

    15. นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตราบาปแห่งกรมชลประทาน ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของมังกร(ทอง)

    16. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผมไม่รู้ว่ามีรัฐมนตรีคนนี้กินเงินภาษีผมด้วยนะครับ

    17. พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมจัดงานแต่งงานของหลานรัก เลยไม่ค่อยว่างออกงานราช

    18. พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องเข้าใจว่าท่านแก่แล้ว ต้องดูแลสุขภาพตนเอง

    19. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แปะชื่ออยู่

   20. นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภารกิจที่จังหวัดเลยมีเยอะ แถมต้องไปทำความสะอาดบ้านให้พ่อที่เชียงใหม่ด้วยเลยยุ่ง

   21. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำงานไว (เฉพาะตามคำลั่ง)

    22. นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลดค่าน้ำมันแค่ วันก็พอแล้วมั้ง

   23. นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอนแก่นเมืองใหญ่ ที่อื่นต้องรอก่อน

   24. นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตอนนี้อย่ายุ่ง กำลังฮานีมูนอยู่ เดียวไม่มีหลานให้อุ้ม

   25. นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงมหาดไทย ปทุมธานีน้ำท่วม เลยออกจากบ้านไม่ได้

   26. นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้เฒ่ายังไม่สั่ง เลยทำอะไรไม่ได้มาก

   27. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปฏิบัติภารกิจใหญ่ ช่วยนายกลับบ้าน และ ช่วยรักษาความยุติธรรมให้กับคนเก่ง

   28. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นครปฐมน้ำท่วมเหมือนกัน ออกจากบ้านไม่ได้

   29. นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ชลบุรีต้องมาก่อน

   30. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภารกิจหลักคือจัดระบบความคิดให้เป็นวิทยาศาสตร์ก่อนจะพูด ถ้าทำได้

   31. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ห้ามมีแปะเอี้ยสำหรับนักเรียนใหม่ นี้คือคำประกาศให้ทราบเท่านั้น

   32. นางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีคือผลตอบแทน ไม่ทำงานก็ไม่ว่า

   33. นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปทุมธานีน้ำท่วม ออกจากบ้านไม่ได้เหมือนกัน ประชาชนจะตายก็รอไปก่อน

   34. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อยุธยาต้องมาก่อน (เฉพาะพื้นที่ตัวเองก่อนนะครับ)

   35. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่แน่ใจว่าทำงานหรือเปล่า เพราะไม่เห็นเลย

   36. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้รักษานิคม ที่ล้มสลาย

    นี้คือ รายชื่อรัฐมนตรีทั้งหมดของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ทำไม ผมยังไม่เห็ฯมีใครมาช่วยกันแก้ปัญหาน้ำท่วมเลยครับ นี้คือปัญหาด่วนนะครับ หรือรอให้แดดออก น้ำก็จะแห้งเองหรืออย่างไงครับ

   น่าละอายใจที่สุด แต่ละคนมีเงินเดือนเกือบคนละ แสน แต่ทำได้แค่นี้นะหรือครับ

   หรือ ว่ามีเรื่องอื่นทีสำคัญกว่านี้ให้ทำครับ ท่านรัฐมนตรี

 
ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-25 21:25:24 IP : 125.26.28.172



[1] 2 ถัดไป >>


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.