ReadyPlanet.com


โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท - รู้ไว้ได้ประโยชน์ครับ.


"โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท"  ปวดเหลือเกิน

ใครจะคิดว่าพฤติกรรมปกติธรรมดาเช่นนี้จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคอย่าง กล้ามเนื้อตะโพกหนีบเส้นประสาท

ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดรุนแรง กว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเสียอีก นอนตอนกลางคืนจะปวดมากจนนอนไม่หลับ เวลาเปลี่ยนท่า อย่างการเดินแรกๆ มักจะปวดตะโพกลงขา แต่พอเดินๆไประยะหนึ่งจะค่อยๆ หายปวดขา ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อต้นคอ เวลาขยับกล้ามเนื้อคอจะมีอาการปวดเสียวอาการปวดตามบ่า ไหล่ ตะโพกที่ค่อยๆ ขยายวงกว้างขึ้นจนไปถึงปลายมือ ปลายเท้า ไม่ว่าจะกินยาขนานใดก็ไม่มีทีท่าว่าจะหายขาดนั้น คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะคนไข้บางรายที่ตรงไปพบแพทย์ด้วยอาการที่ว่าอาจจะพบความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสันหลังที่อาจเกิดขึ้นตามวัยด้วย บางรายยอมที่จะเจ็บตัวกับการผ่าตัด ทว่าอาการของโรคก็ดูเหมือนจะยังไม่หายไป อย่างแรงเหมือนไฟฟ้าช็อตไปที่แขนได้ ซึ่งอาการนี้คล้ายคลึงกับในโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาก

 น.อ.นพ.ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูกสันหลัง กรุงเทพ ระบุ

อาการของโรคที่ใกล้เคียงกันมากนั้นแม้แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง บางครั้งก็อาจจะไม่สามารถแยกความแตกต่างของทั้งสองโรคได้ 100% และนั่นนำมาซึ่งการรักษาที่ไม่ตรงจุด

โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทนั้นจะมีอาการปวดร้าว และ ชาไปตามแขน หรือขา มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคหมอนรอง กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมาก

ถ้าซักประวัติให้ละเอียดจะพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อนี้มักจะมีอาการปวดบริเวณตะโพกนำมาก่อน และค่อยๆ ลามลงชาไปจนถึงปลายเท้า หรือปวดบริเวณคอ หัวไหล่ แล้วค่อยๆ ลามไปถึงปลายแขน

ความคล้ายคลึงกันของทั้งสองโรคทำให้การวินิจฉัยโดยการทำเอ็มอาร์ไออาจไม่เพียงพอ ไม่เพียงเท่านั้นบางครั้งยังพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคทั้งสองพร้อมกันด้วย ดังนั้นการรักษาด้วยการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปวดอย่างรุนแรงโดยด่วนจึงยังไม่ใช่ทางออก เพราะการผ่าตัดไม่ได้ทำให้กล้ามเนื้อที่รัดแน่นอยู่คลายตัว

กล้ามเนื้อของมนุษย์เปรียบเสมือนเป็นมอเตอร์ให้ร่างกายขับเคลื่อนไปได้ โดยทำงานตลอดเวลาไม่มีพัก จึงไม่แปลกที่กล้ามเนื้อเหล่านี้จะมีอาการป่วย โดยส่งสัญญาณเป็นอาการปวดร้าวตามร่างกายส่วนต่างๆ แต่โชคร้ายที่เราไม่สามารถแสดงอาการป่วยของกล้ามเนื้อนี้ได้จากการเอกซเรย์ หรือเอ็มอาร์ไอ เมื่อกล้ามเนื้อส่วนที่มีเส้นประสาททอดผ่านมีการยืดหยุ่นน้อยลง มีการเกร็งหนีบเส้นประสาทไว้ก็จะส่งผลให้มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทนั้นได้พญ.สุชีลา จิตสาโรจิตโต ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ระบุ

ผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษา พบว่า จะมีอาการชาที่ฝ่าเท้า น่อง หรือปลายนิ้วเท้า ไม่เลือกเวลา เป็นๆ หายๆ บางทีก็เป็นหนัก บางทีก็หายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ เชื่อกันว่าอาการนี้เกิดจากการที่กล้ามเนื้อที่เกิดการอักเสบส่งความรู้สึกประหลาดนี้มาที่ขาได้

ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมากนักสามารถรักษาได้โดยการทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด ไปจนถึงการคลายกล้ามเนื้อ อาทิ การใช้ความร้อนทั้งแบบพื้นผิว หรือแบบลึกไปสู่กล้ามเนื้อชั้นลึก การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น หรือการฝังเข็มให้กล้ามเนื้อคลายตัว แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ

บางครั้งอาการปวดจากกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทมีความรุนแรงมากจนผู้ป่วยแทบทนไม่ไหว จนต้องพึ่งพาแพทย์เฉพาะทางด้านระงับปวดให้มีส่วนช่วยในการดูแลผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง โดยใช้การฉีดยาเฉพาะที่เข้ารอบๆ เส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง นอกจากนี้ยังมีการนำเทคนิคทั้งการใช้อัลตราซาวด์และการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น เพื่อทำให้การหาตำแหน่งมีความแม่นยำมากขึ้น

ทว่าโรคกล้ามเนื้อนี้ยังไม่มีการรักษาใดที่ทำให้หายได้โดยทันที ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาระยะหนึ่ง เพื่อที่จะทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวหนีบเส้นประสาทอยู่นั้นคลายตัวได้ถาวร และการผ่าตัดก็ไม่ใช่ทางออกสำหรับโรคนี้ด้วยเช่นกัน

 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2502532031

*********************

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-25 20:31:49 IP : 124.122.241.155


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.