ReadyPlanet.com


ก.พ.ประกาศใช้กฎขึ้นเงินเดือนข้าราชการ / การเลื่อนชั้นเงินเดือน


ก.พ.ประกาศใช้กฎใหม่ขึ้นเงินเดือน ขรก. ฝืนกฎเหล็ก 9 ข้อหมดสิทธิ์ -ถูกสอบสอบวินัยไม่โดนแป๊ก

ประกาศใช้กฎ ก.พ.ใหม่ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เลิกระบบขั้น ใช้เป้นร้อยละแทน แต่ห้ามเกิน 6% เผยกฎเหล็ก 9 ข้อ ใครฝ่าฝืนหมดสิทธิ์ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยไม่โดนแป๊ก

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานว่า  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ.)ได้ประกาศใช้กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนพ.ศ. 2552 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552  โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552  ทั้งนี้กฎ ก.พ.ดังกล่าวได้กำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการขึ้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการพลเรือนตามระบบใหม่โดยยกเลิกระบบขั้น ให้เป็นอัตราร้อยละแทน แต่ในการเลื่อนเลื่อนเงินเดือนแต่ละครั้งของแต่ละคนห้ามเกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน แต่ถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท


ขณะเดียวกันได้ห้ามใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน


นอกจากนั้น การขึ้นเงินเดือนข้าราชการระบบใหม่นี้ ได้อ้างว่า จะขึ้นเงินเดือนตามการปฏิบัติตนและหน้าที่ของข้าราชการโดยเหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.นี้ระบุว่า โดยที่มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
โดยมีกฎเหล็ก 9 ข้อ ถ้าข้าราชการรายใดฝ่าฝืน จะทำให้ข้าราชการรายดังกล่าวไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน


สำหรับรายละเอียดของกฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 มีรายละเอียดดังนี้

 

ข้อ ๒

 

ปีหมายความว่า ปีงบประมาณ


ครึ่งปีแรกหมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม


ครึ่งปีหลังหมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน


ครึ่งปีที่แล้วมาหมายความว่า ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลัง ที่ผ่านมาแล้วแต่กรณี


ค่ากลางหมายความว่า ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด หารด้วยสองเพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปใช้คิดฐานในการคำนวณ


ฐานในการคำนวณหมายความว่า ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ โดยแบ่งออกเป็น


(๑) ฐานในการคำนวณระดับล่าง ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดตามที่ ก.พ. กำหนดกับค่ากลาง หารด้วยสอง


(๒) ฐานในการคำนวณระดับบน ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กำหนดกับค่ากลาง หารด้วยสอง


ในกรณีที่คำนวณตามวิธีการดังกล่าวแล้ว มีผลทำให้ฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่า มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับฐานในการคำนวณระดับบนของระดับตำแหน่งที่ต่ำกว่าซึ่งอยู่ถัดลงไป ก.พ. อาจปรับฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่านั้นเสียใหม่ให้สูงขึ้นได้โดยต้องนำภาพรวมของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนทั้งระบบมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา


ช่วงเงินเดือนหมายความว่า ช่วงของเงินเดือนระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำถึงค่ากลาง หรือระหว่างค่ากลางถึงเงินเดือนขั้นสูง แล้วแต่กรณี และช่วงเงินเดือนที่ ก.พ. ปรับให้สอดคล้องกับฐานในการคำนวณด้วย


ข้อ ๓ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน


ข้อ ๔ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ และให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๗๖ มาประกอบการพิจารณา โดยให้เลื่อนได้ไม่เกินวงเงินที่ส่วนราชการได้รับการจัดสรรให้ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน


การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้เลื่อนได้ไม่เกินเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง


การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญโดยมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
แต่ใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากันจะกระทำมิได้


การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละหกของฐานในการคำนวณ และ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนประกาศอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอย่างช้าที่สุดพร้อมกับการมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน


การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท


ข้อ ๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกติให้เลื่อนปีละสองครั้ง ดังนี้

 

(๑) ครั้งที่หนึ่ง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ เมษายนของปีที่ได้เลื่อน


(๒) ครั้งที่สอง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ ตุลาคมของปีถัดไป


ข้อ ๖ ให้ ก.พ. กำหนดค่ากลาง ฐานในการคำนวณ และช่วงเงินเดือนตามกฎ ก.พ. นี้แล้วให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งส่วนราชการและจังหวัดทราบเป็นการล่วงหน้า


ข้อ ๗ ผลการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจัดให้มีการแจ้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทราบเป็นข้อมูลเฉพาะแต่ละบุคคลการแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย อัตราร้อยละที่ได้รับการเลื่อนฐานในการคำนวณ จำนวนเงินที่ได้รับการเลื่อน และเงินเดือนที่พึงได้รับเมื่อได้รับการเลื่อนตามผลการเลื่อนเงินเดือนนั้น


ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนให้แจ้งเหตุผลที่ไม่ได้เลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นทราบด้วย


ข้อ ๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้


(๑) ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละหกสิบ


(๒) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


(๓) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน


(๔) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร


(๕) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนหรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนก่อนถึงแก่ความตาย


(๖) ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน


(๗) ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน


(๘) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลา หรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนดเป็นหนังสือไว้ก่อนแล้ว โดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของแต่ละส่วนราชการหรือหน่วยงาน


(๙) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ
โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (๖) หรือ (๗) และวันลาดังต่อไปนี้


(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน


(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน


(ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ


(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่


(จ) ลาพักผ่อน

 

(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล


(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ


การนับจำนวนวันลาสำหรับการลาป่วยและการลากิจส่วนตัว ให้นับเฉพาะวันทำการ


ข้อ ๙ ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้นำข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัยการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย


ข้อ ๑๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอน เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ ไปช่วยราชการในต่างกระทรวง ทบวง กรม ได้รับมอบหมายหรือได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใด หรือไปช่วยงานในหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการและปฏิบัติงานในครึ่งปีที่แล้วมาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนด้วย


ข้อ ๑๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศหรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ก.พ. กำหนด


ข้อ ๑๒ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเอาเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา มาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นไม่ได้


ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ และถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเป็นการถูกลงโทษจากการกระทำความผิดเดียวกัน ถ้าถูกสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนมาแล้วเพราะเหตุที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษจะสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะเหตุจากการกระทำความผิดเดียวกันนั้นไม่ได้


ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือโทษทางอาญาที่ถึงที่สุดแล้วมีผลทำให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นเสียใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้


ข้อ ๑๕ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญในวันที่ ๓๐ กันยายนของปีที่จะพ้นจากราชการ


ข้อ ๑๖ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นถึงแก่ความตายก่อนหรือในวันที่ ๑ เมษายนหรือ ๑ ตุลาคม ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญโดยให้มีผลในวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย


ข้อ ๑๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงระดับเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่แล้ว หากผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นและเงินเดือนที่ได้รับอยู่นั้นต่ำกว่าเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งใหม่นั้น ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษได้ โดยให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งหลังสุดมาใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนดังกล่าว โดยให้เลื่อนเงินเดือนตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น


ข้อ ๑๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อ ๘ เพราะเหตุเกี่ยวกับระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การลา หรือการมาทำงานสาย แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง พร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ. กระทรวง เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้


ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพราะเหตุอื่นนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวงพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ.กระทรวงเห็นชอบด้วยให้นำเสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณา ถ้า ก.พ. เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้


ข้อ ๑๙ ในวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือน แต่ต้องรอการเลื่อนเงินเดือนไว้เพราะเหตุที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎ ก.พ.นี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการผู้นั้นที่ได้รอไว้ทั้งหมด


ข้อ ๒๐ ในกรณีที่เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด ระดับใดยังมีผลใช้บังคับอยู่ คำว่า เงินเดือนขั้นต่ำตามกฎ ก.พ. นี้ ให้หมายความถึงเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว


ข้อ ๒๑ การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ สำหรับครึ่งปีหลังของปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๒ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ

 

ข้อ ๒๒ ผู้ที่ได้รับการยกเว้นเป็นการเฉพาะรายให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังต่อไปนี้


(๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน๓๖,๐๒๐ บาท


(๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๔,๓๔๐ บาท


ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายโดยใช้ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับการเลื่อนเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง และระดับ


 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2210520731

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-22 07:32:04 IP : 124.121.139.85


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3070976)

การงดเลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งที่ศาลพิพากษา (ราชการแนวหน้า)

1. ปัญหาเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้เพราะถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ขั้นเงินเดือนที่รอไว้ครั้งใดจะได้เลื่อน ครั้งใดจะต้องงดเลื่อนประการใดต้องไปพิจารณาดูตามกฎก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ.2544 แต่ถ้าหากในปัจจุบันนี้ กฎก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ.2552 ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ได้เปลี่ยนหลักการไปโดยไม่มีการรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนแล้ว

2. แต่ที่คอลัมน์นี้ หยิบประเด็นนี้มาบอกเล่าโดยเฉพาะเนื่องจากว่า ยังมีคดีหรือกรณีที่โต้แย้งกันอยู่ในศาลปกครองและองค์กรบริหารงานบุคคลกลางของข้าราชการและพนักงานแต่ละประเภทที่นำการในเรื่องนี้มาใช้ และยังไม่มีคำตัดสินถึงที่สุด

3. หลักการเรื่องนี้ กฎก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ.2544 กำหนดไว้ในข้อ 14 ความโดยสรุปว่า ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนแต่ละครั้งถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ปรากฎว่าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดดังกล่าวตามข้อ 1 ข้างต้นและศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้วก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนและให้กันเงินสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนด้วย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณา ดังนี้

(1) ถ้าศาลพิพากษาว่าไม่มีความผิดให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ ถ้ามีการรอหลายครั้งก็ให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปได้ทุกครั้ง แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้ว

(2) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษเบากว่าโทษจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอไว้ ถ้ามีการรอหลายครั้ง ก็ให้สั่งงดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในครั้งที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ ส่วนครั้งอื่นให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปได้ทุกครั้งที่มีการรอไว้

(3) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษหนักกว่าจำคุก ก็ให้งดเลื่อนทุกครั้งที่รอการเลื่อนไว้

4. เราก็เห็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรอการเลื่อนและการสั่งงดหรือเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอไว้แล้วอย่างละเอียดแต่เวลาเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการปฏิบัติอาจเกิดการผิดพลาดขึ้นได้ ถ้าข้าราชการรายนั้นทักท้วงและส่วนราชการเห็นว่าผิดพลาด และทำการแก้ไขให้ปัญหาต่างๆ ก็ยุติลงแต่ถ้าส่วนราชการไม่รู้หรือไม่เข้าใจและยืนยันว่าการสั่งการของตนถูกต้องแล้ว ก็จะต้องมีการโต้แย้งไปยังผู้มีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรกลางหรือศาลปกครอง ก็ตามเพื่อหาข้อยุติของกรณีดังกล่าวต่อไป

5. คอลัมน์นี้ ขอยกตัวอย่างเป็นอุทาหรณ์แก่บุคลากรของส่วนราชการและข้าราชการสักเรื่องหนึ่งโดยเรื่องมีข้อเท็จจริงโดยสรุปว่า ข้าราชการถูกฟ้องคดีอาญา เดือน พ.ค.2545 ทางราชการได้สั่งรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนตั้งแต่ 1 ต.ค.2545, 1 เม.ย. 2546, 1 ต.ค. 2546 และ 1 เม.ย. 2547 ปรากฎว่า เดือน พ.ค. 2547 ศาลพิพากษาจำคุกและปรับโดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เช่นนี้ ทางราชการจะต้องสั่งงดเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่รอไว้ในครั้งที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ คือ 1 เม.ย. 2547 ส่วนครั้งอื่นๆ ให้สั่งเลื่อนย้อนหลังให้ เพราะว่าศาลพิพากษาลงโทษเบากว่าโทษจำคุก ตามข้อ 14 (2)

6. เมื่อเห็นข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้ว หากส่วนราชการใดมีกรณีที่เป็นเช่นนี้ แต่ได้สั่งการผิดไปก็ควรที่ จะทำการแก้ไขคำสั่งเสียนะครับ อย่าปล่อยให้เป็นภาระของข้าราชการที่จะต้องไปแสวงหาความจริง เลยครับ

ปฏิรูป

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

0211520717

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-02 07:17:29 IP : 124.121.138.94


ความคิดเห็นที่ 2 (3072523)

ปรับสูตรเงินเดือน ขรก.ใหม่ 1 เม.ย.53 เลิกแบบขั้น

ใช้ร้อยละแทน

เลขาธิการ ก.พ.แจงความพร้อมการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการระบบใหม่แล้ว จากการปรับเป็นขั้น เปลี่ยนเป็นการปรับเงินเดือนเป็นร้อยละของฐานเงินเดือน คาดดีเดย์ 1 เม.ย.53 มั่นใจ ช่วยลดความไม่เป็นกลาง และการประเมินผล
       

       
นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.พ.มีความพร้อมสู่การแปลงสภาพการใช้หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ จากการปรับเป็นขั้น เปลี่ยนเป็นการปรับเงินเดือนเป็นร้อยละของฐานเงินเดือน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2553 นี้
       
       
โดยในขณะนี้ ก.พ.ได้เตรียมการจัดคณะทำงานขึ้นมาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ ให้มีความพร้อมในทางปฏิบัติในทางปฏิบัติให้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 นี้ เป็นต้นไป ใน 147 ส่วนราชการทั่วประเทศ ซึ่งมีสาระ 3 เรื่องคือ มาตรฐานการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หลักเกณฑ์การประเมินผล และระเบียบการเลื่อนเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้แต่ละบุคคลสามารถทำผลงาน เพื่อเข้ารับการคัดเลือกได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานเงินเดือนต่อปีงบประมาณ อย่างไรก็ตามคาดว่า ระเบียบการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ จะช่วยลดความไม่เป็นกลางในหน่วยงาน และเกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่
       
       
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์ทั่วไปของระเบียบใหม่นี้ คือ การทำตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร และพิจารณาจากสมรรถนะในการปฏิบัติ เพื่อใช้พิจารณาคัดเลือกขึ้นเงินเดือนแก่ข้าราชการ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3 ของฐานเงินเดือนต่อปีงบประมาณ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

0511522201

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-05 22:01:54 IP : 124.122.26.45


ความคิดเห็นที่ 3 (3072524)

ปรับสูตรเงินเดือน ขรก.ใหม่ 1 เม.ย.53 เลิกแบบขั้น

ใช้ร้อยละแทน

เลขาธิการ ก.พ.แจงความพร้อมการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการระบบใหม่แล้ว จากการปรับเป็นขั้น เปลี่ยนเป็นการปรับเงินเดือนเป็นร้อยละของฐานเงินเดือน คาดดีเดย์ 1 เม.ย.53 มั่นใจ ช่วยลดความไม่เป็นกลาง และการประเมินผล
       

       
นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน ก.พ.มีความพร้อมสู่การแปลงสภาพการใช้หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ จากการปรับเป็นขั้น เปลี่ยนเป็นการปรับเงินเดือนเป็นร้อยละของฐานเงินเดือน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2553 นี้
       
       
โดยในขณะนี้ ก.พ.ได้เตรียมการจัดคณะทำงานขึ้นมาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ ให้มีความพร้อมในทางปฏิบัติในทางปฏิบัติให้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 นี้ เป็นต้นไป ใน 147 ส่วนราชการทั่วประเทศ ซึ่งมีสาระ 3 เรื่องคือ มาตรฐานการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หลักเกณฑ์การประเมินผล และระเบียบการเลื่อนเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้แต่ละบุคคลสามารถทำผลงาน เพื่อเข้ารับการคัดเลือกได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานเงินเดือนต่อปีงบประมาณ อย่างไรก็ตามคาดว่า ระเบียบการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ จะช่วยลดความไม่เป็นกลางในหน่วยงาน และเกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่
       
       
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์ทั่วไปของระเบียบใหม่นี้ คือ การทำตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร และพิจารณาจากสมรรถนะในการปฏิบัติ เพื่อใช้พิจารณาคัดเลือกขึ้นเงินเดือนแก่ข้าราชการ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3 ของฐานเงินเดือนต่อปีงบประมาณ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

0511522201

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-05 22:01:54 IP : 124.122.26.45


ความคิดเห็นที่ 4 (3225721)

การขึ้นนเงินเดือนแบบร้อยละของฐานเงินเดือนตามที่สำนัก ก.พ. ประกาศใช้ทำให้ผ้บังคับบัญชาชอบใครก็ให้คะแนนมากเพื่อจะได้ร้อยละ ทำให้ไม่ยุติธรรมสำหรับข้าราชการที่ไม่มีเส้น และเงินเดือนของตำแหน่งอาวุโส เพดานเงินเดือนมากกว่าตำแหน่งชำนาญการอีก แต่ตำแหน่งชำนาญการต้องสอบผ่าน ภาค ก. ของสำนัก ก.พ. และเป็นประเภทวิชาการที่ต้องใช้ความร้ความสามารถมากกว่าตำแหน่งอาวุโส และข้าราชการที่ทำงานมานานแล้วต้องใช้ฐานเงินเดือนเท่ากับข้าราชการที่บรรุจใหม่ ซึ่งไม่ยุติธรรมเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น ข้าราชการประเภทวิชาการ วันที่ตอบ 2010-11-24 15:01:00 IP : 113.53.138.156


ความคิดเห็นที่ 5 (3225722)
ข้าราชการบางท่านไม่ต้องมานั่งทำงาน มีแต่หาผลประโยชน์มาให้ผู้บังคับบัญชา ใครหาได้มากที่สุด ก็รับดีเด่นไม่ ใครนั่งทำงานที่สำนักงานทุกอย่างทุก ๆ วัน แต่ไม่มีผลประโยชน์ให้บังคับบัญชาก็ไม่แต่ ดี
ผู้แสดงความคิดเห็น ข้าราชการผู้น้อย วันที่ตอบ 2010-11-24 15:04:17 IP : 113.53.138.156


ความคิดเห็นที่ 6 (3225783)

มันเป็นเรื่องปกติของระบอบการบริหารบ้านเมืองของพรรคการเมืองพรรคนี้อยู่แล้ว จะเน้นข้าราชการเป็นคะแนนเสียง เขาไม่เน้นคุณภาพของงานหรอก ลองย้อนหลังไปดูเมื่อสมัยก่อนนั้น ก็จะคล้าย ๆ แบบนี้แหละ ข้าราชการทำตัวเป็นเทวดาเดินคับซอย รักแร้ทั้ง 2 ข้างเป็นฝีเดินแขนก่าง (พวกพิการทางจิตเดียวนี้ก็ยังมีให้เห็น) Slocan ของเขาก็คือ "มาสาย บ่าย ๆ หลับ แล้วก็กลับก่อน" พ่อแม่พี่น้องที่เป็นรากหญ้าทำไมให้ความสำคัญบ้าง แก่นหลักของประเทศก็คือชาวไร่ ชาวนานี่แหละ ที่สำคัญกว่า ข้าราชการ ที่ความหมายที่จัดเจนก็คือ "ขี้ข้าประชาชน" ไม่ต้องไปขึ้นให้หรอก พอแล้ว เดียว ขึ้นให้ก็ยังเป็นหนี้อยู่ดีนั้นแหละ   กู้ทุกอย่างยกเว้นระเบิด รู้จักกิน รู้จักใช้พอกินอยู่แล้ว บังคับให้ทำงานมาก ๆ ใครขยันก็เพิ่มให้ ใครขี้เกียจก็ไล่ออกไป รับรองประเทศเราเจริญ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศูนย์กำแพงเพชร วันที่ตอบ 2010-11-24 21:07:42 IP : 117.47.4.80


ความคิดเห็นที่ 7 (3225822)

ขอขอบคุรศูนย์กำแพงเพชรมาก ๆ มาก ครับ...ช่วยกัน...คนพิการช่วยกัน....

 

เรียนข้าราชการที่ถามผมมา.......

ท่านอย่าน้อยใจครับ........สิ่งที่ท่านพูดมาถูกต้อง และเป็นจริง ๆ ในสังคมข้าราชการในปัจจุบัน.... แต่ก็ขอยืนยันว่า..... ระดับผู้บริหารที่ดี ๆ ของท่านก็ยังมีอีกมากครับ.... แต่บังเอิญท่านโชคร้ายไปหน่อย ดังไปพบเจ้านาย (เฮงซวย.....) ตามที่ท่านเล่าให้ผมฟัง......

 

ท่านจะเป็นสุข..... ถ้าท่านทำใจได้ (ก็รู้ว่าเจ้านายเรามันเป็นแบบนี้)

 

ถ้าท่านทนไม่ไหว + ไม่ได้...(กับเจ้านายคนนี้.....) ก็หาทางย้ายเถอะครับ......(ไม่แน่นะครับ มี 2 ทาง อาจเจอร้ายกว่าเดิม หรือ ดีกว่าเดิม.....)

 

อย่าลืมนะครับคิดถึงครอบครัวด้วยจะมีผลกระทบหรือไม่.....ไม่กระทบก็ทำได้...

 

ที่พูดได้แบบนี้...ผมก็ข้าราชเก่า ๆ คนหนึ่งเท่านั้นเองครับ.

 

( 24 พ.ย.2553 )

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

www.waddeeja.com

Tel. 0-2990-0331

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-24 23:22:26 IP : 124.122.27.12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.