ReadyPlanet.com


สิทธิคนพิการ ในกฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


สิทธิคนพิการ ในกฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ปัจจุบันแม้จะมีการออกกฎหมายมาคุ้มครองคนพิการแล้วก็ตาม ก็ยังมีเอกชนบางราย หรือ แม้กระทั่งหน่วยงานราชการ ที่มักจะกีดกันสิทธิของคนพิการอยู่เสมอ เช่น กำหนเดให้คนพิกรห้ามประกอบอาชีพต่างๆ เป็นต้น ปัญหาแบบนี้ มีทางแก้ทางเดียวเท่านั้น คือการปลูกฝังจิตสำนึก ความเท่าเทียมกันให้กับเยาวชนไทย เพื่อที่เยาวชนไทยรุ่นใหม่ จะได้เข้ามาแก้ไขปัญหานี้ได้ต่อไป เพระปัจจุบันนี้ ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองล้วนแต่หัวโบราณ ยากแก่การแก้ไขใดๆเสียแล้ว

คนพิการในเมืองไทยมักถูกมองว่าเป็นคนที่มีบาปกำเนิด และเกิดมาเพื้อชดใช้กรรมในชาติที่แล้วให้หมดๆไป คนไทยจึงมักจะกีดกันคนพิการ ไม่ให้มีส่วนร่วมทางสังคม จำกัดสิทธิต่างๆ ที่คนพิการควรจะมีเท่าเทียมกับคนปกติ เพราะคนพิการ ก็ถือเป็นประชาชนคนหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ประเทศไทยจึงได้ออก อนุสัญญาว่าด้วยคนพิการออกมา โดยจะขออ้างอิงบทความของคุณ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ จากสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล ความว่า

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการว่า ถือเป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรก ที่ให้หลักประกันในสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อคนพิการ อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป และเป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติฉบับแรกของศตวรรษที่ ๒๑ ดังนั้นกฎหมายที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนพิการเช่นอนุสัญญาฉบับนี้ น่าจะได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในสังคม รวมถึงทุกขั้วทางการเมือง

 ความยากลำบากอย่างแสนสาหัสในการดำรงชีวิตของคนพิการ ไม่ใช่เกิดจากความบกพร่องของสภาพทางกาย จิตใจ พฤติกรรม หรือสติปัญญาซึ่งเป็นเพียงเหตุให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตระดับหนึ่งเท่านั้น การที่ คนพิการต้องตกอยู่ในฐานะคนจนที่จนที่สุด ( กล่าวโดยอดีตประธานธนาคารโลก)

 เนื่องด้วย ความพิการซึ่งเกิดจากความบกพร่องในลักษณะต่างๆของบุคคล กับ อุปสรรคภายนอกซึ่งเป็นโทษกรรมที่สังคมเป็นผู้สร้างขึ้นทั้งสิ้น

ด้วยแรงผลักดันของเครือข่ายคนพิการ ประเทศไทยจึงได้ร่วมเป็นแกนนำในการยกร่าง เจรจา ลงนามรับรอง รวมทั้งได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD)” ไปเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑

 โดยที่ปรกตินักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกระแสหลักมักจะมองเรื่องคนพิการและความพิการเป็นได้แค่ประเด็นเรื่อง สังคมสงเคราะห์เท่านั้นแต่อนุสัญญาฯ ได้ท้าทายและอาจถึงขั้นทำลายความคิดเช่นว่านั้นอย่างสิ้นเชิง จึงทำให้อนุสัญญาฯ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปรับปรุงกฎหมายด้านคนพิการในประเทศไทย ซึ่งได้บรรจุสาระสำคัญไว้ในกฎหมายต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอีกกว่า ๒๐ ฉบับ อันเป็นการสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นสากลสำหรับคนพิการไว้ในกฎหมายไทย

อนุสัญญาฯ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อคนพิการ ๖๕๐ ล้านคนทั่วโลกเพราะเหตุว่ากติกาหรือกฎหมายระหว่างประเทศก่อนหน้านี้ขาดความชัดเจนและไม่ครอบคลุมถึงมิติที่คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ โดยที่สาระหลักของ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการซึ่งเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิของคนพิการ โดยเน้นที่การขจัดอุปสรรคจากภายนอกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ และการแก้ไขความเสียเปรียบทางสังคมของคนพิการ ซึ่งก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ และขัดขวางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยหลักการ ๒ ประการ ได้แก่

 

๑. การพัฒนาสังคม (Social Development) เป็นการกำหนดมาตรการที่มุ่งพัฒนาบริการในด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป

 

๒. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนพิการ ซึ่งรวมถึงการขจัดการเลือกปฏิบัติและการสร้างหลักประกันความเสมอภาคในทุกมิติ (Non-Discrimination and Equality) นอกจากนี้ CRPD ยังมีคุณลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้อนุสัญญาฉบับนี้มีความโดดเด่นและชี้ให้เห็นจุดที่อนุสัญญาฉบับอื่นขาดไป ซึ่งได้แก่ หลักการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ(Accessibility)

 

นอกจากนี้ อนุสัญญายังมีคุณลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้มีความโดดเด่นและชี้ให้เห็นจุดที่อนุสัญญาฉบับอื่นขาดไป ซึ่งได้แก่ หลักการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ(Accessibility) ประกอบด้วย

 

๑. การปรับสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ อาคารสถานที่ รวมถึงการคมนาคมขนส่ง สารสนเทศและการสื่อสาร และบริการต่างๆ ฯลฯ ให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป โดยการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design) ต่อคนทุกกลุ่ม เช่น การออกแบบและก่อสร้างส้วมให้คนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป การออกแบบบริการข้อมูลผ่าน Website หรือสื่ออีเล็กทรอนิกส์อื่นใดให้อยู่ในรูปแบบที่ทุกคน รวมถึงคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น

 

๒. การจัดให้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก(Assistive Technology) สำหรับคนพิการแต่ละประเภท เช่น เครื่องช่วยฟังสำหรับคนหูหนวก โปรแกรมอ่านจอภาพคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอด หรือป้ายบอกทางซึ่งใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ เป็นต้น

 

๓. การให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมหรือสมเหตุผล(Reasonable Accommodation) เพื่อลดการเสียเปรียบทางสังคมของคนพิการแต่ละประเภท เช่น การจัดบริการล่ามภาษามือให้แก่คนหูหนวก การให้มีผู้ช่วยคนพิการสำหรับคนพิการที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ อันไม่อาจตอบสนองได้โดยวิธีการทั่วไป รวมถึงความช่วยเหลือเพื่อให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

 

ดังนั้น คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา และเครือข่ายคนพิการ จึงต้องการเรียกร้องให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บริหารราชการแผ่นดิน โดยเร่งดำเนินการตามเจตนารมณ์ของ  รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการอย่างเร่งด่วน จริงจัง ต่อเนื่อง ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ เพื่อปลดเปลื้องความยากจน ความด้อยโอกาส และความเสียเปรียบในการดำรงชีวิตของคนพิการ พร้อมทั้งขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในทุกกรณี

( ๑ ตค. ๒๕๕๑ )

+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสาก (ส.พ.ค.)

คัดลอก มาจากกูลเกิล.

26-09-11 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-26 20:53:28 IP : 101.109.239.58


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.