ReadyPlanet.com


เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ จะแก้ไขอย่างไร


ตะลึง! "พ่อ" คือคนที่ "ขืนใจลูก" มากที่สุด       
       น่าตกใจ! เมื่อการนำเสนอข่าวดังกล่าว ไม่สามารถซึมลึกเข้าสู่จิตใจอันมืดมัวของคนชั่วได้ เมื่อเหตุการณ์สะเทือนขวัญนี้ยังดำเนินต่อไปอย่างมิรู้จบ มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีก!ดังจะเห็นได้จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราปี 2551 มากถึง 7,041 ราย จับได้แค่ 3,005 ถือว่าสูงกว่าปี 2550 ที่มีตัวเลขผู้ถูกกระทำชำเรามี 5,155 คดี ถือว่าปี 2551 มีตัวเลขเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึง 2 พันคดี ถือว่าเป็นตัวเลขที่มากพอสมควร

ขณะเดียวกัน ผลการสำรวจของสถิติของโรงพยาบาลตำรวจในปี 2551 ยังระบุอีกว่าว่า ในปี 51 มีสถิติการล่วงละเมิดทางเพศสูงมากที่สุดในรอบ 14 ปี ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 1,116 ราย มีเด็กอายุ 10 – 19 ปี ถูกละเมิดมากขึ้น และในจำนวนนี้มีถึง 461 ราย ที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเด็กชายมากถึง 25 คน และมีเด็กที่อายุน้อยที่สุด คือ ทารกหญิงอายุ 6 เดือน! และยังไม่สามารถทำให้ตัวเลขเหล่านี้ลดลงได้!...
       
       ไม่เพียงเท่านี้...
นางอุบล หลิมสกุล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็ได้ออกมามาแฉว่า ในปี 2552 นับตั้งแต่เดือนมกราคม กรกฎาคม มีเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงแล้วถึง 71 ราย โดยในจำนวน 71 ราย เป็นการถูกล่วงละเมิดทางเพศมากที่สุด 37 ราย ถูกนำไปแสวงหาประโยชน์ 20 ราย และถูกทารุณกรรม 14 ราย ช่วงอายุที่ถูกกระทำมากที่สุดคือ 12-15 ปี จำนวน 28 ราย 9-11 ปี 14 ราย ต่ำกว่า 3 ปี 8 ราย โดยบุคคลที่กระทำต่อเด็กกรณีล่วงละเมิดทางเพศ เป็นบุคคลในครอบครัว 16 ราย ในจำนวนนี้เป็นบิดาแท้ 4 ราย บิดาเลี้ยง 6 ราย กรณีกระทำทารุณกรรมก็

เป็นบุคคลในครอบครัว 16 ราย โดยเป็นบิดาแท้ถึง 5 ราย และบิดาเลี้ยง 7 ราย นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กอายุ 10-14 ปี และ 15-19 แนวโน้มการถูกล่วงละเมิดทางเพศสูงขึ้น!
       
       
ซ้ำร้ายคนที่ก่อเหตุสะเทือนขวัญกลับไม่ใช่ใครอื่น กลายเป็นคนใกล้ชิดตัวเด็กมากที่สุด อย่าง พ่อผู้ให้กำเนิดที่เด็กให้ความไว้วางใจเป็นที่สุด ไม่เพียงเท่านี้ ยังรวมไปถึงบุคคลใกล้ชิด อาทิ ญาติ คนใกล้ชิด เป็นต้น
       
       สำหรับแนวทางการป้องกันปัญหาดังกล่าว นายสรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้ออกมาแนะแนวให้ว่า การเฝ้าระวังปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องคอยเฝ้าดูแลเอาใจใส่ ไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่กับคนที่ไม่น่าไว้วางใจตามลำพัง กำหนดบริเวณที่ไม่ควรไป เช่น มุมอับ ที่ลับตาคน โดยต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ การแต่งกายที่ถูกกาลเทศะและการวางตัวในขอบเขตที่เหมาะสม ทั้งทางด้านร่าง กาย จิตใจ และสังคม ต้องฝึกให้ลูกรู้จักประเมินสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดความไม่ปลอดภัย เช่น คนที่ชอบสัมผัส แตะต้องตัวของลูกโดยไม่มีเหตุผลอันควร โดยเฉพาะ บริเวณที่เรียกว่า "พื้นที่ส่วนตัว" เช่น อวัยวะสำคัญที่เกี่ยวกับเพศ เช่น ก้น หน้าอก อวัยวะเพศ ต้นขา ต้นคอ เป็นต้น
       
       
แต่เมื่อ พ่อกลายเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ต้องเฝ้าระวัง จึงเป็นหน้าที่ของ แม่ที่ต้องดูแลลูกน้อยของคุณอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการสังเกตปฏิกิริยาของบุคคลแวดล้อมเด็ก ๆ ว่ามีลักษณะที่น่าไว้วางใจหรือไม่ ที่สำคัญ ไม่ควรทิ้งเด็กไว้ตามลำพังหรือฝากผู้อื่นเลี้ยงเด็ดขาด จงจำไว้ว่า ไม่มีใครดูแลลูก ได้ดีเท่าคนเป็นแม่! เพราะเด็ก ๆ หลายคนที่ตกเป็นเหยื่อ พยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัว เพียงแต่สัญญาณนั้นไม่ใช่การพูดบอกออกจากปากของเด็กเอง แต่จะแสดงความผิดปกติจากที่เคยเป็นออกมาให้เห็น

ดังนั้น ควรสังเกตว่า เด็กมีอาการซึมเศร้า มีปัญหาด้านการกิน การนอน การขับถ่าย หรือด้านการเรียน หนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน หรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติ!
       
       ไม่เพียงแต่แม่เท่านั้น ชุมชนหรือ คนบ้านใกล้เรือนเคียงต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากเห็นเหตุการณ์หรือการประพฤติตนไม่เหมาะสมต่อเด็ก ควรรีบเข้าไปช่วยเหลือเด็กทันที นอกจากนี้ ครูก็มีส่วนช่วยในเรื่องนี้ได้ เช่น จากเด็กที่เคยเรียนเก่งแต่ปัจจุบันกลับเรียนแย่ เด็กมีอาการซึมเศร้า นั่งเรียนเหม่อลอย ครูต้องสังเกตและเรียกเด็กมาคุยเพื่อรับฟังและช่วยแก้ปัญหา และโรงเรียนยังควรเป็นตัวเชื่อมประสานในการให้ความรู้กับผู้ปกครองในการเฝ้าระวังปัญหาเหล่านี้อีกด้วย
       
       เมื่อเฝ้าระวังอย่างเต็มที่แล้ว แต่เด็ก ๆ ก็ยังถูกทำร้าย สิ่งที่บุคคลใกล้ชิดควรจะทำในกรณีที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่ มีด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้ อย่าปฏิเสธเด็ก จงเชื่อเด็กไว้ก่อน แม้ว้าเรื่องที่เด็กเล่าจะเชื่อยากเพียงใด เพราะถ้าเด็กสร้างเรื่องขึ้นมา แสดงว่าเด็กกำลังมีปัญหาด้านอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน รับฟังอย่างสงบ เมื่อเด็กเล่าให้ฟังพยายามให้เด็กค่อยๆ เล่าลำดับเหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่ ผู้กระทำ ด้วยการซักถามประกอบ
       
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ก่อนที่เด็กจะถูกล่วงละเมิดทางเพศ เมื่อฟังเด็กเล่าอย่าแสดงกิริยาอาการใดๆ อย่างชัดแจ้ง เพราะจะมีผลทำให้เด็กไม่กล้าเล่ารายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด ปลอบโยน ให้กำลังใจ และให้ความมั่นใจแก่เด็กว่าเราจะปกป้องคุ้มครองเขาให้ปลอดภัย บอกให้เด็กทราบว่าการที่เขาเล่าให้เราทราบเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากเด็ก หากเป็นเรื่องที่ไม่จริง รายละเอียดและข้อเท็จจริงจะไม่ชัดเจน ไม่ปะติดปะต่อ การเล่าหลายครั้งจะไม่ตรงกัน หากเด็กมีปัญหาด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ ก็ให้พิจารณาช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อไป
       
       แต่ในกรณีทราบแน่ชัดว่าเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ปกครองควร ควบคุมอารมณ์ให้ได้ รับฟังข้อมูลอย่างมีสติ ไม่แสดงอาการโวยวาย โกรธเคือง หรือวิตกกังวลให้เด็กเห็น เพราะอาจทำให้เด็กตกใจกลัวจนไม่กล้าบอกความจริง และไม่ให้ความร่วมมือ ปลอบโยนให้กำลังใจ และยืนยันว่าเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากผู้กระทำ ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษ และการที่เด็กเล่าให้ผู้ใหญ่ทราบเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พาเด็กไปไว้ในที่ปลอดภัย และมีหลักประกันเกี่ยวกับอนาคตของเด็ก เก็บรวบรวมหลักฐาน เช่น เสื้อผ้าที่เด็กสวมใส่ขณะที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ขนเพชร ก้นบุหรี่ ถุงยางอนามัยฯลฯ ที่ผู้กระทำความผิดทิ้งร่องรอยไว้ ตรวจร่องรอยความเสียหายที่ ร่างกายเด็ก ถ่ายภาพไว้ด้วย (ถ้าทำได้) ส่งตัวเด็กเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลของรัฐที่ใกล้ที่สุดทันที อย่าชำระล้างร่างกายของเด็กก่อนตรวจรักษา จดชื่อแพทย์ รวมทั้งวันเวลาสถานที่ขณะที่ตรวจรักษาไว้ด้วย และสุดท้ายแจ้งตำรวจ กรณีที่ผู้ล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กเป็นคนแปลกหน้าให้แจ้งตำรวจทันที เล่ารายละเอียดทุกอย่างเท่าที่ทราบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับเด็กอื่นต่อไป
       
       
หากผู้ปกครองไม่รู้ว่าควรจะให้ความช่วยเหลือลูก ๆ อย่างไร ควรเข้าปรึกษากับหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับด้านนี้โดยตรง อาทิ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิปวีณา มูลนิธิเด็ก ฯลฯ และต้องกระทำอย่างเร่งด่วน อย่าปล่อยให้ปัญหานี้ผ่านเลยไป เพราะการล่วงเกินทางเพศเด็ก ถึงแม้บาดแผลทางร่างกายจะหายเป็นปกติ แต่ความทรงจำอันเลวร้ายและสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ไม่ได้จางหาย กลับยิ่งทำให้สภาพชีวิตของเด็กถดถอยลง หากเหตุการณ์เช่นนั้นยังวนเวียนอยู่ข้างๆ ตัวเด็กเสมอ


       ทั้งนี้ การดูแลและฟื้นฟูจิตใจเด็ก ๆ ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ สามารถทำได้โดย แสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้ความหวังและอาสาจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ รับฟังความคิดเห็นของเขา ถ้าเขาไม่อยากเล่าไม่ควรไปเซ้าซี้อยากรู้รายละเอียด เพราะเขาจะอายและชอกช้ำใจมากขึ้น ส่วนความสงสารไม่ควรทำ ไม่ควรพูดบ่นหรือพูดถึงเหตุการณ์นั้นว่าไม่ดี ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะจะทำให้ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศทุกข์หนักมากขึ้น ดูแลรักษาความเจ็บป่วยทางกาย ตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม เช่น ให้พบแพทย์ตามนัด ให้ทานยา ทายา รักษาบาดแผล เป็นผู้ช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือญาติ เพราะผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศจะมีความหวาดกลัว อาย ไม่กล้า ผู้ใกล้ชิดจึงควรรับผิดชอบในการประสานงานกับครอบครัว ทนายความ ตำรวจ แพทย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มีท่าทีและทัศนคติที่เหมาะสม เพื่อให้เขาเกิดกำลังใจและช่วยเหลือตนเองได้เร็วขึ้น ให้ความเป็นมิตรที่เห็นอกเห็นใจอย่างต่อเนื่อง เช่น เยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอ ให้ความหวัง รับฟังสิ่งที่เขาอยากพูดอยากเล่า การพูดคุยควรมีการสบตาหรือสัมผัสกายอย่างเหมาะสม และแสดงให้รู้ว่ายังสามารถเป็นมิตรต่อกันได้ในอนาคต ในกรณีที่อาการทางจิตไม่ดี อาทิ ก้าวร้าว กังวลมาก เครียด ซึมเศร้ามาก ควรพาไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อลดความเครียด
       
       
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ นั่นคือ การไม่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายอย่างการถูกล่วงละเมิดทางเพศขึ้นเลย ซึ่งทุกคนสามารถช่วยเหลือเด็ก ๆ ได้ เพียงแค่ร่วมกันสร้างสังคมดี ๆ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ปล่อยให้กิเลสหรือความต้องการทางเพศมาอยู่เหนือจิตใจ จนทำร้ายเด็ก ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์ให้แปดเปื้อน!
       

       
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
       
       สำนักงานกองทุนสันบสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

2011521904

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-20 19:04:28 IP : 124.122.241.120


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3211840)

น่าจะลงโทษผู้ที่ทำเชาเลาเด็กใขดไปเลย เช่น การยิงให้ตายไปเลย เพราะถ้าไม่ลงโทษให้แรงก็จะกลับมาทำอีก

ผู้แสดงความคิดเห็น นราธิป (narathip_ban-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-14 20:41:11 IP : 110.49.64.17


ความคิดเห็นที่ 2 (3248599)

 ไอสาส

ผู้แสดงความคิดเห็น ไอสาสๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆบย01 วันที่ตอบ 2011-06-20 09:07:45 IP : 182.53.188.66



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.