ReadyPlanet.com


รวมข่าวประกันสังคม.....รู้ไว้บ้าง.


ข่าวเก่า.............................................

 

ผู้ประกันตนใช้สิทธิทำฟันพุ่ง 1.2  

สปส.จ่ายเงินทดแทนแล้ว  312  ล้านบาท

 

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ภารกิจสำคัญของ สปส.คือดูแลลูกจ้างผู้ประกันตนกว่า 9 ล้านคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์ให้แก่ ลูกจ้าง ผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง กรณีทันตกรรม เป็นกรณีหนึ่งที่ได้มีปรับปรุงและพัฒนาสิทธิประโยชน์ เดิม ให้สิทธิผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน 200 บาท/ครั้งและไม่เกิน 400 บาท/ปี ปรับเพิ่ม การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ในกรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน โดยสามารถไปรับบริการทันตกรรมที่สถานพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมที่ใดก็ได้ และนำใบเสร็จมาเบิกคืนกับสำนักงานประกันสังคมได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินครั้งละ 250 บาท และไม่เกิน 500 บาท/ปี ในกรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 1-5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท มากกว่า 5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,400 บาท และฟันเทียมฯนี้จะเบิกได้ใหม่อีกครั้ง เมื่อพ้นระยะเวลา 5 ปีไปแล้ว นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมฯ จากการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ทำฟันดังกล่าวทำให้มี ผู้ประกันตนให้ความสนใจใช้สิทธิทำฟันเพิ่มขึ้น โดยในปี 2550 ที่ผ่านมา มีผู้ประกันตนทั่วประเทศ มาใช้สิทธิเป็นจำนวนมากถึง 1,264,711 ราย สำนักงานประกันสังคมสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนไปแล้วทั้งสิ้น 312,093,244 ล้านบาท

ทั้งนี้ ขอย้ำถึงการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรม สามารถยื่นเรื่องขอเบิกได้ที่ สปส.เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่ระบุในใบรับรองแพทย์เป็นหลัก พร้อมนำหลักฐานที่ใช้ในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16) พร้อมใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) โดยมี 9 ธนาคารให้บริการ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา ไทยพาณิชย์ ทหารไทย นครหลวงไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และไทยธนาคาร

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการ ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 - 19.00 น.

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2108531956

*********************

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-21 19:56:45 IP : 124.122.2.6


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3204476)

ข่าวเก่า.............................................

 

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกินรับเงินคืนได้

 

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกันตนจำนวนไม่น้อยทำงานกับนายจ้างหลายราย ซึ่งนายจ้างจะต้องหักเงินสมทบจากค่าจ้างที่ได้ 5% สมทบ เข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งหากเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนที่นำส่งรวมกันแล้ว มีจำนวนเกินกว่า เงินสมทบขั้นสูงสุด คือ 750 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนสามารถขอรับเงินสมทบส่วนที่เกินคืนได้ (สปส.จัดเก็บเงินสมทบจากรายได้ต่ำสุดที่ 1,650 บาทต่อเดือน สูงสุด 15,000 บาทต่อเดือน หรือ จ่ายเงินสมทบต่ำสุดเท่ากับ 83 บาทต่อเดือน สูงสุดเท่ากับ 750 บาทต่อเดือน)

ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้ปรับปรุงการคืนเงินให้ผู้ประกันตน โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มช่องทางบริการให้ผู้ประกันตน ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประมวลผล และส่งหนังสือแจ้งการคืนเงินสมทบส่วนที่เกินทางไปรษณีย์ให้ผู้ประกันตนได้รับทราบ โดยขอให้ผู้ประกันตนลงนามในแบบขอรับเงินคืน พร้อมทั้งแนบสำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าที่มีชื่อผู้ประกันตน ส่งกลับคืนสำนักงานประกันสังคมทางไปรษณีย์ (กรุงเทพฯ ส่งที่กองเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม ส่วนต่างจังหวัดส่งที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่ผู้ประกันตนทำงาน วงเล็บมุมซอง "ขอคืนเงินสมทบ")

ทั้งนี้ ขอย้ำ ให้ผู้ประกันตนที่ยื่นขอรับเงินสมทบเกินสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินส่วนที่เกินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการคืนเงินสมทบส่วนที่เกินด้วยวิธีโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีผู้ประกันตน ซึ่งขณะนี้สำนักงานประกันสังคมได้ทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารในการโอนเงินเข้าบัญชีผู้ประกันตนถึง 8 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารทหารไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หากผู้ประกันตนท่านใดมีปัญหาข้อสงสัยติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ได้ทุกวัน

 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2108532009

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-21 20:09:32 IP : 124.122.2.6


ความคิดเห็นที่ 2 (3204477)

ข่าวเก่า.............................................

 

ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี

ทายาทมีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

 

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกันตน จำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ในกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ว่า จะมีสิทธิรับเงินชราภาพหรือไม่และได้รับในรูปแบบใด สำนักงานประกันสังคม ขอเรียนชี้แจงว่า กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ กล่าวคือ บุตร สามี ภริยา บิดา มารดาของผู้ประกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพดังกล่าว โดยผู้มีสิทธิจะต้องยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ตามเงื่อนไขทันที นับจากวันที่เสียชีวิตภายใน 1 ปี

นอกจากเงินบำเหน็จชราภาพแล้ว กรณีผู้ประกันตนที่เสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีตายอีกด้วย ได้แก่ เงินค่าทำศพจำนวน 30,000 บาท จ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ เงินสงเคราะห์กรณีตายตามระยะเวลาที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ (กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยเดือนครึ่ง และกรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 5 เดือน) ตัวอย่างเช่น นาย ก เป็นผู้ประกันตนส่งเงินสมทบตั้งแต่ปี 2541 - 2549 และได้เสียชีวิตลงขณะอายุ 50 ปี โดยมียอดเงินสะสมกรณีชราภาพ 50,000 บาท ดังนั้น ทายาทผู้มีสิทธิของนาย ก จะได้รับประโยชน์ทดแทน เป็นเงินค่าทำศพ 30,000 บาท จ่ายให้ผู้จัดการศพ เงินสงเคราะห์กรณีตายร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างเฉลี่ย เงินบำเหน็จชราภาพ 50,000 รวมทั้งดอกผลตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม

หากผู้ประกันตนมีปัญหาข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ติดต่อได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2108532013

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-21 20:13:38 IP : 124.122.2.6


ความคิดเห็นที่ 3 (3216614)

ปัจจุบันค่าทำศพ 40,***แล้วไม่ใช่เหรอ ทำไมไม่อัพเดรตใหม่บ้าง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น noy วันที่ตอบ 2010-10-08 10:27:46 IP : 113.53.158.173


ความคิดเห็นที่ 4 (3216619)

ท่านพูดถูกต้องครับ...... ใหม่ ค่าทำศพ 40,***.....ครับ...

ท่านบรรทัดบนซิครับ.....ข่าวเก่า................................................

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-10-08 10:53:17 IP : 124.121.139.163



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.