ReadyPlanet.com


สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย)


 

สสส. จับมือ 8 สถาบันแพทย์ สร้างฐานข้อมูลความพิการแต่กำเนิด

กรุงเทพฯ 2 ม.ค.- สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด-สสส. จับมือ 8 สถาบันการแพทย์ เร่งสร้างฐานข้อมูลความพิการแต่กำเนิด BDR ในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ  ป้องทัน-กันได้ เด็กดาวน์ ปากแหว่งเพดานโหว่ หลอดประสาทไม่ปิด ลดภาวะเด็กเสี่ยงพิการตั้งแต่เกิดที่พบได้มากถึง 2-3 ใน 100 คน

ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) กล่าวว่า สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย ร่วมมือกับ 8 สถาบันทางการแพทย์ อาทิ  คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นต้น ร่วมกันจัดทำโครงการปฏิบัติการระดับชาติเพื่อวางแผนป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อผลักดันให้เกิดระบบการจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดระดับประเทศ (Thailand Birth Defects Registry) ให้เกิดแผนดำเนินการระดับประเทศ สร้างแนวทาง การดูแลรักษา ฟื้นฟู ความรู้ด้านความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย เพื่อเป็นอีกแนวทางให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดเป็นนโยบายในการดูแลและให้การสนับสนุนส่งเสริมทารกและเด็กกลุ่มนี้ต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบันคนส่วนมากยังขาดความรู้เรื่องความพิการแต่กำเนิด และเข้าใจเพียงว่าความพิการมี 6 ประเภท คือ 1.การมองเห็น 2.การได้ยินหรือสื่อความหมาย 3.การเคลื่อนไหวหรือร่างกาย 4.จิตใจพฤติกรรม หรือออทิสติก 5.ปัญญา และ 6.การเรียนรู้ จนส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการพิการแต่กำเนิด ถูกละเลยและไม่ได้รับการป้องกันอย่างถูกวิธี โดยเฉลี่ยทารกเกิดใหม่ 100 คน พบเป็นทารกพิการแต่กำเนิดมากถึง 4 คน โดยโรคของความพิการแต่กำเนิดที่พบมากที่สุด อาทิ กลุ่มอาการดาวน์ โรคหลอดประสาทไม่ปิด ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นต้น โรคเหล่านี้สามารถป้องกันหรือรักษาได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยเฉพาะกลุ่มแม่ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคซ้ำในครอบครัว เช่น โรคหลอดประสาทไม่ปิด เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอัตราการเกิดซ้ำในครรภ์ถัดไปมีประมาณร้อยละ 3-5 ซึ่งภาวะนี้สามารถวินิจฉัยก่อนคลอดโดยการตรวจคัดกรองเลือดของมารดาขณะตั้งครรภ์และการตรวจอัลตราซาวด์

ศ.พญ.พรสวรรค์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีการช่วยเหลือคนพิการโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เท่านั้น จากการจดทะเบียนคนพิการ ในช่วงอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป โดยไม่ครอบคลุมช่วง 0-7 ปี เป็นช่องโหว่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นที่ต้องรับการดูแลเด็กพิการแต่กำเนิดต่อไปอีก เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สำนักงานสาธารณสุข โรงพยาบาล ซึ่งหากมีระบบรองรับเด็กพิการตั้งแต่กำเนิด จะช่วยให้เด็กได้รับการดูแลรักษาฟื้นฟูในเวลาที่เหมาะสมและทันท่วงที พร้อมกันนี้องค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกระจายความรู้ ความสามารถในการดูแลและการเข้าถึงบริการของทารกและเด็กพิการแต่กำเนิดให้เพียงพอและทั่วถึง ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้.- สำนักข่าวไทย

5555555555555

พันตรีศิริฃัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

WWW.waddeeja.com E-mail: apdmajor1@yahoo.com

2 ม.ค.55
 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-02 20:59:45 IP : 125.26.27.126


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.