ReadyPlanet.com


โรคร้าย - คนพิการ


 โรคร้ายกับการงาน (ตอน1)

<p>เรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วยบางครั้งสาเหตุของโรคอาจเกิดจากจุดเล็กๆ ที่คุณมองข้ามอย่าง หน้าที่การงาน ซึ่งวันนี้เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวว่าอาชีพใดที่อาจทำให้คุณป่วยเป็นโรคอะไรได้บ้าง

 

พนักงานออฟฟิศ

Office Syndrome หรือโรคภัยในออฟฟิศว่า โรคออฟฟิศ ซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงาน ในอิริยาบถที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรป พบว่า อาการอันดับหนึ่งคือ การปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ

การสังเกตุว่า คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ สามารถดูสภาพโต๊ะทำงานเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะดวกต่อการ หยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ จะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และข้อมือ

การป้องกัน ต้องเริ่มจัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ โดยให้ด้านขวาของโต๊ะปล่อยโล่ง ไม่มีสิ่งของมากีดขวาง เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่าง ๆ ส่วนสิ่งของต่าง ๆ บนโต๊ะทำงานควรวางด้านซ้ายแทน และควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคีย์บอร์ดได้ถนัด ประกอบตัวแป้นคีย์บอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำ ๆ ด้วย ส่วนเก้าอี้ควรเป็นแบบปรับขึ้นลงได้ และควรมีพนักพิงที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย นอกจากนี้ ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจากการสำรวจพบว่า จอแบบ CRT ซึ่งเป็นจอลักษณะโค้งมนจะทำให้เกิดการเพ่งสายตา และปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD

ปัญหาด้านสายตา อาทิ ตาแห้ง น้ำตาไหล ระคายเคืองตา ตามัว ปรับภาพได้ช้าลง ซึ่งเกิดจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ทำให้การกะพริบตาน้อย หนังตาเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้ง ส่งผลให้น้ำตาระเหยมาก จนกระทั่งเกิดความระคายเคืองตาและตาแห้ง นอกจากนี้ การเพ่งสายตาที่หน้าจอ ยังทำให้ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากขึ้น ทำให้ปวดตาในที่สุด

วิธีป้องกันคือควรพักสายตาเป็นระยะ ทุก 20 นาที หลับตา ทุก 1 ชั่วโมง ลุกเดินเพื่อพักสายตา และควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา เพื่อช่วยลดอาการปวดตาและปวดคอ

ควรปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยปรับความสว่างให้มากประมาณสามเท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อม และควรปรับสีของจอให้สบายตา เนื่องจากงานวิจัยพบว่าตัวอักษรสีเข้มบนพื้นจอสีอ่อนจะทำให้สบายตา

ผู้ทำงานบนท้องถนน

สำหรับผู้ที่ต้องทำงานบนท้องถนน เช่นคนกวาดถนน ตำรวจจราจร พนักงานขายตั๋วทางด่วน นอกจากเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุจากท้องถนนแล้วยังเสี่ยงต่อการได้รับควันพิษจากยานพาหนะ ควันดำของรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน สิ่งหลุดออกมามีทั้ง ไอเสีย ก๊าซต่าง ๆ ตลอดจนเขม่าแยกออกมาได้ดังนี้ คือ

ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ย (Carbon monoxide)

ทำให้เกิดอาการไม่สบาย หายใจไม่สะดวก มีอาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง จิตใจสับสน วิงเวียนศีรษะ การมองเห็นและการได้ยินเสื่อมลง คลื่นไส้ หงุดหงิด เจ็บหน้าอกและเป็นลม ย ถ้ามีคาร์บ๊อกซีเฮโมโกลบิน 50 - 60% หรือประมาณ 375 ส่วนในล้าน อาจทำให้หมดความรู้สึกและอาจถึงตายได้ ถ้าได้รับเป็นเวลานาน ๆ ถ้ามีคาร์บ๊อกซีเฮโมโโกลบิน 80% หรือประมาณ 500 ส่วนในล้าน อาจทำให้ตายได้ในทันที

สารประกอบของตะกั่ว (Tetraethyl Lead)

พิษของสารตะกั่วที่มีต่อสุขภาพที่เห็นได้ชัดเจนมาก คือ นอนไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์ไม่แจ่มใส เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ท้องผูก อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหงือกซีด โลหิตจาง ไตพิการ ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้ปวดศีรษะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตจนถึงตายได้ นอกจากนี้ตะกั่วยังไปสะสมได้ในกระดูก ทั้งนี้เพราะตะกั่วมีลักษณะคล้ายแคลเซี่ยมและสามารถสะสมในเนื้อเยื่ออ่อนโดยเฉพาะในสมอง ไต และอวัยวะอื่นๆ

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide, SO2)

เป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ทำให้ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก ลำคออักเสบ ระคายเคือง ทั้งนี้เนื่องมาจากในน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์มีกำมะถันปนอยุ่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีกาซกำมะถันปนอยู่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีก๊าซกำมะถันหลุดออกมาทางท่อไอเสียรถยนตื ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันต้องกำจัดกำมะถันในน้ำมันดิบออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ก๊าซนี้มีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เพราะเป็นตัวนำที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ทำให้สัตว์เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในอัตราสูง ถ้าสูดเข้าไปเสมอ ๆ ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถ้ามากทำให้ลิ้นไก่สั้นเกิดการเกร็งหดปิดทางเดินหายใจตายทันที สำคัญที่สุดเป็นอันตรายต่อปอดในรายที่คนไข้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอยู่แล้ว จะมีอาการเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขนาด 0.25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สำหรับ การป้องกันสามารถทำได้โดยการทำงานตามระยะเวลาที่เหมาะสมในแต่ละวัน สวมหน้ากากป้องกันก๊าซพิษ ตรวจเอ็กซเรย์ปอดประจำทุกปี

เรื่องของโรคร้ายกับอาชีพการงานยังไม่จบเพียงเท่านี้ เอาเป็นว่าติดตามกันให้ดีๆ เพราะงานที่คุณกำลังทำอยู่ อาจนำพาโรคต่างๆ มาสู่ตนเองก็เป็นได้

Article by Nan

ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info

 

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล(ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

E-mail : sirimajor@gmail.com

E-mail : apdmajor1@yahoo.com

 

811541957

*********************



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-11-08 19:58:19 IP : 182.52.121.12


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.