ReadyPlanet.com


พ.ร.บ.50 ของคนพิการ - สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล


         พระราชบัญญัติ

ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

พ.ศ.๒๕๕๐

-----------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

เป็นปีที่ ๖๒ ในราชกาลปัจจุบัน

 

                  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า

                  โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

                   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

                   มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

                   มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                   มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.๒๕๓๔

                   มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

                        คนพิการหมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ

-----------------------------------------------

 

            ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖๑ ก วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป

           เหตุผลในการยกเลิก เนื่องจากเห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานสาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับการสเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน   สมควรกำหนดแนวทางและปรับปรุงวิธีการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น   และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองคนพิการเพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุสภาพทางกายหรือสุขภาพ   รวมทั้งให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตลอดจนให้รัฐต้องสงเคราะห์คนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้

ด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหนด

....................................................................

            ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง  ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ  ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เล่ม

๑๒๖ ตอนพิเศษ ๗๗ ง กำหนดประเภทความพิการไว้    ประเภท ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

           ๑.  ความพิการทางการเห็น ได้แก่

             ๑) ตาบอด หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม  ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช่แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า ๓ ส่วน ๖๐ เมตร (๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต (๒๐/๔๐๐) ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๑๐ องศา

             ๒)  ตาเห็นเลือนราง หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม  ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็นเมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่า เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว

อยู่ในระดับตั้งแต่ ๓ ส่วน ๖๐ เมตร (๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต (๒๐/๔๐๐) ไปจนถึงแย่กว่า ๖ ส่วน ๑๘ เมตร (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ ฟุต (๒๐/๗๐) หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๓๐ องศา

๒.     ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย  ได้แก่

                ๑)  หูหนวก หมายถึง การที่บุคคล การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม  ซึ่งเป็นผลจากการมีความบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน  เมื่อตรวจการได้ยิน  โดยใช้คลื่นความถี่ที่ ๕๐๐ เฮิรตซ์  ,๐๐๐ เฮิรตซ์ และ ๒,๐๐๐ เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง ๙๐ เดซิเบลขึ้นไป

                    ๒)  หูตึง หมายถึง  การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทาสังคม  ซึ่งเป็นผลมาจากการบกพร่องในการได้ยิน  เมื่อตรวจวัดการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ ๕๐๐ เฮิรตซ์ ๑,๐๐๐ เฮิรตซ์  และ ๒,๐๐๐ เฮิรตซ์ ในหูข้างได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า ๙๐ เดซิเบลลงมาจนถึง ๔๐ เดซิเบล

                   ๓)  ความพิการทางการสื่อความหมาย หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย เช่น พูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ เป็นต้น

             ๓.   ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ได้แก่

                   ๑)  ความพิการทางการเคลื่อนไหว หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว  ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อาจมาจากสาเหตุอัมพาต แขน ขา อ่อนแรง แขน ขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทำงานมือ เท้า แขน ขา

                   ๒)  ความพิการทางร่างกาย หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน

 

             ๔.   ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก ได้แก่

                   ๑)  ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด

                   ๒)  ความพิการทางออทิสติก หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอามรณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติขอสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ ๒ ปีครึ่ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอื่น ๆ

 

             ๕.   ความพิการทางสติปัญญา ได้แก่ การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ ๑๘ ปี

             ๖.   ความพิการทางการเรียนรู้ ได้แก่ การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมโดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องในด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่นในระดับความสามารถที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา

            ตามประกาศฉบับดังกล่าว กำหนดแนวทางการตรวจวินิจฉัยและออกใบรับรองความพิการ ดังนี้

             ๑.   ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและออกใบรับรองความพิการที่ระบุประเภทความพิการ ในกรณีเป็นคนพิการที่มีสภาพความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทให้ระบุประเภทลงในใบรับรองความพิการ เพื่อประโยชน์ในการมีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามมาตร ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

             ๒.   กรณีนายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนจังหวัด เห็นว่าบุคคลนั้นมีสภาพความพิการที่ สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ไม่ต้องให้มีการตรวจวินิจฉัยก็ได้

              ๓.   กำหนดให้มีคณะทำงานขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำหนดแบบเอกสาร แนวทางและวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้

 

                     การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หมายความว่า การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น หรือดำรงสมรรถภาพหรือความสามารถที่มีอยู่เดิมไว้ โดยอาศัยกระบวนการทางการแพทย์ การศาสนา การศึกษา สังคม อาชีพ หรือกระบวนการอื่นใด เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงานหรือดำรงชีวิตในสังคมอย่างเต็มศักยภาพ

                      การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายความว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การจัดสวัสดิการการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิ กาสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ

 มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

                      หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

                      องค์การคนพิการแต่ละประเภท หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความพิการที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสำนักงานตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

                      กองทุน หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                     คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

คนพิการแห่งชาติ

                     ผู้ดูแลคนพิการ หมายความว่า บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ

                     ผู้ดูแลคนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งให้ความช่วยเหลือคนพิการเฉพาะบุคคลเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิต ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

                     ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยการแจ้งชื่อองค์การคนพิการแต่ละประเภท พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ หน้า ๗๑ เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๘ ง โดยองค์การคนพิการต้องมีคุณสมบัติ คือ ๑) มีสมาชิกเป็นบุคคลพิการหรือผู้ดูแลคนพิการประเภทนั้นๆ ไม่จำกัดพื้นที่ทั่วประเทศ ๒) มีสมาชิกเป็นคณะบุคคลหรือนิติบุคคลตามประเภทความพิการประเภทนั้น ๆ ในระดับจังหวัดไม่น้อยกว่า ๑๕ จังหวัด ๓) ได้รับการจดทะเบียนจากกระทรวงมหาดไทยและได้รับการรับรองเป็นองค์การ

สาธารณประโยชน์ และ (๔) ได้รับการรับรองจากสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

 

                       เลขาธิการ หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

                       สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

                       พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

                       รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

   

                         มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภทจำนวนเจ็ดคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยคำนึงจำนวนสมาชิกขององค์การคนพิการนั้น และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหกคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ให้เลขาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2210531034

*********************

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-22 10:34:28 IP : 124.121.140.24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3220098)

( ต่อจากครั้งที่ แล้ว…….2 )

 

มาตรา ๖  ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                     

                      (๑) เสนอนโยบาย แผนหลัก และโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องคำนึงถึงพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ด้วย

                     (๒) ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๒๐ (๖) มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง

 

 

              อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilies : CRPD ซึ่งคนไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ มีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ เช่น การเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเอง การมีเสรีภาพในการตักสินใจเลือกด้วยตนเอง และความเป็นอิสรภาพของบุคคล การไม่เลือกปฏิบัติ การเข้ามีส่วนร่วมในสังคม การเคารพความแตกต่าง ความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ สิทธิการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงของบุคคล สิทธิทางกฎหมายที่เท่าเทียมกัน สิทธิการเคารพต่อศักดิ์ศรีทางร่างกายและจิตใจ สิทธิในการอาศัยอยู่ในชุมชน สิทธิการเคารพการเป็นส่วนตัว สิทธิการเคารพในการสร้างครอบครัว สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิทาการศึกษา เป็นต้น

 

(๓) เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบายหรือกฎหมายอื่นใดของรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อคนพิการ

          (๔) กำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เงินอุดหนุน สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการต่างๆอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

          (๕) วินิจฉัยและมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ

          (๖) พิจารณาให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมของหน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

          (๗) กำหนดระเบียบการเกี่ยวกับการบริหารกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนระเบียบเกี่ยวกับการรับเงินการจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุนและการตัดหนี้เป็นสูญโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

          (๘) จัดกิจกรรมหลักระดับชาติเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

          (๙) อนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะให้ใช้เงินกองทุน ในส่วนที่เกินกว่าหน้าที่ของอนุกรรมการบริหารกองทุน๖

          (๑๐) กำหนดมาตรฐาน ให้การรับรองหรือเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด๗

          (๑๑) ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด

...................................................................................

          ๖ ระเบียบคณะกรรมการฯว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพากร พ.ศ.๒๕๕๒ ข้อ ๘ (๒) กำหนดให้คณะกรรมการอนุมัติแผนงานหรือโครงการที่มีผู้ยื่นคำขอเกินสิบล้านบาท

            ๗ ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน  การรับรองและการเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นที่ให้บริการแก่คนพิการ พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๘๙ ง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ สรุปสาระสำคัญ เช่น

            ๑. “๐มาตรฐาน” หมายถึง การกำหนดคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการส่งเสริม สนับสนุน รับรอง ติดตามผลประเมินและประกันคุณภาพในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการขององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นที่ให้บริการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

            ๒.องค์กรที่สามารถยื่นขอรับรองมาตรฐาน มี ๓ ประเภท ได้แก่

              ก.องค์กรของคนพิการ หมายถึง องค์กรของคนพิการซึ่งเป็นองค์กรที่มีคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นกรรมการบริหารองค์กรไม่น้อยกว่า สองในสามของกรรมการทั้งหมดตลอดจนมีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินงาน

              ข.องค์กรเพื่อคนพิการ หมายถึง องค์กรที่มีวัตถุประสงค์หรือกิจการหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและมิใช่หน่วยงานภาครัฐ

              ค. องค์กรอื่นที่ให้บริการแก่คนพิการ หมายถึง หน่วยงานภาครัฐ  องค์กรภาคเอกชน หรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการสามารถยื่นคำขอรับรองมาตรฐานต่อคณะอนุกรรมการได้ โดยให้องค์กรต่างๆได้ยื่นคำขอรับรองมาตรฐานการกำหนดมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการ

            ๓. การกำหนดเกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานในด้านต่างๆขององค์กร จำนวน ๓ ด้านคือ ด้านประสิทธิภาพการบริหารงาน ด้านการให้บริการ และด้านคุณภาพการให้บริการ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบเกณฑ์ชี้วัดองค์กรของคนพิการมีเกณฑ์ชี้วัด จำนวน ๖๘ ตัวชี้วัด องค์กรเพื่อคนพิการ มีเกณฑ์ชี้วัดจำนวน ๗๖ ตัวชี้วัด ส่วนองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการอยู่ระหว่างกำหนด

            ๔.สถานที่ยื่นคำขอรับรองมาตรฐาน

              ก.องค์กรด้านคนพิการที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นขอรับรองที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

              ข.องค์กรคนพิการที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ยื่นเอกสารที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด

๕.เครื่องหมายการรับรองมีอายุสามปีนับแต่***้รับเครื่องหมายรับรอง

          ๖.องค์กรแห่งใดได้รับการรับรองมาตรฐานแล้วไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานซึ่งจะมีผลเสียหายต่อคนพิการหรือจะส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการลดลง สามารถตักเตือนเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไข หากองค์กรแห่งนั้นยังไม่แก้ไข โดยไม่มีเหตุอันควร สามารถเพิกถอนการรับรองมาตรฐานขององค์กรแห่งนั้นได้

 

 

            มาตรา ๗ กรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง

          เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

          กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

         

มาตรา ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒)            ลาออก

(๓)            เป็นบุคคลล้มละลาย

(๔)            เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๕)            ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๖) นายกรัฐมนตรีให้ออก

 

มาตรา ๙ ในกรณีที่กรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างทั้งนี้ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

ในกรณีทีมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว

มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่แทน ถ้ารองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่แทน

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ให้มีการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าปีละสามครั้ง

มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เป็นการทั่วถึงให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามประเภทความพิการ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดในแต่ละจังหวัดและคณะอนุกรรมการอื่น เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

องค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด

คณะอนุกรรมการแต่ละคณะตามวรรคหนึ่งให้มีคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา ๑๙ อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นอนุกรรมการ

ให้นำความในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม๘

.................................................................

          ๘ ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามประเภทความพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้นายกสมาคมของคนพิการหรือผู้แทนเป็นประธานอนุกรรมการตามประเภทความพิการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแต่ละประเภท

            ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานอนุกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัด

         

 

            มาตรา ๑๒ ให้มีสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติขึ้นเป็นส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีเลขาธิการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบุคลากรของสำนักงาน๙

……………………………………………

                    ๙ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ได้ออกแบ่งส่วนราชการเป็นการภายในประกอบด้วยสำนักนโยบายและวิชาการ สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ กองกลาง กองบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กลุ่มกฎหมาย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และหน่วยตรวจสอบภายใน

          ให้เลขาธิการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ

          มาตรา ๑๓ ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

           (๑) ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ส่วนราชการหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในการดำเนินงาน การทำงานร่วมกันในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานด้านคนพิการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ                      

           (๒) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ สถานการณ์ของคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อประโยชน์ต่อการป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และจัดทำแผนงานวิเคราะห์ วิจัย ติดตาม ประเมินผลเสนอต่อคณะกรรมการ

          (๓) จัดทำแผนงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ

          (๔) สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดำเนินงาน การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการเพื่อให้สามารถทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิคนพิการตลอดจนสนับสนุนและประสานงานให้หน่วยงานของรัฐจัดงบประมาณให้แก่องค์การด้านคนพิการ เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

          (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย

          มาตรา ๑๔  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่หน้าที่ ดังต่อไปนี้

          (๑)มีหนังสือแจ้งให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการชี้แจงข้อเท็จจริงหรือความเห็นในการปฏิบัติงาน ส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น มาประกอบการพิจารณา

(๒)มีหนังสือแจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือส่งเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นมาประกอบการพิจารณา

          มาตรา ๑๕ การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการหรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำมิได้

 

……………………………………..

          ๑๐ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๐ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชการของกระทรวง เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สรุปได้ดังนี้

            ๑.ให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้  เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๐ ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ  รองเลขาธิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑-๑๒ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสังคม ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน นิติกร นักพัฒนาสังคม และนักวิชาการการเงินและบัญชี  สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติระดับปฏิบัติการหรือเทียบเท่าขึ้นไป

            ๒.ให้ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัด

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2810531212

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-10-28 12:12:21 IP : 124.121.136.22


ความคิดเห็นที่ 2 (3222210)

    ( ต่อจากครั้งที่ แล้ว……3 )

                     

การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการกระทำหรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะเหตุแห่งความพิการ

 

                         การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือ ประโยชน์สาธารณะสนับสนุนให้กระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง  แต่ผู้กระทำการนั้นจะต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาหรือรักษาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์แก่คนพิการตามความจำเป็นเท่าที่จะกระทำได้

 

 

                 บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

            ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 กำหนดให้การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความพิการ     สภาพทางกายหรือสุขภาพ จะกระทำมิได้

            ๒. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ได้กำหนด*** การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความพิการ หมายถึง ความแตกต่าง การกีดกัน หรือการจำกัดบนพื้นฐานของความพิการซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือส่งผลให้เป็นการเสื่อมเสียหรือทำให้ไร้ผลซึ่งการยอมรับ การอุปโภคหรือการใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวงบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นพลเมืองหือด้านอื่น รวมถึงการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ รวมทั้งการปฏิเสธการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล

            ๓. พระราชบัญญัติจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ     พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๘ วรรคห้ากำหนดว่าสถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย

            ๔. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ   พ.ศ.  ๒๕๕๒   กำหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น  โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด  ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

            ๕. คำอธิบายเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความพิการ

                  ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ  ภักดีธนากุล   ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้อธิบายไว้เมื่อวันที่ ๒๗พฤษภาคม ๒๕๕๓ สรุปว่า บทบัญญัติมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ สามมาตรานี้ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ดังนี้

                     (๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ วรรคสามที่ห้ามไม่ให้เลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรม   ถูกตีความจำกัดด้วยว่า ห้ามภาครัฐเท่านั้นไม่ได้ห้ามภาคเอกชน การตีความอย่างนี้ก็ไม่เหมาะกับสภาพปัญหาของคนพิการ เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐  มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ถึงได้บัญญัติให้ชัดเจนเลยว่า  ห้ามทั้งหน่วยงานของรัฐและนายจ้างเอกชน  ผู้ประกอบกิจการเอกชน  กว้างกว่ากรณีอื่น ถ้าท่านศึกษาประเด็นหรือศึกษาในด้านอื่นจะพบว่าไม่มีบทบัญญัติห้ามด้านเอกชน จะมีใกล้เคียงคือด้านแรงงาน ซึ่งก็ใช้กับภาคเอกชนเป็นหลักแต่กรณีของคนพิการนี้ กฎหมายบัญญัติชัดเจนว่า  ไม่ว่าภาครัฐ  ภาคเอกชน  หน่วยงานใดหรือบุคคลใด จะกระทำการเลือกปฏิบัติกดขี่ข่มเหงไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุความพิการของเขาไม่ได้

                     (๒) มาตรา ๑๕ วรรคสอง ได้เปิดมิติใหม่ซึ่งไม่เคยมีในกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติด้านอื่นๆ แม้แต่กฎหมายเกี่ยวกับสตรีซึ่งก้าวหน้ามากก็ยังไม่ปรากฏชัดเหมือนทางด้านคนพิการ โดยมาตรา ๑๕ วรรคสอง  บัญญัติชัดเป็นครั้งแรกในกฎหมายไทยว่าการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลอย่างไม่เป็นธรรมหมายความรวมถึงการเลือกปฏิบัติโดยทางอ้อม (Indirect Discrimination  หรือ Disparate Impacts) ด้วย  ซึ่งการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอ้อมนี้เป็นหลักสากล  แต่ในกฎหมายการเลือกปฏิบัติอื่นของไทยยังไม่ปรากฏชัดเจน ว่าห้ามเลือกปฏิบัติโดยทางอ้อมด้วย ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป ๒ ประการ ดังนี้

                         ก.  ถึงแม้ว่าการปฏิบัติ การวางนโยบาย การออกมาตรการ การวางแผนงาน การทำระเบียบออกใช้เสมอภาคกันหมดทุกคน ไม่กีดกันใคร ไม่เลือกปฏิบัติใคร  มาตรฐานเดียวกันหมด  แต่ถ้าผลของปฏิบัติการนั้นทำให้เกิดผลเสียโอกาสอย่างไม่เป็นธรรมแก่คนพิการทั่วไปก็ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการด้วย ในยุโรปเรียกว่าหลักนี้ว่า Indirect   Discrimination แต่ในสหรัฐอเมริกาบางรัฐรู้จักกันในชื่อว่า Disparate Impact ซึ่งให้ความเข้าใจได้ง่ายในแง่ที่ว่า คุณทำเสมอภาคหมดก็จริงแต่ผลร้ายความเสียหายมันไปเกิดแก่กลุ่มหนึ่งมากกว่าปกติ อย่างนี้เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ต้องไปวิเคราะห์ว่าแค่ไหนจะมีผลกระทบมากกว่าปกติ

                         ข.  การเลือกปฏิบัติโดยอ้อมตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ตามหลักสากลถือว่าการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมไม่คำนึงถึงเจตนาของผู้เลือกปฏิบัติ กล่าวคือ  ถึงแม้ผู้เลือกปฏิบัติการนั้นออกกฎหมายนั้น  ออกระเบียบนั้น ออกคำสั่งนั้นจะไม่มีเจตนากลั่นแกล้งคนพิการเลย ทำโดยสุจริตใจว่าต้องการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ถ้าผลของการปฏิบัติการนั้นมันทำให้เสียโอกาสหรือเสียหายกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของคนพิการเกินความจำเป็นหรือเกินสมควรแล้วก็ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทางอ้อมได้  ลองมองสิครับว่านี่คือลักษณะพิเศษจุดที่ว่าไม่คำนึงถึงเจตนาในกฎหมายสากลเขาชัดเจน  แต่ว่ามาตรา ๑๕ วรรคสองของพระราชบัญญัตินี้ ไม่ได้เขียนให้ชัดก็อาจต้องรอความเข้าใจของนักกฎหมายในบ้านเราที่จะต้องปรับตีความให้เข้ากับมาตรฐานสากลต่อไป

                     (๓) หลักกฎหมายเรื่องห้ามเลือกปฏิบัติเขามีข้อยกเว้น ว่า  ถ้าการเลือกปฏิบัตินั้นมีเหตุผลความจำเป็นก็ยกเว้นให้ทำได้ครับ ในกฎหมายไทยเราเรียกว่า เลือกปฏิบัติเท่าที่เป็นธรรม  ไม่ผิดครับ  จะผิดก็ต่อเมื่อการเลือกปฏิบัตินั้นไม่เป็นธรรม  จะเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ดูที่พฤติการณ์และความรุนแรงเป็นเรื่อง ๆ ไปนะครับ  ในหลักสากลเขาเรียกชื่อนี้ว่า การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลชอบธรรมอย่างเพียงพอ(Objectively Justifiable)  เป็นข้อยกเว้นอย่างนี้  ในกฎหมายไทย  นักกฎหมายไทยใช้มาโดยตลอด  ซึ่งกฎหมายเราได้นำข้อยกเว้นนี้มาบัญญัติไว้ด้วยครับ  ให้เพิ่มจากที่ใช้กันอยู่อีกจุดหนึ่งในมาตรา ๑๕ วรรคสามถ้าท่านดูที่มาตรา ๑๕ วรรคสาม  เหมือนจะพูดหลักการสากลเลยว่าถ้าการเลือกปฏิบัตินั้นมันมีเหตุผลอันสมควรเป็นธรรมก็ไม่ผิด แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือ ส่วนประโยคสุดท้ายของวรรคสามว่าแต่ถึงแม้จะเข้าเหตุยกเว้นให้ทำการเลือกปฏิบัติได้ด้วยเหตุชอบธรรมที่จะทำได้ก็ต้องไม่ทอดทิ้งคนพิการที่ได้บัญญัติบทคุ้มครองคนพิการไว้ว่า แม้เข้าข้อยกเว้นให้เลือกปฏิบัติต่อคนพิการได้  เพราะมีเหตุจำเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  แต่ผู้ปฏิบัติการจะต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาหรือรักษาสิทธิประโยชน์แก่คนพิการตามความจำเป็นเท่าที่จะกระทำได้

                      (๔) ถ้ามีใครสักคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนกระทำการฝ่าฝืนหลักห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีอำนาจมีสิทธิไปร้องขอให้คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้  มาตรการนี้ยังไม่มีในกฎหมายอื่น  ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐภาคเอกชน หรือบุคคลที่ปฏิบัติผิดหลักการนี้ต่อคนพิการ คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้  แล้วถ้าเขายังไม่ได้ทำแต่เขาจะทำต้องรอให้เขาทำเสียหายก่อนแล้วจะไปร้องขอต่อคณะกรรมการให้เพิกถอนได้ใช่หรือไม่  ไม่ต้องครับ ถ้าอยากทำ แต่ยังไม่ได้กระทำหากกระทำแล้วจะเสียหายต่อคนพิการก็ขอให้คณะกรรมการสั่งห้ามไม่ให้กระทำได้  เมื่อคณะกรรมการสั่งให้เพิกถอนการกระทำที่ไม่เป็นธรรม หรือห้ามไม่ให้กระทำการอันจะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการแล้ว  ยังไม่ตัดสิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายจากปฏิบัติที่ผิดกฎหมายนั้นที่จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายต่อจิตใจ  โดยไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นเลย  บวกกับค่าเสียหายในเชิงลงโทษถ้าเป็นการปฏิบัติที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีหลักการนี้  แต่กฎหมายคนพิการเป็นเพียงฉบับเดียวที่เขียนให้ฟ้องร้องเอาค่าเสียหายได้ไม่เกินสี่เท่าของความเสียหายที่แท้จริง  ซึ่งเหตุผลที่ต้องใช้สิทธิพิเศษต่อคนพิการมาก  เพราะเห็นว่าการไม่มีมนุษยธรรมโดยไม่ให้โอกาสแก่คนที่เป็นรองหรือด้อยโอกาสแต่  ยังกดขี่ข่มแหง  โดยสภาพจึงมีความร้ายแรงทางจิตใจมาก   เพราะฉะนั้นเป็นการสมควรแล้วที่ศาลกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษที่สูงกว่าความเสียหายให้ไปถึงสี่เท่าได้ ซึ่งในต่างประเทศในบางแห่งเขามีสูงไปถึงสิบเท่า  ส่วนประเทศไทยเนื่องจากหลักการในข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อนจึงได้  บัญญัติไว้ตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ได้บัญญัติไว้พอสมควรแก่เหตุแล้วองคนพิการ เพราะฉะนั้นพ 

                       มาตรา ๑๖  คนพิการที่ได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา ๑๕ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

                       การร้องขอตามวรรคหนึ่ง  ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ  โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้  และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ศาลจะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้

                       หลักเกณฑ์และวิธีการในการร้องขอ และการวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

 

                ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการร้องขอ  และการวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง  เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

               (๑) ให้มีคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แนวทางและมาตรการเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติ เสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงสิทธิที่คนพิการพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปตามกฎหมาย ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทก่อนมีการวินิจฉัยการร้องขอ ไกล่เกลี่ยรวบรวมข้อเท็จจริงและจัดทำการวินิจฉัยเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยและมีคำสั่งชี้ขาดในกรณีพิพาทนั้น

               (๒) ให้ผู้ซึ่งได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการได้นำเสนอข้อเท็จจริงโดยทำเป็นคำร้องเพื่อให้คณะกรรมการได้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ โดยผู้มีสิทธิยื่นคำขอ ได้แก่ คนพิการที่ได้รับความเสียหายหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำที่มีลักษณะการเลือกปฏิบัติ หรือผู้ดูแลคนพิการในกรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือในกรณีคนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปร้องขอด้วยตนเองได้   หรือองค์กรด้านคนพิการหรือบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการให้ดำเนินการร้องขอแทน   ส่วนคู่กรณีซึ่งผู้กระทำอาจเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใด ๆ ก็ได้

               (๓) วิธีการยื่นคำร้องขอ โดยให้คนพิการหรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมาย ยื่นคำร้องขอเป็นหนังสือหรือส่งทางไปรษณีย์หรือด้วยวาจาหรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อให้คณะกรรมการดำเนินวินิจฉัยและมีคำสั่งตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

               (๔) สถานที่ร้องขอ ผู้อยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ร้องขอต่อสำนักงานหรือหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือหน่วยงานอื่นตามที่เลขาธิการประกาศกำหนดในจังหวัดอื่นให้ร้องขอต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด  หรือหน่วยงานอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

               (๕) คณะกรรมการมีการวินิจฉัยและออกคำสั่งแล้ว  ให้เสนอการวินิจฉัยและคำสั่งต่อประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติหรือบุคคลที่ประธานกรรมการมอบหมายเพื่อพิจารณาลงนามในการวินิจฉัยและคำสั่งแล้วแจ้งให้คู่กรณีทราบต่อไป

 

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

311530753

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-03 07:53:00 IP : 124.121.139.164


ความคิดเห็นที่ 3 (3223114)

( ต่อจากครั้งที่ แล้ว……4 )   

                    มาตรา ๑๗ ในการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๖ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้

                           การฟ้องคดีตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ไม่ว่าคนพิการเป็นผู้ฟ้องเองหรือองค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ฟ้องแทน ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม

        

                           มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานเป็นสำนักงานทะเบียนกลางสำหรับคนพิการใน

กรุงเทพมหานครโดยมีเลขาธิการ เป็นนายทะเบียนกลาง สำหรับจังหวัดอื่นให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนจังหวัดสำหรับคนพิการในจังหวัดของตนอีกหน้าที่หนึ่งโดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นนายทะเบียนจังหวัด

                           มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการได้รับสิทธิตามมาตรา ๒๐ คนพิการอาจยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ณ สำนักงานทะเบียนกลาง สำนักงานทะเบียนจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

                           ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือในกรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง

ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคำขอแทนก็ได้ แต่ต้องนำหลักฐานว่าเป็นคนพิการไปแสดงต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด แล้วแต่กรณีด้วย

 

                            การยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการและการออกบัตร การกำหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิการขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตรประจำตัวคนพิการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

 

 

            ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับบัตรประจำตัวคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่น ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๘๙ ง  เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ สรุปสาระสำคัญดั้งนี้

                (๑) สถานที่ยื่นคำขอ โดยกำหนดให้คนพิการที่มีสัญชาติไทยสามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่อสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด   หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นตามที่เลขาธิการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดได้ทุกแห่งไม่ต้องยื่นที่ภูมิลำเนา

             

                (๒) ในกรณีคนพิการที่ไม่สามารถไปยื่นคำขอด้วยตนเองได้  ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์

 ผู้อนุบาล  หรือผู้ดูแลคนพิการแล้วแต่กรณี ยื่นคำขอแทน

 

                (๓) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำขอ ได้แก่     สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ  หรือสำเนาสูติบัตรของคนพิการ   สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ  รูปถ่าย ๒ รูป   ใบรับรองความพิการรับรอง  เว้นแต่กรณีสภาพความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการก็ได้ กรณีบุคคลอื่นยื่นคำขอแทนคนพิการ  ให้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้น  และหลักฐานอื่นที่แสดงให้เห็นว่าได้รับมอบอำนาจจากคนพิการหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนพิการเนื่องจากเป็นผู้ปกครอง  ผู้พิทักษ์ 

ผู้อนุบาล  หรือผู้ดูแลคนพิการแล้วแต่กรณี

 

                (๔) เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอแล้ว  ให้พิจารณาออกบัตรประจำตัวคนพิการตามคำขอโดยเร็ว  และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันพิจารณาคำขอเสร็จ  ทั้งนี้  กฎหมายได้ยกเลิกระดับความพิการที่สามารถจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการได้ โดยใช้การพิจารณาจากความผิดปกติหรือความบกพร่องซึ่งส่งผลให้บุคคลมีความยากลำบากหรือข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม

      

               (๕) ถ้านายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกบัตรประจำตัวคนพิการให้แก่ผู้ใดนั้นต้องแจ้งคำสั่งพร้อมเหตุผลเป็นหนังสือแก่ผู้ยื่นคำขอภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งไม่ให้มีบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าว รวมทั้งแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ภายในสามสิบวันด้วย

                      ให้นายทะเบียนพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังกล่าว แล้วให้แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมเหตุผลเป็นหนังสือต่อผู้อุทธรณ์ทราบต่อไป  คำวินิจฉัยของนายทะเบียนให้เป็นที่สุด

 

                (๖) กำหนดให้ บัตรมีอายุหกปีนับแต่วันออกบัตร

 

                (๗) กรณีบัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ ชำรุด สูญหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับคนพิการ  ให้คนพิการหรือบุคคลที่ทำการแทนยื่นคำขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอมีบัตรประจำตัวคนพิการใหม่ได้  และในกรณีบัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ  ให้คนพิการหรือบุคคลที่ทำการแทนยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการใหม่ก่อนวันที่บัตรประจำตัวคนพิการเดิมหมดอายุก็ได้

 

                (๘) กรณีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการถึงแก่ความตาย หรือได้รับการแก้ไขฟื้นฟูจนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์จะยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการให้ผู้มีบัตรประจำตัวคนพิการหรือบุคคลที่ทำการแทนแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อจำหน่ายออกจากทะเบียนบัตรประจำตัวคนพิการต่อไป

 

              ๒.  ประกาศสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เรื่อง  แบบและรายละเอียดของสภาพความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง  เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กำหนดความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ จำนวน ๓ ประเภท คือ ความพิการทางการเห็น  ได้แก่  บุคคลที่ไม่มีลูกตาทั้งสองข้าง  ลูกตาสีขาวขุ่น  ไม่มีลูกตาดำ  ลูกตาฝ่อ  โดยต้องมีความผิดปกติดังกล่าวทั้งสองข้าง  ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย   ได้แก่  บุคคลที่ไม่มีรูหูทั้งสองข้าง  และความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ได้แก่ บุคคลที่แขนขาดตั้งแต่ระดับข้อมือขึ้นไป หรือขาขาดตั้งแต่ระดับข้อเท้าขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งข้าง

 

               ๓.  ประกาศสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ  เรื่องกำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนออกเอกสารรับรองความพิการ  เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  ๑๒๗  ตอนพิเศษ  ๙๕    เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม  ๒๕๕๓  มีสถานพยาบาลเอกชนยินดีเข้าร่วมออกเอกสารรับรองความพิการให่แก่ คนพิการ แล้วจำนวน ๓๕ แห่ ได้แก่

 

(๑)             โรงพยาบาลเพชรเวช  เขตห้วยขวาง  กรุงเทพมหานคร

(๒)           โรงพยาบาลกรุงธน ๒  เขตราษฎร์บูรณะ  กรุงเทพมหานคร

(๓)            โรงพยาบาลกว๋องสิวมูลนิธิ  เขตป้อมปราบ  กรุงเทพมหานคร

(๔)            โรงพยาบาลเกษมราษฎร์  ประชาชื่น  เขตบางซื่อ  กรุงเทพมหานคร

(๕)            โรงพยาบาลตา หู คอ จมูก  เขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร

(๖)              โรงพยาบาลเมืองเพชร ธนบุรี  อำเภอเมือง  จัหวัดเพชรบุรี

(๗)            โรงพยาบาลอ่างทองเวชชการ ๒  อำเภทเมือง  จังหวัดอ่างทอง

(๘)            โรงพยาบาลปิยะมินทร์  อำเภอบางพลี  จังหวัดสมุรทปราการ

(๙)             โรงพยาบาลเอกชัย  อำเภอเมืองสมุทรสาคร  จังหวัดสมุทรสาคร

(๑๐)         โรงพยาบาลโสธราเวช  อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา

(๑๑)         โรงพยาบาลเอกชล  อำเภอเมืองชลบุรี  จังหวัดชลบุรี

(๑๒)       โรงพยาบาลซานคามิลโล  อำเภอบ้านโป่ง  จัหวัดราชบุรี

(๑๓)        โรงพยาบาลศุภมิตร  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี

(๑๔)        โรงพยาบาลศิริเวช ลำพูน  อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน

(๑๕)        โรงพยาบาลเมืองเพชร  อำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์

(๑๖)          โรงพยาบาลพัฒนเวชสุโขทัย  อำเภอเมืองสุโขทัย  จัหวัดสุโขทัย

(๑๗)        โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ ศรีบุรินทร์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงราย

(๑๘)        โรงพยาบาลเขลางค์นคร ราม  อำเภอเมืองลำปาง  จังหวัดลำปาง

(๑๙)         โรงพยาบาลแพร่ ราม  อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่

(๒๐)       โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา  เขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร

(๒๑)       โรงพยาบาลเสรีรักษ์  เขตมีนบุรี  กรุงเทพมหานคร

(๒๒)     โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล  เขตปทุมวัน  กรุงเทพมหานคร

(๒๓)      โรงพยาบาลศรีวิชัย  เมืองสมุทรสาคร  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาคร

(๒๔)      โรงพยาบาลศุภมิตรเสนา  อำเภอเสนา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(๒๕)      โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา  อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี

(๒๖)        โรงพยาบาลสมิติเวช  ศรีราชา  จังหวัดชลบุรี

(๒๗)      โรงพยาบาลอินเตอร์เวชการ  พิษณุโลก  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก

(๒๘)      โรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

(๒๙)       โรงพยาบาลหริภุญชัย  เมโมเรียล  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน

(๓๐)        โรงพยาบาล ป.แพทย์  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา

(๓๑)        โรงพยาบาลกรุงเทพ ราชสีมา  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา

(๓๒)      โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต  อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต

(๓๓)       โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต  อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต

(๓๔)       โรงพยาบาลปิยรักษ์  อำเภอเมืองพัทลุง  จังหวัดพัทลุง

(๓๕)       โรงพยาบาลพิสัยเวช  อำเภอโพนพิสัย  จังหวัดหนองคาย

 

                                 ทั้งนี้ ให้สถานพยาบาลเอกชนมอบหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสังกัด  ตรวจวินิจฉัยสภาพความพิการตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ   ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒  และพิจารณาออกเอกสารรับรองความพิการให้แก่คนพิการ  เพื่อประกอบการขอมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  พ.ศ. ๒๕๕๐

 

                    มาตรา ๒๐ คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังต่อไปนี้

                

                    (๑)  การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ  เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมพฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

 

                    (๒)  การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาทั่วไป หรือการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอกระบบโดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการให้การสนับสนุนตามความเหมาะสม

 

                   (๓)  การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ  การให้บริการที่มีมาตรฐานการคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกเทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด  เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

 

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

811530919

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-08 09:20:02 IP : 124.121.136.244


ความคิดเห็นที่ 4 (3225293)

( ต่อจากครั้งที่ แล้ว……5 )   

 

                  (๔)  การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป  ตลอดจนได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับคนพิการ

 

                 (๕)  การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรมการพัฒนาและบริการอันเป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

                 (๖)  ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภทตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ 

             

                 (๗)  บริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

                

(๘)  สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือ เครื่องช่วยความพิการ

ใด ๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะโดยได้รับการยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม  และค่าเช่าเพิ่มเติมสำหรับสัตว์ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการดังกล่าว

 

           (๙)  การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

 

                (๑๐)  การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการหรือการจัดให้มีสวัสดิการอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

 

                 ผู้ช่วยคนพิการ ให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าบริการค่าธรรมเนียมตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

                 คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถานสงเคราะห์เอกชนนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

 

                 ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงดู การจัดการศึกษาการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อให้พึ่งตนเองได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

 

                 คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด

 

                 องค์กรเอกชนที่จัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรานี้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด

 

                 สำหรับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิตามมาตรานี้ได้แก่

 

 

 

           ด้านการแพทย์

              (๑)   ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง  เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริการในเรื่องการให้สิทธิคนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้

                    (๑) สิทธิคนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในเรื่องต่าง ๆ  ได้แก่ การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่น ๆ ตามชุดสิทธิประโยชน์การแนะแนว การให้คำปรึกษา  และการจัดบริการเป็นรายกรณี การให้ยา และหัตถการพิเศษอื่นๆ การศัลยกรรม การบริการพยาบาลเฉพาะทาง กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การแก้ไขการพูด (อรรถบำบัด) พฤติกรรมบำบัด จิตบำบัด ดนตรีบำบัด พลบำบัด ศิลปะบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน การพัฒนาทักษะในการสื่อความหมาย การบริการส่งเสริมพัฒนาการ หรือบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม การบริการแพทย์ทางเลือก การพัฒนาทักษะทางสังคม สังคมสงเคราะห์ และสังคมบำบัด การประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพหรือการประกอบอาชีพ การฟื้นฟู สมรรถภาพทางการเห็น  หรือการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว การบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อในรูปแบบที่เหมาะสมกับความพิการซึ่งคนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะแก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน การเยี่ยมบ้าน กิจกรรมการให้บริการเชิงรุก  การฝึกทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน การบริการทันตกรรม เช่น การเคลือบหลุมร่องฟัน  และการให้บริการเกี่ยวกับการอุปกรณ์เทียม กายอุปกรณ์เสริม เครื่องช่วยความพิการ หรือสื่อส่งเสริมพัฒนาการ

 

                       (๒)  การกำหนดสถานที่และรายการค่าใช้จ่าย (ข้อ ๓) กำหนดให้คนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการและสื่อส่งเสริมพัฒนาการ จากสถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลในกำกับของรัฐ สถานพยาบาลรัฐวิสาหกิจ สถานพยาบาลเอกชนตามที่หน่วยงานของรัฐประกาศกำหนดในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ค่าห้องและค่าอาหารตามอัตราที่หน่วยงานรัฐกำหนด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนา ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

                       (๓)  การกำหนดวิธีเบิกจ่าย (ข้อ ๔) กำหนดให้สถานพยาบาลเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิของคนพิการที่ได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐว่าด้วยการนั้นก่อนและหากสิทธิตามกฎหมายหรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐว่าด้วยการนั้นไม่เพียงพอตามความจำเป็น ให้สถานพยาบาลแห่งนั้นส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดสิทธิตามกฎหมายหรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐเพื่อให้การสนับสนุนต่อไป

 

                        อย่างไรก็ตาม  ในการเบิกเงินค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลต่าง ๆ ให้สถานพยาบาลแห่งนั้นเบิกจ่ายกองทุนที่คนพิการรายนั้นมีสิทธิ เช่น กองทุนสปสช. กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เว้นแต่เป็นกรณีการจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูงเฉพาะกรณีที่กฎหมายและระเบียบของหน่วยงานของรัฐมิได้กำหนดไว้ จึงให้ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติเป็นหน่วยงานในการดำเนินการได้

 

                       (๔)  กำหนดวิธีการปฏิบัติในกรณีอุปกรณ์ชำรุด (ข้อ ๕) ในกรณีที่อุปกรณ์ หรือ เครื่องช่วยความพิการ หรือสื่อเสริมพัฒนาการ ที่คนพิการนั้นได้รับ ชำรุดบกพร่องใช้การไม่ได้ ให้สถานพยาบาลตามข้อ ๓ ที่สามารถดำเนินการได้ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของอุปกรณ์หรือจัดหาให้ใหม่ได้ โดยให้เบิกค่าใช้จ่ายตามข้อ ๔

 

                      (๕)  กำหนดหน่วยประสานการปฏิบัติ (ข้อ ๖) ให้ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานและสนับสนุนงานด้านวิชาการเทคนิควิธีการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การวิจัยพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูงเฉพาะกรณีที่กฎหมายและระเบียบของหน่วยงานของรัฐมิได้กำหนดไว้

 

           (๒)  พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คนพิการได้รับสิทธิด้านสุขภาพ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าบริการในการรับบริการทางสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุข ในปี ๒๕๔๕ ได้มีประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดสิทธิของคนพิการและทหารผ่านศึกซึ่งคนพิการและทหารผ่านศึกสามารถใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข ณ หน่วยบริการของรัฐได้ทุกแห่งได้

 

           (๓)  ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๒

 

           (๔)  พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดแนวทางและวิธีการคุ้มครองสิทธิบุคคลซึ่งมีอาการผิดปกติทางจิต

 

           (๕)  พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ กำหนดสิทธิคนทุพลภาพที่เป็นผู้ประกันตนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

 

           (๖)  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐  มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คนพิการได้รับสิทธิด้านสุขภาพ โดยกำหนดให้คนพิการที่มีความจำเพาะในเรื่องสุขภาพได้รับการคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม รวมทั้งป้องกันมิให้เกิดความพิการโดยกำเนิด โดยกำหนดให้หญิงได้รับการสร้างเสริมและการคุ้มครองอย่าสอดคล้องและเหมาะสมด้านการดูแลสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจำเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพของหญิงตลอดชีวิต

 

     ด้านการศึกษา

             ๑)  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีสาระสำคัญในการกำหนดให้คนพิการได้รับสิทธิทางการศึกษา ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

                (๑) ให้สิทธิคนพิการในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อมีพบมีความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

                (๒) ให้สิทธิคนพิการในการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา โดยในปัจจุบันได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อให้เป็นไปตามที่มาตรา ๑๐ แห่งกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนดไว้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนคนพิการในการได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับบุคคลปกติอย่างแท้จริง

 

               (๓) ให้สิทธิคนพิการในการได้รับการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษและสอดคล้องกับความจำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความพิการโดยคำนึงถึงความเสมอภาคและความเป็นธรรม

  

         ๒) พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ  พ.ศ.  ๒๕๕๑ มาตรา ๕ กำหนดให้คนพิการมีสิทธิทาการศึกษาในเรื่องการได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิตพร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษาระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ  ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา กำหนดให้สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะคนพิการ            

 

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2211530830

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-22 08:30:53 IP : 124.121.140.113


ความคิดเห็นที่ 5 (3226065)

( ต่อจากครั้งที่ แล้ว……6 )   

 

            ๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนดังกล่าวและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งจัดประชุมเพื่อประเมิน ทบทวน และปรับแผน พร้อมจัดทำรายงานผลปีละ ๒ครั้งด้วย

 

             ๔) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ สรุปได้ดังนี้ (๑) ให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (๒) ให้มีการจัดทำหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา  ให้สถานศึกษาและส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท  ตามรูปแบบหลักเกณฑ์ และวิธีการที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด หรือตามที่สถานศึกษาเห็นสมควร (๓) กรณีที่คนพิการซึ่งมีอุปสรรคและมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือในการเดินทางเพราะเหตุแห่งความพิการนั้น ให้สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดบริการสำหรับการเดินทาง หากเงินอุดหนุนของสถานศึกษาไม่เพียงพอ ให้สถานศึกษาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหรือส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษานั้นได้และ(๔) ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาเป็นกรณีพิเศษแก่สถานศึกษา ทั้งนี้ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ

 

           ๕) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการคนพิการว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันเดียวกัน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ (๑) กรณีการจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการตามประเภทความพิการและให้สถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วน หรือจำนวนที่เหมาะสม โดยให้คำนึงถึงประเภทของความพิการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ส่วนราชการ สถาบันการอาชีวศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษากำหนด และให้สถานศึกษานั้นแจ้งต่อคณะกรรมการเพื่อทราบไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป(๒)กรณีการศึกษาระดับอุดมศึกษากำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชนมีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสมโดยให้คำนึงถึงประเภทของความพิการด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และแจ้งคณะกรรมการเพื่อทราบไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนเริ่มปีการศึกษา (๓) สถานศึกษาทั้งอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนักศึกษาพิการหากหน่วยงานไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ส่งเรื่องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด โดยส่วนราชการหรือสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลหรือสถาบันอุดมศึกษา อาจทำข้อตกลงขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ (๔) ให้ส่วนราชการรับผิดชอบรายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

 

           ๖) ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ สรุปได้ ดังนี้

 

                (๑)  สถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ต้องเป็นสถานศึกษาที่ได้รับคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ และผู้นั้นต้องไม่เคยได้รับการอุดหนุนทางการศึกษา

ตามประกาศนี้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือหลักสูตรปริญญาตรีมาก่อน เว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีได้

 

               (๒)  รายการที่ให้การอุดหนุนประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นในทำนองเดียวกันกับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม ตามรายการและอัตราที่กำหนดในระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของส่วนราชการ สถาบันการอาชีวศึกษาหรือสถานศึกษาเอกชน แล้วแต่กรณี

(๓)  ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งดำเนินการประมาณการจำนวนเงินและจำนวนนักศึกษาพิการที่คาดว่าจะรับเข้าศึกษาในแต่ละปีเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี โดยรายงานต่อส่วนราชการ ทั้งนี้ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี พร้อมทั้งรายานจำนวนเงินที่จะต้องเรียกเก็บ และรายชื่อนักศึกษาพิการที่รับเข้าศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาตามแบบที่เลขาธิการกำหนด พร้อมด้วยระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสถานศึกษาที่ใช้บังคับในภาคการศึกษานั้น โดยรายงานต่อส่วนราชการ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งนี้ ภายในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนของทุกปี

 

๗) ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการเรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ สรุปได้ ดังนี้

 

(๑) สถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าศึกษาในหลักสูตรไม่สูงกว่าระดับปริญญาตรี และผู้นั้นต้องไม่เคยได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีมาก่อน

 

(๒) รายการที่ให้อุดหนุน ตามข้อ ๔ ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นในทำนองเดียวกันกับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม ตามรายการที่ปรากฏในระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งในทุกหลักสูตร ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราบาท/ราย/ปี ดังต่อไปนี้

 

๑.      สังคมศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ๖๐,๐๐๐ บาท

๒.    ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ๖๐,๐๐๐ บาท

๓.     วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๗๐,๐๐๐ บาท

๔.     เกษตรศาสตร์  ๗๐,๐๐๐ บาท

๕.    สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ๘๐,๐๐๐ บาท

๖.      แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ๑๕๐,๐๐๐ บาท

 

 

 

(๓) การยื่นคำขอรับเงินอุดหนุน ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งดำเนินการประมาณการจำนวนเงินและจำนวนนิสิตนักศึกษาพิการที่คาดว่าจะรับเข้าศึกษาในแต่ละปีเพื่อปรพกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี โดยรายงานต่อสำนักงาน ทั้งนี้ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี พร้อมทั้งรายงานจำนวนเงินที่จะต้องเรียกเก็บและรายชื่อนิสิตนักศึกษาพิการที่เข้ารับการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาตามแบบที่เลขาธิการกำหนด พร้อมด้วยระเบียบข้อบังคับ หรือประกาศของสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้บังคับในภาคการศึกษานั้น โดยรายงานต่อสำนักงานเพื่อประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ ทั้งนี้ ภายในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนของทุกปี

 

(๔) ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการ ต่อสำนักงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนด อย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้ ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการต่อไป

 

(๕) ให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับนิสิตนักศึกษาซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าศึกษาก่อนประกาศนี้ใช้บังคับได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป

 

(๖) พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คนพิการได้รับสิทธิทางการศึกษาเป็นพิเศษจากกระทรวง ศึกษาธิการ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา องค์ก่อนปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษาต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ และให้สิทธิคนพิการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดตามความจำเป็น

 

        ด้านสวัสดิการสังคม

              ๑. บริการล่ามภาษามือ

                 ๑)   ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ กำหนดให้กำหนดให้คนพิการทางการได้ยิน มีสิทธิยื่นคำขอเพื่อขอรับบริการล่ามภาษามือในกรณีต่าง ๆ ได้แก่ การใช้บริการทางการแพทย์และการสาธาณสุข การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ  การร้องทุกข์การกล่าวโทษ หรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรม รวมทั้งเป็นผู้บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้จัดซึ่งมีคนพิการทางการได้ยินเข้าร่วมด้วยและบริการอื่นใดตามที่คณะอนุกรรมการประกาศกำหนด ส่วนการยื่นคำขอรับความช่วยเหลือในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการประกาศกำหนด และในท้องที่จังหวัดอื่น  ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือที่หน่วยบริการในพื้นที่ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

 

           ๒)   ประกาศสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนการให้บริการล่ามภาษามือ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกประกาศกำหนดอัตราค่าตอบแทนการให้บริการล่ามภาษามือแก่คนพิการทางการได้ยิน สรุปได้ดังนี้

 

              ข้อ ๑ การให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ หรือการร้องทุกข์ การกล่าวโทษ หรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ให้จ่ายค่าตอบแทนในอัตราไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ๓๐๐บาท และไม่เกินชั่วโมงละ ๕๐๐บาท

               การนับระยะเวลาเพื่อคำนวณค่าตอบแทนในแต่ละครั้งให้นับตั้งแต่เวลาเริ่มปฏิบัติงานจริงจนถึงเวลาสิ้นสุดการปฏิบัติงาน  เมื่อรวมระยะเวลาการปฏิบัติงานแล้วมีเศษของชั่วโมงหากมีเศษของชั่วโมงถึงครึ่งชั่วโมงให้นับเป็นหนึ่งชั่วโมง ถ้าไม่ถึงครึ่งชั่วโมงให้ปัดทิ้งล่ามภาษามือที่ได้รับค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งดเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

                ข้อ ๒ การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรม รวมทั้งเป็นผู้บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรเอกชนเป็นผู้จัดซึ่งมีคนพิการทางการได้ยินเข้าร่วม ให้จ่ายตามที่ปฏิบัติงานจริงอัตราชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท ให้เบิกจ่ายได้ไม่เกิน ๒ คนต่อชั่วโมง ไม่เกิน ๖ ชั่วโมงต่อวัน และในกรณีที่ประชุมกลุ่มย่อยให้จ่ายตามที่ปฏิบัติงานจริงอัตราชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท โดยให้เบิกจ่ายได้กลุ่มละไม่เกิน ๑ คน

                 การประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรม ที่มีผู้เข้าร่วมประชุม หรือผู้บรรยายใช้ภาษาต่างประเทศและล่ามภาษามือต้องแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษามือโดยตรง อัตราการจ่ายค่าตอบแทนล่ามภาษามือให้เป็นดุลพินิจของเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติพิจารณาโดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และประหยัดภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับข้อ ๓ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนล่ามภาษามือ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของทางราชการ

      ๒. ด้านการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการการช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ

        ๒)  ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการการช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง เมื่อ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ได้กำหนดแนวทางการคุ้มครองสิทธิคนพิการ สรุปได้ ดังนี้

               ๑.  การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ  โดยการเพิ่มเติม  ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงที่อยู่อาศัยบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยการออกแบบการซ่อมแซม การก่อสร้าง การใช้เทคโนโลยี หรือวิธีการอื่นใด เพื่อขจัดอุปสรรคหรือจัดให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตในที่อยู่อาศัยนั้นได้โดยสะดวกและเหมาะสมกับสภาพความพิการรวมถึงเพื่อความปลอดภัยและ

สุขอนามัย โดยคนพิการในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการประกาศกำหนดหรือในจังหวัดอื่นที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือหน่วยบริการในพื้นที่ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนด

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2611530905

*********************

ีวศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-26 09:05:04 IP : 124.121.135.184


ความคิดเห็นที่ 6 (3226690)

( ต่อจากครั้งที่ แล้ว……7 )   

 

            ๒.  การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ โดยจัดจ้างบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือคนพิการเฉพาะบุคคลเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิต ภายในระยะเวลาหนึ่งตามความจำเป็นไม่เกินหนึ่งปี  ซึ่งต้องจัดให้มีการรับจดแจ้งเป็นผู้ช่วยคนพิการโดยในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการประกาศกำหนดหรือในจังหวัดอื่นที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และคนพิการที่ยื่นคำขอให้มีผู้ช่วยคนพิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ มีความจำเป็นเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิตได้ และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

            ๓.  การคุ้มครองสิทธิคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล  โดยกำหนดให้คนพิการที่ไม่มีบิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลในครอบครัวที่รับคนพิการไว้ดูแลหรืออุปการะเลี้ยงดูได้รับสวัสดิการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ  การจัดหาครอบครัวอุปการะ การส่งเข้าอุปการะในสถานสงเคราะห์ การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือเรื่องอื่นๆ สำหรับคนพิการที่จะได้รับสิทธิในเรื่องนี้ต้องไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดูหรือมีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง หรือที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงหรือไม่เหมาะสม ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ รวมทั้งให้การสนับสนุนสถานสงเคราะห์เอกชนที่รับอุปการะคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลด้วย

                ๔. การกำหนดสิทธิผู้ดูแลคนพิการ โดยให้ผู้ดูแลคนพิการซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือยากลำบากเนื่องจากต้องดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับสิทธิได้รับในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การบริการคำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงดูคนพิการ การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ การทำงานในสถานประกอบการ การฝึกอาชีพ การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ การมีงานทำการให้สัมปทานหรือสถานที่จำหน่ายสินค้า การจัดจ้างแบบเหมางานและอื่นๆ

                ๕. มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ดูแลคนพิการ

                  ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๗) พ.ศ. ๒๕๕๒ บัญญัติว่าให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็น (ฎ) ของ (๑) ในมาตรา ๔๗ แห่งประมวลรัษฎากร (ฎ) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละหกหมื่นบาท โดยบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูต้องเป็นคนพิการหรือเป็นคนทุพพลภาพ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ วรรคสองบัญญัติว่า การหักลดหย่อนบุตรบุญธรรม ให้หักได้ในฐานะบุตรบุญธรรมเพียงฐานะเดียว โดยให้หักลดหย่อนสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป

ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๒๔ ง เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดว่า

ข้อที่ ๑ การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละ ๖๐,๐๐๐ บาท โดยบุคคลดังกล่าวต้อเป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือเป็นคนทุพพลภาพ ตามมาตรา ๔๗(๑)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อน สำหรับบุคคลซึ่งเป็นคนทุพพลภาพและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ดังต่อไปนี้ (ก) บิดามารดา ของผู้มีเงินได้ (ข) บิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ (ค) สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ (ง) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ (จ) บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ (ฉ) บุคคลอื่นนอกจาก (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน ๑ คน ส่วนกรณีทุพพลภาพต้องเป็นกรณีที่แพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความคิดเห็นว่าบุคคลตาม (ก) (ข) (ค) (ง) และ (ฉ) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน (๒) บุคคลตาม (๑) ที่ผู้มีเงินได้จะได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน ต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน โดยไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ แห่งประมวลรัษฎากร  ส่วนกรณีบุคคลตาม (๑) เป็นทั้งคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมละพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และเป็นคนทุพพลภาพ ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ในฐานะคนพิการเพียงฐานะเดียว (๓) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนพิการซึ่งเป็นบุคคลตาม (๑) ผู้มีเงินได้นั้นต้องเป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการในระหว่างปีภาษีให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน (๔) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพซึ่งเป็นบุคคลตาม (๑) ผู้มีเงินได้นั้นจะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้มาแสดงเพื่อขอใช้สิทธิหักลดหย่อน (ก) ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (๑)

มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน และใบรับรองแพทย์ดังกล่าวต้องเป็นใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน กรณีผู้มีเงินได้หลายคนมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ตกลงกันเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้ และทำความตกลงเป็นหนังสือโดยผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าวเป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ ใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้

            ต่อมาได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยกำหนดบุคคลอื่นนอกจาก (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ซึ่งเป็นคนพิการที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  หรือซึ่งเป็นคนทุพพลภาพและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ จำนวย ๑ คน

             สำหรับ หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ที่รับรองว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุคคลตาม (๑)  ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ โดยผู้รับรองต้องเป็นสามีภริยาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมหรือหลาน หรือบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา ของบุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพอยู่อาศัย โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ผู้รับรองต้องรับรองของแต่ละปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ไม่เกิน ๑ คนสำหรับการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพคนหนึ่งคนใด (๕) การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามประกาศนี้ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ทั้งนี้การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวรรคสองของ(๑ด้วย (๖)กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้เฉพาะคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

               ข้อ๒ บุคคลตามข้อ ๑ (๑)  ที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนตามประกาศนี้จะต้องเป็นบุคคลที่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร

               ข้อ ๓ การหักลดหย่อนตามประกาศนี้ผู้มีเงินได้ต้องแนบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ(แบบล.ย.๐๔)ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้และแนบหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (๑) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนพร้อมทั้งภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าวในส่วนที่แสดงว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้วย (๒) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้ (ก) ใบรับรองแพทย์ตามข้อ ๑ (๔) (ก) (ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.๐๔ ๑) ตามข้อ ๑ (๔) (ข) โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้

               ข้อ๔ กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ตามข้อ ๑ และคนพิการหรือคนทุพพลภาพดังกล่าวเป็นบุตรตามข้อ ๑ (๑) (ง) และ(จ) และผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว โดยภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑)แห่งประมวลรัษฎากร และใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ซึ่งสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ได้คนละ๓๐,๐๐๐ บาท สำหรับบุตรซึ่งเป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพนั้น ตามมาตรา ๕๗ เบญจ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (๑) ภาพถ่าย แบบ ล.ย.  ๐๔ ของผู้มีเงินได้ตามข้อ ๓ ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น (๒) ภาพถ่ายหลักฐานตามข้อ ๓ (๑) และ (๒) (ก) และ (ข) ของผู้มีเงินได้ ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น

         ๓. ด้านการช่วยเหลือทางกฎหมาย

               ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมละพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมาย และการจัดหาทนายว่าต่างแก้ต่างคดี พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง  เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ กำหนดให้คนพิการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย การให้ความรู้ทางกฎหมาย การจัดทำนิติกรรมสัญญา การไกล่เกลี่ยหรือการประนีประนอมยอมความ การจัดหาทนายความ และการให้ความช่วยเหลืออื่น ในทางคดีต่าง ๆ ได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีแรงงาน และคดีทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ  ในการรับคำขอเพื่อให้การช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งคณะอนุกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนพิการในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติได้กำหนดแนวทางให้หน่วยงานที่รับคำขอดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

               ขั้นตอนที่ ๑ สอบข้อเท็จจริงตามแบบที่คณะอนุกรรมการกำหนด(แบบกม.๑) เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับคำขอร้องช่วยเหลือตามข้อ ๘ เช่น ชื่อ สกุล และที่อยู่ของผู้รับการช่วยเหลือ ชื่อ สกุล หรือชื่อหน่วยงานที่เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทหรือคดี การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการยื่นคำขอรับการช่วยเหลือพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ เกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย  ในกรณีคำขอรับการช่วยเหลือใดมีรายการไม่ครบ ไม่ชัดเจนหรือไม่อาจเข้าใจได้ ให้หน่วยงานซึ่งรับคำขอให้คำแนะนำแก่ผู้ยื่นคำขอ เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง หรือมาให้ถ้อยคำภายในระยะเวลาที่กำหนด และในกรณีผู้ขอรับการช่วยเหลือมิได้ดำเนินการตามวรรคสอง ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์ที่จะรับการช่วยเหลือดังกล่าว

                 ในกรณีสำนักงานจะรับคำขอเพื่อให้ความช่วยเหลือคนพิการรายใดให้ส่งสำเนาแบบกม.๑ เพื่อถามความเห็นเบื้องตนเป็นหนังสือไปที่หน่วยงานตามขั้นตอนที่ ๓ ก่อนสั่งรับคำขอไว้พิจารณา

                  ขั้นตอนที่ ๒ เมื่อหน่วยงานซึ่งรับคำขอได้พิจารณาโดยได้รับคำตอบจากหน่วยงานตามขั้นตอนที่ ๑ แล้ว ให้พิจารณาช่วยเหลือคนพิการทางกฎหมาย ดังนี้

                   (๑)  ลงสารบบตามประเภทของการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย  ทั้งนี้  เพื่อสะดวกแก่การควบคุมดูแลและติดตามประเมินผล และในกรณีเห็นสมควรดำเนินการให้การช่วยเหลือและจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือทางกฎหมายหรือจัดหาทนายความในการว่าต่างแก้ต่างทางคดี ให้ดำเนินการส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจพิจารณาตามระเบียบนี้ (ข้อ ๙)

(๒)  แต่ถ้าเป็นกรณีสั่งไม่รับดำเนินการให้การช่วยเหลือ ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวพร้อมทั้ง

แสดงเหตุผลเป็นหนังสือ ตลอดจนคืนเอกสารหลักฐานให้แก่ผู้ขอรับการช่วยเหลือโดยเร็วโดยปฏิบัติตามข้อ ๑๕วรรคสอง  ให้สำนักงานแจ้งผลในกรณีที่ไม่รับให้การความช่วยเหลือตามคำขอ ให้แจ้งเหตุผลพร้อมสิทธิในการอทุธรณ์ต่อผู้ออกคำสั่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับแจ้งผลการพิจารณา

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

3011530821

*********************

าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละหกหมื่นบาท โดยบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูต้องเป็นค

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-30 08:21:07 IP : 124.121.138.14


ความคิดเห็นที่ 7 (3226987)
( ยังมีต่อ............................ )
ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-01 18:57:21 IP : 124.122.241.132


ความคิดเห็นที่ 8 (3230686)

( ต่อจากครั้งที่ แล้ว……8 )   

 

                ขั้นตอนที่ ๓ การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายให้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดตามระเบียบการให้ความช่วยเหลือกฎหมายแก่ประชาชนก่อน ดังนี้

                (๑) สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด หรือสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัด สำนักอัยการจังหวัด หรือ

                (๒) ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน กระทรวงยุติธรรมหรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัด(กองยุติธรรมชุมชน) หรือ

                (๓) สภาทนายความแห่งประเทศไทย หรือเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์หรือหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรเอกชนซึ่งมีภารกิจเกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือทางกฎหมายหรือจัดหาทนายความในการว่าต่างแก้ต่างทางคดีแก่ประชาชน

               ขั้นตอนที่ ๔  การพิจารณาให้การช่วยเหลือทางการเงิน

                เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่ ๓ ปรากฏว่าต้องมีค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือ ได้แก่การวาง

เงินค่าธรรมเนียมศาล ค่าจ้างทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างในทางคดี การวางเงินเป็นหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราว และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทางกฎหมายหรือจัดหาทนายความในการว่าต่างแก้ต่างในทางคดี  และหน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้

ให้ดำเนินการ ดังนี้

                 (๑) รายการอนุมัติค่าใช้จ่าย   การขออนุมัติค่าใช้จ่ายจากเลขาธิการหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบ ตามรายการในข้อ ๑๑ ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือทางกฎหมายหรือจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี  ให้เป็นไปตามอัตราที่เลขาธิการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง โดยค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม  โดยอาจให้การช่วยเหลือเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้ วรรคสาม ในกรณีที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการสำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว ให้เบิกได้ทางเดียว

                 (๒) หลักเกณฑ์การพิจารณาช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามข้อ ๑๒ การพิจารณาให้การช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๑ ให้คำนึงถึงผู้ขอรับการช่วยเหลือมีความจำเป็นเนื่องจากมีฐานะยากจน หรือเป็นกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิตามกฎหมายผู้ขอรับการช่วยเหลือจะฟ้องหรือถูกฟ้อง มีโอกาสในการชนะคดีในกรณีคำขอตามข้อ ๑๑ (๑) และ (๒) ผู้ขอรับการช่วยเหลือมีความประพฤติดีหรือไม่มีพฤติการณ์ว่าจะหลบหนีในกรณีคำขอตามข้อ ๑๑ (๓) รวมทั้ง ไม่ผิดสัญญาตามข้อ ๑๖ ในกรณีการช่วยเหลือตามข้อ ๑๑ (๑)และ(๒) อาจมอบหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายพิจารณาให้ความเห็นตามข้อ ๑๒ เพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ (ข้อ ๑๓)

                 (๓) การอนุมัติให้การช่วยเหลือ สำหรับส่วนกลาง เสนอต่อเลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ส่วนภูมิภาค เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย เมื่อได้รับการอนุมัติให้ความช่วยเหลือแล้ว ผู้ขอรับการช่วยเหลือจะต้องทำสัญญาการรับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานซึ่งรับคำขอตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (แบบกม.๒)ในกรณีผู้ขอรับการช่วยเหลือไม่ทำสัญญาภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้งโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ถือว่านั้นไม่ประสงค์จะขอรับการช่วยเหลือ (ข้อ ๑๕)

                  (๔) การส่งเงินคืนสำนักงาน เฉพาะกรณีเงินค่าธรรมเนียมและค่าทนายความที่ได้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล  เงินหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว  เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไป (ข้อ ๑๖)  ในกรณีผู้รับการช่วยเหลือไม่ปฏิบัติตามสัญญา  ให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป(ข้อ ๑๗)

      ๔. สวัสดิการเบี้ยความพิการ

            ๑) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนพิการได้รับความช่วยเหลือและเอื้ออำนวยให้คนพิการมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากคนพิการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมมากกว่าบุคคลทั่วไป โดยให้คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินเบี้ยความพิการ ให้จ่ายได้ในอัตราเดือนๆ ละห้าร้อยบาทโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จ่ายแก่ผู้มีสิทธิเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบของทุกเดือนเริ่มจ่ายตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๓ ในกรณีคนพิการที่ได้รับเบี้ยความพิการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งย้ายถูมิลำเนาไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ไม่เป็นเหตุให้สิทธิการได้รับเบี้ยความพิการสิ้นสุดลง สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ  ให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

                ในกรณีคนพิการซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕ เป็นผู้ซึ่งต้องขังหรือจำคุกอยู่ในเรือนจำ ทัณฑสถาน หรือสถานที่คุมขังของกรมราชทัณฑ์ หรือเป็นผู้ซึ่งถูกควบคุมอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  ให้ไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเบี้ยความพิการต่อผู้บัญชาการเรือนจำผู้อำนวยการทัณฑสถาน ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน หรือผู้บริหารที่เรียกชื่ออย่างอื่นแล้วแต่กรณี เพื่อนำส่งเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นภูมิลำเนาของคนพิการตามกฎหมาย

              ๒) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๓๖ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ข้อ ๖ คนพิการซึ่งจะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ได้แก่ มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน มีบัตรประจำตัวคนพิการ ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ โดยภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีให้คนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการในปีงบประมาณถัดไปด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา โดยมีหลักฐานคือบัตรประจำตัวคนพิการ ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนาที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการ สิทธิของผู้ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามระเบียบนี้สิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้(๑) ตาย (๒) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๖ (๓) แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยความพิการเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ โดยกรณีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการดังกล่าวสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสั่งระงับการจ่ายเงินเบี้ยความพิการสำหรับบุคคลดังกล่าวทันที เว้นแต่กรณีย้ายภูมิลำเนาไม่ตัดสิทธิแต่ต้องไปยื่นที่อปท.แห่งใหม่ภายในเดือนพฤศจิกายน(ข้อ ๘)

                มาตรา ๒๑  เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

         คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติมีมติ เมื่อวันที่ ๑๘

พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เห็นชอบให้ซักซ้อมแนวทางการจัดทำข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติหรือระเบียบ/ประกาศเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

            ๑. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่คนพิการทั้งในระดับบุคคล กลุ่มและชุมชน เช่น การให้บริการล่ามภาษามือ การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ 

การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล การช่วยเหลือผู้ดูแลคนพิการ กาสนับสนุนถานสงเคราะห์เอกชนที่รับอุปการะคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล การส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

            ๒. ส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการได้เข้าถึงการบริการทางการศึกษาทั้งทางด้านค่าใช้จ่ายทาการศึกษา เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามกฎหมาย  สนับสนุนสถานที่การศึกษาในพื้นที่ให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ สนับสนุนให้คนพิการเข้าถึงกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ

            ๓. ส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการได้ฝึกอาชีพ ประกอบอาชีพและมีงานทำทั้งในระดับบุคคลและกลุ่ม  เช่น ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเสริมสร้างสมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการในด้านอาชีพ สนับสนุนสื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการสามารถทำงานหรือประกอบอาชีพได้ สนับสนุนให้นายจ้างหรือสถานประกอบการจ้างคนพิการเข้าทำงาน สนับสนุนให้มีการจ้างคนพิการเข้าทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

            ๔. ส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการได้เข้ามามีส่วนร่วมทางสังคม เช่น การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการขอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การส่งเสริมสนับสนุนให้มีองค์กรของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนามาตรฐานการให้บริการและได้รับการรับรองมาตรฐานองค์กร

            ๕. ส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการทั้งระดับบุคคลและกลุ่มคนพิการได้เข้าถึงสิทธิฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ โดยประสานหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ให้บริการในเรื่องต่าง ๆ ให้การช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ การบริการด้านพาหนะเดินทางแก่คนพิการ

            ๖. จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่คนพิการและทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้านวางแผน การออกแบบงานโยธาและพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างต่าง ๆ ยึดหลักการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการออกแบบของภาคเอกชนที่ดำเนินงานก่อสร้างในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้มีการนำแนวคิดออกแบบที่เป็นสากลที่ทุกคนสามารถใช้ได้ในขอบเขตมากที่สุดที่จะเป็นไปได้ ปรับปรุสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การคมนาคม สารสนเทศและการสื่อสาร

           ๗. ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ โดย ให้บุคลากรในสังกัดถือปฏิบัติและเป็นผู้มีจิตใจมุ่งบริการโดยมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการทุกรูปแบบในเรื่องต่างๆ ทั้งทางด้านการกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการหรือวิธีปฏิบัติขององค์กรส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้คำแนะนำแก่องค์กรเอกชน หรือบุคคลในพื้นที่ความรับผิดชอบไม่ให้มีการกระทำดังกล่าว

           ๘. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการสำรวจและค้นหาคนพิการในพื้นที่ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมให้คนพิการได้มีบัตรประจำตัวคนพิการ การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระดับท้องถิ่นสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการระดับจังหวัด และมีการบูรณาการเข้ากับแผนพัฒนาท้องถิ่นระยะสามปี การจัดให้มีการวิเคราะห์โครงสร้างและการบริหารจัดการเพื่อจัดให้มีบุคลากรด้านนี้ไว้เป็นการเฉพาะ รวมทั้งจัดให้มีข้อมูลสารสนเทศ และการประชาสัมพันธ์ อาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือการจัดสภาพแวดล้อมที่คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

            ๒) องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ออกข้อบัญญัติส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตำบลดอนแก้วซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๓๐ ง เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สรุปได้ดังนี้

             ๑)  กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วเป็นประธานกรรมการประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วสองคน ผู้แทนหน่วยงานบริการสาธารณสุขในตำบลดอนแก้วสองคนผู้แทนคนพิการแต่ละประเภทในตำบลดอนแก้วจำนวนห้าคนซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิในตำบลดอนแก้วอีกสองคนซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วแต่งตั้ง  และผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วสองคน  เป็นกรรมการโดยให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วเป็นกรรมการและเลขานุการ

            ๒)  คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ มีการกำหนดแผนและนโยบาย  โครงการงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในตำบลให้สอดคล้องกับแผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบล

            ๓)  มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในตำบลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระดับตำบล

            ๔)  ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมขององค์กรด้านคนพิการ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                 นอกจากนั้น เมืองพัทยายังได้ประกาศใช้ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓  ซึ่งมีเนื้อหาสาระในทำนองเดียวกันกับ อบต.ดอนแก้ว

( มีต่อ............................ )

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2812530822

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-28 08:22:41 IP : 124.121.141.74


ความคิดเห็นที่ 9 (3234983)

(ต่อจากครั้งที่แล้ว  ....9 )                    

 ๒.  ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒  ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ เมษายน หน้า ๗ เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๕๑ ง ได้กำหนดแนวทางการอนุมัติจ่ายเงินกองทุน สรุปได้ดังนี้

             ๑. แนวทางการสนับสนุนแผนงานโครงการ

                 ๑.๑ คุณสมบัติเกี่ยวกับองค์กรที่ยื่นคำขอ ตามระเบียบข้อ ๕ หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนที่จะขอรับการสนับสนุนแผนงานหรือโครงการจากกองทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

                  (๑)  มีที่ทำการหรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่จะยื่นคำขอไม่น้อยกว่า ๖ เดือน

                  (๒) มีคณะกรรมการ บุคลากร หรืออาสาสมัครในการปฏิบัติงานประจำ หรือมีที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                  (๓) มีผลการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อคนพิการหรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมหรือชุมชน

                  (๔) มีระบบการบริหารงานและระบบการเงินการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ

                 ๑.๒ ลักษณะแผนงานโครงการที่ยื่นคำขอ ตามระเบียบข้อ ๖ มีดังต่อไปนี้

                  (๑)  สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  นโยบายรัฐบาล หรือนโยบายของคณะกรรมการ

                  (๒) มีวัตถุประสงค์และกระบวนการในการดำเนินงานชัดเจน และมีผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                  (๓) สร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลหรือหน่วยงานหรือประชาชนเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                  (๔) มีคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการหรือมีหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจด้านคนพิการเข้าร่วมบริหารจัดการหรือให้คำปรึกษาในการดำเนินงาน  ในกรณีเป็นหน่วยงานภาครัฐต้องเป็นแผนงานหรือโครงการที่ริเริ่มใหม่หรือเป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณปกติได้ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ ในกรณีเป็นองค์กรภาคเอกชนต้องเป็นแผนงานหรือโครงการที่ดำเนินงานมาแล้วโดยมีทุนหรือเงินสมทบอยู่บางส่วน หรือเป็นแผนงานหรือโครงการใหม่  และต้องไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการและแหล่งทุนอื่น ๆ หรือได้รับการสนับสนุนแต่ไม่เพียงพอ  นอกจากนั้น คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนอาจกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนดำเนินการเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ต่อคนพิการและประชาชนตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานกองทุนในเชิงรุกได้

          ๒.  แนวทางการสนับสนุนการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ

                ๒.๑ คุณสมบัติผู้กู้ยืมเป็นรายบุคคล  ตามระเบียบข้อ ๙ กำหนดคนพิการสามารถขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพเป็นรายบุคคล  โดยวงเงินให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพเป็นรายบุคคล ไม่เกินราละ สี่หมื่นบาท ผ่อนชำระภายใน ๕ ปีโดยไม่มีดอกเบี้ย ผู้กูยืมต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

                 (ก) กรณีเป็นคนพิการ (๑) มีบัตรประจำตัวคนพิการ (๒) มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ยื่นคำขอ (๓) มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน (๔) บรรลุนิติภาวะ เว้นแต่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น (๕) มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยืนคำขอกู้ไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน  (๖) ***ในการกู้เงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็นกรณีคณะอนุกรรมการบริหารกองงทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น (๗) กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้0ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด (๘) มีความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน

                   (ข) กรณีเป็นผู้ดูแลคนพิการ (๑)  มีคุณสมบัติตาม (ก) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) และ (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย  (๓) ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ข้าราชการระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการซึ่งมิได้มีหนี้สินจากกองทุน

                 ๒.๒ คุณสมบัติผู้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม ตามระเบียบข้อ ๑๐ ยังกำหนดให้ผู้ขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพเป็นรายกลุ่มวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผ่อนชำระภายใน ๕ ปีโดยไม่มีดอกเบี้ย ทั้งนี้ วงเงินเฉลี่ยต่อบุคคลไม่เกินวงเงินรายบุคคลโดยคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินนอกจากมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับรายบุคคลยังต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

                 (๑) เป็นกลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่ที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน หรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ ทั้งนี้ ต้องมีสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่าสองคน

                 (๒) มีหลักฐานจากสถาบันการเงินเกี่ยวกับการออมเงินของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน

                 (๓) ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มในท้องที่จังหวัดที่ยื่นคำขอต่อเนื่องจนถึงวันยื่นคำขอแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน

                 (๔) ได้รับการรับรองเป็นหนังสือรับรองจากองค์กรด้านคนพิการที่เป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐว่าเป็นกลุ่มที่มีผลงานน่าเชื่อถือจริง

                 (๕) มีแผนงานหรือโครงการของกลุ่มที่จะดำเนินการต่อไปอย่างชัดเจน

                เกณฑ์การชี้วัด

                ต่อมาคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนได้ออกประกาศคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง เกณฑ์ชี้วัดการพิจารณาให้กู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยของผู้เกี่ยวข้องในการให้กู้ยืมเงินกองทุนทั้งในส่วนความสามารถและความจำเป็นของผู้กู้ยืมทั้งเป็นรายบุคคล รายกลุ่มหรือผู้ดูแลคนพิการ และความน่าเชื่อถือของผู้ค้ำประกันรวมทั้งพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งการให้กู้ยืมในแต่ละรายต้องผ่านเกณฑ์ได้คะแนนรวมมากกว่าร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

                สำหรับผู้ดูแลคนพิการซึ่งเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการรายนั้นตามกฎหมายหรือศีลธรรมจรรยา และคนพิการนั้นไม่สามารถกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพจากกองทุนได้ เนื่องจาก (๑) เป็นผู้เยาว์ (๒) คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือ  (๓) เป็นคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ออทิสติก และสติปัญญา หรือ (๔) มีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำ***้ซึ่งได้รับการรับรองจากแพทย์

(ยังมี......ต่อ)

 

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

2701540834

*********************

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-27 08:34:08 IP : 124.121.141.213


ความคิดเห็นที่ 10 (3295237)

    คนพิการหมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-08-10 09:44:16 IP : 125.25.55.166


ความคิดเห็นที่ 11 (3296280)

   มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

                        คนพิการหมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ

-----------------------------------------------

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-08-21 22:41:48 IP : 125.26.235.34


ความคิดเห็นที่ 12 (3305436)
Fashion is about a global feeling than climatic circumstances. So it truly is hard not to obtain affected by global fashion traits even when Indian winters could nevertheless be for the milder aspect compared to the West Cheap Dr Dre Beats Studio . Next the established guidelines Beats Studio , blacks along with the greys have already been dominating the scene, but since traits journey at the pace of light, the vivid items have caught the consideration of several designers and style watchers. Semi-fitted and knee-length leather-based jackets within the brightest of colours is really a sensible way to beat the nippiness, confirms designer Nachiket Barve.
ผู้แสดงความคิดเห็น AtMEYIDS วันที่ตอบ 2013-01-01 00:45:06 IP : 184.22.223.130


ความคิดเห็นที่ 13 (3305445)
ugg cheap Believed Corrie was simply a cracking solution to invest a Monday evening? Effectively you are not wrong, it seriously is. But like a die hard admirer, I assume it"s significant to take a seat back in the end of such a massive month (Jason produced Uggs attractive! Gail made cushions the minimum sexy issue of all time!) and feel about what we have truly learnt. For many cause this can be mesmerising to me. What exactly is this e-mail address? Or does he possess a exciting one with a few sort of hilarious name? Can i email it? And if they have got e mail addresses, Canada Goose Jackets then WHAT Next cheap ugg boots uk ? Kirky tweeting direct from the packing space at the factory? Rita hitting Facebook for many passive intense "You know who you are" style updates about Dennis"s investing Doudoune Moncler ? It blows my thoughts, it genuinely does.
ผู้แสดงความคิดเห็น nACrxshq วันที่ตอบ 2013-01-01 04:12:08 IP : 184.82.122.81



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.