ReadyPlanet.com


ภัย***....ผู้สูงอายุต้องระวัง


"ตุ๋นผ่านเน็ต" ภัยแฝง*** ที่ผู้สูงวัยต้องรู้เท่าทัน!

 

"อินเทอร์เน็ต" ถือเป็นสื่อ***ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในทุกเพศทุกวัย โดยไม่จำกัดแค่เฉพาะวัยรุ่น หรือวัยทำงานเท่านั้น ในวัยผู้สูงอายุ ก็สามารถเปิดโลกทัศน์ในโลก***ได้เช่นกัน
        
       
ยกตัวอย่างเช่น รับส่งอีเมล์ ค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมค้นหา ติดตามข่าวสาร เช็กสภาพอากาศ ดูข้อมูลการเดินทาง หรือข้อมูลด้านการเมือง รวมทั้งใช้เว็บเครือข่ายสังคม เพื่อปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีเว็บที่จัดทำสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และเน้นการใช้งานที่สะดวก และง่าย เช่น ด้านสุขภาพ การักษาสุขภาพ เป็นต้น
       

       
กับเรื่องนี้ ทีมงาน Life & Family ได้มีโอกาสนั่งคุยเป็นการส่วนตัวกับ "ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน" ประธานกรรมการ และประธานผู้บริหารวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สะท้อนมุมมองว่า ปัจจุบันผู้สูงวัยมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้ทดลองใช้งานคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงวัย

 ที่สำคัญช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศ และความรู้ในกลุ่มผู้สูงวัย ทำให้มีความภาคภูมิใจ และรู้จักคุณค่าของตัวเองในการทำอะไรต่างๆ ได้เอง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายมากขึ้นจากการใช้อินเทอร์เน็ต ในการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกหลาน
       
       
แต่ในทางกลับกัน ถึงแม้ว่า "อินเทอร์เน็ต" จะช่วยให้ผู้สูงวัยมีสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศก็ตาม บางครั้งอาจเกิดการรู้ไม่เท่าทันภัยในโลก***ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้สูงวัยเองก็เป็นได้ กรณีนี้ "ศ.ดร.ศรีศักดิ์" แนะนำว่า ผู้สูงวัยต้องระวังการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกงในเรื่องการประกันสุขภาพ ยาปลอม ผลิตภัณฑ์ชะลอความแก่ การค้า*** หรื่ออื่นๆด้วย เพราะพวกมิจฉาชีพมักคิดว่า ผู้สูงอายุเป็นเหยื่อที่หลอกง่าย เชื่อง่าย
       
       
สอดรับกับการรายงานของสำนักสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ "เอฟบีไอ" ที่ระบุว่า ผู้สูงวัยเป็นกลุ่มเป้าหมายของการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต เพราะผู้สูงวัยส่วนใหญ่มองโลกในแง่ดี ไม่ค่อยกล้าปฎิเสธ รู้ไม่เท่าทันวิธีการฉ้อโกง เวลาถูกฉ้อโกงมักจะไม่กล้าแจ้งให้บุตรหลายทราบ และไม่รู้ข้อมูลมิจฉาชีพ เช่น ไม่รู้ว่ามิจฉาชีพเป็นใคร จำวันติดต่อไม่ได้ หรือจำที่อยู่ไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่เข้าใจสิ่งใด ให้ปรึกษาคนในครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญที่มี่ความรู้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก่อนตัดสินใจ
       
       
อย่างไรก็ตาม "ศ.ดร.ศรีศักดิ์" ได้แบ่งประเภทของการฉ้อโกงที่น่าจะเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยไว้ดังต่อไปนี้ เพื่อรู้เท่าทัน และป้องกันตัวเองจากการฉ้อโกงดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศ และความรู้ในกลุ่มผู้สูงวัย ทำให้มีความภาคภูมิใจ และรู้จักคุณค่าของตัวเองในการทำอะไรต่างๆ ได้เอง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายมากขึ้นจากการใช้อินเทอร์เน็ต ในการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกหลาน
       
       
แต่ในทางกลับกัน ถึงแม้ว่า "อินเทอร์เน็ต" จะช่วยให้ผู้สูงวัยมีสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศก็ตาม บางครั้งอาจเกิดการรู้ไม่เท่าทันภัยในโลก***ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้สูงวัยเองก็เป็นได้ กรณีนี้ "ศ.ดร.ศรีศักดิ์" แนะนำว่า ผู้สูงวัยต้องระวังการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกงในเรื่องการประกันสุขภาพ ยาปลอม ผลิตภัณฑ์ชะลอความแก่ การค้า*** หรื่ออื่นๆด้วย เพราะพวกมิจฉาชีพมักคิดว่า ผู้สูงอายุเป็นเหยื่อที่หลอกง่าย เชื่อง่าย
       
       
สอดรับกับการรายงานของสำนักสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ "เอฟบีไอ" ที่ระบุว่า ผู้สูงวัยเป็นกลุ่มเป้าหมายของการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต เพราะผู้สูงวัยส่วนใหญ่มองโลกในแง่ดี ไม่ค่อยกล้าปฎิเสธ รู้ไม่เท่าทันวิธีการฉ้อโกง เวลาถูกฉ้อโกงมักจะไม่กล้าแจ้งให้บุตรหลายทราบ และไม่รู้ข้อมูลมิจฉาชีพ เช่น ไม่รู้ว่ามิจฉาชีพเป็นใคร จำวันติดต่อไม่ได้ หรือจำที่อยู่ไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่เข้าใจสิ่งใด ให้ปรึกษาคนในครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญที่มี่ความรู้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก่อนตัดสินใจ
       

- - - -- - -  - - - - - - - - - - -            

พันตรีศิริชัย    ทรัพย์ศิริ                             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331                   

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1307520823           

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-13 08:23:18 IP : 124.121.138.147


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3030201)

อย่างไรก็ตาม "ศ.ดร.ศรีศักดิ์" ได้แบ่งประเภทของการฉ้อโกงที่น่าจะเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยไว้ดังต่อไปนี้ เพื่อรู้เท่าทัน และป้องกันตัวเองจากการฉ้อโกงดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

* การฉ้อโกงเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ *
       
       
การโฆษณาเรื่องการประกันสุขภาพ มักแอบแฝงมากับเว็บต่างๆ เช่น เว็บบริษัทประกันชีวิต, เว็บชมรมคนรักสุขภาพ, เว็บบ้านพักผู้สูงวัย เป็นต้น ในส่วนของการฉ้อโกงมีหลายรูปแบบ เช่น ให้กรอกแบบฟอร์มผลสำรวจด้านสุขภาพผู้สูงวัยแลกกับของรางวัล, ให้เซ็นสัญญาเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ โดยอ้างว่าจะได้รับคำปรึกษาสุขภาพฟรีจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และหลังจากนั้นจะมีใบเสร็จเรียกเก็บเงินส่งมาที่บ้าน
       
       
การป้องกัน
       
       -
การเซ็นสัญญาที่ผูกมัดต้องไม่เซ็นธุรกรรมใดๆ ทางอินเทอร์เน็ต
       -
ไม่ตกลงมอบอำนาจให้ผู้อื่นเซ็นแทน
       -
สอบถามให้แน่ใจว่าสิ่งที่ส่งมานั้นต้องชำระเงินหรือไม่
       -
โทรสอบถามรายละเอียดโดยตรงกับบริษัทประกันภัยดีกว่าสอบถามทางอินเทอร์เน็ต
       -
เก็บหลักฐานวันเวลาที่ติดต่อไว้ให้ดี
       
       *
การฉ้อโกงเรื่องการค้ายาปลอม *
       
       
การป้องกัน
       
       -
ผู้สูงวัยต้องระลึกเสมอว่า แพทย์เท่านั้นที่สามารถสั่งยา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยได้
       -
กล้าที่จะถามรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน
       -
การซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ควรค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองให้ได้รายละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ
       -
ตรวจสอบข้อมูลการบรรจุภัณฑ์ วิธีการส่ง และเงื่อนไขการชำระเงินก่อนสั่งซื้อ
       -
ปรึกษาเภสัชกรทันที เมื่อสงสัยว่าได้รับยาปลอม และควรซื้อยาที่มีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ


       *
การฉ้อโกงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชะลอความแก่ *
       
       
การป้องกัน
       
       -
ระวังโฆษณาที่ให้ข้อความ อาทิ "สูตรที่เป็นความลับเฉพาะ" "เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่" "พิเศษเวลานี้เท่านั้น" หรือ"คุณคือผู้โชคดีที่ได้รับผลิตภัณฑ์ไปใช้ฟรี" เป็นต้น
       -
สอบถามวิธีการใช้ และผลที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ชะลอความแก่อย่างละเอียดก่อนซื้อ
       -
ตรวจสอบให้แน่ชัดจากผู้ขาย ว่าผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อ ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย
       -
ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อต้องซื้อผลิตภัณฑ์ชะลอความแก่
       
       *
การฉ้อโกงเกี่ยวกับการค้าทางอินเทอร์เน็ต *
       
       -
ผู้สูงวัยที่ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงเกี่ยวกับการค้าทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ กลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป
       -
มีสินค้าและบริการจำนวนมากที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้ฉ้อโกงผู้สูงอายุ เช่น ของรางวัล สินค้าราคาถูก ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ โปรแกรมท่องเที่ยว เป็นต้น
       -
ข้อความโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตที่ควรระวัง เช่น สินค้าให้ทดลองใช้ฟรี, สินค้าราคาถูก เป็นต้น
       -
ข้อความที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้ในการฉ้อโกง เช่น เป็นผู้โชคดีที่ได้รับของขวัญฟรี หรือได้ตั๋วท่องเที่ยวฟรี เป็นต้น
       -
มีเงื่อนไขทางการค้าที่ควรระวัง เช่น ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม หรือต้องบอกข้อมูลบัตรเครดิต และเลขบัญชีธนาคาร หรือให้ตัดสินใจซื้อทันทีหลังอ่านเงื่อนไขแล้ว เป็นต้น
       
       
การป้องกัน
       
       -
ไม่ซื้อสินค้า และบริการจากหน่วยงานที่ไม่น่าเชื่อถือ
       -
ตรวจสอบประวัติของผู้ขาย และบริการก่อนตัดสินใจซื้อจากหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค
       -
ในกรณีที่ได้รับเอกสาร หรือบัตรสมนาคุณด้านการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง ผู้สูงวัยควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ด้านการเงินก่อน
       -
ไม่ควรเชื่อข้อความ หรือเอกสารต่างๆ ที่ไม่บอกแหล่งที่มา เพราะอาจเป็นเอกสารปลอมก็เป็นได้
       -
ต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือผู้ขาย เช่น ชื่อบริษัท หมายเลขโทรศัพท์-ที่อยู่ อีเมล์ เลขที่ใบอนุญาต เป็นต้น
       -
ไม่ให้ข้อมูลด้านการเงินทางโทรศัพท์หรือทางอินเทอร์เน็ต
       -
ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตกลงรับข้อเสนอ หากไม่แน่ใจยังไม่ควรตอบตกลง

นอกจากนี้ "ศ.ดร.ศรีศักดิ์" ยังบอกถึงการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ด้วยว่า ยังมีในเรื่องของการทำธุรกรรมธนาคารทางอินเทอร์เน็ต การซื้อตั๋วทางอินเทอร์เน็ต การล่อลวงทางเว็บเครือข่ายสังคมเพื่อรู้ข้อมูลบัตรเคดิต การกู้ยืมเงินทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งผู้สูงวัยต้องรู้เท่าทันด้วย
       
       0
อย่างไรก็ดี การใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้สูงวัย เสมือนเป็นดาบสองคม แง่หนึ่งก็มีประโยชน์ แต่อีกแง่ ก็มีโทษเช่นกัน ดังนั้นควรเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่หลงไหลกับโฆษณาชวนเชื่อตามเว็บต่างๆ ซึ่งไม่เฉพาะแต่เพียงผู้สูงวัยเท่านั้น คนหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่บางคน อาจตกหลุมพรางของกลลวงจากผู้ไม่หวังดีที่แฝงตัวอยู่ในโลก***ก็เป็นได้

- - - -- - -  - - - - - - - - - - -            

พันตรีศิริชัย    ทรัพย์ศิริ                             

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331                   

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

1407520904      

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-07-14 09:04:02 IP : 124.121.140.70


ความคิดเห็นที่ 2 (3133552)

ผู้สูงอายุอ่านได้อีกครั้ง....

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-30 16:29:41 IP : 124.121.136.161


ความคิดเห็นที่ 3 (3136596)

subject: : อ้างว่าลูกค้าโอนเงินผิดมาที่บัญชีเรา

ศุกร์ที่ 28 มี นา มีคนโทรเข้ามาบอกว่าเป็นพนักงานแบงค์กรุงเทพฯ บอกว่ามีลูกค้าโอนเงิน เข้ามาที่บัญชีเราผิด บอกเลขบัญชีทุกอย่างถูกหมด แล้วก็บอกให้โอนเงินกลับด้วย เพราะว่าลูกค้าคนนั้น เดือดร้อนมาก เราก็บอกว่าขอไปเช็คก่อน

พอวันเสาร์เราไปกดตังค์ก็พบว่ามีเงินเข้ามาบัญชีเราผิดตามจำนวนที่เค้าบอกจริงๆ ก็เลยโอนคืนไปให้... ก็ไม่คิดว่ามีอะไร เพราะมันก็ไม่ใช่เงินเราจริง....
จนมาวันนี้ได้รับใบ แจ้งหนี้ CITIBANK มี ยอด Call for cash ให้ผ่อนจ่ายรายเดือน ก็เลยโทรไปเช็คที่ call center เค้าบอกว่าเราโทรไปขอเบิกเงินสดเข้าบัญชีเราเอง เมื่อวันที่ 25 มีนา เราก็บอกว่าไม่ได้ทำ.. .อย่างนี้ก็โดนหลอกแล้วซิ พนักงาน call center ก็ได้แต่บอกให้ไปแจ้งความ ซึ่งก็ยังดีที่เราเก็บ slip ที่เราโอน เงินไว้นะ......

จะรบกวนผู้รู้ค่ะ ว่าจะทำอย่างไรต่อดี จะไปแจ้งความที่ไหน แล้วตำรวจจะช่วยเราได้ไหม เพราะจำนวนเงินนั้นก็หลายหมื่นเลยค่ะ
จากคุณ : jupjib - [ 19 เม .ย. 51 14:36:15 ]

วิธีแก้ไข
หากเจอแบบนี้ ไม่ต้องทำรายการโอนครับ ถึงจะมีการโอนเข้ามาผิดจริง
ทางธนาคารสามารถทำรายการแก้ไขได้เองอยู่แล้ว การทำรายการโอนเงิน
เท่ากับเราเป็นผู้สั่งโอน การแก้ไขจะทำได้ลำบากขึ้น

หรือหากเป็นการโอนจาก ATM หรือ CDM ให้ขอหลักฐานเป็นหนังสือออก โดยธนาคารมาให้เราก่อน (ตัวจริงนะครับ)
แล้ว เช็คข้อมูลกับธนาคารต้นทางก่อนจนแน่ใจ
อีก 4-5 วันค่อยโอนก้อไม่เสียหาย เพราะไม่ได้มีเจตนาโกง ฟ้องมาก้อชนะแน่นอน

ถ้าเป็นการทำรายการโอนผิด ธนาคารแค่แจ้งลูกค้าปลายทาง แล้วจัดการเองได้เลยแน่นอน

นี่เป็นวิธีหลอกลวงแบบใหม่ เพื่อนๆ โปรดระวัง แจ้งเตือนกันให้ทั่ว
คนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นคนดี...อยากคืนเงินคนที่เดือดร้อนแน่อยู่แล้ว ดังนั้นมีโอกาสตกหลุมนี้ได้ไม่ยากเลย
เจ้าของบัญชีที่รับโอนกลับคงเป็นคนบ้านนอก ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรนัก
ถูกจ้างให้เปิดบัญชีี พร้อมบัตร ATM ได้ เงิน 200-300 บาทก็เอาแล้ว
คนโกงก็กด ATM เชิดไปแล้วหลายหมื่น

ข้อควรระวังเรื่องนี้
1.
ถ้าโอนผิดจริง แบงก์สาขาจะสามารถจัดการได้เองเลย เราไม่ต้องทำอะไรครับ
2.
เบอร์โทรเข้ามา ถ้าแปลกๆ แบบไม่แสดงเบอร์ หรือ เป็นแบบโทรจาก internet ให้ระวังไว้ก่อนเลยครับ
3.
ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต ควรทำลายอย่าให้เหลือเห็นข้อมูลต่างๆ เช่น วงเงินสินเชื่อ หรือ
เลขบัญชีธนาคารที่ตัดอัตโนมัติ

โปรดกระจาย! ข่าวเรื่ องนี้ไปยังเพื่อนและญาติๆ โดยด่วน เพื่อป้องกันการหลอกลวงเช่นนี้

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)                   

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

1012521934

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-10 19:33:55 IP : 124.121.143.146


ความคิดเห็นที่ 4 (4169414)

 ขออนุญาตแนะนำบทความของเอินเวย์ค่ะ

 

ปวดต้นคอ ปวดไหล่ แขนชามือชา สัญญาณเตือนโรคกระดูกคอ

 

โรคกระดูกคอเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตในปัจจุบัน เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้สูงอายุและในวัยหนุ่มสาว

 

อาการของโรคกระดูกคอ

ปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก

ปวดหรือเวียนศีรษะ

ปวดหนักท้ายทอย

ตาพร่ามัว

แขนชา มือชา

 

สาเหตุโรคกระดูกคอที่พบบ่อย

ภาวะกระดูกคอเสื่อม

อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ

คอเคล็ดหรือยอก

บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา

 

ปวดต้นคอ ไม่ต้องผ่าตัด การแพทย์จีนมีทางออก

สายด่วนสุขภาพเอินเวย์ 02 751 4399

 

Line : @enwei (https://line.me/R/ti/p/%40ead8762s)

📩 M.Me/enweigroup

http://www.enwei.co.th

https://www.youtube.com/watch?v=Vjb7hF3mPHc



ผู้แสดงความคิดเห็น บริษัท เอินเวย์ กรุ๊ป จำกัด (ad-at-enwei-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2020-09-24 15:40:32 IP : 118.175.176.250



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.