ReadyPlanet.com


เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม(Down syndrome)... พ่อ - แม่ อ่านได้นะครับ.


เมื่อลูกเป็นดาว...(น์)

                                                                                                      

ช่วงเวลาที่แม่ตั้งครรภ์ นับเป็นช่วงเวลาที่ต้องระวังในทุก ๆ เรื่องเพื่อให้ลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่มักจะภาวนาอยู่เสมอว่าขอให้ลูกเกิดมามีอวัยวะครบ 32 ประการ แต่ทว่าหากสิ่งที่ภาวนาไว้ตั้งแต่ตั้งครรภ์กลับไม่สามารถเป็นจริงได้ เมื่อลูกมีลักษณะบางอย่างที่บ่งบอกถึงความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด
       
       เด็กพิเศษ หรือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือกลุ่มเด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการซึ่งไม่สามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้ด้วยวิธีการปกติตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดู หรือการเรียนการสอนตามปกติทั่วไป เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่มีอยู่ในตัวเด็ก ทางด้านร่างกาย สติปัญญา พฤติกรรม อารมณ์ หรือสัมพันธภาพทางสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการพิเศษ เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กมีศักยภาพเต็มตามที่มีอยู่ได้ ซึ่งความบกพร่องของเด็กพิเศษในที่นี้สามารถแบ่งออกเป็น 9 ประเภทโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้
       
       
1.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น หมายถึงบุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ คนตาบอดและคนเห็นเลือนราง
       
       
2.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึงบุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงรุนแรง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มคนหูหนวกและกลุ่มคนหูตึง
       
       
3.บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Deficiency) หมายถึงบุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าคนทั่วไปเมื่อวัดระดับเชาวน์ปัญญา โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้ว มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไปและความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไปอย่างน้อย 2 ทักษะหรือมากกว่า ซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญานี้จะพบตั้งแต่แรกเกิดจนอายุก่อน 18 ปี
       
       
4.บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ หมายถึงบุคคลที่มีอวัยวะไม่ครบส่วน ไม่ว่าจะเป็นกระดูกและกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง มีความพิการของระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว จึงเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ ทั้งนี้ไม่รวมคนที่มีความบกพร่องทางประสาทได้แก่ ตาบอดและหูหนวก
       
       
5.บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษาซึ่งจะมีผลทำให้มีปัญหาในการฟัง พูด คิด อ่านและเขียน

       6.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องในเรื่องของการเปล่งเสียงพูด หรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องของความเข้าใจ รวมไปถึงการใช้ภาษาพูด การเขียน ระบบสัญลักษณ์อื่นๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร บกพร่องในเรื่องของการเปล่งเสียงพูด

ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

 

       7.บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หมายถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมากและปัญหาพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมและวัฒนธรรม
       
       
8.บุคคลออทิสติก หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรม อารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองที่ผิดปกติไป และความผิดปกตินั้นพบได้ก่อนวัย 30 เดือน
       
       
9.บุคคลพิการซ้อน หมายถึงบุคคลที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกันเช่น คนบกพร่องทางสติปัญญาสูญเสียการได้ยิน
       
       ซึ่งทั้ง 9 ประเภทที่กล่าวมานี้จะมีปัญหาในเรื่องของพัฒนาการที่ต่างกันออกไป

 

สำหรับเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม(Down syndrome) นั้นเป็นกลุ่มที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาอันเกิดจากความผิดปกติในจำนวนโครโมโซมในเซลล์ โดยโครโมโซมนี้คือเป็นแท่งนำสารพันธุกรรมในคนเราจะมีจำนวน 46 แท่งด้วยกัน และในหนึ่งเซลล์เพศหญิงจะเป็น 46, xx และเพศชายจะเป็น 46, xy หากจำนวนโครโมโซมน้อยไปหรือมากเกินไปก็มักก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา หรือแท้งบ่อย ๆ หรือความพิการแต่กำเนิด ซึ่งเซลล์ของเด็กดาวน์จะมีโครโมโซม 47 ตัวมากกว่าเซลล์คนปกติ
       
       
ส่วนสำหรับเด็กที่อยู่ในกลุ่มอาการดาวน์นี้จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น และเด็กกลุ่มนี้จะมีใบหน้าคล้ายคลึงกันมากกว่าพี่น้องท้องเดียวกัน ส่วนนิสัยของเด็กกลุ่มนี้มักจะเป็นคนที่อารมณ์ดี ยิ้มเก่ง มีสังคม แต่พัฒนาการจะล่าช้า
       
       รักลูก ต้องช่วยลูก
       
       
คุณประภาศรี นันท์นฤมิต นักจิตวิทยา หน่วยพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พ่อแม่ท่านไหนที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็ตาม แน่นอนว่าต้องเสียใจอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของทุกคน แต่ทว่าหากลูกเกิดมาเป็นแบบนี้แล้ว พ่อแม่ต้องยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่ามัวแต่โทษตัวเองเพราะความผิดพลาดในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพ่อและแม่ โอกาสที่จะผิดพลาดมันมีอยู่แล้ว แม้ว่าจะร้องไห้เสียใจที่ลูกเป็นแบบนี้แต่พ่อแม่ต้องช่วยลูกด้วย ซึ่งการช่วยเหลือลูกในที่นี้ไม่ใช่การให้สิ่งของเพื่อทดแทนสิ่งที่ลูกขาด แต่เป็นการให้โอกาสลูกได้พัฒนาศักยภาพที่เขามีอยู่ และในบางครั้งแม้ครอบครัวจะมีความรักเป็นพื้นฐาน แต่อย่าลืมว่าความรักอย่างเดียวนั้นไม่พอ เราต้องมีใจด้วย ทั้งนี้ การสะท้อนถึงความรู้สึกซึ่งกันและกันนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในครอบครัว

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -              

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

2211532128

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-22 21:27:53 IP : 124.121.140.190


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3308501)

ดิฉันมีลูกเป็นดาวน์ฯ ค่ะปัจจุบันลูกอายุ 10 ขวบนะ อยากให้กกำลังใจกับพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ

ตั้งใจเล้ยงดูเขาแล้วเราก็มีความสุขค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิต ขันแก้ว (dreamcaught-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2013-03-16 13:21:52 IP : 110.49.241.183



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.