ReadyPlanet.com


กระทรวงคมนาคม - คนพิการไทย.


 คมนาคมนำร่องเพื่อคนพิการเห็นรูปธรรมภายใน ๓ เดือน

********* *** *********

การจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ในวันจันทร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ กระทรวงคมนาคม

โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการแถลงข่าว(ตามเอกสารแนบ)

๑.       การตรวจประเมินการจัดสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการสำหรับคนพิการ เพื่อพิจารณาสภาพปัจจุบันและสิ่งที่ควรดำเนินการใน ๖ หน่วยงานนำร่องตามลำดับดังนี้

                                วันที่ ๘ ม.ค. เวลา ๑๐.๓๐ น. ท่าเรือสาทร กรุงเทพฯ

                                วันที่ ๙ ม.ค. เวลา ๑๐.๐๐ น. สนามบินดอนเมือง

                                วันที่ ๙ ม.ค. เวลา ๑๔.๐๐ น. สถานีรถไฟหัวลำโพงและบริการรถไฟระหว่างเมือง

                                วันที่ ๑๐ ม.ค. เวลา ๑๐.๓๐ น. สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

                                วันที่ ๑๑ ม.ค. เวลา ๑๐.๐๐ น. สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (สถานีลาดพร้าว)

                                วันที่ ๑๑ ม.ค. เวลา ๑๔.๐๐ น. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.)

                                ในการออกตรวจสภาพแวดล้อมครั้งนี้จะมีทีมคนพิการจากสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ พร้อมด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และสื่อมวลชนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมด้วย

๒.     จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การพัฒนาคุณภาพการให้บริการและการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ" เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือคนพิการในบริการด้านการเดินทางและระบบขนส่งสาธารณะ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖ ระหว่างเวลา ๘.๓๐ ๑๖.๐๐ น. ณ อาคารสโมสรและหอประชุม กระทรวงคมนาคม

                                การจัดสัมมนาดังกล่าวจะมีหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมจำนวน ๑๙ หน่วยงาน ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างจำนวนรวม ๒๒๐ คน เข้าร่วม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการไทย วิทยาลัยราชสุดามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น

๓.      การปรับปรุงสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการ ให้เห็นเป็นรูปธรรมภายใน ๓ เดือน ภายหลังการตรวจประเมินแล้วแต่ละหน่วยงานจะดำเนินการปรับปรุงหรือดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องทันที บางหน่วยงานจะจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน และอย่างช้าที่สุดคือปลายเดือนมีนาคมศกนี้ ทั้งนี้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม จะมีการเปิดตัวผลงานให้สาธารณะชนได้รับทราบ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการที่ได้รับมอบหมายกำกับดูแลหน่วยงานนั้นๆ จะเป็นผู้ไปเปิดตัวโครงการดังกล่าวด้วยตนเอง เพื่อมอบเป็นของขวัญแห่งความรักให้กับพี่น้องคนพิการ ครอบครัว และประชาชนทั่วไป

 

                นางฐิติมา ฉายแสง ในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ดูแลการดำเนินตามนโยบาย "คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ" เน้นย้ำว่าสิ่งสำคัญคือกระทรวงคมนาคม
จะทำงานร่วมกับคนพิการ องค์กรคนพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ สามารถตอบสนองผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริง นโยบายนี้จะไม่เป็นการทำงานแบบไฟไหม้ฟางแต่ปัจจัยของความสำเร็จที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดไว้ก็คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของคนพิการและการให้บริการที่ถูกต้องเหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ การสร้างรูปธรรมให้เห็นเป็นโครงการนำร่อง และสุดท้ายคือการปลูกฝังให้การบริการแก่คนพิการและประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมนี้จะต้องทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรต่อไป



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริขัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2013-01-08 19:09:54 IP : 125.26.237.40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3305900)

 เครือข่ายคนพิการ ยื่นข้อเสนอของคนพิการและองค์กรด้านคนพิการ ต่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอแนะแนวทางดำเนินงานด้านคนพิการสนับสนุนนโยบาย คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการรวม ๑๑ ประเด็นสำคัญ ดังนี้

๑.จัดซื้อจัดหารถโดยสารประจำทางใหม่ (รถเมล์) ทั้งโครงการรถเมล์ ๓,๑๘๓ คันและโครงการอื่นๆ รวมถึงการเพิ่มรถใหม่ของภาคเอกชน จะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการทุกประเภทเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ อย่างครบถ้วนทุกคัน

๒.ดำเนินการปรับสภาพแวดล้อม พัฒนาบริการ และให้ความช่วยเหลือคนพิการด้านการเดินทาง โดยยึดหลักการสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่ ๑)ใช้การออกแบบที่เป็นธรรมเพื่อคนทั้งมวล ๒) ใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็น ของคนพิการแต่ละประเภท และ ๓) ให้บริการช่วยเหลือคนพิการอย่างสมเหตุสมผล ๓.ปรับปรุงสำนักงาน สถานี สนามบิน อาคาร ถนน ทางเดินเท้า สัญญาณข้ามถนน ทางข้ามถนน สถานที่จอดรถ ยานพาหนะ ส่วนควบของยานพาหนะ และอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนจัดบริการให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการทุกประเภทเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน

๔. กำหนดให้ทุกหน่วยงานใช้การออกแบบที่เป็นธรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือคนพิการอย่างสมเหตุ สมผลในการดำเนินงานโครงการใหม่ทุกโครงการ เช่น การก่อสร้างอาคาร สำนักงาน สถานีขนส่ง ฯลฯ การจัด / ปรับสภาพแวดล้อม การจัดซื้อ / เช่ายานพาหนะทุกประเภท และการเริ่มจัดบริการรูปแบบใหม่ๆ เป็นต้น

๕. พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยอยู่เสมอ

๖. กำหนดให้คนพิการมีส่วนร่วมคิด ให้ข้อเสนอแนะ วางแผนงาน กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ ร่างขอบเขตของงาน ตัดสินใจ ดำเนินการ กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงาน ตรวจรับงาน หรือพิจารณารายงานเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการสาธารณะ โดยตั้งผู้แทนคนพิการเป็นคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ หรือคณะกรรมการดำเนินงาน

๗. กำหนดมาตรการจัดระบบบริการขนส่งสาธารณะในระดับท้องถิ่น เช่น รถสองแถว รถสามล้อ และสกายแล็ป เป็นต้น ให้ทุกคน รวมทั้ง คนพิการเข้าถึงและประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย

๘. กำหนดให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนงบประมาณประจำปี เป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ ๑) งบประมาณเพื่อการดำเนินงานทั่วไปโดยรวมคนพิการอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย และ ๒) งบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม บริการ และความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป พร้อมทั้ง กำหนดเวลาดำเนินงานให้สำเร็จ

๙.แต่งตั้ง คณะกรรมการ โครงการพัฒนา บริการขนส่งสาธารณะ เพื่อคนทั้งมวล(Transportation for All ) โดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านบริการขนส่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกนักวิชาการด้านต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และคนพิการ เป็นต้น เพื่อจัดทำแผนดำเนินงานระยะสั้นและระยะยาวด้านคนพิการ รวมทั้ง จัดทำโครงการ หรือปฏิบัติกิจกรรมตามแผนฯ เช่น จัดศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้ทันสมัย จัดฝึกอบรมบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น ๑๐. กำหนดให้ทุกหน่วยงานดำเนินการด้านคนพิการ โดยประสานงานในรูปแบบบูรณาการทั้งแผนงาน และการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สังกัดกระทรวงคมนาคม และสังกัดกระทรวงอื่น รวมถึง หน่วยงานในระดับท้องถิ่น และองค์กรด้านคนพิการ เช่น กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเครือข่ายคนพิการระดับท้องถิ่น เป็นต้น และ ๑๑. กำหนดมาตรการจัด ระบบบริการขนส่งสาธารณะในระดับท้องถิ่น เช่น รถสองแถว รถสามล้อ และสกายแล็ป เป็นต้น ให้ทุกคน รวมทั้ง คนพิการเข้าถึงและประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง และปลอดภัย

ขอขอบคุณ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๗ ม.ค.๕๖

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2013-01-08 19:16:54 IP : 125.26.237.40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.