ReadyPlanet.com


ขาเทียม....สมเด็จย่า


ต้นกำเนิดขาเทียม.....สมเด็จย่า

 

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ กับมูลนิธิขาเทียมใน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
โดย  "อาริยา สินธุ"

      

ฉบับที่ 2534 ปีที่  49 ประจำวัน  อังคาร ที่  13 พฤษภาคม  2546

      มงคลสมัย ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ เวียนมาครบรอบปี เป็นโอกาสพิเศษที่ปวงชนชาวไทยจักน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง และเป็นฉัตรร่มเกล้าแก่วงการศึกษาและการแพทย์สืบไปด้วยความสำนึก และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจนานัปการเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษา และความผาสุกในชีวิตของปวงชน นับตั้งแต่กลุ่มเด็กอ่อนในสลัม จนถึงคนเจ็บป่วยโรคหัวใจ โรคไต แม้แต่ผู้เคราะห์ร้ายต้องประสบภัยถึงพิการขาขาด เป็นต้น

             “สกุลไทยขอร่วมน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรด้วยบทความเทิดพระเกียรติคุณเรื่องมูลนิธิขาเทียมใน พระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นครบ ๑๐ ปี และเป็นองค์กรการกุศลแห่งหนึ่งที่สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงเป็นประธาน ทรงลงพระนามก่อตั้งเป็นมูลนิธิด้วยพระองค์เอง จดทะเบียนที่ตั้งของมูลนิธิอยู่ ณ วังสระปทุม กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ ทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ประเดิมในการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ รวม ๑.๒๕ ล้านบาท ชาวญี่ปุ่นที่ได้พบเรื่องการช่วยเหลือคนพิการขาขาด ถ่ายทำเป็นสารคดีไปออกอากาศในญี่ปุ่น มีผู้ศรัทธาบริจาคสมทบให้มา ๗ แสนกว่า รวมเป็น ๒ ล้านบาท ต่อมา เมื่อสมเด็จฯ องค์ประธานทรงเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินก้อนใหญ่สมทบไว้เป็นกองทุนโดยให้เอาเฉพาะดอกผลออกมาใช้ ทำให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการขาขาดเป็นไปอย่างทั่วถึง ไม่เฉพาะในเมืองไทย แต่ได้ขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และไกลโพ้นออกไปถึงประเทศอัฟกานิสถานและศรีลังกา ด้วยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และในประเทศเหล่านั้นประชาชนได้ประสบภาวะสงครามและมีกับระเบิดที่ทำอันตรายไม่เฉพาะแต่ฝ่ายตรงข้ามที่คาดว่าจะบุกรุกเข้ามา แต่กับระเบิดนั้นได้เป็นภัยต่อชาวบ้านที่ออกไปทำการเกษตรในบางพื้นที่ที่มีกับระเบิดฝังอยู่

            ในวโรกาสพิเศษครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จย่าอดีตประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิฯ ในปี ๒๕๔๓ มูลนิธิขาเทียมฯ ได้มาตั้งเต็นท์ที่ท้องสนามหลวง ให้บริการจัดทำขาเทียมให้แก่คนพิการในปริมณฑลส่วนกลางเป็นครั้งแรก ให้บริการได้ถึง ๔๐๐ คน และปลายเดือนมีนาคม ๒๕๔๖ นับเป็นครั้งที่ ๒ ที่มูลนิธิฯเข้ามา เปิดบริการที่ท้องสนามหลวง ในโอกาสที่ประธานมูลนิธิฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

            นายแพทย์เทิดชัย ชีวะเกตุ เลขาธิการมูลนิธิฯ ผู้เป็นกำลังสำคัญของมูลนิธิฯ เล่าถึงตัวเลขคนไข้ที่มารับบริการครั้งที่ ๒ นี้ว่า

             “ในชั้นต้น เรากะประมาณว่า น่าจะมีคนไข้ที่พิการมาขอรับบริการไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คน โดยเรากำหนดเปิดรับอยู่ ๖ วัน แต่บังเอิญมีอุปสรรค เช่น ฝนตก และการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง มีคนมาน้อยเพียง ๙๐ คนเท่านั้น ก่อนวันที่สมเด็จฯ องค์ประธานจะเสด็จมาประทานขาเทียมแก่คนไข้เด็ก ในบ่ายวันศุกร์ที่ ๒๘ มีนาคม เราประชุมรวบรวมตัวเลขเพื่อถวายรายงาน ปรากฏว่ามีคนไข้มาขอรับขาเทียมใหม่ ๘๑ คน เป็นตัวเลขมงคลอย่างไม่น่าเชื่อ และเป็นการเสริมพระบารมีโดยแท้ที่เหลือ ๙ คน เป็นคนนำขาเทียมเดินมาซ่อมแซมปรับแก้

            ในการเดินชมกิจกรรมที่เต็นท์สนามหลวง ท่ามกลางอากาศค่อนข้างเย็นสบาย เพราะมีเมฆหมอกครึ้ม แต่โชคดีที่วันนั้น ฝนไม่ตก มีคนไข้จำนวนหลายสิบคนมารอรับใส่ขาเทียม หลังจากที่มาแจ้งความจำนงและให้ช่างวัดเท้า เพื่อสร้างแบบขาเทียมขึ้นให้เหมาะสมกับแต่ละกรณี ได้พบคนไข้ที่มารอและสอบถามถึงสาเหตุของความพิการ พบว่าส่วนใหญ่เนื่องจากอุบัติเหตุรถชน บางกลุ่มเป็นสุภาพสตรีมีอายุ ถูกตัดขาเพราะเป็นแผลไม่หาย เนื่องจากเป็นโรคเบาหวาน บางคนเป็นแผลเพราะโรคติดเชื้อ หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ก็ถูกตัดขา บ้างก็ตัดใต้หัวเข่า บ้างก็ตัดสูงเกือบถึงสะโพก มี ๒-๓ รายเป็นเด็กที่พ่อแม่พามาจากต่างจังหวัด เช่น เด็กหญิงณัฐกานต์ เป็นมะเร็งที่ขา จำเป็นต้องตัดขาเพื่อไม่ให้มะเร็งลามขึ้นตัว ได้มาทำขาทีม เพื่อให้เดินได้ เพราะเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ แล้ว และอยากไปโรงเรียนต่อ หนูน้อยมีท่าทางร่าเริงมากเมื่อได้ทดลองเดินด้วยขาเทียม ส่วนเด็กชายวุฒิเดช อายุ ๘ ขวบ มาจากพัทลุง เพิ่งเรียนหนังสืออยู่ประถม ๒ มีปัญหาสุขภาพมานานถึง ๕ ปี เพราะถูกงูกัดตั้งแต่ ๓ ขวบ เป็นแผลเน่าที่เท้า จนเดินไม่ได้ ทำให้ขาข้างขวาลีบ พิกลพิการ เดินไม่ได้ แพทย์อยากตัดขาเพื่อให้ใส่ขาเทียม แต่ครอบครัวไม่ยอม เมื่อสมเด็จฯ กรมหลวงฯ เสด็จไปพัทลุง แม่ซึ่งรับจ้างกรีดยาง ได้พาวุฒิเดชมาเฝ้าขอพระราชทานความช่วยเหลือ จึงทรงส่งมาให้มูลนิธิขาเทียมฯ ช่วยด้วยการจัดทำรูปแบบเท้าใหม่ แม้ความพิการในรูปทรงของขายังมีอยู่ นายแพทย์เทิดชัยกล่าวว่า หากโตขึ้นและประสงค์จะมีขาเทียมอย่างตรงที่สวยกว่าเดิม ก็อาจตัดสินใจให้ผ่าตัดใหม่ได้ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของความพิการที่ผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นได้ประสบ และเขาเหล่านั้นได้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้วยการมีขาเทียมเดินเหมือนคนปกติ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พวกเขาต่างสำนึกถึงด้วยการยกมือไหว้ท่วมหัว

             “มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีฯ เราผลัดเปลี่ยนกันออกหน่วยเคลื่อนที่ไปบริการคนพิการตามต่างจังหวัดที่ห่างไกลทั่วประเทศ ตั้งแต่ชายแดนเหนือที่น่าน เชียงรายจรดสตูล นราธิวาสทางใต้ หรือค่ายผู้อพยพชาวเขมรที่ตราดทางตะวันออก เพราะ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรเป็นเกษตรกรที่ขัดสนและต้องการความช่วยเหลือ พบว่าขาขาด ด้วยเหตุต่างๆ และเราทำขาเทียมให้โดยไม่คิดมูลค่า ตามที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยรับสั่งว่า ให้ทำฟรี ถ้าเงินไม่พอให้มาบอก จะพระราชทานเพิ่มเติมให้ เราจึงไม่เคยเก็บเงินจากคนไข้ เพื่อสนองตามพระราชประสงค์ โดยไม่เลือกเชื้อชาติหรือศาสนาใดๆ อันเป็นวัตถุประสงค์ข้อแรกของมูลนิธินายแพทย์เทิดชัย กล่าว

            ต้นกำเนิดมูลนิธิขาเทียมฯ
            ก่อนจะได้รับพระราชทานพระกรุณาธิคุณก่อตั้งเป็นมูลนิธิขาเทียมฯ ขอเล่าย้อนหลังไปถึงเมื่อ นายแพทย์เทิดชัย ชีวะเกตุ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นรุ่นที่ ๑๕ มีความตั้งใจจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูก ได้กลับไปเป็นแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นบ้านเกิด นายแพทย์เทิดชัยได้ผ่าตัดขาคนไข้ในปี ๒๕๐๙ เพื่อรักษาชีวิตไว้ แต่เก็บความรู้สึกสงสารและเศร้าใจที่คนป่วยนั้นต้องขาขาด และไปเอาไม้ไผ่มาต่อเป็นขาพอที่จะพยุงให้เดินได้ชั่วคราว ความคิดคำนึงเรื่องอยากช่วยให้คนพิการมีขาเทียมนั้นผลักดันให้สนใจไปศึกษาเพิ่มเติมด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ต่อมาในปี ๒๕๓๔ มีข่าวน่าตื่นเต้นในวงการแพทย์ว่า

นายแพทย์เทิดชัยและกลุ่มแพทย์โรคกระดูกสามารถคิดประดิษฐ์ขาเทียมให้คนไข้ได้โดยเก็บเอาขวดยาคูลท์และขยะพสาสติกมาเป็นวัสดุ คิดเป็นค่าลงทุนเพียง ๗๐๐ บาท ขณะที่ขาเทียมจากต่างประเทศมีราคาสูงถึง ๕-๖ พันบาท ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงเป็นองค์อุปถัมภ์มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ที่มีเด็กจำนวนหนึ่งพิการ เพราะการเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออุบัติเหตุ พระองค์จึงโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าและทรงสนับสนุนการจัดทำขาเทียมพระราชทาน โดย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานจดทะเบียนมูลนิธิขาเทียมขึ้นในวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ พระกรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้เป็นพลังสำคัญที่ทำให้เกิดอาคารหน่วยช่วยคนพิการขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนายแพทย์เทิดชัยได้รับราชการอยู่และเพิ่งเกษียณอายุเมื่อ ๓ ปีที่ผ่านมา หน่วยงานนี้เป็นศูนย์กลางบริหารงานของมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีฯ รวมเวลาได้ ๑๐ ปีแล้ว เพื่อความคล่องตัวในการให้บริการ จึงสร้างอาคารสำนึกงานกลางขึ้นใหม่ ไม่ไกลจากสนามกีฬา ๗๐๐ ปี นครเชียงใหม่ กำหนดจะมีพิธีเปิดในเดือนตุลาคม ศกนี้ เพราะกิจกรรมของมูลนิธิขาเทียมฯ ได้ขยายเป็นศูนย์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ช่างขาเทียมที่จะออกไปปฏิบัติงานตามโรงพยาบาลต่างๆ หรือศูนย์การแพทย์ ให้สามารถทำขาเทียมตามแบบของมูลนิธิฯ และมีความรู้ ความชำนาญมากขึ้น นอกจากนี้ มูลนิธิได้ผลิตชิ้นส่วนขาเทียมให้แก่หน่วยงานที่สามารถทำขาเทียมตามแบบของมูลนิธิ เพื่อหน่วยงานนั้นจะทำขาเทียมให้แก่ผู้พิการขาขาดหรือซ่อมแซมขาเทียมที่ชำรุดโดยไม่คิดมูลค่า พร้อมทั้งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาคุณภาพของขาเทียมให้ดีขึ้น

            นายแพทย์เทิดชัยกล่าวว่า ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านไป มูลนิธิขาเทียมฯ ได้ช่วยเหลือคนไข้ที่พิการไปแล้ว ๑๐,๙๐๐ คน ประหยัดเงินค่าใช้จ่ายที่หากพวกเขาจะต้องจ่าย เป็นเงิน ๕๕ ล้านบาท และยังประหยัดเงินที่ไม่ต้องซื้อหาวัสดุราคาแพงจากต่างประเทศ เพราะองค์ประธานทรงมีพระประสงค์ให้ใช้วัสดุในประเทศ ซึ่งขณะนี้ เปิดรับบริจาคของเหลือใช้ประเภทฝาจุกน้ำขวด หรือฝาเครื่องดื่มที่เป็นโลหะบาง หรือแม้แต่ถุงเท้าใยบัวของสุภาพสตรีก็รับไว้มาเป็นอุปกรณ์ในการจัดแต่ง เมื่อจะต้องทดลองใส่ขาเทียมให้คนไข้ ซึ่งแต่ก่อนต้องซื้อเชือกไนล่อน แต่เมื่อหันมาใช้ถุงเท้าที่ขาดเสีย ก็ใช้ได้กว่าเชือก เพราะมีความนุ่มและเหนียวในการดึงปรับความคับหรือหลวมของขา ซึ่งคณะแพทย์และช่างที่จัดทำให้ความสำคัญ

             “ขั้นตอนการใส่ขาเทียมให้คนไข้แต่ละคน แพทย์ต้องตรวจและสั่งการทำขาเทียมเฉพาะคน เราคำนึงถึงการออกแบบหรือเบ้าที่ดี ที่เมื่อคนไข้ใส่ขาเทียม เดินแล้วต้องรับน้ำหนักได้ถูกต้อง คือให้มีแนวการเดินถูกต้อง เวลาเดินต้องไม่เจ็บ เดินได้สวย เพราะหากออกแบบไม่ดี จะเกิดผลเสียในระยะยาว คือ จะไปกดกระดูกที่สะโพกหรือสันหลัง อาจเป็นผลเสียต่อคนไข้ในอนาคตได้

            ขาเทียมที่มูลนิธิขาเทียมฯ จัดทำมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาชีพและความต้องการ เช่น ขาเกษตร ทำจากวัสดุแข็ง ดำ เป็นรูปสูงระดับเกือบฟุต เพื่อให้เกษตรกรใส่ไปย่ำเดิน หรือทำไร่ทำนาได้โดยไม่ต้องกังวลกับการรักษาความสะอาด ขาประเภทสวยงาม ก็ออกแบบเป็นวัสดุสีเนื้อให้กลมกลืนกับผิวเนื้อ ส่วนสูงขึ้นอยู่กับขนาดใต้หัวเข่าหรือเหนือหัวเข่า ซึ่งต้องมีมุมหักเหมือนหัวเข่าที่งอ แกว่งหรือสะบัดเท้าได้ บางคนอาจต้องการขาสูงถึงสะโพก ซึ่งหมายถึงช่วงขาที่ยาวเท่ากับขาอีกข้าง บางคนที่ขาด ๒ ข้างก็ใส่ให้ ๒ ข้าง และในกรณีเป็นคนสูงอายุ ก็อาจได้ไม้เท้าค้ำไว้เดินยันอีกด้วย ซึ่งทุกชิ้น มูลนิธิขาเทียมฯจะผลิตให้ พร้อมอัดตัวอักษรให้อ่านได้ความว่าเป็นไม้เท้าพระราชทานโดยไม่คิดมูลค่าหรือไม่มีการซื้อขายเพื่อป้องกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเอาไปจำหน่ายหรือเอาเปรียบคนพิการที่น่าสงสาร

            นายแพทย์เทิดชัยกล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันสถิติคนพิการเพราะต้องตัดขาทิ้ง นับวันจะเพิ่มมากขึ้น เพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรืออื่นๆ ต่อมาเป็นเรื่องภัยจากกับระเบิดซึ่งมักเกิดขึ้นตามแนวชายแดนหรือในดินแดนที่มีการสู้รบ เหตุที่สาม ที่เพิ่มตัวเลขค่อนข้างเร็ว คือโรคเบาหวานและเส้นเลือดตีบ อันเนื่องมาจากอาหารการกินที่มีไขมันสูง เช่น พวกอาหารทอด กะทิ หรืออาหารจานด่วนจากต่างประเทศ เพราะเส้นเลือดที่ออกจากหัวใจส่งไปยังปลายเท้าต่ำสุดนั้น หากเส้นเลือดเกิดอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่ได้ก็อาจเป็นเนื้อเน่าหรือเจ็บเป็นแผล อาจต้องผ่าตัดส่วนปลายเท้าทิ้งไป เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนคนพิการขาขาดเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตก มูลนิธิฯ จึงยินดีที่จะรับบริจาคทั้งด้านปัจจัยหรือสิ่งของ ซึ่งทุกวันนี้มีต้นทุนถัวเฉลี่ยขาละ ๑,๐๐๐ บาท หรือ ๕๐๐ บาท สำหรับขาเกษตร โดยท่านสามารถบริจาคผ่านธนาคารต่างๆ ได้ ดังที่ประกาศในล้อมกรอบ ส่วนสิ่งของประเภทถุงเท้าใยบัวของสตรี หรือฝาแผ่นเหล็กจากขวดน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มต่างๆ ท่านอาจรวบรวมไปใส่ไว้ที่กล่องรับชิ้นส่วนในศูนย์การค้าเทสโก้ โลตัส ทุกแห่ง หรือส่งตรงไปยังนายแพทย์เทิดชัย ชีวะเกตุ สำนักงานเดิม ที่อาคารหน่วยช่วยคนพิการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ ๕๐๐๐๒

- - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

1201531146

*********************

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-01-12 11:45:48 IP : 124.121.137.238


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3186928)

ขอเชิญร่วมบริจาควัสดุที่เป็นอลูมิเนียมทุกชนิด เพื่อเข้าร่วมโครงการ ทำขาเทียมพระราชทาน กับมูนิธิขาเทียมสมเด็จย่าฯ  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

0406530851 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com )วันที่ตอบ 2010-06-04 08:51:29 IP : 124.121.136.85


ความคิดเห็นที่ 2 (3188943)

ขอเชิญร่วมบริจาควัสดุที่เป็นอลูมิเนียมทุกชนิด เพื่อเข้าร่วมโครงการ ทำขาเทียมพระราชทาน กับมูนิธิขาเทียมสมเด็จย่าฯ  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1006531733 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com )วันที่ตอบ 2010-06-10 17:33:51 IP : 124.121.136.93


ความคิดเห็นที่ 3 (3246670)

อยากส่งให้จะส่งให้ทางไหน..และที่ไหนคะ..รพ.จุฬารับทำหรือเปล่า...อยากให้รพ.จุฬาเพราะใกล้นครปฐม..หรือส่งไปมูลนิธิสมเด็จย่าคะกำลังหาข้อมูลการจัดส่ง...อยากให้ได้รับไปทำประโยชน์จริงๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น อัยดา วันที่ตอบ 2011-05-31 08:07:00 IP : 61.7.171.194


ความคิดเห็นที่ 4 (3295894)

 

 ตอนนี้ใส่ขาเทียมอยู่ และก็ท้องได้4เดิอน

มันอึดอัดมากอยากได้ขาใหม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรัญญา (Pollymayinlove-at-hotmail-dot-co-dot-uk)วันที่ตอบ 2012-08-17 12:39:16 IP : 223.206.125.105


ความคิดเห็นที่ 5 (3295912)

 ขอเชิญร่วมบริจาควัสดุที่เป็นอลูมิเนียมทุกชนิด เพื่อเข้าร่วมโครงการ ทำขาเทียมพระราชทาน กับมูนิธิขาเทียมสมเด็จย่าฯ 

 

 เรียนคุณอัยดา.....ท่านส่งที่ตรงไหนก็ได้ครับ เพราะทุกที่ ที่รับห่วงอลูมิเนียม จะต้องส่งให้มูลนิธิสมเด็จย่า ฯ ที่เดียวครับ...... ท่านสามารถส่งพัสดุไปรษณีย์ไปที่ สมาคมคนพิการ หรือ มุลนิธิขาเทียมที่เชียงใหม่ก็ได้ครับ.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1ึ708551627 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-08-17 16:25:18 IP : 101.108.107.193


ความคิดเห็นที่ 6 (3295913)

 เรียน ...... คุณศรัญญา .............

ผมไม่ทราบว่าคุณขาขาดเหนือเข่า ใต้เข่า แล้วขาเดิม เป็นอน่างไรที่ใส่ขาไม่ได้ เพราะอ้วนขึ้นหรือเป็นอย่างอื่น..... กรุณาโทรคุยกับผม มีคำแนะนำครับ..

มันต้อง ถามแล้ว ตอบจึงจะชัดเจนครับ........

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

www.waddeeja.com

Tel.02-990-0331

1708551633 

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-08-17 16:29:15 IP : 101.108.107.193


ความคิดเห็นที่ 7 (3295933)

    ติดต่อกลับ www.waddeeja.com
                        
                        
                        ชื่อ : นายบัณฑิต  บัวลพ
                        โทรศัพท์:0-7558-2637 
                        อีเมล : kran55554@gmail.com
                        ------------------------------------
                        หัวข้อ : ขอขาเทียมใหม่
                        รายละเอียด : 
                        ผมชื่อบัณฑิต  บัวลพ  ประสบอุบัติเหตุประมาณ
10
ปีที่แล้วขาแตกคุณหมอตัดขาขวาเหนือเข่าแล้วใส่ขาเทียม
ปัจจุบันขาเทียมของเก่าชำรุดขาดออกเป็น 2
ท่อนผมใช้ผ้าเทปพันต่อไว้อยากได้ของใหม่ครับเพื่อให้ผมเคลื่อนไหวได้เหมือนคนปกติ
ผมขอวอนเจ้าหน้าที่และผู้มีจิตศัทราบริจาคขาเทียมให้ผมด้วยครับ
เบอร์โทรผมครับ 08-7558-2637 ,08-649-2147 
                            
                        

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2012-08-18 01:14:30 IP : 125.26.217.165


ความคิดเห็นที่ 8 (3313730)

พอดีเจอผู้ป่วย เท้าขาด ตั้งแต่ตาตุ่มลงไป ใส่ขาเทียมอยู่ค่ะ แต่ชำรุดทำให้เจ็บ ทำงานไม่สะดวก  ไปขอทำใหม่ที่ รพ.มหาราช จังหวัดนครราชสีมาแล้ว แต่ รพ.ไม่มีขนาดเท้าที่พอดีให้ ขาเทียมที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ได้มาจาก รพ.เอกชน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ในกรณีนี้จะสามารถไปขอขาเทียมใหม่ได้ที่ไหนอีกบ้างคะ และต้องเสียค่าทำใหม่รึป่าวคะ จะได้แนะนำผู้ป่วย ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนพร วันที่ตอบ 2013-09-26 15:16:31 IP : 1.179.173.66



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.