ReadyPlanet.com


ภาษีกิจการเจ้าของคนเดียว


กิจการเจ้าของคนเดียว ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ในแต่ละเดือน / ปี

รายได้ที่นำมาคิดภาษี เป็นรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย หรือจากยอดขาย ขอทราบอัตราภาษีที่กิจการเจ้าของคนเดียวต้องชำระ



ผู้ตั้งกระทู้ มล :: วันที่ลงประกาศ 2007-09-23 22:47:07 IP : 58.9.59.80


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1167207)

ความเห็นที่ 1 (1167206)

การจดทะเบียนทำได้ครับ โดยจดที่อบจ. ตามจังหวัด หรือที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรณีที่ยังไม่โอนไป อบจ.) หรือที่กระทรวงพาณิชย์ ก็จะได้ทะเบียนการค้า แต่หากเป็นกิจการประเภทงานบริการ ทางกระทรวงจะไม่รับจดทะเบียน จะจดเฉพาะ กิจการที่มีการซื้อขายสินค้า จากนั้นให้ไปจดทะเบียนขอเลขผู้เสียภาษี ที่สรรพากร แล้วดำเนินการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิมได้เลยครับ (กรณีที่สรรพากร อาจจะต้องทำเป็นคณะบุคคล คือ มี 2 คน ขึ้นไป โดยทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลไปด้วยนะครับ ก็เอาชื่อเดียวกับที่จดที่กระทรวงแหละครับ การทะเบียนทั้ง 2 ที่ สามารถมอบอำนาจให้ผู้ไปกระทำการแทนได้ครับ ไม่มีปัญหา

การจัดทำภาษี ก็จะเป็นภาษีบุคคลธรรมดา ยื่นปีละ 2 ครั้ง

1. ภาษีครึ่งปี ใช้ ภงด 94 (สามารถยื่นผ่าน เน็ตได้เลย)

2. ภาษิตอนสิ้นปี ภงด. 90

การหักค่าใช้จ่ายให้ดู อัตราเหมาจ่าย ที่สรรพากรกำหนดนะครับว่าประเภทใดเท่าไหร่ ลองคำนวนจากแบบในอินเตอร์เน็ตได้ของสรรพากร

3. หากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย จะต้องยื่นทุกเดือนนะครับ ห้ามขาดส่ง ถึงจะไม่มียอดขายก็ต้องยื่น หากขาดการส่ง จะถูกปรับ เดือน ละ 500 บาท อย่าพลาดนะครับ ต้องยื่นแบบทุกเดือน แบบทีใช้ยื่น คือ แบบ ภพ.30

อื่น ๆ คงจะไม่มีอะไรมากไปกว่านี้

 



ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ลงประกาศ 24-09-2007 22:05:33 IP : 124.121.138.241
ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ตอบ 2007-09-24 22:09:39 IP : 124.121.138.241


ความคิดเห็นที่ 2 (2942590)

 

กิจการแบบเจ้าของคนเดียว
 
 
กิจการเจ้าของคนเดียว
 คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเอง
ทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการ
ขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การ
ดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการ
ประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น
ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว

1. มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของ
ได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้
3. เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
4. การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว
ข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
ข้อดี

1. จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย
2. มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการ
ดำเนินงาน
3. ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
4. รักษาความลับของกิจการได้ดี เพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว
5. มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
6. การเลิกกิจการทำได้ง่าย

ข้อเสีย

1. การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะเงินทุนมีจำกัด และถ้าต้องการกู้ยืมเงินจากภายนอกจะทำได้ยาก
เพราะขาดหลักประกัน
2. การตัดสินใจโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย
3. ถ้ามีผลขาดทุน ผู้ประกอบการรับผลขาดทุน และรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว
4. ระยะเวลาดำเนินงานมักไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ ถ้าเจ้าของกิจการป่วยหรือเสียชีวิตอาจหยุดชะงัก
หรือเลิกกิจการ
5. ความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว
 
รูปแบบธุรกิจ
การประกอบธุรกิจที่มีบุคคลคนเดียวเป็นผู้ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง กิจการในลักษณะนี้หากเข้าข่ายเป็นกิจการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ..2499 กำหนดให้ต้องจดทะเบียน เจ้าของกิจการต้องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบกิจการ
 
 กิจการเจ้าของคนเดียว คือ ธุรกิจที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดาผู้ดำเนินการต้องรับผิดชอบภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด
         1.2
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Simple Partnerships)
             
ผู้ดำเนินการเป็นผู้จัดการดูแล Property assets และต้องรับผิดชอบหนี้ไม่จำกัดจำนวน
         1.3
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (S.n.c. :Societa` in nome colletivo)
             
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการที่เป็นไปเพื่อการค้าหรือไม่ก็ได้โดยไม่มีการจำกัดเงินลงทุนขั้นต่ำผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินกิจการร่วมกันและต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน
         1.4
ห้างหุ้นส่วนจำกัด (S.a.s. :Societa` in accomandita semplice)
             
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมี 2 ประเภท
             -
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบคือหุ้นส่วน(ผู้บริหาร)ที่รับผิดชอบการบริหารและการจัดการของห้างหุ้นส่วนและจะต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน
             -
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบคือหุ้นส่วนที่มิได้รับผิดชอบการบริหารงานของห้างหุ้นส่วนโดยจะรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุน
         1.5
บริษัทร่วมหุ้น (S.p.a. :Societa` per azioni)
         
บริษัทร่วมหุ้นมีลักษณะสำคัญ คือ ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้จำกัดจำนวนและมีการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่าๆกันในการก่อตั้งบริษัทจะต้องทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งนี้จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ในการจัดตั้งบริษัทประเภทนี้จะต้องมีเงินทุนรวมไม่ต่ำกว่า 100,000 ยูโร
         1.6 A partnerships limited by shares (S.a.p.a. : Societa` in accomandita per azioni)
         
คือ บริษัทร่วมหุ้นที่อำนาจการจัดการเป็นของกลุ่มผู้จัดการถือเป็นผู้รับผิดชอบภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวนมีลักษณะคล้ายคลึงกับห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทร่วมหุ้น ประเภทของผู้ถือหุ้นมี 2 ประเภทดังนี้
         -
ผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิดชอบ ในทางปฏิบัติ คือกลุ่มผู้จัดการ รับผิดชอบภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
         -
ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดชอบรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนที่ตนลงทุนและไม่มีอำนาจการจัดการภายในบริษัท
         1.7
บริษัทเอกชนจำกัด (S.r.l. : Societa` a responsabilita` limitata)
         
ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นไม่จำกัดจำนวนเงินที่ตนลงทุนเป็นประเภทองค์กรที่เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการจัดตั้งบริษัทจะต้องมีเงินทุนรวมไม่ต่ำกว่า 10,000 ยูโร
ลักษณะสำคัญขององค์กรทางธุกิจ

         
ผู้ประกอบธุรกิจทุกประเภทต้องจัดทำบัญชีตามเงื่อนไขกฎหมายและเก็บรักษาบัญชีไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทั้งนี้การตรวจสอบบัญชีและการรับรองงบดุล (Audit Requirement) จะกระทำในเงื่อนไขต่อไปนี้
         -
เป็นบริษัทร่วมหุ้น (S.p.A.)
         -
เป็นบริษัทเอกชนจำกัด ซึ่งมีเงินลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 120,000 ยูโร
         -
ธุรกิจที่มีทรัพย์สินเป็นจำนวนเงิน 3,125,000 ยูโร
         -
ธุรกิจที่มียอดขายเป็นจำนวนเงิน 6,250,000 ยูโร
         -
มีลูกจ้างโดยเฉลี่ยต่อปี 50 คน
2.
ขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ
         2.1
วางเงินสดหรือแบงค์การันตีเป็น Deposit ไว้ที่ธนาคารอย่างน้อย 25% ของวงเงินลงทุนกรณีเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียว ต้องวางเงินลงทุนทั้งหมด
         2.2
ดำเนินการเพื่อจดทะเบียนการจัดตั้งธุรกิจโดยมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,000 - 4,000 ยูโร ดังนี้
         (1)
จัดทำร่างหนังสือรับรองการจดทะเบียน ซึ่งต้องดำเนินการโดยตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจ (Notary Public) และตามแบบฟอร์มที่กำหนดเท่านั้น
         (2)
ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนภายใน 20 วันนับแต่วันจัดตั้งให้แก่ตัวแทน (ค่าธรรมเนียม 90 ยูโร / ค่าภาษี *** ยูโร)
         (3)
จัดหาสมุดทะเบียนบริษัท/สมุดบัญชีและอื่นๆโดยสมุดต่างๆเหล่านี้ต้องมีตราประทับรับรองโดยตัวแทน(Notary public) ด้วย (ค่าสมุดแล้วแต่ชนิด/ ค่าประทับตรา 15 ยูโรต่อ 100 แผ่น / 30 ยูโรต่อ 500แผ่น)
         (4)
ชำระค่าภาษีการอนุญาต (government grant tax) โดยชำระผ่านบัญชีสำนักงานไปรษณีย์ (Post office) (ประมาณ 310 ยูโร/ปี)
         (5)
ยื่อขอจดทะเบียนต่อ Registro delle Imprese ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของหอการค้าในท้องถิ่นนั้นๆ (ใช้เวลา 5-10 วันในการยื่นใบสมัครพร้อมเอกสาร) (ค่าใช้จ่ายประมาณ  1,100 ยูโรรวมค่าธรรมเนียมสมาชิกรายปีของการค้าซึ่งจะแปรไปตามมูลค่าการค้าไว้ด้วยแล้ว)
         2.3
ยื่นขอเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี (tax identification number-Codice Fiscale) และเลขที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat number-numero di partita iva) ต่อสำนักงานภาษีประจำท้องถิ่น (local tax office ) ไม่มีค่าใช้จ่าย
         2.4
กรณีมีการจ้างลูกจ้าง ต้องยื่นจดทะเบียนการจ้างต่อสำนักงานประกันสังคม INP (Istituto Nazionale di Previdenza Sociale) และสำนักงานประกันภัย INAIL (National Insurance for Industrail Accident) รวมทั้งต้องแจ้งต่อสำนักงาน DPLMO (Direzione Provinciale del Lavoro e della Massima Occupazione) ด้วยโดยต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันก่อนเริ่มการทำงาน
3.
การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์
         
กฎหมายอสังหาริมทรัพย์คุ้มครองโดย Italian civil code ผู้ต้องการดำเนินธุรกิจทางด้านการพัฒนาหรือการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
         
ลักษณะของอสังหาริมทรัพย์ มีดังนี้
         -
เป็นของเจ้าของคนเดียว (Stand alone assets)
         -
เป็นสมบัติร่วมกัน (Part of a joint property)
         -
เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ (Part of a going concern)
         
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ มีดังนี้
         -
การครอบครองเป็นส่วนตัว (Full Ownership)
         -
การให้เช่าระยะยาว (Long Lease)
         -
การเช่าเพื่อดำเนินธุรกิจ (Lease of Business)
         -
สิทธิการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ( Usufruct and Right of Common )
4.
ภาษี
         
ชนิดของภาษีในอิตาลีแบ่งได้ ดังนี้
         (1) Direct taxes
         (2) Company income tax and tax on other legal institutions (IRES : Impostasul Reddito delle Societa`)
         
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีจากกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 33 ทุกๆ 12 เดือน ทำบัญชีตามปีปฏิทิน
         (3) *** persons’ income tax
         (IRPEF : Imposta sul Reddito delle Persone Fisiche)
         
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บบุคคลที่พำนักอยู่ในอิตาลีหรือ ดำเนินธุรกิจในอิตาลีโดยมีอัตราดังนี้
         
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
         
เงินได้สุทธิไม่เกิน   15,000 ยูโร ร้อยละ 23
         
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 15,000 ยูโร = <29,000 ยูโร ร้อยละ 29
         
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 29,000 ยูโร = <32,600 ยูโร ร้อยละ 31
         
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 32,600 ยูโร = <70,000 ยูโร ร้อยละ 39
         
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 70,000 ยูโร               ร้อยละ 45
         (4) Regional tax on production activities
         (IRAP : Imposta regionale sulle attivita’ produttiva)
ภาษีเทศบาลจัดเก็บโดยแคว้นซึ่งเป็นแคว้นที่กิจการนั้นดำเนินการอยู่
         (5) Valued Added Tax
         (IVA : Imposta sul Valore Aggiunto)
         
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีการขายที่เก็บจากการขายสินค้าและการให้บริการโดยทั่วไปและเก็บจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนโดยมีอัตราตั้งแต่ร้อยละ 20-0 (ร้อยละ 0 หรือ Non-taxable ได้แก่การส่งออกสินค้าที่เป็นการค้าระหว่างประเทศและการขนถ่ายสินค้าหรือการบริการที่เป็นการขนถ่ายสินค้าไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป)ดังนั้นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจจะต้องเสียมูลค่าเพิ่มโดยจะต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
         (6) Inheritance and gift tax
         (7) Local taxs : communal property tax (ICI), etc
         (8) Registration tax and other indirect taxes on property transfers.
5.
การจ้างงาน
         5.1
บุคคลต่างด้าว (Non EU Nationals) ที่จะเข้ามาทำงานต้องขอใบอนุญาตทำงาน (Autorizzazione di lavoro) โดยผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ยื่นใบดังกล่าวที่ Provinciale Labour office (Ufficio provinciale del lavoro) จากนั้นบุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นขอวีซ่าที่สถานีตำรวจและนำใบอนุญาตทำงานและวีซ่าไปยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศได้ที่สถานฑูตอิตาลีประจำประเทศของตนและเมื่อเข้าประเทศแล้วจะต้องยื่นขอ Italian Stay Permit (Permesso di Soggiorno) ภายใน 8 วัน ณ สถานีตำรวจในท้องที่ที่ตนอาศัยอยู่
         5.2
ชนิดของการจ้างงานในประเทศอิตาลีมีดังนี้
         (1) Fixed-term employment contract
         (2) Provision of work
         (3) Part-time contract
         (4) Job Sharing
         (5) Intermittent work
และ work on call
         
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
ผู้แสดงความคิดเห็น เรื่องนี้ช่ายป่ะ (gu_pear_555-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-11-26 18:20:50 IP : 125.26.141.252


ความคิดเห็นที่ 3 (2947720)

ช่วยให้เนื้อหาของกิจการแบบเจ้าของคนเดียวเยอะๆหน่อยนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นาตยา วันที่ตอบ 2008-12-08 21:20:57 IP : 203.170.136.62


ความคิดเห็นที่ 4 (2947993)

ดีมากเลยครับ ช่วยกันหาข้อมูล ช่วยกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บ วันที่ตอบ 2008-12-09 15:36:24 IP : 124.121.140.180


ความคิดเห็นที่ 5 (3013882)

ดีเหมือนกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ดีดี วันที่ตอบ 2009-05-28 12:36:20 IP : 203.172.185.105


ความคิดเห็นที่ 6 (3015689)

มีงานไปส่งครูแล้วอิอิ ใจนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ?????????? (???-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-06-01 20:50:41 IP : 124.120.146.61


ความคิดเห็นที่ 7 (3025799)

ขอบจายค่ะ  Yeh...Yeh หาด้ายแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น จุ๊บุ จุ๊บุ วันที่ตอบ 2009-06-29 15:17:30 IP : 113.53.169.247


ความคิดเห็นที่ 8 (3029330)

บลูว่าดัยความรู้ดินะค่ะมีความสำคัญกับบลูดีมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น นู๋บลู วันที่ตอบ 2009-07-11 10:14:35 IP : 222.123.185.131


ความคิดเห็นที่ 9 (3043049)

;;;;;;;

ผู้แสดงความคิดเห็น บุบุ๊ วันที่ตอบ 2009-08-24 14:56:33 IP : 125.27.110.127


ความคิดเห็นที่ 10 (3046264)

อยากทราบว่า  ปัจจุบันเป็นพนักงานประจำบริษัทแห่งหนึ่งและทำไร่อ้อยด้วย  ในอนาคตคาดว่าจะเปิดโควต้าอ้อยเป็นของตัวเอง อยากทราบว่าการคิดคำนวณภาษีเงินได้  คิดแบบไหน?  คิดรายได้จากเงินเดือนรวมกับรายได้จากการทำไร่ด้วยหรือไม่ 

ใครทราบบ้างช่วยตอบด้วยนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เกษตรกรมือใหม่ (prprn-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-03 10:02:20 IP : 118.175.181.44


ความคิดเห็นที่ 11 (3053476)

ปรึกษาปัญหาเรื่องบัญชี ลองคุยกันได้นะครับ kukikakar@hotmail.com 

ด้วยความยินดี

ผู้แสดงความคิดเห็น บัญชี วันที่ตอบ 2009-09-21 14:58:29 IP : 124.157.189.235


ความคิดเห็นที่ 12 (3132863)

ขอเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าได้ไหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น น้ำ (noottyty-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-28 14:25:00 IP : 114.128.92.231


ความคิดเห็นที่ 13 (3139956)

ดีจังเลยช่วยกันคิด  ช่วยกันทำ

ผู้แสดงความคิดเห็น ochin (omyim_nippon12-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-22 18:05:22 IP : 222.123.211.129


ความคิดเห็นที่ 14 (3144082)

อยากได้ตัวอย่างการว่างระบบบัญชี กิจการเจ้าของคนเดียวอ่ะค่ะ

จะเอาไปทำรายงานส่งอาจารย์นะ ไม่รู้จะเริ่มทำอะไรก่อนเลยอ่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ดวงดาวแห่งรัก (lovemilk1990_k-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-01-08 12:18:14 IP : 118.172.67.135


ความคิดเห็นที่ 15 (3152064)

ดีใจจังเจอแว้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น วราภรณ์ ปิงเมือง (pranandmate-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-05 15:03:11 IP : 118.173.224.28


ความคิดเห็นที่ 16 (3152067)

ขอบคุณคร้าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชุดดำและโดเรม่อน (pranandmate-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-05 15:08:12 IP : 118.173.224.28


ความคิดเห็นที่ 17 (3179977)

ขอบคุณมากค่ะ ^^

ต้องทำรายงานเรื่องนี้ เนื้อหาตรงกับหัวข้อย่อยมากเลยล่ะค่ะ~=w=

ผู้แสดงความคิดเห็น นู๋เอมค่ะ^^ วันที่ตอบ 2010-05-17 16:28:38 IP : 124.121.29.48


ความคิดเห็นที่ 18 (3205897)
the elevation changes will surprise most native louisianans as many have no clue such a trail exists in the area ugg boots it will come as ugg shoes cheap ugg sundance ii boots ugg boots for sale
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 วันที่ตอบ 2010-08-25 00:28:57 IP : 125.121.215.19


ความคิดเห็นที่ 19 (3212921)
leopard ugg boots leopard ugg boots womens boots womens boots uggs boots uggs boots discount ugg boots discount ugg boots
ผู้แสดงความคิดเห็น 1 (ffngju-at-ovi-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-21 18:45:26 IP : 125.118.233.198


ความคิดเห็นที่ 20 (3224344)

 กิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการเจ้าของคนเดียว

เป็นรูปแบบธุรกิจดั้งเดิมซึ่งพบเห็นโดยทั่วไปมากที่สุด เช่น ร้านขายของชำ ร้านเสริมสวย ร้านขายอาหาร เป็นต้น เมื่อเป็นกิจการที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว  ดังนั้นเจ้าของกิจการและธุรกิจก็ถือเป็นบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งในแง่ภาษีและความรับผิดชอบทางกฎหมาย เจ้าของจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

*มีข้อสังเกตว่า บุคคลธรรมดาจะยื่นแบบแสดงรายรับและค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์เงินสด*

ข้อดี

1. เจ้าของมีอำนาจในการตัดสินใจเต็มที่

2. ผลกำไรจากการทำธุรกิจ เจ้าของได้รับโดยตรงซึ่งอาจจะนำไปลงทุนเพิ่มได้เองตามความต้องการ

3. ตัดสินใจเลิกกิจการได้ง่าย หากเห็นว่ากิจการมีแนวโน้มที่จะขาดทุน

ข้อเสีย

1. ปริมาณเงินลงทุนมีจำกัดจากเงินลงทุนส่วนตัวของเจ้าของหรือการหยิบยืมจากคนรู้จัก

2. ความรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการ เจ้าหนี้สามารถตามยึดทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของกิจการได้ แม้มิใช่ทรัพย์สินที่ลงทุนในกิจการ

3. เจ้าของกิจการไม่สามารถหาพนักงานที่มีความสามารถสูงมาร่วมงานได้ เนื่องจากข้อจำกัดการแบ่งปันผลตอบแทน

4. กิจการมีอายุจำกัด โดยจะคงอยู่เมื่อเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเจ้าของเสียชีวิตทรัพย์สินของกิจการก็จะถูกรวมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของกิจการและส่งมอบให้แก่ทายาทผู้สืบทอดมรดก ซึ่งทายาทอาจไม่ดำเนินกิจการต่อ

5.ไม่สามารถระดมทุนจากภายนอกได้เต็มที่ นอกจากการใช้เครดิตส่วนตัวของเจ้าของเท่านั้น

1. กิจการเจ้าของคนเดียว
รูปแบบธุรกิจ การประกอบธุรกิจที่มีบุคคลคนเดียวเป็นผู้ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง กิจการในลักษณะนี้ หากเข้าข่ายเป็น กิจการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 กำหนดให้ต้องจดทะเบียน เจ้าของกิจการต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบกิจการ 

การจดทะเบียนพาณิชย์ 

1.            กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ 

o    การทำโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร

o    การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป

o    นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมี ค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป

o    การหัตกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้เป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป

o    การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

2.            ระยะเวลาที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์และค่าธรรมเนียม เจ้าของกิจการมีหน้าที่ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบกิจการ เจ้าของกิจการใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 100 บาทจนกว่าจะได้จดทะเบียน การจดทะเบียนพาณิชย์ต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท

3.            กิจการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

o    การค้าเร่ การค้าแผงลอย

o    พาณิชยกิจเพื่อบำรุงศาสนา หรือเพื่อการกุศล

o    พาณิชยกิจของนิติบุคคล ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น

o    พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม

o    พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์

o    พาณิชยกิจของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทย

o    กลุ่มเกษตรกรซึ่งได้จดทะเบียนตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 141

 

 

 

 

 

กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเอง
ทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการ
ขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การ
ดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการ
ประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น

ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว
1. มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของ
ได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้
3. เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
4. การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว

ข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
ข้อดี
1. จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย
2. มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการ
ดำเนินงาน
3. ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
4. รักษาความลับของกิจการได้ดี เพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว
5. มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
6. การเลิกกิจการทำได้ง่าย
ข้อเสีย
1. การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะเงินทุนมีจำกัด และถ้าต้องการกู้ยืมเงินจากภายนอกจะทำได้ยาก
เพราะขาดหลักประกัน
2. การตัดสินใจโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย
3. ถ้ามีผลขาดทุน ผู้ประกอบการรับผลขาดทุน และรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว
4. ระยะเวลาดำเนินงานมักไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ ถ้าเจ้าของกิจการป่วยหรือเสียชีวิตอาจหยุดชะงัก
หรือเลิกกิจการ
5. ความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินภพ วันที่ตอบ 2010-11-15 20:34:26 IP : 223.207.85.193


ความคิดเห็นที่ 21 (3224347)

  กิจการเจ้าของคนเดียว 

           คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น

          ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น

ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว

          1. มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย

          2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้

          3. เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว

          4. การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://school.obec.go.th/keansapitayakom/business/single.htm

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินภพ (pond_kawinphop-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-15 20:39:19 IP : 223.207.85.193


ความคิดเห็นที่ 22 (3305999)

อยากทราบวิธีการจัดทำระบบบัญชีสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น wangnoi (wangnoi9-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-01-10 13:26:28 IP : 180.183.112.153


ความคิดเห็นที่ 23 (3310952)

 ภาษีคนเดียวนี้ต้องเสียภาษีอะไรอ
๋อคั่ป  ผมไม่รู้หาในเน๊ตก้ไม่มี 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องพงษ์ วันที่ตอบ 2013-05-28 10:37:11 IP : 171.100.77.100


ความคิดเห็นที่ 24 (3913737)

1.จดทะเบียนเจ้าของคนเดียวเสียกี่บาท

2.กิจการเจ้าของคนเดียวเสียภาษีกี่%
ผู้แสดงความคิดเห็น YoddoM วันที่ตอบ 2016-03-23 12:52:15 IP : 27.145.152.12


ความคิดเห็นที่ 25 (4326406)

 คำถามเกี่ยวกับกิจการเจ้าของคนเดียว

1. ต้องเสียภาษีอะไรบ้างเมื่อใดบ้าง

2. เมื่อจดทะเบียนกิจการเจ้าของคนเดียว ต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ อย่างไร

3. ต้องไปทดทะเบียนที่ไหน พักอยู่ในกรุงเทพฯ

ผู้แสดงความคิดเห็น สันติชัย มีคุณ วันที่ตอบ 2022-09-04 14:15:54 IP : 124.121.162.183



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.