ReadyPlanet.com


8 มีนาคม วันสตรีสากล


สำรวจ"ค่าจ้าง"หญิง-ชายทั่วโลกช่องว่างห่างออก




ไกล้ถึงวันสตรีสากล 8 มีนาคม สหพันธ์สหภาพการค้าระหว่างประเทศเปิดรายงานฉบับล่าสุดที่สำรวจค่าจ้างแรง งานในกลุ่มสตรี 63 ประ เทศทั่วโลก

พบว่า คนงานและพนักงานหญิงได้ค่าจ้างน้อยกว่าฝ่ายชายโดยเฉลี่ยร้อยละ 16

การสำรวจครั้งนี้มุ่งเน้นตรวจวัดความเท่าเทียมและความแตกต่างด้านค่าจ้างแรงงาน โดยประเทศที่สำรวจอยู่ในชาติยุโรป 30 ประเทศ และอีก 33 ประเทศอยู่ในเอเชีย ละติน อเมริกา โอเชียเนีย และแอฟริกา

ในยุโรป โอเชียเนีย และละตินอเมริกา ความเท่าเทียมเป็นไปในทางบวก แต่เอเชียและแอฟริกา มีความแตกต่างมาก

ประเทศในตะวันออกกลางอย่างบาห์เรน พบข้อมูลน่าสนใจ ว่า ผู้หญิงหาเงินได้มากกว่าผู้ชายร้อยละ 40 อาจเพราะมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานน้อยมาก



หากตัดบาห์เรนออกไป ช่องว่างระหว่างค่าจ้างชายหญิงในโลก ห่างกันร้อยละ 16.5

ช่องว่างมีสูงขึ้น ในสภาพแวดล้อมที่มีผู้หญิงทำงานในจำนวนมากกว่า เช่น ด้านการศึกษาและสาธารณสุข

"ในสถานการณ์นี้ อาจเป็นเพราะมีผู้ชายทำงานในสถานที่ที่มีสัดส่วนผู้หญิงมากกว่า และผู้ชายมีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่า จึงได้รับค่าจ้างที่ดีกว่า" รายงานระบุ

ในภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ภาคสาธารณูปโภค และภาคการเงินการคลัง ผู้หญิงได้รับค่าจ้างน้อยกว่าอย่างชัดเจน



แต่หากเป็นภาคการบริหารสาธารณะ ชุมชน สังคม และงานบริการส่วนบุคคล ค่าจ้างระหว่างหญิงชายใกล้เคียงกัน

การสำรวจพบด้วยว่า ถึงแม้สตรีจะมีการศึกษาดี แต่กลับไม่ได้ค่าจ้างที่ใกล้เคียงกับฝ่ายชาย บางกรณีช่องว่างสูงขึ้นด้วยซ้ำในกลุ่มที่มีการศึกษา เช่น ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์

สำหรับในกลุ่มของผู้หญิงที่ทำงานนอกเวลา หรือพาร์ต ไทม์ โดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้น้อยกว่าผู้ชาย เกือบจะในทุกๆ ประเทศที่สำรวจ

ที่ออสเตรเเลีย ช่องว่างนี้เพิ่มขึ้น จากปี 2547 ที่ห่างกันร้อยละ 13 มาถึงปี 2549 ห่างกันถึงร้อยละ 16

"คำอธิบายในเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องของการเลือกแรงงานที่จำกัดสิทธิของสหภาพการค้า และการลดจำนวนพนักงานที่มีเงื่อนไขกำหนดไว้"

ชาราน เบอร์โรว ประธานสหภาพสภาการค้าออสเตรเลีย กล่าวว่า รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า การเลือกปฏิบัติต่อสตรียังคงเกิดขึ้นทั่วโลก ช่องว่างในปัจจุบันน่าตกใจทีเดียว เพราะในความเป็นจริง ช่องว่างนั้นน่าจะกว้างกว่าตัวเลข ที่บันทึกไว้ เพราะในประ เทศกำลังพัฒนาไม่ได้มีสถิติข้อมูลระดับชาติ ทั้งยังมีสตรีที่ทำงานอยู่ในภาคแรง งานที่ไม่เป็นทางการ และเป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างที่สำรวจกัน


ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2008-03-06 07:51:41 IP : 124.121.135.8


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1747018)
สภาสตรีแห่งชาติฯ มอบประกาศเกียรติคุณสตรีน่ายกย่อง 10 คน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2551 17:47 น.

       สภาสตรีแห่งชาติฯ มอบประกาศเกียรติคุณแรงงานสตรีที่น่ายกย่อง 10 คน ในวันสตรีสากล ด้าน รมว.พม.ยันรัฐบาลส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย พร้อมแสดงความยินดีสตรีที่เข้าสู่วงการเมือง เผยมี ส.ส.หญิง 55 คน เป็นรัฐมนตรี 4 คน และเป็น ส.ว.อีก 24 คน
       
       
นายสุธา ชันแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานในงานวันสตรีสากล ประจำปี 2551 จัดโดยสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ พร้อมขึ้นมอบใบประกาศเกียรติคุณแรงงานสตรีที่น่ายกย่อง ประจำปี 2551 จำนวน 10 คน เป็นแรงงานหญิงที่มีคุณสมบัติ อายุ 35 ปีขึ้นไป อายุการทำงานไม่ต่ำกว่า 8 ปี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจ ประพฤติดี อยู่ในระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีเจตนคติที่ดีต่อองค์กร เช่น น.ส.สุรีย์รัตน์ ศศิราชศิริ จากบริษัทมหาบูรพาผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด น.ส.มะลิ จัดงูเหลือม บริษัท ไฮ-เทค แอพาเรล จำกัด เป็นต้น
       
       นายสุธา กล่าวแสดงความยินดีกับ 10 สตรีที่น่ายกย่อง ซึ่งช่วยผลักดันการพัฒนาบทบาทและสถานภาพของสตรีผู้ใช้แรงงาน รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้มีความเสมอภาคระหว่างชายหญิง ซึ่งรัฐบาลนี้ก็เห็นความสำคัญดังกล่าวเช่นกัน กระทรวงก็มีเจตนาแน่วแน่ ส่งเสริมให้ผู้หญิงมีบทบาทในสังคม
       
       นอกจากนี้ นายสุธาได้มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับรัฐมนตรีหญิง คือ พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร.ท.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ เลขานุการรัฐมนตรีหญิง ทพ.ญ.ศรีญาดา ชินวัตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ภูวนิดา คุนผลิน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้หญิงที่ทำงานการเมืองอีกหลายคน ซึ่งในปีนี้ มีสตรีได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จำนวน 55 คน เป็นรัฐมนตรี 4 คน และเป็น ส.ว.อีก 24 คน แสดงให้เห็นว่าไทยส่งเสริมความเท่าเทียมกัน แต่ที่สำคัญคือการประกาศใช้ พ.ร.บ.การใช้คำนำหน้านามของสตรี พ.ศ. 2551 ที่ให้หญิงที่แต่งงานแล้วสามารถใช้คำนำหน้านามเป็นนางสาวได้
       


+ + + + + + + + + + + +

www.waddeeja.com

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ

0803511934

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-08 19:23:44 IP : 124.121.141.172


ความคิดเห็นที่ 2 (1752533)
ชู 9 สตรีดีเด่นเมืองกรุงเนื่องในวันสตรีสากล



                นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานในการมอบโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่น กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2551 เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม เพื่อเป็นการเชิดชูคุณค่าและบทบาทของสตรีไทย ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)โดยปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลใน 8 สาขา จำนวน 9 รางวัลด้วยกันคือ


          1.นางสาวกิตติพร เอี๊ยะสมบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ผู้ริเริ่มโครงการพลังรักแด่ลมหายใจสุดท้าย ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เน้นให้ผู้ป่วยและญาติได้อยู่ร่วมกันจนได้รับเลือกเป็น 1 ในตัวแทนโครงการทำดีเพื่อพ่อ จากสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 5 ธ.ค. 2550 สตรีดีเด่นสาขาการแพทย์


          2.นางจินตนา อินจันทร์ ประธานผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 ซึ่งได้ออกหน่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก รณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ในชุมชน ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเป็นแผลจนหายดีไม่มีอาการติดเชื้อ พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสาธารณสุขของชุมชนอย่างต่อเนื่อง สตรีดีเด่นสาขาการสาธารณสุข


          3.นางสาวนิรมล เมธีสุวกุล ผู้ผลิตรายการทุ่งแสงตะวัน รายการสารคดีโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความผูกพันของเด็กๆกับธรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆรัก ผูกพัน หวงแหนธรรมชาติ ผู้จะเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป สตรีดีเด่นสาขาสิ่งแวดล้อม

 ,
          4.นางภัทราวดี มีชูธน ครูสอนการแสดงและผู้อำนวยการภัทราวดีเธียเตอร์ อาจารย์พิเศษวิชาศิลปการแสดง ผู้สืบสานและผสมผสานมรดกทางวัฒนธรรมไทยและสากลได้อย่างเหมาะสมจนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ และนางสุชาดี มณีวงศ์ ผู้ผลิตรายการสารคดีกระจกหกด้านมากว่า 20 ปี โดยสะท้อนให้เห็นความเป็นไปของสังคมรอบด้านที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต สตรีดีเด่นสาขาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
          5.นางนวลพรรณ ล่ำซำ ได้ให้การสนับสนุนกีฬาสำหรับคนพิการมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมหญิงคนแรกของทีมนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย สตรีดีเด่นสาขาการกีฬา 


          6.ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีผลงานด้านวิชาการและการวิจัยมากมาย โดยเฉพาะในสาขาวิชาสถิติศาสตร์ของไทยให้ก้าวหน้า จนได้รับเสนอชื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดีหญิงคนแรกของจุฬาฯ และตำแหน่งสำคัญต่างๆในการด้านศึกษา สตรีดีเด่นสาขาการศึกษาและคุณธรรมจริยธรรม
          7.นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ เป็นแกนนำในการผลักดันให้เกิดนโยบายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ในสังคมไทย ทั้งยังผลักดันให้กองทุนประกันสังคมจ่ายยาต้านไวรัสเอดส์ให้แก่ผู้ประกันตน สตรีดีเด่นสาขาพิทักษ์แลพคุ้มครองสตรี 

 

          8.นางเกษริน อู่ศิริจันทร์ เลขานุการคณะทำงานประสานการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับชุมชนซอยราษฎร์ร่วมเจริญ ผู้ริเริ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนราษฎร์ร่วมเจริญ เพื่อศึกษาการพัฒนาเลี้ยงหนอนไหมในกทม.ให้ได้เส้นไหมที่ดีมีคุณภาพซึ่งได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบได้คุณภาพมาตรฐาน จนได้รับคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับ 5 ดาว ปี 2549 สตรีดีเด่นสาขาพัฒนาชุมชน

+ + + + + + + + + + + +

 

http://www.apdi2002.com

 

สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสาก ล

 

พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ  

 

0903510916

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-09 09:05:50 IP : 124.121.138.47


ความคิดเห็นที่ 3 (1752637)

ชาติเอเชียตื่นตัวเรียกร้อง"สิทธิสตรี"



เมื่อ 8 มี.ค. เอเอฟพีรายงานว่า ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียไล่ไปตั้งแต่ออสเตรเลียจนถึงอัฟกานิสถาน ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันสตรีสากล เรียกร้องให้รัฐบาลและสังคมช่วยกันเปิดช่องทางเพื่อเพิ่มสิทธิและความเสมอภาคแก่ผู้หญิง ซึ่งมีจำนวนประชากรมากถึงครึ่งหนึ่งในเอเชีย

ที่ปากีสถาน อินเดีย อินโดนีเซีย และจีน กลุ่มนักสิทธิสตรีจัดกิจกรรมเรียกร้องให้สังคมยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำแท้งทารกเพศหญิงและการไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

ส่วนที่อัฟกานิสถาน ประเด็นการให้สิทธิเสรีภาพแก่สตรีเป็นหัวข้อที่มีการพูดถึงมาโดยตลอด เพราะบทบาทของสตรีอัฟกันเคยถูกควบคุมอย่างมากในช่วงรัฐบาลตาลิบันปกครองประเทศ และที่ออสเตรเลียนางทันยา พลิเบอร์เซก รัฐมนตรีกิจการสตรี กล่าวว่า วันสตรีสากลเป็นโอกาสดีที่จะต้องสร้างความตระหนักถึงปัญหาที่ผู้หญิงยังเผชิญอยู่ เช่น สภาพขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและขาดอิสระทางการเงิน

วันเดียวกัน นักรณรงค์สิทธิสตรีญี่ปุ่นจัดการชุมนุมส่งกำลังใจให้แก่สตรีในอิรักและจัดสัมมนาเรื่องปัญหาการว่าจ้างงานผู้หญิงเป็นแค่ลูกจ้างชั่วคราว สˆวนที่ไต้หวัน นายหม่า อิงจิ่ว ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีให้คำมั่นว่าจะสร้างงานใหม่ให้สตรี 100,000 ตำแหน่ง รวมทั้งจัดงบฯ ช่วยเหลือผู้ประกอบการสตรี 1,024 ล้านบาทหากชนะเลือกตั้ง

+ + + + + + + + + + + +

 http://www.apdi2002.com/

 สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสาก ล

 พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ  

 0903510934

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-09 09:23:26 IP : 124.121.138.47


ความคิดเห็นที่ 4 (1752804)

มอบประกาศเกียรติคุณส.ส.-รมต.หญิง



เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่หอประชุมมนังคศิลา บ้านมนังคศิลา สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดงานวันสตรีสากล ประจำปี 2551 โดยมีนายสุธา ชันแสง รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธาน พร้อมด้วยนางเยาวเรศ ชินวัตร ประธานสภาสตรีฯ ซึ่งภายในงานมีการจัดพิธีมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีหญิง และส.ส.หญิง 56 คน อาทิ พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมช.คลัง น.ส.ภูวนิดา คุนผลิน เลขานุการ รมว.คลัง ท.ญ.ศรีญาดา ชินวัตร เลขานุการ รมว.วัฒนธรรม เป็นต้น โดยส.ส.หญิงที่มาร่วมงานส่วนใหญ่อยู่ในพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ ในงานยังมีการมอบใบประกาศเกียรติคุณ "แรงงานสตรีที่น่ายกย่อง" ในภาคเอกชนด้วย

นายสุธา กล่าวว่า ปัจจุบันผู้หญิงไทยได้รับการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากผู้หญิงก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี และส.ส. รวมทั้งได้รับตำแหน่งสูงๆ ในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน หลายหน่วยงานได้จัดงานวันสตรีสากลปี 2551 ภายใต้หัวข้อ "พลังสตรี พลังแห่งสันติภาพ" เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับสังคม ทั้งเรื่องกฎหมาย และการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เร่งคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีในประเทศไทย ด้านนางเยาวเรศกล่าวว่า ผู้หญิงมีความรู้ความสามารถเข้าสู่สังคมและการทำงานในระดับผู้นำมากขึ้น โดยเฉพาะแวดวงการเมือง ตนเชิญรัฐมนตรีและส.ส.หญิง เพื่อให้ร่วมกันตระหนักช่วยเหลือสังคมและผู้หญิงที่ยังด้อยโอกาสอีกจำนวนมาก

ท.ญ.ศรีญาดา ชินวัตร กล่าวว่า ยอมรับว่าหากดูสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน ผู้หญิงยังเข้าสู่การเมืองหรือได้รับการสนับสนุนเป็นผู้บริหาร ข้าราชการระดับสูงน้อยมาก รวมทั้งยังถูกกีดกันทางเพศ ซึ่งต่างประเทศจะกำหนดโควตาให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทชัดเจนกว่านี้ อยากให้ไทยมีการกำหนดในรัฐธรรมนูญ ระเบียบให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมมากขึ้นชัดเจนกว่านี้

+ + + + + + + + + + + +

 http://www.apdi2002.com/

 สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสาก ล

 พันตรีศิริชัย  ทรัพย์ศิริ  

 0903510957

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-09 09:47:15 IP : 124.121.138.47


ความคิดเห็นที่ 5 (1771927)

สตรีพิการร้องขอสิทธิ-วอนสังคมอย่าเลือกปฏิบัติ

 

เมื่อวันที่ ๗ มี.ค. ๒๕๕๑ ที่หอประชุมกองทัพเรือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานวันสตรีสากลประจำปี ๒๕๕๑ ทั้งนี้ นายสมชายกล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชาย เพราะสตรีเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรแรกที่ให้สตรีเป็นผู้พิพากษาและอัยการจนเวลานี้มีจำนวนเกือบเท่าผู้ชาย ในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็มีสตรีเป็นผู้บริหารทั้งปลัดกระทรวง และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำก็ยังคงมีอยู่บ้าง และคิดว่าการแก้ปัญหาคือการศึกษา เพราะยิ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา ก็จะยิ่งทำให้การเข้าถึงในวิชาชีพ และโอกาสต่างๆ เกิด ข้อจำกัด ดังนั้น ศธ. จึงพยายามให้โอกาสสตรีได้เข้าถึงการศึกษาให้มากที่สุด ทั้งนี้เรื่องสิทธิและความเสมอภาคนั้นต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก

ด้าน น.ส.เสาวลักษณ์ ทองก๊วย หัวหน้าสำนักงานองค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สตรี ผู้พิการทางขา ซึ่งได้รับรางวัลบุคคลในภาคเอกชนดีเด่นด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของสตรี กล่าวว่า สตรีที่พิการเป็นปัญหาทับซ้อนทั้งมิติความเป็นหญิงที่ถูกกดทับทางเพศ ไม่สามารถมีความรักได้ และมิติความพิการที่ทำให้ขาดโอกาสมากยิ่งขึ้น พบข้อมูลว่าสตรีพิการ ยากจนที่สุด และสถิติการถูกข่มขืนก็อยู่ในอันดับต้นๆ โดยเฉพาะสตรีที่พิการทางสมอง บางรายถึงขั้นท้อง แม้แต่เจ้าหน้าที่ราชการก็เห็นเป็นภาระและพาไปทำแท้ง สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการเลือกปฏิบัติ ไม่อยากให้มองคนพิการแล้วสงสาร แต่ขอโอกาสในการเข้าถึงสิทธิความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเช่นกัน เพราะคนพิการ เวลานี้เสียทั้งโอกาส เวลา และค่าใช้จ่ายที่มากกว่าคนปกติ ( ไทยรัฐออนไลน์ ๘ มีค. ๒๕๕๑ )

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

 

 1103510735

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-11 07:24:20 IP : 124.121.135.147


ความคิดเห็นที่ 6 (1784122)

สตรีพิการที่รับรางวัล................................ปี 2551

 

น.ส.เสาวลักษณ์ ทองก๊วย

อายุ 41 ปี หัวหน้าสำนักงานองค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ได้รับรางวัลบุคคลในภาคเอกชนดีเด่นด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของสตรี กล่าวว่า หญิงพิการอยู่ในความมืดมิดของสังคมมานาน ไม่ได้รับการเปิดเผยและไม่ได้รับความสนใจ เมื่อได้ลุกขึ้นมาทำงาน มีการลงพื้นที่อย่างจริงจัง จนเป็นจุดเริ่มต้นที่สังคมได้รับรู้

จากการทำงานพบว่าความรุนแรงเกิดขึ้นกับหญิงพิการมากกว่าสตรีอื่น เพราะปัญหาทับซ้อนมิติของความเป็นหญิงและเพศสภาพความพิการ ซึ่งแต่ละมิติมีปัญหาตามมามากมาย ทำให้หญิงพิการเหมือนผู้หญิงชายขอบที่นำมาซึ่งความยากจนที่ไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นโอกาสและการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่ควรได้เพื่อพัฒนาตนเองทุกอย่าง และเสี่ยงต่อการถูกคุกคามทางเพศมาก เพราะไม่สามารถขัดขืนต่อสู้ได้โดยเฉพาะหญิงที่พิการทางสติปัญญามักเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ถูกทำร้าย ข่มขืน และเขาเหล่านั้นไม่กล้าแจ้งความเพราะไม่ได้รับความสนใจเนื่องจากภาพลักษณ์ที่ถูกมองว่าเชื่อถือไม่ได้

 

* * * * * * * * * * * * * * * * *

พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ สมาคมคนพิการ

 

1203510904

ผู้แสดงความคิดเห็น พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ วันที่ตอบ 2008-03-12 08:54:24 IP : 124.121.138.233



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.