ReadyPlanet.com


ระบบขนส่งมวลชนเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ


ระบบขนส่งมวลชนเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ

 

       ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนพิการทั่วโลก คือ  ปัญหาความไม่สะดวกและความยากลำบากในการเดินทางคมนาคม ซึ่งนับได้ว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเรื่องของภาวะการมีงานทำ  การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเข้าถึงการศึกษา และการเข้าร่วมกลุ่มเพื่อการพัฒนาตนเอง 
       จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2550 พบว่า จำนวนคนพิการในประเทศไทยมีทั้งสิ้นถึง 1.9 ล้านคน  ในจำนวนนี้มี

1.       คนพิการที่มีอายุระหว่าง 15-30 ปีจำนวน 2.3 แสนคน โดยมีถึงร้อยละ 81.7 ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการเรียนหนังสือ

2.       ในส่วนของคนพิการที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีจำนวนทั้งสิ้น 1.8 ล้านคน พบว่ามีจำนวนถึง 1.2 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 67 เป็นผู้ที่ไม่มีงานทำ ทั้งที่

3.       ในจำนวนนี้ถึงกว่าร้อยละ 19.4 จะเป็นผู้มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมงก็ตาม สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการศึกษาและภาวะการมีงานทำเป็นปัญหาที่สำคัญของคนพิการ นอกเหนือไปจากความจำกัดในทางกายภาพ

4.       หากวิเคราะห์ลงลึกต่อไปจะพบว่าสาเหตุหนึ่งของปัญหาเหล่านี้ก็คือ การไม่สามารถเข้าถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของผู้พิการ รวมทั้งการที่ภาครัฐไม่ได้จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเดินทางไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
       ประเทศที่พัฒนาแล้วต่าง ๆ ทั่วโลกค่อนข้างให้ความสำคัญกับกลุ่มคนพิการเป็นสำคัญ ซึ่งมีผลช่วยให้คนพิการในประเทศเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ดีตามไปด้วย หนึ่งในมาตรฐานการดำรงชีพที่สำคัญคือ การจัดให้มีระบบขนส่งมวลชนที่เอื้อให้คนพิการสามารถใช้บริการได้ง่ายและสะดวก เช่น
ใน
รัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย มีนโยบายช่วยเหลือให้คนพิการใช้บริการรถขนส่งสาธารณะอย่างสะดวก โดยการออกบัตร Companion Card ที่ให้สิทธิพิเศษโดยสารฟรีกับคนที่ดูแลคนพิการที่ถือบัตรนี้และเดินทางไปพร้อมกับคนพิการ บริการดังกล่าวครอบคลุมทั้งการเดินทางโดยรถไฟ รถราง รถประจำทางในเมืองหลวงและในเมืองต่าง ๆ รวมทั้งรถโค๊ช เดินทางระหว่างจังหวัดด้วย ซึ่งรัฐวิคตอเรียถือได้ว่าเป็นรัฐแรกของประเทศออสเตรเลียที่จัดให้มีบริการดังกล่าวนี้ รวมทั้งยังได้มีการกำหนดให้รถไฟ รถราง และรถโดยสารประจำทางจะต้องจัดพื้นที่เฉพาะให้คนพิการสามารถนำรถเข็นของตนไปจอดอย่างปลอดภัยได้ด้วย 
       อีกตัวอย่างหนึ่งคือ
กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ หน่วยปกครองท้องถิ่นได้จัดให้มีบริการรถตู้พิเศษสำหรับคนพิการ สามารถรับผู้โดยสารได้ประมาณ 9–12 คน โดยมีการใช้ระบบ GPS กับรถเหล่านี้ ทำให้รถทุกคันจะทำงานเชื่อมโยงกับศูนย์ประสานที่ติดตามตำแหน่งรถเพื่อให้รู้ตำแหน่งและประสานให้มีรถไปรับคนพิการที่ติดต่อเข้ามาที่ศูนย์ประสานงาน บริการรถตู้ดังกล่าวเปิดทดลองใช้เมื่อปลายปี 2002 และเริ่มต้นใช้ในปี 2003 
เมือง Nottingham ประเทศอังกฤษ รัฐบาลท้องถิ่นกำหนดให้คนพิการสามารถใช้บริการรถประจำทางโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในบริเวณ Greater Nottingham (บริเวณใจกลางเมือง) และจ่ายค่าโดยสารครึ่งราคาในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขต Nottingham Dial-a-Ride และจัดให้มีบริการลดราคาตั๋วรายวันให้กับคนพิการ
ที่ใช้บริการนอกพื้นที่ดังกล่าว ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลท้องถิ่นยังได้ปรับปรุงจุดจอดรถโดยสารประจำทางมากกว่า 600 จุดเพื่อให้คนพิการสามารถรอรถได้อย่างสะดวก ปลอดภัย รัฐบาลท้องถิ่นยังตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2010 รถประจำทางทั้งหมดในเมือง Nottingham จะเป็นรถโดยสารประจำทางพื้นต่ำระบบไฮโดรลิกที่คนพิการสามารถใช้บริการอย่างสะดวก หรือ
ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลได้กำหนดให้ทุกที่จอดรถทั้งของเอกชนและของรัฐต้องมีจุดจอดรถเฉพาะสำหรับคนพิการที่มีบัตรอนุญาต รัฐบาลมีมาตรการเอาผิดกับบุคคลปกติที่จอดรถในบริเวณที่จอดรถของคนพิการอย่างจริงจัง
       การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้นได้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดอุปสรรคในเรื่องการเดินทางของคนพิการ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยทำให้คนพิการเหล่านี้ดำเนินชีวิตในสังคมได้เหมือนเช่นคนปกติทั่วไปมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดช่องว่างทางสังคมให้กับคนพิการเหล่านี้ให้น้อยลง พร้อมกับการส่งเสริมให้คนพิการสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากขึ้น  
       
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าที่ผ่านมาจะยังไม่มีมาตรการในการจัดระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเพื่อคนพิการอย่างชัดเจนและจริงจังมากนัก แต่ก็คงยังไม่สายเกินไปหากจะเริ่มต้นในการพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้เอื้อกับคนพิการมากขึ้น เช่น การจัดให้มีรถโดยสารพื้นต่ำที่คนพิการสามารถนำรถเข็นขึ้นไปได้โดยสะดวก หรือการจัดรถพิเศษสำหรับคนพิการที่สามารถเรียกใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
        แม้ว่าคนพิการจะเป็นเพียงกลุ่มคนเล็ก ๆ ในสังคม แต่ก็เป็นกลุ่มคนที่มีคุณค่าและสมควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป โดยปราศจากอคติ
และการเลือกปฏิบัติ เพราะฉะนั้น การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้เอื้อสำหรับคนพิการจึงมิได้เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการเท่านั้น แต่ยังเป็น
โครงสร้างพื้นฐานประการหนึ่งที่ช่วยให้คนพิการสามารถยืนอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย

บทความจากเว็บไซต์ โอเคเนชั่นบล็อก.

 

 

 

 

พันตรีศิริชัย   ทรัพย์ศิริ

นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)

โทร. 02-990-0331

http://www.apdi2002.com

http://www.youtube.com พิมพ์ apdi. หรือ

สมาคมคนพิการ

1910530734

*********************

 



ผู้ตั้งกระทู้ พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ (apdmajor1-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-19 07:33:04 IP : 124.121.141.113


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3917917)

    www.BigDataHost.vn Chúng tôi dịch vụ Hosting giá rẻ Hosting chất lượng Dịch vụ Hosting tốt nhất Việt Nam

 
Đăng kí tên miền miễn phí khi mua cùng gói Hosting , Khuyến mãi miễn phí thời hạn dùng dịch vụ Hosting của chúng tôi
 
Small Package 30GB 950.000đ/năm
Free 1 Domain .com .net .org .biz .info .us
Free 250 Search Engines Submission
Dung lượng 30,000 MB (30GB)
Băng thông 50,000 MB (50GB) (DataTransfer/tháng)
ผู้แสดงความคิดเห็น vietnam host วันที่ตอบ 2016-04-23 17:00:03 IP : 58.8.152.134



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล 802/410 หมู่12 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซอย10/4 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร : 02-990-0331 Copyright © 2010 All Rights Reserved.